คนที่อยากจะประสบความสำเร็จระยะยาวในตลาดหุ้นอย่าง “ค่อนข้างแน่นอน” นั้น ผมคิดว่าเขาควรจะต้องเข้าใจ “หลักสถิติ” บางอย่าง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เขาจะต้องเข้าใจว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น ไม่มีอะไรที่จะให้ผลตอบแทน “แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์” ความสำเร็จของการลงทุนนั้นนอกจากจะมาจากความสามารถในการเลือกหุ้นแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ “ดวง” ไม่น้อย เช่น คุณลงทุนช่วงไหน? เลือกหุ้นแบบไหนหรือตัวไหนและช่วงนั้นหุ้นตัวที่เลือกกำลังอยู่ใน “กระแส” หรือเปล่า เป็นต้น ดูไปก็อาจจะคล้าย ๆ กับการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับโลกที่ไม่ว่าทีมจะเก่งแค่ไหนก็อาจจะพ่ายแพ้ได้ หรือบางทีแม้ว่าทีมจะไม่ได้เก่งอะไรมากแต่ก็ชนะได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าทีมที่เก่งกว่าอาจจะมีโอกาสที่จะชนะสูงกว่าถ้าเล่นไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ฤดูหรือหลาย ๆ สิบปี
และนั่นก็คล้าย ๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้นที่คนเก่งนั้น บางปีก็ “แพ้” คนที่เล่นหุ้นไม่เก่งเลยหลุดลุ่ย แต่ในระยะยาวแล้ว เขาจะเป็นผู้ชนะ วอเร็น บัฟเฟตต์ เองที่ได้ชื่อว่าเป็น “สุดยอดเซียน” ก็แทบไม่เคยเป็นผู้ชนะสุดยอดในแต่ละปีเพราะผลตอบแทนปีต่อปีของเขาไม่เคยเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในระยะยาวกว่า 60 ปีของเขา ส่วนใหญ่เขาก็จะได้ผลตอบแทนค่อนข้างดีอาจจะปีละ 10-30% และแทบจะไม่เคยขาดทุนเลย ซึ่งเป็นสถิติที่หาคนเทียบได้ยาก แต่คนที่ชนะสูงมากหรือสูงสุดยอดในบางปีนั้น บ่อยครั้งปีต่อไปหรือในระยะยาวแล้วกลับแพ้มากกว่า ผลรวมก็คือ เขาไม่ชนะ อย่างไรก็ตาม คนที่โดดเด่นมาก ๆ ในบางปีก็กลายเป็น “เซียน” ได้ เพราะคนส่วนใหญ่จะ “ประทับใจ” กลายเป็นเรื่อง “ดรามา” ที่คนพูดถึงและเอาไปเขียนหรือสร้างเป็นภาพยนตร์ก็มี
ถ้าเราพูดถึงวิธีการลงทุนในตลาดหุ้นหรือการสร้างความร่ำรวยผ่านการซื้อขายตราสารและสินทรัพย์ต่าง ๆ นั้น ก็จะพบว่ามีคนที่เสนอ “วิธี” การลงทุนที่จะทำให้คุณ “รวย” ได้อย่าง “เหนือจินตนาการ” เช่น “จากเงินแสนเป็นร้อยล้าน” และยังส่งสัญญาณทำนองว่า “ผมทำได้ คุณก็ทำได้” สิ่งที่ไม่ได้บอกก็คือ เรื่องแรก เขาอาจจะทำไม่ได้จริง แต่อาจจะรวยเป็นล้านด้วยการขายหนังสือหรือคอร์สสอนวิธีการลงทุน ประเด็นที่สอง เขาอาจจะทำได้จริงโดยมีหลักฐานน่าเชื่อถือ แต่เขาอาจจะทำซ้ำไม่ได้ เหนือสิ่งอื่นใด วิธีที่เขาทำนั้น อาจจะมีคนอื่นที่ทำคล้าย ๆ กันแต่ล้มเหลว คนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จอาจจะมีแค่หนึ่งในร้อย ส่วนคนที่เหลือนั้นขาดทุน บางทีก็เป็นคนที่เอาเงินไปให้กับคนที่ “ชนะ” จนกลายเป็น “เซียน” นั่นแหละ
ลองมาดูว่าเรื่อง “ดรามา” น่าประทับใจจากการลงทุนหรือเก็งกำไรที่มักจะทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดและหลงไปปฏิบัติตามแต่ในที่สุดก็พบว่าเป็นเรื่องไม่จริง เรื่องแรกก็คือ การถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งหรือการถูกรางวัลเลขท้ายหลาย ๆ งวดติดต่อกัน นี่บางทีก็กลายเป็นข่าวน่าประทับใจและทำให้คนที่ถูกรางวัลเป็น “ดารา” ซึ่งทำให้คน “รากหญ้า” จำนวนมากต่างก็ฝันและหาวิธีเลือกสลากหรือเลือกเลขที่จะทำให้ถูกรางวัลในงวดต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตาม การแทงหวยนั้น คนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าการประสบความสำเร็จนั้นยังขึ้นอยู่กับ “ดวง” มากกว่าความสามารถ ดังนั้น พวกเขาจึงมักแสวงหาวิธีค้นหา “ดวง” เช่น ดูเลขท้ายทะเบียนรถของผู้มีชื่อเสียงหรือมีอำนาจในประเทศ เป็นต้น
ในวงการหุ้นนั้น มี “ดรามา” เกิดขึ้นตลอดเวลา นั่นคือ มีหุ้นที่สร้างผลตอบแทนมหาศาลเป็น “หลายเด้ง” หรือราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในเวลาอันสั้น หุ้นหลายตัวนั้นบางทีก็ไม่ได้มีผลประกอบการที่ดีหรือโดดเด่นอะไรเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงแต่มี “สตอรี่” ที่น่าเชื่อถือ หุ้นบางตัวก็มีทั้งสตอรี่และก็มีผลประกอบการที่โดดเด่นตามมาเพียงแต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับกับราคาที่ขึ้นไปสูงลิ่วได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ก่อให้เกิด “ความประทับใจ” ขึ้นในช่วงนั้นว่า นี่คือหุ้นหรือวิธีการเลือกหุ้นที่จะประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง คนก็หันมาเล่นหุ้นแนวนั้นกันมากมายช่วยดันราคาหุ้นเหล่านั้นขึ้นไปอีก ทำให้คนเชื่อเพิ่มขึ้นว่านี่เป็นวิธีการที่ถูกต้องเที่ยงแท้แน่นอน แต่นั่นอาจจะไม่จริง มันอาจจะเป็นเหตุการณ์เพียงครั้งเดียวหรือช่วงเดียว สถิติหรือโอกาสที่หุ้นแบบนั้นจะประสบความสำเร็จอาจจะน้อยกว่าความล้มเหลว คนที่เล่นตามในเวลาต่อมาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าเราตัดสินใจนำมาใช้ในการลงทุน ในระยะยาวแล้วเราก็อาจจะแพ้
เรื่องราวกลยุทธ์การลงทุนบางเรื่องฟังดูก็น่าจะดีอาจจะเพราะมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ามีคนประสบความสำเร็จได้อย่างงดงามน่ามหัศจรรย์ เช่น คุณต้อง “รอ” ลงทุนในยาม “วิกฤติ” เหมือนอย่าง… แต่ประเด็นก็คือ วิกฤตินั้นมีโอกาสเกิดน้อย บางทีอาจจะต้องรอเป็นสิบหรือยี่สิบปี ในเวลานั้นที่คุณไม่ได้ลงทุนในหุ้น คุณอาจจะขาดโอกาสทำผลตอบแทนปีละ 7-10% ซึ่งรวม ๆ แล้วมันไม่คุ้มที่จะรอวิกฤติ เป็นต้น
นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากชอบซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นรายวัน และตัวที่เขาเล่นนั้นบางครั้งก็ให้ผลตอบแทนเป็นสิบหรืออาจจะหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในวันเดียว ไม่ต้องสงสัยว่ามันเป็นหุ้น “ปั่น” หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่เก็งกำไรสูงมาก เช่น เป็นหุ้น IPO ที่เพิ่งเข้ามาซื้อขายในวันแรก ๆ วิธีการเล่นหุ้นเหล่านี้ถูกบอกเล่าหรือสอนโดยอิงจากหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมหาศาล “เหนือจินตนาการ” บ่อยครั้งก็ยกคนที่ “รวยจริง” เป็นข้อพิสูจน์ แต่สิ่งที่เขาไม่ได้บอกก็คือ คนที่ “จนจริง” คือขาดทุนนั้นอาจจะมีมากกว่าสิบเท่า ดังนั้น ถ้าเรานำไปใช้ โอกาสที่จะขาดทุนก็จะมีสูงมากเทียบกับกำไรที่อาจจะมาบ้าง นาน ๆ ครั้ง และไม่คุ้มที่จะทำ
นักลงทุนบางคนอาจจะรู้ตัวว่าไม่มีความสามารถในการเลือกหุ้นและตัดสินใจซื้อกองทุนรวม พวกเขาก็จะได้รับข่าวสารรับรู้ว่าผู้จัดการบางรายนั้นมีผลงานโดดเด่นน่าประทับใจอาจจะติดต่อกันหลายไตรมาศหรืออาจจะสองสามปีด้วยซ้ำซึ่งถูกมองว่า “ยาวมาก” เขาจึงตัดสินใจเลือกลงทุนกับกองทุนนั้น แต่ที่จริงเขาอาจจะไม่ได้ตรวจสอบว่า “สถิติ” ผลการลงทุนระยะยาวที่ควรจะมากกว่า 4-5 ปีขึ้นไปนั้นเป็นอย่างไร และมีความ “สม่ำเสมอ” แค่ไหน บางที วันที่เราเข้าไปลงทุนและต่อจากนั้น ผลประกอบการอาจจะกลับมา “แย่” ตาม “สถิติเดิม” ก็ได้
นักลงทุนที่ดีนั้นผมคิดว่าเขาจะต้องหลีกเลี่ยงเรื่อง “ดรามา” หรือเรื่องน่าประทับใจที่อาจจะทำให้ความคิดหรือความเข้าใจเรื่องการลงทุนของเราไขว้เขว พยายามคิดพิจารณาโดยเน้นดูสถิติระยะยาวประกอบเพื่อที่จะรู้ว่าอะไรคือความจริง จำไว้เสมอว่าความจริงทุกอย่างในตลาดหุ้นนั้นมี “ความน่าจะเป็น” ต่อท้ายเสมอ
ดรามากับสถิติลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ดรามากับสถิติลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดรามากับสถิติลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
Thai VI Article เขียน:[/size]โค้ด: เลือกทั้งหมด
คนที่อยากจะประสบความสำเร็จระยะยาวในตลาดหุ้นอย่าง “ค่อนข้างแน่นอน” นั้น ผมคิดว่าเขาควรจะต้องเข้าใจ “หลักสถิติ” บางอย่าง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เขาจะต้องเข้าใจว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น ไม่มีอะไรที่จะให้ผลตอบแทน “แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์” ความสำเร็จของการลงทุนนั้นนอกจากจะมาจากความสามารถในการเลือกหุ้นแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ “ดวง” ไม่น้อย เช่น คุณลงทุนช่วงไหน? เลือกหุ้นแบบไหนหรือตัวไหนและช่วงนั้นหุ้นตัวที่เลือกกำลังอยู่ใน “กระแส” หรือเปล่า เป็นต้น ดูไปก็อาจจะคล้าย ๆ กับการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับโลกที่ไม่ว่าทีมจะเก่งแค่ไหนก็อาจจะพ่ายแพ้ได้ หรือบางทีแม้ว่าทีมจะไม่ได้เก่งอะไรมากแต่ก็ชนะได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าทีมที่เก่งกว่าอาจจะมีโอกาสที่จะชนะสูงกว่าถ้าเล่นไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ฤดูหรือหลาย ๆ สิบปี และนั่นก็คล้าย ๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้นที่คนเก่งนั้น บางปีก็ “แพ้” คนที่เล่นหุ้นไม่เก่งเลยหลุดลุ่ย แต่ในระยะยาวแล้ว เขาจะเป็นผู้ชนะ วอเร็น บัฟเฟตต์ เองที่ได้ชื่อว่าเป็น “สุดยอดเซียน” ก็แทบไม่เคยเป็นผู้ชนะสุดยอดในแต่ละปีเพราะผลตอบแทนปีต่อปีของเขาไม่เคยเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในระยะยาวกว่า 60 ปีของเขา ส่วนใหญ่เขาก็จะได้ผลตอบแทนค่อนข้างดีอาจจะปีละ 10-30% และแทบจะไม่เคยขาดทุนเลย ซึ่งเป็นสถิติที่หาคนเทียบได้ยาก แต่คนที่ชนะสูงมากหรือสูงสุดยอดในบางปีนั้น บ่อยครั้งปีต่อไปหรือในระยะยาวแล้วกลับแพ้มากกว่า ผลรวมก็คือ เขาไม่ชนะ อย่างไรก็ตาม คนที่โดดเด่นมาก ๆ ในบางปีก็กลายเป็น “เซียน” ได้ เพราะคนส่วนใหญ่จะ “ประทับใจ” กลายเป็นเรื่อง “ดรามา” ที่คนพูดถึงและเอาไปเขียนหรือสร้างเป็นภาพยนตร์ก็มี ถ้าเราพูดถึงวิธีการลงทุนในตลาดหุ้นหรือการสร้างความร่ำรวยผ่านการซื้อขายตราสารและสินทรัพย์ต่าง ๆ นั้น ก็จะพบว่ามีคนที่เสนอ “วิธี” การลงทุนที่จะทำให้คุณ “รวย” ได้อย่าง “เหนือจินตนาการ” เช่น “จากเงินแสนเป็นร้อยล้าน” และยังส่งสัญญาณทำนองว่า “ผมทำได้ คุณก็ทำได้” สิ่งที่ไม่ได้บอกก็คือ เรื่องแรก เขาอาจจะทำไม่ได้จริง แต่อาจจะรวยเป็นล้านด้วยการขายหนังสือหรือคอร์สสอนวิธีการลงทุน ประเด็นที่สอง เขาอาจจะทำได้จริงโดยมีหลักฐานน่าเชื่อถือ แต่เขาอาจจะทำซ้ำไม่ได้ เหนือสิ่งอื่นใด วิธีที่เขาทำนั้น อาจจะมีคนอื่นที่ทำคล้าย ๆ กันแต่ล้มเหลว คนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จอาจจะมีแค่หนึ่งในร้อย ส่วนคนที่เหลือนั้นขาดทุน บางทีก็เป็นคนที่เอาเงินไปให้กับคนที่ “ชนะ” จนกลายเป็น “เซียน” นั่นแหละ ลองมาดูว่าเรื่อง “ดรามา” น่าประทับใจจากการลงทุนหรือเก็งกำไรที่มักจะทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดและหลงไปปฏิบัติตามแต่ในที่สุดก็พบว่าเป็นเรื่องไม่จริง เรื่องแรกก็คือ การถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งหรือการถูกรางวัลเลขท้ายหลาย ๆ งวดติดต่อกัน นี่บางทีก็กลายเป็นข่าวน่าประทับใจและทำให้คนที่ถูกรางวัลเป็น “ดารา” ซึ่งทำให้คน “รากหญ้า” จำนวนมากต่างก็ฝันและหาวิธีเลือกสลากหรือเลือกเลขที่จะทำให้ถูกรางวัลในงวดต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตาม การแทงหวยนั้น คนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าการประสบความสำเร็จนั้นยังขึ้นอยู่กับ “ดวง” มากกว่าความสามารถ ดังนั้น พวกเขาจึงมักแสวงหาวิธีค้นหา “ดวง” เช่น ดูเลขท้ายทะเบียนรถของผู้มีชื่อเสียงหรือมีอำนาจในประเทศ เป็นต้น ในวงการหุ้นนั้น มี “ดรามา” เกิดขึ้นตลอดเวลา นั่นคือ มีหุ้นที่สร้างผลตอบแทนมหาศาลเป็น “หลายเด้ง” หรือราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในเวลาอันสั้น หุ้นหลายตัวนั้นบางทีก็ไม่ได้มีผลประกอบการที่ดีหรือโดดเด่นอะไรเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงแต่มี “สตอรี่” ที่น่าเชื่อถือ หุ้นบางตัวก็มีทั้งสตอรี่และก็มีผลประกอบการที่โดดเด่นตามมาเพียงแต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับกับราคาที่ขึ้นไปสูงลิ่วได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ก่อให้เกิด “ความประทับใจ” ขึ้นในช่วงนั้นว่า นี่คือหุ้นหรือวิธีการเลือกหุ้นที่จะประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง คนก็หันมาเล่นหุ้นแนวนั้นกันมากมายช่วยดันราคาหุ้นเหล่านั้นขึ้นไปอีก ทำให้คนเชื่อเพิ่มขึ้นว่านี่เป็นวิธีการที่ถูกต้องเที่ยงแท้แน่นอน แต่นั่นอาจจะไม่จริง มันอาจจะเป็นเหตุการณ์เพียงครั้งเดียวหรือช่วงเดียว สถิติหรือโอกาสที่หุ้นแบบนั้นจะประสบความสำเร็จอาจจะน้อยกว่าความล้มเหลว คนที่เล่นตามในเวลาต่อมาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าเราตัดสินใจนำมาใช้ในการลงทุน ในระยะยาวแล้วเราก็อาจจะแพ้ เรื่องราวกลยุทธ์การลงทุนบางเรื่องฟังดูก็น่าจะดีอาจจะเพราะมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ามีคนประสบความสำเร็จได้อย่างงดงามน่ามหัศจรรย์ เช่น คุณต้อง “รอ” ลงทุนในยาม “วิกฤติ” เหมือนอย่าง… แต่ประเด็นก็คือ วิกฤตินั้นมีโอกาสเกิดน้อย บางทีอาจจะต้องรอเป็นสิบหรือยี่สิบปี ในเวลานั้นที่คุณไม่ได้ลงทุนในหุ้น คุณอาจจะขาดโอกาสทำผลตอบแทนปีละ 7-10% ซึ่งรวม ๆ แล้วมันไม่คุ้มที่จะรอวิกฤติ เป็นต้น นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากชอบซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นรายวัน และตัวที่เขาเล่นนั้นบางครั้งก็ให้ผลตอบแทนเป็นสิบหรืออาจจะหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในวันเดียว ไม่ต้องสงสัยว่ามันเป็นหุ้น “ปั่น” หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่เก็งกำไรสูงมาก เช่น เป็นหุ้น IPO ที่เพิ่งเข้ามาซื้อขายในวันแรก ๆ วิธีการเล่นหุ้นเหล่านี้ถูกบอกเล่าหรือสอนโดยอิงจากหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมหาศาล “เหนือจินตนาการ” บ่อยครั้งก็ยกคนที่ “รวยจริง” เป็นข้อพิสูจน์ แต่สิ่งที่เขาไม่ได้บอกก็คือ คนที่ “จนจริง” คือขาดทุนนั้นอาจจะมีมากกว่าสิบเท่า ดังนั้น ถ้าเรานำไปใช้ โอกาสที่จะขาดทุนก็จะมีสูงมากเทียบกับกำไรที่อาจจะมาบ้าง นาน ๆ ครั้ง และไม่คุ้มที่จะทำ นักลงทุนบางคนอาจจะรู้ตัวว่าไม่มีความสามารถในการเลือกหุ้นและตัดสินใจซื้อกองทุนรวม พวกเขาก็จะได้รับข่าวสารรับรู้ว่าผู้จัดการบางรายนั้นมีผลงานโดดเด่นน่าประทับใจอาจจะติดต่อกันหลายไตรมาศหรืออาจจะสองสามปีด้วยซ้ำซึ่งถูกมองว่า “ยาวมาก” เขาจึงตัดสินใจเลือกลงทุนกับกองทุนนั้น แต่ที่จริงเขาอาจจะไม่ได้ตรวจสอบว่า “สถิติ” ผลการลงทุนระยะยาวที่ควรจะมากกว่า 4-5 ปีขึ้นไปนั้นเป็นอย่างไร และมีความ “สม่ำเสมอ” แค่ไหน บางที วันที่เราเข้าไปลงทุนและต่อจากนั้น ผลประกอบการอาจจะกลับมา “แย่” ตาม “สถิติเดิม” ก็ได้ นักลงทุนที่ดีนั้นผมคิดว่าเขาจะต้องหลีกเลี่ยงเรื่อง “ดรามา” หรือเรื่องน่าประทับใจที่อาจจะทำให้ความคิดหรือความเข้าใจเรื่องการลงทุนของเราไขว้เขว พยายามคิดพิจารณาโดยเน้นดูสถิติระยะยาวประกอบเพื่อที่จะรู้ว่าอะไรคือความจริง จำไว้เสมอว่าความจริงทุกอย่างในตลาดหุ้นนั้นมี “ความน่าจะเป็น” ต่อท้ายเสมอ
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดรามากับสถิติลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เรื่องราว "ดรามา" ลักษณะแบบนี้ เท่าที่เคยอ่าน ๆ มา คงต้องใช้วิจารณณาณในการตัดสินใจที่จะลอกเลียนแบบ อันนี้เป็นข้อสังเกตที่ผมเคยพบ
1) สายกราฟ เลือกที่จะเอากราฟแบบ "เทพ" เลือกนำกราฟหุ้นที่เห็นแล้วกำไรหลาย ๆ เด้งมาโชว์ แต่ถ้าหุ้นที่กำไรดาด ๆ หรือขาดทุน จะเก็บใส่ไว้ในลิ้นชัก
2) สายพื้นฐาน เรื่องราวดรามา อาจจะมีการเขียนจากเรื่องจริง แต่... มีลักษณะ "ปล่อยของไม่หมด" ลักษณะของการ "ปล่อยของไม่หมด" เช่น ใช้มาร์จิ้นเข้าช่วย, ใช้เครื่องมีออย่างอื่นเช่น W DW TFEX บางครั้งก็มีการเอาเงินของทางบ้านเติมเข้ามาก้อนใหญ่ ๆ ซึ่งถ้ามีคนไปซักไซร้ไล่เรียงเนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนที่สูงจนน่าตกใจ อาจจะเริ่มมีอ้อมแอ้มตอบออกมาบ้าง แต่จะไม่เล่าเองตั้งแต่แรก
และสุดท้าย ไม่ว่าจะสายกราฟหรือพื้นฐาน อาจจะจบด้วย การเปิดคอร์สสอนเล่นหุ้นหรือรับจ้างบริหารพอร์ตหรือตั้งตัวเป็นเจ้าสำนัก CI
1) สายกราฟ เลือกที่จะเอากราฟแบบ "เทพ" เลือกนำกราฟหุ้นที่เห็นแล้วกำไรหลาย ๆ เด้งมาโชว์ แต่ถ้าหุ้นที่กำไรดาด ๆ หรือขาดทุน จะเก็บใส่ไว้ในลิ้นชัก
2) สายพื้นฐาน เรื่องราวดรามา อาจจะมีการเขียนจากเรื่องจริง แต่... มีลักษณะ "ปล่อยของไม่หมด" ลักษณะของการ "ปล่อยของไม่หมด" เช่น ใช้มาร์จิ้นเข้าช่วย, ใช้เครื่องมีออย่างอื่นเช่น W DW TFEX บางครั้งก็มีการเอาเงินของทางบ้านเติมเข้ามาก้อนใหญ่ ๆ ซึ่งถ้ามีคนไปซักไซร้ไล่เรียงเนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนที่สูงจนน่าตกใจ อาจจะเริ่มมีอ้อมแอ้มตอบออกมาบ้าง แต่จะไม่เล่าเองตั้งแต่แรก
และสุดท้าย ไม่ว่าจะสายกราฟหรือพื้นฐาน อาจจะจบด้วย การเปิดคอร์สสอนเล่นหุ้นหรือรับจ้างบริหารพอร์ตหรือตั้งตัวเป็นเจ้าสำนัก CI
"Become a risk taker, not a risk maker"