"ตู้เย็น-แอร์"ยื้อไม่ไหวขยับแน่ ระบายสตอกก่อนปรับร
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
"ตู้เย็น-แอร์"ยื้อไม่ไหวขยับแน่ ระบายสตอกก่อนปรับร
โพสต์ที่ 1
"ตู้เย็น-แอร์"ยื้อไม่ไหวขยับแน่ ระบายสตอกก่อนปรับราคาใหม่
เครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่นประชุมเครียด ประกาศดีเดย์ปรับขึ้นราคาเครื่องปรับอากาศ-ตู้เย็น-เครื่องซักผ้า สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ หลังแบกรับต้นทุนทองแดง-น้ำมัน ที่ยังทะยานเพิ่มขึ้นไม่หยุด เร่งระบายสต๊อกก่อนเดินกลยุทธ์ รุ่นใหม่-ราคาใหม่ ด้านร้านค้าเตรียมแผนรับอัดโปรโมชั่น-เงินผ่อน กระตุ้น
หลังจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างทยอยปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทองแดงที่เป็นวัตถุดิบหลักมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว จาก 1,400-1,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในช่วง 2-3 ปีก่อน จะขึ้นมาเป็น 8,700 เหรียญต่อตัน ส่งผลถึงผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า ไม่อาจหลีกหนีการปรับราคาเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยกลไกการตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้การปรับราคาที่เกิดขึ้นไม่อาจทำได้ง่ายนัก โดยเฉพาะถ้าผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำในแต่ละเซ็กเมนต์ไม่ยอมปรับราคา จะทำให้การปรับราคาเกิดขึ้นยากมาก
เอชเอโอดต้นทุนพุ่งไม่หยุด
แหล่งข่าวระดับสูงในบริษัท พานาโซนิคส์ เอ.พี. ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ตอนนี้บริษัทต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% คาดว่าในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคม คงต้องมีการปรับราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (HA) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหมวดเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ที่ใช้ทองแดงเป็นต้นทุนการผลิตหลัก
"ราคาจะปรับขึ้นสำหรับสินค้ารุ่นใหม่ที่ออกมา จะมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ เพิ่มฟังก์ชัน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นการปรับราคาอย่างเดียว แต่เรามีแวลูแอด เพิ่มให้ด้วย และจะขายสินค้าในราคาเดิมต่อไปจนกว่าสินค้าที่ผลิตจากต้นทุนเดิมหมด คาดว่าน่าจะเคลียร์สต๊อกเรียบร้อยก่อนเดือนกรกฎาคมนี้"
ผู้บริหารรายนี้มั่นใจว่า การปรับขึ้นราคาสินค้าของบริษัทจะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการในตลาดแบรนด์อื่นๆ ต่างเล็งที่จะปรับขึ้นทั้งสิ้น เนื่องจากไม่สามารถแบกรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อีกต่อไป
ซัยโจ เดนกิ ชี้ต้องรับความจริง
นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยโจ เดนกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า บริษัทจะปรับราคาสินค้าในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ เพราะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง โดยจะแจ้งรุ่นใหม่ ราคาใหม่ กับตัวแทนจำหน่ายผ่านดีลเลอร์คอนเฟอเรนซ์ ในสัปดาห์หน้า (8-9 มิถุนายน 2549) และจะไม่มีปัญหาค้างสต๊อก เพราะบริษัทวางแผนการผลิตเดือนต่อเดือนอยู่แล้ว
"ถ้าการปรับราคาทำให้ตลาดรวมปีนี้โตน้อยลง ก็คงต้องยอมรับความจริงกัน เพราะคิดว่าแบรนด์ในระดับเดียวกันคงต้องปรับราคาไม่ต่างกันนัก แต่อาจจะมีแบรนด์จากเมืองจีนที่ยังสามารถทำราคาได้ถูกอยู่ ซึ่งลูกค้าก็คงต้องเลือกแล้วละว่าต้องการอะไรมากกว่ากัน"
ค่ายญี่ปุ่นรวมหัวนำร่อง
แหล่งข่าวในวงการเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกรายหนึ่ง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมของสมาคมผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการพูดถึงปัญหาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทุกคนเห็นตรงกันว่าควรมีการปรับราคาตามกลไกตลาดได้แล้ว ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะปรับราคาอย่างแน่นอน คือ ฝั่งผู้ประกอบการจากค่ายญี่ปุ่นที่มีการเจราเรื่องนี้ร่วมกัน
"ปกติการพบประพูดคุยกันของผู้ประกอบการ มีอยู่แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีการพูดคุยกัน ตั้งแต่ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน ที่ผ่านมา ก็ยังพอรับไหว แต่ทองแดงที่ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ทุกฝ่ายก็เห็นด้วยว่าน่าจะมีการปรับราคากันได้แล้ว"
อย่างไรก็ตาม การปรับราคาที่เกิดขึ้นคงไม่มีการลงนามกันเป็นลายลักษณ์อักษร และคงไปบังคับกันไม่ได้ เพราะนโยบาย และรูปแบบการทำตลาดของแต่ละค่ายย่อมไม่เหมือนกัน อย่างแบรนด์จากค่ายญี่ปุ่นอาจจะไปในทิศทางเดียวกันได้ง่าย แต่แบรนด์ค่ายอื่นๆ เป็นเรื่องยาก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาแบรนด์ชั้นนำจากค่ายญี่ปุ่น อาทิ โตชิบา ฮิตาชิ พานาโซนิค ซันโย และชาร์ป ต่างมีการปรับราคาขึ้นตู้เย็น 1 ประตู ไปรอบหนึ่งแล้วประมาณ 3% รวมทั้งเครื่องปรับอากาศที่บางแบรนด์ได้ปรับขึ้นราคาสินค้ารุ่นใหม่ประมาณ 1,000 บาท เมื่อเทียบกับราคาเดิม
"ปกติตลาดตู้เย็น 1 ประตูแข่งกันแรงมาก ไม่มีใครกล้าปรับราคา แม้ต้องแลกกับต้นทุนที่เพิ่ม เพราะกลัวเสียส่วนแบ่งตลาด แต่หลังจากแอลจีเลิกผลิตแบบ 1 ประตู และซัมซุงไม่เน้นทำตลาดมากนัก พร้อมกับยกเลิกบางรุ่น บางไลน์ไป ทำให้เหลือหลักๆ เฉพาะแบรนด์จากค่ายญี่ปุ่นในตลาด และได้ปรับขึ้นราคาทันที โดยมีโตชิบาเป็นผู้นำร่อง ก่อนที่รายอื่นๆ จะทยอยปรับขึ้นจนครบทุกแบรนด์" แหล่งข่าวกล่าว
เพาเวอร์บายหวั่นตลาดช็อก
นางสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด กล่าวว่า ยังไม่เห็นสัญญาณการปรับราคาของผู้ประกอบการรายใดในช่วงนี้ เพราะปกติแล้วการปรับราคาส่วนใหญ่จะแจ้งให้ร้านค้าปลีกและดีลเลอร์ทราบล่วงหน้า 1 เดือน เพื่อให้เตรียมแผนในการทำตลาด และระบายสินค้ารุ่นเดิมออกมา อย่างไรก็ตามสิ่งที่เพาเวอร์บายกังวลก็คือ การปรับราคาสินค้าจะยิ่งทำให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจไปอีก จากเดิมมีผลกระทบจากราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
"เราคงยิ่งต้องหากิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ออกมาเสริมมากขึ้น เพราะถ้าไม่มีตลาดก็ยิ่งแย่ อย่าง บิ๊ก สกรีน แฟร์ ที่เพิ่งจัดไป แม้ยอดขายจะโตขึ้น แต่ก็ไม่เป็นไปตามที่เราตั้งเป้าไว้"
บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิจัยทางการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบุว่า การปรับราคาสินค้าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของตลาดแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งผู้ประกอบการต่างคาดหวังว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก ที่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการปรับขึ้นพร้อมๆ กัน ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดมากนัก เพราะราคาไม่โดดไม่แตกต่างกัน และคาดว่าผู้ประกอบการคงต้องมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย อาทิ เงินผ่อนดอกเบี้ยต่ำเข้ามากระตุ้นตลาดมากขึ้นแน่นอน
กลุ่มส่งออกลอยตัว
นายฮิซาจิ เอบิซาว่า ผู้จัดการทั่วไป ส่วนการตลาด บริษัท ฟูจิตสึ เจนเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ราคาทองแดงที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่สูงขึ้นจริง แต่เนื่องจากเครื่องปรับอากาศฟูจิตสึมีฐานการผลิตในเมืองไทยที่สูงถึง 2.5 ล้านยูนิตในปีที่แล้ว และในปีนี้ตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตขึ้นเป็น 3 ล้านยูนิต ซึ่งทำให้บริษัทมีสายป่านที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ในตลาด จะช่วยให้สามารถตรึงราคาไว้ได้ ตราบที่คู่แข่งยังไม่มีการปรับราคา
ประกอบกับสินค้ากว่า 99% ที่ผลิตได้เป็นการส่งออกไปยุโรป ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง ที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้บริษัทยังจะเข้าไปเปิดตลาดใหม่ในรัสเซียเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประเทศที่มาแรงมาก มีทิศทางการขยายตัวสูง ทำให้ไม่น่าจะมีปัญหาตามมา
"ยอดขาย 1% ในเมืองไทย คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรถ้ามีการปรับราคาขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าเราเป็นทาร์เก็ตระดับบนอยู่แล้ว แต่ก็ต้องคอยดูคู่แข่งด้วยเช่นกันว่าจะเป็นอย่างไร" ผู้จัดการทั่วไป บริษัทฟูจิตสึกล่าว
เครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่นประชุมเครียด ประกาศดีเดย์ปรับขึ้นราคาเครื่องปรับอากาศ-ตู้เย็น-เครื่องซักผ้า สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ หลังแบกรับต้นทุนทองแดง-น้ำมัน ที่ยังทะยานเพิ่มขึ้นไม่หยุด เร่งระบายสต๊อกก่อนเดินกลยุทธ์ รุ่นใหม่-ราคาใหม่ ด้านร้านค้าเตรียมแผนรับอัดโปรโมชั่น-เงินผ่อน กระตุ้น
หลังจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างทยอยปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทองแดงที่เป็นวัตถุดิบหลักมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว จาก 1,400-1,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในช่วง 2-3 ปีก่อน จะขึ้นมาเป็น 8,700 เหรียญต่อตัน ส่งผลถึงผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า ไม่อาจหลีกหนีการปรับราคาเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยกลไกการตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้การปรับราคาที่เกิดขึ้นไม่อาจทำได้ง่ายนัก โดยเฉพาะถ้าผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำในแต่ละเซ็กเมนต์ไม่ยอมปรับราคา จะทำให้การปรับราคาเกิดขึ้นยากมาก
เอชเอโอดต้นทุนพุ่งไม่หยุด
แหล่งข่าวระดับสูงในบริษัท พานาโซนิคส์ เอ.พี. ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ตอนนี้บริษัทต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% คาดว่าในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคม คงต้องมีการปรับราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (HA) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหมวดเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ที่ใช้ทองแดงเป็นต้นทุนการผลิตหลัก
"ราคาจะปรับขึ้นสำหรับสินค้ารุ่นใหม่ที่ออกมา จะมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ เพิ่มฟังก์ชัน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นการปรับราคาอย่างเดียว แต่เรามีแวลูแอด เพิ่มให้ด้วย และจะขายสินค้าในราคาเดิมต่อไปจนกว่าสินค้าที่ผลิตจากต้นทุนเดิมหมด คาดว่าน่าจะเคลียร์สต๊อกเรียบร้อยก่อนเดือนกรกฎาคมนี้"
ผู้บริหารรายนี้มั่นใจว่า การปรับขึ้นราคาสินค้าของบริษัทจะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการในตลาดแบรนด์อื่นๆ ต่างเล็งที่จะปรับขึ้นทั้งสิ้น เนื่องจากไม่สามารถแบกรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อีกต่อไป
ซัยโจ เดนกิ ชี้ต้องรับความจริง
นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยโจ เดนกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า บริษัทจะปรับราคาสินค้าในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ เพราะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง โดยจะแจ้งรุ่นใหม่ ราคาใหม่ กับตัวแทนจำหน่ายผ่านดีลเลอร์คอนเฟอเรนซ์ ในสัปดาห์หน้า (8-9 มิถุนายน 2549) และจะไม่มีปัญหาค้างสต๊อก เพราะบริษัทวางแผนการผลิตเดือนต่อเดือนอยู่แล้ว
"ถ้าการปรับราคาทำให้ตลาดรวมปีนี้โตน้อยลง ก็คงต้องยอมรับความจริงกัน เพราะคิดว่าแบรนด์ในระดับเดียวกันคงต้องปรับราคาไม่ต่างกันนัก แต่อาจจะมีแบรนด์จากเมืองจีนที่ยังสามารถทำราคาได้ถูกอยู่ ซึ่งลูกค้าก็คงต้องเลือกแล้วละว่าต้องการอะไรมากกว่ากัน"
ค่ายญี่ปุ่นรวมหัวนำร่อง
แหล่งข่าวในวงการเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกรายหนึ่ง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมของสมาคมผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการพูดถึงปัญหาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทุกคนเห็นตรงกันว่าควรมีการปรับราคาตามกลไกตลาดได้แล้ว ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะปรับราคาอย่างแน่นอน คือ ฝั่งผู้ประกอบการจากค่ายญี่ปุ่นที่มีการเจราเรื่องนี้ร่วมกัน
"ปกติการพบประพูดคุยกันของผู้ประกอบการ มีอยู่แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีการพูดคุยกัน ตั้งแต่ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน ที่ผ่านมา ก็ยังพอรับไหว แต่ทองแดงที่ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ทุกฝ่ายก็เห็นด้วยว่าน่าจะมีการปรับราคากันได้แล้ว"
อย่างไรก็ตาม การปรับราคาที่เกิดขึ้นคงไม่มีการลงนามกันเป็นลายลักษณ์อักษร และคงไปบังคับกันไม่ได้ เพราะนโยบาย และรูปแบบการทำตลาดของแต่ละค่ายย่อมไม่เหมือนกัน อย่างแบรนด์จากค่ายญี่ปุ่นอาจจะไปในทิศทางเดียวกันได้ง่าย แต่แบรนด์ค่ายอื่นๆ เป็นเรื่องยาก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาแบรนด์ชั้นนำจากค่ายญี่ปุ่น อาทิ โตชิบา ฮิตาชิ พานาโซนิค ซันโย และชาร์ป ต่างมีการปรับราคาขึ้นตู้เย็น 1 ประตู ไปรอบหนึ่งแล้วประมาณ 3% รวมทั้งเครื่องปรับอากาศที่บางแบรนด์ได้ปรับขึ้นราคาสินค้ารุ่นใหม่ประมาณ 1,000 บาท เมื่อเทียบกับราคาเดิม
"ปกติตลาดตู้เย็น 1 ประตูแข่งกันแรงมาก ไม่มีใครกล้าปรับราคา แม้ต้องแลกกับต้นทุนที่เพิ่ม เพราะกลัวเสียส่วนแบ่งตลาด แต่หลังจากแอลจีเลิกผลิตแบบ 1 ประตู และซัมซุงไม่เน้นทำตลาดมากนัก พร้อมกับยกเลิกบางรุ่น บางไลน์ไป ทำให้เหลือหลักๆ เฉพาะแบรนด์จากค่ายญี่ปุ่นในตลาด และได้ปรับขึ้นราคาทันที โดยมีโตชิบาเป็นผู้นำร่อง ก่อนที่รายอื่นๆ จะทยอยปรับขึ้นจนครบทุกแบรนด์" แหล่งข่าวกล่าว
เพาเวอร์บายหวั่นตลาดช็อก
นางสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด กล่าวว่า ยังไม่เห็นสัญญาณการปรับราคาของผู้ประกอบการรายใดในช่วงนี้ เพราะปกติแล้วการปรับราคาส่วนใหญ่จะแจ้งให้ร้านค้าปลีกและดีลเลอร์ทราบล่วงหน้า 1 เดือน เพื่อให้เตรียมแผนในการทำตลาด และระบายสินค้ารุ่นเดิมออกมา อย่างไรก็ตามสิ่งที่เพาเวอร์บายกังวลก็คือ การปรับราคาสินค้าจะยิ่งทำให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจไปอีก จากเดิมมีผลกระทบจากราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
"เราคงยิ่งต้องหากิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ออกมาเสริมมากขึ้น เพราะถ้าไม่มีตลาดก็ยิ่งแย่ อย่าง บิ๊ก สกรีน แฟร์ ที่เพิ่งจัดไป แม้ยอดขายจะโตขึ้น แต่ก็ไม่เป็นไปตามที่เราตั้งเป้าไว้"
บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิจัยทางการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบุว่า การปรับราคาสินค้าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของตลาดแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งผู้ประกอบการต่างคาดหวังว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก ที่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการปรับขึ้นพร้อมๆ กัน ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดมากนัก เพราะราคาไม่โดดไม่แตกต่างกัน และคาดว่าผู้ประกอบการคงต้องมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย อาทิ เงินผ่อนดอกเบี้ยต่ำเข้ามากระตุ้นตลาดมากขึ้นแน่นอน
กลุ่มส่งออกลอยตัว
นายฮิซาจิ เอบิซาว่า ผู้จัดการทั่วไป ส่วนการตลาด บริษัท ฟูจิตสึ เจนเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ราคาทองแดงที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่สูงขึ้นจริง แต่เนื่องจากเครื่องปรับอากาศฟูจิตสึมีฐานการผลิตในเมืองไทยที่สูงถึง 2.5 ล้านยูนิตในปีที่แล้ว และในปีนี้ตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตขึ้นเป็น 3 ล้านยูนิต ซึ่งทำให้บริษัทมีสายป่านที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ในตลาด จะช่วยให้สามารถตรึงราคาไว้ได้ ตราบที่คู่แข่งยังไม่มีการปรับราคา
ประกอบกับสินค้ากว่า 99% ที่ผลิตได้เป็นการส่งออกไปยุโรป ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง ที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้บริษัทยังจะเข้าไปเปิดตลาดใหม่ในรัสเซียเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประเทศที่มาแรงมาก มีทิศทางการขยายตัวสูง ทำให้ไม่น่าจะมีปัญหาตามมา
"ยอดขาย 1% ในเมืองไทย คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรถ้ามีการปรับราคาขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าเราเป็นทาร์เก็ตระดับบนอยู่แล้ว แต่ก็ต้องคอยดูคู่แข่งด้วยเช่นกันว่าจะเป็นอย่างไร" ผู้จัดการทั่วไป บริษัทฟูจิตสึกล่าว
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
"ตู้เย็น-แอร์"ยื้อไม่ไหวขยับแน่ ระบายสตอกก่อนปรับร
โพสต์ที่ 2
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
"ตู้เย็น-แอร์"ยื้อไม่ไหวขยับแน่ ระบายสตอกก่อนปรับร
โพสต์ที่ 5
ความเสี่ยงของการเป็นผู้ผลิต oem คือต้องฝากอนาคตไว้กับยอดผลิตของลูกค้า จึงเป็นปัจจัยที่ snc จะควบคุมไม่ได้
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ