ผมคิดว่าชาว VIS ที่นี่คงรู้จักดีนะครับหมายถึง P/BV
แต่ที่ผมสงสัยคือ buffet จะเน้นไปที่ ROE ซะมากกว่า
และ lynch แกแทบไม่ใช้เลย
แต่ถ้าอ่านดร.นิเวศน์จำได้ว่าแกจะใช้มาคูณกับ P/E
ทีนี้จากที่ผมสังเกตมาหลายๆตัว
ถ้าหากหุ้นตัวไหนมันมี ROE สูง ก็มักจะมี PB สูงด้วย
เช่น AMATA, UVAN, ATC, ADVANC, SSPORT
ผมก็เลยสงสัยว่าไอ้ ROE กับ P/BV มันมักไปด้วยกันหรือเปล่าครับ
คือถ้าสูงน่าสูงทั้งคู่
สงสัยเรื้อง P/B ว่าพี่ๆ ใช้ในการวิเคราห์ไหม
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื้อง P/B ว่าพี่ๆ ใช้ในการวิเคราห์ไหม
โพสต์ที่ 2
ใช่แล้วครับ ราคาตลาดที่สูงกว่า book value ทางบัญชีเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันกับ ROE แต่จริงๆ ไม่ใช่ ROE ตรงๆ หรอกครับ มันคือผลต่าง ROIC (return on invested capital) กับ WACC (Weighted average cost of capital) ต่างหาก
อันนี้ผมไม่ได้คิดเองนะครับ อ้างมาจากตำราภาษาอังกฤษของคนที่เคยอยู่บริษัท mckinsey ที่เป็นที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงมากบริษัทนึงครับ ชื่อหนังสือน่าจะเป็น Value The Company หรืออะไรเทือกนี้แหละ
เค้าเขียนทฤษฎีไว้สองข้อคือ TRS (Total Return for shareholder) คือผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นกำไรจากมูลค่าหุ้นรวมกับเงินปันผลจะเป็นไปตามความคาดหวังต่อผลประกอบการของบริษัท ถ้ามีการคาดว่าผลประกอบการจะดีมากๆ แล้วออกมาธรรมดาหรือดีปานกลาง ราคาหุ้นก้อจะตกลง ตรงกันข้ามถ้าไม่มีความคาดหวังมากนักแต่ผลประกอบการออกมาดี ก้อจะทำให้ผลตอบแทนที่มีกับผู้ถือหุ้นดีตามไปด้วย
อีกทฤษฎีก้อคือ ราคาหุ้นในตลาดเมื่อเทียบกับราคาทางบัญชี (ก้อเจ้า P/BV ตัวนี้แหละ) มันจะมีสูงถ้าบริษัทนั้นสร้างกำไรต่อเงินทุน (ROIC) ได้มากกว่าต้นทุนทางการเงินของบริษัทนั้น (WACC)
เค้ายกตัวอย่างหุ้นของอเมริกาสองตัวคือ WALMART กับ อีกบริษัท จำไม่ได้แล้วว่าอะไร
WALMART มีผลต่างระหว่าง ROIC กับ WACC สูงมาก แต่ TRS กลับต่ำกว่าบริษัทที่มีผลต่างระหว่าง ROIC กับ WACC ต่ำกว่า เพราะมีความคาดหวังกับ WALMART ในเรื่องของผลประกอบการสูงกว่า
อันนี้ผมก้อไม่แน่ใจว่ามันจะใช้กับเมืองไทยได้หรือเปล่า แต่บางกรณีผมเห็นว่าก้อยังใช้ได้นะครับ
สรุปก้อคือ P/BV ยังใช้บอกอะไรไม่ได้มากนักนะผมว่า ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการวิเคราะห์แน่ๆ ครับ
อันนี้ผมไม่ได้คิดเองนะครับ อ้างมาจากตำราภาษาอังกฤษของคนที่เคยอยู่บริษัท mckinsey ที่เป็นที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงมากบริษัทนึงครับ ชื่อหนังสือน่าจะเป็น Value The Company หรืออะไรเทือกนี้แหละ
เค้าเขียนทฤษฎีไว้สองข้อคือ TRS (Total Return for shareholder) คือผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นกำไรจากมูลค่าหุ้นรวมกับเงินปันผลจะเป็นไปตามความคาดหวังต่อผลประกอบการของบริษัท ถ้ามีการคาดว่าผลประกอบการจะดีมากๆ แล้วออกมาธรรมดาหรือดีปานกลาง ราคาหุ้นก้อจะตกลง ตรงกันข้ามถ้าไม่มีความคาดหวังมากนักแต่ผลประกอบการออกมาดี ก้อจะทำให้ผลตอบแทนที่มีกับผู้ถือหุ้นดีตามไปด้วย
อีกทฤษฎีก้อคือ ราคาหุ้นในตลาดเมื่อเทียบกับราคาทางบัญชี (ก้อเจ้า P/BV ตัวนี้แหละ) มันจะมีสูงถ้าบริษัทนั้นสร้างกำไรต่อเงินทุน (ROIC) ได้มากกว่าต้นทุนทางการเงินของบริษัทนั้น (WACC)
เค้ายกตัวอย่างหุ้นของอเมริกาสองตัวคือ WALMART กับ อีกบริษัท จำไม่ได้แล้วว่าอะไร
WALMART มีผลต่างระหว่าง ROIC กับ WACC สูงมาก แต่ TRS กลับต่ำกว่าบริษัทที่มีผลต่างระหว่าง ROIC กับ WACC ต่ำกว่า เพราะมีความคาดหวังกับ WALMART ในเรื่องของผลประกอบการสูงกว่า
อันนี้ผมก้อไม่แน่ใจว่ามันจะใช้กับเมืองไทยได้หรือเปล่า แต่บางกรณีผมเห็นว่าก้อยังใช้ได้นะครับ
สรุปก้อคือ P/BV ยังใช้บอกอะไรไม่ได้มากนักนะผมว่า ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการวิเคราะห์แน่ๆ ครับ
- ปรัชญา ทิพย์มาบุตร
- Verified User
- โพสต์: 18
- ผู้ติดตาม: 0
อ่ะอย่างนี้ ก็ไม่ควรใช้ roe ซิครับ
โพสต์ที่ 3
เพราะ wacc นั้นมันมี cost of debt ด้วยใช่ป่ะครับ ผมว่าก็เข้าท่าดี แต่ wacc ของบริษัทนี่ท่าทางจะลำบากหน่อย เอาแค่ roa น่าจะดีกว่าอ่ะครับ โดยส่วนตัวไม่ขอบ roe เพราะ roe ให้ค่าสูงแต่ บางทีมันมีหนี้แยะอ่ะก็หมายความว่าผู้บริหารเอา asset (ที่รวมหนี้กับสินทรัพย์) ไปหาประโยชน์ได้น้อยอ่ะครับ
สำหรับ p/b ผมว่าใช้ประโยชน์ได้แยะเหมือนกันครับ p/b จะดูราคาเทียบกับ book ใช่ป่ะครับบางบริษัท เราซื้อ ต่ำกว่า p/b หรือ p/b ต่ำ ๆ ก็ดีครับ แต่ต้องดูตัว growth ของบริษัทอีกที อ่าคล้าย ๆ กับ wg ก่อนหน้านี้ราคา ต่ำกว่า book ใช่ป่ะครับแล้วบริษัทมี growth ซื่งตรงนั้นสุดท้ายแล้วก็จะสร้างมูลค่าให้กับบริษัทอีก ในแง่ของกำไรสะสม หรือส่วนของผู้ถือหุ้น cap gain เพราะฉะนั้นซื้อ ต่ำกว่า book ก็เท่ากับว่าซื้อบริษัทต่ำกว่าราคาที่แท้จริง แต่ว่าแนวโน้มในอนาคตก็มีมูลค่าของบริษัทที่เพิ่มขึ้นด้วย ก็เซฟสุด ๆ เลยครับ หรือในกรณีที่ growth ของบริษัทอาจมีไม่มาก เท่าที่คาดหวัง อย่างน้อยก็ซื้อไม่แพงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทมากก็ยังเซฟ
สรุปคือ ผมคิดว่านอกจากดู p/b แล้วเนี่ยต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วยอ่ะครับครับ
สำหรับ p/b ผมว่าใช้ประโยชน์ได้แยะเหมือนกันครับ p/b จะดูราคาเทียบกับ book ใช่ป่ะครับบางบริษัท เราซื้อ ต่ำกว่า p/b หรือ p/b ต่ำ ๆ ก็ดีครับ แต่ต้องดูตัว growth ของบริษัทอีกที อ่าคล้าย ๆ กับ wg ก่อนหน้านี้ราคา ต่ำกว่า book ใช่ป่ะครับแล้วบริษัทมี growth ซื่งตรงนั้นสุดท้ายแล้วก็จะสร้างมูลค่าให้กับบริษัทอีก ในแง่ของกำไรสะสม หรือส่วนของผู้ถือหุ้น cap gain เพราะฉะนั้นซื้อ ต่ำกว่า book ก็เท่ากับว่าซื้อบริษัทต่ำกว่าราคาที่แท้จริง แต่ว่าแนวโน้มในอนาคตก็มีมูลค่าของบริษัทที่เพิ่มขึ้นด้วย ก็เซฟสุด ๆ เลยครับ หรือในกรณีที่ growth ของบริษัทอาจมีไม่มาก เท่าที่คาดหวัง อย่างน้อยก็ซื้อไม่แพงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทมากก็ยังเซฟ
สรุปคือ ผมคิดว่านอกจากดู p/b แล้วเนี่ยต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วยอ่ะครับครับ