MoneyTalk@SET23/4/60-กลต&การดูแล/หุ้นเด่นQ2/ฝรั่งมองหุ้นไทย
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
MoneyTalk@SET23/4/60-กลต&การดูแล/หุ้นเด่นQ2/ฝรั่งมองหุ้นไทย
โพสต์ที่ 1
Money talk at SET 23/4/60
มี 3 หัวข้อ เนื่องจากค่อนข้างยาว ขอสรุปสั้นๆจั่วหัวไว้
หัวข้อ 1 “กลต. กับการดูแลนักลงทุน”
เป็น หัวข้อพิเศษที่ให้เราได้เรียนรู้ว่า กลต. มีกฏเกณฑ์
มีกระบวนการอยู่ข้างหลังนักลงทุนซึ่งจะช่วยปกป้องให้ความยุติธรรม
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ที่ออกมาซึ่งกระทบกับการให้ข้อมูลของผู้บริหาร
ก็เป็นเรื่องที่ออกมาให้ครอบคลุมไม่ให้ผู้มีเจตนานำข้อมูลภายในไปสร้างผลประโยชน์
หรือป้องกันการหลงผิดจากให้ข้อมูลที่อาจไม่เป็นจริง
สำคัญที่สุดคือนักลงทุนเองต้องดูแลตัวเอง
พิจารณาแยกแยะข้อเท็จจริง ความเห็น และวิเคราะห์ ตัดสินใจให้ดีครับ
หัวข้อ 2 “หุ้นเด่นไตรมาส2”
เป็นบริษัทจดทะเบียน 3 บริษัท ที่มีแนวโน้มการเติบโตน่าสนใจ
และเป็นผู้สนับสนุนรายการด้วย ได้แก่ ilink, ck และ sawad
โดยผู้บริหารมาให้ข้อมูลการดำเนินธุรกิจ,ผลประกอบการและแนวโน้ม
หัวข้อ 3 “ฝรั่งมองหุ้นไทยอย่างไรและมองหุ้นไหน?”
เป็นครั้งแรกของMoney Talk ที่สัมภาษณ์มุมมองของฝรั่งที่มองตลาดหุ้นไทย
ซึ่งจะมีความแตกต่างซึ่งเป็นการลงทุนของสถาบันที่มีเม็ดเงินขนาดใหญ่
จะช่วยเพิ่มมุมมองในการตัดสินใจของเรา
เนื้อหาที่บันทึกอาจมีความดผิดพลาดตกหล่นบ้าง ก็เรียนขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ
ยิ่งครั้งนี้มีภาษาอังกฤษด้วย เข้าใจผิดไปอย่างไร ช่วยเสริมชี้แนะได้ครับ
ถ้าสนใจโดยละเอียดเพิ่มเติมก็เปิดดูรายการหรือ VDO ย้อนหลังนะครับ
ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค แขกรับเชิญทุกท่าน
ที่สละเวลาและมีความตั้งใจดีๆมาให้ข้อมูลกับพวกเราครับ
รวมถึงผู้มีอุปการะคุณ ทีมงานหน้าบ้านหลังบ้านทุกท่านครับ
__________________________________________________
หัวข้อ 1 สัมภาษณ์พิเศษ
“กลต. กับการดูแลนักลงทุน”
แขกรับเชิญ
คุณ รพี สุจริตกุล
(เลขาธิการ สำนักงาน กลต.)
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Q.การเปลี่ยนแปลงกฏหมายที่มีผลกับนักลงทุนเรื่องอะไร? เป็นประโยชน์อย่างไร?
อย่างฉบับที่ทำให้ผู้บริหารตอบคำถามนักลงทุนไม่ค่อยได้
A. เกี่ยวกับ insider trading
กฏหมายเดิมมีปัญหาคือ คนจะผิดคือเป็นคนวงใน(กรรมการ,ผู้บริหาร)
และเป็นผู้รู้ข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยแล้วใช้ประโยชน์
ข้อจำกัดมีอยู่มาก เช่น ถ้าเอาไปบอกคนอื่นแล้วคนอื่นที่เอาไปใช้ประโยชน์ไม่มีความผิด
จึงมีการปรับปรุงให้ครอบคลุมมากขึ้น
เป็นเรื่องที่ Common sense
ไม่ว่าใครก็ตามที่รู้ว่าข้อมูลลับและมีผลประโยชน์กับราคาหุ้น แล้วนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ marketing เพื่อนกัน ถ้าทำผิดตามข้างต้นก็ถือว่าผิด
Q.สมมติถ้าผู้บริหารมาออกรายการ แล้วพูดให้ข้อมูลเป็น Public ไม่ได้บอกตัวเลข
แต่บอกจะโตมากกว่าปีที่แล้วเท่าตัว จะว่าอย่างไร มีผลไหม?
A. คนพูดกระทบแน่นอน ส่วนคนฟัง ต้องดูว่ารู้หรือไม่ กำไรที่โต 100% เป็นปกติหรือไม่ปกติ
จะกลับมาที่เงื่อนไขเดิม ว่าผู้รู้ข้อมูลรู้ว่าเป็นข้อมูลสำคัญและยังไม่ได้เปิดเผย
Q.ถ้าผู้บริหารบอกว่าปีหน้ากำไรโตเท่าตัว เป็นแค่ความเห็น ถือว่าผิดไหม?
A. เป็นอีกข้อหนึ่ง เรื่องแพร่ความเป็นเท็จ คือ ห้ามพูดพล่อยๆ มีอะไรที่เป็นหลักฐานหรือขายฝัน
ตั้งใจเอาคำพูดไปสร้างราคาหุ้นหรือไม่ ต้องพิสูจน์
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นเท็จ
ก็ต้องดูว่าเป็นการให้ข้อมูล insider มาใช้ประโยชน์หรือเปล่า
ผู้บริหารให้ข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผย เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในงบ
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นต้องบอกให้คนอื่นรู้พร้อมกันทั้งหมด
คือผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ ผ่าน website ของตัวเอง ไม่ใช่จำกัดวงที่รับรู้
ไม่ถูกต้องที่จะให้สิทธิคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมารู้ข้อมูลก่อนเอาไปใช้ก่อน
Q.คำที่พูดว่า รู้แล้วเหยียบไว้ ?
A. กลับมาที่คำว่า “รู้” อย่างเช่น ถ้าข้อมูลส่งมาตาม Line เราไม่เคยรู้ว่าเป็นข้อมูลลับ
ก็เอาผิดผู้เอาไปใช้ไม่ได้ ส่วนใหญ่จะถูกหลอก
ลองคิดดูว่าใครจะใจดีเอาข้อมูลมาส่งในไลน์ให้ชาวบ้านรู้ฟรีๆ คนรู้จำนวนมาก
คนเขียนไลน์ไม่ผิด แต่คนที่เอาไลน์ไปแพร่ข่าว รู้ว่าเป็นข้อมูลภายในสำคัญที่มีผลกระทบก็ถือว่าผิด
Q. คนที่แพร่ข้อมูล แล้วถ้ามีคนไปซื้อตามแล้วเสียหาย ต้องรับผิดชอบไหม?
A. คนที่ให้ข้อมูลผิด ถ้าเป็นข้อมูลเท็จ หรือพล่อยๆ มันจะกลับมาอยู่ที่ว่า “รู้”
ว่าเป็นข้อมูลเท็จแล้วยังเอาไปแพร่ต่อ ก็จะเข้าข่ายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
Q.หลายบริษัทที่นักลงทุนรายย่อยรู้สึกว่า บริษัทไม่ใส หรือดูผิดปกติ
แล้วรายย่อยก็เรียกร้องว่าทำไมไม่จัดการ?
A. เราต้องช่วยกันทำ
เคยอยู่ กลต.มาหลายปี แล้วไปเปิดบลจ.และทำงานหลากหลายในตลาดทุน
ก็ไม่คิดว่าตัวเองมีความสามารถในตลาดทุน เพราะไม่มีเวลา ข้อมูลต่างๆในตลาดทุนต้องอ่าน,
วิเคราะห์เยอะมาก ในบลจ.ก่อนตัดสินใจลงทุน ต้องโทรไปถามยืนยันให้แน่ใจ
ซึ่งคนที่ตัดสินใจลงทุนเองต้องเป็นกูรู ไม่อย่างนั้นจะแนะนำให้ไปซื้อกองทุนดีกว่า
เพราะจะต้องเข้าใจธุรกิจ งบการเงิน วิเคราะห์การเติบโต เจาะลึกในธุรกิจ
คนที่เอาข้อมูลมาบอกเราเขาก็บอกเท่าที่เขาอยากจะบอก ถ้าเราไม่ได้เป็นขาใหญ่จริง
Q. ถ้าตัวบริษัทเองไม่โปร่งใส เช่น ตกแต่งบัญชี เก็บหนี้เสียไว้ หรือตัดค่าเสื่อมแบบไม่ตรงไปตรงมา
ดูน่าสงสัย กลต.มีปรัชญาในการไปจัดการอย่างไร? เพราะนักลงทุนไม่รู้ เขาเชื่อว่าสิ่งที่เห็นเป็นของจริง
A. ถ้าคนแต่งบัญชีไปแล้วจึงจะเห็นความผิดเกิดขึ้น หน้าที่กลต.ก็มีเกณฑ์ในการทำงบการเงินอยู่แล้ว
ไม่ใช่อยู่ดีๆจะเปลี่ยนการตัดค่าเสื่อมได้ทันที
ดังนั้น การจะดูว่าบริษัทหรือผู้บริหารไม่โปร่งใสคงไม่สามารถไปดำเนินการได้ ถ้ายังไม่มีหลักฐาน
สิ่งที่ กลต.ดำเนินการได้คือ บังคับให้เขาเปิดเผย ถ้าข้อมูลเป็นเท็จจึงดำเนินการได้
ถ้าเปิดเผยข้อมูลมาแล้ว ดูน่าสงสัยแล้วนักลงทุนยังจะลงทุนก็ต้องคิดเอา
ซึ่งหน้าที่กลต.ต้องไปรื้อข้อมูล สอบถ้อยคำ รวบรวมเอกสารหลักฐาน
เช่น บางรายการมีผลสำคัญ กลต.กำหนดให้ต้องมี independent financial advisor
และต้องเข้า audit committee ด้วย และแสดงความเห็นต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นว่าเหมาะสมหรือไม่
จะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่าตลาดหลักทรัพย์สั่งให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ไม่อย่างนั้นก็จะโดนแขวนป้าย
Q. นักวิเคราะห์ เคยแนะนำให้ strong buy อยู่ดีๆก็เปลี่ยน หรือใช้สมติฐานที่ดูไม่สมเหตุสมผล
เปลี่ยนราคาในชั่วข้ามคืน เพราะราคาหุ้นขึ้นหรือลงแรงๆ โดยที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนชัดเจน
กลต.จะจัดการอะไรไหม?
A. นักวิเคราะห์เป็นผู้ที่ต้องขึ้นทะเบียนกับ กลต. จะกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำ
ต้องอยู่ในสมาคมนักวิเคราะห์ มีจรรยาบรรณที่ถูกลงโทษได้
ถ้านักวิเคราะห์พูดมั่วๆ เช่น เผลอเรอ หรือตั้งใจมั่ว เราสามารถดำเนินการได้
เขาให้เหตุผลแก้ตัวอย่างไร ฟังขึ้นไหม โดยเอาคนในวงการมาร่วมรับฟังด้วย
ถ้าทำผิดก็มีการตักเตือนรวมถึงถ้ารุนแรงก็ออกจากวงการ
เปรียบเหมือนกระทรวงสาธารณสุข
กลต. ไม่สามารถเข้าไปดูก๋วยเตี๋ยวทุกชามได้ ผู้ที่ทานก๋วยเตี๋ยวต้องเลือกเอง
ว่าร้านนี้สกปรก ใส่ผงชูรสเยอะ ครั้งหน้าก็ไม่กินร้านนี้
สิ่งที่ทำได้ นักลงทุนสามารถ ฟ้องไปที่ กลต. มี call center อัดคลิปมาก็ได้
ว่ามีการทำผิดจรรยาบรรณหรือนำข้อมูลเท็จมาบอก
และตัวนักลงทุนเองถ้าเห็นว่าไม่ดีก็อย่าไปเชื่อถือ
เวลานักวิเคราะห์พูด เราต้องตั้งคำถาม บทวิเคราะห์นั้นถูกต้องไหม
จะกลับมาเรื่องเดิมว่าคนที่จะมาเล่นหุ้นเอง ต้องมีความรู้ มีเวลา
มีความสามารถวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้เองได้
โดยส่วนตัวไม่มีเวลา ต่อให้มีเวลาก็ไม่สามารถที่จะมานั่งอ่านบทวิเคราะห์
เอาข้อมูลมานั่งประติดประต่อกัน พอไม่มีข้อมูล หรือมีไม่เพียงพอ
การจะตัดสินใจเอาเงินตัวเองไปให้ชาวบ้านก็ไม่ทำดีกว่า
อ.ไพบูลย์เสริมฟังแล้วนึกถึงที่มักสอนนศ.นิด้า ว่า
ทุกคนต้องวางแผนการเงิน ต้องรู้การออม จัดสรรเงิน
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ควรลงทุนเอง และเป็นส่วนน้อย 50 คน ไม่เกิน 4-5 คนที่ทำได้
รู้ว่าต้องลงทุนในหุ้น แต่ไม่ต้องลงทุนเอง
เห็นคนที่ลงทุนประสบความสำเร็จ วันหนึ่งเขาเจ๊งก็ไม่ได้มาบอกเรา
Q. การบริหารกองทุนรวมหุ้นทั่วไป ถ้าบริหารไม่ดีผลตอบแทนดีไม่ดีก็จะมีการจัดการกันไป
แต่พวกกองทุนอสังหาฯ กองทุน REIT แต่บริหารโดย บลจ.
หรือบริหารโดยเจ้าของที่ขายทรัพย์สินเข้ากองทุนน ซึ่งมี conflict of interest
หรือเอาทรัพย์สินไม่ดีมาขายเข้ากองทุน จะมีการป้องกันจัดการอย่างไร ?
A. ต้องแยก 2 ประเด็น
ของที่ใส่เข้าไปมีมูลค่าจริงหรือเปล่า ทาง กลต.จะมีเกณฑ์กำหนดชัดเจน
การซื้อจากเจ้าของมี conflict of interest ถ้าเจ้าของถือเองก็ห้ามอวด
และจะมีผู้ประเมินราคาอิสระ ซึ่งไม่มีใครบอกราคาเป๊ะๆได้ จะมีราคาขั้นต่ำขั้นสูงที่ควรจะเป็น
ซึ่งถ้าซื้อแพงมาเกินไปต้องเข้าไปตรวจสอบ และถ้าเจ้าของทรัพย์สินบริหารไม่ดี
และทางบลจ.เองก็จะมีความพยายามจัดการเอง อย่างถ้าเจ้าของบริหารไม่ดี
ก็พยายามเอาผู้บริหารออก หรือสามารถฟ้อง กลต.ให้ดำเนินการได้
ฝากนักลงทุนในการลงทุน กองทุนอสังหาฯต้องเข้าใจว่า
ส่วนใหญ่เป็นการเช่าทรัพย์สินไม่ใช่การซื้อ
เมื่อหมดอายุกองทุนนักลงทุนจะไม่ได้เงินต้นคืน
ยกเว้นบางกองที่มีกรรมสิทธิ์(freehold) ซึ่งมีน้อยมาก
ซึ่งถ้าเห็นว่าผลตอบแทนดีปันผล 6-7% ต้องเข้าใจว่าได้เงินต้นคืนหรือเปล่า
และต้องดูว่าทรัพย์สินที่ถือครองไปผูกกับอุตสาหกรรมอะไร
Q. จะมีโอกาสให้ ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอำนาจควบคุมบริษัท เช่น vote เปลี่ยนผู้บริหาร?
A. ขึ้นอยู่กับสัญญาก่อตั้งกองทุนรวม บางกองทุนน่าจะมี
ว่าผู้ถือหน่วยลงทุนรวมตัวกันกี่ % แล้วสามารถดำเนินการได้
อ.ไพบูลย์ สรุปปิดท้าย ว่าอยากให้ท่านได้มาพบพวกเราบ่อยๆ
นักลงทุนจะได้รู้ว่ามีผู้ดูแลพวกเราอยู่
มีขั้นตอนกระบวนการตามกฏหมาย แล้วสุดท้ายจึงจะเห็นผลตามมา
อาวุธดีที่สุดเวลาเจอคนไม่ดี เจอบริษัทไม่ดี คือวิ่งหนี ให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น
หัวข้อ2 “หุ้นเด่นไตรมาส2”
แขกรับเชิญ
1) คุณ สมบัติ อนันตรัมพร
ประธานกรรมการ ILINK
2) คุณ ธิดา แก้วบุดตา
กรรมการบริหาร SAWAD
3) คุณ ประเสริฐ มริตตนะพร
กรรมการบริหาร CK
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์
ธุรกิจทำอะไร?
ilink
หมอเค เกริ่น ilink ถือ itel 60% Mkt cap 5 พันกว่าล้านบาท
ส่วน ilink ก็ราวๆ 5 พันล้านบาทเช่นกัน
ซึ่งถืออยู่ 60% จะมีมูลค่า 3 พันกว่าล้าน
คุณสมบัติ เริ่มทำธุรกิจปี 2530
เป็นคนแรกที่นำสาย LAN เข้ามาเผยแพร่ตอนปี 2534
มีนวัตกรรมการจัดการการขายที่ดี สร้างทีมเลขาฝ่ายขาย ทำหน้าที่เป็น One stop service ได้
จึงทำให้เรายังรักษาความเป็นผู้นำได้ในวันนี้
ตั้งเป็นบริษัท ilink ปี 38 และจดทะเบียนในตลท. ปี 47
และย้ายจาก mai มาอยู่ใน set ปี 58
Spin off บริษัทลูก itel ปี 59
ธุรกิจมี 3 อย่างหลัก
1.สายสัญญาณ – นำเข้าและขายส่ง นอกจากสาย LAN เรามี สาย Fiber optic
ซึ่งเป็น trend ในปัจจุบันที่ใช้แทน รวมถึงสายสัญญาณสำหรับกล้องวงจรปิด,
สาย security ต่างๆ ตลาดเติบโตปีละ 10% ปัจจุบันเราใช้ wireless กันมากขึ้น เราไม่ได้หยุดคิด
ที่เราใช้มือถือมีการสื่อสารกับสาย antenna ซึ่งสื่อสารกับ node ต้องใช้สายสัญญาณ
จึงเติบโตไปกับการสื่อสารผ่าน WIFI และ Mobile ด้วย เราเชื่อว่าอีก 20-30 ปีก็ยังไม่ล้าสมัย
แต่เราก็กำลังศึกษาเทคโนโลยีที่จะมาแทนใช้สื่อสารระยะสั้นราว 500 m เราเรียกว่า IOT
2.ธุรกิจวิศวกรรม –sub marine cable นำสายไฟฟ้าแรงสูง(115KV) ไปวางใต้ทะเล
ต้องใช้เทคโนโลยี, ทำ transmission line บนเสาไฟฟ้าสูงๆ, นำสายไฟฟ้าลงดิน ,
ทำ sub station ควบคุมไฟฟ้า รวมถึง Smart city ที่พยายามเอา IT เข้ามาให้เมือง
3.โทรคมนาคม – บ.itel ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ให้บริการเช่าสัญญาณ
CK
หมอเค สรุปข้อมูลให้ฟัง CK มูลค่าตลาด 4.7 หมื่นล้าน บ.ลูกที่ใหญ่สุด BEM 3.3 หมื่นล้าน
(คิดตามสัดส่วนที CK ถือ) , TTW 8 พันล้าน, CKP 6.4 พันล้าน รวมๆไปก็เกือบเท่า MKT Cap ของบ.แม่
คุณประเสริฐจดทะเบียน ปี 2515 ราว 45 ปีแล้ว
ช่วงแรกทำงานพวกงานทหารทำไปเรื่อยๆจนถึงงานนายร้อยจปร.เขาชะโงก ในปี 26 มูลค่างาน 2.6 พันล้าน ถือว่าใหญ่มาก
ต่อมาก็ทำงานสะพานแขวนพระราม 9 , เริ่มมีการร่วมงานกับญี่ปุ่น
,สร้างโครงการต่างๆ สร้างมหาวิทยาลัยตามภูมิภาคต่างๆ,
ทำทางด่วน, ทำรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินปัจจุบัน, ก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำประปา,
ต่างประเทศมีทำเขื่อนในสปป.ลาว เขื่อนน้ำงึม2 ,เขื่อนไซยบุรีบนแม่น้ำโขง มูลค่าโครงการแสนกว่าล้านบาท ก่อสร้างแล้วราว 70%
อีก 2 ปีกว่าจะเสร็จ กำลังผลิต 1285 MW ขายให้ไทย 95%
ซึ่งมองไปข้างหน้าที่สปป.ลาวยังมีงานเกี่ยวกับไฟฟ้าอีกเป็นหมื่น MW
งานที่ประมูลได้ล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีส้มได้สัญญาที่ 1,2,5
สัญญา 1,2 เป็นใต้ดิน สัญญา 5 โรงซ่อม มูลค่างาน 4.7 หมื่นล้าน เป็น JV กับ STEC เราถือ 60% STEC
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
งาน Motor way บางปะอิน-โคราชเราได้ 2 สัญญา
รถไฟรางคู่ จิระ-ขอนแก่น 187 km มูลค่า 2 หมื่นกว่าล้าน เป็นงาน JV เราถือ 70%
Backlog ปัจจุบันราว 1 แสนกว่าล้าน
เป็นการทยอยรับรู้ไปอีกหลายปี
ปี 59 รายได้ 4.5 หมื่นล้าน ซึ่งมีงานเพิ่มจากไซยบุรี
งานข้างหน้าที่คาดว่าจะทยอยประมูล เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม, สีม่วงที่จะขยาย, สีน้ำเงิน, รถไฟทางคู่ไปภาคใต้
และบ.ลูกของ CK ที่จะมีการก่อสร้างเพิ่มเติม
SAWAD
คุณธิดา เรามีบริษัทลูกเหมือนกัน คือ บ.รับจ้างบริหารติดตามหนี้, บ.ที่ลงทุนในต่างประเทศ
ทำธุรกิจ consume finance ต่างๆ และ บ.ลูกที่ทำ nano finance
บริษัททำธุรกิจสินเชื่อทางการเงิน
อยากเป็นร้านสะดวกซื้อทางการเงินไปที่ไหนก็เจอเรา ถ้าขัดสนเงินทอง หรืออยากได้เพิ่มเติมเรายินดีรับใช้
รวมถึงสามารถจับจ่ายใช้สอยซื้อประกันชีวิต ประกันภัย
รายได้หลักมาจากการให้สินเชื่อแบบมีหลักประกัน กลุ่มลูกค้าคือ
คนที่ต้องการเสริมสภาพคล่องหรือขาดเงินแต่กู้ธนาคารพาณิชย์ได้ยุ่งยากกว่า
จะใช้รถ หรือบ้าน คอนโดก็ได้ โดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ปัจจุบันมี 2 พันกว่าสาขาทั่วไทย
ลูกหนี้ราว 1.7 หมื่นล้านให้สินเชื่อ
และมี 2.3 พันล้าน(เป็นทุนที่บริษัทจ่าย) เป็นลูกหนี้ที่เกิดจากการซื้อหนี้เสียมาบริหาร
ส่วนหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
20% เป็นที่ดิน
10% เป็นมอเตอร์ไซค์
ที่เหลือเป็นรถยนต์(กระบะ,สิบล้อ,หกล้อ)
การแข่งขันมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ความต้องการเงินยังมีอีกมาก
เราจะเติบโตทุกปีในทุกอย่างไปพร้อมกันรวมถึงระบบหลังบ้านไปด้วย
อย่างลูกที่เรากำลังเสนอซื้อ ตอนนี้รับมา 36% ในอนาคตเราก็จะได้เติบโตเป็นสถาบันการเงิน
โดยยังมุ่งเน้นให้สินเชื่อกับลูกค้าเราเหมือนเดิม
ซึ่งจะต้องมีการติดต่อกับ กลต,ธปต.เพิ่มเติม
การเป็นสถาบันทางการเงินจะมีระบบระเบียบมากขึ้น
ไม่ใช่เจ้าหนี้นอกระบบ สามารถรับเงินฝากได้
เดิมเราใช้ทุนจากหุ้นกู้และตั๋ว BE
License ของลูกไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่เป็นเงินทุน ซึ่งจะอยู่ใต้กฏเกณฑ์ของธปท.
ผลดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวโน้มอนาคต?
ilink
ปี 58 รายได้ราว 3 พันกว่าล้าน ปี 59 เกือบ 3 พันล้านเหมือนกันแทบไม่เติบโต
ซึ่งเราวิเคราะห์ใน 3 ธุรกิจพบว่า distribution เติบโตค่อนข้างดี, itel เติบโตสูง
แต่ปัญหาคือธุรกิจวิศวกรรม ปี 58 เคยมีรายได้ 6-7 ร้อยล้าน แต่ปี 59 มีเพียง 2 ร้อยกว่าล้าน
ในแผนปี 60 ธุรกิจสายสัญญาณโต 10% ธุรกิจเทเลคอมก็มีการเติบโตดี
ธุรกิจวิศวกรรม เรามี backlog 1.5 พันล้านที่จะรับรู้ช่วงปี 60-61
คาดการณ์ว่าทั้งกลุ่มจะเติบโตได้อย่างมีนัยยะ
งาน sub marine มีไม่กี่บริษัทที่ชำนาญ ซึ่งมีงานที่ delay มา 2-3 ปี
เช่น ลากจากแผ่นดินใหญ่ไปสมุย 2 พันกว่าล้าน, พะงันไปเกาะเต่า พันกว่าล้าน
และงานย่อยๆ รวมกันได้ 4 พันกว่าล้าน
แต่ติดที่ EIA และกระบวนการต่างๆ คาดหวังว่าจะมีการประมูลงานในปีนี้
รวมถึงงาน transmission line และ sub station ที่ติดขัดมานาน
ซึ่งรวมแล้วจะมีงานเข้าประมูล 1.3 หมื่นล้าน
ใน CLMV มองว่าเป็นโอกาส มีตั้งสำนักงานในลาว
เรามีบ.ลูก itel ที่ให้บริการให้เช่าสายสัญญาณหรือการสื่อสาร
ซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เติบโต
CK
2 ปีที่ผ่านมารายได้คงที่ราว 3 หมื่นกว่านแต่ปี 59 โตเป็น 4.5 หมื่นล้านจากงานไซยบุรี
แต่ปีนี้คงไม่เท่าปีที่แล้วซึ่งมีงานพิเศษ
ในส่วนสัญญาใหม่ๆที่จะเซ็นเข้ามาก็ต้องใช้เวลาก่อสร้าง
Backlog 8 หมื่น + 2 หมื่นกว่าล้าน เป็น 1 แสนกว่าล้าน
อยู่ที่ภาครัฐจะประมูลงานเพิ่มเติม
TTW จะเพิ่มกำลังผลิต จาก 4 แสนกว่าขึ้นไปอีก 1 แสนกว่าคิว
แถวนครปฐม สมุทรสาคร สร้างเสร็จในปี 60
BEM เปิดทางด่วนศรีรัฐแล้ว ช่วงแรกวิ่ง 3-4 หมื่นคัน ตอนนี้เพิ่มมา 6-7 หมื่นคันแล้ว
ถ้าเป็นเส้นหลักวิ่งเป็นล้านคัน
รถไฟฟ้าได้ operate สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
CKP – กลางปี 60 โรงไฟฟ้าที่ใช้แก๊สเฟส 2 บางปะอินจะเริ่มมีรายได้ กำลังผลิต 120 MW
รวมเป็น 240 MW, ไซยบุรี อีก 2 ปีกว่าจะเสร็จแล้วขายไฟฟ้าได้ 1285 MW
อนาคตรวมทั้งหมดจะเป็น 2 พันกว่า MW
ความเสี่ยงเช่น การผันน้ำให้สร้างเข้าทางที่ใช้ ไม่ให้เข้าฝั่งที่ก่อสร้าง ซึ่งก็ทำเสร็จแล้ว
คิดเป็นรายได้จากการขายราว 1.5 หมื่นล้านบาท ถือหุ้นหลักๆโดย CKP(30กว่า%), EGCO, GPSC
SAWAD
ผลดำเนินงานปี 59 รายได้ราว 5 พันกว่าล้าน กำไร 2 พันกว่าล้าน
คิดเป็นการเติบโต 50%
ปีนี้ บ.คาดว่าจะเติบโต 20-30%
ซึ่งเป็นระดับปกติที่เราวางไว้
เปิดสาขาราว 3 ร้อยสาขา หรือราววันละ 1 สาขา
ปัจจุบัน เรามีสาขาทุกที่แล้วจะเน้นพัฒนาเพื่อดูแลและตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น
ระบบสนับสนุนก็ต้องพัฒนาต้องเติบโตไปด้วยกัน
การที่คู่แข่งเข้ามาไม่ได้เป็นที่กังวล มันเป็นเช่นนี้มานานแล้ว เราก็ดูแลลูกค้าของเราให้ดีเหมือนเดิม
ลูกค้าของบริษัทเป็น มอเตอร์ไซค์ราว 2 แสนกว่าคัน รถยนต์ 8-9 หมื่นคน
NPL ไม่ได้กังวล เพราะทุกวันดูแลใกล้ชิด พร้อมช่วยเหลือลูกค้าตั้งแต่ต้น
ตั้งแต่เข้าตลาดมาก็สัดส่วนลดลงเรื่อยๆ เราเปิดสาขามากก็ยิ่งอยู่ใกล้ลูกค้า ดูแลได้มากขึ้น
อ.ไพบูลย์ สรุปปิดท้าย
เราให้ข้อมูลท่านตัดสินใจ กำไรของท่านขาดทุนของท่าน
การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
สำคัญต้องรักษาเงินต้น
หัวข้อ 3 “ฝรุ้งมองหุ้นไทยอย่างไรและมองหุ้นไหน?”
แขกรับเชิญ
1) คุณ ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ
นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์
2) คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์
กรรมการผู้จัดการ CLSA
3) Dr. Andrew Stotz
นายกสมาคม CFA ประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
สัมภาษณ์ คุณภัทธีรา
Fund flow ที่เข้ามาต้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ส่วนที่เข้ามาลงทุนจริง และหมุนไปมา
ภาพใหญ่ตลาดหุ้นไทยปีนี้ไหลเข้าน้อยเทียบกับภาพรวมในโลก
ญี่ปุ่นไหลออก 1.3 พันล้านยูเอส
ไปเกาหลี,ไต้หวัน
TIP(ไทย,อินโด,ฟิลิปปินส์) ปีก่อนทิศทางเดียวกัน ปีนี้ต่างคนต่างไป
ตั้งแต่ต้นปีไหลเข้าไทย 185 ล้าน
ไปอินโด 1.2 พันล้าน
ดูพื้นฐานไทยปีก่อน Earning growth 30 กว่า% ค่อนข้างดี
ปีนี้การเติบโตเราเหลือแค่เลขหลักเดียว ขณะที่อินโดระดับ 20% ขึ้นไป
ฟิลิปปินส์ติดลบ เงินไม่ไหลเข้าไป
ถ้าเงินไหลเข้ามาก เราก็จะกังวลว่าเมื่อไรเงินจะไหลออก ข้อดีคือ พื้นฐานเราแข็ง
ฝรั่งมองเป็นที่ปลอดภัยที่จะเอาเงินเข้ามา
ปัญหาคือ ไม่มีแรงผลักดันมากพอให้ตลาดหุ้นขึ้น
เงินที่ไหลเข้ามาส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้
สัญชาติของเงินลงทุนต่างประเทศยังมีกลุ่มเดิม ยัง road show กับนักลงทุนทั่วโลก
แต่เงินลงทุนมารวมศูนย์ที่สิงคโปร์มากขึ้น เพราะมีภาษีที่เอื้ออำนวยกว่า ไม่มี double tax
สิ่งที่เปลี่ยนเยอะคือ เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์
สมัยก่อนนักวิเคราะห์ต้องมาอ่านข่าวทุกฉบับ ส่ง fax ทำ morning call
ปัจจุบันใช้ program ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้ผู้จัดการกองทุนน้อยลง
ETF ที่เป็นตัวแทนประเทศนั้น ที่ list ในตลาดต่างประเทศ เช่น นิวยอร์ค
ไม่ต้องนั่งดูหุ้นทีละตัวในไทย
สัมภาษณ์ คุณปริญญ์
ฝรั่งชอบมาเร็ว มองสวน เข้าไปในตลาดที่คนไม่ชอบไม่รัก
จากภาพ macro ไม่ชวนให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งเรื่องสงครามเกาหลี
การเมืองยุโรป เรื่องนโยบายทรัมป์ เรื่อง Fed ขึ้นดอกเบี้ย มีความไม่แน่นอน
มุมมองเรื่องสงครามโลกไม่น่าเกิด เพราะเกาหลีเหนือมีการขู่มาตลอด
และอเมริกาก็ให้จีนเข้าไปต่อรอง คิดว่าคงไม่ยิงก่อนแน่
แต่ด้วยความตรึงเครียดทำให้เงินไหลไปพันธบัตรus ที่ผลตอบแทนต่ำอยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก
และนโยบายทรัมป์จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ
ผลกระทบเงินจะไหลออกจากประเทศเกิดใหม่
ถ้าทรัมป์ทำไม่ได้ตามนโยบาย fed ก็อาจขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้ง
ซึ่งเม็ดเงินก็มีโอกาสไหลกลับ
แต่จะไหลเข้าที่ไหนก็ต้องดูอีกที
เพราะฝรั่งมีลักษณะทำก่อนและเป็นชาวสวน
Q. ทำไมกระแสเกาหลีเหนือถึงมีผลกระทบตลาดหุ้นในช่วงนี้?
A. เป็นภาวะอ่อนไหว คนหาเหตุผลในการขายหุ้น สถาบันฝรั่งไม่ค่อยสนใจ
อย่าง CLSA มีออฟฟิศอยู่ที่เกาหลีใต้ ทีมงานโทรคุยกันไม่มีใครกังวล
ไม่มี่เตรียมเก็บของย้ายเลย เขาโฟกัสที่การเลือกตั้งประธานธิบดีใหม่ วันที่ 9 พ.ค.
ว่าใครจะเป็นคนต่อไป เพราะเขาเจอแบบนี้มาหลายรอบ
และมองว่าเป็นโอกาสซื้อหุ้นได้ในราคาถูกลง จากรายย่อยที่ตื่นกลัว
ซึ่งโอกาสเสี่ยงก็มีเพิ่มขึ้นบ้าง ต้องเพิ่ม discount rate
ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยสูงราคาขึ้นบ้างในระยะสั้น
Q.ถ้าไม่ได้กลัวสงคราม ประเด็นที่ฝรั่งกังวลคือเรื่องอะไร?
A.มี 2 ประเด็น ภายนอกและภายใน ภายนอกประเทศ
แม้ทรัมป์จะทำไม่ได้หมดตามนโยบาย แต่จะทำได้บ้าง
และอาจทำให้ดอกเบี้ยขึ้นเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้
อีกปัจจัยด้านการเมืองในยุโรปที่ไม่รู้จะรุนแรงแค่ไหน ทั้ง geopolitic isis,
การเลือกตั้งในฝรั่งเศส, brexit, รวมไปถึงจีน ที่ประธานธิบดี สีจิ้นผิง
อาจมีปรับเปลี่ยน ครม.ชุดใหญ่ ซึ่งเป็นคนละขั้วกับนายกฯ หลี่เค่อเฉียง
ถ้าเกิดการปรับใหญ่มีผลกระทบ เม็ดเงินอาจจะไหลออกได้
ภายในประเทศ ผลประกอบการพวก sector ใหญ่ๆ ธนาคาร ส่งออก อสังหาฯ ก่อสร้าง
ที่ออกมาทำรายได้ดีขึ้นไหม เหมาะสมกับความถูกแพงแค่ไหน
นโยบายภาครัฐจะเกิดขึ้นจริงแค่ไหน รวมถึงการเลือกตั้งเกิดใน 1 ปี
สัมภาษณ์ K.Andrew
สิ่งแรกควรพูดถึงนักลงทุนต่างประเทศและตลาด
ซึ่งอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำมากใกล้ 0% ค่าเฉลี่ยหนี้ดอกเบี้ยในอเมริกาต่ำมากราว 1.7%
US มีการเพิ่มเงินกู้เท่าตัว แต่ต้นทุนดอกเบี้ยไม่เพิ่ม เพราะดอกเบี้ยลง
เมื่อดอกเบี้ยลง ตลาดหุ้นก็ขึ้น
เป็นความสัมพันธ์ง่ายๆ
US ผลักดันด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆมานาน หลังวิกฤติปี 2008 มีการลดคน
ตัดต้นทุนต่างๆ เงินเดือนไม่สูง ราคาสินค้าต่ำ ไม่มีเงินเฟ้อมาเป็น 10 ปี
แต่มันกำลังจะเปลี่ยไปสู่ยุคดอกเบี้ยสูงขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น
เงินเดือนเพิ่มขึ้น เป็นตัวผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ แม้ทรัมป์จะมีนโยบายต่างๆที่จะผลักดันเศรษฐกิจ
แต่มันยากที่จะทำเรื่องต่างๆที่ได้ให้นโยบายผ่านสภาคองเกรสได้ให้สำเร็จ
และต้องทำอีกหลายอย่างให้สำเร็จเพื่อให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น
ในตลาดหุ้นที่แพง ซึ่งถูกผลักดันมาจากดอกเบี้ยที่ต่ำมาก
แต่ถ้าทำสำเร็จได้ ตลาดหุ้นอเมริกาก็ไปต่อได้ ซึ่งคิดว่าค่อนข้างยาก
(โดยเฉพาะนโยบายที่จะลดต้นทุนให้บริษัทซึ่งจะให้ตลาดหุ้นถูกลง)
Q. ถ้านโยบายทรัพป์ไม่สำเร็จ เงินจะไหลออกหรือเปล่า?
A. คิดว่าในสัปดาห์นี้ทรัมป์จะประกาศลดภาษีนิติบุคคล และ บุคคลธรรมดา
ปัญหาคือจะ ขาดดุลสูงขึ้น งบใช้จ่ายรัฐจะลดลง
จากที่เห็นในไทยการลดภาษีนิติบุคคล การเติบโตกำไรในปีสูงขึ้นทันทีและผลักดันตลาดได้
ที่กังวลคือตลาดUSตอนนี้ก็แพงอยู่แล้วและในระยะต่อไปจะรักษาไว้ได้หรือไม่
กลับไปที่คำถามคือ
จุดนี้มีความเสี่ยงก็มีโอกาสเงินก็จะไหลออกจากอเมริกา
เมื่อตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวลง ตลาดหุ้นโลกก็ปรับลงก็จะปรับลง
correlation ของ US กับ Emerging market สัมพันธ์กันสูง
ตอนนี้กลยุทธ์จึงมองค่อนข้าง defensive เมื่อตลาดอเมริกาลง ตลาดเราจะลงด้วย
ขั้นถัดไปค่อยจัดสรรเงินว่าจะลงทุนใน US หรือใน emerging market ที่ไม่แพงนัก
Q. ตลาดหุ้นที่มองว่าน่าสนใจ ?
A. เกาหลีใต้, ไทย, อินเดีย, อินโดนีเซีย
โดยมองตาม Framework : FVMR – Fund Valuation Momentum and Risk
เมื่อมองไปในแต่ละประเทศปัจจัยที่ผลักดันจะต่างกัน
บางประเทศน่าสนใจใน valuation แต่อีกประเทศอย่างอินโดนีเซีย
อาจน่าสนใจด้วย momentum อย่าง momentum ในราคาหรือผลประกอบการ
คุณสุธีราเสริมว่า เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ว่าพฤติกรรมการลงทุนในปัจจุบันมีการเอา model
มาใช้มากขึ้นในการลงทุนทำให้เกิด fund flow
คุณปริญญ์เสริมว่า การลงทุนสมัยนี้เป็น factor base investment มากกว่า country base investment
สมัยก่อน ผู้จัดการกองทุนแบ่งตามภูมิภาคหรือประเทศ แต่สมัยนี้มีน้อย จะเจาะลึกขึ้นรายตัวดูปัจจัยพื้นฐาน/Volume
ทำงานหนักขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับที่คุณสุธีราบอกว่ามีการใช้ model หรือมีการลงทุนใน ETF มากขึ้น
เวลาฝรั่งมาคุยด้วย ก็จะมีการถามว่าคนไทยมองอย่างไร รายใหญ่คิดอย่างไร เพื่อใช้ตัดสินใจลงทุน
คุณสุธีราเสริมว่าในไทย 70% เป็นเม็ดเงินในประเทศ จึงสำคัญที่จะสวนได้ถูกทาง
Q.ทำไมให้ไทยเป็น rank2?
A. ถ้ามอง consumption ในไทย อยู่ในตำแหน่งที fantastic
มีอัตราว่างงานต่ำสุดประเทศหนึ่งในโลก
และมี spending และ consumer power อีกมาก
ซึ่งดีสำหรับ demand ของสินค้าและบริษัท ซึ่งทุกอย่างเริ่มที่บริโภค
ซึ่งนำไปสู่การลงทุนขยายทางธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ มองว่าคนไทยมีงานทำมากไม่ดี แสดงว่าไม่เติบโต ?
Andrew มองว่า คนมีงานทำเยอะดีแล้ว มีเสถียรภาพทางการเมือง
และปกติเมื่อมีการจ้างงานเยอะ เงินเดือนจะขึ้นเร็ว เงินเดือนไทยต่ำมาเป็นสิบปีแล้ว
ในคลื่นถัดไปเงินเดือนน่าจะสูงขึ้น
คิดว่าไม่น่าเป็นห่วงใน 3-5 ปีข้างหน้ากำไรสามารถเติบโตได้
Q.ฝรั่งมอง sector หรือนโยบาลรัฐบาลไหม?
คุณภัทธีรา สภาพคล่องหายไป และไม่มีแรงผลักดัน
การเล่นต้องเปลี่ยนจาก short term ไปเล่น long term มากขึ้น
เมื่อก่อนประเทศไทย ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน
โชคดีที่บริษัทจดทะเบียนเราเติบโตสูง มีฐานะแข็งแกร่ง
ไม่จำเป็นต้องเทรดที่ PE ต่ำเหมือนในอดีต
ตอนนี้เรามีไทยแลนด์ 4.0
การเพิ่มมูลค่า ให้คนมีทักษะสูงขึ้น
บลจ.ทำงานที่มี innovation ขึ้น เปลี่ยนจากคนใช้เครื่องจักรมากขึ้น
รัฐบาลต้องวางโครงสร้างพื้นฐาน
ตั้งแต่ต้มยำกุ้งเศรษฐกิจผลักดันจากภาคเอกชน ต่อไปรัฐบาลต้องผลักดัน
Sector ต้องดูรายละเอียด
อย่างเช่น consumer ในอดีตผลิตสินค้าเพื่อประชากร 70 ล้านคนในไทย
แต่ตอนนี้ผลิตเพื่อ clmv 200 ล้านคนอยู่ที่กำลังซื้อจะมาเมื่อไร
ก่อสร้างก็มีงานทำมากมาย, ธนาคารก็จะได้รับผลจากการเติบโต
,ส่งออก ก็มีโอกาสดีขึ้นตามทิศทางของอเมริกาที่ consume มากขึ้น
หุ้นที่แพงแล้ว fundamental ไม่รองรับ นั่งรอไปไม่เกิดประโยชน์
ต้องมองหาหุ้นที่มีศักยภาพโตแต่มูลค่าไม่แพง
Q.ฝรั่งสนใจบริษัทลักษณะไหน?
คุณปริญญ์ มี 2 แบบ
ที่เป็นกองทุนยักษ์ใหญ่ จะมีเกณฑ์ เช่น สภาพคล่อง, CG
เขาชอบเร็ว ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ฟื้น
หรือเริ่มมีการฟื้น อย่าง kbank ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน หรือ aot
เป็นบริษัทที่โตต่อเนื่อง ตอน 40-50 บาท ฝรั่งไม่สนใจหุ้นตัวนี้ในแง่ธรรมาภิบาลหรือความเป็นรัฐวิสาหกิจ
แต่สมัยนี้ไล่ซื้อหุ้นกันได้หลังความกังวลคลี่คลาย
การบริโภคในประเทศ อย่าง major ฝรั่งชอบ เพราะหายากที่เป็นโรงหนังครอง market share สูงขนาดนี้
กลุ่มอสังหา/นิคมฯ ยังมีปัญหาคอนโดต่างจังหวัด หรือบ้านในตัวเมืองมี oversupply
อย่าง LH, AMATA,WHA เริ่มรับข่าวร้ายไปพอแล้ว และรัฐบาลก็ประกาศนโยบายทำ ECC
ฝรั่งชอบบริษัทที่กล้าคิดต่าง กล้า Go inter อย่าง TKN, CBG, TU
IVL ฝรั่งจึงสนใจ
Q. ฝรั่งมีพฤติกรรมซื้อรวมๆทั้งประเทศ หรือเลือกเป็นตัวหุ้น ?
คุณสุธีรา ตัวเลขกอง ETF โตขึ้นเรื่อยๆ อย่าง MSCI ไทยแลนด์ที่อยู่ในนิวยอร์ค
ส่วนตัวมองว่า 50:50
ต้องโฟกัสหุ้นรายตัวมากขึ้นโฟกัสตัวใหญ่ๆอย่างเดียวไม่ได้
Q.ชอบกลุ่มไหนเป็นพิเศษ?
K.Andrew 3 สิ่งที่รายย่อยควรรู้
1. commission rate ต่ำมาก เทียบกับกองทุน เป็นจุดได้เปรียบรายย่อย
2. small and mid cap outperform ใน 10 กว่าปีที่ผ่านมา อย่าง ptt ไม่ขึ้น
ขณะที่รายย่อยซื้อบริษัทพวกนั้น แต่สถาบันซื้อไม่ได้
3.จำนวนหุ้นใน port จากงานวิจัย 10 ตัวดีสุด สำหรับรายย่อย
ถ้าจัดการในหุ้นกลาง-เล็ก ผลตอบแทนจะดีมาก
มองเป็น sector ที่น่าสน Consumer, material
ยกตัวอย่างหุ้น Aot, egco, tkn
คุณสุธีรา ขยายความค่าคอมมิชชั่น ที่สถาบันซื้อ ETF มากขึ้นเพราะลดต้นทุน
การจัดการกองทุนไปได้เยอะ
Q. ฝรั่งมีขาดทุนไหม?
คุณปริญญ์ ฝรั่งก็เจ็บตัวหลายรอบ
เดินเกมผิดไป เวลาอยากทำกำไรเขาจะเอาผู้จัดการเก่งๆ senior ไปดูตลาดใหญ่ๆ
อย่าเช่น จีน เกาหลี อินเดีย เอาผู้จัดการเด็กๆมาดูในไทย
ซึ่งก็โดนไปหลายอย่างเหมือนกัน
มันเป็น qualitative ที่ต้องรู้เขารู้เราไม่ใช่แค่เป็น quantitative เท่านั้น
Moneytalk ครั้งถัดไป อาทิตย์ 14 พ.ค.
เปิดจอง เสาร์ 6 พ.ค. เวลา 7 โมงเช้า
หัวข้อ 1 สัมมนาหุ้นเด่นครึ่งปีหลัง
ผู้บริหารจาก 3 บริษัท Jubile,SCN, BIG
ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์,หมอเค
หัวข้อ 2 ชุมนุมเซียนแนะวิธีเลือกหุ้น
5 เซียน – นพ.พงษ์ศักดิ์, คุณประภาส(บลจ.ทาลิส),คุณทิวา(พี่มี่),
คุณทศวรรษ, ดร.นิเวศน์
ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์, อ.เสน่ห์
มี 3 หัวข้อ เนื่องจากค่อนข้างยาว ขอสรุปสั้นๆจั่วหัวไว้
หัวข้อ 1 “กลต. กับการดูแลนักลงทุน”
เป็น หัวข้อพิเศษที่ให้เราได้เรียนรู้ว่า กลต. มีกฏเกณฑ์
มีกระบวนการอยู่ข้างหลังนักลงทุนซึ่งจะช่วยปกป้องให้ความยุติธรรม
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ที่ออกมาซึ่งกระทบกับการให้ข้อมูลของผู้บริหาร
ก็เป็นเรื่องที่ออกมาให้ครอบคลุมไม่ให้ผู้มีเจตนานำข้อมูลภายในไปสร้างผลประโยชน์
หรือป้องกันการหลงผิดจากให้ข้อมูลที่อาจไม่เป็นจริง
สำคัญที่สุดคือนักลงทุนเองต้องดูแลตัวเอง
พิจารณาแยกแยะข้อเท็จจริง ความเห็น และวิเคราะห์ ตัดสินใจให้ดีครับ
หัวข้อ 2 “หุ้นเด่นไตรมาส2”
เป็นบริษัทจดทะเบียน 3 บริษัท ที่มีแนวโน้มการเติบโตน่าสนใจ
และเป็นผู้สนับสนุนรายการด้วย ได้แก่ ilink, ck และ sawad
โดยผู้บริหารมาให้ข้อมูลการดำเนินธุรกิจ,ผลประกอบการและแนวโน้ม
หัวข้อ 3 “ฝรั่งมองหุ้นไทยอย่างไรและมองหุ้นไหน?”
เป็นครั้งแรกของMoney Talk ที่สัมภาษณ์มุมมองของฝรั่งที่มองตลาดหุ้นไทย
ซึ่งจะมีความแตกต่างซึ่งเป็นการลงทุนของสถาบันที่มีเม็ดเงินขนาดใหญ่
จะช่วยเพิ่มมุมมองในการตัดสินใจของเรา
เนื้อหาที่บันทึกอาจมีความดผิดพลาดตกหล่นบ้าง ก็เรียนขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ
ยิ่งครั้งนี้มีภาษาอังกฤษด้วย เข้าใจผิดไปอย่างไร ช่วยเสริมชี้แนะได้ครับ
ถ้าสนใจโดยละเอียดเพิ่มเติมก็เปิดดูรายการหรือ VDO ย้อนหลังนะครับ
ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค แขกรับเชิญทุกท่าน
ที่สละเวลาและมีความตั้งใจดีๆมาให้ข้อมูลกับพวกเราครับ
รวมถึงผู้มีอุปการะคุณ ทีมงานหน้าบ้านหลังบ้านทุกท่านครับ
__________________________________________________
หัวข้อ 1 สัมภาษณ์พิเศษ
“กลต. กับการดูแลนักลงทุน”
แขกรับเชิญ
คุณ รพี สุจริตกุล
(เลขาธิการ สำนักงาน กลต.)
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Q.การเปลี่ยนแปลงกฏหมายที่มีผลกับนักลงทุนเรื่องอะไร? เป็นประโยชน์อย่างไร?
อย่างฉบับที่ทำให้ผู้บริหารตอบคำถามนักลงทุนไม่ค่อยได้
A. เกี่ยวกับ insider trading
กฏหมายเดิมมีปัญหาคือ คนจะผิดคือเป็นคนวงใน(กรรมการ,ผู้บริหาร)
และเป็นผู้รู้ข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยแล้วใช้ประโยชน์
ข้อจำกัดมีอยู่มาก เช่น ถ้าเอาไปบอกคนอื่นแล้วคนอื่นที่เอาไปใช้ประโยชน์ไม่มีความผิด
จึงมีการปรับปรุงให้ครอบคลุมมากขึ้น
เป็นเรื่องที่ Common sense
ไม่ว่าใครก็ตามที่รู้ว่าข้อมูลลับและมีผลประโยชน์กับราคาหุ้น แล้วนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ marketing เพื่อนกัน ถ้าทำผิดตามข้างต้นก็ถือว่าผิด
Q.สมมติถ้าผู้บริหารมาออกรายการ แล้วพูดให้ข้อมูลเป็น Public ไม่ได้บอกตัวเลข
แต่บอกจะโตมากกว่าปีที่แล้วเท่าตัว จะว่าอย่างไร มีผลไหม?
A. คนพูดกระทบแน่นอน ส่วนคนฟัง ต้องดูว่ารู้หรือไม่ กำไรที่โต 100% เป็นปกติหรือไม่ปกติ
จะกลับมาที่เงื่อนไขเดิม ว่าผู้รู้ข้อมูลรู้ว่าเป็นข้อมูลสำคัญและยังไม่ได้เปิดเผย
Q.ถ้าผู้บริหารบอกว่าปีหน้ากำไรโตเท่าตัว เป็นแค่ความเห็น ถือว่าผิดไหม?
A. เป็นอีกข้อหนึ่ง เรื่องแพร่ความเป็นเท็จ คือ ห้ามพูดพล่อยๆ มีอะไรที่เป็นหลักฐานหรือขายฝัน
ตั้งใจเอาคำพูดไปสร้างราคาหุ้นหรือไม่ ต้องพิสูจน์
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นเท็จ
ก็ต้องดูว่าเป็นการให้ข้อมูล insider มาใช้ประโยชน์หรือเปล่า
ผู้บริหารให้ข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผย เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในงบ
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นต้องบอกให้คนอื่นรู้พร้อมกันทั้งหมด
คือผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ ผ่าน website ของตัวเอง ไม่ใช่จำกัดวงที่รับรู้
ไม่ถูกต้องที่จะให้สิทธิคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมารู้ข้อมูลก่อนเอาไปใช้ก่อน
Q.คำที่พูดว่า รู้แล้วเหยียบไว้ ?
A. กลับมาที่คำว่า “รู้” อย่างเช่น ถ้าข้อมูลส่งมาตาม Line เราไม่เคยรู้ว่าเป็นข้อมูลลับ
ก็เอาผิดผู้เอาไปใช้ไม่ได้ ส่วนใหญ่จะถูกหลอก
ลองคิดดูว่าใครจะใจดีเอาข้อมูลมาส่งในไลน์ให้ชาวบ้านรู้ฟรีๆ คนรู้จำนวนมาก
คนเขียนไลน์ไม่ผิด แต่คนที่เอาไลน์ไปแพร่ข่าว รู้ว่าเป็นข้อมูลภายในสำคัญที่มีผลกระทบก็ถือว่าผิด
Q. คนที่แพร่ข้อมูล แล้วถ้ามีคนไปซื้อตามแล้วเสียหาย ต้องรับผิดชอบไหม?
A. คนที่ให้ข้อมูลผิด ถ้าเป็นข้อมูลเท็จ หรือพล่อยๆ มันจะกลับมาอยู่ที่ว่า “รู้”
ว่าเป็นข้อมูลเท็จแล้วยังเอาไปแพร่ต่อ ก็จะเข้าข่ายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
Q.หลายบริษัทที่นักลงทุนรายย่อยรู้สึกว่า บริษัทไม่ใส หรือดูผิดปกติ
แล้วรายย่อยก็เรียกร้องว่าทำไมไม่จัดการ?
A. เราต้องช่วยกันทำ
เคยอยู่ กลต.มาหลายปี แล้วไปเปิดบลจ.และทำงานหลากหลายในตลาดทุน
ก็ไม่คิดว่าตัวเองมีความสามารถในตลาดทุน เพราะไม่มีเวลา ข้อมูลต่างๆในตลาดทุนต้องอ่าน,
วิเคราะห์เยอะมาก ในบลจ.ก่อนตัดสินใจลงทุน ต้องโทรไปถามยืนยันให้แน่ใจ
ซึ่งคนที่ตัดสินใจลงทุนเองต้องเป็นกูรู ไม่อย่างนั้นจะแนะนำให้ไปซื้อกองทุนดีกว่า
เพราะจะต้องเข้าใจธุรกิจ งบการเงิน วิเคราะห์การเติบโต เจาะลึกในธุรกิจ
คนที่เอาข้อมูลมาบอกเราเขาก็บอกเท่าที่เขาอยากจะบอก ถ้าเราไม่ได้เป็นขาใหญ่จริง
Q. ถ้าตัวบริษัทเองไม่โปร่งใส เช่น ตกแต่งบัญชี เก็บหนี้เสียไว้ หรือตัดค่าเสื่อมแบบไม่ตรงไปตรงมา
ดูน่าสงสัย กลต.มีปรัชญาในการไปจัดการอย่างไร? เพราะนักลงทุนไม่รู้ เขาเชื่อว่าสิ่งที่เห็นเป็นของจริง
A. ถ้าคนแต่งบัญชีไปแล้วจึงจะเห็นความผิดเกิดขึ้น หน้าที่กลต.ก็มีเกณฑ์ในการทำงบการเงินอยู่แล้ว
ไม่ใช่อยู่ดีๆจะเปลี่ยนการตัดค่าเสื่อมได้ทันที
ดังนั้น การจะดูว่าบริษัทหรือผู้บริหารไม่โปร่งใสคงไม่สามารถไปดำเนินการได้ ถ้ายังไม่มีหลักฐาน
สิ่งที่ กลต.ดำเนินการได้คือ บังคับให้เขาเปิดเผย ถ้าข้อมูลเป็นเท็จจึงดำเนินการได้
ถ้าเปิดเผยข้อมูลมาแล้ว ดูน่าสงสัยแล้วนักลงทุนยังจะลงทุนก็ต้องคิดเอา
ซึ่งหน้าที่กลต.ต้องไปรื้อข้อมูล สอบถ้อยคำ รวบรวมเอกสารหลักฐาน
เช่น บางรายการมีผลสำคัญ กลต.กำหนดให้ต้องมี independent financial advisor
และต้องเข้า audit committee ด้วย และแสดงความเห็นต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นว่าเหมาะสมหรือไม่
จะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่าตลาดหลักทรัพย์สั่งให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ไม่อย่างนั้นก็จะโดนแขวนป้าย
Q. นักวิเคราะห์ เคยแนะนำให้ strong buy อยู่ดีๆก็เปลี่ยน หรือใช้สมติฐานที่ดูไม่สมเหตุสมผล
เปลี่ยนราคาในชั่วข้ามคืน เพราะราคาหุ้นขึ้นหรือลงแรงๆ โดยที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนชัดเจน
กลต.จะจัดการอะไรไหม?
A. นักวิเคราะห์เป็นผู้ที่ต้องขึ้นทะเบียนกับ กลต. จะกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำ
ต้องอยู่ในสมาคมนักวิเคราะห์ มีจรรยาบรรณที่ถูกลงโทษได้
ถ้านักวิเคราะห์พูดมั่วๆ เช่น เผลอเรอ หรือตั้งใจมั่ว เราสามารถดำเนินการได้
เขาให้เหตุผลแก้ตัวอย่างไร ฟังขึ้นไหม โดยเอาคนในวงการมาร่วมรับฟังด้วย
ถ้าทำผิดก็มีการตักเตือนรวมถึงถ้ารุนแรงก็ออกจากวงการ
เปรียบเหมือนกระทรวงสาธารณสุข
กลต. ไม่สามารถเข้าไปดูก๋วยเตี๋ยวทุกชามได้ ผู้ที่ทานก๋วยเตี๋ยวต้องเลือกเอง
ว่าร้านนี้สกปรก ใส่ผงชูรสเยอะ ครั้งหน้าก็ไม่กินร้านนี้
สิ่งที่ทำได้ นักลงทุนสามารถ ฟ้องไปที่ กลต. มี call center อัดคลิปมาก็ได้
ว่ามีการทำผิดจรรยาบรรณหรือนำข้อมูลเท็จมาบอก
และตัวนักลงทุนเองถ้าเห็นว่าไม่ดีก็อย่าไปเชื่อถือ
เวลานักวิเคราะห์พูด เราต้องตั้งคำถาม บทวิเคราะห์นั้นถูกต้องไหม
จะกลับมาเรื่องเดิมว่าคนที่จะมาเล่นหุ้นเอง ต้องมีความรู้ มีเวลา
มีความสามารถวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้เองได้
โดยส่วนตัวไม่มีเวลา ต่อให้มีเวลาก็ไม่สามารถที่จะมานั่งอ่านบทวิเคราะห์
เอาข้อมูลมานั่งประติดประต่อกัน พอไม่มีข้อมูล หรือมีไม่เพียงพอ
การจะตัดสินใจเอาเงินตัวเองไปให้ชาวบ้านก็ไม่ทำดีกว่า
อ.ไพบูลย์เสริมฟังแล้วนึกถึงที่มักสอนนศ.นิด้า ว่า
ทุกคนต้องวางแผนการเงิน ต้องรู้การออม จัดสรรเงิน
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ควรลงทุนเอง และเป็นส่วนน้อย 50 คน ไม่เกิน 4-5 คนที่ทำได้
รู้ว่าต้องลงทุนในหุ้น แต่ไม่ต้องลงทุนเอง
เห็นคนที่ลงทุนประสบความสำเร็จ วันหนึ่งเขาเจ๊งก็ไม่ได้มาบอกเรา
Q. การบริหารกองทุนรวมหุ้นทั่วไป ถ้าบริหารไม่ดีผลตอบแทนดีไม่ดีก็จะมีการจัดการกันไป
แต่พวกกองทุนอสังหาฯ กองทุน REIT แต่บริหารโดย บลจ.
หรือบริหารโดยเจ้าของที่ขายทรัพย์สินเข้ากองทุนน ซึ่งมี conflict of interest
หรือเอาทรัพย์สินไม่ดีมาขายเข้ากองทุน จะมีการป้องกันจัดการอย่างไร ?
A. ต้องแยก 2 ประเด็น
ของที่ใส่เข้าไปมีมูลค่าจริงหรือเปล่า ทาง กลต.จะมีเกณฑ์กำหนดชัดเจน
การซื้อจากเจ้าของมี conflict of interest ถ้าเจ้าของถือเองก็ห้ามอวด
และจะมีผู้ประเมินราคาอิสระ ซึ่งไม่มีใครบอกราคาเป๊ะๆได้ จะมีราคาขั้นต่ำขั้นสูงที่ควรจะเป็น
ซึ่งถ้าซื้อแพงมาเกินไปต้องเข้าไปตรวจสอบ และถ้าเจ้าของทรัพย์สินบริหารไม่ดี
และทางบลจ.เองก็จะมีความพยายามจัดการเอง อย่างถ้าเจ้าของบริหารไม่ดี
ก็พยายามเอาผู้บริหารออก หรือสามารถฟ้อง กลต.ให้ดำเนินการได้
ฝากนักลงทุนในการลงทุน กองทุนอสังหาฯต้องเข้าใจว่า
ส่วนใหญ่เป็นการเช่าทรัพย์สินไม่ใช่การซื้อ
เมื่อหมดอายุกองทุนนักลงทุนจะไม่ได้เงินต้นคืน
ยกเว้นบางกองที่มีกรรมสิทธิ์(freehold) ซึ่งมีน้อยมาก
ซึ่งถ้าเห็นว่าผลตอบแทนดีปันผล 6-7% ต้องเข้าใจว่าได้เงินต้นคืนหรือเปล่า
และต้องดูว่าทรัพย์สินที่ถือครองไปผูกกับอุตสาหกรรมอะไร
Q. จะมีโอกาสให้ ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอำนาจควบคุมบริษัท เช่น vote เปลี่ยนผู้บริหาร?
A. ขึ้นอยู่กับสัญญาก่อตั้งกองทุนรวม บางกองทุนน่าจะมี
ว่าผู้ถือหน่วยลงทุนรวมตัวกันกี่ % แล้วสามารถดำเนินการได้
อ.ไพบูลย์ สรุปปิดท้าย ว่าอยากให้ท่านได้มาพบพวกเราบ่อยๆ
นักลงทุนจะได้รู้ว่ามีผู้ดูแลพวกเราอยู่
มีขั้นตอนกระบวนการตามกฏหมาย แล้วสุดท้ายจึงจะเห็นผลตามมา
อาวุธดีที่สุดเวลาเจอคนไม่ดี เจอบริษัทไม่ดี คือวิ่งหนี ให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น
หัวข้อ2 “หุ้นเด่นไตรมาส2”
แขกรับเชิญ
1) คุณ สมบัติ อนันตรัมพร
ประธานกรรมการ ILINK
2) คุณ ธิดา แก้วบุดตา
กรรมการบริหาร SAWAD
3) คุณ ประเสริฐ มริตตนะพร
กรรมการบริหาร CK
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์
ธุรกิจทำอะไร?
ilink
หมอเค เกริ่น ilink ถือ itel 60% Mkt cap 5 พันกว่าล้านบาท
ส่วน ilink ก็ราวๆ 5 พันล้านบาทเช่นกัน
ซึ่งถืออยู่ 60% จะมีมูลค่า 3 พันกว่าล้าน
คุณสมบัติ เริ่มทำธุรกิจปี 2530
เป็นคนแรกที่นำสาย LAN เข้ามาเผยแพร่ตอนปี 2534
มีนวัตกรรมการจัดการการขายที่ดี สร้างทีมเลขาฝ่ายขาย ทำหน้าที่เป็น One stop service ได้
จึงทำให้เรายังรักษาความเป็นผู้นำได้ในวันนี้
ตั้งเป็นบริษัท ilink ปี 38 และจดทะเบียนในตลท. ปี 47
และย้ายจาก mai มาอยู่ใน set ปี 58
Spin off บริษัทลูก itel ปี 59
ธุรกิจมี 3 อย่างหลัก
1.สายสัญญาณ – นำเข้าและขายส่ง นอกจากสาย LAN เรามี สาย Fiber optic
ซึ่งเป็น trend ในปัจจุบันที่ใช้แทน รวมถึงสายสัญญาณสำหรับกล้องวงจรปิด,
สาย security ต่างๆ ตลาดเติบโตปีละ 10% ปัจจุบันเราใช้ wireless กันมากขึ้น เราไม่ได้หยุดคิด
ที่เราใช้มือถือมีการสื่อสารกับสาย antenna ซึ่งสื่อสารกับ node ต้องใช้สายสัญญาณ
จึงเติบโตไปกับการสื่อสารผ่าน WIFI และ Mobile ด้วย เราเชื่อว่าอีก 20-30 ปีก็ยังไม่ล้าสมัย
แต่เราก็กำลังศึกษาเทคโนโลยีที่จะมาแทนใช้สื่อสารระยะสั้นราว 500 m เราเรียกว่า IOT
2.ธุรกิจวิศวกรรม –sub marine cable นำสายไฟฟ้าแรงสูง(115KV) ไปวางใต้ทะเล
ต้องใช้เทคโนโลยี, ทำ transmission line บนเสาไฟฟ้าสูงๆ, นำสายไฟฟ้าลงดิน ,
ทำ sub station ควบคุมไฟฟ้า รวมถึง Smart city ที่พยายามเอา IT เข้ามาให้เมือง
3.โทรคมนาคม – บ.itel ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ให้บริการเช่าสัญญาณ
CK
หมอเค สรุปข้อมูลให้ฟัง CK มูลค่าตลาด 4.7 หมื่นล้าน บ.ลูกที่ใหญ่สุด BEM 3.3 หมื่นล้าน
(คิดตามสัดส่วนที CK ถือ) , TTW 8 พันล้าน, CKP 6.4 พันล้าน รวมๆไปก็เกือบเท่า MKT Cap ของบ.แม่
คุณประเสริฐจดทะเบียน ปี 2515 ราว 45 ปีแล้ว
ช่วงแรกทำงานพวกงานทหารทำไปเรื่อยๆจนถึงงานนายร้อยจปร.เขาชะโงก ในปี 26 มูลค่างาน 2.6 พันล้าน ถือว่าใหญ่มาก
ต่อมาก็ทำงานสะพานแขวนพระราม 9 , เริ่มมีการร่วมงานกับญี่ปุ่น
,สร้างโครงการต่างๆ สร้างมหาวิทยาลัยตามภูมิภาคต่างๆ,
ทำทางด่วน, ทำรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินปัจจุบัน, ก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำประปา,
ต่างประเทศมีทำเขื่อนในสปป.ลาว เขื่อนน้ำงึม2 ,เขื่อนไซยบุรีบนแม่น้ำโขง มูลค่าโครงการแสนกว่าล้านบาท ก่อสร้างแล้วราว 70%
อีก 2 ปีกว่าจะเสร็จ กำลังผลิต 1285 MW ขายให้ไทย 95%
ซึ่งมองไปข้างหน้าที่สปป.ลาวยังมีงานเกี่ยวกับไฟฟ้าอีกเป็นหมื่น MW
งานที่ประมูลได้ล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีส้มได้สัญญาที่ 1,2,5
สัญญา 1,2 เป็นใต้ดิน สัญญา 5 โรงซ่อม มูลค่างาน 4.7 หมื่นล้าน เป็น JV กับ STEC เราถือ 60% STEC
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
งาน Motor way บางปะอิน-โคราชเราได้ 2 สัญญา
รถไฟรางคู่ จิระ-ขอนแก่น 187 km มูลค่า 2 หมื่นกว่าล้าน เป็นงาน JV เราถือ 70%
Backlog ปัจจุบันราว 1 แสนกว่าล้าน
เป็นการทยอยรับรู้ไปอีกหลายปี
ปี 59 รายได้ 4.5 หมื่นล้าน ซึ่งมีงานเพิ่มจากไซยบุรี
งานข้างหน้าที่คาดว่าจะทยอยประมูล เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม, สีม่วงที่จะขยาย, สีน้ำเงิน, รถไฟทางคู่ไปภาคใต้
และบ.ลูกของ CK ที่จะมีการก่อสร้างเพิ่มเติม
SAWAD
คุณธิดา เรามีบริษัทลูกเหมือนกัน คือ บ.รับจ้างบริหารติดตามหนี้, บ.ที่ลงทุนในต่างประเทศ
ทำธุรกิจ consume finance ต่างๆ และ บ.ลูกที่ทำ nano finance
บริษัททำธุรกิจสินเชื่อทางการเงิน
อยากเป็นร้านสะดวกซื้อทางการเงินไปที่ไหนก็เจอเรา ถ้าขัดสนเงินทอง หรืออยากได้เพิ่มเติมเรายินดีรับใช้
รวมถึงสามารถจับจ่ายใช้สอยซื้อประกันชีวิต ประกันภัย
รายได้หลักมาจากการให้สินเชื่อแบบมีหลักประกัน กลุ่มลูกค้าคือ
คนที่ต้องการเสริมสภาพคล่องหรือขาดเงินแต่กู้ธนาคารพาณิชย์ได้ยุ่งยากกว่า
จะใช้รถ หรือบ้าน คอนโดก็ได้ โดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ปัจจุบันมี 2 พันกว่าสาขาทั่วไทย
ลูกหนี้ราว 1.7 หมื่นล้านให้สินเชื่อ
และมี 2.3 พันล้าน(เป็นทุนที่บริษัทจ่าย) เป็นลูกหนี้ที่เกิดจากการซื้อหนี้เสียมาบริหาร
ส่วนหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
20% เป็นที่ดิน
10% เป็นมอเตอร์ไซค์
ที่เหลือเป็นรถยนต์(กระบะ,สิบล้อ,หกล้อ)
การแข่งขันมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ความต้องการเงินยังมีอีกมาก
เราจะเติบโตทุกปีในทุกอย่างไปพร้อมกันรวมถึงระบบหลังบ้านไปด้วย
อย่างลูกที่เรากำลังเสนอซื้อ ตอนนี้รับมา 36% ในอนาคตเราก็จะได้เติบโตเป็นสถาบันการเงิน
โดยยังมุ่งเน้นให้สินเชื่อกับลูกค้าเราเหมือนเดิม
ซึ่งจะต้องมีการติดต่อกับ กลต,ธปต.เพิ่มเติม
การเป็นสถาบันทางการเงินจะมีระบบระเบียบมากขึ้น
ไม่ใช่เจ้าหนี้นอกระบบ สามารถรับเงินฝากได้
เดิมเราใช้ทุนจากหุ้นกู้และตั๋ว BE
License ของลูกไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่เป็นเงินทุน ซึ่งจะอยู่ใต้กฏเกณฑ์ของธปท.
ผลดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวโน้มอนาคต?
ilink
ปี 58 รายได้ราว 3 พันกว่าล้าน ปี 59 เกือบ 3 พันล้านเหมือนกันแทบไม่เติบโต
ซึ่งเราวิเคราะห์ใน 3 ธุรกิจพบว่า distribution เติบโตค่อนข้างดี, itel เติบโตสูง
แต่ปัญหาคือธุรกิจวิศวกรรม ปี 58 เคยมีรายได้ 6-7 ร้อยล้าน แต่ปี 59 มีเพียง 2 ร้อยกว่าล้าน
ในแผนปี 60 ธุรกิจสายสัญญาณโต 10% ธุรกิจเทเลคอมก็มีการเติบโตดี
ธุรกิจวิศวกรรม เรามี backlog 1.5 พันล้านที่จะรับรู้ช่วงปี 60-61
คาดการณ์ว่าทั้งกลุ่มจะเติบโตได้อย่างมีนัยยะ
งาน sub marine มีไม่กี่บริษัทที่ชำนาญ ซึ่งมีงานที่ delay มา 2-3 ปี
เช่น ลากจากแผ่นดินใหญ่ไปสมุย 2 พันกว่าล้าน, พะงันไปเกาะเต่า พันกว่าล้าน
และงานย่อยๆ รวมกันได้ 4 พันกว่าล้าน
แต่ติดที่ EIA และกระบวนการต่างๆ คาดหวังว่าจะมีการประมูลงานในปีนี้
รวมถึงงาน transmission line และ sub station ที่ติดขัดมานาน
ซึ่งรวมแล้วจะมีงานเข้าประมูล 1.3 หมื่นล้าน
ใน CLMV มองว่าเป็นโอกาส มีตั้งสำนักงานในลาว
เรามีบ.ลูก itel ที่ให้บริการให้เช่าสายสัญญาณหรือการสื่อสาร
ซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เติบโต
CK
2 ปีที่ผ่านมารายได้คงที่ราว 3 หมื่นกว่านแต่ปี 59 โตเป็น 4.5 หมื่นล้านจากงานไซยบุรี
แต่ปีนี้คงไม่เท่าปีที่แล้วซึ่งมีงานพิเศษ
ในส่วนสัญญาใหม่ๆที่จะเซ็นเข้ามาก็ต้องใช้เวลาก่อสร้าง
Backlog 8 หมื่น + 2 หมื่นกว่าล้าน เป็น 1 แสนกว่าล้าน
อยู่ที่ภาครัฐจะประมูลงานเพิ่มเติม
TTW จะเพิ่มกำลังผลิต จาก 4 แสนกว่าขึ้นไปอีก 1 แสนกว่าคิว
แถวนครปฐม สมุทรสาคร สร้างเสร็จในปี 60
BEM เปิดทางด่วนศรีรัฐแล้ว ช่วงแรกวิ่ง 3-4 หมื่นคัน ตอนนี้เพิ่มมา 6-7 หมื่นคันแล้ว
ถ้าเป็นเส้นหลักวิ่งเป็นล้านคัน
รถไฟฟ้าได้ operate สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
CKP – กลางปี 60 โรงไฟฟ้าที่ใช้แก๊สเฟส 2 บางปะอินจะเริ่มมีรายได้ กำลังผลิต 120 MW
รวมเป็น 240 MW, ไซยบุรี อีก 2 ปีกว่าจะเสร็จแล้วขายไฟฟ้าได้ 1285 MW
อนาคตรวมทั้งหมดจะเป็น 2 พันกว่า MW
ความเสี่ยงเช่น การผันน้ำให้สร้างเข้าทางที่ใช้ ไม่ให้เข้าฝั่งที่ก่อสร้าง ซึ่งก็ทำเสร็จแล้ว
คิดเป็นรายได้จากการขายราว 1.5 หมื่นล้านบาท ถือหุ้นหลักๆโดย CKP(30กว่า%), EGCO, GPSC
SAWAD
ผลดำเนินงานปี 59 รายได้ราว 5 พันกว่าล้าน กำไร 2 พันกว่าล้าน
คิดเป็นการเติบโต 50%
ปีนี้ บ.คาดว่าจะเติบโต 20-30%
ซึ่งเป็นระดับปกติที่เราวางไว้
เปิดสาขาราว 3 ร้อยสาขา หรือราววันละ 1 สาขา
ปัจจุบัน เรามีสาขาทุกที่แล้วจะเน้นพัฒนาเพื่อดูแลและตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น
ระบบสนับสนุนก็ต้องพัฒนาต้องเติบโตไปด้วยกัน
การที่คู่แข่งเข้ามาไม่ได้เป็นที่กังวล มันเป็นเช่นนี้มานานแล้ว เราก็ดูแลลูกค้าของเราให้ดีเหมือนเดิม
ลูกค้าของบริษัทเป็น มอเตอร์ไซค์ราว 2 แสนกว่าคัน รถยนต์ 8-9 หมื่นคน
NPL ไม่ได้กังวล เพราะทุกวันดูแลใกล้ชิด พร้อมช่วยเหลือลูกค้าตั้งแต่ต้น
ตั้งแต่เข้าตลาดมาก็สัดส่วนลดลงเรื่อยๆ เราเปิดสาขามากก็ยิ่งอยู่ใกล้ลูกค้า ดูแลได้มากขึ้น
อ.ไพบูลย์ สรุปปิดท้าย
เราให้ข้อมูลท่านตัดสินใจ กำไรของท่านขาดทุนของท่าน
การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
สำคัญต้องรักษาเงินต้น
หัวข้อ 3 “ฝรุ้งมองหุ้นไทยอย่างไรและมองหุ้นไหน?”
แขกรับเชิญ
1) คุณ ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ
นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์
2) คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์
กรรมการผู้จัดการ CLSA
3) Dr. Andrew Stotz
นายกสมาคม CFA ประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
สัมภาษณ์ คุณภัทธีรา
Fund flow ที่เข้ามาต้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ส่วนที่เข้ามาลงทุนจริง และหมุนไปมา
ภาพใหญ่ตลาดหุ้นไทยปีนี้ไหลเข้าน้อยเทียบกับภาพรวมในโลก
ญี่ปุ่นไหลออก 1.3 พันล้านยูเอส
ไปเกาหลี,ไต้หวัน
TIP(ไทย,อินโด,ฟิลิปปินส์) ปีก่อนทิศทางเดียวกัน ปีนี้ต่างคนต่างไป
ตั้งแต่ต้นปีไหลเข้าไทย 185 ล้าน
ไปอินโด 1.2 พันล้าน
ดูพื้นฐานไทยปีก่อน Earning growth 30 กว่า% ค่อนข้างดี
ปีนี้การเติบโตเราเหลือแค่เลขหลักเดียว ขณะที่อินโดระดับ 20% ขึ้นไป
ฟิลิปปินส์ติดลบ เงินไม่ไหลเข้าไป
ถ้าเงินไหลเข้ามาก เราก็จะกังวลว่าเมื่อไรเงินจะไหลออก ข้อดีคือ พื้นฐานเราแข็ง
ฝรั่งมองเป็นที่ปลอดภัยที่จะเอาเงินเข้ามา
ปัญหาคือ ไม่มีแรงผลักดันมากพอให้ตลาดหุ้นขึ้น
เงินที่ไหลเข้ามาส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้
สัญชาติของเงินลงทุนต่างประเทศยังมีกลุ่มเดิม ยัง road show กับนักลงทุนทั่วโลก
แต่เงินลงทุนมารวมศูนย์ที่สิงคโปร์มากขึ้น เพราะมีภาษีที่เอื้ออำนวยกว่า ไม่มี double tax
สิ่งที่เปลี่ยนเยอะคือ เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์
สมัยก่อนนักวิเคราะห์ต้องมาอ่านข่าวทุกฉบับ ส่ง fax ทำ morning call
ปัจจุบันใช้ program ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้ผู้จัดการกองทุนน้อยลง
ETF ที่เป็นตัวแทนประเทศนั้น ที่ list ในตลาดต่างประเทศ เช่น นิวยอร์ค
ไม่ต้องนั่งดูหุ้นทีละตัวในไทย
สัมภาษณ์ คุณปริญญ์
ฝรั่งชอบมาเร็ว มองสวน เข้าไปในตลาดที่คนไม่ชอบไม่รัก
จากภาพ macro ไม่ชวนให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งเรื่องสงครามเกาหลี
การเมืองยุโรป เรื่องนโยบายทรัมป์ เรื่อง Fed ขึ้นดอกเบี้ย มีความไม่แน่นอน
มุมมองเรื่องสงครามโลกไม่น่าเกิด เพราะเกาหลีเหนือมีการขู่มาตลอด
และอเมริกาก็ให้จีนเข้าไปต่อรอง คิดว่าคงไม่ยิงก่อนแน่
แต่ด้วยความตรึงเครียดทำให้เงินไหลไปพันธบัตรus ที่ผลตอบแทนต่ำอยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก
และนโยบายทรัมป์จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ
ผลกระทบเงินจะไหลออกจากประเทศเกิดใหม่
ถ้าทรัมป์ทำไม่ได้ตามนโยบาย fed ก็อาจขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้ง
ซึ่งเม็ดเงินก็มีโอกาสไหลกลับ
แต่จะไหลเข้าที่ไหนก็ต้องดูอีกที
เพราะฝรั่งมีลักษณะทำก่อนและเป็นชาวสวน
Q. ทำไมกระแสเกาหลีเหนือถึงมีผลกระทบตลาดหุ้นในช่วงนี้?
A. เป็นภาวะอ่อนไหว คนหาเหตุผลในการขายหุ้น สถาบันฝรั่งไม่ค่อยสนใจ
อย่าง CLSA มีออฟฟิศอยู่ที่เกาหลีใต้ ทีมงานโทรคุยกันไม่มีใครกังวล
ไม่มี่เตรียมเก็บของย้ายเลย เขาโฟกัสที่การเลือกตั้งประธานธิบดีใหม่ วันที่ 9 พ.ค.
ว่าใครจะเป็นคนต่อไป เพราะเขาเจอแบบนี้มาหลายรอบ
และมองว่าเป็นโอกาสซื้อหุ้นได้ในราคาถูกลง จากรายย่อยที่ตื่นกลัว
ซึ่งโอกาสเสี่ยงก็มีเพิ่มขึ้นบ้าง ต้องเพิ่ม discount rate
ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยสูงราคาขึ้นบ้างในระยะสั้น
Q.ถ้าไม่ได้กลัวสงคราม ประเด็นที่ฝรั่งกังวลคือเรื่องอะไร?
A.มี 2 ประเด็น ภายนอกและภายใน ภายนอกประเทศ
แม้ทรัมป์จะทำไม่ได้หมดตามนโยบาย แต่จะทำได้บ้าง
และอาจทำให้ดอกเบี้ยขึ้นเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้
อีกปัจจัยด้านการเมืองในยุโรปที่ไม่รู้จะรุนแรงแค่ไหน ทั้ง geopolitic isis,
การเลือกตั้งในฝรั่งเศส, brexit, รวมไปถึงจีน ที่ประธานธิบดี สีจิ้นผิง
อาจมีปรับเปลี่ยน ครม.ชุดใหญ่ ซึ่งเป็นคนละขั้วกับนายกฯ หลี่เค่อเฉียง
ถ้าเกิดการปรับใหญ่มีผลกระทบ เม็ดเงินอาจจะไหลออกได้
ภายในประเทศ ผลประกอบการพวก sector ใหญ่ๆ ธนาคาร ส่งออก อสังหาฯ ก่อสร้าง
ที่ออกมาทำรายได้ดีขึ้นไหม เหมาะสมกับความถูกแพงแค่ไหน
นโยบายภาครัฐจะเกิดขึ้นจริงแค่ไหน รวมถึงการเลือกตั้งเกิดใน 1 ปี
สัมภาษณ์ K.Andrew
สิ่งแรกควรพูดถึงนักลงทุนต่างประเทศและตลาด
ซึ่งอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำมากใกล้ 0% ค่าเฉลี่ยหนี้ดอกเบี้ยในอเมริกาต่ำมากราว 1.7%
US มีการเพิ่มเงินกู้เท่าตัว แต่ต้นทุนดอกเบี้ยไม่เพิ่ม เพราะดอกเบี้ยลง
เมื่อดอกเบี้ยลง ตลาดหุ้นก็ขึ้น
เป็นความสัมพันธ์ง่ายๆ
US ผลักดันด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆมานาน หลังวิกฤติปี 2008 มีการลดคน
ตัดต้นทุนต่างๆ เงินเดือนไม่สูง ราคาสินค้าต่ำ ไม่มีเงินเฟ้อมาเป็น 10 ปี
แต่มันกำลังจะเปลี่ยไปสู่ยุคดอกเบี้ยสูงขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น
เงินเดือนเพิ่มขึ้น เป็นตัวผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ แม้ทรัมป์จะมีนโยบายต่างๆที่จะผลักดันเศรษฐกิจ
แต่มันยากที่จะทำเรื่องต่างๆที่ได้ให้นโยบายผ่านสภาคองเกรสได้ให้สำเร็จ
และต้องทำอีกหลายอย่างให้สำเร็จเพื่อให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น
ในตลาดหุ้นที่แพง ซึ่งถูกผลักดันมาจากดอกเบี้ยที่ต่ำมาก
แต่ถ้าทำสำเร็จได้ ตลาดหุ้นอเมริกาก็ไปต่อได้ ซึ่งคิดว่าค่อนข้างยาก
(โดยเฉพาะนโยบายที่จะลดต้นทุนให้บริษัทซึ่งจะให้ตลาดหุ้นถูกลง)
Q. ถ้านโยบายทรัพป์ไม่สำเร็จ เงินจะไหลออกหรือเปล่า?
A. คิดว่าในสัปดาห์นี้ทรัมป์จะประกาศลดภาษีนิติบุคคล และ บุคคลธรรมดา
ปัญหาคือจะ ขาดดุลสูงขึ้น งบใช้จ่ายรัฐจะลดลง
จากที่เห็นในไทยการลดภาษีนิติบุคคล การเติบโตกำไรในปีสูงขึ้นทันทีและผลักดันตลาดได้
ที่กังวลคือตลาดUSตอนนี้ก็แพงอยู่แล้วและในระยะต่อไปจะรักษาไว้ได้หรือไม่
กลับไปที่คำถามคือ
จุดนี้มีความเสี่ยงก็มีโอกาสเงินก็จะไหลออกจากอเมริกา
เมื่อตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวลง ตลาดหุ้นโลกก็ปรับลงก็จะปรับลง
correlation ของ US กับ Emerging market สัมพันธ์กันสูง
ตอนนี้กลยุทธ์จึงมองค่อนข้าง defensive เมื่อตลาดอเมริกาลง ตลาดเราจะลงด้วย
ขั้นถัดไปค่อยจัดสรรเงินว่าจะลงทุนใน US หรือใน emerging market ที่ไม่แพงนัก
Q. ตลาดหุ้นที่มองว่าน่าสนใจ ?
A. เกาหลีใต้, ไทย, อินเดีย, อินโดนีเซีย
โดยมองตาม Framework : FVMR – Fund Valuation Momentum and Risk
เมื่อมองไปในแต่ละประเทศปัจจัยที่ผลักดันจะต่างกัน
บางประเทศน่าสนใจใน valuation แต่อีกประเทศอย่างอินโดนีเซีย
อาจน่าสนใจด้วย momentum อย่าง momentum ในราคาหรือผลประกอบการ
คุณสุธีราเสริมว่า เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ว่าพฤติกรรมการลงทุนในปัจจุบันมีการเอา model
มาใช้มากขึ้นในการลงทุนทำให้เกิด fund flow
คุณปริญญ์เสริมว่า การลงทุนสมัยนี้เป็น factor base investment มากกว่า country base investment
สมัยก่อน ผู้จัดการกองทุนแบ่งตามภูมิภาคหรือประเทศ แต่สมัยนี้มีน้อย จะเจาะลึกขึ้นรายตัวดูปัจจัยพื้นฐาน/Volume
ทำงานหนักขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับที่คุณสุธีราบอกว่ามีการใช้ model หรือมีการลงทุนใน ETF มากขึ้น
เวลาฝรั่งมาคุยด้วย ก็จะมีการถามว่าคนไทยมองอย่างไร รายใหญ่คิดอย่างไร เพื่อใช้ตัดสินใจลงทุน
คุณสุธีราเสริมว่าในไทย 70% เป็นเม็ดเงินในประเทศ จึงสำคัญที่จะสวนได้ถูกทาง
Q.ทำไมให้ไทยเป็น rank2?
A. ถ้ามอง consumption ในไทย อยู่ในตำแหน่งที fantastic
มีอัตราว่างงานต่ำสุดประเทศหนึ่งในโลก
และมี spending และ consumer power อีกมาก
ซึ่งดีสำหรับ demand ของสินค้าและบริษัท ซึ่งทุกอย่างเริ่มที่บริโภค
ซึ่งนำไปสู่การลงทุนขยายทางธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ มองว่าคนไทยมีงานทำมากไม่ดี แสดงว่าไม่เติบโต ?
Andrew มองว่า คนมีงานทำเยอะดีแล้ว มีเสถียรภาพทางการเมือง
และปกติเมื่อมีการจ้างงานเยอะ เงินเดือนจะขึ้นเร็ว เงินเดือนไทยต่ำมาเป็นสิบปีแล้ว
ในคลื่นถัดไปเงินเดือนน่าจะสูงขึ้น
คิดว่าไม่น่าเป็นห่วงใน 3-5 ปีข้างหน้ากำไรสามารถเติบโตได้
Q.ฝรั่งมอง sector หรือนโยบาลรัฐบาลไหม?
คุณภัทธีรา สภาพคล่องหายไป และไม่มีแรงผลักดัน
การเล่นต้องเปลี่ยนจาก short term ไปเล่น long term มากขึ้น
เมื่อก่อนประเทศไทย ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน
โชคดีที่บริษัทจดทะเบียนเราเติบโตสูง มีฐานะแข็งแกร่ง
ไม่จำเป็นต้องเทรดที่ PE ต่ำเหมือนในอดีต
ตอนนี้เรามีไทยแลนด์ 4.0
การเพิ่มมูลค่า ให้คนมีทักษะสูงขึ้น
บลจ.ทำงานที่มี innovation ขึ้น เปลี่ยนจากคนใช้เครื่องจักรมากขึ้น
รัฐบาลต้องวางโครงสร้างพื้นฐาน
ตั้งแต่ต้มยำกุ้งเศรษฐกิจผลักดันจากภาคเอกชน ต่อไปรัฐบาลต้องผลักดัน
Sector ต้องดูรายละเอียด
อย่างเช่น consumer ในอดีตผลิตสินค้าเพื่อประชากร 70 ล้านคนในไทย
แต่ตอนนี้ผลิตเพื่อ clmv 200 ล้านคนอยู่ที่กำลังซื้อจะมาเมื่อไร
ก่อสร้างก็มีงานทำมากมาย, ธนาคารก็จะได้รับผลจากการเติบโต
,ส่งออก ก็มีโอกาสดีขึ้นตามทิศทางของอเมริกาที่ consume มากขึ้น
หุ้นที่แพงแล้ว fundamental ไม่รองรับ นั่งรอไปไม่เกิดประโยชน์
ต้องมองหาหุ้นที่มีศักยภาพโตแต่มูลค่าไม่แพง
Q.ฝรั่งสนใจบริษัทลักษณะไหน?
คุณปริญญ์ มี 2 แบบ
ที่เป็นกองทุนยักษ์ใหญ่ จะมีเกณฑ์ เช่น สภาพคล่อง, CG
เขาชอบเร็ว ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ฟื้น
หรือเริ่มมีการฟื้น อย่าง kbank ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน หรือ aot
เป็นบริษัทที่โตต่อเนื่อง ตอน 40-50 บาท ฝรั่งไม่สนใจหุ้นตัวนี้ในแง่ธรรมาภิบาลหรือความเป็นรัฐวิสาหกิจ
แต่สมัยนี้ไล่ซื้อหุ้นกันได้หลังความกังวลคลี่คลาย
การบริโภคในประเทศ อย่าง major ฝรั่งชอบ เพราะหายากที่เป็นโรงหนังครอง market share สูงขนาดนี้
กลุ่มอสังหา/นิคมฯ ยังมีปัญหาคอนโดต่างจังหวัด หรือบ้านในตัวเมืองมี oversupply
อย่าง LH, AMATA,WHA เริ่มรับข่าวร้ายไปพอแล้ว และรัฐบาลก็ประกาศนโยบายทำ ECC
ฝรั่งชอบบริษัทที่กล้าคิดต่าง กล้า Go inter อย่าง TKN, CBG, TU
IVL ฝรั่งจึงสนใจ
Q. ฝรั่งมีพฤติกรรมซื้อรวมๆทั้งประเทศ หรือเลือกเป็นตัวหุ้น ?
คุณสุธีรา ตัวเลขกอง ETF โตขึ้นเรื่อยๆ อย่าง MSCI ไทยแลนด์ที่อยู่ในนิวยอร์ค
ส่วนตัวมองว่า 50:50
ต้องโฟกัสหุ้นรายตัวมากขึ้นโฟกัสตัวใหญ่ๆอย่างเดียวไม่ได้
Q.ชอบกลุ่มไหนเป็นพิเศษ?
K.Andrew 3 สิ่งที่รายย่อยควรรู้
1. commission rate ต่ำมาก เทียบกับกองทุน เป็นจุดได้เปรียบรายย่อย
2. small and mid cap outperform ใน 10 กว่าปีที่ผ่านมา อย่าง ptt ไม่ขึ้น
ขณะที่รายย่อยซื้อบริษัทพวกนั้น แต่สถาบันซื้อไม่ได้
3.จำนวนหุ้นใน port จากงานวิจัย 10 ตัวดีสุด สำหรับรายย่อย
ถ้าจัดการในหุ้นกลาง-เล็ก ผลตอบแทนจะดีมาก
มองเป็น sector ที่น่าสน Consumer, material
ยกตัวอย่างหุ้น Aot, egco, tkn
คุณสุธีรา ขยายความค่าคอมมิชชั่น ที่สถาบันซื้อ ETF มากขึ้นเพราะลดต้นทุน
การจัดการกองทุนไปได้เยอะ
Q. ฝรั่งมีขาดทุนไหม?
คุณปริญญ์ ฝรั่งก็เจ็บตัวหลายรอบ
เดินเกมผิดไป เวลาอยากทำกำไรเขาจะเอาผู้จัดการเก่งๆ senior ไปดูตลาดใหญ่ๆ
อย่าเช่น จีน เกาหลี อินเดีย เอาผู้จัดการเด็กๆมาดูในไทย
ซึ่งก็โดนไปหลายอย่างเหมือนกัน
มันเป็น qualitative ที่ต้องรู้เขารู้เราไม่ใช่แค่เป็น quantitative เท่านั้น
Moneytalk ครั้งถัดไป อาทิตย์ 14 พ.ค.
เปิดจอง เสาร์ 6 พ.ค. เวลา 7 โมงเช้า
หัวข้อ 1 สัมมนาหุ้นเด่นครึ่งปีหลัง
ผู้บริหารจาก 3 บริษัท Jubile,SCN, BIG
ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์,หมอเค
หัวข้อ 2 ชุมนุมเซียนแนะวิธีเลือกหุ้น
5 เซียน – นพ.พงษ์ศักดิ์, คุณประภาส(บลจ.ทาลิส),คุณทิวา(พี่มี่),
คุณทศวรรษ, ดร.นิเวศน์
ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์, อ.เสน่ห์
Go against and stay alive.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: MoneyTalk@SET23/4/60-กลต&การดูแล/หุ้นเด่นQ2/ฝรั่งมองหุ้น
โพสต์ที่ 3
อ่านแล้วก็นึกสงสัยเรื่อง Insider Trading ที่ท่านเลขาธิการ กลต. บอกว่าต้องเปิดเผยข้อมูลให้รับรู้โดยทั่ว ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต้องรายงานผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ หรือ ขึ้น Web Site ของบริษัท
แล้วกรณีที่มีผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนใน SET แห่งหนึ่งได้แจ้งในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นว่าบริษัทกำลังจะปรับโครงสร้างธุรกิจโดยการขายหน่วยงานที่ขาดทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นขึ้นทันทีก่อนที่สาธารณชนจะรับทราบข่าว
กรณีนี้ ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและรับทราบข้อมูล ทำการซื้อหุ้น จะถือว่ามีความผิดไหมครับ
แล้วกรณีที่มีผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนใน SET แห่งหนึ่งได้แจ้งในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นว่าบริษัทกำลังจะปรับโครงสร้างธุรกิจโดยการขายหน่วยงานที่ขาดทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นขึ้นทันทีก่อนที่สาธารณชนจะรับทราบข่าว
กรณีนี้ ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและรับทราบข้อมูล ทำการซื้อหุ้น จะถือว่ามีความผิดไหมครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี