คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช
โพสต์ที่ 31
เป้าหมายการลงทุน / ดร.นิเวศน์ เหมิรวรากร 9 เมษายน 2560
**********************
ถ้าคิดจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เราควรจะมี “เป้าหมายในการลงทุน” อย่างชัดเจนเพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ว่าเราสามารถทำได้ตามเป้าหมายไหม เพราะถ้าทำไม่ได้ในแง่ที่ว่าเราทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายมากติดต่อกันนาน เราก็อาจจะต้องเลิกหรือเปลี่ยนวิธีการลงทุนใหม่ มิฉะนั้นแล้วเราก็จะเสียหายหนักโดย “ไม่รู้ตัว” เราอาจจะได้รับ “ความบันเทิง” และความตื่นเต้นสนุกสนานจากการเห็นหุ้นขึ้นลงและเม็ดเงินกำไรที่เกิดขึ้นรวดเร็วในบางครั้งและได้ “ลุ้น” อยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งหมดนั้นต้องจ่ายด้วยราคาที่แพงมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราสามารถทำได้ตามหรือดีกว่าเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้อย่างดีและสมเหตุสมผล อนาคตทางการเงินและชีวิตเราก็จะดีขึ้นมาก
เป้าหมายแรกที่ผมคิดว่าเป็นเป้าหมายใหญ่และสำคัญมากเพราะมันจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายต่อ ๆ ไปก็คือเป้าหมายที่ว่าเรา “ลงทุนเพื่อการเกษียณ” หรือสำหรับบางคนที่อาจจะมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายไปได้ตลอดชีวิตอยู่แล้วก็คือ “ลงทุนเพื่อเป็นมรดก” ให้ลูกหลานหรือบริจาคให้คนอื่นเมื่อตนเองตายไปแล้ว นี่เป็นเป้าหมายที่จะคอยเตือนให้เราลงทุนอยู่ตลอดเวลาและไม่เอาผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้ฟุ่มเฟือยในยามที่เรายังสามารถหาเงินจากการทำงานได้อยู่ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะได้กำไรหรือปันผลจากการลงทุนเท่าไร เราจะต้องเอาเงินนั้นกลับไปลงทุนต่อเพื่อให้มัน “ทบต้น” ไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้พอร์ตเงินลงทุนของเราโตขึ้นในอัตราเร่งตลอดเวลาและกลายเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก” ที่จะทำให้เรารวยหรือมั่งคั่งอย่าง “ไม่อาจจะคาดคิดได้”
เป้าหมายข้อสองก็คือ เราจะต้องทำผลตอบแทนแบบทบต้นในระยะยาวซึ่งอาจจะเป็นสิบหรือหลายสิบปีในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี บางคนที่คิดว่าตนเองมีฝีมือในการลงทุนมากกว่าคนอื่นอาจจะตั้งเป้าหมายสูงกว่านั้น แต่การตั้งสูงขนาด 20% หรือมากกว่าในระยะยาวแล้ว ผมคิดว่าเป็นไปได้ยากมากยกเว้นแต่ว่าขนาดของพอร์ตลงทุนยังเล็กและตนเองสามารถที่จะเสี่ยงลงทุนแบบ “กล้าได้กล้าเสีย” และไม่ได้มีภาระทางการเงินอะไรที่จะต้องเดือดร้อนหนักถ้าเกิดความเสียหาย โดยทั่วไปผมเองคิดว่าการตั้งเป้าผลตอบแทนทบต้นต่อปีในระยะยาวนั้นอย่างสูงสุดไม่ควรจะเกิน 15% ต่อปีสำหรับคนที่ “เก่ง” ที่สุด และการวัดผลตอบแทนแบบที่จะมีความหมายจริง ๆ ก็คือเริ่มต้นเมื่อเขามีพอร์ตลงทุนไม่ต่ำกว่า 5-10 ล้านบาทขึ้นไปสำหรับ “คนกินเงินเดือน” ที่ไม่ได้มีเงินต้นทุนจากครอบครัวมาก่อน
เป้าผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% นั้น หลายคนอาจจะคิดว่าง่ายเพราะเขาเชื่อนักวิชาการหรือกูรูที่บอกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวของตลาดหุ้นคือ 10-12% ต่อปี แต่นั่นคืออดีตและเกิดขึ้นในประเทศ
หรือสังคมที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วแบบมหัศจรรย์อย่างตลาดอเมริกาหรือไทยในช่วงหลายสิบปีก่อน ซึ่งสำหรับผมแล้วอนาคตอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดังนั้น ถ้าใครคิดจะซื้อกองทุนอิงดัชนีเพื่อจะได้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% อาจจะต้องมั่นใจว่าตลาดหุ้นที่เราจะลงทุนนั้นจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมหัศจรรย์ในอนาคตอีกเป็นสิบ ๆ ปีข้างหน้าด้วย
เป้าหมายต่อมานั้นสำหรับคนที่ต้องการลงทุนเองไม่ซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องเสียค่าบริหารตลอดเวลาซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง ผมคิดว่าคือการตั้งเป้าว่าเราจะสามารถ “เอาชนะตลาด” ได้ไม่ต่ำกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ต่อปีโดยเฉลี่ย สำหรับเป้าหมายนี้ วอเร็น บัฟเฟตต์ ในขณะที่เริ่มตั้งกองทุนเพื่อบริหารเงินให้คนอื่นนั้น ได้ตั้งเป้าว่าเขาจะทำผลตอบแทนมากกว่าดัชนีตลาดหุ้นถึงปีละ 10% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม สถิติหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นได้พิสูจน์ว่าเขาทำได้ เขาได้ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยประมาณ 20% ต่อปีเป็นเวลาถึง 50-60 ปี ซึ่งกลายเป็น “ตำนาน” ที่หาคนเทียบยาก แต่สำหรับนักลงทุนธรรมดาอย่างเราแล้ว ผมคิดว่าตั้งเป้าแค่ดีกว่าตลาดหุ้น 3-5% ต่อปีผมก็คิดว่าสุดยอดแล้ว แม้ว่า “เซียน” หลายคนจะบอกว่าเขาตั้งเป้าสูงกว่าตลาดปีละเป็น 10% และก็ทำได้มากกว่านั้นมาหลายปีแล้ว แต่นั่นคือเหตุการณ์ที่อาจจะไม่ต่อเนื่องยาวนานต่อไปก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ตลาดหุ้นไทยก็อาจจะอยู่ในสภาวะที่ “ไม่ปกติ” และเต็มไปด้วยแรงเก็งกำไรสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เป้าหมายเรื่องของ “เม็ดเงิน” หรือขนาดของพอร์ตเมื่อถึงวันเกษียณหรือตอนตายก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ เราต้องการมีเงินเท่าไร? สำหรับคนที่ไม่มี “เงินต้นทุน” และต้องอาศัยการออมเงินจากรายได้จากการทำงานประจำหรืองานที่ต้องใช้แรงงานตนเองจะต้องคิดคำนวณหรือคาดการณ์ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ในปัจจุบันนี้มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คิดให้เราได้อย่างง่ายดาย เพียงแต่เราจะต้องใส่ข้อมูลที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผลเช่นเรื่องของจำนวนเงินต้นที่เราจะลงทุนและทยอยลงทุนเข้าไปเรื่อย ๆ ผลตอบแทนแบบทบต้นต่อปีที่เราจะทำได้ และระยะเวลาที่เราจะลงทุนจนถึงวันเกษียณหรือ “วันตาย” ที่เราคาดไว้ ข้อเตือนใจของผมสำหรับเป้าหมายนี้ก็คือ เราต้องพยายาม “อนุรักษ์นิยม” เข้าไว้ เพราะการตั้งเป้าผิดไปนิดเดียว เช่น เราตั้งผลตอบแทนทบต้นจาก 10% เป็น 12% ต่อปี ด้วย “พลังของการทบต้น” เป็นเวลาหลายสิบปี จะทำให้เม็ดเงินสุดท้ายนั้นต่างกันหลายเท่า
เมื่อได้กำหนดเป้าหมายแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือการกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น เริ่มจากการที่จะต้องประเมินตัวเองว่าเป็นอย่างไร เริ่มต้นที่ความสามารถและศักยภาพในการทำงานหรือทำเงินของตนเองว่าเป็นอย่างไรและจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อที่จะทำให้สามารถเก็บออมเงินที่จะใช้ในการลงทุน บางคนโชคดีที่อาจจะมี “ต้นทุนเดิมจากครอบครัว” บางคนอาจจะเกิดมามีสมองดีและจบการศึกษาที่สามารถทำเงินได้มาก ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสจะประสบความสำเร็จหรือบรรลุ
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายได้ง่ายกว่าคนที่ด้อยกว่า อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่เหมาะสมและวินัยของการปฏิบัติตามแผนก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
สำหรับคนที่เลือกหุ้นลงทุนเอง ผมคิดว่าการลงทุนระยะยาวแนว Value Investment ที่อิงอยู่กับราคาหุ้นที่ถูกหรือไม่ก็แนว วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่เน้นหุ้นซุปเปอร์สต็อกในราคายุติธรรม น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกว่าหุ้นที่เน้นการเติบโตแต่ราคาหุ้นแพง ส่วนการลงทุนหรือเล่นหุ้นแนว “เก็งกำไร” ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนนั้น ในระยะยาวแล้วคงไม่สามารถพาเราไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือการที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชั่นสูงมากและส่วนต่างราคาเสนอซื้อและเสนอขายที่สูงในทุกครั้งที่มีการซื้อหรือขาย
สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ผมคิดว่าการที่จะเลือกหุ้นเองนั้นเป็นสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากความสามารถหรือเวลาที่จะใช้ในการวิเคราะห์ติดตามอาจจะไม่พอ ดังนั้น การลงทุนในกองทุนรวมอิงดัชนีที่มีต้นทุนในการบริหารต่ำน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง จำไว้เสมอว่า ในตลาดที่พัฒนาแล้วและ/หรือในตลาดที่อยู่ในภาวะ “ปกติ” สถิติมันบอกว่ากองทุนอิงดัชนีต้นทุนต่ำคือ “เซียน” ที่สร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่านักลงทุนอื่นจำนวนมาก
สุดท้ายที่ผมคิดว่าน่าจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ เราต้องการอยู่ในตลาดที่ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูง เพราะนั่นคือจุดที่เราจะหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงง่ายกว่าตลาดที่ย่ำแย่—ในระยะยาว ดังนั้น การเลือกว่าเราจะลงทุนที่ไหนก็มีความสำคัญโดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่เราสามารถเลือกที่จะลงทุนในประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าอย่างไรเราก็คงจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วย เพราะนี่คือตลาดที่เราเข้าใจมากที่สุดและเงินที่เราจะใช้เป็นหลักก็เป็นเงินไทยด้วย
**********************
ถ้าคิดจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เราควรจะมี “เป้าหมายในการลงทุน” อย่างชัดเจนเพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ว่าเราสามารถทำได้ตามเป้าหมายไหม เพราะถ้าทำไม่ได้ในแง่ที่ว่าเราทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายมากติดต่อกันนาน เราก็อาจจะต้องเลิกหรือเปลี่ยนวิธีการลงทุนใหม่ มิฉะนั้นแล้วเราก็จะเสียหายหนักโดย “ไม่รู้ตัว” เราอาจจะได้รับ “ความบันเทิง” และความตื่นเต้นสนุกสนานจากการเห็นหุ้นขึ้นลงและเม็ดเงินกำไรที่เกิดขึ้นรวดเร็วในบางครั้งและได้ “ลุ้น” อยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งหมดนั้นต้องจ่ายด้วยราคาที่แพงมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราสามารถทำได้ตามหรือดีกว่าเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้อย่างดีและสมเหตุสมผล อนาคตทางการเงินและชีวิตเราก็จะดีขึ้นมาก
เป้าหมายแรกที่ผมคิดว่าเป็นเป้าหมายใหญ่และสำคัญมากเพราะมันจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายต่อ ๆ ไปก็คือเป้าหมายที่ว่าเรา “ลงทุนเพื่อการเกษียณ” หรือสำหรับบางคนที่อาจจะมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายไปได้ตลอดชีวิตอยู่แล้วก็คือ “ลงทุนเพื่อเป็นมรดก” ให้ลูกหลานหรือบริจาคให้คนอื่นเมื่อตนเองตายไปแล้ว นี่เป็นเป้าหมายที่จะคอยเตือนให้เราลงทุนอยู่ตลอดเวลาและไม่เอาผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้ฟุ่มเฟือยในยามที่เรายังสามารถหาเงินจากการทำงานได้อยู่ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะได้กำไรหรือปันผลจากการลงทุนเท่าไร เราจะต้องเอาเงินนั้นกลับไปลงทุนต่อเพื่อให้มัน “ทบต้น” ไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้พอร์ตเงินลงทุนของเราโตขึ้นในอัตราเร่งตลอดเวลาและกลายเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก” ที่จะทำให้เรารวยหรือมั่งคั่งอย่าง “ไม่อาจจะคาดคิดได้”
เป้าหมายข้อสองก็คือ เราจะต้องทำผลตอบแทนแบบทบต้นในระยะยาวซึ่งอาจจะเป็นสิบหรือหลายสิบปีในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี บางคนที่คิดว่าตนเองมีฝีมือในการลงทุนมากกว่าคนอื่นอาจจะตั้งเป้าหมายสูงกว่านั้น แต่การตั้งสูงขนาด 20% หรือมากกว่าในระยะยาวแล้ว ผมคิดว่าเป็นไปได้ยากมากยกเว้นแต่ว่าขนาดของพอร์ตลงทุนยังเล็กและตนเองสามารถที่จะเสี่ยงลงทุนแบบ “กล้าได้กล้าเสีย” และไม่ได้มีภาระทางการเงินอะไรที่จะต้องเดือดร้อนหนักถ้าเกิดความเสียหาย โดยทั่วไปผมเองคิดว่าการตั้งเป้าผลตอบแทนทบต้นต่อปีในระยะยาวนั้นอย่างสูงสุดไม่ควรจะเกิน 15% ต่อปีสำหรับคนที่ “เก่ง” ที่สุด และการวัดผลตอบแทนแบบที่จะมีความหมายจริง ๆ ก็คือเริ่มต้นเมื่อเขามีพอร์ตลงทุนไม่ต่ำกว่า 5-10 ล้านบาทขึ้นไปสำหรับ “คนกินเงินเดือน” ที่ไม่ได้มีเงินต้นทุนจากครอบครัวมาก่อน
เป้าผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% นั้น หลายคนอาจจะคิดว่าง่ายเพราะเขาเชื่อนักวิชาการหรือกูรูที่บอกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวของตลาดหุ้นคือ 10-12% ต่อปี แต่นั่นคืออดีตและเกิดขึ้นในประเทศ
หรือสังคมที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วแบบมหัศจรรย์อย่างตลาดอเมริกาหรือไทยในช่วงหลายสิบปีก่อน ซึ่งสำหรับผมแล้วอนาคตอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดังนั้น ถ้าใครคิดจะซื้อกองทุนอิงดัชนีเพื่อจะได้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% อาจจะต้องมั่นใจว่าตลาดหุ้นที่เราจะลงทุนนั้นจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมหัศจรรย์ในอนาคตอีกเป็นสิบ ๆ ปีข้างหน้าด้วย
เป้าหมายต่อมานั้นสำหรับคนที่ต้องการลงทุนเองไม่ซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องเสียค่าบริหารตลอดเวลาซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง ผมคิดว่าคือการตั้งเป้าว่าเราจะสามารถ “เอาชนะตลาด” ได้ไม่ต่ำกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ต่อปีโดยเฉลี่ย สำหรับเป้าหมายนี้ วอเร็น บัฟเฟตต์ ในขณะที่เริ่มตั้งกองทุนเพื่อบริหารเงินให้คนอื่นนั้น ได้ตั้งเป้าว่าเขาจะทำผลตอบแทนมากกว่าดัชนีตลาดหุ้นถึงปีละ 10% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม สถิติหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นได้พิสูจน์ว่าเขาทำได้ เขาได้ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยประมาณ 20% ต่อปีเป็นเวลาถึง 50-60 ปี ซึ่งกลายเป็น “ตำนาน” ที่หาคนเทียบยาก แต่สำหรับนักลงทุนธรรมดาอย่างเราแล้ว ผมคิดว่าตั้งเป้าแค่ดีกว่าตลาดหุ้น 3-5% ต่อปีผมก็คิดว่าสุดยอดแล้ว แม้ว่า “เซียน” หลายคนจะบอกว่าเขาตั้งเป้าสูงกว่าตลาดปีละเป็น 10% และก็ทำได้มากกว่านั้นมาหลายปีแล้ว แต่นั่นคือเหตุการณ์ที่อาจจะไม่ต่อเนื่องยาวนานต่อไปก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ตลาดหุ้นไทยก็อาจจะอยู่ในสภาวะที่ “ไม่ปกติ” และเต็มไปด้วยแรงเก็งกำไรสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เป้าหมายเรื่องของ “เม็ดเงิน” หรือขนาดของพอร์ตเมื่อถึงวันเกษียณหรือตอนตายก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ เราต้องการมีเงินเท่าไร? สำหรับคนที่ไม่มี “เงินต้นทุน” และต้องอาศัยการออมเงินจากรายได้จากการทำงานประจำหรืองานที่ต้องใช้แรงงานตนเองจะต้องคิดคำนวณหรือคาดการณ์ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ในปัจจุบันนี้มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คิดให้เราได้อย่างง่ายดาย เพียงแต่เราจะต้องใส่ข้อมูลที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผลเช่นเรื่องของจำนวนเงินต้นที่เราจะลงทุนและทยอยลงทุนเข้าไปเรื่อย ๆ ผลตอบแทนแบบทบต้นต่อปีที่เราจะทำได้ และระยะเวลาที่เราจะลงทุนจนถึงวันเกษียณหรือ “วันตาย” ที่เราคาดไว้ ข้อเตือนใจของผมสำหรับเป้าหมายนี้ก็คือ เราต้องพยายาม “อนุรักษ์นิยม” เข้าไว้ เพราะการตั้งเป้าผิดไปนิดเดียว เช่น เราตั้งผลตอบแทนทบต้นจาก 10% เป็น 12% ต่อปี ด้วย “พลังของการทบต้น” เป็นเวลาหลายสิบปี จะทำให้เม็ดเงินสุดท้ายนั้นต่างกันหลายเท่า
เมื่อได้กำหนดเป้าหมายแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือการกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น เริ่มจากการที่จะต้องประเมินตัวเองว่าเป็นอย่างไร เริ่มต้นที่ความสามารถและศักยภาพในการทำงานหรือทำเงินของตนเองว่าเป็นอย่างไรและจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อที่จะทำให้สามารถเก็บออมเงินที่จะใช้ในการลงทุน บางคนโชคดีที่อาจจะมี “ต้นทุนเดิมจากครอบครัว” บางคนอาจจะเกิดมามีสมองดีและจบการศึกษาที่สามารถทำเงินได้มาก ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสจะประสบความสำเร็จหรือบรรลุ
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายได้ง่ายกว่าคนที่ด้อยกว่า อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่เหมาะสมและวินัยของการปฏิบัติตามแผนก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
สำหรับคนที่เลือกหุ้นลงทุนเอง ผมคิดว่าการลงทุนระยะยาวแนว Value Investment ที่อิงอยู่กับราคาหุ้นที่ถูกหรือไม่ก็แนว วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่เน้นหุ้นซุปเปอร์สต็อกในราคายุติธรรม น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกว่าหุ้นที่เน้นการเติบโตแต่ราคาหุ้นแพง ส่วนการลงทุนหรือเล่นหุ้นแนว “เก็งกำไร” ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนนั้น ในระยะยาวแล้วคงไม่สามารถพาเราไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือการที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชั่นสูงมากและส่วนต่างราคาเสนอซื้อและเสนอขายที่สูงในทุกครั้งที่มีการซื้อหรือขาย
สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ผมคิดว่าการที่จะเลือกหุ้นเองนั้นเป็นสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากความสามารถหรือเวลาที่จะใช้ในการวิเคราะห์ติดตามอาจจะไม่พอ ดังนั้น การลงทุนในกองทุนรวมอิงดัชนีที่มีต้นทุนในการบริหารต่ำน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง จำไว้เสมอว่า ในตลาดที่พัฒนาแล้วและ/หรือในตลาดที่อยู่ในภาวะ “ปกติ” สถิติมันบอกว่ากองทุนอิงดัชนีต้นทุนต่ำคือ “เซียน” ที่สร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่านักลงทุนอื่นจำนวนมาก
สุดท้ายที่ผมคิดว่าน่าจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ เราต้องการอยู่ในตลาดที่ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูง เพราะนั่นคือจุดที่เราจะหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงง่ายกว่าตลาดที่ย่ำแย่—ในระยะยาว ดังนั้น การเลือกว่าเราจะลงทุนที่ไหนก็มีความสำคัญโดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่เราสามารถเลือกที่จะลงทุนในประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าอย่างไรเราก็คงจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วย เพราะนี่คือตลาดที่เราเข้าใจมากที่สุดและเงินที่เราจะใช้เป็นหลักก็เป็นเงินไทยด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช
โพสต์ที่ 32
ศาสตร์แห่งความสุข / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 30 เมษายน 2560
*****************
เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์หรือคนเรานั้นไม่ใช่เงิน อำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ แต่คือ “ความสุข” สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นแท้ที่จริงมันเป็นเพียง “หนทางหรือทางผ่าน” ที่อาจจะหรือมักจะนำไปสู่ความสุขเท่านั้น ความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้แต่มันคือความรู้สึกของเรา มันอยู่ในใจ มันเป็นอารมณ์ที่มีแต่ “เจ้าตัว” เท่านั้นที่จะบอกได้ ความสุขนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับ “ความทุกข์” ที่ก็เป็นอีกหนึ่งอารมณ์ที่อยู่ในใจที่มีแต่เจ้าตัวเท่านั้นที่รู้สึกเอง ตามนิยามของท่านพุทธทาสภิกขุที่ผมเคยอ่านสมัยที่เคยบวชเป็นพระในช่วงวัยหนุ่ม ความทุกข์ก็คือสิ่งที่เราต้องทนและอยากจะหลีกเลี่ยง อยากจะไปให้พ้น ส่วนความสุขนั้นเป็นอะไรที่เราไม่ต้องทน เราอยากได้และอยากอยู่กับมันนาน ๆ ในยุคปัจจุบันที่ความรู้ด้านของชีววิทยาก้าวหน้ามากนั้น เรารู้ว่าความทุกข์และความสุขของมนุษย์นั้นมีรากฐานมาจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตผ่านยีนที่สร้างอารมณ์ทุกข์และสุขขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ ความสุขมีไว้เพื่อกระตุ้นให้เราอยากทำในสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีโอกาสรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นอารมณ์ใคร่กระตุ้นให้คนอยากมีเพศสัมพันธ์ซึ่งจะทำให้มี “ความสุข” และในที่สุดก็นำไปสู่การมีลูก
เราทำงานเพื่อหาทรัพยากรหรือเงินเพื่อที่จะได้มีอาหารกินซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขเพื่อที่เราจะได้รอดจากการอดตาย เวลาหิวเราจะเป็นทุกข์ซึ่งเราจะต้องทนและพยายามหลีกเลี่ยงก็โดยการรีบไปกินอาหารซึ่งจะก่อให้เกิดความสุข ความกังวลว่าพรุ่งนี้หรือเดือนหน้าหรือปีหน้าจะมีอะไรให้เรากินหรือใช้ไหมก็ทำให้เราเป็นทุกข์และก็เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้เราวางแผนและทำกิจกรรมที่จะทำให้เรามีเงินเพื่อเอาไว้กินหรือใช้ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในอนาคต ดังนั้น ทั้งความสุขและความทุกข์ต่างก็เป็นอารมณ์ที่สำคัญมากที่ทุกคนต้องมี ถ้ามีอารมณ์แห่งความสุขหรือความทุกข์แต่เพียงอย่างเดียว เผ่าพันธุ์ของมนุษย์หรือสัตว์รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นก็คงอยู่ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้น คนที่เกิดมาทุกคนในปัจจุบันนี้จึงมียีนที่ผลิตฮอร์โมนของความทุกข์และความสุขในอัตราส่วนที่พอเหมาะหรือเหมาะสมที่สุดที่จะทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์มีโอกาสอยู่ได้ยั่งยืนที่สุด แน่นอน แต่ละคนอาจจะมีระดับของฮอร์โมนแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างก็ไม่มาก และมันก็ขึ้นกับยีนของแต่ละคน บางคนโชคดีที่มียีนของคนที่มีความสุขมากกว่า ดังนั้น เขาก็อาจจะมีโอกาสมีความสุขมากกว่าคนอื่น อย่างไรก็ตาม ความสุขหรือทุกข์ยังขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ อีกมากในชีวิต ที่สำคัญและมีผลมากก็คือ การปฏิบัติหรือพฤติกรรมของเราที่อาจจะเอื้อให้เกิดความสุขมากกว่า เช่นเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ก็มีผลสำคัญต่อระดับความสุขหรือทุกข์ที่เราจะได้รับในชีวิต
เรื่องของยีนและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสุขสูงนั้นบางทีเราก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก ผมจึงอยากจะพูดถึงวิธีหรือการปฏิบัติตัวที่จะช่วยเพิ่มความสุขที่เป็นสิ่งที่เราต้องการสูงสุดว่าควรจะทำอย่างไร สิ่งที่พูดนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ความคิดของผมเอง แต่มาจากการศึกษาเรื่องราวของ “ความสุข” จากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่มีการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึงเรื่องของความสุขของคน ว่าที่จริงในขณะนี้เรารู้แม้กระทั่งว่าใครกำลังมีความสุขโดยการใช้เครื่องวัดที่นำมาครอบศีรษะคนที่ยอมให้ทดลอง ความสุขนั้นไม่ใช่เป็นเรื่อง “ในใจ” ของเจ้าตัวเท่านั้นอีกต่อไป ความสุขเป็นเรื่องของร่างกายที่เราสามารถรู้ได้ด้วยเครื่องตรวจวัดการทำงานของสมอง
เรื่องของความสุขนั้นกว้างและซับซ้อนมาก ผมจึงอยากเพียงแต่สรุปหลักการใหญ่ที่เป็นหัวใจของมัน ประเด็นแรกก็คือ ความสุขของคนน่าจะมีสองส่วนนั่นก็คือ ความสุขในระยะสั้นและความสุขในระยะยาว หน้าที่ของเราก็คือพยายามทำให้ “ภาพรวม” ของชีวิตเรามีความสุขมากที่สุด ความสุขในระยะสั้นก็คือ ความพึงพอใจที่เราได้รับในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นสนุก ท้าทาย และเราประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เราก็จะมีความสุข บางทีการไม่ทำอะไรเลยเอาแต่นอนก็ทำให้มีความสุขได้ เช่นเดียวกัน การกินหรือดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือการเสพยาเสพติดก็เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสุขได้ แต่ความสุขเหล่านี้ก็มักจะเป็นความสุขสั้น ๆ หลังจากนั้นร่างกายก็ “ปรับตัว” กลับสู่ภาวะปกติ และในอนาคตก็อาจจะนำไปสู่ความทุกข์ได้
ความสุขในระยะยาวของคนนั้นขึ้นอยู่กับการที่เรา “บรรลุเป้าหมายที่มีความหมาย” ในชีวิตของเรา เป้าหมายที่มีความหมายของแต่ละคนก็แตกต่างกันแม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันอยู่ คนบางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของเงิน อำนาจ ชื่อเสียง การได้สร้างคุณูปการให้กับสังคมหรือคนอื่น บางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของการอุดหนุนเกื้อกูลศาสนาและการ “นิพพาน” ใครก็ตามที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เขาก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขมากขึ้น
ประเด็นสำคัญก็คือ ความสุขในระยะสั้นนั้น บ่อยครั้งก็มักจะขัดกับเป้าหมายหรือความสุขระยะยาวซึ่งทำให้ความสุขโดยรวมของเรานั้นไม่ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น คนบางคนทำงานหนักมากและงานนั้นไม่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นงานที่ต้องทนทำ เป็นความทุกข์แต่เขาต้องทำเพื่อที่จะทำเงินให้มากเพื่อหวังที่จะรวยเพราะหวังที่จะได้รับความสุขในระยะยาว ซึ่งบางทีเมื่อรวยแล้วก็กลับพบว่าความสุขไม่ได้เกิดขึ้นจริง ความรวยอาจช่วยให้สามารถซื้อสิ่งของมาปรนเปรอตัวเองได้แต่มันก็เป็นเพียงความสุขสั้น ๆ ที่จะหายวับไปอย่างรวดเร็ว มันเป็นความสุขระยะสั้น ความสุขที่จะอยู่ “ยาว” ก็คือกระบวนการในการเดินทางสู่เป้าหมายที่มีความหมายในชีวิต ดังนั้น คำพูดที่ว่า ความสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่เป้าหมาย แต่ความสุขคือการเดินทางสู่เป้าหมายนั้นผมคิดว่าเป็นคำพูดที่ถูกต้องแต่จะต้องเพิ่มอีกนึดหนึ่งว่าต้องเป็น เป้าหมายที่ “มีความหมาย” ด้วย
การที่จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขเต็มที่ตามศักยภาพของตนเองนั้นก็คือ การพยายามทำให้กระบวนการเดินทางสู่เป้าหมายทุกอย่างนั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในระยะสั้นให้มากที่สุด และสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวมากที่สุด แน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ทำอะไรที่เราไม่พึงพอใจเลย คนส่วนใหญ่อย่างน้อยก็ยังต้องทำงานบ้านเช่น ล้างถ้วยชามทำความสะอาดซึ่งอาจจะไม่เกิดความพึงพอใจ วิธีแก้ก็คือ “ทำใจ” ให้รู้สึกว่านี่เป็นเรื่อง “ผ่อนคลาย” คิดเสียว่าแม้แต่ บิล เกต เองก็ยังบอกว่าตนเองชอบล้างจาน เพราะมันคลายเครียดดี แต่สิ่งที่เราควรต้องตระหนักจริง ๆ ก็คือ เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรืองานที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจสูงและเป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก ตัวอย่างเช่น งานประจำโดยเฉพาะงานที่เราต้องทำเพื่อหาเงินมาใช้ในชีวิตประจำวันและเก็บออมไว้ใช้ในอนาคต สิ่งที่เราควรทำก็คือ เราควรหางานที่เราทำแล้วรู้สึกสนุก ท้าทาย เป็นงานที่มีความหมาย ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนเป็นเงินที่ดีหรือยอมรับได้แม้ว่าอาจจะไม่ใช่งานที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด นี่จะทำให้เราทำอย่างมีความสุขและอยากไปทำงานทุกวัน และมันก็ยังสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่มีความหมายเช่น ความมั่นคงทางการเงิน เป็นต้น
งานหรือเป้าหมายที่มีความหมายเองนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นงานที่ต้อง “เสียสละ” ความสุขของตนเองให้เป็นความสุขของผู้อื่น นี่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะถ้าคุณต้องเสียสละ มันก็จะไม่ใช่สิ่งที่คุณพอใจ ถ้าคุณพอใจ คุณย่อมมีความสุข มันก็ไม่ใช่การเสียสละ มันเป็นเรื่องที่ได้กันทุกคนไม่มีคนเสีย
และนี่ก็คือเรื่องราวของความสุขแบบสั้นที่สุด ซึ่ง VI ควรจะต้องเข้าใจและต้องแสวงหากลยุทธ์ที่จะนำเราไปสู่ความสุขที่มากกว่า แทนที่จะเป็นเงินที่มากกว่า
*****************
เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์หรือคนเรานั้นไม่ใช่เงิน อำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ แต่คือ “ความสุข” สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นแท้ที่จริงมันเป็นเพียง “หนทางหรือทางผ่าน” ที่อาจจะหรือมักจะนำไปสู่ความสุขเท่านั้น ความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้แต่มันคือความรู้สึกของเรา มันอยู่ในใจ มันเป็นอารมณ์ที่มีแต่ “เจ้าตัว” เท่านั้นที่จะบอกได้ ความสุขนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับ “ความทุกข์” ที่ก็เป็นอีกหนึ่งอารมณ์ที่อยู่ในใจที่มีแต่เจ้าตัวเท่านั้นที่รู้สึกเอง ตามนิยามของท่านพุทธทาสภิกขุที่ผมเคยอ่านสมัยที่เคยบวชเป็นพระในช่วงวัยหนุ่ม ความทุกข์ก็คือสิ่งที่เราต้องทนและอยากจะหลีกเลี่ยง อยากจะไปให้พ้น ส่วนความสุขนั้นเป็นอะไรที่เราไม่ต้องทน เราอยากได้และอยากอยู่กับมันนาน ๆ ในยุคปัจจุบันที่ความรู้ด้านของชีววิทยาก้าวหน้ามากนั้น เรารู้ว่าความทุกข์และความสุขของมนุษย์นั้นมีรากฐานมาจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตผ่านยีนที่สร้างอารมณ์ทุกข์และสุขขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ ความสุขมีไว้เพื่อกระตุ้นให้เราอยากทำในสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีโอกาสรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นอารมณ์ใคร่กระตุ้นให้คนอยากมีเพศสัมพันธ์ซึ่งจะทำให้มี “ความสุข” และในที่สุดก็นำไปสู่การมีลูก
เราทำงานเพื่อหาทรัพยากรหรือเงินเพื่อที่จะได้มีอาหารกินซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขเพื่อที่เราจะได้รอดจากการอดตาย เวลาหิวเราจะเป็นทุกข์ซึ่งเราจะต้องทนและพยายามหลีกเลี่ยงก็โดยการรีบไปกินอาหารซึ่งจะก่อให้เกิดความสุข ความกังวลว่าพรุ่งนี้หรือเดือนหน้าหรือปีหน้าจะมีอะไรให้เรากินหรือใช้ไหมก็ทำให้เราเป็นทุกข์และก็เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้เราวางแผนและทำกิจกรรมที่จะทำให้เรามีเงินเพื่อเอาไว้กินหรือใช้ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในอนาคต ดังนั้น ทั้งความสุขและความทุกข์ต่างก็เป็นอารมณ์ที่สำคัญมากที่ทุกคนต้องมี ถ้ามีอารมณ์แห่งความสุขหรือความทุกข์แต่เพียงอย่างเดียว เผ่าพันธุ์ของมนุษย์หรือสัตว์รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นก็คงอยู่ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้น คนที่เกิดมาทุกคนในปัจจุบันนี้จึงมียีนที่ผลิตฮอร์โมนของความทุกข์และความสุขในอัตราส่วนที่พอเหมาะหรือเหมาะสมที่สุดที่จะทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์มีโอกาสอยู่ได้ยั่งยืนที่สุด แน่นอน แต่ละคนอาจจะมีระดับของฮอร์โมนแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างก็ไม่มาก และมันก็ขึ้นกับยีนของแต่ละคน บางคนโชคดีที่มียีนของคนที่มีความสุขมากกว่า ดังนั้น เขาก็อาจจะมีโอกาสมีความสุขมากกว่าคนอื่น อย่างไรก็ตาม ความสุขหรือทุกข์ยังขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ อีกมากในชีวิต ที่สำคัญและมีผลมากก็คือ การปฏิบัติหรือพฤติกรรมของเราที่อาจจะเอื้อให้เกิดความสุขมากกว่า เช่นเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ก็มีผลสำคัญต่อระดับความสุขหรือทุกข์ที่เราจะได้รับในชีวิต
เรื่องของยีนและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสุขสูงนั้นบางทีเราก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก ผมจึงอยากจะพูดถึงวิธีหรือการปฏิบัติตัวที่จะช่วยเพิ่มความสุขที่เป็นสิ่งที่เราต้องการสูงสุดว่าควรจะทำอย่างไร สิ่งที่พูดนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ความคิดของผมเอง แต่มาจากการศึกษาเรื่องราวของ “ความสุข” จากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่มีการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึงเรื่องของความสุขของคน ว่าที่จริงในขณะนี้เรารู้แม้กระทั่งว่าใครกำลังมีความสุขโดยการใช้เครื่องวัดที่นำมาครอบศีรษะคนที่ยอมให้ทดลอง ความสุขนั้นไม่ใช่เป็นเรื่อง “ในใจ” ของเจ้าตัวเท่านั้นอีกต่อไป ความสุขเป็นเรื่องของร่างกายที่เราสามารถรู้ได้ด้วยเครื่องตรวจวัดการทำงานของสมอง
เรื่องของความสุขนั้นกว้างและซับซ้อนมาก ผมจึงอยากเพียงแต่สรุปหลักการใหญ่ที่เป็นหัวใจของมัน ประเด็นแรกก็คือ ความสุขของคนน่าจะมีสองส่วนนั่นก็คือ ความสุขในระยะสั้นและความสุขในระยะยาว หน้าที่ของเราก็คือพยายามทำให้ “ภาพรวม” ของชีวิตเรามีความสุขมากที่สุด ความสุขในระยะสั้นก็คือ ความพึงพอใจที่เราได้รับในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นสนุก ท้าทาย และเราประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เราก็จะมีความสุข บางทีการไม่ทำอะไรเลยเอาแต่นอนก็ทำให้มีความสุขได้ เช่นเดียวกัน การกินหรือดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือการเสพยาเสพติดก็เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสุขได้ แต่ความสุขเหล่านี้ก็มักจะเป็นความสุขสั้น ๆ หลังจากนั้นร่างกายก็ “ปรับตัว” กลับสู่ภาวะปกติ และในอนาคตก็อาจจะนำไปสู่ความทุกข์ได้
ความสุขในระยะยาวของคนนั้นขึ้นอยู่กับการที่เรา “บรรลุเป้าหมายที่มีความหมาย” ในชีวิตของเรา เป้าหมายที่มีความหมายของแต่ละคนก็แตกต่างกันแม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันอยู่ คนบางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของเงิน อำนาจ ชื่อเสียง การได้สร้างคุณูปการให้กับสังคมหรือคนอื่น บางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของการอุดหนุนเกื้อกูลศาสนาและการ “นิพพาน” ใครก็ตามที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เขาก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขมากขึ้น
ประเด็นสำคัญก็คือ ความสุขในระยะสั้นนั้น บ่อยครั้งก็มักจะขัดกับเป้าหมายหรือความสุขระยะยาวซึ่งทำให้ความสุขโดยรวมของเรานั้นไม่ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น คนบางคนทำงานหนักมากและงานนั้นไม่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นงานที่ต้องทนทำ เป็นความทุกข์แต่เขาต้องทำเพื่อที่จะทำเงินให้มากเพื่อหวังที่จะรวยเพราะหวังที่จะได้รับความสุขในระยะยาว ซึ่งบางทีเมื่อรวยแล้วก็กลับพบว่าความสุขไม่ได้เกิดขึ้นจริง ความรวยอาจช่วยให้สามารถซื้อสิ่งของมาปรนเปรอตัวเองได้แต่มันก็เป็นเพียงความสุขสั้น ๆ ที่จะหายวับไปอย่างรวดเร็ว มันเป็นความสุขระยะสั้น ความสุขที่จะอยู่ “ยาว” ก็คือกระบวนการในการเดินทางสู่เป้าหมายที่มีความหมายในชีวิต ดังนั้น คำพูดที่ว่า ความสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่เป้าหมาย แต่ความสุขคือการเดินทางสู่เป้าหมายนั้นผมคิดว่าเป็นคำพูดที่ถูกต้องแต่จะต้องเพิ่มอีกนึดหนึ่งว่าต้องเป็น เป้าหมายที่ “มีความหมาย” ด้วย
การที่จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขเต็มที่ตามศักยภาพของตนเองนั้นก็คือ การพยายามทำให้กระบวนการเดินทางสู่เป้าหมายทุกอย่างนั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในระยะสั้นให้มากที่สุด และสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวมากที่สุด แน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ทำอะไรที่เราไม่พึงพอใจเลย คนส่วนใหญ่อย่างน้อยก็ยังต้องทำงานบ้านเช่น ล้างถ้วยชามทำความสะอาดซึ่งอาจจะไม่เกิดความพึงพอใจ วิธีแก้ก็คือ “ทำใจ” ให้รู้สึกว่านี่เป็นเรื่อง “ผ่อนคลาย” คิดเสียว่าแม้แต่ บิล เกต เองก็ยังบอกว่าตนเองชอบล้างจาน เพราะมันคลายเครียดดี แต่สิ่งที่เราควรต้องตระหนักจริง ๆ ก็คือ เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรืองานที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจสูงและเป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก ตัวอย่างเช่น งานประจำโดยเฉพาะงานที่เราต้องทำเพื่อหาเงินมาใช้ในชีวิตประจำวันและเก็บออมไว้ใช้ในอนาคต สิ่งที่เราควรทำก็คือ เราควรหางานที่เราทำแล้วรู้สึกสนุก ท้าทาย เป็นงานที่มีความหมาย ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนเป็นเงินที่ดีหรือยอมรับได้แม้ว่าอาจจะไม่ใช่งานที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด นี่จะทำให้เราทำอย่างมีความสุขและอยากไปทำงานทุกวัน และมันก็ยังสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่มีความหมายเช่น ความมั่นคงทางการเงิน เป็นต้น
งานหรือเป้าหมายที่มีความหมายเองนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นงานที่ต้อง “เสียสละ” ความสุขของตนเองให้เป็นความสุขของผู้อื่น นี่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะถ้าคุณต้องเสียสละ มันก็จะไม่ใช่สิ่งที่คุณพอใจ ถ้าคุณพอใจ คุณย่อมมีความสุข มันก็ไม่ใช่การเสียสละ มันเป็นเรื่องที่ได้กันทุกคนไม่มีคนเสีย
และนี่ก็คือเรื่องราวของความสุขแบบสั้นที่สุด ซึ่ง VI ควรจะต้องเข้าใจและต้องแสวงหากลยุทธ์ที่จะนำเราไปสู่ความสุขที่มากกว่า แทนที่จะเป็นเงินที่มากกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช
โพสต์ที่ 33
ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่เสียสละเวลามาถ่ายทอดความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดดีๆ ให้แก่กัน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่คนรุ่นหลังที่เกินตามกันมาในสายการลงทุนเน้นคุณค่า ในโอกาสนี้ผมขออนุญาตยกบทความของ ดร.นิเวศน์ฯ ซึ่งได้กรุณาเขียนบทความในห้วงใกล้เคียงหลังจากที่ผมตั้งกระทู้ถามในบอร์ดนี้ อ่านแล้วนับว่ามีความสอดคล้องทางแนวคิด และอาจเป็นคำตอบที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการตัดสินใจบนสายการลงทุน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านรุ่นต่อๆไป แม้ในห้าปี สิบปีข้างหน้านะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช
โพสต์ที่ 35
เป็นกระทู้ที่ดี และ สร้างแง่คิดไว้ได้หลายแง่มุมมากครับ
เลยขอมาเจิมบ้าง เล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกัน
ไม่รู้ว่า พี่เจ้าของกระทู้ ได้ตัดสินใจอะไรแล้วหรือยัง
ผมเคยฟัง พี่ โจ ลูกอิสาน พูด เค้ามักจะพูด บ่อยๆ ว่าเค้าเป็นคน "บ้าหุ้น"
ซึ่งฟังดูว่า ผมว่า อันนี้แหล่ะเป็นคุณสมบัติอีกอันนึง (นอกจากที่ต้องมีเงินเยอะ) ที่นักลงทุน Full time จะต้องมี
คือ การที่เรามีความสุขกับการ ศึกษาหาข้อมูล อ่านหนังสือ สังเกต ความเปลี่ยนแปลง สิ่งต่างๆ รอบตัว เอามาประยุกต์ ให้เข้ากับการลงทุน
ถ้าเรามีความสุข ที่จะทำพวกนี้ ในทุกๆ วัน ผมว่าไม่ต้องกลัวเบื่อเลย ยิ่งโลกทุนนิยมอย่างนี้ บริษัทดีๆ มีให้เลือก ให้ศึกษาทั่วโลก เลยครับ
เลยขอมาเจิมบ้าง เล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกัน
ไม่รู้ว่า พี่เจ้าของกระทู้ ได้ตัดสินใจอะไรแล้วหรือยัง
ผมเคยฟัง พี่ โจ ลูกอิสาน พูด เค้ามักจะพูด บ่อยๆ ว่าเค้าเป็นคน "บ้าหุ้น"
ซึ่งฟังดูว่า ผมว่า อันนี้แหล่ะเป็นคุณสมบัติอีกอันนึง (นอกจากที่ต้องมีเงินเยอะ) ที่นักลงทุน Full time จะต้องมี
คือ การที่เรามีความสุขกับการ ศึกษาหาข้อมูล อ่านหนังสือ สังเกต ความเปลี่ยนแปลง สิ่งต่างๆ รอบตัว เอามาประยุกต์ ให้เข้ากับการลงทุน
ถ้าเรามีความสุข ที่จะทำพวกนี้ ในทุกๆ วัน ผมว่าไม่ต้องกลัวเบื่อเลย ยิ่งโลกทุนนิยมอย่างนี้ บริษัทดีๆ มีให้เลือก ให้ศึกษาทั่วโลก เลยครับ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช
โพสต์ที่ 36
พวกเรานึกออกหรือยังว่าyoko เขียน:ต้นเหตุของทุกข์คือการยึด น่าจะสรุปเร็วไปหน่อย
เจริญสติปัฏฐานแล้วทำไมรู้แจ้งอริยสัจ
ถ้าเจริญสติปัฏฐาน
มีสติ มีปัญญา รู้กายเวทนาจิตธรรม
ย่อลงมาก็คือรูปธรรมนามธรรมนั้นแหละ
รูปธรรมนามธรรมนี้
เราจะแจกแจงออกไปในลักษณะของขันธ์ ๕ ก็ได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นส่วนนาม นามธรรม ตัวรูปขันธ์ ก็เป็นรูปธรรรม
แจกแจงเป็นอายตนะ ๖ ก็ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม
แจกแจงไปได้หลายแบบนะ เป็นธาตุ ๑๘ ธาตุ อินทรีย์ ๒๒ อย่าง
หรือปฏิจจสมุปบาท ๑๒ + ๑๒ เป็น ๒๔
รวมความนะ มันก็คือรูปธรรมนามธรรม
การที่เรารู้ความจริง
เรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม
ก็คือการรู้ทุกข์นั่นเอง
ว่าสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ท่านบอกว่า
“สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา”
ว่าโดยสรุป ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
การที่เราเจริญสติปัฏฐานนั้น
เราก็รู้ความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ เรียกเรา “รู้ทุกข์” นั่นเอง
ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติใน “กิจต่อทุกข์” เรียบร้อยแล้ว
การที่เรา “รู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง”
ว่าขันธ์ ๕ เนี่ยเป็นตัวทุกข์
เมื่อรู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์อย่างแจ่มแจ้งแล้ว
กิจที่ ๒ คือการ “ละสมุทัย” จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
ทันทีที่ รู้ทุกข์ ขณะนั้นแหละ ละสมุทัย
เราละ สมุทัย ละความอยากเนี่ย ด้วยการ รู้ทุกข์
สมุทัยคือตัวตัณหา ตัวความอยาก
เป็นเหตุให้เราเข้าไปหยิบฉวยเอารูปธรรมนามธรรม
หรือขันธ์ ๕ นี้ซึ่งเป็นตัวทุกข์
เอามากอดเอาไว้ มากกไว้ เอามาครอบครองไว้
กลายเป็นไปหยิบฉวยเอาตัวทุกข์ขึ้นมา
ความอยากนี้แหละทำให้เราไปหยิบฉวย
เอารูปธรรมนามธรรมขึ้นมาไว้กับตัวเอง
ก็เลยนำความทุกข์เข้ามาสู่จิตใจ
ถ้ามีสติมีปัญญามากพอ รู้ความจริงว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
จะไม่เกิดความอยากที่จะไปหยิบฉวยมันเข้ามา
ไม่มีการเข้าไปครอบครองรูปนามขันธ์ ๕
ก็เท่ากับไม่หยิบฉวยเอาตัวทุกข์เข้ามาไว้กับตัวเอง
งั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น
ละสมุทัยเมื่อไหร่ก็แจ้งนิโรธ คือแจ้งพระนิพพานเมื่อนั้น
เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา
สิ้นตัวสมุทัยแล้ว จิตใจก็เข้าถึงความสงบระงับ
พระนิพพานนั้นคือสันติ คือความสงบ
สงบจากอะไร? สงบจากกิเลส สงบจากกิเลสทั้งหลาย
สงบจากตัณหา สงบจากความยึดถือ
สงบจากสังขารคือความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง
ทั้งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมนี่เป็นตัวสังขารทั้งหมด
สงบจากการดิ้นรนปรุงแต่ง
ไม่ปรุงแต่งก็พ้นจากภพ ภพก็คือความปรุงแต่งของจิต
งั้นนิพพานนะ เมื่อไหร่สิ้นตัณหา
รู้ความจริงของขันธ์ ก็จะสิ้นตัณหา
เมื่อสิ้นตัณหา ก็ไม่สร้างภพ
ไม่ดิ้นรนปรุงแต่งขึ้นมา ก็พ้นจากภพกันตรงนั้นเอง
พ้นจากความทุกข์กันตรงนั้นเอง
งั้นถ้าคนถามเราว่านิพพานมีลักษณะยังไง
ก็ตอบเค้าไปตรงๆ นิพพานมีสันติลักษณะ
มีลักษณะสงบ
สงบจากอะไร? สงบจากกิเลสตัณหา
สงบจากความดิ้นรนปรุงแต่ง
สงบจากอะไรอีก? สงบจากรูปนามขันธ์ ๕
พ้นจากรูปนามขันธ์ ๕
นิพพานมีอยู่แล้ว แต่ว่าเราไม่รู้ เราไม่เห็น
เพราะจิตเรามีความอยาก จิตเรามีกิเลส
จิตเรามีความดิ้นรนปรุงแต่ง
เราเลยไม่สามารถจะเห็นสภาวะที่พ้นความปรุงแต่งได้
ขณะใดที่จิตเราหมดตัณหาหมดกิเลสนะ เมื่อสิ้นตัณหาก็สิ้นความปรุงแต่งของจิตด้วย
พระนิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความปรุงแต่ง
ก็จะปรากฏขึ้นให้รับรู้ในขณะนั้นเลย
งั้นเมื่อไรรู้ทุกข์ เมื่อนั้นแหละละสมุทัย
เมื่อใดละสมุทัย เมื่อนั้นแหละแจ้งนิโรธ
เห็นพระนิพพาน
การที่เรารู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ
ในขณะนั้นน่ะคือขณะแห่งอริยมรรค
งั้นการที่เรารู้ทุกข์ ละสมุมัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรคเนี่ย
กิจกรรมทั้ง ๔ เนี่ยทำเสร็จในขณะจิตเดียวกัน
ในแวบเดียว
ในพริบตาเดียวนั้นเอง ก็ข้ามพ้นจากความทุกข์ไปได้
ธรรมะอย่างนี้นะธรรมะประณีต ลึกซึ้งมาก ต้องภาวนา
ถ้าภาวนาเราอยากแค่มีทุกข์น้อยๆ
ก็เอาแค่โสดาบัน สกทาคามี
เรายังติดใจในกาม ยังห่วงเมีย ห่วงสามี
ยังอะไรต่ออะไรอยู่นะ ห่วงทรัพย์สมบัติอยู่
เอาโสดาบัน สกทาคามี ก็พอ
ถ้าถึงขึ้นอนาคามีเนี่ยมันพ้นจากกามไป
จากปุถุชนเนี่ย ขึ้นไปเป็นพระโสดาบันยากมากนะ
คนจำนวนมากอยากได้ แต่มันไปไม่ถูก
ที่รู้ทางที่ถูกแล้วก็ขี้เกียจปฏิบัติ
ถ้ารู้ทางถูกแล้วขยันปฏิบัตินะ
มันก็เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามีอะไร ไม่ยาก
ทีนี้คนส่วนใหญ่มันติดในความสุข
ความหลงโลกอะไรอย่างนั้นไป ไม่ยอมภาวนา
ถ้าเราภาวนาเนี่ย พระโสดาบัน พระสกทาคามี
ไม่ใช่เรื่องยากเกินวิสัยมนุษย์ธรรมดาอย่างพวกเรา
จะทำได้
ไม่ต้องละอะไรมากนะ รักษาศีล ๕ ไว้
มีสติ รู้เนื้อรู้ตัว ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวไว้
อย่าให้มันฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
รู้สึกตัวบ่อยๆ นั่นแหละเรียกว่ามีสมาธิ มีสติ มีสมาธิ
รักษาศีลไว้
คอยดูกายทำงาน ดูใจทำงาน
เห็นกายกับใจแยกออกจากกัน
เห็นความสุขทุกข์
แยกออกจากร่างกาย แยกออกจากจิตใจ
เห็นความปรุงดีปรุงชั่ว
เช่นความโลภความโกรธความหลงทั้งหลายเนี่ย
แยกออกจากจิตใจ
แยกออกเป็นส่วน ๆ ๆ ไป
แต่ละอันเนี่ยทำหน้าที่ของมันไป แต่ละอันก็เกิดดับไป
เนี่ยฝึกดูอย่างนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนะ
ก็จะได้ธรรมะขึ้นมา
ถ้าบารมีมากก็เป็นพระอรหันต์
บารมีลดลงมาก็ได้อนาคามี สกทาคามี
เป็นพระโสดาบัน เป็นลำดับไป
ก็พากเพียรเข้า
รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว
อย่าฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป รู้ตัวบ่อยๆ
ถัดจากนั้นดูกายทำงาน ดูใจทำงาน ทำอย่างนี้แหละ
ให้เวลากับการรู้กายรู้ใจให้เยอะๆหน่อย
มรรคผลอะไรไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่ฆราวาสจะทำได้
สมัยพุทธกาล ฆราวาสไม่ได้จีเนียสกว่าพวกเรานะ
คนสมองมันก็พอๆกันแหละ
มีงานศึกษาอันหนึ่งเคยอ่าน พวกหมอนั่นแหละศึกษาบอก
คนสมัยโรมันสมัยกรีกนะ กับคนยุคนี้สมองพอๆกัน
ไม่รู้ไปขุดสมองโรมันมาดูได้ไงนะ
คนสมัยพุทธกาล กับยุคเรา ก็พอๆกันแหละ
ไม่ได้โง่ ไม่ได้ฉลาดกว่ากันน่ะ เค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้
มีมือมีตีนเหมือนกันนะ มีใจเหมือนกัน ต้องทำเอาให้ได้
รักษาศีล ๕ ไว้
ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว
แล้วก็ดูกายทำงาน ดูใจทำงานไปเรื่อยๆ
วันหนึ่งก็เข้าใจ
เราดูกายดูใจทำงานมากๆ
ในที่สุดก็เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ
ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์
ถ้าเข้าใจในระดับที่เห็นกายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา
ก็เป็นพระโสดาบัน
ถ้าเข้าใจความจริงระดับที่ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ จะเป็นพระอรหันต์นะ
สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม 2555
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ชีวิต
โพสต์ที่ 37
ขอมาจองที่ไว้ก่อนครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator