"ใช้มือถือ...หาหุ้น” กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 60
-
- Verified User
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
"ใช้มือถือ...หาหุ้น” กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 60
โพสต์ที่ 1
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ใช้มือถือ... “หาหุ้น”
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางชมรมนักลงทุน CSI วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดงาน CSI Fund ขึ้น โดยมีนักศึกษาเก่า CSI มาร่วมงานเกือบ 100 คน ในครั้งนี้ทางชมรมฯได้เชิญผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชันที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ โดยแอปนี้สามารถค้นหาหุ้นที่ดีๆได้ อย่างไรก็ตามเพื่อหลีกเลี่ยงการโฆษณาชวนเชื่อ จึงขออธิบายคุณสมบัติดีๆของแอปตัวนี้...โดยไม่กล่าวถึงชื่อนะครับ
หนึ่ง คุณสมบัติที่ดีของแอปนี้
แอปนี้มีหน้า Index Chart บอกความเคลื่อนไหวว่า ดัชนีหุ้นไปในทิศทางไหน วันนี้มีหุ้นตัวไหนมี Volume เข้าเยอะ มูลค่าการซื้อขายมีแค่ไหน โดยเป็นข้อมูลแบบ Real Time ซึ่งปกตินักลงทุนจะอาศัยการใช้งานแอปพลิเคชันที่มีอยู่ในตลาด แต่ก็ยังไม่สามารถได้ข้อมูลการวิเคราะห์ที่ดีเพียงพอ เช่น ข้อจำกัดเรื่องความสามารถในการดู Bid-Offer ของหุ้นแต่ละตัว ซึ่งจะไม่มีการรายงานหรือแจ้งเตือนทันที จึงจำเป็นต้องไปค้นหาและวิเคราะห์ต่อเอง แต่แอปนี้แสดงให้เห็นออกมาได้อย่างเด่นชัด
สำหรับนักลงทุนที่เป็น VI ซึ่งมีโจทย์ในใจแตกต่างกันไปก็จะเลือกได้ว่าต้องการดูข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ขอดูหุ้นที่ลงยาวๆ แล้วจ่ายปันผลดี หรือมี EPS (Earning per Share) กำไรต่อหุ้นเติบโตต่อเนื่อง 5 ปี หรือหุ้นของกิจการที่กำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จนกลายมาเป็นหุ้น Turnaround เป็นต้น
สอง หาหุ้นที่คุณชอบด้วย....วิธีพื้นฐาน
ผมเข้าใจเอาเองว่า กลุ่มคนที่ทำแอปตัวนี้ จะต้องผ่านการเล่นหุ้นมาอย่างโชกโชนแน่ เพราะรู้ใจคนเล่นหุ้นได้เป็นอย่างดี โดยแอปสามารถหาหุ้นได้ทั้งวิธีพื้นฐานเริ่มจาก “หุ้นปันผล” และหุ้นประเภทอื่นๆ ตามนี้ครับ
- หาหุ้นที่เน้นปันผล (Dividend Stock Picks) เช่น การสแกนหาหุ้นจากเงินปันผลเฉลี่ยย้อนหลัง 3ปี ( 3-Year High Yield) การหาหุ้นที่มีเงินปันผลต่อหุ้นเฉลี่ยในรอบ 5 ปีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ( 5-Year Stable DPS Growth) เป็นต้น
- หาหุ้นที่เด่นด้านสินทรัพย์ (Asset Hilight) เช่น หาหุ้นที่มีหนี้สินต่อทุนลดลง และกำไรต่อหุ้นยังเพิ่มขึ้น (D/E Decline with High EPS) หาหุ้นที่มีส่วนทุนเติบโตไปพร้อมกับกำไรต่อหุ้น (Equity Growth with EPS) เป็นต้น
- หาหุ้นที่กระแสเงินสดดี (Cashflow Hilight) เช่น หาหุ้นที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินการมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก ธุรกิจหลักน่าจะมีปัญหา (Bad OCF Trend) เป็นต้น
สาม สแกนหาหุ้นโดยใช้ข้อมูลด้านเทคนิคอล
วิธีเทคนิคอลจะใช้ข้อมูลในอดีตของราคาหุ้นและปริมาณการซื้อขายมาเป็นหลัก ผสมผสานกับวิธีทางสถิติ โดยมีฟังก์ชั่นเด่นๆให้เรียนรู้ดังนี้ครับ
- EMA Cross Over จะเป็นการหาหุ้นโดยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยของราคา เช่น เส้น EMA (5) ตัดเส้น EMA (10) แปลว่า เส้นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น 5 วันล่าสุด ได้ตัดขึ้นไปชนเส้นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น 10 วันล่าสุดไปแล้ว แสดงว่าในวันท้ายๆ ราคาหุ้นมีการดีดตัวขึ้นมาแล้ว ซึ่งเราเรียกฟังก์ชั่นนี้ว่า “5/10 EMA Bullish Cross Over”
- 90/200 EMA Bullish Cross Over ก็คล้ายๆฟังก์ชั่นข้างบน แต่เป็นเส้นค่าเฉลี่ย 90 วันหลังสุด ตัดขึ้นไปชนเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันหลังสุด
- 90/200 EMA Bearish Cross Over คล้ายๆฟังก์ชั่นด้านบน แต่ตรงกันข้าม นั่นหมายถึง เส้น 90 วันตัดลงไปชนเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันล่าสุด ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ราคาหุ้นมีโอกาสจะตกลงไปอีก
- RSI Signal ซึ่งเป็น Indicator ยอดฮิตตัวหนึ่ง การวิเคราะห์ RSI แล้วมาวาดเป็นกราฟ โดยจะมีการลากเส้น แนวนอนของค่า RSI = 70 และค่า RSI = 30 ไว้ด้วย ถ้ามีค่าเกิน 70 ก็แสดงว่า มีการซื้อหุ้นมากเกินไป และถ้าต่ำกว่า 30 ก็แสดงว่า มีการขายหุ้นมากเกินไป
สี่ ฟังก์ชั่นสแกนหุ้นแบบ “กูรูหาหุ้น”
ผมได้พบวิธีการหาหุ้นอยู่หัวข้อหนึ่งที่เรียกว่า “Buffett Decode” โดยวิธีสแกนหุ้นวิธีนี้ จะใช้หลักการการหาหุ้นของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาใช้ ดังนี้ครับ
- Asset, Profit Growth + Low D/E เป็นฟังก์ชั่นที่หาหุ้นที่มีสินทรัพย์ รายได้ และกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี โดยค่าหนี้สินต่อทุน (D/E) ไม่เพิ่มขึ้นเลย
- D/E Decline + Stable EPS หาหุ้นที่มีสัดส่วนที่มีหนี้สินต่อทุนลดลง และกำไรต่อหุ้นยังเพิ่มขึ้นตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
- Graham’s Defensive Stock เป็นการหาหุ้นตามสูตรของเบนจามิน
เกรแฮม ซึ่งเป็นอาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งจะเป็นหุ้นประเภท Defensive Stock เช่น Low Interest + Stable Revenue Growth หาหุ้นที่มีต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายไม่เกิน 15% ของรายได้ และรายได้ยังคงเติบโตต่อเนื่องตลอด 10 ปี
และนั่นคือคุณสมบัติต่างๆที่ดีมากและใช้งานง่ายของแอปนี้ ซึ่งในเวลานี้เท่าที่ผมทราบมีบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งแล้ว ที่จัดแอปตัวนี้ไว้ให้ลูกค้าใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณผู้อ่าน...ลองสอบถาม
ไปยังโบรกเกอร์ของท่าน ท่านอาจจะโชคดีได้ใช้โปรแกรมนี้ฟรีๆ จะได้สนุกไปกับการหาหุ้นกัน โชคดีในการลงทุนนะครับ
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doctorwe.com