งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 24
- ผู้ติดตาม: 0
งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โพสต์ที่ 1
ขออนุญาตสอบถามความเห็นจากนักลงทุนในหุ้นคุณค่าทุกท่านค่ะ ถ้าโพสต์ซ้ำก็ขออภัยด้วยนะคะ search หาแล้วไม่พบว่ามีใครพูดถึงเรื่องนี้ คืองานวิจัยตาม link
https://www.tci-thaijo.org/index.php/CB ... 4961/67686
ทางทีมวิจัย รู้สึกว่าจะเป็นทีมจากมช. ต้องการศึกษาว่าผลการตอบแทนในหุ้นคุณค่าดีกว่าหุ้นในกลุ่มอื่นๆ หรือไม่ และได้ข้อสรุปย่อๆ ว่า "หลักทรัพย์คุณค่าไม่ได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่ากล่มุ
หลักทรัพย์เติบโตและกลุ่มหลักทรัพย์ที่สร้างขึ้นอย่างง่ายทุกช่วงเวลาของการทดสอบ การยึดถือว่า
หุ้นคุณค่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการลงทุนทุกสถานการณ์จึงไม่ควรเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม" ข้อสรุปนี้เป็นเพียงภาพรวมนะคะ
ดิฉันไม่มีความรู้ทั้งทางเทคนิคที่ผู้วิจัยใช้คือ multiregression และสมการถดถอยของ Newey-West Standard Error Correction อีกทั้งความรู้เรื่องการลงทุนหุ้นคุณค่าก็มีไม่มาก เพิ่งจะเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง จึงอยากทราบว่าเพื่อนๆ นักลงทุนมีความเห็นเกี่ยวกับวิจัยเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ
https://www.tci-thaijo.org/index.php/CB ... 4961/67686
ทางทีมวิจัย รู้สึกว่าจะเป็นทีมจากมช. ต้องการศึกษาว่าผลการตอบแทนในหุ้นคุณค่าดีกว่าหุ้นในกลุ่มอื่นๆ หรือไม่ และได้ข้อสรุปย่อๆ ว่า "หลักทรัพย์คุณค่าไม่ได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่ากล่มุ
หลักทรัพย์เติบโตและกลุ่มหลักทรัพย์ที่สร้างขึ้นอย่างง่ายทุกช่วงเวลาของการทดสอบ การยึดถือว่า
หุ้นคุณค่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการลงทุนทุกสถานการณ์จึงไม่ควรเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม" ข้อสรุปนี้เป็นเพียงภาพรวมนะคะ
ดิฉันไม่มีความรู้ทั้งทางเทคนิคที่ผู้วิจัยใช้คือ multiregression และสมการถดถอยของ Newey-West Standard Error Correction อีกทั้งความรู้เรื่องการลงทุนหุ้นคุณค่าก็มีไม่มาก เพิ่งจะเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง จึงอยากทราบว่าเพื่อนๆ นักลงทุนมีความเห็นเกี่ยวกับวิจัยเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 2
วันนี้ไม่ได้ไปไหน มาช่วยวิจารณ์ละกัน
ถูกผิดยังไง ไปค้นหาเพิ่ม
ผมเชื่อผลการลงทุนที่ออกมา แต่จะบอกว่าผู้วิจัย ไม่ได้ทำครบตามต้นตำรับ ผลก็ออกมาอย่างที่วิจัย
key สำคัญ อยู่ตรงส่วนข้างล่างนี้ครับ
แยกการวิจารณ์ออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
จริงๆ ผลออกมามีส่วนถูก ตรงที่โดยทั่วไป การลงทุน pure value แบบราคารต่ำ ที่เรียกว่า "หุ้นก้นบุหรี่" ก็ยอมรับกันแล้วว่า ใช้ได้ดีเฉพาะบางสภาพตลาด ผลงานของอาจารย์เบนถึงแม้ถือว่ารวยเทียบกับอาชีพอาจารย์ทั่วไปด้วยกัน แต่สู้ศิษย์เอกแบบแบบบัฟเฟต์ไม่ได้
ตรงนี้ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ส่วนที่ไม่ได้ผิด แต่อาจทำให้คนที่ยังไม่คุ้นชินกับการลงทุน ตีความผิดไป
เช่น จะทำให้แบบว่า... เลิกสนใจเถอะ แนว VI ใช้ไม่ได้แล้ว ไปเล่นหึ้นแบบเสี่ยงดวงเดิมๆ ดีกว่า
- VI โดยทั่วไป ไม่ได้ใช้การประเมินมูลค่า/คุณค่า แค่นี้
การประเมินมูลค่ากิจการ ไมได้เอามารวมในนี้เลย ดูแค่ผิวเผินมาก ผลที่ได้ย่อมผิวเผิน เพราะบอกไว้แล้วว่า จะทำแบบง่ายๆ
การประเมินถ้าจะว่ากันแล้วยาว แต่สั้นๆ คือผลออกมาแล้ว การดูมูลค่าที่ได้รับ เทียบกับเงินที่จ่าย
เหมือนเราไปกับเพื่อนหลายคน เลือกครีมล้างหน้าบนหิ้งในห้าง วางมองตาลายเลยสารพัดยี่ห้อ
ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อ นอกจากราคาต่อปริมาณแล้ว เราเปรียบเทียบกับคุณค่าที่เราได้รับด้วย ซึ่งแต่ละคนประเมินไม่เหมือนกัน ทำให้คน 2 คน ไปซื้อสินค้าพร้อมกัน เลือกมายี่ห้อต่างกัน
ในโลกความเป็นจริง "คุณค่า" ที่จะสะท้อนออกเป็น "มูลค่า" ประเมินเป็นตัวเลขตรงๆ ได้เรียกว่าเป็นแง่ Quantitative เชิงปริมาณเชิงตัวเลขตามที่เห็นเป็นรายงานการเงิน
แต่ที่เป็นในแง่ Qualitative คือในแง่คุณภาพ ไม่มีในรายงาน (มีบ้างใน 56-1 แต่ก็อาจไม่ครบ แต่ที่แน่ๆ บทวิจัยนี้ก็ไม่ได้ไปถึงจุดนั้น เพราะบอกว่าจะประเมินอย่างง่ายๆ)
การประเมินมูลค่า โดยทั่วไป จะใช้หลายวิธีพร้อมๆ กัน
ขนาดที่ว่าเชิงตัวเลข แค่ใช้อัตราการเติบโตต่างกันนิดเดียว ใช้อัตราส่วนคิดลดต่างกันแค่นั้น
มูลค่าที่ประเมินออกมาก็ต่างกันแล้ว ไม่ใช่ว่าประเมินผิดนะครับ แต่หมายถึงมนุษย์แต่ละคน ย่อมคาดการอะไรออกมาไม่เหมือนกัน ในเรื่องเดียวกันก็ตาม .... ขนาดว่าได้ข้อมูลเท่ากัน ยังประเมินออกมาไม่เหมือนกัน
แต่จะได้ข้อมูลเท่ากันได้ไง ต่อให้เป็นคู่แฝดกัน แต่ละคนรับข้อมูลข่าวสารมาไม่พร้อมกัน ต่างกรรมต่างวาระกัน แล้วแต่ละคน สนใจและขุดข้อมูลเพิ่มเติมตื้นลึกหนาบางไม่เท่ากัน (พี่ชายผม ก็คู่แฝดแท้ ยังประเมินคุณค่าสาวไม่ตรงกันเลย)
แถมตัวเลขในรายงาน อาจมีซ่อนข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการจริงไว้โดยคนภายนอกไม่รู้อีก
อันนี้แหละ ที่ทำให้ผลการประเมินคุณค่าและมูลค่าออกมาต่างกันได้มาก
แล้วก็... ธรรมชาติของกิจการต่างกัน
กิจการรับเหมาก่อสร้าง ใช้วิธีประเมินต่างกับกับกิจการธนาคาร ย่อมต่างกับค้าปลีก ต่างกับกิจการโรงพยาบาล ไม่เหมือนกับกิจการประกันแน่นอน
- VI ที่เราเห็นทั่วไป มักใช้วิธีผสมกับวิธีการอื่น โดยเฉพาะหุ้นเติบโต ที่เจ้าของบทวิจัย แยกประเภทหุ้นไว้เปรียบเทียบต่างหากอีกอัน จึงทำให้ได้เห็นผลเฉลี่ยลดลงไปอีก (บวกกับความผิดพลาด ที่จะพูดถึงตอนท้าย)
อย่าง Buffet ก็บอกตัวเองว่า ตัวเองเป็น Ben Graham 60% + Philip Fisher 40%
คือ Value + Growth
เคยเห็นในบทความ Fortune บอกว่าคนที่มีอิทธิพลอีกคน ที่ทำให้ Buffet ออกมาจากกรอบเดิมของอาจารย์ เริ่มกล้าซื้อหุ้นแพงแต่เติบโตสูงอย่างโค้กก็คือคู่หูทนาย Charile Munger
(การซื้อหุ้น Coca-cola ถึงแม้จังหวะดีหลังตลาดดิ่งนรกเรียกว่า Black Monday ที่ราคายังอยู่ในช่วงตกลดต้นทุนได้พอควร แต่ถือว่าตกน้อย ยังเป็นหุ้น PE สูงตอนนั้น แล้วยังมาซื้อเพิ่ม ตอนสูงซ้ำไปอีก เป็นหน่วยล้านๆ หุ้น ในปีถัดๆ มา อีกหลายรอบ จาก 14 ล้านเพิ่มเรื่อยๆ จนเป็น 200 ล้านหุ้น ทั้งที่ราคาแพงเพิ่มไปอีก ก็ซื้อซ้ำเมื่อมีเงินสด)
ข้อนี้ไม่ได้บอกว่าการวิจัยผิด เพราะตำราหรือบทความทางการลงทุนทั่วไปก็แยกประเภทไว้แบบนี้ เพื่อให้รู้จักประเภทกิจการในการเลือกลงทุน แล้วเอาไปจัดพอร์ตเอา
จะเห็นผลว่าแย่ เพราะตีวงจำกัดผลการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในวงแคบกว่าที่ VI ทั่วไป นำมาประยุกต์ใช้ สำหรับ port ตัวเองจริง
ถูกผิดยังไง ไปค้นหาเพิ่ม
ผมเชื่อผลการลงทุนที่ออกมา แต่จะบอกว่าผู้วิจัย ไม่ได้ทำครบตามต้นตำรับ ผลก็ออกมาอย่างที่วิจัย
key สำคัญ อยู่ตรงส่วนข้างล่างนี้ครับ
คำถามหลักสำหรับงานวิจัยนี้จึงมีอยู่ว่าการลงทุนในหุ้นคุณค่านั้นสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นได้หรือไม่ โดยหุ้นกลุ่มอื่นที่ใช้ในงานวิจัยคือหุ้นกลุ่มเติบโตและหุ้นที่คัดเลือกมาโดยการสุ่ม การทดสอบเพื่อตอบคำถามของการวิจัยดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ จะคัดเลือกหุ้นคุณค่าได้อย่างไร และจะวัดผลตอบแทนที่แตกต่างกันได้อย่างไร ประเด็นแรกนั้นในทางปฏิบัติแล้วเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกความเป็นหุ้นคุณค่ามีหลากหลายและแตกต่างกัน แต่จะพบว่าเกณฑ์หลักที่ได้รับความนิยมมากในการคัดเลือกว่าหุ้นใดเป็นหุ้นคุณค่านั้นมีสามเกณฑ์ คือ ราคาต่อกำ ไร ราคาต่อมูลค่าตามราคาบัญชี และผลตอบแทนเงินปันผล (Graham, 2009; Chan and Lakonishok, 2004; Yen, Sun, and Yan, 2004; Greenblatt, 2006; Sareewiwathana, 2011)
และตัวเลขที่ถูกใช้ในการคัดเลือกหุ้นคุณค่าคือ การมีค่าอัตราส่วนราคาต่อกำ ไรต่ากว่า 15 อัตราส่วน ํราคาต่อมูลค่าตามราคาบัญชีต่าว่า 1.5% และผลตอบแทนเงินปันผลสูงกว่า 5% (Graham, 2009) ํ เกณฑ์ทั้งสามนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น Magic Number สำ หรับการคัดเลือกหุ้นคุณค่าในทางปฏิบัติ ถึงแม้ตัวเลขตามเกณฑ์ทั้งสามจะแตกต่างกันสำ หรับผู้วิจัยและนักลงทุนแต่ละคน งานวิจัยนี้จะใช้
ตัวเลขที่ระบุไว้ในการคัดเลือกหุ้นคุณค่าเพราะเป็นเกณฑ์เดิมตามนิยามของหุ้นคุณค่า Graham (2009)
แยกการวิจารณ์ออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
จริงๆ ผลออกมามีส่วนถูก ตรงที่โดยทั่วไป การลงทุน pure value แบบราคารต่ำ ที่เรียกว่า "หุ้นก้นบุหรี่" ก็ยอมรับกันแล้วว่า ใช้ได้ดีเฉพาะบางสภาพตลาด ผลงานของอาจารย์เบนถึงแม้ถือว่ารวยเทียบกับอาชีพอาจารย์ทั่วไปด้วยกัน แต่สู้ศิษย์เอกแบบแบบบัฟเฟต์ไม่ได้
ตรงนี้ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ในสภาวะที่ตลาดทุนซบเซา ภาวะที่ตลาดเติบโตสูง และภาวะที่ตลาดทรงตัว พบว่ากลุ่มหุ้นคุณค่าได้รับผลตอบแทนเกินปกติเป็นค่าบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ในภาวะที่ตลาดเติบโต
ส่วนที่ไม่ได้ผิด แต่อาจทำให้คนที่ยังไม่คุ้นชินกับการลงทุน ตีความผิดไป
เช่น จะทำให้แบบว่า... เลิกสนใจเถอะ แนว VI ใช้ไม่ได้แล้ว ไปเล่นหึ้นแบบเสี่ยงดวงเดิมๆ ดีกว่า
- VI โดยทั่วไป ไม่ได้ใช้การประเมินมูลค่า/คุณค่า แค่นี้
การประเมินมูลค่ากิจการ ไมได้เอามารวมในนี้เลย ดูแค่ผิวเผินมาก ผลที่ได้ย่อมผิวเผิน เพราะบอกไว้แล้วว่า จะทำแบบง่ายๆ
การประเมินถ้าจะว่ากันแล้วยาว แต่สั้นๆ คือผลออกมาแล้ว การดูมูลค่าที่ได้รับ เทียบกับเงินที่จ่าย
เหมือนเราไปกับเพื่อนหลายคน เลือกครีมล้างหน้าบนหิ้งในห้าง วางมองตาลายเลยสารพัดยี่ห้อ
ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อ นอกจากราคาต่อปริมาณแล้ว เราเปรียบเทียบกับคุณค่าที่เราได้รับด้วย ซึ่งแต่ละคนประเมินไม่เหมือนกัน ทำให้คน 2 คน ไปซื้อสินค้าพร้อมกัน เลือกมายี่ห้อต่างกัน
ในโลกความเป็นจริง "คุณค่า" ที่จะสะท้อนออกเป็น "มูลค่า" ประเมินเป็นตัวเลขตรงๆ ได้เรียกว่าเป็นแง่ Quantitative เชิงปริมาณเชิงตัวเลขตามที่เห็นเป็นรายงานการเงิน
แต่ที่เป็นในแง่ Qualitative คือในแง่คุณภาพ ไม่มีในรายงาน (มีบ้างใน 56-1 แต่ก็อาจไม่ครบ แต่ที่แน่ๆ บทวิจัยนี้ก็ไม่ได้ไปถึงจุดนั้น เพราะบอกว่าจะประเมินอย่างง่ายๆ)
การประเมินมูลค่า โดยทั่วไป จะใช้หลายวิธีพร้อมๆ กัน
ขนาดที่ว่าเชิงตัวเลข แค่ใช้อัตราการเติบโตต่างกันนิดเดียว ใช้อัตราส่วนคิดลดต่างกันแค่นั้น
มูลค่าที่ประเมินออกมาก็ต่างกันแล้ว ไม่ใช่ว่าประเมินผิดนะครับ แต่หมายถึงมนุษย์แต่ละคน ย่อมคาดการอะไรออกมาไม่เหมือนกัน ในเรื่องเดียวกันก็ตาม .... ขนาดว่าได้ข้อมูลเท่ากัน ยังประเมินออกมาไม่เหมือนกัน
แต่จะได้ข้อมูลเท่ากันได้ไง ต่อให้เป็นคู่แฝดกัน แต่ละคนรับข้อมูลข่าวสารมาไม่พร้อมกัน ต่างกรรมต่างวาระกัน แล้วแต่ละคน สนใจและขุดข้อมูลเพิ่มเติมตื้นลึกหนาบางไม่เท่ากัน (พี่ชายผม ก็คู่แฝดแท้ ยังประเมินคุณค่าสาวไม่ตรงกันเลย)
แถมตัวเลขในรายงาน อาจมีซ่อนข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการจริงไว้โดยคนภายนอกไม่รู้อีก
อันนี้แหละ ที่ทำให้ผลการประเมินคุณค่าและมูลค่าออกมาต่างกันได้มาก
แล้วก็... ธรรมชาติของกิจการต่างกัน
กิจการรับเหมาก่อสร้าง ใช้วิธีประเมินต่างกับกับกิจการธนาคาร ย่อมต่างกับค้าปลีก ต่างกับกิจการโรงพยาบาล ไม่เหมือนกับกิจการประกันแน่นอน
- VI ที่เราเห็นทั่วไป มักใช้วิธีผสมกับวิธีการอื่น โดยเฉพาะหุ้นเติบโต ที่เจ้าของบทวิจัย แยกประเภทหุ้นไว้เปรียบเทียบต่างหากอีกอัน จึงทำให้ได้เห็นผลเฉลี่ยลดลงไปอีก (บวกกับความผิดพลาด ที่จะพูดถึงตอนท้าย)
อย่าง Buffet ก็บอกตัวเองว่า ตัวเองเป็น Ben Graham 60% + Philip Fisher 40%
คือ Value + Growth
เคยเห็นในบทความ Fortune บอกว่าคนที่มีอิทธิพลอีกคน ที่ทำให้ Buffet ออกมาจากกรอบเดิมของอาจารย์ เริ่มกล้าซื้อหุ้นแพงแต่เติบโตสูงอย่างโค้กก็คือคู่หูทนาย Charile Munger
(การซื้อหุ้น Coca-cola ถึงแม้จังหวะดีหลังตลาดดิ่งนรกเรียกว่า Black Monday ที่ราคายังอยู่ในช่วงตกลดต้นทุนได้พอควร แต่ถือว่าตกน้อย ยังเป็นหุ้น PE สูงตอนนั้น แล้วยังมาซื้อเพิ่ม ตอนสูงซ้ำไปอีก เป็นหน่วยล้านๆ หุ้น ในปีถัดๆ มา อีกหลายรอบ จาก 14 ล้านเพิ่มเรื่อยๆ จนเป็น 200 ล้านหุ้น ทั้งที่ราคาแพงเพิ่มไปอีก ก็ซื้อซ้ำเมื่อมีเงินสด)
ข้อนี้ไม่ได้บอกว่าการวิจัยผิด เพราะตำราหรือบทความทางการลงทุนทั่วไปก็แยกประเภทไว้แบบนี้ เพื่อให้รู้จักประเภทกิจการในการเลือกลงทุน แล้วเอาไปจัดพอร์ตเอา
จะเห็นผลว่าแย่ เพราะตีวงจำกัดผลการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในวงแคบกว่าที่ VI ทั่วไป นำมาประยุกต์ใช้ สำหรับ port ตัวเองจริง
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 3
ส่วนที่คลาดเคลื่อนไปอย่างมาก คือ
หยิบวิธีการมา แต่เอามาไม่ครบ
- ถ้าบอกว่าใช้วิธี Ben Graham ...
ซึ่งผมว่าถ้าเจ้าของงานวิจัย ใช้ criteria แบบอาจารย์เบน ขนาดตลาดอเมริกามีหุ้นเป็นหมื่นๆ ตัวยังหายาก
ตลาดไทยอาจหาได้ไม่กี่ตัว หรือหาไม่ได้เลยก็ได้
อาจารย์เบน ก็ไม่ได้เอาแค่ PE, PBV, Dividend Yield แค่นี้
โดยเฉพาะที่ถูกอ้างถึงโดยทั่วไป ถ้าพูดถึงอาจารย์เบน ตัวเลขสำคัญคือ Net Current Asset Value (NCAV)
แล้วมีคนรวบรวม คือจ้างทีมงานทำการบ้าน เอาไปรวมในการคัดเลือก อันนี้ครับ
List of 10 Stock Selection Criteria by Benjamin Graham
https://www.oldschoolvalue.com/blog/inv ... st-screen/
แบ่งเป็นกลุ่มๆ สรุปได้ตามนี้
Risk evaluation
E/P > 2Y
P/E < 40% average P/E 5 years
DVY > (2/3) Y
P < (2/3) BVPS (Tangible Assets)
P < (2/3) Net quick liquidation value (Net net assetVPS) = (2/3) * ( CA -CL - LL)/#share
Financial strength evaluation
TL < BV (Tangible Assets)
Current Ratio CA/CL >= 2
Sustainability of profitability
TL < Net quick liquidation value (Net net assetVPS)
EPSg > 7% compound (2 times) in 10 years
Stable EPSg, NP down < 5% <= 2 times in 10 years
ไม่ได้ต้องได้ครบทุกข้อเป็นคะแนนเต็ม 10 เพราะทีมงานคัดกรองเลือกหุ้น ก็ไม่ได้ครบ แต่มีหลายข้อก็ยิ่งปลอดภัย (ผมจำไม่ได้ว่าอย่างน้อยกี่ข้อ ถึงจะเอามาพิจารณา)
- ส่วนนี้ที่คนวิจัยพูดถึง แต่ทำไม่ครบ คือการใช้ "PE, PBV, Dividend Yield มาทำ Magic Number"
เป็นวิธีที่ไม่ใช่ Vi เต็มปากนัก แต่ก็เป็นวิธรลัด สำหรับคนที่่ไม่มีเวลา หรือไม่สามารถหาข้อมูลได้ลึก
วืิธีการนี้เรียกว่า Magic Formula เป็นของอ. Joel Greenblatt ซึ่งผู้วิจัยก็อ้างถึงด้วย แต่อาจเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับการเลือกหุ้นแบบง่ายๆ ดั้งเดิม
หยิบมาใช้ แต่ไม่ได้ทำครบแบบหลักการต้นฉบับ และสับสนด้วยแน่นอน เพราะมีตอนหนึ่งพูดว่า
key สำคัญของวิธีการนี้ ทุกปีจะปรับพอร์ต ผลวิจัยนี้ ไม่ได้พูดถึงแต่ไม่ได้บอกว่าใช้วิธีการนี้เลย
การขายล้าง port ตั้งต้นใหม่ ทำให้ผลตัวเลขตอบแทนได้ตัวเลขสม่ำเสมอกว่า เพราะผลประกอบการและพฤติกรรมการซื้อขายของคนในตลาดเป็น dynamic แบบที่คนทั่วไปชอบพูดว่า "หุ้นคุณค่า ไม่มีอยู่จริง มีแต่การลงทุนเน้นคุณค่า" คือหุ้นคุณค่าตอนนี้ พรุ่งนี้อาจเปลี่ยนเป็นหุ้นไร้คุณค่าได้ เมื่อ "พื้นฐาน" เปลี่ยน
ไปดูการวิจัยของอาจารย์ไพบูลย์ครับ ใช้วิธีหลักการแบบต้นฉบับ ทดลองเอาไปดัดแปลงเป็นตัวอื่นด้วย เช่น ROE
(มีกระทู้เก่าของหลายอันอยู่ ผมยังหาไม่เจอ)
ความน่าเชื่อถือ ค่ืออ.ไพบูลย์ ไม่ใช่แค่นักวิชาการในฐานะรศ.ดร.ในห้องเรียนทีี่ NIDA เท่านั้น ผลของการลงทุนก็ออกมาชัดเจนเพราะ 10 หลักแล้ว และยังจัดรายการเผยแพร่ความรู้สม่ำเสมอ
paper
http://www.bizresearchpapers.com/1.%20Paiboon.pdf
clip
ส่วนหนังสือสนใจไปอ่านเพิ่ม
ชื่อหนังสือ The Little Book That Still Beats the Market มีแปลไทยแล้วว่า "คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน: สูตรมหัศจรรย์ เพื่อชัยชนะและความมั่งคั่ง"
หยิบวิธีการมา แต่เอามาไม่ครบ
- ถ้าบอกว่าใช้วิธี Ben Graham ...
ซึ่งผมว่าถ้าเจ้าของงานวิจัย ใช้ criteria แบบอาจารย์เบน ขนาดตลาดอเมริกามีหุ้นเป็นหมื่นๆ ตัวยังหายาก
ตลาดไทยอาจหาได้ไม่กี่ตัว หรือหาไม่ได้เลยก็ได้
อาจารย์เบน ก็ไม่ได้เอาแค่ PE, PBV, Dividend Yield แค่นี้
โดยเฉพาะที่ถูกอ้างถึงโดยทั่วไป ถ้าพูดถึงอาจารย์เบน ตัวเลขสำคัญคือ Net Current Asset Value (NCAV)
แล้วมีคนรวบรวม คือจ้างทีมงานทำการบ้าน เอาไปรวมในการคัดเลือก อันนี้ครับ
List of 10 Stock Selection Criteria by Benjamin Graham
https://www.oldschoolvalue.com/blog/inv ... st-screen/
1. An earnings-to-price yield at least twice the AAA bond rate
2. P/E ratio less than 40% of the highest P/E ratio the stock had over the past 5 years
3. Dividend yield of at least 2/3 the AAA bond yield
4. Stock price below 2/3 of tangible book value per share
5. Stock price below 2/3 of Net Current Asset Value (NCAV)
6. Total debt less than book value
7. Current ratio great than 2
8. Total debt less than 2 times Net Current Asset Value (NCAV)
9. Earnings growth of prior 10 years at least at a 7% annual compound rate
10. Stability of growth of earnings in that no more than 2 declines of 5% or more in year end earnings in the prior 10 years are permissible.
แบ่งเป็นกลุ่มๆ สรุปได้ตามนี้
Risk evaluation
E/P > 2Y
P/E < 40% average P/E 5 years
DVY > (2/3) Y
P < (2/3) BVPS (Tangible Assets)
P < (2/3) Net quick liquidation value (Net net assetVPS) = (2/3) * ( CA -CL - LL)/#share
Financial strength evaluation
TL < BV (Tangible Assets)
Current Ratio CA/CL >= 2
Sustainability of profitability
TL < Net quick liquidation value (Net net assetVPS)
EPSg > 7% compound (2 times) in 10 years
Stable EPSg, NP down < 5% <= 2 times in 10 years
ไม่ได้ต้องได้ครบทุกข้อเป็นคะแนนเต็ม 10 เพราะทีมงานคัดกรองเลือกหุ้น ก็ไม่ได้ครบ แต่มีหลายข้อก็ยิ่งปลอดภัย (ผมจำไม่ได้ว่าอย่างน้อยกี่ข้อ ถึงจะเอามาพิจารณา)
- ส่วนนี้ที่คนวิจัยพูดถึง แต่ทำไม่ครบ คือการใช้ "PE, PBV, Dividend Yield มาทำ Magic Number"
เป็นวิธีที่ไม่ใช่ Vi เต็มปากนัก แต่ก็เป็นวิธรลัด สำหรับคนที่่ไม่มีเวลา หรือไม่สามารถหาข้อมูลได้ลึก
วืิธีการนี้เรียกว่า Magic Formula เป็นของอ. Joel Greenblatt ซึ่งผู้วิจัยก็อ้างถึงด้วย แต่อาจเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับการเลือกหุ้นแบบง่ายๆ ดั้งเดิม
หยิบมาใช้ แต่ไม่ได้ทำครบแบบหลักการต้นฉบับ และสับสนด้วยแน่นอน เพราะมีตอนหนึ่งพูดว่า
นเนื่องจากเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ตาม Magic Number ของ Benjamin Grayham เป็นค่าคงที่ ....
key สำคัญของวิธีการนี้ ทุกปีจะปรับพอร์ต ผลวิจัยนี้ ไม่ได้พูดถึงแต่ไม่ได้บอกว่าใช้วิธีการนี้เลย
การขายล้าง port ตั้งต้นใหม่ ทำให้ผลตัวเลขตอบแทนได้ตัวเลขสม่ำเสมอกว่า เพราะผลประกอบการและพฤติกรรมการซื้อขายของคนในตลาดเป็น dynamic แบบที่คนทั่วไปชอบพูดว่า "หุ้นคุณค่า ไม่มีอยู่จริง มีแต่การลงทุนเน้นคุณค่า" คือหุ้นคุณค่าตอนนี้ พรุ่งนี้อาจเปลี่ยนเป็นหุ้นไร้คุณค่าได้ เมื่อ "พื้นฐาน" เปลี่ยน
ไปดูการวิจัยของอาจารย์ไพบูลย์ครับ ใช้วิธีหลักการแบบต้นฉบับ ทดลองเอาไปดัดแปลงเป็นตัวอื่นด้วย เช่น ROE
(มีกระทู้เก่าของหลายอันอยู่ ผมยังหาไม่เจอ)
ความน่าเชื่อถือ ค่ืออ.ไพบูลย์ ไม่ใช่แค่นักวิชาการในฐานะรศ.ดร.ในห้องเรียนทีี่ NIDA เท่านั้น ผลของการลงทุนก็ออกมาชัดเจนเพราะ 10 หลักแล้ว และยังจัดรายการเผยแพร่ความรู้สม่ำเสมอ
paper
http://www.bizresearchpapers.com/1.%20Paiboon.pdf
clip
ส่วนหนังสือสนใจไปอ่านเพิ่ม
ชื่อหนังสือ The Little Book That Still Beats the Market มีแปลไทยแล้วว่า "คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน: สูตรมหัศจรรย์ เพื่อชัยชนะและความมั่งคั่ง"
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 4
ลืมเน้น ว่าบทวิจัยนี้ ก็พูดถึงทั้ง อ. Joel (Greenblatt) กับ อ. ไพบูลย์ (เสรีวิวัฒนา)
อีกอย่างอยู่ข้างบนไกลตาด้วย อาจไม่สังเกต
อีกอย่างอยู่ข้างบนไกลตาด้วย อาจไม่สังเกต
คำถามหลักสำหรับงานวิจัยนี้จึงมีอยู่ว่าการลงทุนในหุ้นคุณค่านั้นสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นได้หรือไม่ โดยหุ้นกลุ่มอื่นที่ใช้ในงานวิจัยคือหุ้นกลุ่มเติบโตและหุ้นที่คัดเลือกมาโดยการสุ่ม การทดสอบเพื่อตอบคำถามของการวิจัยดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ จะคัดเลือกหุ้นคุณค่าได้อย่างไร และจะวัดผลตอบแทนที่แตกต่างกันได้อย่างไร ประเด็นแรกนั้นในทางปฏิบัติแล้วเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกความเป็นหุ้นคุณค่ามีหลากหลายและแตกต่างกัน แต่จะพบว่าเกณฑ์หลักที่ได้รับความนิยมมากในการคัดเลือกว่าหุ้นใดเป็นหุ้นคุณค่านั้นมีสามเกณฑ์ คือ ราคาต่อกำ ไร ราคาต่อมูลค่าตามราคาบัญชี และผลตอบแทนเงินปันผล (Graham, 2009; Chan and Lakonishok, 2004; Yen, Sun, and Yan, 2004; Greenblatt, 2006; Sareewiwathana, 2011)
และตัวเลขที่ถูกใช้ในการคัดเลือกหุ้นคุณค่าคือ การมีค่าอัตราส่วนราคาต่อกำ ไรต่ากว่า 15 อัตราส่วน ํราคาต่อมูลค่าตามราคาบัญชีต่าว่า 1.5% และผลตอบแทนเงินปันผลสูงกว่า 5% (Graham, 2009) ํ เกณฑ์ทั้งสามนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น Magic Number สำ หรับการคัดเลือกหุ้นคุณค่าในทางปฏิบัติ ถึงแม้ตัวเลขตามเกณฑ์ทั้งสามจะแตกต่างกันสำ หรับผู้วิจัยและนักลงทุนแต่ละคน งานวิจัยนี้จะใช้
ตัวเลขที่ระบุไว้ในการคัดเลือกหุ้นคุณค่าเพราะเป็นเกณฑ์เดิมตามนิยามของหุ้นคุณค่า Graham (2009)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 116
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 5
เป็นงานวิจัยที่ดีมากครับ แต่ระยะเวลาในการเลือกช่วงวิจัยมันสั้นไปหน่อยคือแค่จากปี 2551-2555 และเค้ายังไม่ได้พูดถึงการเลือกหุ้น PE PBV Yield ใหม่ในทุกๆปี ซึ่งอันนี้เป็นหลัก rule of thrumb ของวิธีการแบบนี้ เพราะหากไม่มีการเลือกหุ้นใหม่ในทุกๆปี หากหุ้นราคาสูงขึ้น PE PBV Yield ก็ย่อมสูงขึ้นไปด้วย
ผมแนะนำหนังสือชื่อว่า Value investing ที่เขียนโดย James Montier ครับ เค้าอ้างถึงงานวิจัยประมาณนี้เหมือนกัน
โดยระยะเวลาทดลองมีความยาวนานกว่า และอ้างอิงข้อมูลจาก Developed Stock Market & Emerging Market ทั้งช่วง Bear Market, Bull Market, and Side Way Market และยังมีการทดลองอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิธี PE PBV ROE ฯลฯ พร้อม Quote ที่สามารถไปเปิดดูได้เหมือนงานวิจัยเลย หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้ว่า ต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ต้องทดสอบสมมุติฐานโดยการหาข้อมูลที่ตรงกันข้ามมาแย้ง พยายามทุกวิธีการ(อย่างไม่มีอคติ) มาพิสูจน์ว่าสมมุติฐานนั้นผิด หากไม่สามารถทำให้ทฤษฏีผิดได้ ค่อยตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่ทีหลังครับ
High Light ของหนังสือเล่มนี้คือเค้าพิสูจน์ได้ว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าใช้ได้ทุกสภาวะตลาด เบต้าต่ำ ผลตอบแทนดันสูง ส่วนจะเชื่อผมหรือไม่ไม่สำคัญขอให้ลองอ่านนะสือที่ผมแนะนำแล้วมาคุยกันดีกว่าครับ
ปล.บางทีหนังสือก็อาจมีช่องโหว่ซึ่งผมยังไม่เห็น หากเห็นจะเป็นประโยชน์มากครับ เพราะทุกงานวิจัยมีช่องโหว่ทั้งนั้น ที่จริงในหนังสือพูดถึงช่วงเวลาที่การลงทุนแนวเน้นคุณค่าใช้ไม่ได้ผลด้วยนะครับ แต่ช่วงนั้นการลงทุนแนวอื่นๆมันก็ไม่ได้ผลเหมือนกัน (เป็นช่วงวิจัยที่ประเทศกำลังจะเจ็ง)
ผมแนะนำหนังสือชื่อว่า Value investing ที่เขียนโดย James Montier ครับ เค้าอ้างถึงงานวิจัยประมาณนี้เหมือนกัน
โดยระยะเวลาทดลองมีความยาวนานกว่า และอ้างอิงข้อมูลจาก Developed Stock Market & Emerging Market ทั้งช่วง Bear Market, Bull Market, and Side Way Market และยังมีการทดลองอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิธี PE PBV ROE ฯลฯ พร้อม Quote ที่สามารถไปเปิดดูได้เหมือนงานวิจัยเลย หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้ว่า ต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ต้องทดสอบสมมุติฐานโดยการหาข้อมูลที่ตรงกันข้ามมาแย้ง พยายามทุกวิธีการ(อย่างไม่มีอคติ) มาพิสูจน์ว่าสมมุติฐานนั้นผิด หากไม่สามารถทำให้ทฤษฏีผิดได้ ค่อยตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่ทีหลังครับ
High Light ของหนังสือเล่มนี้คือเค้าพิสูจน์ได้ว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าใช้ได้ทุกสภาวะตลาด เบต้าต่ำ ผลตอบแทนดันสูง ส่วนจะเชื่อผมหรือไม่ไม่สำคัญขอให้ลองอ่านนะสือที่ผมแนะนำแล้วมาคุยกันดีกว่าครับ
ปล.บางทีหนังสือก็อาจมีช่องโหว่ซึ่งผมยังไม่เห็น หากเห็นจะเป็นประโยชน์มากครับ เพราะทุกงานวิจัยมีช่องโหว่ทั้งนั้น ที่จริงในหนังสือพูดถึงช่วงเวลาที่การลงทุนแนวเน้นคุณค่าใช้ไม่ได้ผลด้วยนะครับ แต่ช่วงนั้นการลงทุนแนวอื่นๆมันก็ไม่ได้ผลเหมือนกัน (เป็นช่วงวิจัยที่ประเทศกำลังจะเจ็ง)
- Catchphrase! -
- astro345
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 600
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 6
คุ้นๆว่ามีผู้รู้กล่าวไว้ว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและแบบหุ้นเติบโตเปรียบเหมือนคนละด้านของเหรียญนะครับ ต้องควบคู่ไปด้วยกัน ผนวกกับความมีวินัยและอดทน ความคิดอย่างอิสระแบบมีเหตุผล
จึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผลทางการลงทุนครับ มีตัวอย่างที่พิสูจน์ได้จริง จากพี่ๆหลายท่านในเว็ปไทยวีไอนี้ครับ
จึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผลทางการลงทุนครับ มีตัวอย่างที่พิสูจน์ได้จริง จากพี่ๆหลายท่านในเว็ปไทยวีไอนี้ครับ
- romee
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 7
อ้างอิงจากบทความเขานะครับ
แต่สิ่งนึงที่เห็นด้วยกับบทความเขาคือ มันไม่มีกลยุทธ์ใดที่ใช้ได้กับทุกสภาพตลาดหรอกครับ
ถ้าเจ้าของกระทู้ชอบด้านการทดลองเชิงสถิติกับหุ้น ผมแนะนำหนังสือไทย ของคุณมด แมงเม่าคลับ, และต่อยอดหนังสือต่างประเทศ จากเวบคุณมด mangmaoclub ก็ได้ครับ
"1.กลุ่มหลักทรัพย์ที่คัดเลือกตามแนวคิดของ Benjamin Graham ซึ่งจะคัดเลือกหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก ได้แก่ อัตราส่วนราคาต่อกําาไรต่อหุ้น (P/E ratio) น้อยกว่า 15 เท่า และอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio) น้อยกว่า 1.5 เท่า และอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Yield) ที่เหมาะสมในการลงทุนควรมีตั้งแต่ 5%"
ส่วนนี้ผมมองว่า มันเป็นการคัดเลือกแบบเชิงตัวเลข และผมคิดว่าคนที่ประสบความสำเร็จในเวบส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกหุ้นโดยใช้ตัวเลขแบบสูตรเหล่านี้ มาเลือกซื้อหุ้น, ระยะเวลาในการถือครองหุ้น ของคนเก่งๆก็ไม่ได้ตายตัวแบบการทดลอง ที่มีการเข้าออกตามเวลา2) การคัดเลือกกลุ่มเติบโตซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้อง (P/E และ P/BV) ตรงข้ามกับกลุ่มหุ้นเติบโต กล่าวคือ มีค่า P/E มากกว่า 15 และ P/BV มากกว่า 1.5
แต่สิ่งนึงที่เห็นด้วยกับบทความเขาคือ มันไม่มีกลยุทธ์ใดที่ใช้ได้กับทุกสภาพตลาดหรอกครับ
ถ้าเจ้าของกระทู้ชอบด้านการทดลองเชิงสถิติกับหุ้น ผมแนะนำหนังสือไทย ของคุณมด แมงเม่าคลับ, และต่อยอดหนังสือต่างประเทศ จากเวบคุณมด mangmaoclub ก็ได้ครับ
การลงทุนแนวvi ไม่ได้แปลว่า นักลงทุนคนนั้นดีกว่า หรือมีวรรณะสูงกว่าคนที่ลงทุนแนวอื่นๆหรอก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 24
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณทุกๆ ท่านมากนะคะ ที่สละเวลามาให้ความเห็นงานวิจัยดังกล่าว มีประโยชน์มากเลยค่ะ ทำให้เห็นมุมมองอีกด้านหนึ่ง ซึ่งทำให้เข้าใจการลงทุนเน้นคุณค่าเพิ่มขึ้น เพราะบางทีอ่านผลการวิจัยที่เค้าสรุปมาก็มองไม่ค่อยออกว่าผิดถูก หรือขาดส่วนไหนไปบ้าง เพราะเราไม่มีความรู้มากพอ แต่พอมีผู้รู้มาให้ความเห็นประกอบ มาเติมส่วนที่เราขาด และ เราก็พิจารณาตามไปในแต่ละข้อคิดเห็น ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น ปะติดปะต่อ เรื่องที่อ่านมาได้ดีขึ้น ดิฉันคิดว่านอกจากตัวดิฉันแล้ว กระทู้นี้ น่าจะมีประโยชน์ต่อนักลงทุนท่านอื่นๆ ด้วย
ขอบคุณ คุณ Ii'8N ที่นอกจากจะสละเวลา วิพากษ์งานวิจัย แล้วยังให้ความรู้ในหลักการเลือกหุ้น Vi ที่ครบถ้วนด้วย รวมทั้ง แนะนำงานวิจัยของท่านอาจารย์ไพบูลย์ ดิฉ้นได้ download มาแล้วค่ะ ชอบชื่อตอนของรายการ Money Talk จังเลยค่ะ “เล่นหุ้นตามงานวิจัย ช่วยให้รวย” ดิฉันเชื่อและคิดว่าทำได้ค่ะ เสียดายที่น่าจะเห็นงาน วิจัยชิ้นนี้ตั้งนานแล้ว แต่คิดว่าตอนนี้คงยังไม่สายเกินไป
ขอบคุณคุณ romee สำหรับ website mangmoaclub จขกท. ได้ load ตัวอย่างหนังสือ Mangmoaclub มาอ่านแล้วค่ะ
ดิฉัน ย้ายมาอยู่อเมริกาได้ 3-4 ปีแล้ว กำลังเรียนปริญญาโท ทางคณิตศาสตร์และสถิติ คิดว่าตอนเทอมสุดท้ายจะต้องทำงานวิจัย เลยคิดว่าจะทำเกี่ยวกับเรื่องการนำคณิตศาสตร์+สถิติ มาช่วยในการลงทุนในหุ้น (อย่างที่คุณ romee เดาไว้ ถูกต้องแล้วค่ะ) เพราะเรื่องลงทุนในหุ้นเป็นสิ่งที่ตัวเองสนใจ แต่คงต้องใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้อีกพอสมควร
อนาคตอาจจะเข้ามาขอความรู้จากผู้รู้ทุกๆ ท่านอีกนะคะ
ขอบคุณจากใจจริงอีกครั้งค่ะ
ขอบคุณ คุณ Ii'8N ที่นอกจากจะสละเวลา วิพากษ์งานวิจัย แล้วยังให้ความรู้ในหลักการเลือกหุ้น Vi ที่ครบถ้วนด้วย รวมทั้ง แนะนำงานวิจัยของท่านอาจารย์ไพบูลย์ ดิฉ้นได้ download มาแล้วค่ะ ชอบชื่อตอนของรายการ Money Talk จังเลยค่ะ “เล่นหุ้นตามงานวิจัย ช่วยให้รวย” ดิฉันเชื่อและคิดว่าทำได้ค่ะ เสียดายที่น่าจะเห็นงาน วิจัยชิ้นนี้ตั้งนานแล้ว แต่คิดว่าตอนนี้คงยังไม่สายเกินไป
ขอบคุณคุณ romee สำหรับ website mangmoaclub จขกท. ได้ load ตัวอย่างหนังสือ Mangmoaclub มาอ่านแล้วค่ะ
ดิฉัน ย้ายมาอยู่อเมริกาได้ 3-4 ปีแล้ว กำลังเรียนปริญญาโท ทางคณิตศาสตร์และสถิติ คิดว่าตอนเทอมสุดท้ายจะต้องทำงานวิจัย เลยคิดว่าจะทำเกี่ยวกับเรื่องการนำคณิตศาสตร์+สถิติ มาช่วยในการลงทุนในหุ้น (อย่างที่คุณ romee เดาไว้ ถูกต้องแล้วค่ะ) เพราะเรื่องลงทุนในหุ้นเป็นสิ่งที่ตัวเองสนใจ แต่คงต้องใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้อีกพอสมควร
อนาคตอาจจะเข้ามาขอความรู้จากผู้รู้ทุกๆ ท่านอีกนะคะ
ขอบคุณจากใจจริงอีกครั้งค่ะ
- romee
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 9
ผมรู้สึกว่า งานวิจัย กับเทรดใช้งานจริงแบบ system trade มันค่อนข้างจะต่างกันนิดหน่อยpen2009 เขียน:กำลังเรียนปริญญาโท ทางคณิตศาสตร์และสถิติ คิดว่าตอนเทอมสุดท้ายจะต้องทำงานวิจัย เลยคิดว่าจะทำเกี่ยวกับเรื่องการนำคณิตศาสตร์+สถิติ มาช่วยในการลงทุนในหุ้น
ทั้งด้านตัวแปรจริงที่นักลงทุนมอง กับที่อาจารย์ด้านสถิติมอง ก็ต่างกัน (ทั้งงานวิจัยนี้ และแม้แต่ของอ.ไพบูลย์ก็ตาม)
คุณpen2009 ลองดูคำค้นหาประเภท system trading หนังสือที่แนะนำก็ของคุณ van thrap's
เวบในไทยที่พูดคุยเรื่องนี้ ก็ siamquants, thaiquant, cwayinvestment
http://www.cwayinvestment.com/2014/09/t ... -book.html
http://mangmaoclub.com/basic-knowledge- ... m-traders/
สายงานนี้ในอนาคต ผมว่าดีมากๆนะครับ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น
https://www.blognone.com/node/85838
https://www.worldquant.com/home/
คิดว่าถ้าใจรักด้านนี้แล้ว เอาให้สุดเลยครับ อย่าจบแค่งานวิจัย โลกการลงทุนตอนนี้และอนาคตเป็นเรื่องของ system trade, AI จะเกินครึ่งแล้ว
หลักคิด และวิธีการ รู้ไว้ก็ไม่เสียหายครับ
เอาใจช่วยครับ เรียนจบแล้วมาพัฒนาด้าน system trading ในไทยต่อ ก็จะยิ่งดีครับ
การลงทุนแนวvi ไม่ได้แปลว่า นักลงทุนคนนั้นดีกว่า หรือมีวรรณะสูงกว่าคนที่ลงทุนแนวอื่นๆหรอก
-
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 10
ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ผมแย่มากๆ
จึงขอเรียนถามว่าLTCMเนี่ย ถือเป็นตัวอย่างของการลงทุนโดยใช้คณิตศาสตร์สถิติมั้ยฮะ
แล้วมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นอีกมั้ยฮะ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Long-Te ... Management
รบกวนเรียนถามเพื่อขอความรู้ด้วยนะครับ
จึงขอเรียนถามว่าLTCMเนี่ย ถือเป็นตัวอย่างของการลงทุนโดยใช้คณิตศาสตร์สถิติมั้ยฮะ
แล้วมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นอีกมั้ยฮะ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Long-Te ... Management
รบกวนเรียนถามเพื่อขอความรู้ด้วยนะครับ
samatah
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 24
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 11
โอ้โห click เข้าไปดูแต่ละ link ที่คุณ romee ให้มาแล้วขนลุกเลยค่ะ ไม่ใช่กลัวนะคะ แต่ว่าตื่นตาตื่นใจ ไม่คิดว่างานคณิตศาสตร์/สถิติ จะมีบทบาทในเรื่องการลงทุนได้อย่างไม่เคยคิดมาก่อน ไม่คิดว่าการเข้ามาโพสต์ขอความเห็นเรื่องงานวิจัยเรื่องหนึ่ง จะได้รับโอกาสและคำแนะนำจากผู้รู้และนักลงทุนมากมายขนาดนี้ เป็นการเปิดประตูสู่โลกกว้างให้เห็นบทบาทของวิชาที่ตัวเรียนว่าจะพัฒนานำมาต่อยอดได้มากเหลือเกิน ดิฉันจะใช้โอกาสที่ได้เดินทางมาถึงขนาดนี้ ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต้องขอบคุณจริงๆ ค่ะ
ปล. คิดถึงเมืองไทยทุกวันค่ะ วางแผนไว้แล้วว่าจะกลับไปช่วยงานที่เมืองไทย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งค่ะ
ปล. คิดถึงเมืองไทยทุกวันค่ะ วางแผนไว้แล้วว่าจะกลับไปช่วยงานที่เมืองไทย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 116
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 12
link ที่หมอ 1 โพสน่าสนใจมากครับdr1 เขียน:ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ผมแย่มากๆ
จึงขอเรียนถามว่าLTCMเนี่ย ถือเป็นตัวอย่างของการลงทุนโดยใช้คณิตศาสตร์สถิติมั้ยฮะ
แล้วมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นอีกมั้ยฮะ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Long-Te ... Management
รบกวนเรียนถามเพื่อขอความรู้ด้วยนะครับ
ขอร่วมสงสัยด้วยคนครับ ^^
- Catchphrase! -
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 13
เป็นเรื่องที่ดีครับ ที่มีคนทำวิจัยเรื่องแบบนี้
ดีกว่ามานั่งเถียงแบบเอาชนะคะคานกัน ไม่มีเหตุและผลรองรับ
เหมือนอย่างที่หลายท่านตั้งข้อสังเกต สำหรับคนทำวิจัย
1.ระยะเวลา 5 ปี น่าจะสั้นเกินไป ควรทำสัก 10 ปี เพื่อลดความผันผวน
2.นิยามหุ้นคุณค่าแบบดั้งเดิม ดูจะไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หุ้น 20 ตัวแรกของผม เข้าเกณฑ์ของงานวิจัยนี้แค่ 1 ตัวเท่านั้น หรือผมไม่ใช่นักลงทุนเน้นคุณค่า (ไม่ก็ ผมเลือกหุ้นผิดเอง)
3.วอเรนต์บอกว่า หุ้นคุณค่ากับหุ้นเติบโต คือแฝดสยาม ที่แยกออกจากกันไม่ได้
4.งานวิจัย แยกหุ้นวัฎจักรออกจากหุ้นคุณค่าอย่างไร เพราะมีโอกาสมากเหลือเกิน ที่บางปีหุ้นวัฎจักร จะถูกเข้าใจผิด ว่าเป็นหุ้นคุณค่า ตัวเลขเหล่านี้ต้องต่อเนื่อง 5 ปี หรือเข้าเกณฑ์แค่บางปี ก็นำมาใช้แล้วครับ
ดีกว่ามานั่งเถียงแบบเอาชนะคะคานกัน ไม่มีเหตุและผลรองรับ
เหมือนอย่างที่หลายท่านตั้งข้อสังเกต สำหรับคนทำวิจัย
1.ระยะเวลา 5 ปี น่าจะสั้นเกินไป ควรทำสัก 10 ปี เพื่อลดความผันผวน
2.นิยามหุ้นคุณค่าแบบดั้งเดิม ดูจะไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หุ้น 20 ตัวแรกของผม เข้าเกณฑ์ของงานวิจัยนี้แค่ 1 ตัวเท่านั้น หรือผมไม่ใช่นักลงทุนเน้นคุณค่า (ไม่ก็ ผมเลือกหุ้นผิดเอง)
3.วอเรนต์บอกว่า หุ้นคุณค่ากับหุ้นเติบโต คือแฝดสยาม ที่แยกออกจากกันไม่ได้
4.งานวิจัย แยกหุ้นวัฎจักรออกจากหุ้นคุณค่าอย่างไร เพราะมีโอกาสมากเหลือเกิน ที่บางปีหุ้นวัฎจักร จะถูกเข้าใจผิด ว่าเป็นหุ้นคุณค่า ตัวเลขเหล่านี้ต้องต่อเนื่อง 5 ปี หรือเข้าเกณฑ์แค่บางปี ก็นำมาใช้แล้วครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 15
ลูกอิสาน เขียน: 4.งานวิจัย แยกหุ้นวัฎจักรออกจากหุ้นคุณค่าอย่างไร เพราะมีโอกาสมากเหลือเกิน ที่บางปีหุ้นวัฎจักร จะถูกเข้าใจผิด ว่าเป็นหุ้นคุณค่า ตัวเลขเหล่านี้ต้องต่อเนื่อง 5 ปี หรือเข้าเกณฑ์แค่บางปี ก็นำมาใช้แล้วครับ
ตรงนี้ใช่เลยครับ ที่อ่านยากมาก
ต้องเอาประวัติย้อนหลังมาดูไกลๆ เลย ต้องเทียบกับตลาด เทียบกับเศรษฐกิจมหภาคด้วย
พลาดได้ง่ายมาก ยิ่งไม่สามารถรู้จริงได้ง่ายด้วย ว่าอยู่ตรงไหนของวัฎจักร
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 16
Moopama เขียน:link ที่หมอ 1 โพสน่าสนใจมากครับdr1 เขียน:ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ผมแย่มากๆ
จึงขอเรียนถามว่าLTCMเนี่ย ถือเป็นตัวอย่างของการลงทุนโดยใช้คณิตศาสตร์สถิติมั้ยฮะ
แล้วมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นอีกมั้ยฮะ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Long-Te ... Management
รบกวนเรียนถามเพื่อขอความรู้ด้วยนะครับ
ขอร่วมสงสัยด้วยคนครับ ^^
LTCM ผมเห็นคร่าวๆ ครั้งแรกพูดในหนังสือประวัติ Buffett มาชวนปู่ลงทุนด้วย แต่ปู่ปฎิเสธ คนตั้งเก่งไฟแรง ประสบความสำเร็จสูงแต่ก็คนละแนวกับปู่ หลังจากนั้นมีปัญหา มาเจอตอนวิกฤติพอดี
แต่ผมอ่านมานิดเดียวแค่นี้ ข้อมูลน้อยเลยไม่ขอวิจารณ์ จริงๆ ก็น่าศึกษาว่าความสำเร็จได้มาแบบไหน ตอนล้มเหลวเพราะอะไร ล้มเพราะวิกฤติเลี่ยงไม่ได้จริงๆ หรือล้มเพราะประมาทคิดถึงความเสี่ยงน้อยไป
แต่เรื่องบอกว่าใช้คณิตศาสตร์ประสบความสำเร็จในการลงทุน เห็นมาว่ามีท่านนี้ครับ จาก MIT
แต่เป็น hedge fund คนละแนว
https://en.wikipedia.org/wiki/James_Harris_Simons
https://en.wikipedia.org/wiki/Renaissance_Technologies
ยังไม่ได้หารายละเอียดเพิ่ม อยากรู้เหมือนกันว่าใช้หลักคณิตศาสตร์อะไร model ไหนมาช่วย อยากรู้ว่าเราลองเรียนรู้ คิดตาม คำนวณตาม อย่างของอาจารย์ทั้งหลายเผยแพร่บ้างได้หรือไม่ ตอนนี้หนังสือไหนๆ ในไทยไม่เคยเจอชื่อนี้เลย มีแต่พูดถึงบ้างตาม web เดี๋ยวคงต้องลองหา text มาดู
ท่านใดมีก็มาแชร์ด้วยละกันนะครับ
ลองอ่านอันนี้เพิ่มอีกอัน
เพราะเป็น hedge fund ภาพเลยออกมาค่อนข้างมืดๆ นะครับ
สไตล์การเขียนแบบรู้สึกว่าไส่ไข่ใส่สีหน่อย อ่านประดับความรู้สนุกๆ ละกัน
https://www.facebook.com/permalink.php? ... ory_index=
นิทานเรื่องจริง ตำนานการลวง หลอกล่อ ลงหม้อตุ๋น
November 23, 2016 ·
"ละคร"
ตอน 7
เรื่องของโรเบิร์ต เมอร์เซอ ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของนายทรัมเป็ด ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ เขามีเรื่องเกี่ยวโยงที่น่าสนใจ จนผมไม่อยากเก็บไว้ฟุ้งซ่านอยู่คนเดียว ต้องเอามาเล่าสู่กันฟัง
คุณวิกิ บอกว่า เห็ดฟัน Renaissance Technologies ที่ทำให้เมอร์เซอรวยไม่รู้เรื่องนั้น ก่อตั้งโดย นายJames Harris Simons เจมส์ แฮรีส ไซมอนส์
แล้วอยู่ดีๆ ไซมอนส์หายไปไหน เมอร์เซอ รวย ไซมอนส์ก็ต้องรวยด้วยสิ หรือรวยกว่าด้วยซ้ำ เพราะลงทุนมาก่อน แล้วไปหลบมุมรวยอยู่เงียบๆคนเดียวได้ยังไง แบบนี้ก็ต้องขอตามขุด คุ้ย เรื่องของเขาเสียหน่อย
ไซมอนส์ เป็นลูกช่างทำรองเท้าชาวยิว ที่ทำงานในโรงงานแถวแมสสาชูเซ็ต แต่ไซมอนส์ เรียนจบปริญญาโททางคณิตศาสตร์ ที่ MIT เมื่ออายุ 20 และไปต่อเอกที่ Berkeley และกลับมาเป็นอาจารย์ที่ MIT... ลูกชาวบ้าน แต่โคตรเก่ง ได้เรียนมหาวิทยาลัยชั้นยอด ค่าเรียนแพง ไม่รู้เอาเงินที่ไหนมาจ่ายค่าเล่าเรียน ...รูปแบบคุ้นๆ มาอีกแล้ว...
พอเรียนจบ ปี ค.ศ. 1964 ไซมอนส์ ก็ไปทำงานด้านงานวิจัยที่ Institute for Defense Analyses ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ทำงานให้กับสภาความมั่นคงของอเมริกา (National Security Agency) หน้าที่ของเขาคือ พยายามวิเคราะห์ และถอดรหัสสัญญานการสื่อสารของฝ่ายตรงข้ามในช่วงสงครามเย็น ระหว่างทำงาน อ้างว่า ดันไปงัดข้อกับเจ้านาย เลยย้ายตัวเอง ออกมาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Stony Brook ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ๆ... ชื่อขลังดีนะครับ... ลำธารที่เต็มไปด้วยก้อนหิน หรือลำธารที่ไหลผ่านก้อนหิน....
ไซมอนส์ เป็นนักคณิตศาสตร์ระดับดังมาก ได้รับรางวัลจากสมาคมคณิตศาสตร์ของอเมริกา เขาคิดทฤษฏีแกะรหัส และทฤษฏีเกี่ยวกับควอนตัม ได้ตั้งแต่ ค.ศ.1974 รวมทั้งร่วมคิดทฤษฏี Chern-Simons ทางด้านฟิสิกซ์ ที่มีการนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญ เขาเป็นอาจารย์ระดับศาสตราจารย์หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Stony Brook
ผมขอเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับ Chern-Simons เสียหน่อย ผมไม่รู้เรื่องฟิสิกซ์ คณิตศาสตร์อะไรกับเขาหรอก แต่อยากรู้เรื่องของ นายไซมอนส์มากกว่า เลยตามคุ้ยดู เลยไปเจอเรื่องคุ้นๆ
Shiing-Shen Chern ที่คิดทฤษฏีทางฟิสิกซ์ ร่วมกับ ไซมอนส์ นั้น เป็นชาวจีน เกิดในจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1911 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเป็นเด็ก ก็เรียนหนังสือในโรงเรียนจีน และก็ย้ายมาอยู่ที่เมืองเทียนจิ้น หลังจากนั้นก็ย้ายไปอยู่ปักกิ่ง ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยครู ที่มหาวิทยาลัย Tsinghua ขณะเดียวกันก็ลงทะเบียน เรียนหนังสือที่นั่นด้วย
Tsinghua นี่ สร้างขึ้นที่พระราชวังปักกิ่ง ในปี ค.ศ.1911 โดยอเมริกา....หลังจากจีนแพ้ฝรั่งในเหตุการณ์กบฏนักมวย อเมริกาเรียกค่าเสียหายจากจีนเป็นจำนวน 30 ล้านเหรียญ ต่อมา อเมริกาลดค่าเสียหายให้เหลือ 10 ล้านนิดๆ โดยมีเงื่อนไขว่า เงินที่ลดลงให้เอามาสร้างมหาวิทยาลัย Tsinghua นี้ และก็เลือกที่ตั้งตรงส่วนที่เป็นสวนของพระราชวังนี่แหละ กับเอาไว้ใช้เป็นทุนสำหรับส่งนักเรียนจีนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยนี้ ให้ไปเรียนต่อ (ย้อมสมอง) ที่อเมริกา
คล้ายจะเป็นการหวังดี (แบบประสงค์ร้าย) ของอเมริกา... ส่วนคนสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนี้ ขนมาจากอเมริกา โดย YMCA เป็นผู้คัดเลือก เรียกว่ามาตั้งโรงงานฟอกย้อมกันในบ้านเขาเลย เยี่ยมจริงๆ แต่พวกโลกสวย คงบอกใจบุญจังนะ
ท่านที่อ่านนิทานเรื่องต้มข้ามศตววรษ และนิทานรุ่นเก่าๆ คงจำได้ว่า ขบวนการ YMCA นั้นโคตรท่านหินร่วงเป็นคนสร้างขึ้น ทำหน้าที่เหมือนเป็น CIA รุ่นแรก ไปเก็บข้อมูลในต่างประเทศ เช่นที่ รัสเซีย ญี่ปุ่น และจีน และ Tsinghua นี่ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่โคตรท่านหินร่วง สนับสนุนอุปการะ มาตลอดจนถึงปัจจุบัน ...
และ Peking Union Medical College ซึ่งตั้งขึ้นโดยมูลนิธิร้อกกี้เฟลเลอร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1917 ก็มารวมเป็นคณะหนึ่งของ Tsinghua ในปี ค.ศ.2006 Tsinghua ยังร่วมตั้งโครงการปริญญาโท Tsinghua-MIT ตั้งแต่ปี ค.ศ.1996
นอกจากนี้ นาย Stephen Schwarzman (สมาชิก CFR) ผู้ก่อตั้งคนหนึ่งของ Blackstone Group (หวังว่าคงจำชื่อนี่กันได้ ถ้าจำไม่ได้กลับไปอ่านเรื่องของเขาในนิทานเรื่องป้ายลวงนะครับ) ก็ได้ประกาศในปี ค.ศ.2013 ว่าจะ ตั้ง Schwarzman Colledge ขึ้นที่ Tsinghua เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาทั่วโลก ปีละ 200 คน มาเรียนปริญญาโทที่คอลเลจนี้ โครงการนี้ พร้อมดำเนินการในปี ค.ศ.2016 ยังย้อมไม่หมด คนบ้านนี้แยะ...
Tsinghua ยังมีเรื่องเกี่ยวพันกับพวกหินร่วงอีกแยะครับ เล่าไม่หมด ใครสนใจ กดอากูไปถามคุณวิกิได้เลยครับ ...ที่อย่างนี้ ใส่ข้อมูลเสียยาวเหยียด แต่มันก็ทำให้เห็นอะไรแยะดี
มันก็เป็นรูปแบบ ก็ทำนองเดียวกับ สำนักประกัน AIG ที่เรานึกว่าตั้งที่อเมริกา ที่แท้ตั้งที่เซี่ยงไฮ้ มา 100 ปีแล้ว ...และยังเป็นหนามคาอกอาเฮียอยู่ ....หวังว่าคงจำเรื่องนี้กันได้นะครับ.... มหาวิทยาลัย Tsinghua ก็ไม่ต่างกัน
นายเฉิน คงมีแววเก่งฉายแสงออกมามาก อาจารย์ที่ Tsinghua เลยส่งเสริมให้ ข้ามมหาสมุทรมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชิคาโก... หลังจากนั้นก็ไปเรียนต่อที่เคมบริดจ์ อังกฤษ และที่ซอร์บอน ปารีส ... คงเรียนฟรีหมด ...ใครออกทุนให้คงพอเดากันได้ พอดีเกิดเหตุการณ์ฆ่าโหดที่นานกิง นายเฉินเลยไม่กลับจีน ไปอยู่อเมริกาดีกว่า และลงรากอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (จะไปอยู่ที่อื่นได้ยังไง) เป็นท่านศาสตราจารย์ สอนฟิสิกซ์ คณิตศาสตร์อยู่ที่นั่น และ ย้ายมาอยู่มหาวิทยาลัย Berkeley ในช่วง ค.ศ.1960
และคงเป็นช่วงนี้ ที่นายเฉิน มาสนิทสนมกับไซมอน คนในแวดวงเดียวกัน ...
หลังจาก อเมริกาไปเปิดสัมพันธ์กับจีน ในช่วงปี ค.ศ.1972 เฉินก็เลยกลับไปเยี่ยมบ้าน ไปตั้ง ศูนย์คณิตศาสตร์ อยู่ Tsinghua และอีกหลายเมืองในจีน และย้ายกลับไปอยู่เมืองเทียนจิ้นในปี ค.ศ.2000 จนเสียชีวิต ในปี 2004 เมื่ออายุ 94 ปี
###############
ตอน 8
ส่วนนายไซมอนส์ นี่ไม่รู้คิดอะไร เป็นครูบาอาจารย์สอนหนังสืออยู่ดีๆ เก่งกาจขนาดนี้ อยู่ๆ ก็ลาออก และมาตั้งกองทุนเห็ดฟันเพื่อค้าหุ้น Renaissance Technologies Hedge Fund ในปี ค.ศ.1982 ที่นิวยอร์ค แปลกดีไหมครับ....แล้วเอาเงินที่ไหนมาตั้งกองทุนก็ไม่รู้ และพนักงานที่มาทำงานที่เห็ดฟัน นี้ส่วนใหญ่ ก็จบคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกซ์ทั้งนั้น แต่มาค้าหุ้น !?!
โดยไซมอนส์ตั้งเป็นเงื่อนไขไว้เลย ว่าคนทำงานที่นี่ ต้องไม่ใช่พวกที่มาจากสวนสัตว์วอลสตรีท...
เหมือนไซมอนส์ กำลัง (ถูกให้) ทดลองทฤษฏีอะไรสักอย่าง
ท่านที่เคยอ่านนิทาน เรื่อง "ป้ายปลอม" มาแล้ว คงพอจำได้ ผมเล่าเรื่องเห็ดจี ที่มีแต่จีเนียส มาจาก MIT กับฮาร์วาด แต่กำกับการแสดงโดยสิงห์วอลสตรีท ที่ตั้งกองทุนขึ้นในปี ค.ศ.1993 แรกๆกำไรพุ่งเป็นบ้องไฟ ผ่านไปไมกี่ปี ร่วงไม่เป็นท่า และในที่สุดเฟดก็ต้องมาอุ้ม เพราะผู้ลงทุนเป็นสมาชิกสวนสัตว์วอลสตรีททั้งนั้น เดี๋ยวสวนสัตว์จะต้องปิดกิจการเร็วกว่าควร จนมีหนังสือเขียนถึง เรื่องเห็ดจี ชื่อ When Genius Failed ...The Rise and Fall of Long Term Capital Fund
มันก็น่าคิด.... คงมีใครควักกระเป๋าให้ตั้งเห็ดอาร์ Renaissance Technologies ขึ้นมา คงเป็นโครงการทดลอง ลากเขาออกมาจากงานสอน ยังไม่รู้ว่าจะกำไร หรือขาดทุน เลยตกปากแบ่งกำไรให้
เห็ดอาร์ จึงแบ่งการลงทุนเป็น 2 กอง กองแรก คือ Renaissance อีกกองคือ Medallion.... กองแรกมีคนนอกลงทุน.... กองหลังเป็นของผู้บริหาร
กองแรกผลตอบแทนเฉลี่ย 39% กองหลังผลตอบแทนเฉลี่ย 71% ...อ้าว
ต่อมา มีการเอาเงินจากกองหลัง ซื้อส่วนของคนนอกจากกองแรก ออกมาหมด สรุปตอนท้าย ไม่รู้กองไหนเป็นของใครมั่ง เอาว่าไม่มีผู้ลงทุนคนนอกก็แล้วกัน
มีรายงานของ Standard & Poor บอกว่า ในเวลา 11 ปีของการลงทุน กองทุน Medallion มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 2,478% นับว่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ (ลบสถิติของกองทุน Quantum Fund ของไอ้แสบโซรอส ที่เคยทำไว้ ได้ 1,710%)
และนับถึงปี ค.ศ.2015 มูลค่าของRenaissance Technologies ทั้งหมด ประมาณ 6หมื่น 5พันล้านเหรียญ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาทเท่านั้นเอง
แบบนี้อยากรู้ไหมครับ ว่าใครเป็นเจ้าของเห็ดอาร์ (ตัวจริง) ผมอยากรู้มากเลย
แค่เอาเงินครึ่งเดียว 1 ล้านล้าน เอามาให้นายทรัมเป็ดสร้างกำแพง 2 ชั้นกั้นคุณแมค มึงอย่าโดดข้ามเขตแดนมานะ หรือคุณมืดอยากเดินขบวนกันไปทั้งปี ก็คงมีใครออกมาจัดการให้ .... ถ้าเจ้าของเห็ดฟันตัวจริง เป็นพวกที่ผมคิดนะ... ผมว่าไม่น่าห่วงนายทรัมเป็ดหรอก ว่าจะอยู่รอด หรือไม่รอด... ...ห่วงตัวเรา บ้านเรา ดีกว่าครับ
เมื่อตอนปี ค.ศ.1950 กว่าๆ Stony Brook ยังเป็นวิทยาลัยกระจอก ตั้งอยู่ที่ Stony Brook ที่อยู่แถว Long Island ยังไม่มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัย จนคุณเนลสัน ร้อกกี้เฟลเลอร์ พี่ชายคนโปรดของท่านร้อกกี้หินร่วง .... ได้เป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ค ในปี ค.ศ.1959 มองการณ์ไกลบอกว่า ชาวนิวยอร์คแทบจะไม่มีที่เรียนหนังสืออยู่แล้ว จึงสั่งการให้ทำเรื่อง ยกสถานะวิทยาลัย Stony Brook ให้เป็นมหาวิทยาลัย อย่างรีบด่วน
แล้วปี ค.ศ.1962 Stony Brook ก็ได้เป็นมหาวิทยาลัย อยู่ในสังกัดเดียวกับ Cornell, Columbia, NYU และ Rochester
นอกจากนี้ Stony Brook ยังได้เปลี่ยนแนว ....กลายเป็นมหาวิทยาลัย ที่ถนัดทางงานค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับด้านฟิสิกซ์ ชีวภาพ ไบโอเคมี ภูมิต้านทาน ด้วยเงินสนับสนุนจำนวนมหาศาล จากท่าน ศจ.ไซมอนส์ เจ้าของเห็ดอาร์ ทุกปี น้อยสุด 20 ล้านเหรียญ มากสุด 150 ล้านเหรียญ ...ท่าน ศจ.ไซมอนส์ รวยมหาศาลจาก เห็ดอาร์ แต่ออกจะโชคร้าย มีลูก 5 คน อุบัติเหตุตายไปเสีย 2 คน คนหนึ่งจมน้ำตาย อีกคนรถคว่ำตาย
นายไซมอนส์ นอกจากจะบริจาคเงินมหาศาลให้กับ Stony Brook เป็นรายปีแล้ว เขายังเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพรรคดีโมแครตด้วย เออ.. ดีนะ หุ้นส่วนคนหนึ่งหนุนพรรคหนึ่ง หุ้นส่วนอีกคน ก็หนุนอีกพรรค.... ประชาธิปไตยของแท้ ต้องแทงม้าทุกตัว ...
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย Stony Brook ปัจจุบัน มีประธานชื่อ Samuel L Stanley จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1976 และจบแพทย์ด้านไบโอเมดิคัลจาก Harvard Medical School และเป็นผู้ก่อตั้ง National Institute of Health-Funded Midwest Regional Center of Excellence for Biodefense and Infectious Diseases Research ซึ่งรัฐเป็นผู้สนับสนุน ....นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความชำนาญมาก เกี่ยวกับเรื่องชีวภาพ และโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ......
เรื่องมันโยงใยเกี่ยวพันกันยุ่งไปหมด ชวนให้คิดต่อไปได้อีกหลายเรื่อง ที่น่าหวาดเสียวทั้งนั้น....
สวัสดีครับ
คนเล่านิทาน
23 พ.ย. 2559
เชิญแชร์กันตามสบาย ถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า และโปรดให้เครดิตด้วย
- romee
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 17
เยอะมากครับพี่หมอ1 นักลงทุนระดับโลกที่ใช้ระบบเข้ามาช่วยในการลงทุนdr1 เขียน:ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ผมแย่มากๆ
จึงขอเรียนถามว่าLTCMเนี่ย ถือเป็นตัวอย่างของการลงทุนโดยใช้คณิตศาสตร์สถิติมั้ยฮะ
แล้วมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นอีกมั้ยฮะ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Long-Te ... Management
รบกวนเรียนถามเพื่อขอความรู้ด้วยนะครับ
คนชอบมองเรื่องความล้มเหลวของ LTCM แต่ถ้าอ่านประวัติ จะพบว่าเขาพัง เพราะการ leverage เกินตัว "ทำการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 155,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 31 เท่าของเงินทุนที่มีอยู่" อย่างงี้มันไม่ใช่การลงทุนแล้วครับ มันเป็นการเก็งกำไร แถมโมเดลที่เขาออกแบบ ก็เจอกึ่งๆเหตุการณ์ black swan ที่มันไม่คาดคิดในโมเดลที่เขาคำนวณครับ
คนเก่งระดับโลกสายQuant เช่น James_Harris_Simons คนนี้เป็น legendที่ยังมีชีวิตแบบปู่บัฟแล้วครับ ประวัติแกสักวันคงมีคนเอาไปทำเป็นหนังแน่นอน
EDWARD THORP เจ้าของสูตร Kelly Criterion
อ้างอิง https://goo.gl/YpV1gD
หรือบทความเหล่านี้ https://brandinside.asia/hedge-fund-man ... -lost-job/
https://brandinside.asia/hedge-fund-man ... der-to-ai/
http://www.cwayinvestment.com/2015/02/q ... -fund.html
ผมเห็นด้วยกับพี่โจ ว่าเราควรมาศึกษาจริงๆว่าอะไรคือความคิดเห็น, อะไรคือข้อเท็จจริง กับvi และระบบsystem trading, quant
ถ้าให้ดีกรรมการเวบ ลองเชิญคนที่รู้เรื่องเหล่านี้ มาแชร์ข้อมูลเชิงบทวิจัยเรื่องเหล่านี้ และอื่นๆ ให้สมาชิกเวบ ก็น่าจะดีนะครับ
แค่ขั้นตอนการ Backtesting ว่าค่าไหนที่เหมาะสมในการทดสอบก็คุยกันเป็นวันๆได้เลย
ยังไม่รวมเรื่องposition sizing, ทฤษฎีที่จะซื้อ หรือขายหุ้น, ข้อมูลของราคาหุ้นย้อนหลัง, ค่าDDที่ยอมรับได้ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน
การลงทุนแนวvi ไม่ได้แปลว่า นักลงทุนคนนั้นดีกว่า หรือมีวรรณะสูงกว่าคนที่ลงทุนแนวอื่นๆหรอก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 18
James H Simons น่าจะดังที่สุดแล้วในสาย quantitative money manager
หลักการลงทุนของเขาคือ รวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด มองหา non-random movements เพื่อคาดการณ์ เขาชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ แต่บางช่วงสั้นๆ ที่ตลาดผิดปกติ เขาจะเข้าทันที เข้าๆ ออกๆ พร้อมประเมินใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งวัน ทั้งคืน ทำอย่างนี้ได้ Simons ต้องมีพนักงาน 300 คน เป็น phd 100 คน ซึ่งมีทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักสถิติ นักฟิสิกค์
ส่วนผมไม่เก่งอย่างนั้น แค่ทำตามตัวอย่าง คนที่ประสบความสำเร็จ วิธีที่ประสบความสำเร็จ ที่คนธรรมดาใช้ได้จริง หนทางรวยมีหลายหนทางก็จริง แต่ขอเลือกที่ง่ายที่สุด ละกัน ไม่ขอเล่นท่ายาก(แม้มันจะดูเท่ย์กว่า)
หลักการลงทุนของเขาคือ รวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด มองหา non-random movements เพื่อคาดการณ์ เขาชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ แต่บางช่วงสั้นๆ ที่ตลาดผิดปกติ เขาจะเข้าทันที เข้าๆ ออกๆ พร้อมประเมินใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งวัน ทั้งคืน ทำอย่างนี้ได้ Simons ต้องมีพนักงาน 300 คน เป็น phd 100 คน ซึ่งมีทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักสถิติ นักฟิสิกค์
ส่วนผมไม่เก่งอย่างนั้น แค่ทำตามตัวอย่าง คนที่ประสบความสำเร็จ วิธีที่ประสบความสำเร็จ ที่คนธรรมดาใช้ได้จริง หนทางรวยมีหลายหนทางก็จริง แต่ขอเลือกที่ง่ายที่สุด ละกัน ไม่ขอเล่นท่ายาก(แม้มันจะดูเท่ย์กว่า)
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1441
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 19
จากผลสรุปผลการวิจัยในเอกสาร ความเห็นส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับผลสรุปครับ เพราะการใช้เกณฑ์ P/E ratio น้อยกว่า 15 เท่า, P/BV Ratio น้อยกว่า 1.5 เท่า และ Dividend Yield ที่เหมาะสม ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป มาระบุว่า เป็นกลุ่มหุ้นคุณค่า ในความเป็นจริงแล้ว ไม่น่าสามารถใช้ตัวเลขเหล่านี้มาจัดแบ่งกลุ่มหุ้นได้ ในขณะเดียวกัน หุ้นเติบโต ก็น่าเป็น หุ้นคุณค่า เท่าที่อ่านมาหนังสือมา พบว่า การลงทุนแนวเน้นคุณค่า (Value Investing) นั้น คือ การซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า ไม่ได้บอกว่า ให้ซื้อหุ้นคุณค่า (หรือผมเข้าใจผิด ทั้งนี้ ผมเพิ่งมาศึกษา Value Investing ได้ราวๆ 3 ปี เท่านั้น อาจยังไม่ได้เข้าใจอะไรลึกก็เป็นได้ครับ) ส่วนหุ้นที่เรียกกันว่า หุ้นเติบโต ตราบใดที่เรามองว่า ราคาตลาดของหุ้นนั้น ต่ำกว่ามูลค่าที่จะเป็น ก็เป็นการลงทุนแนว เน้นคุณค่าเช่นกัน ผมเองก็เคยสับสนระหว่างหุ้นเติบโต และหุ้นคุณค่า แต่พอมาทบทวน ก็เข้าใจว่า เราคงไม่จำเป็นต้องแบ่งว่า หุ้นใดคือหุ้นเติบโต หรือหุ้นคุณค่า ขอให้เราลงทุนในหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าหุ้น ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ที่กล่าวมา ไม่ได้บอกว่า ผลสรุปวิจัยผิดแต่ประการใด แต่มองว่า การใช้เกณฑ์ในการทำวิจัยเพื่อแบ่งกลุ่มหุ้น ไม่เหมาะสมเท่าใดนัก เมื่อ Input เข้ามา ไม่เหมาะสม ผลลัพท์ Output ย่อมไม่เหมาะสมเช่นกัน ครับ
สำหรับแนวทางการลงทุนแบบ Magic Number นั้น ก็น่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องเจาะลึกในรายละเอียดมาก แต่คงต้องมีการปรับพอร์ตเป็นครั้งคราว และต้องกระจายตัวให้มากๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงได้อย่างดี ผมเคยคิดจะลงทุนแนวนี้ หลังอ่านหนังสือ The Little Book That Still Beats the Market ของ Joel Greenblatt แต่ก็พบว่า หากเงินลงทุนไม่มากพอที่จะครอบคลุมหุ้นหลายหลาก ก็น่ามีความเสี่ยงมาก จึงไม่ใช้วิธีนี้ เพราะเงินลงทุนมีไม่มากครับ
ที่กล่าวมา ไม่ได้บอกว่า ผลสรุปวิจัยผิดแต่ประการใด แต่มองว่า การใช้เกณฑ์ในการทำวิจัยเพื่อแบ่งกลุ่มหุ้น ไม่เหมาะสมเท่าใดนัก เมื่อ Input เข้ามา ไม่เหมาะสม ผลลัพท์ Output ย่อมไม่เหมาะสมเช่นกัน ครับ
สำหรับแนวทางการลงทุนแบบ Magic Number นั้น ก็น่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องเจาะลึกในรายละเอียดมาก แต่คงต้องมีการปรับพอร์ตเป็นครั้งคราว และต้องกระจายตัวให้มากๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงได้อย่างดี ผมเคยคิดจะลงทุนแนวนี้ หลังอ่านหนังสือ The Little Book That Still Beats the Market ของ Joel Greenblatt แต่ก็พบว่า หากเงินลงทุนไม่มากพอที่จะครอบคลุมหุ้นหลายหลาก ก็น่ามีความเสี่ยงมาก จึงไม่ใช้วิธีนี้ เพราะเงินลงทุนมีไม่มากครับ
แนบไฟล์
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- Pyrostrikes
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1000
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานวิจัยผลการลงทุนของหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเท
โพสต์ที่ 20
คหสต ผมคิดว่าการใช้เกณฑ์ P/E Ratio < 15 เท่า, P/BV Ratio < 1.5 เท่า และ Dividend Yield >5% อาจจะเหมาะสมในการนำไปใช้กับตลาดเกิดใหม่อย่าง เช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม ที่ปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการยังต่ำกว่าที่อื่น หุ้นส่วนใหญ่ (อาจ) ยังต่ำกว่ามูลค่าการเติบโตในอนาคต (กำไรมากขึ้น ปันผลมากขึ้น)
Nothing comes for free...