“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนจบ
-
- Verified User
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนจบ
โพสต์ที่ 1
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนจบ
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
เราได้คุยกันเรื่อง “บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งเราคุยกันถึง หนึ่ง คนรุ่นใหม่...โอกาสจากงานประจำไม่ดีนัก สอง เริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 1,000 บาท...คุณจะได้อะไรบ้าง? และสาม เอาง่ายๆ...เริ่มต้นอย่างไรดี? วันนี้ขอคุยต่ออีก 3 หัวข้อที่เหลือดังนี้ครับ
สี่ ดูแนวโน้มราคาของบิทคอยน์ง่ายๆ อย่างไร?
วิธีง่ายๆที่ผมอยากแนะนำให้คุณผู้อ่านดูแนวโน้มราคาของบิทคอยน์ก็คือ การดูจากเว็บไซต์ซื้อขายบิทคอยน์ใหญ่ๆในต่างประเทศ ผมเคยค้นมาแล้วหลายแห่ง แต่คิดว่า 3 แห่งนี้ดีที่สุด
- https://www.bitfinex.com/
- https://www.bithumb.com เว็บซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้
- https://bitflyer.com/ เว็บซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น
สามเว็บไซต์ซื้อขายบิทคอยน์ด้านบนนี้อยู่ในกลุ่มของเว็บไซต์ที่ซื้อขายบิทคอยน์มากที่สุดในโลก ดังนั้นก่อนที่คุณผู้อ่านจะซื้อบิทคอยน์ ก็แวะเข้าไปดูระดับราคาในเว็บไซต์ทั้งสามแห่งข้างต้นนี้เสียก่อน เพราะระดับราคาของเว็บไซต์ทั้งสามแห่งนี้ มักจะชี้นำราคาของเงินสกุลดิจิตอลในตลาดอื่นๆทั่วโลก และเพื่อจะได้วางแผนในการซื้อขายเงินสกุลดิจิตอลได้
ห้า ควรลงทุนในเงินสกุลดิจิตอลตัวไหนดี?
“บิทคอยน์” ควรจะเป็นตัวแรกที่หลายๆคนอาจจะเริ่มต้นลงทุนได้ เพราะบิทคอยน์มีปริมาณการซื้อขายเป็นอันดับหนึ่ง มีราคาที่ผันผวนเริ่มจะน้อยลงมากแล้ว ทำให้ความเสี่ยงในปัจจุบันก็ลดลงมามากเมื่อเทียบกับในอดีต เช่น ปี 2555-2557 ราคาบิทคอยน์เริ่มจากประมาณ 5 ดอลลาร์ แล้วก็ทะยานขึ้นไปสูงกว่า 1,000 ดอลลาร์ คิดเป็นเพิ่มขึ้นกว่า 200 เท่าภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์บริษัทเมาท์ก๊อกซ์ที่อยู่ในกรุงโตเกียว และเป็นศูนย์รับแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น เกิดปัญหาโดยมีคนเข้ามาแฮ็คระบบและขโมยบิทคอยน์ไป ทำให้ราคาบิทคอยน์ตกลงไปต่ำกว่า 200 ดอลลาร์ หรือตกลงไปกว่า 80% ภายใน 6 เดือน ทุกวันนี้โอกาสที่ราคาบิทคอยน์จะตกลงมาต่ำกว่า 50% ยังเป็นไปได้ยากมาก บิทคอยน์...จึงเป็นเงินสกุลดิจิตอลสำหรับคนมือใหม่ที่คิดจะลงทุนในเงินสกุลดิจิตอล ส่วนเงินสกุลอื่นๆที่จะแนะนำมีดังนี้ครับ
- Ethereum (ETH) อีเธอเรียม เป็นเงินสกุลดิจิตอลที่สามารถเขียนโปรแกรมได้ (Programmable Money) โดยผู้คิดค้นเงินตัวนี้ก็คือ โปรแกรมเมอร์หนุ่มชาวรัสเซียที่มีชื่อว่า Vitalik Buterin หลังจากนั้นระบบของอีธีเรียมก็เป็นที่แพร่หลาย และมีการระดมทุนเงินสกุลดิจิตอลใหม่ๆ (Initial Coin Offering) โดยใช้ระบบอีเธอเรียมกันอย่างมากมาย
- Ripple (XRP) ริปเปิลเป็นเงินสกุลดิจิตอลที่ออกแบบมาเพื่อการโอนเงินโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น บิทคอยน์ใช้เวลาโอนเงินประมาณ 10 นาที อีเธอเรียมใช้เวลา 5 นาที ขณะที่ริปเปิลใช้เวลาเพียง 3 วินาที ทุกวันนี้ ริปเปิลได้รับการตอบรับค่อนข้างดีมากจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการระดับโลกหลายรายด้วยกัน เช่น Bank of America, Merrill Lynch, Mitsubishi UFJ Financial Group หรือแม้กระทั่งธนาคารไทยพาณิชน์ในประเทศไทย
- Bitcoin Cash (BCH) บิทคอยน์แคชเป็นเงินสกุลดิจิตอลอีกตระกูลหนึ่งที่มีรากเหง้ามาจากบิทคอยน์ ในความรู้สึกของผม ผมคิดว่าบิทคอยน์แคชเป็นเงินสกุลดิจิตอลที่มีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด เริ่มตั้งแต่การอยากเปลี่ยนชื่อตัวเองให้เป็นบิทคอยน์ และเปลี่ยนชื่อบิทคอยน์ดั้งเดิมให้กลายไปเป็นบิทคอยน์เลกาซี (Bitcoin Legacy) แต่ในที่สุดก็ทำไม่สำเร็จ การออกข่าวปัญหาของบิทคอยน์ที่มีค่าโอนที่สูงมากและโอนช้า การออกข่าวว่าผู้คนย้ายไปใช้บิทคอยน์แคชกันหมดแล้ว เพราะค่าโอนถูกและรวดเร็ว แต่ทุกวันนี้บิทคอยน์แคชก็ยังไม่สามารถยึดบัลลังก์จากบิทคอยน์ได้
ในปีที่ผ่านมาริปเปิลเป็นเงินสกุลดิจิตอลที่สร้างผลตอบแทนสูงที่สุดคือเพิ่มขึ้นเกือบ 360 เท่า ในขณะที่อีเธอเรียมเพิ่มขึ้นมากกว่า 90 เท่า และบิทคอยน์เพิ่มขึ้นประมาณ 13 เท่า ผมเองได้ลงทุนทุกตัวที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น...ยกเว้นอีเธอเรียมครับ
หก สุดยอดวิทยายุทธในการลงทุนเงินสกุลดิจิตอล
ไม่ว่าคุณผู้อ่านจะเป็นคนที่ลงทุนแบบพื้นฐานหรือลงทุนแบบเทคนิคอลก็ตาม ผมขอแนะนำสุดยอดวิทยายุทธในการลงทุนเงินสกุลดิจิตอล นั่นคือ “กลยุทธ์ในการเอาเงินออก” ผมเองมีความรู้สึกว่า ด้วยโมเมนตัมขาขึ้นของเงินสกุลดิจิตอลในขณะนี้ คุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะพบกับช่วงเวลาขาขึ้นหลายต่อหลายครั้งเป็นแน่ และน่าจะมีหลายครั้งที่เราอยากจะนำเงินเขาไปลงทุนเพิ่มขึ้นอีก...เพิ่มขึ้นอีก...และเพิ่มขึ้นอีก จนกระทั่งอาจคิดถึงการกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนในเงินสกุลดิจิตอลกันเลยทีเดียว ผมเองก็มีช่วงเวลาที่นำเงินกู้มาลงทุนเหมือนกัน แต่ผมจะกลับตัวได้เร็ว และผมมักจะใช้กลยุทธ์การเอาเงินออกอย่างสม่ำเสมอ
กลยุทธ์ “การเอาเงินออก” ผมมักจะตั้งเป้าหมายที่เงินสกุลดิจิตอลนั้นๆ ราคาขึ้นไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ แล้วก็ขายออกไปจำนวนหนึ่ง ส่วนเงินที่ได้มาจะแบ่งสองก้อน ก้อนแรกจำนวนมากจะนำไปลงทุนในกองทุน ผมจะไม่นำเงินที่ขายได้ไปลงทุนในหุ้นไทย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ผมต้องใช้สมองในการลงทุนทั้งเงินสกุลดิจิตอลและทั้งหุ้นไทย ผมคิดว่าการโฟกัสการลงทุนเป็นตัวๆไป...น่าจะดีกว่า ส่วนเงินก้อนที่สองที่น้อยกว่า ผมก็จะนำไปทำบุญบริจาคบ้าง แจกญาติมิตรบ้าง นำไปซื้อของสะใจบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ไม้กอล์ฟ หรือแม้กระทั่งรถยนต์ เพื่อไปกระตุ้นจิตใต้สำนึกของตัวผมเอง...ให้เกิดความพากเพียรพยายามที่จะตั้งใจศึกษาและเอาชนะการลงทุนในเงินสกุลดิจิตอลครั้งต่อๆไป
ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้...เป็นตัวตนจริงๆของผม ซึ่งผมก็คงพยายามกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ขยันหมั่นเพียรในการลงทุนให้มากที่สุด เพื่อเอาชนะความยากจนและเปลี่ยนชีวิตของเขาให้มีฐานะและความสุขที่เพิ่มขึ้น ท้ายนี้ขอให้คุณผู้อ่านประสบความสำเร็จในการนำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามา นำไปพิชิตการลงทุนทุกประเภทให้บรรลุผลสำเร็จและนำมาซึ่งชีวิตที่มีความสุขมากขึ้นนะครับ
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doctorwe.com
บทความ...“บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนที่ 1
http://www.doctorwe.com/posttoday/20180125/6836
บทความ… เงิน 1,000 บาท กับการลงทุนใน “บิทคอยน์” เชิญอ่านได้ที่ลิงก์นี้
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20171215/6809
บทความ… “บิทคอยน์” สร้าง…ความร่ำรวย ได้หรือไม่? เชิญอ่านได้ที่ลิงก์นี้
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20170922/6815
บทความ...“บิทคอยน์” เรื่องราวของ…คนกลัวตกรถ…คนติดดอย
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20171117/6820
บทความ... “บิทคอยน์” ความเชื่อ vs. ความจริง
http://www.doctorwe.com/bangkokbiznews/20180112/6826
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “บิทคอยน์” กับ “คนรุ่นใหม่” ตอนจบ
โพสต์ที่ 2
ประชาชาติ ประชาชาติ
อนาคต “เงินดิจิทัล” มุมมองจาก “ดาวอส”
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 13:46 น.
“เงินดิจิทัล” หรือ คริปโตเคอเรนซี พยายามอย่างยิ่งที่จะแทรกตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” ที่เมืองท่องเที่ยวเลื่องชื่อของสวิตเซอร์แลนด์อย่างดาวอส ถึงขนาด “เอเทอเรียม” (ethereum) สกุลเงินดิจิทัล ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก “บิตคอยน์”
ลงทุนไปเปิดบูท เพื่อโปรโมตและเรียกร้องความสนใจจากกลุ่มนักวิชาการ นักการเงิน นักธุรกิจและนักการเมืองระดับโลกถึงที่นั่น ด้วยความโด่งดัง ทั้งในทางบวกและทางลบต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ไม่น่าแปลกที่เรื่องนี้กลายเป็นหนึ่งใน “คีย์ท็อปปิก” ของการประชุมหนนี้ไปด้วยอีกเรื่องหนึ่ง
หลายคนพูดถึงอนาคตของ “เงินดิจิทัล” ทั้งในระยะใกล้และในระยะยาว คนแรกที่พูดถึงประเด็นนี้ก็คือ “โรเบิร์ต ชิลเลอร์” ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2013 (ร่วมกับยูยีน ฟามา และลาร์ส ปีเตอร์ เฮนเซน)
ชิลเลอร์ ยอมรับว่า บิตคอยน์ และคริปโตเคอเรนซี อื่น ๆ เป็นแนวคิดที่ชาญฉลาด “จริง ๆ” และแสดงความประทับใจกับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์ (ซึ่งเหมือนกับเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆ) แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่สบายใจสูงถึงระดับ “เป็นกังวล” ต่อการที่บิตคอยน์ หรือเงินดิจิทัลอื่น แพร่หลายออกไปในสภาพของ “เงิน”
ชิลเลอร์ไม่ถือว่า บิตคอยน์ เป็นเงินสกุลหนึ่ง และแสดงความคิดเห็นในเชิง “เตือน” นักลงทุนเรื่อยมาว่า มูลค่าของมันสามารถ “พังพาบ” ลงเมื่อใดก็ได้ ทั้งมองบิตคอยน์ คริปโตเคอเรนซีเจ้าแรกว่าเป็นเพียง “การทดลอง” ประการหนึ่งที่ “น่าสนใจ” แต่ไม่มีวันเป็น “คุณลักษณะถาวรในชีวิตของคนเรา” เหมือนอย่างที่เงินสกุลต่าง ๆ เป็น
“เราให้ความสำคัญกับตัวบิตคอยน์มากจนเกินไป ทั้ง ๆ ที่ควรให้ความสำคัญครอบคลุมไปถึง “บล็อกเชน” (เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์) มากกว่า” ชิลเลอร์ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะ “บล็อกเชน” สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นได้หลากหลายมาก
นอกเหนือจากนักวิชาการ นักการเมืองระดับโลกที่แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ออกมาล้วนเป็นกังวลกับดิจิทัลเคอร์เรนซีทั้งสิ้น “เทเรซา เมย์” บอกกับผู้สื่อข่าวที่ดาวอส ว่าเป็นห่วงว่าบรรดาอาชญากรทั้งหลายจะอาศัยคุณสมบัติที่สามารถถ่ายโอนซึ่งกันและกัน โดยปราศจากตัวกลางหรือหน่วยงานทางการตรวจสอบ มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับอาชญากรรมของตัวเอง
“สตีเฟน มนูชิน” รัฐมนตรีคลังอเมริกัน เป็นอีกคนที่ตั้งข้อสังเกตเชิงลบต่อการใช้เงินดิจิทัลในทางที่ผิด และยอมรับว่าใส่ใจในเรื่องนี้เป็นอันดับหนึ่ง
“ผมโฟกัสไปที่เรื่องนี้เป็นลำดับแรก นั่นคือทำให้แน่ใจว่า ไม่ว่ามันจะถือเป็นเงินหรือเป็นบิตคอยน์ หรือเป็นอะไรก็ตามที มันจะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อการดำเนินการที่ผิดกฎหมายใด ๆ” และสรุปแนวทางสำหรับสหรัฐอเมริกาในอนาคตอันใกล้ไว้ว่า “สหรัฐ จำต้องมีกฎ เช่น สมมุติว่า คุณเป็น บิตคอยน์ วอลเลต คุณก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ควบคุมในทำนองเดียวกับธนาคาร”
“เซซิเลีย สคิงส์ลีย์” รองผู้ว่าการ ริกส์แบงก์ ธนาคารกลางของสวีเดน ยืนยันว่าเท่าที่เห็นมา บิตคอยน์ผันผวนมากเกินกว่าที่จะถูกจัดชั้นให้เป็นเงินสกุลหนึ่ง ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอต่อการเรียกได้ว่าเป็นเงิน
“มันไม่สามารถรักษามูลค่าให้คงที่ได้เอามาก ๆ ผันผวนสูงมาก ทั้งยังไม่สามารถเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน เพราะคุณไม่สามารถซื้อของจากร้านของชำด้วยบิตคอยน์ได้ ไม่รับเงินเดือนเป็นบิตคอยน์ และแน่นอน จ่ายภาษีด้วยบิตคอยน์ก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน” สคิงส์ลีย์บอกว่า การที่บิตคอยน์เป็นสิ่งดึงดูดใจสำหรับบางประเทศนั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะความไม่ไว้วางใจที่มีต่อทางการ แต่ถึงอย่างนั้น บิตคอยน์ก็ถือว่าเป็น “ทางออกที่แย่” ด้วยเหตุที่มูลค่าผันผวนมากเกินไปนั่นเอง
“ในระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง การมีทางการที่ไว้วางใจได้ย่อมดีกว่ามาก มีหน่วยงานอย่างเป็นทางการที่ผลิตเงินออกมา ไม่น้อยเกินไปแล้วก็ไม่มากจนเกินไป”
แต่ก็มีบางคนที่มองอนาคตของบิตคอยน์ และเงินดิจิทัลต่างออกไป เช่น “เจนนิเฟอร์ ซู สกอตต์” นักลงทุนจากเรเดียน พาร์ตเนอร์ส แต่เจนนิเฟอร์ก็ยอมรับว่า บิตคอยน์ เป็น “เงินที่แย่เอามาก ๆ” และเป็นวิธีการชำระหนี้ที่ “เลวร้ายมาก” เหมือนกัน กระนั้นในแง่ของความเป็น “ทรัพย์สิน” บิตคอยน์ก็ถือว่าได้ผลดี
ทรรศนะของเจนนิเฟอร์ในอนาคต บิตคอยน์จะไม่เข้ามาแทนที่สกุลเงินใด ๆ หรือแทนที่เงินอย่างที่มีอยู่ “แต่จะเข้าไปแทนที่ทองคำ” ต่างหาก
นีล ไรเมอร์ นักลงทุนจากอินเด็กซ์ เวนเจอร์ส ยอมรับเช่นกันว่าในทางทฤษฎีแล้ว มีโอกาสเหมือนกันที่มูลค่าของบิตคอยน์จะพังพาบลงเป็นศูนย์ แต่ก็ชี้ให้เห็นในเวลาเดียวกันว่า ในช่วงที่ผ่านมา บิตคอยน์รุดหน้ามาได้ไกลมากทีเดียว
ในทรรศนะของไรเมอร์ บิตคอยน์ ถือเป็น “นวัตกรรม” ที่ลึกซึ้งและกล้าหาญมากที่สุดเท่าที่ตนเคยพบเห็นมาในชีวิต ปัญหาก็คือ บิตคอยน์ ในเวลานี้ ดูเหมือนจะสูญเสียวัตถุประสงค์ดั้งเดิมไปแล้ว และกลายเป็นเพียง “สินค้า” เพื่อการเก็งกำไรตัวหนึ่งเท่านั้น !
อนาคต “เงินดิจิทัล” มุมมองจาก “ดาวอส”
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 13:46 น.
“เงินดิจิทัล” หรือ คริปโตเคอเรนซี พยายามอย่างยิ่งที่จะแทรกตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” ที่เมืองท่องเที่ยวเลื่องชื่อของสวิตเซอร์แลนด์อย่างดาวอส ถึงขนาด “เอเทอเรียม” (ethereum) สกุลเงินดิจิทัล ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก “บิตคอยน์”
ลงทุนไปเปิดบูท เพื่อโปรโมตและเรียกร้องความสนใจจากกลุ่มนักวิชาการ นักการเงิน นักธุรกิจและนักการเมืองระดับโลกถึงที่นั่น ด้วยความโด่งดัง ทั้งในทางบวกและทางลบต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ไม่น่าแปลกที่เรื่องนี้กลายเป็นหนึ่งใน “คีย์ท็อปปิก” ของการประชุมหนนี้ไปด้วยอีกเรื่องหนึ่ง
หลายคนพูดถึงอนาคตของ “เงินดิจิทัล” ทั้งในระยะใกล้และในระยะยาว คนแรกที่พูดถึงประเด็นนี้ก็คือ “โรเบิร์ต ชิลเลอร์” ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2013 (ร่วมกับยูยีน ฟามา และลาร์ส ปีเตอร์ เฮนเซน)
ชิลเลอร์ ยอมรับว่า บิตคอยน์ และคริปโตเคอเรนซี อื่น ๆ เป็นแนวคิดที่ชาญฉลาด “จริง ๆ” และแสดงความประทับใจกับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์ (ซึ่งเหมือนกับเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆ) แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่สบายใจสูงถึงระดับ “เป็นกังวล” ต่อการที่บิตคอยน์ หรือเงินดิจิทัลอื่น แพร่หลายออกไปในสภาพของ “เงิน”
ชิลเลอร์ไม่ถือว่า บิตคอยน์ เป็นเงินสกุลหนึ่ง และแสดงความคิดเห็นในเชิง “เตือน” นักลงทุนเรื่อยมาว่า มูลค่าของมันสามารถ “พังพาบ” ลงเมื่อใดก็ได้ ทั้งมองบิตคอยน์ คริปโตเคอเรนซีเจ้าแรกว่าเป็นเพียง “การทดลอง” ประการหนึ่งที่ “น่าสนใจ” แต่ไม่มีวันเป็น “คุณลักษณะถาวรในชีวิตของคนเรา” เหมือนอย่างที่เงินสกุลต่าง ๆ เป็น
“เราให้ความสำคัญกับตัวบิตคอยน์มากจนเกินไป ทั้ง ๆ ที่ควรให้ความสำคัญครอบคลุมไปถึง “บล็อกเชน” (เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์) มากกว่า” ชิลเลอร์ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะ “บล็อกเชน” สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นได้หลากหลายมาก
นอกเหนือจากนักวิชาการ นักการเมืองระดับโลกที่แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ออกมาล้วนเป็นกังวลกับดิจิทัลเคอร์เรนซีทั้งสิ้น “เทเรซา เมย์” บอกกับผู้สื่อข่าวที่ดาวอส ว่าเป็นห่วงว่าบรรดาอาชญากรทั้งหลายจะอาศัยคุณสมบัติที่สามารถถ่ายโอนซึ่งกันและกัน โดยปราศจากตัวกลางหรือหน่วยงานทางการตรวจสอบ มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับอาชญากรรมของตัวเอง
“สตีเฟน มนูชิน” รัฐมนตรีคลังอเมริกัน เป็นอีกคนที่ตั้งข้อสังเกตเชิงลบต่อการใช้เงินดิจิทัลในทางที่ผิด และยอมรับว่าใส่ใจในเรื่องนี้เป็นอันดับหนึ่ง
“ผมโฟกัสไปที่เรื่องนี้เป็นลำดับแรก นั่นคือทำให้แน่ใจว่า ไม่ว่ามันจะถือเป็นเงินหรือเป็นบิตคอยน์ หรือเป็นอะไรก็ตามที มันจะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อการดำเนินการที่ผิดกฎหมายใด ๆ” และสรุปแนวทางสำหรับสหรัฐอเมริกาในอนาคตอันใกล้ไว้ว่า “สหรัฐ จำต้องมีกฎ เช่น สมมุติว่า คุณเป็น บิตคอยน์ วอลเลต คุณก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ควบคุมในทำนองเดียวกับธนาคาร”
“เซซิเลีย สคิงส์ลีย์” รองผู้ว่าการ ริกส์แบงก์ ธนาคารกลางของสวีเดน ยืนยันว่าเท่าที่เห็นมา บิตคอยน์ผันผวนมากเกินกว่าที่จะถูกจัดชั้นให้เป็นเงินสกุลหนึ่ง ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอต่อการเรียกได้ว่าเป็นเงิน
“มันไม่สามารถรักษามูลค่าให้คงที่ได้เอามาก ๆ ผันผวนสูงมาก ทั้งยังไม่สามารถเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน เพราะคุณไม่สามารถซื้อของจากร้านของชำด้วยบิตคอยน์ได้ ไม่รับเงินเดือนเป็นบิตคอยน์ และแน่นอน จ่ายภาษีด้วยบิตคอยน์ก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน” สคิงส์ลีย์บอกว่า การที่บิตคอยน์เป็นสิ่งดึงดูดใจสำหรับบางประเทศนั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะความไม่ไว้วางใจที่มีต่อทางการ แต่ถึงอย่างนั้น บิตคอยน์ก็ถือว่าเป็น “ทางออกที่แย่” ด้วยเหตุที่มูลค่าผันผวนมากเกินไปนั่นเอง
“ในระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง การมีทางการที่ไว้วางใจได้ย่อมดีกว่ามาก มีหน่วยงานอย่างเป็นทางการที่ผลิตเงินออกมา ไม่น้อยเกินไปแล้วก็ไม่มากจนเกินไป”
แต่ก็มีบางคนที่มองอนาคตของบิตคอยน์ และเงินดิจิทัลต่างออกไป เช่น “เจนนิเฟอร์ ซู สกอตต์” นักลงทุนจากเรเดียน พาร์ตเนอร์ส แต่เจนนิเฟอร์ก็ยอมรับว่า บิตคอยน์ เป็น “เงินที่แย่เอามาก ๆ” และเป็นวิธีการชำระหนี้ที่ “เลวร้ายมาก” เหมือนกัน กระนั้นในแง่ของความเป็น “ทรัพย์สิน” บิตคอยน์ก็ถือว่าได้ผลดี
ทรรศนะของเจนนิเฟอร์ในอนาคต บิตคอยน์จะไม่เข้ามาแทนที่สกุลเงินใด ๆ หรือแทนที่เงินอย่างที่มีอยู่ “แต่จะเข้าไปแทนที่ทองคำ” ต่างหาก
นีล ไรเมอร์ นักลงทุนจากอินเด็กซ์ เวนเจอร์ส ยอมรับเช่นกันว่าในทางทฤษฎีแล้ว มีโอกาสเหมือนกันที่มูลค่าของบิตคอยน์จะพังพาบลงเป็นศูนย์ แต่ก็ชี้ให้เห็นในเวลาเดียวกันว่า ในช่วงที่ผ่านมา บิตคอยน์รุดหน้ามาได้ไกลมากทีเดียว
ในทรรศนะของไรเมอร์ บิตคอยน์ ถือเป็น “นวัตกรรม” ที่ลึกซึ้งและกล้าหาญมากที่สุดเท่าที่ตนเคยพบเห็นมาในชีวิต ปัญหาก็คือ บิตคอยน์ ในเวลานี้ ดูเหมือนจะสูญเสียวัตถุประสงค์ดั้งเดิมไปแล้ว และกลายเป็นเพียง “สินค้า” เพื่อการเก็งกำไรตัวหนึ่งเท่านั้น !