MoneyTalk@SET14Jul2018
ช่วงที่ 1 “เจาะลึกหุ้นเด่น”
1. คุณ สุกฤตย์ สุรบถโสภณ / CEO IRPC
2. คุณ ณรงค์ ทัศนนิพันธ์ / CEO SEAFCO
3. คุณ วิบูลย์ กรมดิษฐ์ / Director AMATA
4. ดร.ฤทธี กิจพิพิธ / CEO SCN
อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ดำเนินรายการ
ธุรกิจที่ดำเนินการ
SEAFCO
ทำธุรกิจเสาเข็มมีประสบการณ์กว่า 40 ปี
เสาเข็มมี 2 ประเภท คือเสาเข็มตอก กับเสาเข็มเจาะ
บริษัททำเฉพาะเสาเข็มเจาะ คือส่งคนไปเจาะที่ทำเสาเข็มที่หน้างาน ไม่ได้ผลิตเสาเข็มไปตอก
ธุรกิจเสาเข็มเป็นธุรกิจต้นน้ำของงานก่อสร้าง
เคยมีประสบการณ์ในอดีตช่วงก่อนวิกฤติที่งานก่อสร้างเสาเข็มต้นทางเริ่มหายไป
จะรับรู้ได้ก่อน บริษัทที่ทำกลางน้ำอย่างเช่นการสร้างตึก
ลูกค้าของบริษัท เป็นภาคเอกชน เช่น อสังหาริมทรัพย์,โรงแรม, ศูนย์การค้า, โรงพยาบาล
ตอนนี้มีงาน One Bangkok บน ถ.พระราม 4 รับงาน 3 เฟส มูลค่า 1.3 พันล้าน
นอกจากเสาเข็ม ยังมีทำกำแพงกันดิน (diaphragm wall)
เช่น งานรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งขุดดินแบบปกติไม่ได้ ต้องทำกำแพงชนิดพิเศษ
มีงานกำลังดำเนินการที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.6 พันล้าน
โดยรับงานจากผู้รับเหมาหลักต่ออีกที ไม่ได้รับตรงจากภาครัฐ
งานต่างประเทศมีที่ประเทศเมียนมาร์
โดยในอดีตเคยรับงานที่สิงคโปร์แต่ไม่สำเร็จ โดนดึงคนไปหมดเพราะค่าแรงถูกกว่า
ป้จจัยงานภาครัฐถ้ามีการเร่งสร้าง infrastructure ออกมา โดยเฉพาะ EEC
เช่น ที่จะรวมสนามบิน อู่ตะเภา,สุวรรณภูมิ,ดอนเมือง ก็ต้องมีงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามมาอีกอีก
งานในกรุงเทพ รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลให้มีคอนโด,มีศูนย์การค้าเพิ่มขึ้นตามมา
ในอดีตก่อนเกิด IMF เคยมีการเจาะเข็มแล้วไม่ก่อสร้างต่อ
รวมถึงเจาะแล้วไม่จ่ายเงินก็มี แม้เป็นต้นน้ำก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน
ถ้ามองย้อนจากอดีต กำไรบริษัทอาจมีมากบ้างน้อยมาก แต่ก็มีมูลค่าเติบโตขึ้นมา
การแข่งขันในตลาด ช่วง 15 ปีแรกทำอยู่เจ้าเดียว เป็นอาชีพเหนื่อย ตากแดดตากฝน
ปัจจุบันมีคู่แข่งราว 20 เจ้า มีเจ้าใหญ่ๆราว 4 เจ้า
ไม่เคยประเมินว่าเป็นเจ้าขนาดไหนในตลาด แต่มีคนบอกว่า seafco เป็นอันดับ 1
การเข้าตลาดของคู่แข่ง มองว่ายากถ้าจะให้เป็นขนาดใหญ่แบบ seafco ซึ่งปัจจุบันมี backlog ราว 4 พันล้าน
AMATA
มองว่า FDI หรือเม็ดเงินต่างชาติยังมีผลกับประเทศไทยเยอะ
ธุรกิจของอมตะ มี 2 นิคมหลักในไทย คือ อมตะซิตี้(ชลบุรี) , อมตะซิตี้(ระยอง)
และมีนิคมที่ต่างประเทศในเวียดนาม 3 แห่ง อมตะซิตี้(ลองทัน), (เบียนหัว), (ฮาลอง)
ทำนิคมแบบทั้ง freehold และ leasehold (คือขายขาดและให้เช่า)
EEC ที่จะออกมา 50+49 คือให้เช่า และต้องเป็นธุรกิจเฉพาะ S-Curve/New S Curve
อยู่ในจังหวัดที่รัฐบาลประกาศเป็น EEC จะได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมเป็นพิเศษ
ซึ่งอมตะโชคดีที่อยู่ในพื้นที่ EEC และอยู่ใน 3 จังหวัดที่ภาครัฐบาลประกาศแผน EEC พอดี
(3 จังหวัดที่รัฐบาลประกาศ ชลบุรี,ระยอง,ฉะเชิงเทรา)
ลูกค้าหลักอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์
โดยตอนนี้กำลังสนใจลูกค้ากลุ่มที่เกี่ยวกับเครื่องบิน, Aerospace
ที่เราได้ยินบ่อยๆเรื่อง Repair, Maintenance, Overhaul
ที่ดินของเราจากระยองไปอู่ตะเภาไม่ไกลนักนั่นเป็นอนาคต
แต่ในระยะสั้นที่บริเวณสุวรรณภูมิห่าง 25 นาที อมตะซิตี้ชลบุรี ที่ซึ่งไม่ไกลนักเป็นโอกาส
นอกจากนี้กลุ่มที่สนใจได้แก่
Food for future, Robotics - ปัจจุบัน manpower ค่อนข้างแพง,
EV(Electric Vehical) - น่าสนใจ กำลังเริ่ม BMW, Benz ทำแล้ว
โดยผู้ที่ประกาศชัดเจนคือ Nissan ว่าเป็น hub of EV เมืองไทย
โดย Nissan มีที่ดินเดิมอยู่แล้ว แต่เขาปรับปรุงเพิ่ม ซึ่งถ้าเขาต้องการให้เราช่วยเหลือเพิ่มเติมก็จะเป็นโอกาส
และยังมีกลุ่ม Smart city, E-Commerce logistic
มองว่าถ้าโฟกัส 5-6 อย่างนีให้ดี น่าจะดึงเม็ดเงินลงทุนได้มาก
สิ่งสำคัญในการทำนิคมฯ ที่ได้เรียนรู้มี 3 เรื่องคือ 1 Location 2 Location 3 Location
อยู่ใกล้เมือง อยู่ใกล้ infrastructure อยู่ใกล้กับพรรคพวกที่จะส่งของให้เขา
พรบ. EEC ที่รัฐบาลอนุมัติตั้งแต่ปี 59 เป็นแม่บท เชื่อว่าต้องมีการแก้ไขอีกเยอะ
ยังไม่ได้ใช้งานได้ 100% ทันที แต่มองว่าเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องแล้วที่ผลักดัน EEC
และชะลอเรื่อง special economic zone เพราะมันอยู่รอบๆรัฐบาลต้องเตรียม infrastructure มากกว่านี้อีกเยอะ
IRPC
บริษัทมีโรงกลั่น และปิโตรเคมีในที่เดียวกัน ธุรกิจเติบโตไปกับเศรษฐกิจโลก
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงอย่างแรง เหลือ 30-40 เหรียญต่อบารเรล
หลายโรงกลั่นขาดทุน จนปีถัดมาเชื้อเพลิงถูกลงทำให้มีการบริโภคมากขึ้น
จึงฟื้นกลับขึ้นมาดีต่อเนื่องกัน 3 ปี ปีล่าสุดการบริโภคน้ำมันเติบโต 4-5%
ธรรมชาติธุรกิจเป็น cycle รอบละ 8-10 ปี
เพราะเงินลงทุนในการสร้างโรงกลั่น/ปิโตรเคมมี ใช้เงินมาก และใช้เวลาก่อสร้าง 4-5 ปี
ซึ่งมักจะตัดสินใจสร้างตอนช่วงกำไรดี และสร้างพร้อมกันหลายบริษัท
พอสร้างเสร็จพร้อมกันหมดก็ supply ล้น จึงเป็น cycle
ปัจจุบันมองว่าปิโตรเคมียังเป็นขาขึ้น น่าจะอยู่ช่วงปีที่ 3-4 และไปพีคที่ปี 2020
โรงกลั่นในประเทศไทยมี 6 โรง
ลำดับ 1 TOP กำลังผลิต 3 แสนบารเรลต่อวัน
ลำดับ 2 PTTGC 2.8 แสนบารเรลต่อวัน
ลำดับ 3 IRPC 2.5 แสนบารเรลต่อวัน
โดย IRPC เป็นโรงกลั่นครบวงจรที่ใช้วัตถุดิบจกน้ำมันดิบอย่างเดียว
แล้วนำไปใช้กับปิโตรเคมี และนำไปทำเม็ดพลาสติคต่อ ในขณะที่ PTTGC บางส่วนจะใช้แก๊สธรรมชาติ
เม็ดพลาสติค มีแบ่งเป็น 2 สาย คือ ชนิดเบา โอเลฟิน(PE,PP) และชนิดหนัก สายเบนซีน,สไตรีน
ซึ่ง IRPC สามารถผลิตเม็ดพลาสติคได้ทั้ง 2 สาย
โดยปกติบริษัทที่ทำโรงกลั่นจะทำปิโตรเคมี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
IRPC เดิมเป็นโรงปิโตรเคมี ของทีพีไอ แล้วมาเพิ่มโรงกลั่นในภายหลัง
โดยรายได้จากโรงกลั่น 70% ปิโตรเคมี 30%
แต่เป็นกำไรจาก โรงกลั่น 30% ปิโตรเคมี 70%
ภาพกำลังการผลิตในประเทศไทย
โรงกลั่นน้ำมัน มีกำลังผลิตเหลือ มีการส่งออก 10-20%
แต่ปิโตรเคมีขายในประเทศ 50% ส่งออก 50%
ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดซื้อขายน้ำมันใหญ่ที่สุดในภูมิภาค จึงมีราคาอ้างอิงทุกวัน
ซึ่งปิโตรเคมีก็เหมือนกัน แต่ประกาศราคาอ้างอิงสัปดาห์ละครั้ง
โครงการเพิ่มกำลังการผลิต
โรงกลั่นมีแผนเพิ่มจาก 2.1 เป็น 2.3 แสนบารเรลต่อวัน เพิ่มไม่มาก
แต่ปิโตรเคมีมีแผนเพิ่มจาก 1.5 ล้านตัน เพิ่มเติมอีก 1.3 ล้านตัน
โดยผลิตสารพาราไซลีน (ที่ใช้ทำ PET, PE) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ demand เติบโต 4-5% ต่อปี
เป็นการจะปรับจากส่วนที่ผลิตน้ำมันเบนซีน ซึ่งกังวลว่าจะใช้น้อยลงในอนาคต
เรื่องการลดการใช้พลาสติคมองว่าเป็นส่วนน้อย
เทียบกับปริมาณพลาสติคทั้งหมดที่ใช้ เครื่องซักผ้า,ตู้เย็น,รถยนต์ ก็ใช้เป็นพลาสติค
เรื่องถุงพลาสติคถ้าเราใช้เท่าที่จำเป็น เอามาใช้ซ้ำ ทิ้งให้เป็นที่เป็นทางก็ไม่น่ามีปัญหา
ภาพใหญ่ธุรกิจเป็น cycle แต่ IRPC ก็มีแผนลงทุนให้รายได้มั่นคงขึ้น
เช่น โครงการทำ M&A กับบริษัท downstream
และมีการลงทุนโรงไฟฟ้า irpc clean power 240 MW ถือหุ้น 50%
เป็นแก๊สโคเจน (แก๊สธรรมชาติผลิตเข้าเทอร์ไบน์แล้วเอาความร้อน>>ผลิตไอน้ำ >>ปั่นไฟฟ้า)
SCN
ภาพธุรกิจของเรามี core value เป็นนวัตกรรมด้านพลังงาน
เช่น เราสามารถผลิตอุปกรณ์สร้างสถานี NGV, CNG รวมไปถึง LNG
ทำให้ได้รับ market share เบอร์ 1 ในการสร้างสถานี NGV ในเอเชียแปซิฟิค
รวมถึงโรงบรรจุแก๊ส ที่ไว้ขนส่งแก๊สแรงดันสูง เพราะทำอยู่เจ้าเดียว
ธุรกิจของบริษัทมีแบ่งเป็นหลายกลุ่ม
สถานี NGV มีหลายประเภท มีโรงบรรจุแก๊ส(Mother station) โดยมีสถานีรับแก๊ส(Daughter station)
และมีสถานีที่อยู่บนท่อแก๊ส พวกนิคม,โรงงาน,สถานี NGV ที่สร้างบนท่อแก๊สสามารถใช้งานได้เลย
ซึ่งของเราสามารถช่วยตอบโจทย์โรงงานที่ไม่มี facility ของ NGV
เราได้สัมปทานไม่กี่รายที่ขนส่งให้กับ ปตท.กรณีที่Breakdown
และบริษัทมีปั๊มแก๊สของตัวเอง ปัจจุบันมี 8 แห่ง เป้าหมายปลายปี 13 แห่ง
โรงบรรจุแก๊สอุตสาหกรรมเรามี 2 ที่ ปทุมธานี,สระบุรี ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตมาก
ไตรมาสที่ผ่านมายอดการส่ง NGV โต 10% QoQ ขณะที่ปีก่อนตกลง
โดยมองว่า NGV เป็นตัวทดแทนน้ำมันที่ราคาเพิ่มขึ้นมา
กลุ่มพลังงาน, การทำโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์
ขยายไปที่ไบโอแก๊ส ล่าสุดไปสร้างสถานี CBG (แก๊สขี้หมู) ทำเป็นแก๊สอัด ขนส่งเข้าโรงงานได้
มีโรงไฟฟ้า 6.25 MW โดยต้นปีที่ผ่านมาเข้าไปซื้อหุ้นบริษัท GEP
ซึงมีโรงไฟฟ้าใหญ่สุดในเมียนมาร์ 220 MW เป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์
จากที่เราได้เห็นประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า การซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ไม่ได้สวยงามมากนัก
แต่การลงทุนของเราไม่ได้เป็นแบบนั้น เราเข้าไปพัฒนาโรงไฟฟ้าในมีความจำเป็นต้องการใช้งาน
โรงไฟฟ้าอยู่ที่ มินบู จ.Magway ซึ่งเป็นจุดไกลปืนเที่ยง ใกล้เนปิดอว์
ที่เมียนมาร์ไฟฟ้าดับบ่อย เพราะ supply มีแค่ 30-40% ของความต้องการ
เรื่องถ่านหินในพม่ายังมีปัญหาอยู่ ซึ่งรัฐบาลพยายามทำโรงไฟฟ้า LNG และเดินท่อ
สิ่งที่รัฐบาลต้องการให้เกิดคือทำให้ไฟฟ้าเพียงพอในเนปิดอร์
นอกจากนี้มองว่ามีผลตอบแทน irr มากกว่า 10% และมีการประกันอะไรต่างๆที่เหมาะสม
(ของเดิมมี license และ secure ที่ดินได้ กำลังเริ่ม operate มี 4 phase 1 50 + 50+50+70)
จะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ต้นปี 2019 เป็นต้นไป
กลุ่มด้าน Automotive เราเป็นผู้ขายรถหลายประเภท
เดิมเป็นเจ้าของ show room มิตซูบิชิตั้งแต่ก่อนเข้าตลาด
และล่าสุดมีการขายรถเมล์ให้กับ ขสมก 489 คัน โดยร่วมทุนกับ cho
มูลค่ารถNGVทั้งหมด 1800 ล้าน มูลค่าซ่อมบำรุง 10 ปี 2300 ล้าน
ปัจจุบันส่งมอบไปแล้ว 100 คัน แต่มีคดีฟ้องร้องเกิดกับขสมก.
ศาลจึงมีการระงับส่งมอบรถ ตอนนี้คดีไม่ได้ตัดสิน
ไม่ว่าผลการตัดสินออกมาอย่างไรก็ไม่ได้กระทบกับเรา
เพราะเป็นเรื่องของทาง ขสมก. และผู้ที่ฟ้องร้อง
ส่วนรถอีก 389 คันอยู่ที่ไทยแล้ว ซึ่งSupplier จีนเป็นผู้แบกต้นทุน
เนื่องจากสัญญาเราจะจ่ายเงินเมื่อส่งมอบรถแล้ว
สำหรับธุรกิจนี้มองว่ายังสามารถเติบโตได้ในอนาคต เมื่อก่อนก็เคยขายรถให้กับตำรวจ หรืองานอื่น
อย่างรถเมล์ TOR เดิมเมื่อ 10 ปีก่อน ต้องการใช้ 4 พันคัน ยังเป็นสิ่งที่หวังไว้ในอนาคต
กลุ่มธุรกิจขนส่ง มีบริษัทสแกนอินเตอร์โลจิสติกส์ อยู่ทีระยอง
ขนส่ง automative part และเป็น sub contract ขนส่งให้กับบริษัทอื่น
ผลประกอบการล่าสุด และความท้าทายในธุรกิจ
SEAFCO
ไตรมาส 1 ไม่ดีเท่าไร เราย้ายเครื่องมือในปลายไตรมาส 1 เพื่อเตรียมทำงานใหญ่
โดยไตรมาส 2 ได้เดินเต็มที่ต่อไปน่าจะต้องดีขึ้น
ปีก่อน รายได้ 1.9 พันล้านบาท ประกาศว่าจะโต 30% จึงคาดว่าเป็น 2.5 พันล้านบาท
ช่วงนี้จะชะลอรับงานอื่น ต้องรู้ว่า capacity เราได้เท่าไร ต้องไม่โลภ
ข้อจำกัดหลายอย่าง 1) เครื่องมือ 2) คนต้อง training
เพราะคนเอามาใช้ทำงานใหญ่ เป็นงานเร่ง กำลัง train คน และปลายปีเอาไปรับงานเพิ่ม
งานคงค้าง 4 พันล้าน ต้องเสร็จในปีครึ่ง
งานต้นน้ำโดยทั่วไป backlog อยู่ไม่นาน
เช่น 1 ตึก มูลค่า พันล้าน มูลค่าเข็ม 7% 70 ล้าน ทำ 2 เดือนก็จบแล้ว
แต่ตึกทำ 2 ปี ซึ่งทำพร้อมกันทีละหลายงาน ตอนนี้ทำงานใหญ่ ต้องเอาคนจากหลายๆงานรวมรุมทำ 1 งาน
แรงงานเป็นต่างประเทศ 70% ในการทำ MOU ใช้เวลา 3-4 เดือน กว่าจะได้ครบ
ในเมียนมาร์ที่เราไปทำก็มีงาน แต่ไม่ได้ทำจำนวนมากเหมือนในไทย คล้ายไทยในยุคหลายสิบปีก่อน ที่ไม่ค่อยมีตึกสูงๆ
GPM ปีก่อน 17% เทียบในอุตสาหกรรมก่อสร้างถือว่าสูง ส่วน NPM ราว 10% บวก/ลบ
ถ้าอยากจะปรับปรุงให้มากกว่านี้ ก็ต้องขยายงานให้มากขึ้น และหาตลาดสำรอง
เช่น ไปเมียนมาร์ ซึ่งได้ margin ใกล้เคียงกับไทย สถานการณ์ตอนนี้ก็แนวโน้มยังดี
ในบริษัทมีลูกเป็นกรรมการ 3 คนและมีลูกน้องที่เป็นมืออาชีพ
เวลากองทุนมาประชุมที่บริษัทก็มักถูกถามว่าใครเป็น successor ก็พามาให้ดู
ถัดมาก็มักโดนถามว่าอายุเท่าไร (คุณฌรงค์ตอบว่า อายุ 70 แต่อายุใจ 17)
การแข่งขันต้องมีมากขึ้น เป็นตัวชี้ให้เห็นว่ามีการเติบโตกว่าเก่ามาก
เมื่อก่อนทำงานคนเดียวยังหางานไม่พอเลี้ยงตัว แต่พอประเทศพัฒนาก็ต้องมีเจ้าใหม่ๆเข้ามาทำ
บริษัทรับเหมาถ้าจะทำเสาเข็มเองก็ได้ แต่ตึกทำ 2 ปี เสาเข็มทำ 2 เดือน
ปัญหาคือทำเสาเสร็จแล้วเอาคนไปทำอะไรต่อ บริษัทที่เป็นมืออาชีพจึงมักจ้างบริษัทที่ทำงานเสาเข็มโดยเฉพาะ
ในอดีตเคย JV กับต่างประเทศ ได้รู้ว่าอย่าไปพึ่งกับตลาดเดียว ต้องมีทางเลือกอื่นด้วย
AMATA
ผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ออกมาเป็น low season ครึ่งปีแรกความหวือหวามีน้อย
ถ้าผลประกอบการไตรมาส 1-2 มีเยอะ แสดงว่าเป็นการถ่ายจากไตรมาส 3-4 ปีก่อนมา
การซื้อขายที่ดินมูลค่าเป็นพันล้านปกติใช้เวลาหลายเดือน ต้องมีการเปรียบเทียบพิสูจน์ต่างๆก่อน
รายได้อมตะมี 2 ส่วน ขายที่ดิน และรายได้จากการให้บริการ
เช่น ไฟฟ้า,น้ำประปา, เทเลคอม, operating&maintenance, training
เมื่อก่อนเคยตั้งเป้าสัดส่วน 80 : 20 แต่ตอนนี้สัดส่วนเป็น 53:47
ซึ่งอนาคตมองว่ามันต้องกลับกัน เป็น 20:80
ตัวที่ได้รายได้หลักของ recurring คือ ไฟฟ้า
เป็นพลังงานแก๊ส,โคเจน ซึ่งเราขาย 64% ให้ EGAT, 36% ขายตรงให้กับโรงงาน
โดยเราต้องทำให้ถูกกว่า PEA(การไฟฟ้าภูมิภาค)
และต้องมี steam มีโรงงานผลิตยาง บริดสโตน,โยโก,สูมิโตโม้ ก็ขายให้กับโรงงานเหล่านี้ได้
ภาคตะวันออกน้ำเยอะ สิ่งที่ขาดคือการบริหารจัดการ
อมตะใช้น้ำปีหนึ่งไม่กี่สิบล้านคิว แต่การทิ้งน้ำลงทะเลเป็นพันล้านคิว อมตะจึงทำที่จัดเก็บและดึงน้ำมาใช้
ในภาคตะวันออกอีสวอเตอร์ก็มีขายน้ำมาให้ แต่คุณสมบัติใช้งานน้ำอาจไม่ตรงกับที่เราต้องการ ก็มาจัดการเอง
นอกจากนี้ recycle น้ำ เอามารดน้ำต้นไม้, เอาไป cooling โรงไฟฟ้า,
นอกจากนี้ NG เรามีร่วมกับ อมตะเอ็นจีดี ถ้าราคาน้ำมันเยอะขึ้นเราก็จะมีรายได้ตรงนี้
และต่อไป industrial gas ทำส่งให้กับโรงเหล็ก
ความท้าทายของเราคือคนไทยไม่รักกัน หลายปีก่อนบ้านเมืองเราไม่เจริญไปไหน
ทำให้ความเจริญไปที่ประเทศอื่น เช่น เวียดนาม
ซึ่งเชื่อว่าถ้าประเทศไทยสงบ GDP จะโต FDI จะเข้าประเทศไทย
ล่าสุด BOI บอกว่าการลงทุนในไทยไตรมาส 1-2 เทียบ yoy โต 50% แสดงให้เห็นว่าอนาคตเรายังดี
IRPC
ไตรมาส 1 กำไรราว 2.7 พันล้าน เป้าใหญ่ของเราจะไปขึ้นยอดเขาเอฟเวอรเรสต์
คือ ต้องได้ผลตอบแทนการลงทุน 14% จากเดิม 8% (Return On Invested Capital)
ซึ่งมีการจ้างที่ปรึกษาเข้ามาร่วมกำหนดเป้า
EBITDA ต้องไปสู่ 2.9 หมื่นล้าน จาก 1.7 หมื่นล้านบาท
บังเอิญ 2.9 หมื่นฟุตคือความสูงยอดเขาเอฟเวอรเรสต์พอดี 1.7 หมื่นฟุตคือ base camp
ณ ตอนนี้ 2 หมื่นล้าน Gap เหลืออีก 9 พันล้าน
มีเวลาอีก 2 ปีในการดำเนินการ ซึ่งเวลาทำ improvement ต่างๆเราทำด้านบวก
แต่ก็มีด้านลบ ตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปก็ต้องจัดการ
สิ่งที่ทำเพิ่มกำไร และลดค่าใช้จ่าย โดยเอาระบบพิเศษ,เอาBest practice เข้ามาใช้
ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพงานซ่อมบำรุง จากเดิมอยู่ที่ 30% ขณะที่ในโลกอยู่ที่ 50%
เพราะงานโรงกลั่นและปิโตรเคมีความเสี่ยงสูงมีขั้นตอนยุ่งยากก่อนทำงาน
เราต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่จนเพิ่มประสิทธิภาพเป็น 60% และใช้คนลดลง
หรือ การจัดซื้อปกติปีละ หมื่นกว่าล้าน เรา saving 10-20%
เดิมเวลาซื้อก็เลือกตัวแทนvendorในไทยให้เสนอราคาใครต่ำสุดก็เลือกเจ้านั้น
แต่ตอนนี้เป็น digital เรามี supplier ทั่วโลกส่ง order ทีเดียว 10 ราย
แล้วเลือกให้เสนอราคาทำ e-auction เป็น digital procurement
ซึ่งโครงการของเอฟเวอร์เรสต์มีกว่าพันโครงการ จึงเชื่อมั่นว่าจะไปถึงเป้าหมายได้แน่
ค่าที่ปรึกษาทำเป็นแบบ profit sharing ลงทุนราว 1 พันล้านบาท
เป้าหมายต้องการ 1 หมื่นล้านบาท/ปี
ซึ่ง investment ราว 10% ใช้ราว 1 พันล้านบาท คิดเป็น return ราว 500%
ที่ปรึกษาที่เอา best practice เข้ามา ก็ต้อง train คนให้เราด้วย
concept คือ ขึ้นไปแล้วต้องอยู่บนนั้นได้
(Getting to the Top & Staying there)
กระบวนการที่ปรับปรุง พนักงานได้รับการถ่ายทอด
จึงทำโครงการต่อเนื่องเรียก เอฟเวอร์เรสต์ฟอร์เอฟเวอร์
โดยเอากระบวนการของที่ปรึกษามาทำเอง มีเป้าหมายเพิ่มอีก 100 ล้านเหรียญ ใน 2 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้โครงการขยายกำลังผลิตปิโตรเคมี 1.3 ล้านตัน,เพิ่มสารเบนซีนอีก 3 แสนตัน
ใช้เงินลงทุน 3 หมื่นกว่าล้าน อยู่ระหว่างออกแบบเสร็จสิ้นปี,ประมูลและก่อสร้างได้ปีหน้า
เรื่องเงินลงทุนที่ผ่านมากำไรต่อเนื่อง และน่าจะมีเม็ดเงินหลังจ่ายปันผลปีละหมื่นกว่าล้านบาท
ดังนั้นจะมีเม็ดเงินเหลือ 5 หมื่นล้าน กู้ 5 หมื่นล้าน หนี้ต่อทุน 0.56
และมีอีกโครงการชื่อ Galaxy เป็นโครงการ M&A สำรวจธุรกิจที่น่าสนใจเพื่อต่อยอด
ความท้าทาย ธุรกิจเราอิงกับเศรษฐกิจโลก ถ้า trade war ไม่กระทบธุรกิจโลก เราก็น่าจะยังโตได้
SCN
ข้อดีของเราจะไม่สวิงมาก มีฐานกำไรอยู่ราว 200 ล้าน คิดเป็น 10%
จากรายได้รวมที่ 2-2.5 พันล้านบาทต่อปี
ช่วงปี 2017 ถือเป็นปีที่ไม่ดีเท่าไร งาน EPC น้อย เป็นธุรกิจที่คนอื่นทำได้ยาก
ซึ่งการสร้างสถานีปีก่อนมีน้อย และเราก็เข้าไปปรับสถานีเราเอง เป็น recurring income มากขึ้น
ตั้งแต่กลางปีเราจัดตั้งโครงสร้างบริษัทใหม่ให้หางานมากขึ้น ในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
แต่ก่อนทำแค่สถานี NGV, สถานีน้ำมัน
แต่ตอนนี้เดินท่อย่อย,เดินท่อในโรงงานอุตสาหกรรม,ทำโรงไบโอแก๊ส
ปัจจุบันมี backlog 500 ล้านแล้ว กำลังพยายามทำให้ส่วนนี้มาเติมเต็ม
i-cng เป็นการขายแก๊สธรรมชาติอัดนอกแนวท่อ ลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์เลือก
บางช่วงราคาน้ำมันถูกกว่าแก๊ส คนก็เลือกใช้น้ำมัน แต่ปีนี้น้ำมันขึ้นมา
ทำให้มีการสั่งใช้งานเพิ่มขึ้น เช่น ลูกค้ารายหนึ่งใช้ 400-450 ปรับมาใช้ 600-700
ราคาแก๊สธรรมชาติในไทยอิงราคาน้ำมันเตาสิงคโปร์ ซึ่งมันอิงมาถึงในไทย
ปกติแก๊สธรรมชาติจะถูกกว่าน้ำมันเตา แต่มีค่าขนส่ง,ค่าอัด บางช่วงจึงมีราคาสูงกว่า
เป้า i-cng ปีนี้ยอดขาย 500 ล้าน จากปีก่อน 350 ล้านบาท
ตั้งเป้าเติบโตข้างหน้าปีละ 30-40% โดยดูจากยอดขายของโรงงานที่มีและแนวโน้มความเข้าใจ i-cng ของลูกค้า
ซึ่งเราไปจับมือกับโอซาก้าแก๊ส เป็นผู้ขายหลักให้เรา ทำให้เข้าโรงงานญี่ปุ่นหลายหลายแห่งที่เราไม่เคยขายได้
นอกจากนี้พระเอกหลักปีนี้อีกอย่างคือ รถเมล์
มองสถานการณ์ว่าก่อนปลายปีนี้คำสั่งศาลที่ชะลอคาดว่าอาจมีการปลดล็อค
ถึงสัญญาที่เราทำกับขสมก. และผู้ที่ฟ้องร้องไม่ได้เกี่ยวกับของเรา
ซึ่งได้ปรึกษากฏหมาย ทุกคนให้ความเห็นว่าไม่ควรตระหนก ให้รอเวลา
สำหรับโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ซื้อหุ้นบริษัท gep มี partner 3 บริษัท (vte,ecf,scn)
จะหาธุรกิจพลังงานอื่นๆมาร่วมด้วย ซึ่งจะมีโอกาสที่ gep ใหญ่กว่า scn ได้ในอนาคต
การที่ scn เข้าไปมีบทบาท 30% scn ถือว่ามี balance sheet ดีสุดแล้ว
มีโอกาสได้ประโยชน์ทางการเงินมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีดอกเบี้ยค่อนข้างสูงและ leverage ต่ำ
คาดว่าธนาคารจะให้ดอกเบี้ยต่ำลง และให้กู้ได้สูงขึ้น ทำให้ irr สูงขึ้นอาจถึง 12%
เรื่องแก๊สธรรมชาติหมดมองว่าไม่น่ากระทบกับเรามาก โรงไฟฟ้าน่าจะได้กระทบก่อน
ปัจจัยกังวลมองเหมือนอมตะคือคนไทยไม่รักกัน
ปิดท้ายรายการ
อ.เสน่ห์ หมอเค การลงทุนมีความเสี่ยง
มีโอกาสทั้งกำไร และขาดทุน ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ
ช่วงที่ 2 “ทิศทางหุ้นไทยครึ่งปีหลัง”
1. คุณ มนตรี ศรไพศาล / MBKET
2. ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล / TRINITY
3. คุณ กวี ชูกิจเกษม / KSEC
4. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
ทิศทางหุ้นไทย 6 เดือนจากนี้ไป
ดร.วิศิษฐ์
การมองทิศทางตลาดหุ้นไทย ต้องดูหลายปัจจัย
ปัจจัยแรก การขึ้นดอกเบี้ยของ FED เป็นตัวกำหนดทิศทางเม็ดเงินโลก
เมื่อ 2-3 ปีก่อน ดอกเบี้ย 0.25% แต่ปัจจุบัน 2% และกำลังจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 4 ครั้งใน 18 เดือนข้างหน้า
คือมีโอกาสเพิ่มเป็น 3.0% (ครั้งละ 0.25%)
ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED มีผลกับเม็ดเงินของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก
สมัยแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส ธนาคารกลางต่างๆมีเม็ดเงินรวมกัน 4 ล้านล้านเหรียญ
ปัจจุบันมีเม็ดเงินรวมกัน 14-15 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งเม็ดเงินเหล่านี้ถูกนำไปซื้อหุ้นซื้อพันธบัตรสินทรัพย์ต่างๆทั่วโลก
เมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยและมีการ Normalization งบดุล จึงเกิดการดึงเม็ดเงินออกจาก emerging market
ทำให้หุ้นปรับตัวลดลง
สิ่งที่ต้องจับตาหนี้ของประเทศต่างๆ เช่น จีน หนี้เพิ่มจาก 120% GDP เป็น 240 %GDP
อีกปัจจัยที่ต้องจับตาคือ ECB ธนาคารกลางยุโรป ซึ่งจะลดขนาดการซื้อสินทรัพย์
จาก 3 หมื่นล้าน เหลือ 1.5 หมื่นล้าน และสิ้นปีจะงดการซื้อพันธบัตรและขึ้นดอกเบี้ยปีนี้
ซึ่ง ECB มีผลกับ Emerging market มากกว่า FED
ทาง ECB อาจมีการใช้มาตรการ operation twist นำเม็ดเงินที่ขายออกมาซื้อใหม่ ซึ่งช่วยเพิ่มเม็ดเงินในระบบได้
ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญคือนโยบายของธนาการกลางแต่ละประเทศจะมีผลกับเม็ดเงิน
ไตรมาส 2 ที่ผ่านมาร emerging market ให้ผลตอบแทนไม่ดี
บางตลาดค่าเงินลด 15-30% หากประเทศไหนมีหนี้ต่างประเทศเยอะ หรือหนี้ครบอายุจะถูกไถ่ถอนออก
ตัวเลขของ IIF บอกว่า ตัวเลขหนี้ใน emerging market ครบกำหนดไถ่ถอน 2.9 ล้านล้านเหรียญปี 2019
โดย 25% เป็นหนี้สกุลเงินดอลลาร์ครบกำหนดไถ่ถอน ขณะมีหนี้ครบกำหนดไถ่ถอนถึง 75%
เช่น อินโด,อาร์เจนติน่า ถ้าสกุลเงินเหล่านี้ยังอ่อน แสดงว่า flow ยังอ่อนอยู่
สำหรับประเทศไทย ข้อดีคือ นักลงทุนตปท.ถือพันธบัตรไม่มากราว 15% เทียบกับอินโดนิเซีย ที่ถืออยู่ 40%
จึงสังเกตว่าค่าเงินอินโดนิเซียค่อนข้างอ่อนลง
ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมัน ตั้งแต่สหรัฐแซงคชั่นอิหร่านทำให้น้ำมันเพิ่มเกือบ 10 เหรียญ
หุ้นกลุ่มพลังงานได้รับอาณิสงค์จากราคาที่เพิ่มเติม แต่ก็ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่ม และเร่งให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นด้วย
อย่างเช่น อินโดนิเซีย,อินเดีย เริ่มขึ้นดอกเบี้ยแล้ว คาดว่า ธ.กลางประเทศไทยคงเดอกเบี้ยจนสิ้นปี
ป้จจัยที่สาม สงครามการค้า เริ่มที่อเมริกา เพิ่มภาษี 25% สินค้า 5 หมื่นล้านเหรียญทำให้จีนตอบโต้กลับ
นอกจากนี้อเมริกามีการเพิ่มภาษีอีกขุดหนึ่ง 10% กับสินค้า 2 แสนกว่าล้านเหรียญ
ซึ่งสงครามทางการค้าจะทำให้ sentiment แย่ลง
นอกจากที่อเมริกาทำสงครามการค้ากับจีน ที่แท้ยังเป็นการทำสงครามการค้ากับประเทศอื่นด้วย
มีหลายรายงานบอกอเมริกากำลังเพิ่มภาษีรถยนต์ที่นำเข้าไปอเมริกาด้วย
จากเดิมภาษีรถยนต์ที่นำเข้าจากยุโรปจาก 2.5% เป็น 25%
ซึ่งสงครามการค้าจะทำให้ supply chain ของการลงทุนอาจลดลง
3 ปัจจัยในภาพ macro นี้เป็นสิ่งที่กดดันการลงทุน
มองในแง่ Valuation หุ้น PBV ถือว่าถูกต้นๆในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงมาทำให้ Earning yield gap(ส่วนกลับของ PE ลบปันผล)
สูงเป็นอับดับ 3 ในรอบ 6 ปี (อันดับ 1 คือสมัยวิกฤติยูโร)
อยากให้นักลงทุนมองมิติทั้ง Macro และ Valuation ประกอบกัน
คุณมนตรี
เสริมมุมการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากควาไม่แน่นอน
ตลาดโลกขึ้นกับผู้นำ สังเกตว่า โดนัลด์ ทรัมป์ สิ่งทีเราเห็นความแน่นอนได้อย่างเดียว คือ เขาเป็นคนที่ไม่แน่นอน
ต้องยอมรับว่า ความเสี่ยงปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นคือความไม่แน่นอนของนโยบายระดับโลกที่มาจากทรัมป์
แต่ธงที่เห็นว่าเดินไปได้ก็มีหลายอย่าง เช่น การกระตุ้นบริโภคภายในประเทศ ลดภาษีบริษัทจดทะเบียน
นอกจากนี้ก็มีมุมที่อยากเห็นดอกเบี้ยสูง ทยอยขึ้นดอกเบี้ย
นโยบายเหล่านี้ต้องมีจุดจบ กำแพงภาษีพยายามกีดกันการค้า
ทำให้ของที่มาจากต่างประเทศจึงแพงขึ้น คนก็หันมาใช้ของในประเทศ แต่ค่าแรงของคนอเมริกันก็แพงกว่าต่างประเทศ ซึ่งถ้าคนต้องใช้ของแพงก็จะลำบากมากขึ้น
จึงคิดว่ามันก็คงมีจุดที่จบลงได้
ดอกเบี้ยปีนี้น่าจะขึ้นมา 4 ครั้ง ถือว่ามีผลกระทบพอสมควร
ค่าเงิน พันธบัตรไทยกลายเป็นให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยอเมริกา
US ราว 3% แต่ไทย 1.8% ซึ่งถือว่าแปลก มันควรล้อไปกับระดับความเสี่ยง
ผลที่ตามมาเงินจะวิ่งไปหาแหล่งที่ดอกเบี้ยดี จึงกระทบค่าเงินบาท
จุดที่มองได้ชัด และใกล้ชิดเราคือ ค่าเงินหยวน ถ้าหยวนอ่อน บาทก็น่าจะอ่อน
ในมุมนักลงทุนต่างประเทศเวลาเล่นหุ้นก็มองค่าเงินไปด้วย ถ้าลงทุนแล้วค่าเงินแข็งก็จะได้กำไร 2 ทาง
ดังนั้นความกังวลดอลลาร์แข็ง ค่าเงิน emerging market อ่อนมีผล
จีนก็มีนโยบายด้านค่าเงิน การตั้งกำแพงภาษี ทำให้ของจากจีนแพงขึ้น
สังเกตค่าเงินบาท มีแรงขายหุ้น แรงขายบอนด์ น่าจะทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศ ลดลงไป
แต่ก็พบว่าทุนสำรองของเรายังอยู่ที่ 2.5 แสนล้าน ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จึงคิดว่าอาจมีแรงสวนเพื่อแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนไปตามหยวน
เรามีทุนสำรองเป็นอันดับที่ 12 ของโลก สะท้อนถึงความแข็งแกร่ง มากกว่าเยอรมัน,อังกฤษ,ฝรั่งเศส
ส่วนตัวคิดว่าที่ต้องจับตาดูคือ ทิศทางเงินหยวน
ปัจจัยความเสี่ยงในประเทศมองว่าเสี่ยงน้อย เทียบกับต่างประเทศ
ช่วงก่อนหน้านี้ที่หุ้นขึ้นมาเยอะ ก็เคยแนะนำให้ถือเงิน 70-80% ในพอร์ตตัวอย่าง
ตอนนี้ที่ SET 1600 มองว่าถือเงินซัก 50% น่าจะเก็บหุ้นไว้ลุ้นปลายปีถึงปีหน้า
เมื่อก่อนตอน pe 30 เท่า ผลตอบแทนราว 3% แต่ตอนนี้หุ้น pe 15 ผลตอบแทน 7%
ซึ่งดอกเบี้ย 1-2% ถือว่ายังมีช่องว่างให้ลงทุนได้
สรุปว่า pe 14-16 เท่า ถือว่ายังใช้ได้ SET อยู่ที่ 1600-1760
คุณกวี
คิดว่าครึ่งปีหลังขึ้นต่อ แต่ขึ้นไปหาวิกฤติ
ขึ้นกับกลยุทธ์เป็นนักลงทุนประเภทไหน
เคยบอกว่าปีนี้จะเห็น new high และควรลด port
เชื่อว่าจะเห็น 3 พันจุดในตลาดหุ้นไทย ในอีก 10 ปีข้างหน้า
เมื่อเทียบกับดาวโจนส์เมื่อหลายสิบปีก่อนจากหลักร้อยจุดเป็นหมื่นจุดในวันนี้
หรือตลาดหุ้นอินโดตอนต้มยำกุ้งเคย 200 จุดเท่ากัน แต่วันนี้ 3 พันจุด
ตอน High เดิมก่อนหน้าจะขึ้นไป 1789 มีโครงการ Eastern seaboard ไม่มีใครเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ
ตอนนี้มีโครงการใหม่ EEC ก็มีคนตั้งคำถามมากมายว่าจะสำเร็จไหม
ซึ่งส่วนตัวยังมีความมั่นใจในประเทศไทย
เชื่อว่ารอบนี้มีโอกาสขึ้นมาใหม่ แต่น่ากลัวตรงหุ้นขึ้นมาพร้อมกับความคิดว่าเศรษฐกิจดี ดอกเบี้ยขึ้น และความโลภ
วิกฤติมักเกิดตอนดอกเบี้ยสูง แต่ไม่รู้เกิดเมื่อไร
ประเทศไทยเทียบกับประเทศอื่นถือว่าหนี้น้อย
ถ้า FED ขึ้นดอกเบี้ยเกิน 3% ต้องระวังว่าจะมีที่ไหนทนดอกเบี้ยสูงแบบนี้ไม่ได้ ใ
ห้รู้ว่าการลงทุนในช่วงนี้มีความเสี่ยงสูง ตอนนีเราอยู่ในช่วงที่หลายประเทศพูดได้ว่าตลาดหุ้นทำ new high
สงครามการค้าเชื่อว่าถึงจุดหนึ่งก็ต้องหยุดเพราะสหรัฐจะได้รับผลกระทบเหมือนกัน
ตลาดหุ้นไทย บลจ.มีเงินสดอยู่ 12% ของสินทรัพย์ทั้งหมด ถือว่าสูงมาก
รวมถึงเงินสดภาคประชาชนก็มีสูงมาก
ตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาคนที่ net sales ตลาดหุ้นไทยคือ รายย่อย
จึงไม่กลัวว่าหุ้นลงแล้วจะไม่มีเงินรับ รายย่อยมี net sales 3 แสนล้าน
สรุปคือ ถ้ารอบนี้วิกฤติโลกเกิด แล้วเราไม่มีปัจจัยอื่นเต็มที่น่าจะลง 30%
ถ้าคิดว่า SET 1850 คือจุดสูงสุด วิกฤติเกิด SET น่าจะต่ำสุดที่ 1300 จุด
ส่วนปัจจัยในประเทศมีการลงทุน รถไฟฟ้ากำลังสร้างหลายสาย การบริโภคในประเทศโต 5% กว่า
ดร.นิเวศน์
ปกติชอบมองยาว ตลาดหุ้นขึ้นกับคนที่ชอบเข้าไปซื้อขาย
หลายปีหลังมานี้ รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลง
สมัยที่เข้าตลาดใหม่ๆ ตลาดหุ้นไทยขึ้นกับนักลงทุนต่างชาติ
ฝรั่งซื้อหุ้นขึ้นฝรั่งขายหุ้นลง ตอนนี้ถ้าไปดูที่เวียดนามก็เหมือนกัน
เมื่อก่อนนักลงทุนรายย่อยไม่มีความหมาย เงินน้อยทำอะไรไม่ได้
หลังจากฟื้นวิกฤติ รัฐบาลก็มีมาตรการให้ออมเงินส่งเสริมต่างๆ
จนกระทั่งครั้งหนึ่งตลาดหุ้นไทย 70% ซื้อขายด้วยนักลงทุนรายย่อย
แต่ 5-6 ปีหลังนี้มันเริ่มเปลี่ยนไป นักลงทุนรายย่อยเหลือ 30-40% พอๆกับฝรั่ง
รายย่อยลดลง บทบาทฝรั่งจึงมากขึ้น
ฝรั่งมองตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดอิ่มตัว ลงทุนบ้าง แต่ไม่มาก
กลุ่มที่มาแรงคือ นักลงทุนสถาบัน เพราะเงินก็เข้ามาตลาด เงินสำรองเลี้ยงชีพ,เงินกองทุนต่างๆก็เข้ามาตลาดหุ้น
มีข้อมูลย้อนหลังเมื่อ 5-6 ปีก่อน มาแสดงประกอบ (มาจากหนังสือพิมพ์)
ช่วงที่ตลาดหุ้นลง ฝรั่งขายสุทธิมาก
2556 ฝรั่ง net sales 1.9 แสนล้าน ตลาดลบ 7%
2558 ฝรั่ง net sales 1.5 แสนล้าน ตลาดลบ 4%
2561 ฝรั่ง net sales เกือบ 2 แสนล้าน ตลาดลบ 6%
ช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้น ฝรั่งซื้อ/ขายสุทธิไม่มาก
2557 ฝรั่ง net sales 3 หมื่นล้าน ตลาดขึ้น 15%
2559 ฝรั่ง net buy 7 หมื่นล้าน ตลาดขึ้น 20%
2560 ฝรั่ง net sales 2.5 หมื่นล้าน ตลาดขึ้น 14%
สรุปถ้าหากฝรั่งไม่ขายเยอะๆ หุ้นจะขึ้นได้ แต่ไม่ได้อยากลงทุนเพิ่มในไทยเท่าไร
ที่เวียดนามปีนี้หุ้นตกไป 30-40% แต่ฝรั่ง net buy เยอะมาก เพราะเป็นประเทศที่ยังเติบโตได้
แต่กองทุนไทยไม่มีทางเลือก ยังไงก็ต้องซื้อหุ้น รายย่อยไทยชอบเล่นหุ้นกำไรดีๆไม่ชอบเล่นหุ้นใหญ่
ความรู้สึกถ้าหุ้นยังซื้อไปเรื่อยๆ สำหรับสถาบันตลาดหุ้นไม่แพง ดีกว่าไปฝากเงิน ยังซื้อไปเรื่อยๆ
หุ้นตัวใหญ่ๆ น่าจะประคองตัวได้ โอกาสที่จะ panic ไม่มากนัก
ตกมาสักพักสถาบันก็เข้ามาเก็บ เพราะปันผล 3-4% ก็ยังดีกว่าฝากเงิน
ตลาดหุ้นกลาง-เล็ก มองว่า panic ไปเรียบร้อยแล้ว และอาจจะมีตกไปได้อีก
หุ้นเด่นครึ่งปีหลัง
ดร.วิศิษฐ์
ถ้ามอง PE ตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทน 6% ในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า
ถ้าบริษัทไหน PE ต่ำ ปันผลสูง จะ lead ตลาดรอบนี้
หุ้นที่ outperform ต้องมีปันผลระหว่างกลาง, pe ไม่แพง, อยู่ใน big cap เป็นสิ่งที่นักลงทุนสถาบันดูอยู่
Active fund หรือ นักลงทุนต่างประเทศ ดูอัตราดอกเบี้ย, อัตราแลกเปลี่ยน
Passive fund อาจต้องขายประเทศไทยบ้าง เนื่องจากจีนมีน้ำหนักใน msci มากขึ้น
กลุ่มที่ passive fund ถืออาจมีขายออกไป
เช่น ptt, scc มีเงินปันผลค่อนข้างดี ซึ่งราคาก็ปรับตัวลงมามาก
ถ้าดู earning ลดลงมา q1 ตก แต่ตอน q2 นักวิเคราะห์โดยรวม มองกำไรอาจใกล้เคียงปีก่อน
และเป็นจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว แต่ growth ไม่สูงมาก เป็นการซื้อหวังปันผล
pbv ใกล้เคียงสมัยปี 2008 จึงถือว่า valuation ไม่แพง
คุณมนตรี
มอง theme
ความเสี่ยงอยู่ต่างประเทศเยอะ ถ้าราคาสินค้าเกษตรไม่ดี แสดงว่าเศรษฐกิจจะแย่
ไปดูข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2533 มีประชากรมีเกษตรกร 20 ล้านคน
ปัจจุบัน 11.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน จาก 63% เหลือ30%
ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ บอกว่ามีปริมาณเกษตรกรเพิ่มขึ้น
สาเหตุเพราะน้ำดี ฝนดี น้ำเหนือเขื่อนมั่นคง
กลุ่มที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในประเทศ ค้าปลีก BJC, CPALL ธนาคาร – BBL, KKP
รับเหมาก่อสร้าง, หุ้นปันผลดี – EGCO,KKP
คุณกวี
หุ้น theme Big cap ที่มีปันผล 4% ขึ้นไป สูงกว่าผลตอบแทนหุ้นกู้
downside จะต่ำ นอกจากกำไรจะลดลง
เช่น PTT, PTTEP Yield 4% PE 10 , BBL Yield 4% PE ต่ำ10, LH Yield 7%, SCC 4%
หุ้น theme ในประเทศน่าจะดี เช่น CPN, ORI มองว่า PE ปีหน้า 7 เท่า
ครึ่งปีหลังจะมีการเปิดโครงการมากเป็นประวัติการณ์
ไตรมาสละ แสนล้าน เริ่มกลับมาเห็นคอนโดขายหมด
นักลงทุนต่างประเทศก็มีเข้ามาซื้อคอนโดบ้านเรา ถือว่าถูก,
STEC เชื่อว่างานก่อสร้าง.งานประมูลข้างหน้าน่าจะเป็น sentiment ที่ดี
อ.นิเวศน์
เลือกหุ้นบิ๊กจิ๋ว แนะนำว่าซื้อหุ้นตัวใหญ่ที่มี market cap เล็ก
ที่ผ่านมาเห็นว่ามีหุ้นตัวเล็ก ที่ market cap ใหญ่ มันไม่สมเหตุสมผล สุดท้ายก๊เจ๊งหมด
ต้องมองกลับกันหุ้นที่ยอดขายใหญ่ๆ แบงค์ยอดขายเป็นแสนล้าน แต่ market cap นิดเดียว
ถึงวันหนึ่งคนจะเห็นว่ามันมีความมั่นคงจ่ายปันผลดี
ปิดท้ายรายการ
อ.ไพบูลย์ นักวิเคราะห์นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเหตุและผล ตามวิชาการมีถูกมีผิดได้
กำไรเป็นของเรา ขาดทุนเป็นของเรา ต้องคิดและตัดสินใจเอง
ขอบพระคุณ อ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ พี่หมอเค และทีมงาน Moneytalk ทุกท่านที่จัดงานให้ความรู้อย่างต่อเนื่องครับ
ขอบคุณผู้บริหารและนักวิเคราะห์ทุกท่านที่มาให้ข้อมูลกับนักลงทุนครับ
Money talk@SET ครั้งต่อไป อาทิตย์ 26 ส.ค. เริ่ม 13.30-17.30 น. เปิดจองเสาร์ 18 ส.ค.
หัวข้อ 1 เปิดใจ กลต. – คุณรพี (เลขา กลต.) สัมภาษณ์โดย อ.ไพบูลย์,อ.นิเวศฯ
หัวข้อ 2 กองทุนธรรมภิบาล – คุณวรวรรณ, ดร.สมจินต์ สัมภาษณ์โดย หมอเค,อ.เสน่ห์
หัวข้อ 3 ตอบปัญหาคาใจเรื่องหุ้น – คุณธันวา,ดร.นิเวศน์,คุณโจ (ไม่มีรุมหลังงาน ให้รุมในงานแทน)