ทิศทางของ SET ไทย จะไปทางไหน เราจะดูอย่างไร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
ทิศทางของ SET ไทย จะไปทางไหน เราจะดูอย่างไร
โพสต์ที่ 1
ช่วงนี้ตลาดผันผวนบ่อย นักลงทุนมักมีคำถามกันเยอะครับว่า SET มันจะไปทางไหนต่อ จะเด้งไปที่เท่าไหร่ หรือ มันจะลงต่อไปเท่านั้น เท่านี้ ตามศาสตร์ และหลักการในแนวทางของแต่ละคน
ในกรณีของนักลงทุนแบบพื้นฐาน ผมเชื่อว่าหากเราจะคาดเดาทิศทางตลาดของ SET ว่าในอนาคตจะไปทิศทางไหน เราควรจะต้องดูว่า ปัจจัย อะไรบ้าง ที่จะผลักดันให้ SET มันขึ้นหรือลง ซึ่งดูตามทฤษฎี มันก็มีอยู่ 2 ปัจจัยที่สำคัญคือ
1. ผลกำไรของบริษัท (EPS) จากแนวความคิดที่ว่า ราคาจะขึ้นหรือลงในระยะยาวแล้วขึ้นอยู่กับผลประกอบการณ์ของบริษัท
2. ความคาดหวังของตลาด ซึ่งจะแสดงผ่านตัวเลข PE ของตลาด PE ยิ่งสูง ราคาตลาดโดยรวมก็จะสูงด้วย เช่นกัน
ทีนี้ ผมลองเอา สถิติ ของ SET (https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html) มา plot กราฟ ดูเล่นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ขอเอามาแชร์กันครับ
1. Earning Per Share (EPS) ผลประกอบการณ์ของบริษัทต่างๆ ใน SET ผมลองคิด EPS ของ SET เทียบกับ SET index ดูว่ามันเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
ผลลัพธ์ที่ออกมา จะเห็นได้ว่า SET index ของเรา ค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกันกับ ผลประกอบการณ์ EPS ของตลาด คือEPS ขึ้น SET index ก็มีแนวโน้มขึ้นด้วย เช่นเดียวกันถ้า EPS ลง SET ก็มีโอกาสลงด้วย
ดังนั้น หากเราคาดการณ์ ผลกำไรรวมของบริษัทใน SET ทั้งหมดได้ ก็พอจะเดาแนวโน้ม คร่าวๆ ได้ (ซึ่งตรงนี้ผมว่า ลองไปหา ตาม broker research house ต่างๆ ว่า เค้าคาดการณ์ EPS ของ SET ไว้กันอย่างไรบ้าง ลำพัง นักลงทุนรายย่อยอย่างเรา คงเหนื่อยไม่น้อยถ้าจะ cover ให้หมด แต่ลองดูว่าโบรกเกอร์แต่ละเจ้าเค้ามีการประเมิณไว้เท่าไหร่ และมีที่มาของตัวเลขนั้นอย่างไร)
2. PE ของตลาด
ข้อน่าสังเกต เราเห็นได้ว่า ก่อน ปี 2008 ที่เป็นปีวิกฤติซับพาร์ม SET มี PE ที่ค่อนข้างต่ำ คือราวๆ 10 เท่าต้นๆ และหลังปีวิกฤติ PE ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น จนถึงระดับ 16-18 เท่าในปีหลังๆ ก็เป็นอีก แรงปัจจัย ที่ผลักดันให้หุ้นไทย เพิ่มสูงขึ้น เสริมเพิ่มเติมจากปัจจัย เรื่อง EPS ในข้อ 1 ข้างต้น คือ PE ตลาดมันปรับขึ้นช่วยดันให้ SET เพิ่มขึ้นได้
เข้าใจว่า เม็ดเงินที่อัดฉีดเข้ามาจาก การทำ QE จากประเทศมหาอำนาจต่างๆ ไหลเข้ามามากมาย หลังปี 2008 ซึ่งทำให้ ดอกเบี้ยทั่วโลก ลงมาต่ำเตี้ย ทำให้การลงทุนในหุ้นมีความน่าสนใจ มากขึ้นแทนที่จะเอาเงินไป ซื้อ Bond หรือ ฝากประจำ ที่ได้ดอกเบี้ย ต่ำๆ เป็นต้น จึงทำให้เม็ดเงินไหลสู่ตลาดหุ้นดัน PE ของตลาดให้สูงขึ้น
ที่นี่ผมลองเปรียบเทียบ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10ปี (สมมติว่าเป็น risk free rate) เทียบกับ PE ของ SET ดังรูป
จากรูป ผมแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ
1. ก่อนปี 2008 Thai gov’t bond (10 y) เฉลี่ย 4.5% PE หุ้นไทย ประมาณ 11 เท่า
2. ปี 2008 – 2013 Thai gov’t bond (10 y) เฉลี่ย 3.6% PE หุ้นไทย ประมาณ 14 เท่า
3. ปี 2014 – 2017 Thai gov’t bond (10 y) เฉลี่ย 2.6% PE หุ้นไทย ประมาณ 17 เท่า
จากข้อมูล ดูไป ดูมา ตัวเลข สองตัวนี้ มันก็ค่อนข้างน่าจะเกี่ยวสัมพันธ์กันครับ ยิ่งผลตอบแทนรัฐบาล 10 ปีลงไปเท่าไหร่ ดูเหมือน PE ของ SET เราก็จะปรับขึ้น โดยประมาณ ดอกลด 1% PE ปรับขึ้นไปอีก 3 เท่าของกำไร
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องระวังเพราะ หลายๆ ประเทศก็จะเลิก ลด พวก QE กันแล้วหล่ะ จึงมีแนวโน้มว่า ดอกเบี้ยพันธบัตร อาจจะมีการกลับทิศเป็นขาขึ้น PE หุ้นไทยจะยึดระดับนี้ได้นานแค่ไหน ก็ต้องติดตามดูกัน
ดังนั้น ในการ”เดา” ว่าทิศทาง SET น่าไปในแนวไหน ผมว่า เราดูปัจจัยหลักๆ พวกนี้
เช่น ถ้าเราเชื่อว่า EPS หุ้นไทยจะเติบโตไปได้ ประมาณ มากกว่า การเติบโตของ GDP หน่อยๆ คืออันนี้ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่จะดันดัชนีให้ขึ้นได้
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าอาจจะมีปัจจัยเรื่องการลด การเลิก QE ซึ่งถ้าทำให้ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรขึ้น แล้ว PE ตลาดก็อาจจะต้องถูกปรับลด ลงมาหน่อย ตามสัดส่วนเป็นต้น
จริงๆ แล้ว นักลงทุนรายย่อยอย่าง เราๆ ที่เลือกลงทุนหุ้นรายตัวอยู่แล้ว EPS รวมตลาดคงไม่เกี่ยวเท่าไหร่ แต่ Sentiment เรื่องระดับ PE ของตลาด ผมว่า น่าจะเกี่ยวข้องพอตัว ดังนั้นผมว่าตอนเราทำ valuation ในอนาคต เราต้องเผื่อ PE ว่าอาจจะลดลงเอาไว้ รองรับ ความเสี่ยงดอกเบี้ยขึ้น ด้วยก็น่าจะทำให้การประเมิณมูลค่ากิจการของเรา ปลอดภัยขึ้นเยอะนะครับ
ในกรณีของนักลงทุนแบบพื้นฐาน ผมเชื่อว่าหากเราจะคาดเดาทิศทางตลาดของ SET ว่าในอนาคตจะไปทิศทางไหน เราควรจะต้องดูว่า ปัจจัย อะไรบ้าง ที่จะผลักดันให้ SET มันขึ้นหรือลง ซึ่งดูตามทฤษฎี มันก็มีอยู่ 2 ปัจจัยที่สำคัญคือ
1. ผลกำไรของบริษัท (EPS) จากแนวความคิดที่ว่า ราคาจะขึ้นหรือลงในระยะยาวแล้วขึ้นอยู่กับผลประกอบการณ์ของบริษัท
2. ความคาดหวังของตลาด ซึ่งจะแสดงผ่านตัวเลข PE ของตลาด PE ยิ่งสูง ราคาตลาดโดยรวมก็จะสูงด้วย เช่นกัน
ทีนี้ ผมลองเอา สถิติ ของ SET (https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html) มา plot กราฟ ดูเล่นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ขอเอามาแชร์กันครับ
1. Earning Per Share (EPS) ผลประกอบการณ์ของบริษัทต่างๆ ใน SET ผมลองคิด EPS ของ SET เทียบกับ SET index ดูว่ามันเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
ผลลัพธ์ที่ออกมา จะเห็นได้ว่า SET index ของเรา ค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกันกับ ผลประกอบการณ์ EPS ของตลาด คือEPS ขึ้น SET index ก็มีแนวโน้มขึ้นด้วย เช่นเดียวกันถ้า EPS ลง SET ก็มีโอกาสลงด้วย
ดังนั้น หากเราคาดการณ์ ผลกำไรรวมของบริษัทใน SET ทั้งหมดได้ ก็พอจะเดาแนวโน้ม คร่าวๆ ได้ (ซึ่งตรงนี้ผมว่า ลองไปหา ตาม broker research house ต่างๆ ว่า เค้าคาดการณ์ EPS ของ SET ไว้กันอย่างไรบ้าง ลำพัง นักลงทุนรายย่อยอย่างเรา คงเหนื่อยไม่น้อยถ้าจะ cover ให้หมด แต่ลองดูว่าโบรกเกอร์แต่ละเจ้าเค้ามีการประเมิณไว้เท่าไหร่ และมีที่มาของตัวเลขนั้นอย่างไร)
2. PE ของตลาด
ข้อน่าสังเกต เราเห็นได้ว่า ก่อน ปี 2008 ที่เป็นปีวิกฤติซับพาร์ม SET มี PE ที่ค่อนข้างต่ำ คือราวๆ 10 เท่าต้นๆ และหลังปีวิกฤติ PE ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น จนถึงระดับ 16-18 เท่าในปีหลังๆ ก็เป็นอีก แรงปัจจัย ที่ผลักดันให้หุ้นไทย เพิ่มสูงขึ้น เสริมเพิ่มเติมจากปัจจัย เรื่อง EPS ในข้อ 1 ข้างต้น คือ PE ตลาดมันปรับขึ้นช่วยดันให้ SET เพิ่มขึ้นได้
เข้าใจว่า เม็ดเงินที่อัดฉีดเข้ามาจาก การทำ QE จากประเทศมหาอำนาจต่างๆ ไหลเข้ามามากมาย หลังปี 2008 ซึ่งทำให้ ดอกเบี้ยทั่วโลก ลงมาต่ำเตี้ย ทำให้การลงทุนในหุ้นมีความน่าสนใจ มากขึ้นแทนที่จะเอาเงินไป ซื้อ Bond หรือ ฝากประจำ ที่ได้ดอกเบี้ย ต่ำๆ เป็นต้น จึงทำให้เม็ดเงินไหลสู่ตลาดหุ้นดัน PE ของตลาดให้สูงขึ้น
ที่นี่ผมลองเปรียบเทียบ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10ปี (สมมติว่าเป็น risk free rate) เทียบกับ PE ของ SET ดังรูป
จากรูป ผมแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ
1. ก่อนปี 2008 Thai gov’t bond (10 y) เฉลี่ย 4.5% PE หุ้นไทย ประมาณ 11 เท่า
2. ปี 2008 – 2013 Thai gov’t bond (10 y) เฉลี่ย 3.6% PE หุ้นไทย ประมาณ 14 เท่า
3. ปี 2014 – 2017 Thai gov’t bond (10 y) เฉลี่ย 2.6% PE หุ้นไทย ประมาณ 17 เท่า
จากข้อมูล ดูไป ดูมา ตัวเลข สองตัวนี้ มันก็ค่อนข้างน่าจะเกี่ยวสัมพันธ์กันครับ ยิ่งผลตอบแทนรัฐบาล 10 ปีลงไปเท่าไหร่ ดูเหมือน PE ของ SET เราก็จะปรับขึ้น โดยประมาณ ดอกลด 1% PE ปรับขึ้นไปอีก 3 เท่าของกำไร
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องระวังเพราะ หลายๆ ประเทศก็จะเลิก ลด พวก QE กันแล้วหล่ะ จึงมีแนวโน้มว่า ดอกเบี้ยพันธบัตร อาจจะมีการกลับทิศเป็นขาขึ้น PE หุ้นไทยจะยึดระดับนี้ได้นานแค่ไหน ก็ต้องติดตามดูกัน
ดังนั้น ในการ”เดา” ว่าทิศทาง SET น่าไปในแนวไหน ผมว่า เราดูปัจจัยหลักๆ พวกนี้
เช่น ถ้าเราเชื่อว่า EPS หุ้นไทยจะเติบโตไปได้ ประมาณ มากกว่า การเติบโตของ GDP หน่อยๆ คืออันนี้ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่จะดันดัชนีให้ขึ้นได้
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าอาจจะมีปัจจัยเรื่องการลด การเลิก QE ซึ่งถ้าทำให้ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรขึ้น แล้ว PE ตลาดก็อาจจะต้องถูกปรับลด ลงมาหน่อย ตามสัดส่วนเป็นต้น
จริงๆ แล้ว นักลงทุนรายย่อยอย่าง เราๆ ที่เลือกลงทุนหุ้นรายตัวอยู่แล้ว EPS รวมตลาดคงไม่เกี่ยวเท่าไหร่ แต่ Sentiment เรื่องระดับ PE ของตลาด ผมว่า น่าจะเกี่ยวข้องพอตัว ดังนั้นผมว่าตอนเราทำ valuation ในอนาคต เราต้องเผื่อ PE ว่าอาจจะลดลงเอาไว้ รองรับ ความเสี่ยงดอกเบี้ยขึ้น ด้วยก็น่าจะทำให้การประเมิณมูลค่ากิจการของเรา ปลอดภัยขึ้นเยอะนะครับ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting