Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 121

โพสต์

ห่างหายไปนาน ไม่ได้เขียนลงใน Blockนี้เพราะช่วงท่ีผ่านมาไปเขียนAGM2561ซะ
ส่วนใหญ่ เลยแวะเข้ามาเขียนในนี้บ้าง จะลองเขียนreviewหนังสือการลงทุนบ้าง

ช่วงสงกรานต์ส่วนใหญ่ก็ได้ไปเที่ยวห้าง ทานข้าวกับครอบครัว และ อีกกิจกรรม
คืออ่านหนังสือที่ซื้อมาในช่วงสัปดาห์หนังสือ
ก่อนอื่นต้องหาเล่มที่บางๆจะได้อ่านจบโดยใช้เวลาไม่มาก

หนังสือของคุณวิบูลย์เป็นเป้าหมายแรก เป็นหนังสือล่าสุดที่ออกมาโดยนสพ WingMedia
โดยไปซื้อในวันสุดท้ายของงานสัปดาห์หนังสือพอดี ไม่ได้เจอคุณวิบูลย์เพราะวันนั้น
ติดงานสังสรรค์วีไอพอดี ไม่เป็นไรเดี๋ยวไปขอลายเซ๊นต์ในงานMoneytalkอาทิตย์ที่จะถึงนี้ก็ได้
แต่ยังได้เจอคุณประภาคารและภรรยาซึ่งเป็นเจ้าของWingMediaด้วย

หนังสือลงทุนเปลี่ยนชีวิตเล่มนี้แตกต่างจากเล่มแรกที่คุณวิบูลย์เขียนร่วมกับคุณมนตรีมาก
เพราะเล่มแรกๆจะเป็นเนื้อหาวิชาการค่อนข้างมาก เช่นหลักการวีไอ วิธีการหามูลค่าหุ้นหลายๆวิธี

ส่วนเล่มนี้เหมือนกับหนังกำลังภายในสูงสุดคืนสู่สามัญ กลับมาสู่โลกความเป็นจริงของนักลงทุน
เป็นหนังสือที่อ่านง่าย เหมาะกับมือใหม่ในการลงทุนมาก

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น5ภาค
1.เคล็บลับเซียนหุ้น
2.รายได้ไม่ง้อมรดก
3.ลงทุนเปลี่ยนชีวิต
4.อาหารสมองของนักลงทุน
5.ข้อคิดส่งท้าย

ถ้าใครติดตามผลงานหรือฟังคุณวิบูลย์พูดในงานสัมมนาMoneytalk จะคุ้นเคยกับเนื้อหาได้เร็ว
เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางด้านการเงิน ผมแนะนำให้อ่านภาคที่สองก่อน
เพราะเป็นภาคที่ใครก็ได้สามารถเก็บเงินหนึ่งล้านบาทได้ถึงไม่ใช่ทายาทเศรษฐีก็ตาม
ถือเป็นด่านแรกก่อนการลงทุน เพราะ เราต้องมีเงินเพื่อนำไปลงทุน
ซึ่งปัจจัยหนึ่งในสามของการประสบความสำเร็จในการลงทุน
ส่วนอีกสองปัจจัย ได้แก่ เวลา และ ความรู้ ส่วนความรู้หาอ่านได้จากภาคที่สี่

หลังจากนั้นก็อ่านภาคที่สาม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจว่าคนกินเงินเดือนหรือแม้แต่เป็นแรงงานก็สามารถทำ
เงินล้านได้ ถึงแม้เงินเดือนไม่เยอะ เพราะเคล็ดลับสำคัญคือ การกำหนดเป้าหมาย ทำงานเก็บเงิน และการเอาเงิน
ไปต่อยอด นั่นเอง

ต่อมาก็เริ่มศึกษาความรู้ได้จากหนังสือที่คุณวิบูลย์แนะนำทั้ง10เล่มในภาคที่ีสี่
ส่วนภาคที่หนึ่ง ก็สามารถเริ่มอ่านได้ เพราะจะเริ่มมีคำถามหลังจากได้อ่านหนังสือของภาคที่สี่มาแล้ว ตัวอย่างเช่น
ตลาดหุ้นไปทางไหน ติดหุ้นทำอย่างไร พร้อมกับ เสริมหลักการลงทุนแบบแนววีไอจากบัฟเฟตต์ หรือ ปีเตอร์ ลินซ์

ถ้าประสบความสำเร็จในการลงทุนมาบ้างอย่าลืมอ่านภาค5ด้วยนะครับ เป็นบทสรุปของ ลงทุนเปลี่ยนชีวิต
การลงทุน หรือ การทำงาน ไม่ใช่สิ่งสุดท้ายของชีวิต ปีเตอร์ ลินซ์ ก็เจอเรื่องแบบนี้จนท้ายสุดก็กลับมาดูแลครอบครัว

สุดท้าย ต้องอ่านเนื้อหาฉบับเต็มของคุณวิบูลย์ได้ตามแผงหนังสือทั่วไป เช่น SE-ED เป็นต้น
ราคาหนังสือพอๆกับกาแฟร้านดังแก้วเดียวเท่านั้น
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 122

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP11 QHPF AGM Meeting

AGM QHPF 30 Apr 18 9.00 ที่คิวเฮ้าส์ ลุมพินี ชั้น 4

กองทุนอสังหาริมทรัพย์กองแรกที่จัดประชุมประจำปี จัดก่อนกลต กำหนดให้ทุกกองอสังหาเริ่มจัดในปีหน้า
เป็นหนึ่งในห้ากองทุนอสังหาที่บริหารโดย บลจ LH จำกัด คือ QHPF หรือ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ ซึ่งทุกกองทุนที่บริหารโดย บลจ LH จ่ายปันผลทุก2เดือน คนที่ลงทุนในกองนี้ส่วนใหญ่จะเกษียณจากงานได้รอรับปันผลจากกองทุน

กองทุน QHPF เริ่มต้นโครงการโดยมีเงินทุน 7,863 ลบ ตอนนี้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 9,456 ลบ เพราะ
กองทุนสามารถสร้างรายได้ ได้มากกว่าที่คาดไว้ตอนต้น โดยประกอบไปด้วย ตึก 3 แห่งคือ
1.QH เพลินจิต อายุโครงการเหลือ 19 ปี Occupancy 97%
2.QH ลุมพินี อายุโครงการเหลือ 17 ปี Occupancy 99%
3.โครงการอาคารให้เช่า เวฟ เพลส อายุโครงการเหลือ 12 ปี Occupancy 100%
Occupancy ทั้งโครงการเท่ากับ 98% ราคาค่าเช่าเฉลี่ย 783.18 บาทต่อตรม
อาคารสำนักงาน 1,2 สัญญาเช่าประมาณ 3 ปี แล้วต่อใหม่ สามารถขึ้นค่าเช่าได้
ส่วนเวฟ เพลส สัญญาเช่า 5-10 ปี ถึงจะขึ้นเช่าในสัญญาใหม่ได้
ปีที่แล้วมีการrenovate ทั้งสามตึกใช้งบไป 27 ลบ
เงินปันผลได้จ่าย 7.xx% สูงกว่ากองอสังหาในตลาด 6.2%

สาเหตุที่ไม่แปลงเป็นREITsเหมือนหลายกองเมื่อปีที่แล้วเพราะ
ยังไม่มีแผนเพิ่มสินทรัพย์ และ สิทธิประโยชน์เดิมของproperty fund ส่งผลดีต่อผู้ถือหน่วยมากกว่า
เพราะไม่ต้องเสียภาษีสำหรับการดำเนินการ

ค่าตรวจสอบบัญชีปี 2561 เพิ่มขึ้น 2% = 816,000 ลบ เพราะ
1. ต้องมีการทำสรุปบัญชีเพื่อประชุมกับผู้ถือหน่วย
2.ค่าแรงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2555 แต่ทางบลจขอไม่ให้ขึ้นตอนนั้น ปีที่แล้วผลประกอบการดีขึ้น จึงให้เพิ่มค่าตอบแทน
ผู้สอบบัญชีได้

มีผู้สอบถามว่า กองที่เปิดพร้อมกัน คือ SPF ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า ให้แนะนำว่าควรทำอย่างไร
ผู้บริหารตอบว่า กองSPF ให้ผลตอบแทนดี เพราะช่วงนี้การท่องเที่ยวบูมมาก ทำให้SPFได้รับค่าเช่า
และค่าธรรมเนียมการจอดเครื่องบินมาก แต่การลงทุนต้องมีการกระจายความเสี่ยง ไม่ควรลงแค่
กองเดียว ยกตัวอย่างเช่น ช่วงไข้หวัดนก รายได้ของกองนั้น หายไปเพราะไม่มีคนไปเที่ยว
ดังนั้นเราไม่ควรเน้นที่ผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวในการลงทุน ถึงแม้QHPFจะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า
แต่รายได้สม่ำเสมอมากกว่า ดังนั้นควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงไปหลายกองทุน

จบการประชุม 11.20 น.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 123

โพสต์

จัดทัพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ โดย ดร สมจินต์ ศรไพศาล CEO บลจ ทหารไทย

มีขึ้นตอนหลักๆอยู่3ข้อคือ
1.การตัดสินใจที่สำคัญ
2.ลงทุนอย่างมีหลัก
3.เครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน

อันแรกสุดคือเป้าหมาย เราจะวัดความสำเร็จเราได้อย่างไร ถ้าจะวัดความสำเร็จ การวางแผน
การเงินก็คือ เราอยากได้อะไรในชีวิต แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว
ระยะสั้น ได้แก่ วัยรุ่นตั้งเป้าอยากได้มือถือ หรือ คนเริ่มทำงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น
ระยะกลาง สำหรับวัยกลางคน มีครอบครัวแล้ว ก็วางแผนเพื่อจ่ายค่าเทอมลูก
ระยะยาว สำหรับคนที่วางแผนเกษียณ ก็วางแผนการเงินเพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จับจ่ายหลังเกษียณ หรือ การวางแผนมรดก
จากการสำรวจพบว่า แผนระยะยาว เตรียมเงินให้พอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ เป็นเรื่องที่คนคำนึงถึงเยอะสุด

คำถามแรกที่เราต้องตอบคือ ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ให้พอเกษียณ
แบ่งเป็น2คำตอบตามความยากในการคิด

อันแรก คำตอบแบบง่ายคือ เท่ากับ 20เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี โดยเงินหลังเกษียณนำไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ข้อมูลไว้ว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของคนไทยต่อครอบครัวที่ใช้หลังเกษียณ
เป็นปีที่เก็บข้อมูลล่าสุดคือปี57 เท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน
แต่ถ้ามาใช้ในปัจจุบัน เพิ่มในส่วนของเงินเฟ้อ ประมาณว่า 25,000 บาท * 12 เดือน * 20 เท่า = 6 ล้านบาท
แต่ถ้าเราไม่ได้วางแผนแต่งงาน เงินที่มีหลังเกษียณคิดต่อคน คร่าวๆอย่างน้อยก็ต้องมี 3 ล้านบาท
Standard of livingของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แต่ละคนก็ไปตั้งเป้าเองว่า
จะมีเงินหลังเกษียณเท่าไหร่ดี โดยต้องกำหนดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ และ จำนวนปีที่อยู่หลังเกษียณด้วย

การวางแผนการเกษียณ ต้องสนใจ3เรื่องได้แก่
1. เป้าหมาย
2. การจัดทัพลงทุน หรือ asset allocation
3. อัตราการออม

การวัดผลอย่างง่ายว่าเราจะอยู่ได้หลังเกษียณ ดูจาก Survival ratio หรือ อัตราส่วนความอยู่รอด ต้องมากกว่า1
ซึ่งมาจาก รายได้จากการทำงานหลังหักค่าใช้จ่าย เทียบกับค่าใช้จ่าย ต้องมากกว่า
อันนี้เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน เราต้องคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ มีตัวอย่างว่าคนที่มีเงินเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ไม่คุมค่าใช้จ่ายปล่อยให้โตตามรายได้ พบว่าอัตราการออมต่ำกว่าคนรายได้น้อยก็มี

ถ้าต้องการเกษียณแล้วเงินใช้ หรือ โชคดีถ้าทำได้ก่อน60ปี ก็ถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินต้องดูอัตราตัวใหม่คือ
Wealth Ratio >= 1 หมายถึง รายได้จากทรัพย์สิน มากกว่า รายจ่าย
ความมั่งคั่งมีเพิ่มขึ้นได้ มาจาก2ปัจจัย คือ การหารายได้เพิ่มขึ้น และ ลดรายจ่ายลง

รายได้แบ่งออกเป็น2แบบ
1.Active income ได้แก่ เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัส Incentive หรือค่าเขียนหนังสือ สอนหนังสือ ถ่ายแบบ แสดงหนัง เป็นต้น
2.Passive income เป็นรายได้จากทรัพย์สินที่เราลงทุน ได้แก่ ค่าเช่าจากรถtaxi,บ้าน หรือ คอนโด เงินปันผลจากหุ้น หรือ กองทุนรวม
ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้
ค่าใช้จ่ายได้แก่ ค่ากาแฟ บุหรี่ ค่าเหล้า หรือ ค่าอาหารที่ทานนอกบ้าน ยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน จะมีส่วนนี้มาก
หลักในการเพิ่มรายได้คือ เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อยที่เป็นประจำ เป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญ
ค่าใช้จ่ายเรื่องกาแฟ สมมติว่าวันละ 100 บาท ถ้าเราไม่ทาน 10ปีเราประหยัดไป 550,000 บาท 30 ปี ก็ 4,300,000 บาท
จากหนังสือ Happy money ได้บอกไว้ว่า การทานหรือดื่มอะไรประจำ ครั้งแรกจะประทับใจมากสุด แต่ถ้าทำประจำความรู้สึกนี้ก็หายไป
ในหนังสือได้พูดถึง ดัชนี Latte factor คือกำหนดวันที่จะมาทานLatte หรือกาแฟรสชาติอื่น เป็นวันพุธ (เหมาะกับเมืองไทย เพราะเห็นหลายร้าน
มีลดรายวันพุธด้วย) ส่วนวันอื่นๆเราก็ทานกาแฟที่บ้านหรือสำนักงานแทน
ซึ่งการทำแบบนี้เราจะได้ตื่นเต้นและประทับใจกับรสชาติกาแฟเหมือนครั้งแรกที่ทานรวมทั้งได้เงินออมเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนเรื่องการทานข้าวนอกบ้าน ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ถ้าเราอยากออมเงินเพิ่ม เราก็ตั้งเป้าต้องออมเงินไว้ที่ภรรยาหรือสามีในอัตราเดียวกันด้วย
ค่าใช้จ่ายอีกอย่างที่ค่อนข้างใหญ่คือรถยนต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของหน้าตาของเราในสังคม ถ้าเราเปลี่ยนมันเป็นหน้าที่ ที่คอยรับใช้เรา
เปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกใช้รถให้เหมาะสมกับเรา ไม่ใช้รถขนาดใหญ่เกินไป รวมถึง ระยะเวลาในการเปลี่ยนรถใหม่ จากเดิม 5 ปี เป็น 8 ปี
เราสามารถประหยัดเงินได้ 3.7 ล้านบาทในช่วง30ปี แต่ถ้าเราเอาเงินจำนวนนี้ไปลงทุนก็จะกลายเป็น 17.8 ล้านบาทเมื่อเราเกษียณอายุตอน60ปี

สรุป เป้าหมายคืออันดับแรกที่ต้องมี การเตรียมเงินให้พอใช้เพื่อการเกษียณ การประสบความสำเร็จเริ่มต้นที่วันนี้
ถ้าดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ปฏิบัติอย่างจริงจัง นำกำไรไปสร้างทรัพย์สินก่อน ค่อยเสพสุขในภายหลัง เหมือนกับคำสุภาษิต อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
หรือ คำสอนของคนจีนที่ว่า เสียวลี่ก่อยก่วย จี่งิ้งอ๊อกฉ่วย หมายถึงความขายหน้าไม่นานก็หายไปถ้าเราประหยัด เงินทองหายาก ต้องพยายามออมไว้มากๆ
โปรดติดตามตอนที่2 เร็วๆนี้
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 124

โพสต์

จัดทัพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จตอนที่2

เรามาพูดถึงปัจจัยที่สองที่มีผลต่อการจัดทัพคือ

ลงทุนอย่างมีหลัก ซึ่งมีตราสารหลายอย่างที่สามารถลงทุนได้ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ แต่ถ้าเรามีเวลาในการลงทุนที่ยาวพอ
หุ้นขนาดเล็กจะให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ก็จะมีความเสี่ยงสูงสุด ราคาขึ้น ลงตลอดเวลา
แต่ถ้าเราไม่ลงทุนก็มีความเสี่ยงเพราะ เงินเฟ้อจะกัดกร่อนเงินที่เราเก็บให้มีค่าน้อยเวลาจับจ่ายซื้อของ

มาดูผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์โดยเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 1993-2017
1.Cash return 2.43% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 158 บาท
2.Short term Bond 3.71% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 200 บาท
3.Bond 5.49% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 276 บาท
4.SET 13.05% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 1028 บาท

แต่โดยเฉลี่ยที่คนธรรมดาลงทุนในหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทน13.05%โดยเฉลี่ย เพราะแต่ละปีเราพยากรณ์
ว่าหุ้นจะขึ้น หรือ ลงเท่าไหร่ ตลาดหุ้นผันผวนตลอดเวลา บางครั้งเราขายไปปรากฏว่าหุ้นขึ้น
บางครั้งพึ่งซื้อ ก็ติดดอยพอดี หมายถึงซื้อตอนราคาสูงสุด

ผลตอบแทนจากหุ้นแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. Capital gain ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากราคาที่เราซื้อไป อย่าได้สนใจเฉพาะส่วนนี้อย่างเดียว ไม่เก็งกำไรระยะสั้น
2. Dividend เงินปันผลเฉลี่ยของหุ้นทั้งตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปี1997-2017คือ 3% แต่ถ้าคิดจากดัชนีตอนปี1997
อยู่ที่ 300จุดพบว่าได้ปันผลถึง 13%ต่อปี ถ้าเรานำเงินปันผลมาลงทุนใหม่หรือ Reinvest จะได้ 10.28 ลบ
จากเงินเริ่มต้น 1 ลบ

สรุปคือ 1. เราควรถือยาวในหุ้นที่ดีหรือกองทุนรวมหุ้นเช่น TMBSET50 ให้เราถือยาวเหมือนเป็นหุ้นส่วนของบริษัท
2.เราต้องเข้าใจถึงระยะเวลาในการถือครองด้วย Horizon effect จะบอกว่าความเสี่ยงในการถือครองมากน้อยขึ้นอยู่
กับระยะเวลาในการลงทุนว่ายาวหรือสั้นด้วย แต่ถ้าถือเป็นเวลายาวมากพอเช่น 15 ปีขึ้น โอกาสการขาดทุนจะน้อยมาก
แต่ถ้าลงทุนแค่1ปี ยังมีโอกาสขาดทุน5%

Impact of 3 Keys Investment Decisions
ปัจจัยที่ทำให้ประสบในการลงทุนมี3ปัจจัย
1. Asset allocation (จัดประเภทสินทรัพย์ในกการลงทุน) มีผล 92%
2. Securities Selection (เลือกหุ้นหรือตราสาร) มีผล 5%
3. Market Timing (จับจังหวะลงทุน) มีผล 2%

ดังนั้น เราควรเน้นเรื่องการจัดสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับเราเป็นอันดับแรก เช่น หุ้นกี่% ตราสารหนี้กี่% ตราสารทางเลือกกี่%

บทความต่อไปจะพูดถึง Purpose-Driven Asset Allocation
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 125

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP11 IMPACT Growth REITs


IMPACT Growth REITs ถือเป็นREITsที่น่าสนใจกองนึง

เหตุผลคือ
1. FreeHold มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตัวตึกและที่ดิน
2. ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ
Bangkok Land ถือในสัดส่วน 50% นอกจากนี้ยังมีบริษัทประกันชีวิต ประกันสังคมมาถือร่วม
เรียกได้ว่า มั่นใจว่าผู้บริหารต้องการทำกำไรให้กับกองทุนเพราะถือไว้ค่อนข้างมีนัยยะ
3. ที่ดินมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากรถไฟฟ้าวิ่งเข้ามาในเมืองทองธานี
4. ปันผลที่4.5% ซึ่งดูน้อยไปนิดแต่พอรับได้เนื่องจากราคาขยับมาที่ 17 บาท

สินทรัพย์ที่ถือครองแบ่งออกเป็นสี่ส่วนคือ
1.อาคารศูนย์จัดการแสดงอิมแพ็คอารีน่า พื้นที่รวม 41,810 ตรม พื้นที่ใช้สอยสุทธิ 16,294 ตรม
2.ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการในร่ม พื้นที่รวม 104,451 ตรม พื้นที่ใช้สอยสุทธิ 55,027 ตรม
3.ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรัม พื้นที่รวม 122,191 ตรม พื้นที่ใช้สอยสุทธิ 25,943 ตรม
4.อาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์ พื้นที่รวม 221,309 ตรม พื้นที่ใช้สอยสุทธิ 69,898 ตรม
รวมพื้นที่ใช้สอยสุทธิ 122,165 ตรม

กองนี้มีสินทรัพย์ 20,618.09 ลบ หนี้สินทั้งหมด 4,501.70 ลบ
แบ่งเป็นเงินกู้ 3,900 ลบ ที่เหลือหลักๆเป็น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และ รายรับล่วงหน้า
ดังนั้นสินทรัพย์สุทธิ 16,116.39 ลบ

กองทุนตอนเปิดIPO ที่ราคา 10.60 บาท โดยกองREITs ได้กู้ยืมเงินระยะเวลา5ปีจำนวนมา2วงเงิน
วงเงินแรกกู้มา 3,900 ลบเมื่อ 29 กย 57 ต่อมาเงินกู้จำนวน 1,900 ลบได้เปลี่ยนไปกู้จากบริษัทประกันชีวิต
2แห่งที่อัตราไม่เกิน MLR-1.5 %ต่อปี โดยอีก 2,000 ลบกู้ด้วยrate MLR-2.5 จากสถาบันการเงิน
โดยจะชำระคืนเงินต้นภายในปี 2562
ส่วนวงเงินที่2 จำนวน180ลบ ยังไม่ได้เบิกใช้

รายได้จากการดำเนินงาน
1.รายได้จากการใช้บริการพื้นที่ของกองทรัสต์
1.1รายได้จากการจัดงาน 82.26%
1.2รายได้ค่าตอบแทนจากบริการจัดเลี้ยง 7.57%
1.3รายได้จากค่าเช่า/พื้นที่เช่าระยะยาว 6.99%
1.4รายได้จากค่าบริการจอดรถ 2.7%
1.5รายได้จากค่าโฆษณา 0.48%
2. รายได้ดอกเบี้ย 1.67 ลบ
3. รายได้อื่นๆ 6.3 ลบ

ค่าใช้จ่ายของกองทุน

1.ต้นทุนการให้บริหารพื้นที่จากค่าสาธารณูนโภค และ ค่าทำความสะอาดและรักษาความปลอดภัย
2.ค่าใช้จ่ายการบริหาร

ค่าธรรมเนียม
1.ค่าธรรมเนียมผู้จัดการกองทรัสต์ <= 2% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม
2.ค่าธรรมเนียมผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมพื้นฐาน 5.5%ของรายได้
และค่าธรรมเนียมพิเศษ6.75%จากกำไรสุทธิ
3.ค่าธรรมเนียมทรัสตีไม่เกิน1%ของมูลค่าสินทรัพย์รวม
4.ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน และ ค่าธรรมเนียมวิชาชีพ

สิ่งที่ควรเช็คเพิ่มเติม มี 3 ข้อ

1. เงินปันผล เป็นข้อดีของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่เงินปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอ
กองนี้ค่อนข้างจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอทุก3เดือน อันนี้ผ่าน

2. สภาพคล่อง ถ้าขนาดกองทุนเล็ก ก็อาจเกิดสภาพคล่องน้อย อยากขายก็ขายไม่ได้
สามารถเช็คจากมูลค่าการซื้อขายจริงในตลาดได้
สภาพคล่อง ค่อนข้างน้อยเฉลี่ยไม่เกิน 10ลบต่อวัน อาจมีปัญหาในการซื้อและขาย

3. ราคา เป็นปัจจัยท้ายสุด
ซึ่งราคาวิ่งมาพอสมควร ถ้าสนใจ รอราคาให้ถูกกว่า ประมาณ Dividend 6%

ขอฝากข้อมูลที่ไปประชุมเมื่อ16 JULY 18 10.00 ณ Impact เมืองทองธานี
ประชุมกองอสังหา Impact Growth REITsปีนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ


1.กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 998 ลบ เป็น 1,203 ลบสำหรับงวด 1เมย 60 ถึง 31 มีค 61
เนื่องจากปีก่อนหน้าเป็นช่วงไว้อาลัยในหลวงรัชกาลที่9 ดังนั้นมีหลายงานขอเลื่อนการจัดงานออกไป
ปันผลเพิ่มขึ้นจาก 0.66 เป็น 0.78 บาทต่อหน่วยลงทุน

2.ค่าตรวจสอบบัญชีลดลงจาก2.5ลบเหลือ2.41ลบ ขอบคุณผู้บริหารและสำนักงาน EY ด้วยครับ

3.อัตราการใช้พื้นที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 46% เป็น 50% ผู้บริหารแจ้งว่าอัตราการใช้เพิ่มที่เฉลี่ยสูงสุดได้ไม่เกิน
70% โดยพยายามให้หลายงานของภาครัฐใช้ในช่วงวันธรรมดา หรือใช้ต่อเนื่องถึงวันจันทร์ เป็นการเพิ่ม
รายได้อีกทาง

4.การอำนวยความสะดวกของคนที่มาใช้บริการ โดยทางBLANDได้ขอตั้งสถานีย่อยของรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เข้ามาในเมืองทองธานีอีก2สถานีคือ ที่วงเวียน โดยImpactจะทำทางเชื่อมเข้าอาคาร
ส่วนอีกสถานีคือลานทะเลสาบ คาดว่าจะเสร็จในปี 2023

5.ประโยชน์จากศูนย์ประชุมสิริกิต์ปิดปรับปรุง ทำให้ได้ลูกค้ามาใช้บริการImpact ตอนนี้ได้มาสามราย
และกำลังเจรจาอีกหลายราย ได้ผลตอบรับดี คาดว่าบางรายอาจมาใช้พื้นที่Impactเพิ่มหลังศูนย์ประชุมสิริกิต์เสร็จ

6.เงินสดที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสอบถามว่าจะไปทำอะไรที่ได้ผลตอบแทนมากกว่านี้ ซึ่งได้แค่0.62%สำหรับจำนวนเงิน
270ลบ ผู้บริหารตอบว่า เงินส่วนนึงเก็บไว้สำหรับจ่ายปันผล อีกส่วนคือสำหรับเสริมสภาพคล่องให้บริษัท

7.ส่วนการจราจรที่ติดขัดตอนนี้รวมไปถึงตอนสร้างรถไฟฟ้าเข้าเมืองทองจะติดมากขึ้น ผู้บริหารรับเรื่องไว้พิจารณา

8.การขึ้นค่าเช่า ปกติเราสามารถขึ้นค่าเช่ากับร้านค้าตามสัญญาทุก2-3ปี ตามอัตราเงินเฟ้อ

9.การเติบโตของรายได้และกำไร ประมาณ 4-5%ต่อปี ถ้าต้องการให้โตมากกว่านี้ต้องเป็นการซื้อเพิ่มจากทางBLAND
โดยการกู้ยืมเงินหรือเพิ่มทุน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 126

โพสต์

Propose-Driven Asset Allocation คือการจัดสินทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนรวมไปถึงบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ซื้อสินทรัพย์ตามที่จัดแบ่งไว้ตั้งแต่แรก
การจัดสินทรัพย์ในการลงทุน คุณสมจินต์ใช้คำว่า การจัดทัพลงทุน
เปรียบเสมือนการจัดทีมฟุตบอล ซึ่งจะมีกองหน้า กองกลาง และ กองหลัง
โดย กองหน้า มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่ง ตราสารที่ลงได้แก้ หุ้นนั่นเอง
ส่วนกองกลาง มีไว้สร้างกระแสเงินสด หรือ รักษาอำนาจการซื้อ
ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกองหน้าได้ เพราะเราให้กองหน้าตัดสินลงทุนตามกลยุทธ
บางครั้งต้องหาเงินมาเพิ่มในช่วงที่เหมาะสมโดยย้ายจากกองกลางมา
ดังนั้นปกติกองกลางจะลงในตราสารหนี้ระยะยาว

กองหลัง มีวัตถุประสงค์ไว้คุ้มครองเงินต้น เพื่อให้มีสภาพคล่องในการจับจ่าย. ดังนั้นจึงลงในตราสารหนี้ระยะสั้น

หลักการลงทุนแบบ Propose-Driver Asset Allocation มีหลักการดังนี้

1.การลงทุนของแต่ละคนต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
โดยต้องรู้เรา คือรู้จักตัวเองว่าเหมาะสมกับการลงทุนสินทรัพย์อะไรบ้าง
รู้เขา หมายถึงรู้จักสินทรัพย์ที่จะลงทัน
รูว่าถ้าหยิบมาใช้ จะรับความเสี่ยงได้อย่างไร จับmatchให้ดี

2.เงินที่จัดหา ต้องระวังอย่าให้เงินไปกระจุกลงในอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะถ้าพลาดก็จะเสียหายเยอะ ถ้ามีหลักการที่ดี ไม่สดุดขาล้มเอง
เราก็จะประสบความสำเร็จในการลงทุน

การจัดทัพ มีแนะนำไว้ทั้งหมด 5 ชุด โดย
แบ่งอัตราส่วน ระหว่าง หุ้น : Short-term Bond
1. 15% : 85%. ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปี 5.88%
2. 30% : 70%. Return 7.78%
3. 50% : 50%. Return 9.89%
4. 70% : 30%. Return 11.53%
5. 100%: 0%. Return 13.05%

การจัดแบบแรก มีความเสี่ยงที่น้อยมาก แต่ผลตอบแทนก็น้อยตาม
ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว
การจัดแบบที่สองถึงแบบที่สี่
ขึ้นกับความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละท่าน
ส่วนการจัดแบบที่ห้า เป็นการลงทุนในหุ้นมากเกินไป ความเสี่ยงมากสุด
ไม่เหมาะกับคนธรรมดา

การลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยพอสมควร ด้วยความเสี่ยงที่รับได้ เมื่อลงทุนระยะยาว ซึ่งได้ผ่านความผันผวนระหว่างทาง
สุดท้ายจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

หลักการจัดพอร์ต
1. แนวคิด 100-อายุตัวเอง
2. Target Date Fund ของค่าย Vangaurd ซึ่งให้นำ้หนักแต่ละAssetตามอายุ ซึ่งจะถือหุ้นอยู่ระดับนึง และช่วงหลังเกษียณจะถือหุ้นเป็นจำนวนแน่นอน เช่น 30%ตลอดไป

การบ้าน ให้ผู้อ่านลองจัดพอร์ตการลงทุนที่ตัวเองรับความเสี่ยงได้
มีหุ้นอยู่กี่%

ตัวอย่างในการลงทุน Jim & Sue ซึ่งเป็นคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำ
แต่งงานแล้วJimรักภรรยามาก และเชื่อฟังแม่ยาย เมื่อเงินออกให้จ่ายให้ตัวเองเสมอ หมายถึง ก่อนการนำเงินไปใช้จ่ายก็แบ่งส่วนนึงเก็บเพื่อเกษียณ โดย บอกเจ้านายให้หักเงินเดือน10%ไปลงทุน เป็นเวลา30ปี
มีกลไกของการออมและนำเงินไปลงทุนอย่างเคร่งครัด มีวินัยทางการเงิน
ท้ายสุดก็ทำให้ทั้งคู่มั่งคั่งมีเงินใช้จ่ายยามเกษียณ

การลงทุนอัตโนมัติ ช่วยเปลี่ยนนิสัย จากใช้จ่ายก่อน และ ออมทีหลัง
และใช้กลยุทธ์ลงทุนแบบ Dollar cost average คือทยอยลงทุนทุกเดือนด้วยจำนวนเงินเท่าๆกัน ทำให้ราคาที่ซื้อเป็นราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์นั้น
ช่วงหุ้นตก ก็ซื้อไปจำนวนหน่วยมากขึ้น ช่วงหุ้นขึ้นก็ซื้อได้จำนวนหน่วยลดลงแต่พอร์ตก็ใหญ่ขึ้นเพราะหุ้นที่ซื้ออยู่ในพอร์ตมีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง
สำหรับคนที่ไม่เข้าใจเรื่องหุ้น ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นแทนได้
แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการเลือกกองทุนให้ถูกต้อง

(สำหรับคนทำงาน ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ ข้าราชการที่มี กบข
ก็สามารถใช้หลักการ ออมก่อน โดยตัดเงินเข้ากองทุนได้เลย
ส่วนคนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถซื้อกองทุน RMFซึ่งมีหลักการคล้ายกัน และ นำไปลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ได้เหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ก็นำไปลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่รายละเอียดในการลดหย่อนต่างกัน)

3D ในการออมเงิน หมายถึง Decisionในแต่ละข้อคือ
1. การตั้งเป้า
2. นำ้หนักของแต่ละสินทรัพย์ที่จะลงทุน
3. ออมเดือนละเท่าไหร่ เพื่อนำมาลงทุน แต่ต้องพยายามออมทุกเดือนให้เป็นนิสัย

KAS Model of Performance
Knowledge + Action = Success
ความรู้ที่ศึกษามายังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการปฏิบัติด้วย
ขอให้ประสบความสำเร็จทุกคนนะครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 127

โพสต์

สัมมนา Thailand’s Future Driving Prosperity
Mr. Kittipong Asawapichayon Country Manager : Software Group IBM Thailand

คุณกิติพงษ์ มาพูดถึง Disruptive technology โดย IBM ได้ศึกษา จากผู้บริหารใน112ประเทศ พบว่าความคิดเห็นที่ สำรวจ
2015,2017 ได้แตกต่างกันโดย ทิศทางของธุรกิจในอีก2-3ปีข้างหน้า ได้เปลี่ยนแปลง %ของการโฟกัสในตลาดใหม่ลดลงจาก 63% to 43%
การ Reinventor จะoutperform ในส่วนของ revenue growth , profitability และเป็นผู้นำในส่วน innovation
มีการนำ watson ของ IBM มาช่วยในธุรกิจ เช่น BH ปกติคุณหมอต้องอ่านบทความทางการแพทย์160ชมต่อสัปดาห์ถึงตามทัน
แต่สัปดาห์นึงมี168ชม ซึ่งไม่สามารถทำได้ เลยเอา Watson ซึ่งเป็นAIมาช่วยอ่านแทน นอกจากนี้ยังมีการนำใช้ในสถาบันการเงิน
รวมถึง PTTRM ซึ่งปกติเรื่องการตรวจ Letter of credit ต้องมีความละเอียด รอบคอบ แต่ตอนนี้ได้ใช้Watsonมาช่วยอ่านแทนแล้ว

ทางเพจได้เสริมในส่วนของWatsonว่ามีที่มาอย่างไร ก่อนไปต่อ
จุดกำเนิดของ IBM Watson
IBM Watson เป็นที่รู้จักครั้งแรกตอนเอาชนะการแข่งขันในรายการเกมทางโทรทัศน์ของอเมริกาที่ชื่อว่า Jeopardy! แต่อันที่จริงแล้วเบื้องหลังของการสร้าง Watson
เป็นเรื่องของการสร้างระบบถาม-ตอบคำถามที่อิงกับลักษณะภาษาตามธรรมชาติของมนุษย์ (natural language)
แม้มนุษย์จะเข้าใจคำถามหรือปัญหาเหล่านี้ แต่คอมพิวเตอร์ในเวลานั้นไม่สามารถทำได้นั่นเอง
ชัยชนะของ Watson ในเกม Jeopardy! เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Watson ในปัจจุบัน เพราะความสามารถของ Watson ถูกพัฒนาไปไกลกว่าการตอบคำถามที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเท่านั้น
แต่เป็นเรื่องขององค์ประกอบ 3 สวนคือการทำความเข้าใจ (understand) ให้เหตุผล (reason) และสามารถเรียนรู้ (learn) จากข้อมูลรวมถึงปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้
IBM เรียกคุณสมบัติเหล่านี้ของ Watson ว่าเป็น “Cognitive Computing” (ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการเรียนรู้)

Incumbents Strike back
1. Dancing with disruptive หมายถึงให้พยายามตามเทรนของdisruptive ถ้าเราทำไม่ได้ก็สามารถซื้อบริษัทที่ทำเพื่อสามารถเข้าสู่ธุรกิจนั้นอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น Walmart ซื้อ Jet เพื่อเข้าสุ่ธุรกิจใหม่ หรือ Unilever สามารถเข้าสู่ตลาดใบมีดโกนได้ เมื่อซื้อบริษัทที่ขายอุปกรณ์โกนหนวดทางonline สามารถแข่งขันกับ P&G ได้
ทั้งที่ไม่เคยมีBU นี้มาก่อน
2. Trust in the Journey ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค โดยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารว่าเข้าใจความต้องการของลูกค้าไหม ปรากฏว่าส่วนใหญ่ตอบว่าเข้าใจ แต่การสำรวจครั้งต่อมา
ปรากฏว่าผู้บริหารเข้าใจความต้องการผู้บริโภคไม่ถูกต้อง เป็นการยากที่จะเข้าใจลูกค้า การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการตรวจสอบความต้องการของลูกค้าว่าชอบอะไร
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ต้องเป็นข้อมูลล่าสุด
ตัวอย่างเช่น DHL มีโครงการที่ศึกษามากมายเช่น การเอาโดรนมาช่วยส่งของ
Muji ซึ่งเป็นบริษัทขายเสื้อผ้าที่มีdesignเรียบง่าย แต่หลังจากรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า ปรากฏว่าแบบที่เอามาจากความคิดของลูกค้าขายดีกว่าแบบที่บริษัทคิดหลายเท่า

3. Orchestrating the future เป็นเรื่องเกี่ยวกับ platform ใกล้ตัว เราควรสร้างplatformของเราเองหรือjoinกับคนอื่น ตอนนี้จะต้องพิจารณาว่าเราควรอยู่platformที่joinกับคนอื่นรวมถึงคู่แข่งด้วย
นักลงทุนจะให้คุณค่ากับบริษัทที่มีplatform8เท่าของบริษัทที่ไม่มีplatform
ตัวอย่างเช่น Bean Technology ที่ขายอุปกรณ์แปรงฟันผ่านonline สร้างสเกลจากเล็กๆไปสู่ตลาดขายประกัน โดยให้หมอฟันช่วยขาย ใครมีสุขภาพฟันดี ก็คิดเบี้ยต่ำลง
4. Innovation in motion พนักงงานระดับล่างจะรู้งานในส่วนที่ทำดี เราให้โอกาสเขาแชร์ข้อมูลกับองค์กร เพื่อปรับเปลี่ยนprocessได้ เช่น Woodsideที่ออสเตรเลีย มีพนักงานที่มีความสามารถแต่เกษียณ
มาถ่ายทอดความรู้ลงในระบบ Lesson learn ซึ่งคือwatsonเพื่อมาสอนคนรุ่นหลัง

สรุป Disruptiveจะอยู่กับเรา ซึ่งไม่สามารถหนีได้ ต้องปรับองค์กรให้อยู่รอดได้
1. ต้องเอาAIมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล
2. สร้างplatform สร้างความร่วมมือกันในองค์กร
3. เราต้องช่วยกันยกระดับความร่วมมือกันในองค์กร เพื่อพัฒนา skill , cultureให้ไปด้วยกันได้
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 128

โพสต์

MoneyTalk@SET 26 สค 61

ช่วงที่ 3 “ตอบปัญหาคาใจเรื่องหุ้น”
1. คุณ ธันวา เลาหศิริวงศ์ / อดีตนายกสมาคมไทยวีไอ
2. คุณ อนุรักษ์ บุญแสวง / อดีตนายกสมาคมไทยวีไอ
3. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

Cr: น้องบิ๊ก

มองหุ้นตอนนี้อย่างไร?
ดร.นิเวศน์ มีนัดกินข้าวกับ VI หลายกลุ่ม ทุกครั้งที่ประชุมมีการเสนอหุ้น เลือกหุ้นคนละตัวแล้วมาดูอีก 3 เดือน เป็นอย่างไร
แต่ระยะหลังไม่ค่อยมีหุ้นจะเลือก ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ทุกคนมีความมั่นใจ
คุณธันวา ค่อนข้างเห็นด้วยกับอ.นิเวศน์ ช่วงเวลาที่ดีสุดในการให้ผลตอบแทนสูง ได้ผ่านไปแล้ว
อาจจะด้วยโครงสร้างนักลงทุนที่เปลี่ยนไป,ตลาดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ส่วนตัวใช้มืออาชีพลงทุนแทน คิดว่าผลตอบแทนไม่แตกต่างกัน จึงเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน
คุณโจ มีข้อสังเกตที่ครั้งนี้มีคนมาฟังครึ่งห้อง หรือไปดูออนไลน์
ที่หาดใหญ่ก็เหมือนกัน ตอนที่ตลาดดีๆเสียงดังคึกคัก ทุกวันนี้เสียงเงียบกริบ
ผลตอบแทนหุ้นไทยปีนี้ YTD หุ้นที่บวก 170 ตัว ที่เหลือ ไม่ขาดทุนน้อยก็ขาดทุนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่จะหดหู่
ซึ่งเวลาแบบนี้เป็นเวลาที่ดี ถ้าตลาดเป็นอย่างไรให้คิดตรงกันข้าม จะเป็นคนส่วนน้อยของตลาด
ในวงการหุ้นคนส่วนน้อยถึงจะรวย ดังนั้นหุ้นลงอย่าซึมเหงาหงอย ให้อ่านเยอะๆ หุ้นขึ้นก็ให้ระมัดระวัง

สภาวะนี้ควรเอาเงินใส่ในตลาดหุ้นหรือเอาออกมาก่อนดีกว่า?
อ.นิเวศน์ เสริมที่คุณโจพูดก็ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา แต่วันนี้หุ้นยังไม่ตกหนักๆ ทุกคนหมดหวัง
แต่หุ้นไม่ลง จากต้นปี หุ้นลงแค่ 3% รวมปันผลแทบไม่ตก ตอนนี้ก็รอว่าถ้าหุ้นตกหนักก็เป็นเวลาที่จะเข้าลงทุนได้
แต่ก็ดูคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากขายหุ้น ดอกเบี้ยก็ต่ำมาก ก็ยังไม่มีอะไรที่ดีกว่าหุ้นที่ชัดเจน

คุณธันวา ส่วนตัวยังถือหุ้นมากกว่า 90% อยู่แล้ว แต่ก่อนหน้านี้มีแบ่งพอร์ตลงทุนที่เวียดนามและอเมริกา
โดยที่อเมริกาถือว่าดีกว่าประเทศไทยเยอะ

คุณโจ ขอแสดงความเห็นต่าง ว่าหุ้นที่ลงไม่มากคือหุ้นที่ ดร. ถือ แต่หุ้นที่ถือลงมาก
ที่หุ้นไม่ลงเยอะ Market Cap สูงมีผลกับ SET สูง ตัวที่ใหญ่สุดคือ PTT ซึ่งหุ้นใหญ่ๆส่วนมากขึ้นเพราะราคาน้ำมันขึ้น
ส่วนหุ้นตัวเล็กๆ ลงเยอะ บางตัวลง 50-60% ก็มี
ที่ผ่านมาทำอะไรไม่ได้แล้ว แต่ให้มองไปข้างหน้าว่า ถ้าอีก 1-2 ปีข้างหน้า กำไรเพิ่มขึ้น
แล้วราคาปัจจุบันไม่แพง มั่นใจว่าท่านจะไม่ขาดทุน เช่น ปีนี้ PTT,HMPRO ที่กำไรเติบโต ราคาหุ้นก็ยืนอยู่ได้
ส่วนตัวถือเงินสด -1% พอดีหุ้นลงเยอะเลยใช้ margin ไป 1%

อ.นิเวศน์ ถือเงินสดราว 10%

การลงทุนที่เวียดนาม ยังแนะนำเหมือนเดิมไหม?
อ.นิเวศน์ ถ้าอยากรวย มีเวลา มีความรู้ ก็ยังแนะนำให้ไป
แต่ถ้าสมัครเล่น ก็ไม่แนะนำเพราะรู้ว่ามันไม่ง่าย
ถ้าเก่งจริงแล้วอยากรวยแบบ VI เมื่อ 10 ปีก่อน ก็ยังเป็นโอกาส
แต่สภาพแวดล้อมการทำธุรกิจต่างๆไม่เหมือนกัน ทั้งการบริหารงาน วิธีการทำธุรกิจ
พวกหุ้นที่ขึ้นในเวียดนามเป็นหุ้น Popular ที่กองทุนเล่น แต่หุ้นถูกๆแบบ VI ไม่มีคนเล่น
คนรวยเวียดนามไม่ได้เล่นหุ้น ทำธุรกิจรวยได้เร็ว คนไม่อยากเล่นหุ้น

คุณธันวา มีการลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล 3 ปีแล้ว
ก็ค่อนข้างดี จน ม.ค.61 แต่หลังจากนั้นก็ลดลงมาจนปี 61 เท่าทุนแล้ว แต่รวมแล้ว3ปี ผลตอบแทน 34%

คุณโจ ลงทุนเวียดนามราว 10% เป็นการกระจายความเสี่ยง มีอยู่ช่วงที่หุ้นไทยลงหนัก
แต่เวียดนามไม่ลงเลย ก็รู้สึกว่าดีมาก เป็นข้อดีของการกระจายความเสี่ยง
ซึ่งการลงทุนที่เวียดนามยากกว่าที่คาด แต่ก็มีโอกาส เช่น ซื้อหุ้น 20% ของ BV
,หุ้นปันผล 13% ต่อเนื่อง ,หุ้นบางตัวกำไรดี pe ต่ำ ไม่จ่ายปันผล
ทุกวันนี้เข้าใจความรู้สึกว่าไปเป็นต่างชาติในตลาดเวียดนาม
ก็จะเสียเปรียบนักลงทุนเวียดนาม เหมือนที่ต่างชาติมาลงทุนในไทย


กำไรหรือขาดทุนหุ้นอยู่ทำอย่างไร?
คุณธันวา ทำใจก่อน ตัวที่ขาดทุนดูว่าอนาคตยังดีอยู่ไหม
ระยะสั้นยังไม่มีแนวโน้มว่าดีอาจต้องคิดเพิ่มเติม ว่าในตลาดปัจจุบันมีหุ้นที่น่าสนใจกว่าไหม
เปรียบเทียบจาก upside/downside บริษัทที่ถือ

คุณโจ คนที่ทนขาดทุนไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ตัว จะเอาแต่เขียวอย่างเดียวไม่ได้ หุ้นไม่ขึ้นก็ลง
ช่วงที่ตลาดไม่เอื้อเป็นธรรมดาที่จะแดงบ้าง ก็ต้องอดทน
ถ้าขายตอนดัชนี 1600-1700 เปรียบเทียบกับตอน 1800 ไปขายตอนแพงๆไม่ดีกว่าหรอ
เกิด snake bite effect จะขาดทุนจากกำไรเยอะเหลือน้อย พอขาดเสร็จก็เด้งขึ้นมา
แต่ถ้าอนาคตไม่ดี พื้นฐานเปลี่ยน ก็ควรขายไปซื้อตัวใหม่ที่ดีกว่า

อ.นิเวศน์ ขอเสริมการขายหุ้นไม่ขึ้นกับขาดทุนหรือกำไร
ประเด็นคือ เราจะเล่นเฉพาะหุ้นที่กำไร หุ้นที่ขาดทุนก็จะขายไปเรียบร้อยแล้ว
เราจะขายเพราะมันไม่ดี ไม่คุ้มกับราคาของมันแล้ว

มนต์ขลังการใช้ชื่อเมียซื้อหุ้นยังใช้ได้ไหม?
ดร.นิเวศน์ ที่จริงตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเอากลับมา พอหุ้นตกหนักก็ไม่มีเงินสด
แต่พื้นฐานหุ้นหลายตัวยังดี อยากใช้ margin ก็เลยได้ซื้อมาในชื่อตัวเอง
สมัยก่อนตอนย้ายที่ทำงาน หลักลอย และต้องมีเซ็น confirm เลยใช้ชื่อภรรยา

ถ้าเจอหุ้นที่ดีควรตีแตกควรยังทำอยู่ไหม?
คุณโจ หุ้นตีแตกหาได้ไม่ง่าย ถ้ามันดีจริง ไม่ช้าก็เร็วจะมีคนเจอหุ้นตัวนี้
ฆ่าควายอย่าเสียดายเกลือห้ามรอ ถ้าช้าต่อราคาแต่คนอื่นมาเห็น หุ้นจะวิ่งไปเร็วมาก
เคยมีหุ้นนิคมต้วหนึ่ง รู้สึกว่าดีก็ซื้อมานิดหน่อย แล้วก็ไปคุยให้พี่ที่พอร์ตใหญ่ฟังดู
วันถัดไปหุ้นขึ้น 10% แต่ก็ยังยึกยักๆ ภายใน 1 ปีขึ้นไป 2 เท่ากว่า
ถึงแม้จะมั่นใจว่าหุ้นตีแตกได้ แต่ก็อย่าประมาท สิ่งที่คิดว่าชัวร์มันอาจไม่ชัวร์
ดังนั้นจะไม่ซื้อเกิน 40% แม้จะพลาดตัวนี้ก็ยังเหลืออีก 60%

คุณธันวา ส่วนตัวคิดว่าโอกาสเจอหุ้นตีแตกยาก สำหรับคนที่ลงทุนมามีประสบการณ์ก็สนับสนุน
แต่ก็อยากให้ทบทวนดูว่า ทำไมเราเห็นแต่คนอื่นไม่เห็น

ดร.นิเวศน์ สถานการณ์แบบนี้เกิดยากมาก เพราะถ้าดีก็ขึ้นไปเยอะแล้ว
ที่เคยตีแตกหรือลงทุนเยอะ เป็นภาวะหุ้นเงียบเหงา หรือวิกฤติคนไม่สนใจหุ้น
สมัยบัฟเฟตต์ตีแตกแต่ละตัวก็เป็นหุ้นที่เกิดวิกฤติเช่น AMEX ที่มีปัญหาใหญ่โต
ต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าเป็นเหตุการณ์เฉพาะบางอย่าง
บางทีอาจพบหุ้นมีสมบัติเยอะ มี mos
แต่หากไม่ unlock ก็ตีแตกไม่ได้อยู่ดี จะเป็นหุ้นถูกอยู่อย่างนั้น

เลือกหุ้น มี mos มีพื้นฐานรองรับ ดูอย่างไร?
คุณโจ ซื้อหุ้นที่ถูกกว่าคุณภาพ ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้ ศึกษากราฟเทคนิค
ใส่ตัวเลขเข้าไปก็รู้แล้วว่าหุ้นตัวนี้ควรซื้อหรือขาย มันตอบสนองความง่ายเร็ว
VI กว่าจะรู้ว่าหุ้นนี้มีคุณภาพอย่างไร มีคุณค่าเท่าไรต้องใช้เวลา แต่ไม่ยากเกินคนทั่วไปทำได้
ส่วนตัวที่ผ่านมาเรียนก็ได้ 2 กว่าๆ มาตลอด หลักการไม่ได้ยาก แต่ทัศนคติมันยาก
ถ้าราคาลงควรขายดีไหม แสดงว่าผิดตั้งแต่ต้น แต่ VI บอก focus ที่ธุรกิจ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ใช่มูลค่าธุรกิจแต่เป็นราคาหุ้นในกระดาน เป็นวิกฤติราคาหุ้น แต่ไม่ใช่วิกฤติบริษัท
เมื่อไรที่เราแยกสองอย่างนี้ได้ นั่นคือเราผ่านแล้ว

คุณธันวา ชอบลงทุนหุ้นที่แข็งแกร่ง โอกาสได้ผลตอบแทนสูงคงไม่มาก
แต่ก็พอใจผลตอบแทน และเราเข้าใจธุรกิจ อยากเน้นว่าทฤษฎีกับปฏิบัติมีความยากต่างกัน
สิ่งที่ชี้ว่าใครผลตอบแทนดีกว่าคือคนที่ปฏิบัติได้ดีกว่า เอาชนะตัวเองในการตัดสินใจนั่นยากที่สุด
ใช้สติใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุน

อ.นิเวศน์ ต้องเริ่มจาก marketing ของสินค้า ถ้าเริ่มจากการเงิน ประมาณการณ์อะไรมันยาก
ใช้ เซนส์ว่าสินค้านี้จะเป็นอย่างไร ใช้บริการเขาได้ยิ่งดี ถ้ามันโดดเด่น ดีกว่าคนอื่น คนรุ่นใหม่ก็ใช้กันไม่ตกยุค
ราคาหุ้นถูกหรือแพงบางทีดูยาก ถ้าตลาดหุ้นไม่ได้บูมหนัก ราคาหุ้นไม่ได้หวือหวามาก
ก็ลงทุนยาวได้ ซื้อซัก 4-5 สินค้า น่าจะได้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลซัก 10% ขึ้นไป หรือถ้าโชคดีก็รวยไปเลย

ดู PE ดูหนี้ เงินสดหมุนเวียน ยังติดหุ้นทำผิดตรงไหน?
อ.นิเวศน์ ตัวเลขทางบัญชีเป็นช่วงสั้นๆ ถ้าถือระยะยาวสินค้าดีขึ้นเรื่อยๆวันหนึ่งจะปรับตัวขึ้นได้
หุ้นที่ตอนนี้ขึ้นดีๆ เป็นหุ้นที่สินค้าเป็นผู้ชนะ facebook, google บริษัทที่เป็นผู้แพ้สุดท้ายจะไปไหนไม่รอด
ไม่สามารถบอกได้ว่า pe เท่าไรเหมาะสม ถ้าซื้อในภาวะหุ้นปกติ ก็ถือไปในระยะยาว

ภาวะตลาดหุ้นตอนนี้ปกติไหม?
อ.นิเวศน์ ตลาดหุ้นปกติ แต่หุ้นบางตัวอาจผิดปกติ ถ้าผิดปกติขาลงก็เป็นโอกาสซื้อ แต่ถ้าเป็นผิดปกติขาขึ้นก็รอก่อน

อย่างการลงทุนในต่างประเทศ ก็มี e-commerce, fintech มีความเห็นอย่างไร?
คุณธันวา เราเคยได้ยินเรื่อง Disruption ได้ยินคำว่า ฟินเทค
แต่เคยได้ยินคำว่า เทคฟินไหม? ความหมายกลับกันนิดเดียว
เทคฟิน คือ บริษัท finance เอา เทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการลูกค้า
อย่างเช่น Travel card ของกรุงไทย เป็นตัวอย่าง debit card
ซึ่งใช้แลกเปลี่ยนเงินตราใช้ต่างประเทศใน Rate ใกล้เคียงกับ super rich ซึ่งจะถูกกว่าบัตรเครดิต 5-6%
เรามักจะได้ยินว่าบริษัทเทคโนโลยีจะมา disrupt แบงค์
ซึ่งสิ่งที่แบงค์ได้เปรียบคือ ฐานลูกค้า และมีผลิตภัณฑ์ด้านการเงินอยู่แล้ว

ฟินเทค คือใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเข้ามาให้บริการด้านการเงิน
เช่น Peer to peer lending platform ระหว่างคนต้องการเงิน กับคนให้กู้
ตัวอย่าง บริษัท lending club ในต่างประเทศ Market cap ก็ไม่ค่อยโต และราคาขาลงด้วยซ้ำ
ต้องประเมินว่าโมเดลความสำเร็จบริษัทนั้นเป็นไปได้แค่ไหน

E-commerce – ตัวอย่างบริษัท Costco ซึ่งคล้าย Makro บ้านเรา
มีอยู่ช่วงที่ Amazon ประกาศจะทำธุรกิจเดียวกัน หุ้นก็ตกลงมามาก แต่ทุกวันนี้ costco ทำ new high
ผู้บริหาร สามารถปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ได้หรือไม่?
ถ้าหากยังสามารถปรับตัวได้ตรงใจกับลูกค้า บริษัทนั้นก็สามารถอยู่ได้

อีกบริษัท VISA ลงทุนไม่สบายใจ มี e-wallet, การจ่ายเงินผ่านมือถือ ตอนนี้ VISA ทำ new high
สิ่งที่เขาพัฒนา หรือนำเสนอ สามารถเข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตได้หรือไม่?
Trend e-commerce, Technology, Start-up มาแน่นอน แต่บริษัทที่เราลงทุนสามารถปรับตัวได้ทันหรือไม่

อยากให้เล่าประสบการณ์ล้มเหลว?
คุณโจ ความผิดพลาดเลี่ยงไม่ได้ อย่าไปกลัว เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
ไม่มีคนที่ชนะตลอด ผิดพลาดอย่างมาก ต้องแค่สลบ แต่ไม่ตาย
ไม่งั้นคือเราบริหารไม่รอบคอบ สิ่งที่ VI มักพลาด 2 ประเด็น
1.ซื้อหุ้นแพง ปีนี้ฟองสบู่หุ้น high pe แตก หลายตัวลง 50-60%
อย่างไรก็ตามต้องดูคุณภาพ คู่กับราคาเสมอ เวลาลงไม่มีก้นเหว
2.ซื้อหุ้น pe ต่ำ แต่ขาดทุนยับเยิน มีหุ้นโรงงานน้ำตาล ซื้อ pe 10 เท่า
บริษัทขยายกำลังผลิตเท่าตัว ปีหน้าถ้าทำกำไรได้เท่าโรงเก่า pe 5 เท่า
ซื้อเต็มที่ ผ่านไป 2 ปีต้อง cut loss จาก 10 บาท เหลือ 5 บาทปลายๆ
เพราะไปซื้อหุ้นที่เป็นวัฏจักร เป็นช่วงดีเกินปกติ
หรือ หุ้นค้าเหล็ก ปีที่แล้วกำไร 20 ล้าน ถัดมาไตรมาสเดียวกำไร 100 ล้าน
มั่นใจมาก ซื้อเยอะเลย ถัดมา ไตรมาส 2 กำไร ขาดทุน 80 ล้าน ไตรมาส 3 ขาดทุนไปอีก 30 ล้านบาท
ทุกวันนี้ที่ยังขาดทุนกับหุ้นที่ดีชั่วคราว
หุ้นที่มีรายได้สม่ำเสมอ ไม่ผันผวน หุ้นพวกนี้จะสเถียร ถ้าอยู่ๆกำไรขึ้นมาให้ระวังไว้

อีกอย่าง หุ้น ipo คือหุ้นวัฏจักร มีบางช่วงกำไรมหาศาล เขาเอาหุ้นเข้าตลาด
เช่น บริษัทผลิต packaging วัตถุดิบเป็นเม็ดพลาสติก ช่วงที่ต้นทุนตกต่ำ
กำไรเพิ่มมหาศาล เข็นบริษัทเข้าตลาดหุ้น
พอเวลาผ่านไปราคาน้ำมันขึ้นมา margin ที่เคยได้สูง 15% ก็ลดเหลือ 2% หุ้นลงมหาศาล

คุณธันวา ลงทุนโฟกัสไม่กี่ตัว ข้อผิดพลาด คือโฟกัสมากไป บางตัวถือ 70% ก็มี รักหุ้นมากไป
หากมีเหตุการณ์ต้อง switch หุ้นก็จะไม่ขาย แต่มันก็เป็นธุรกิจที่เข้าใจ ยอมรับความเสี่ยงได้
แม้บางปีกำไรมากบ้างน้อยบ้าง ก็จะไม่ขาดทุน อาจไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนสูง
ถ้า balance port ได้ดีกว่านี้ ผลตอบแทนก็อาจดีกว่านี้

อ.นิเวศน์ หุ้นทุกตัวที่มีก็กำไรหมด เคยเจอที่ผิดพลาดคือขายหุ้นดีก่อนเวลา เพราะกลัวอะไรบางอย่าง
ถ้ามาคิดวันนี้ จะเข้าใจว่า ถ้าเราคิดว่ามันดี และทำดีมาหลายปี มันก็ไม่น่าจะแย่ได้เร็วๆ
บริษัทที่ดีเยี่ยมไม่ได้มีปัจจัยเดียว เหมือนคนที่เก่งทุกอย่าง ป่วยขึ้นมาแต่ไม่ตาย วันหนึ่งฟื้นขึ้นมาก็จะกลับขึ้นมาดี

ซื้อหุ้นตามเซียนดีไหม?
คุณโจ เชื่อว่าถ้าซื้อหุ้นตามเซียนหลังวันแรกที่ซื้อน่าจะได้กำไร แต่ไม่ใช่ทุกคนจะซื้อเซียนหุ้นว่าซื้อตามแล้วได้กำไร
ขึ้นกับเลือกซื้อหุ้นตามใคร ข้อจำกัดมีหลายอย่าง เช่น เซียนขายไปเมื่อไรเราก็ไม่รู้
คุณธันวา นอกจากถูกคนแล้วอาจต้องถูกตัว หลายปีที่ผ่านมาเซียนหุ้นก็ลงเยอะ
ที่ผ่านมาก็ได้คุยกับเพื่อนวงเล็กๆ พบว่าไม่ค่อยสำเร็จเท่าไร ถ้าซื้อหุ้นตามคนอื่น
อาจเพราะเราไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจมากเหมือนขาย จึงไม่กล้าซื้อเยอะ จึงไม่แตกต่างอะไรจากเดิม
ดร.นิเวศน์ ส่วนใหญ่เราไม่รู้ว่าเขาซื้อหรือขายตอนไหน อาจไม่ได้อะไร ไม่มีใครไปบอกให้คุณซื้อก่อน ขายก่อนหรอก
อีกส่วนสไตล์ของเซียนที่ไปลอก บางคนเล่นช้า เล่นเร็ว เล่นโมเมนตัม มันแล้วแต่ ถ้าไม่เข้าใจก็มีโอกาสเจ๊งสูงกว่า
อ.ไพบูลย์ เสริม ถ้าดูรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ วันนี้ ที่จริงวันปิดสมุดอาจจะอยู่ มี.ค.หลายเดือนแล้ว
ซึ่งเขาอาจจะซื้อมาตั้งนานมากแล้ว หรือบางคนไม่อยากให้ซื้อตามก็จะไม่ซื้อชื่อเดียว
ดังนั้นซื้อหุ้นตามเซียนก็คิดให้ดีก่อน บางทีเซียนก็ขาดทุนได้เหมือนกัน แต่เราอาจไม่รู้

ขอบพระคุณ อ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ พี่หมอเค
ทีมงาน Moneytalk และแขกรับเชิญ ทุกๆท่านที่ร่วมในการจัดงานสัมมนาให้ความรู้และข้อคิดในการลงทุน
วันนี้กลับถึงบ้านดึกไปหน่อย หากมีความผิดพลาดอย่างไรขออภัยไว้ที่นี้ด้วยครับ
สามารถติดตามสัมมนาฉบับเต็มได้ทางทีวี หรือทาง internet ย้อนหลังครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 129

โพสต์

สัมมนา “วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม” 16 กันยายน 2561
Experts talk: Update สถานการณ์ในตลาดหุ้นเวียดนาม โดย
1) คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ หรือ คุณเอก (ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศเวียดนาม, ประสบการณ์14 ปีในการทำงานที่เวียดนาม และ 5 ปีในตลาดหุ้นเวียดนาม)
2) คุณวิศวกร ปันยารชุน หรือ คุณแจ๊ค (นักลงทุนหุ้นคุณค่า ประสบการณ์ 9 ปีในตลาดหุ้นเวียดนาม)
พิธีกร: คุณจิตติมา ทวาเรศ
สรุปเนื้อหาโดย Amorn & Pornchanok ( N’ Pae )
Q1: ถามคุณเอก ซึ่งทำงานอยู่ที่นั่น พึ่งบินมาเมืองไทยเมื่อวานว่า เวียดนามตอนนี้เป็นอย่างไร
คุณเอก : ผมอยู่ที่เวียดนามมา14 ปี สมัยก่อน ตอนมาแรกๆเจอแต่ยุง แมลงวัน และไฟดับทุกวัน
เดี๋ยวนี้เดินในสวนสาธารณะ หายุงหรือแมลงไม่ได้สักตัว และ ไม่มีไฟดับเลย
เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ตลาดเวียดนามผันผวนมากเพราะ เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง ค่าเงิน Đong devalue แต่ตอนนี้กลับกัน เงินเฟ้อต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ ค่าเงินเค้าค่อนข้างนิ่งมา 4-5 ปีแล้ว เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย เงินเฟ้อลดลง เศรษฐกิจอีก 10-15 ปีข้างหน้าจะเป็นช่วงปีทองของเวียดนาม GDP น่าจะโตกว่านี้อีกเป็น 2-3 เท่าตัว เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่ารัฐบาลเวียดนามมาถูกทางแล้ว ดังนั้น Market cap ของตลาดหุ้นเวียดนามโตกว่านี้แน่นอน
มองเวียดนามเหมือนไทยสมัยปี 1990 ช่วงเราเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย
Fundamental ตอนนั้นของไทยเหมือนกันกับเวียดนามตอนนี้
ตอนปี 1998 ไทยเปิดเสรีทางด้าน financial market แล้วแป็ก เพราะโดนโจมตีค่าเงิน แต่เวียดนามฉลาดพอที่จะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของไทย แล้วเอาไปปรับปรุงแก้ไข
ตอนนี้ fundamental ต่างๆของเวียดนามดีกว่า เค้ากลายเป็นผู้ส่งออกมากกว่านำเข้า ผ่านไป 8 เดือนแรก (ปี 2018) เวียดนามเกินดุลการค้ากำไร $ 4,700 ล้านเหรียญถือเป็นครั้งแรกของเวียดนาม
2-3ปีก่อน ได้แค่ 2,000-3,000 ล้านเหรียญ และเดือนที่ผ่านมา (สิงหา) ส่งออก $ 23.5 Billion สูงกว่าส่งออกของไทยที่เฉลี่ยออกมาแล้วเดือนนึงยังไม่ถึง $ 21 Billion ต่อไปนี้เวียดนามเริ่มส่งออกมากกว่าไทยแล้ว
ตลาดหุ้นจะโตตาม Size ของ GDP และโตประมาณ 100-120% ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ที่ 70% ของ GDP ถ้ามองยาวๆอีก 5-10 ปี จะไปได้อีกไกล
ส่วนไทย ประชาชนแก่ตัวลง บริโภคน้อยลง ไม่มีการลงทุน ส่งออกก็ไม่โต ตอนนี้เราพึ่งพาการลงทุนจากภาครัฐเป็นหลัก หนี้สาธารณะก็เพิ่มสูงขึ้น เพิ่มงบประมาณขาดดุล (การใช้งบประมาณขาดดุล จะต้อง finance ด้วยหนี้สาธารณะ)
แต่เวียดนาม วันนี้ประชากร 95 ล้านคน อยู่ในวัยหนุ่มสาว มีการบริโภคสูง ตลาดก็โตเร็ว
ชนชั้นกลางประมาณ 14 ล้านคนที่ครอบครัวมีรายได้เกิน $1,000 ต่อเดือน ถ้าดูจากประเทศที่กำลังพัฒนามีประชากรสัก 30-40%เป็นคนชั้นกลาง
ถ้าคนชั้นกลางมีมากขึ้น เกิด Urbanization ขึ้น และมี Modern Trade ตามมา
ส่วนประเทศไทย หนี้ครัวเรือน (Household debt) 80% ของ GDP การบริโภคจะเพิ่มขึ้นไม่ได้มาก (เพราะทุกบ้านมีหนี้ในการซื้อรถ ซื้อบ้านหมดแล้ว ไม่มีตังค์ไปซื้ออย่างอื่น)
แต่ เวียดนามมี consumer loan แค่ 8-10% (เค้ายังไม่มีการประกาศ household debt ออกมา) การบริโภคมีโอกาสโตมากขึ้น ส่งผลให้การลงทุนจะเพิ่มขึ้นมหาศาล
ตอนนี้มีแต่คนขอเงินกู้สร้างโรงงานแต่หาที่สร้างไม่ได้
ปีที่แล้วเงินลงทุนจากต่างชาติ ไหลมาลงทุน 36,000 ล้านเหรียญ เป็นเงิน FDI ล้วนๆ (ไม่ใช่เงินลงทุนเล่นหุ้น)
เป็น Project ที่ Commit ว่าจะสร้าง Fix asset ซึ่งจะเกิดการสร้างงานและก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มการผลิตและส่งออก
การลงทุนปีนี้อีก 1.2 ล้านล้านบาท จะ generate รายได้ขนาดไหน ยิ่งถ้าลงทุนแบบนี้อย่างต่อเนื่อง อนาคต GDPของเวียดนามน่าจะใหญ่กว่าไทย
ตอนนี้ธนาคารกลางของเวียดนามมีนโยบายคุมเงินเฟ้อให้ต่ำ ดอกเบี้ยให้ต่ำแค่ 3-4% ทำให้ต้นทุนทางการเงินของคนที่ต้องกู้เงินลงทุนก็จะต่ำ ในขณะเดียวกันค่าเงิน Đong ไม่มีภาระต้อง Devalue เพราะนักลงทุนต้องการ (1) cost of capital ต่ำ เงินเฟ้อต่ำ (2) และยอดขายต้องสามารถ predict ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลเวียดนามพยายามทำมา ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้การเข้ามาลงทุนทั้งนั้นเลย

หุ้นตกแบบนี้ ต้องรีบซื้อสิครับ

Q2: ถามพี่แจ๊คว่าตลาดหุ้นตกหนักในปีนี้ ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อเวียดนามมากน้อยแค่ไหน
คุณแจ๊ค : ออกตัวไว้ก่อนว่าผมและคุณเอกอวยประเทศเวียดนามมาก (โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง) เพราะว่าตามประเทศนี้มานาน
โดยปกติตลาดหุ้นจะสะท้อนเศรษฐกิจล่วงหน้า 6 เดือน
1. ช่วงต้นปีเศรษฐกิจดีมาก ( GDP ครึ่งปีแรกสูงสุดในรอบสิบปี ดัชนีหุ้นเลยขึ้นเมื่อปีที่แล้ว 50%)
2. Moody’s Investor Service ได้ upgrade เวียดนามขึ้นมาขั้นนึง ทำให้ตลาดหุ้นโตต่อได้
3. ดัชนีที่สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของเวียดนามดีกว่าไทย และสูงที่สุดในรอบสิบปี
4. มีการนำเงินลงทุน (FDI)เข้ามามาก ทำให้เวียดนามเป็น manufacturing hub ของโลก
ญี่ปุ่นมาช้าแต่อัดเงินหนักมาก ปัจจัยที่ต่างชาติมาลงทุนเยอะเป็นผลมาจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA (Free trade agreement ) และเวียดนามมีแผนทำ FTA อีก 18 ประเทศ ทำให้มีการลงทุนจากต่างประเทศอีกเยอะ
Industrial park เวียดนามวางแผนไว้ว่าจะมีถึง 300-400 แห่ง ในขณะที่เมืองไทยมีไม่ถึง 50 แห่ง
ตลาดหุ้น peak ตอนเดือน มีค คุณแจ๊คเริ่มรู้สึกไม่ดี เพราะทุกคนมองดีมากๆกันหมด
แต่ไม่คิดว่าเป็นฟองสบู่ของตลาดหุ้น เพราะ PE ตอนนั้น20 เท่า ก็ยังไม่ถือว่าสูงแต่หุ้นบางตัวขึ้นมา 100% แล้ว มองย้อนกลับไปสมัยก่อน 2007-2008 เทรดกันที่ PE 40 กว่าเท่า แต่ขนาดตลาดเล็กกว่านี้ 4-5 เท่า
ประเด็นคือมูลค่าซื้อขายตอนช่วง มีค 2018 เท่าๆกับปี 2008 แสดงว่าตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไป
ดังนั้นพอมีข่าวเกี่ยวกับ emerging market มากระทบ และก่อนหน้านั้น MSCI มีการ reallocation asset โดยเพิ่มสัดส่วนจีนเข้าไป เลยต้องลดสัดส่วนลงทุนในประเทศใน Emerging Market รวมทั้งข่าวค่าเงินประเทศใน Emerging market มีปัญหาอย่างเช่น อาเจนติน่า ตุรกี แต่จากเหตุการณ์นั้น ประเทศเวียดนามกับไทย ถือว่าโดนกระทบน้อยมาก รวมกับข่าวเก็งกำไรค่าเงิน
ฝรั่งกำไรพอสมควรหลังจากลงทุนมา 3-4 ปี เลยขายทำกำไรออกมา ทำให้หุ้นเวียดนามตก 20% กว่า
ตอนนี้ ถ้ามองผ่านสายตาผู้จัดการกองทุนของ Dragon capital ที่มองว่าตลาดเวียดนามมี PE ค่อนข้าง Ok แล้ว

บลจ หลายๆที่ในไทยออกกองทุนออกมาตอน performance ดีๆเมื่อปลายปี2017 ตอนนั้นยังน่าสนใจ ยิ่งตอนนี้ตลาดหุ้นลงมา 20% ทำให้ดูน่าสนใจขึ้นไปอีก

Q3 : ถามคุณเอกและคุณแจ๊คว่าตอนหุ้นตกแรง ได้ทำอะไรไปบ้าง การเคลื่อนไหวของหุ้นใหญ่ กลาง เล็กในตลาดเป็นอย่างไรในช่วงนั้น
คุณเอก: หุ้นประเภท VietCom bank, SSI ที่มี fundamental แข็งแรง ราคาจะไม่ค่อยตก ต่างจากพวกที่พื้นฐานไม่แข็งแรงอย่างเช่นพวก Vietin Bank (CTG) แบบนี้จะตกแรง ผมเล่นแต่หุ้นที่เป็น Fundamental ตัว Top อย่างเดียว
และผมขายหุ้นไปช่วง1,200 ตอนนี้กลับเข้ามาซื้อเพิ่มไปเรื่อยๆ
คุณแจ๊ค ส่วนคุณแจ๊คบอกว่า ผมไม่ได้ขายเลย เงินส่วนใหญ่ยังอยู่ที่นั่น โครงสร้างตลาดหุ้นเวียดนามขึ้นไป 3-4 ปีแล้ว แต่ขึ้นเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) เป็นพวก VN30 ขึ้น แต่หุ้น Mid-small cap ไม่ค่อยขึ้น
สถาบัน กองทุนไม่ค่อยถือหุ้น Mid-small cap และการเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างประเทศมีผลต่อดัชนีโดยตรง นักลงทุนรายย่อยที่เวียดนามจะซื้อตาม
มีข้อสังเกตว่า ช่วงที่ผ่านมา หุ้น Mid – small cap กำไรดีไม่เท่ากับหุ้น Big cap
และช่วงครึ่งปีแรกหุ้นที่ขึ้นเป็น Big cap – โดยหุ้นกลุ่ม Real estate, Bank
ตอนนี้ผมเท่าทุน (หุ้นขึ้นตอนต้นปี และ ตอนนี้ตกกลับมาที่เดิม) เพราะไม่ได้ขายออก แต่โดยรวมถือว่า ok เพราะตลาดขึ้นมาสองปีแล้ว ผลประกอบการก็ดี

Q4 : ถามพี่เอก ภาพรวมของพอร์ตเป็นอย่างไร
คุณเอก : ตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ในกลุ่มตลาดชายขอบ (Frontier market) , แต่ว่าบริษัทเล็กๆจะมี transparency หรือ Corporate Governance สู้ไทยไม่ได้ จึงค่อนข้างระวัง เลยเล่นหุ้นพวกตัว Top เอาไว้ก่อน ซึ่งจะถูกติดตามอย่างดีจากนักวิเคราะห์ และรัฐบาล ผบห จะทำอะไรที่หวือหวามากไม่ได้
ผมจะเลือกเฉพาะหุ้นที่โตตาม GDP ที่โตไปเรื่อยๆ
ซึ่งเหมือนไทย ตอนนั้น หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ก็ซื้อ SCG, PTT ในช่วงเศรษฐกิจไทยเริ่มโต ผมซื้อ Top of sector หรือไม่ก็ซื้อพวกกองดัชนี หรือ ETF ไปเลย
ผมไม่ได้กู้เงินมาลงทุน เลยไม่มีความเสี่ยง
และขอขยายความเรื่อง FDI ว่าทำไมมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากมายขนาดนี้
เพราะมี Factors ที่สนับสนุนการเข้ามาลงทุนของ FDI มีดังนี้ ซึ่งเวียดนามมีทั้งหมดคือ
1. การเมืองต้องนิ่ง ระบบ incentive ต่างๆที่เคยสัญญาไว้กับนักลงทุนจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงกลางทาง
2. ตลาด (ประชากร) ใหญ่พอสมควร มีการเติบโตของตลาดภายในประเทศ (เพราะการไปลงทุนเปิดโรงงาน ต้องขายคนระดับร้อยล้านคน ได้วอลุ่ม ได้กำไร)
3. มีแรงงานเพียงพอ
4. ต้นทุนการผลิตในภาพรวม ต้องถูกกว่าที่เดิม ถึงจะคุ้มค่าในการย้ายฐานมา
5. มี FTA ( อย่างที่พี่แจ๊คบอก ) ตัวนี้สำคัญมากๆ เพราะเอื้อประโยชน์ในการส่งออกมากๆ ยกตัวอย่าง เวียดนามเป็นฐานในส่งออกไปยุโรป อเมริกา พอมี FTA ได้ภาษีนำเข้าถูกว่าที่อื่น เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง เวียดนามส่งไปเสียภาษีแค่ 10% และ เวียดนามจะทยอยลดเหลือ 0% แต่ ไทยโดนเก็บภาษี 25% ในอนาคตไทยจะสู้กับเวียดนามอย่างไง
6. Infrastructure ต้องดี ถนนหนทางต้องดี ไฟไม่ดับ น้ำต้องไหล
ทำไมนักลงทุนต่างชาติไม่มาไทย เพราะไทยมีแค่ Infrastructure เพียงอย่างเดียวที่ดี ที่เหลืออีก 5 อย่างไม่มีเลย
ผมมั่นใจในตลาดหุ้นเวียดนาม และมั่นใจว่าไม่เกิด crisis เหมือนเกิดที่ไทยเมื่อปี 1998 เพราะอะไร ...มาดูกัน
สมัยนั้นไทย (ปี 1998) เราเสียหายมากเพราะมีการปล่อยให้กู้ USD ได้อย่างเสรี โดยส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะสั้น แล้วพอกู้มาเยอะๆ เอามาเปลี่ยนเป็นเงินบาท เอาไปฝากประจำ กู้มา 6% เอาไปฝากได้ 11% ได้กำไร 5% โดยไม่ต้องเอาเงินมาทำมาหากิน แล้วอีกด้านไปเปิด Thai baht offshore พอเราทำแบบนั้น ... Soros เห็นโอกาสเลยโจมตีค่าเงินบาท เพราะฝั่งนึงดึงเงินกลับ อีกฝั่งปล่อยกู้ hedge ตัวเอง...ทำให้เกิด Crisis ขึ้นมา
แต่สำหรับเวียดนามให้กู้เงินดอลลาร์กับธุรกิจได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องเป็นผู้ส่งออกเท่านั้น เพราะไม่เค้าไม่ต้องการให้ภาระของการกู้เงิน USD ไปเป็นภาระต่อ international reserve ของเค้า ธุรกิจต้องสามารถนำ USD ที่กู้ไป กลับมาคืนหนี้ตัวเองได้
2. ลงทุนในเวียดนาม ต้นทุนการกู้ USD ถูกกว่ากู้ Đong ธุรกิจสามารถกู้ USD มาใช้ในเวียดนามได้ แต่ต้องขออนุมัติจาก แบงค์ชาติ เวียดนามก่อน เพราะทุกปีเค้ามีโควต้า เพื่อการจัดการ FX
3. การทำ Đong offshore จะถูกห้ามเด็ดขาด จะเปิด LC เป็นเงิน Đong, จะไปทำ non-US forward ไม่ได้ทั้ง นั้นทางการไม่รับรู้
จากทั้งสามข้อนี้เป็นการปิดประตูความเสี่ยง จะเกิดCrisisได้อย่างไร
ทำให้ผมมั่นใจว่า อีก 10-15ปี เวียดนามจะแซงไทย

Q5: ถามพี่แจ๊ค ความเสี่ยงที่เคยประสบมา และ มีการปิดความเสี่ยงไหม
คุณแจ๊ค : ความเสี่ยงในเรื่องการลงทุนมี 4 ข้อ
1. Regulation เวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เราต้องตาม update เราต้องมองทั้งผลกระทบในแง่บวกและลบ
2. ข้อสังเกตผมเอง คนเวียดนามมีความกล้าแบบบ้าบิ่น พบว่าคนเวียดนามมีความอยากทำธุรกิจมากกว่าคนจีน ตอนขอ FTA เขาไม่มีความพร้อมแต่สมัครคนแรกเลย เพราะเค้าเห็นโอกาสทางการค้า ยกตัวอย่างหุ้น Vincom ตอนที่เข้าไปซื้อทำอสังหา ทำห้างคล้าย CPN+LH (ตอนที่ซื้อก็ไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้) แต่วันดีคืนดีขยายมาทำรถยนต์เอง Vin Fast, ทำยา Vin Phar, ทำมือถือ รวมถึง Vintech เอา AI มาใช้ หรืออย่าง Mobile world ทำมือถือ ขยายไปค้าปลีก ทำ Supermarket
มองว่าเป็นข้อดี ก็ใช่ หรือมองว่าเป็นข้อเสียก็มีการ take risk เต็มที่
3. ความล่าช้าในการ privatize SOE
4. ค่าเงินมีความเสี่ยงต่อการลงทุน
ส่วน คุณเอก แชร์มุมมองความเสี่ยงในแง่ Macro
1. เรื่องความสัมพันธ์กับจีน จริงๆแล้วเวียดนามมีการรบกับจีนตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ตอนนี้มีปัญหาเรื่องทะเลจีนใต้อีก แต่คู่ค้าของจีนคือเวียดนาม มูลค่าการค้าแซงไทยแล้ว มันเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีนเป็นล้านล้านต่อปี และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากจีนมากที่สุด
มันรุนแรงมากในสมัยก่อน มีกรณีที่การเผาโรงงานของบริษัทคนจีนในเวียดนาม เพราะมีป้ายหน้าโรงงานเป็นภาษาจีน แต่ตอนนี้มีไม่มีโอกาสเกิดอีก เพราะรัฐบาล commit กับบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนแล้วว่าจะไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก
แต่จริงๆเวียดนามไม่สู้กับจีนหรอก เพราะเค้าสู้ไม่ได้
แต่ถ้ามีการสู้รบกับจีนจริงๆ ค่าเงิน Đong จะดิ่งนรกเลย 5-10% ในวันเดียว เพราะเค้าเคยอยู่ในสงครามมาก่อน เค้าจะรีบทิ้งเงิน Đong ทันที
รัฐบาลก็รู้พยามยาม Keep stability ไม่ค่อยใช้กำลังทหาร พูดจากับจีนดีขึ้น
2. Public Debt ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา อาศัยกู้ ODA – Official Development Assistance (World Bank สนับสนุนเงินกู้ให้กับเวียดนาม) เอามาสร้างถนน โรงไฟฟ้า เป็นเงินกู้ จาก World bank , ADB , BOJ ระยะเวลากู้ 30 ปี ดอกเบี้ยต่ำ โดยกู้จากญี่ปุ่นเยอะที่สุด
ปีก่อน หนี้สาธารณะทะลุ 65% ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดที่ National Assembly กำหนดไว้แล้ว
ตลอด1-2 ปี รัฐบาลเวียดนามพยายามลดการขาดดุลลง เลยเป็นเหตุผลที่มีการขายหุ้น Sabeco, Vinamilk ออกมาบางส่วนเพื่อลดหนี้สาธารณะลง ซึ่งที่ผ่านมาทำได้ดี ลดหนี้จาก 65% >>> 62.7%
ต่อไป Public debt อาจไม่ใช่ปัญหาเพราะสามารถขายหุ้น SOE ออกมาได้อีกเยอะ
3. Balance of Payment และ International Reserve ปีที่แล้วเงินไหลเข้าเวียดนามดูจาก Current account + Capital account = Balance of Payment ถ้าเป็นบวก จะทำให้ Reserve บวกเพิ่มขึ้น และถ้าทำ reserve ได้เยอะๆ จะช่วยเรื่องเสียรภาพของค่าเงิน (ยกตัวอย่างประเทศไทยในปัจจุบัน ลองเอา International reserve ÷ import > 12 เดือน หมายความว่า เราอยู่ได้ด้วยการนำเข้าอย่างเดียว โดยไม่ต้องส่งออกเลยก็ได้ ไปปีนึงเลย ค่าเงินบาทถึงได้นิ่ง) เวียดนามเลยเริ่มพยายามจะทำแบบไทย สิบกว่าปีก่อนเวียดนามแทบไม่มี reserve เลย ถ้าเกิดความปั่นป่วนโดยไม่มี Reserve เลยจะกระทบกับค่าเงิน Đong
• ตอนนี้เวียดนามเริ่มสะสม reserve ซึ่งมาจากการลงทุน FDI ที่เข้าอย่างมหาศาล
• Trade positive 8 เดือนแรก เข้ามา $ 4,700 ล้าน ก็ทำให้ Current Account เป็นบวกเพิ่มขึ้น
• นอกจากนี้พวกคนเวียดนามโพ้นทะเล (Viet Kieu) ที่หนีสงครามออกไปเมื่อหลายสิบปีก่อน มีการส่งเงินกลับมาประเทศตัวเอง 14,000-15,000 ล้านต่อปี ทำให้ reserveเพิ่มขึ้น
• ตอนนี้ International reserve ÷ import อาจมีถึง 3-4 เดือนของการนำเข้า ซึ่งถือว่าไม่ได้แย่ เพราะ IMF บอกว่าคุณควรจะมีสัก 3 เดือน เป็นอย่างน้อย
• ถ้า Fundamental ดีขึ้นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เงินเฟ้อต่ำ ค่าเงินไม่ผันผวน ส่งผลดีต่อตลาดหุ้น แน่นอน

Q6: ดอกเบี้ยของเวียดนามจะสูงตามดอกเบี้ยโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไหม
คุณเอก : เงินเฟ้อที่ธนาคารกลางของเวียดนามตั้งไว้ไม่เกิน 4% ซึ่งครึ่งปีแรกตอนนี้ใกล้แล้ว แบงก์ชาติเวียดนามเลยขึ้นดอกเบี้ย overnight ทันที จาก 0.5% ไปเป็น เกือบ4% นี่เป็นนโยบายระยะสั้นทำให้เงินเฟ้อลดลง และคุมราคาอาหาร อาหารสัตว์ในประเทศ น้ำมัน ตั๋วเครื่องบินทันที แล้วพอเงินเฟ้อนิ่งเมื่อไร เค้าถึงจะค่อยๆปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจหมุนต่อไปได้ แล้วค่อยยอมให้การไฟฟ้าขึ้นค่าไฟ หรือขึ้นค่าแรงได้
ดังนั้นถึงแม้ดอกเบี้ยทั่วโลกถึงสูง ก็ยังไม่กระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ ยกเว้นดอกเบี้ยสหรัฐขึ้นไปอีกเป็น 5% จะกระทบ เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยเวียดนามที่ risk free rate อยู่แถวๆ 2-3%

Q7: คนเวียดนามก็ลงทุน แต่คนรวยลงทุนหุ้น หรือ ทำธุรกิจ?
คุณแจ๊ค : สัดส่วนรายย่อยเวียดนามเยอะกว่าไทย แต่เงินเค้าน้อยกว่า ไม่ค่อยมีรายใหญ่เหมือนในไทย
ในอนาคตอาจมี VI เวียดนามที่มี port ใหญ่จนเราต้องเชิญมาไทย อนาคตจะมีกองทุนไทยที่ไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น ตอนนี้คนเวียดนามคิดเรื่องปากท้องก่อนมาลงทุนในหุ้น
ส่วนตัว มีหุ้น consumerไม่เยอะ แต่พอเห็นตัวเลขจากสไลด์ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนมาลงหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้น
คนเวียดนามจะใช้จ่ายดีขึ้นกว่าคนจีนและคนไทย
คนจีนมีการบริโภคคิดเป็น 40% ของ GDP, ส่วนไทย 60%, แต่เวียดนามสูงถึง 70% ของ GDP
ตอนนี้ GDP ของเวียดนามน้อยกว่าไทยครึ่งนึง, รายได้ต่อหัวของเวียดนามน้อยกว่าไทย 3 เท่า, ถ้ารายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นก็จะมีการบริโภคมากขึ้น

Q8: มีการปรับสไตล์การลงทุน หรือ วิธีการเลือกหุ้นหรือไม่
คุณเอก : ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามยังอยู่ในตลาด Frontier แต่ถ้าเข้า MSCI Emerging Market เมื่อไหร่หุ้นขึ้นอีกเยอะ แต่เพราะอยู่เวียดนามมานาน เลยค่อนข้างเป็นห่วงเรื่อง Corporate Governance ของคนเวียดนามมากๆ อย่าง Crisis ที่ผ่านมา ธนาคารปล่อยเงินกู้ไปให้บริษัท แต่บริษัทดันเอาเงินไปซื้อที่ดิน เล่นหุ้นทำให้เกิดวิกฤต
แต่ผมซื้อสนามบิน กลุ่มผลิตไฟฟ้า, BSR, POW เน้นหุ้นใหญ่
ผมมองว่าอะไรที่ Long run Fundamental จะดีในอนาคต

Q9: เลือกหุ้นผิด หรือ มองผิดบ้างไหม
คุณแจ๊ค : ช่วง 4-5 ปีแรก ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะไม่ได้ใช้เวลาศึกษาเยอะ
ช่วงหลังคุมจำนวนหุ้น Focus ไม่เกิน 14-15 ตัว เน้นตัวที่มองอนาคตไกลๆออก เคยมีเอาออกสัก 2-3 ตัวเพราะมีผลกระทบจากกฎระเบียบ
SOE ที่เกิดขึ้นเยอะ ถ้าผ่าน IPO ไปช่วงนึง ผลประกอบการจะค่อยๆดีขึ้น และของดีๆที่ยังไม่ออกยังมีเยอะ เช่น Airline ,Tourism , consumption, Finance
ทางด้านการเงิน มีคนใช้บัญชีกับธนาคารแค่ 30% ถือว่าน้อยมาก แล้วพวกดิจิตอลจะเข้ามาได้ขนาดไหน เราลงทุนในธนาคารที่มี exposure ทางด้านนี้ด้วย
E-commerce ต้องรอ เพราะ logistic cost ยังสูงอยู่ (ขนาด Amazon ยังไม่มาเมืองไทยเลย)
อีกกลุ่มเน้น กลุ่มที่เกี่ยวกับ FDI , M&A target

Q10: คำถามจากคนที่มาสัมมนา
ในเรื่องการหาข้อมูล จำเป็นต้องเดินทางไปเวียดนามไหม
คุณเอก : ผมอยู่ที่เวียดนาม อ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ report จากViet cap , SSI ถ้าซื้อตามจะได้ผลตอบแทนในระยะสั้น
ส่วน คุณแจ๊ค ตอนไปเวียดนามใหม ๆ มีปัญหาคือ
1. ข้อมูลภาษาอังกฤษไม่เยอะ
2. Brokerไม่เก่ง
แต่ตอนนี้ Research ข้อมูลค่อนข้างแน่นและเป็นภาษาอังกฤษด้วย บางอันหาจาก Googleได้ แต่ต้อง apply เข้ากับคนเวียดนาม
การไปดูธุรกิจที่เวียดนามเพื่อเข้าใจว่าเขาคิดอย่างไร แต่ไม่จำเป็นต้องไปบ่อย ถ้าเราต้องเอาจริงเอาจังกับตลาดหุ้นเวียดนามจึงจะประสบความสำเร็จในการลงทุน
คุณเอก เห็นด้วยที่ คุณแจ๊ค บอกว่า อย่าคิดว่าคนเวียดนามเหมือนคนไทย การดีลงานกับคนเวียดนามยากกว่าคนไทยเยอะ ยกตัวอย่างความคิดของคนเวียดนามสมัยช่วงสงคราม เงินเฟ้อสูงๆ ได้เงิน Đong มา คนเวียดนามจะไปแลก US$ หรือ ซื้อทองเก็บ แต่คนไทยเอาเงินฝากธนาคาร เป็นต้น

Q11: กลุ่มนักลงทุนยังน้อยอยู่
คุณเอก : คุณเอก บอกว่าปี 2007 พวกแม่บ้านเล่นหุ้นมาก ไม่เข้าใจเรื่องลงทุน แล้วก็ออกจากตลาดไปหมดแล้ว หุ้นตอนนั้นขึ้นจาก Bubbleล้วนๆ ไม่มี fundamental รองรับเลย มาถึงวันนี้ทุกคนยังขยาดการเล่นหุ้นอยู่เลย
อีกเรื่องนึง Personal income tax หักภาษี 5%-35% กฎหมายเรื่องกองทุนหรือตัวช่วยลดภาษียังไม่มา แต่ในอนาคตถ้ากฎเกณฑ์พวกนี้มาเมื่อไร ในอีกสัก 10 ปี ตลาดหุ้นจะเติบโตกว่านี้แน่นอน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 130

โพสต์

สรุปงานสัมมนา ช่วง Gurus talk: วิเคราะห์ Business Model 4 หุ้น (ตอน 1 of 2 )

16 กันยายน 2561
วิทยากร
1. อ. ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (นักลงทุนหุ้นคุณค่า ผู้จุดประกายการลงทุนหุ้นเวียดนาม)
2. คุณณัฐกิติ์ สุนทรบุระ (กูรูการลงทุนหุ้นเวียดนาม), คุณณัฐ
3. คุณภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง (กูรูการลงทุนหุ้นเวียดนาม), คุณบอล
พิธีกร: คุณจิตติมา ทวาเรศ
สรุปโดย เป้ และพี่อมร (ขอแบ่งเป็น 2 โพส)

ได้แก่
1.Airports Corporation Of Vietnam (ACV)
2.PetroVietnam Power Corporation (POW)
3.Viet Nam Engine And Agricultural Machinery Corporation (VEA)
4.FECON CORPORATION (FCN)

Q: รบกวน ดร. นิเวศน์ ช่วยขยายความที่กล่าวถึงการลงทุนในเวียดนาม ในงาน Money Talk @ SET เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่บอกว่าอยากจะเอาเงินกลับแล้ว
ดร. นิเวศน์: อันนั้นพูดทีเล่นที่จริง แต่ความรู้สึกจริงๆแล้ว ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นตลาดแห่งอนาคต และยังเป็นตลาดที่พวกเราสามารถสร้างความมั่งคั่งได้คล้ายๆกับที่เราสร้างจากตลาดหุ้นไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา และน่าจะดีกว่าเมืองไทยด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้ตลาดเมืองไทยค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว และหาหุ้นเติบโดยากขึ้นขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จะหาหุ้นที่จะเติบโตระยะยาวจากธุรกิจจริงๆได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจสมัยใหม่ จะมีพวกเศรษฐกิจ digital ที่โต แต่การเติบโตของเศรษฐกิจของจริง ที่เติบโตไปพร้อมกับดารเติบโตของการบริโภคของประชากร จะหาได้จากตลาดเวียดนาม ชัดเจนกว่าตลาดไทย
อยู่เมืองไทยจะเป็นแนวโน้มแบบญี่ปุ่น มีแต่คนแก่ จะหาสินค้าที่ขายคนแก่ยากมากๆ ยกเว้นเป็นธุรกิจที่เป็นผู้นำของโลก ซึ่งเมืองไทยไม่มีสินค้าแบบนี้
การเติบโตของเศรษฐกิจของจริง เวียดนามจะสามารถผลิตสินค้ามาแข่งกับเมืองไทยได้ เศรษฐกิจของเค้ากำลังพุ่งพล่าน ลองสังเกตดูว่าสินค้าประเภทนี้ในเวียดนามยังโตปีละ 20-30% ส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 20% รวมไปถึงสินค้าประเภทเสื้อผ้า มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง หอย ปู ปลา เทียบกับในไทยที่ทุกอย่างค่อยๆ ลดลง จากที่เคยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งในบางรายการ
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าหาสินค้าที่ขายภายในประเทศ ให้กับประชากรของเค้าที่มีหลักร้อยล้านคน และสามารถขยายได้อย่างมั่นคงไปเรื่อย กิจการประเภทนี้ก็จะเป็นกิจการที่น่าสนใจ
การค้าปลีกในเวียดนาม ยังอยู่ใน stage ที่ว่าคนยังไม่ได้ใช้อีกเยอะเลย ยังมีห้างที่คนยังไม่ได้เดินแบบ Big C, Lotus ที่เป็นเรื่องเป็นราว นี่ยังไม่ได้พูดถึงร้าน convenient stores และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังขาดอยู่เยอะแยะ ที่เราต้องหาผู้ชนะให้ได้
แต่ที่ผมผิดหวัง แล้วพูดออกไปแบบนั้น เพราะผมเองไม่ได้ใช้เวลากับมันที่จะเลือกธุรกิจ ตอนที่เข้าไปซื้อก็เข้าไปซื้อด้วยความรีบรอ้น เพราะมองเห็นศักยภาพว่านี่คือสวรรค์แห่งใหม่เลย พอลงทุนไปแล้วถึงได้รู้ว่าต้องทำการบ้าน แต่โดยรวมแล้ว การลงทุนในเวียดนามของผมไม่ได้ขาดทุน แต่ได้กำไรน้อย คือปีนึงเฉลี่ยประมาณ 5% สุดท้ายดีกว่าการฝากเงิน นับเป็นการกระจายความเสี่ยง ถือรับปันผลสบายๆ
ตอนที่ผมไปเวียดนามตอนนั้นดัชนีอยู่ 500 กว่าจุด เราซื้อหุ้นไปร้อยกว่าตัว แต่ไม่ perform ทั้งๆที่ดัชนีขึ้นไปถึง 1200 จุด หุ้นในพอร์ตบวกประมาณ 10-20% เพราะไปเลือกหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนเล่น สภาพคล่องน้อย ตัวเล็ก แต่ราคายังถูก ทุกวันนี้ราคาถูก ปันผลดี พอช่วงหุ้นตกลงมา หุ้นเราก็อยู่ที่เดิม
ทำให้ผมมาคิดว่า การที่ไปเวียดนามนี่ ผมไปถูกประเทศแล้ว แค่กลยุทธ์ผิด และเราไม่ทำการบ้านหนักพอ ยังไม่ได้ไปนั่งดูรายตัว เพื่อตั้งขายหรือซื้อเพิ่ม ตอนนี้ปล่อยไปก่อนเพื่อรอให้คนชั้นกลางเข้ามาเล่นหุ้นเพิ่ม รอผลประกอบการดี หุ้นก็จะขึ้นไปเองตามผลประกอบการ
นาทีนี้ ถ้าผมยังเป็นคนหนุ่มสาว ที่ต้องการจะรวยจากหุ้นจริงๆ ก็ต้องไปลงทุนที่เวียดนาม เพราะมองเห็นภาพอนาคตชัดเจน ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามยังไม่ efficient หุ้นตัวยังไม่ใหญ่มาก มี market cap นิดเดียว ถ้าเราเข้าไปซื้อตอนนี้ ถือไว้สัก 5-10 ปี รอ market cap เพิ่มขึ้น เราก็มีสิทธิ์ประสบความสำเร็จจากหุ้นได้ หรือถ้าเราไม่มีเวลาศึกษา การซื้อกองทุนทิ้งไว้ ก็ยังเป็นโอกาสที่ดีเช่นกัน
คุณณัฐ: เสริมว่าการลงทุนในตลาดเวียดนามช่วงนี้ ยังไม่อยากให้ไปอิงกับดัชนีมากนัก เนื่องจาก 20% ของ market cap เป็นหุ้นกลุ่มแบงก์ และอีก 20% เป็นหุ้น 3 ตัวของกลุ่ม Vin Group คือ VIC, VHM, และ VRE ทั้งสองอย่างรวมกันก็เป็น 40% ของ market cap เข้าไปแล้ว ดังนั้นการขึ้นลงของดัชนี อาจจะไม่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของตลาดหุ้นโดยรวมซะทีเดียว
ดังนั้น แทนที่จะไปอิงกับดัชนี เรามาตั้งเป้าเลือกหุ้นรายตัวเพื่อสร้างผลตอบแทนสัก 10-20% น่าจะดีกว่า

1) Airports Corporation of Vietnam (ACV)

คุณณัฐ: ตัวนี้เทียบเท่ากับ AOT ของบ้านเรา เป็นเจ้าของสนามบิน 22 แห่ง กระจายไปทั่วประเทศ โดยมีการแบ่งกลุ่มสนามบินที่เค้าดูแลออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ตามระดับ service charge .. กลุ่ม A, B, C A มี service charge สูงสุด และรองลงมาตามลำดับ
รายได้แบ่งเป็น Aero revenue 80% (เกี่ยวกับการ take off/landing fee) และ non-Aero revenue 20-22% เช่นค่าเช่าร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และเก็บส่วนแบ่งรายได้จากร้าน duty free
Outlook รายได้ของปีนี้ น่าจะดีมากเนื่องจาก ACV ได้มีการทะยอยปรับขึ้นค่า fee ตั้งแต่ตุลาปีที่แล้ว ถึง กรกฎาปีนี้ ทำให้ earning, revenue growth ในปีนี้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
สำหรับโครงการที่เป็นไฮไลท์ในอนาคต 2 แห่งคือ
1) การก่อสร้าง Terminal 3 ที่สนามบิน Tan Son Nhat (TSN, ที่ HCMC)
2) การสร้างสนามบินแห่งใหม่ Long Thanh international airport ที่จังหวัด Dong Nai ที่อาจจะใช้ควบคู่ไปกับสนามบิน TSN เพราะถึงแม้ว่าจะมีการสร้าง Terminal แห่งที่ 3 ขึ้นมา ก็อาจจะไม่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในอีก 7-8 ปี ข้างหน้าได้
คุณบอล: จุดแข็งของตัวนี้ คือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างปะรเทศเพิ่มมากขึ้น
ข้อแตกต่างระหว่าง AOT กับ ACV คือ AOT มีแต่สนามบินเกรด A เท่านั้น ส่วนสนามบินรองๆที่ไม่ค่อยมีกำไรจะไม่อยู่กับ AOT
จาก trend
1) การเติบโตของจำนวนผู้โดยสาร
นักท่องเที่ยวต่างชาติไปเวียดนามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตอนนี้ประมาณ 1/3 ของบ้านเรา) ในขณะที่ market cap ของ จะอยู่ที่ ACV 1/4 ของ AOT เท่านั้น ทำให้ยังมี room ที่เติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะจากจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนที่เข้าไปเวียดนามมากขึ้น โตระดับ 10% ++ ต่อปี
รวมทั้ง demand การเดินทางในประเทศด้วยเครื่องบินมากขึ้น เนื่องจากถนนหนทางยังไม่ค่อยดีนัก
2) ถ้าแกะดูรายได้ของ ACV ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเคลียร์ประเด็นข้อพิพาษกับรัฐบาลเรื่องการจัดเก็บรายได้จากการใช้ runways ว่าเป็นของใคร ระหว่างเข้ารัฐบาล หรือ เข้ากระเป๋า ACV (ปัจจุบันทาง ACV เก็บแค่ค่า passenger fee)
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเพิมรายได้จาก non-Aero revenue ที่ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 22% ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 40% (AOT ก็จะอยู่ประมาณนี้)
ถ้าผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โอกาสในการขายก็มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการ bidding ร้านค้าต่างๆ ยังไม่เป็น international มากนัก (หมายถึงยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ หรือต่างชาติเข้ามาประมูลร้านแข่ง) ถ้าเค้าเปิดเสรีเมื่อไร สัดส่วนที่รายได้ที่เป็น revenue sharing ตรงนี้ อาจจะโตขึ้นจาก 10-15% เป็น 30% ก็ย่อมมีความเป็นไปได้สูง
แต่ในแง่ของราคาหุ้น ACV ตอนนี้ ถือว่าค่อนข้างแพง มี EV/EBITDA = 17x
แต่ว่า ตอนนี้ AOT น่าจะแพงที่สุดในโลกทั้งในเชิง market cap และ EV/EBITDA

คุณณัฐ เสริมว่า ตอนนี้รายได้ค่าเช่าหนักไปทาง fixed rate ซะเยอะ ในขณะที่ revenue sharing มีมาร์จิ้นสูงกว่า และยังมีพื้นที่ที่ติดสัญญาเช่าเดิมตั้งแต่สมัยยังเป็น SOE อยู่ ซึ่งเป็นการเก็บค่าเช่าที่ถูกมาก เมื่อถึงเวลาต่ออายุสัญญาจะมีการเปิดประมูลพื้นที่เช่าใหม่ ก็มีโอกาสที่จะได้รับค่าเช่าเป็น market rate มากขึ้น
นอกจากนี้ จากการเข้าพอ ผบห เมื่อ 2 เดือนก่อน จะมีการทำ international bidding ให้รายใหญ่ หรือต่างชาติเข้ามาประมูล ทำให้น่ามีรายได้เพิ่มขึ้น
กำลังซื้อคนเวียดนามมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะไปซื้อสินค้าใน duty free มากขึ้น

สุดท้ายทางรัฐบาลวางแผนจะส่งมอบ runways ให้กับ ACV ภายใน 1H19 ทำให้สามารถรับรู้รายได้จากส่วนนี้ภายในปีหน้า แต่ต้องติดตามว่าการส่งมอบจะออกมาในรูปแบบไหนระหว่างเป็นพื้นที่ให้เช่า หรือเป็นสัมปทาน เนื่องจาก จะส่งผลต่ออัตรากำไรที่แตกต่างกันออกไป
แต่ว่า runways ที่ Noi Bai จะต้องปิดซ่อมปรับปรุง ซึ่งวางแผนจะทำในช่วง 3Q19 (low season) ซึ่งอาจจะกระทบกับผลประกอบการในไตรมาสดังกล่าว
ข้อควรระวังคือ
- ACV อาจจะไม่ได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากจำนวน ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องจากว่า ACV เองเป็นเพียงผู้ถิหุ้นส่วนน้อยและไม่ได้มีสิทธิ์บริหาร terminals ที่ international airports 2 แห่งที่มีความสำคัญมาก คือที่ Danang (ACV ถือ 20%) และที่ Cam Ranh (หรือ Nha Trang) (ACV ถือ 10%) เนื่องจากทั้ง 2 แห่งนี้มีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงกว่าที่ HCMC และ Hanoi อย่างมาก เพราะชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านสนามบิน Danang และ Cam Ranh คิดเป็นสัดส่วน 20% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในเวียดนาม

- ACV มี CAPEX cycle รอบใหญ่รออยู่ ถึงแม้จะไม่ใช้ในเร็วๆนี้ นั่นก็คือตัว Long Thanh international airport ที่ประมาณงบการก่อสร้างสูงถึง US$ 15 bn ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการระดมทุน รวมไปถึง cost of fund จะเป็นเท่าไร และช่วงแรกในการดำเนินงานจะขาดทุนหนักขนาดไหน จริงๆแล้วทาง ACV เคยพยายามจะหา strategic partner มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน และลงทุนก่อสร้างโดยตรง นั่นคือ airport de France แต่ไม่สามารถตกลงราคาหุ้นกันได้ ทำให้ทางรั่งเศสถอนตัวออกไป ACV จึงต้องลงทุนเองคนเดียว หรือจนกว่าจะมี partner ใหม่เข้ามาแทน
ดร. นิเวศน์:
Market cap : AOT= 920,000 ล้านบาท , ACV = 260,000 ล้านบาท (28% ของ AOT เอง)
PE: AOT = 38x , ACV = 33x
ราคาถูกกว่า AOT นิดหน่อย จนถือว่าพอๆกัน
Profit margin: AOT = 42%, ACV = 37%
ROE: AOT = 18% , ACV = 21%
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเวียดนามโตปีละ 15-20% ในขณะที่มาไทย เติบโตเพียงปีละ 5-10% เอง ของเวียดนามจำนวนนักท่องเที่ยวยังโตได้อีกเยอะ ยิ่งมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ เค้าก็เดินทางกันเข้ามามากขึ้น จะเห็นว่ามีเกาหลี จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เข้าไปเยอะ จะส่งผลให้การท่องเที่ยวของเวียดนามเจริญเติบโต เพียงแค่เวียดนามยังไม่มี infrastructure ที่เพียงพอ และยังเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่จะอะไรก็ยังถูกควบคุมอยู่มาก
ผมเคยถือ AOT มานานมาก ในสมัยก่อน แล้วหุ้นไม่ไปไหนเลย ถือจนเบื่อเลยขายทิ้ง แต่เมื่อ 4-5 ปี อยู่นักท่องเที่ยวมาจากไหนไม่รู้ แห่กันเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย นักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยตอนแรกๆโตปีละ 20-30% ทำให้หุ้น AOT เติบโตขึ้นมาอย่างมาก หุ้นเปลี่ยนไปเลย

พอคนจีนเข้ามาพรดพราด ทุกอย่างเลยไหลลงมากลายเป็นกำไรให้ AOT หมดเพราะต้นทุนเท่าเดิม
เพราะฉะนั้น ถ้าจะถือ ACV ต้องมองว่าอนาคตรัฐบาลเวียดนามจะเป็นแบบไหน เพราะหุ้นสนามบินจะจนหรือรวยขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล รวมไปถึงเรื่องของการให้บริหารสนามบินไหน การเก็บค่าธรรมเนียมอะไรต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น
ก็ลองไปดูเอาละกัน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 131

โพสต์

สัมมนา “วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม”
Gurus talk: วิเคราะห์ Business Model 4 หุ้น (2 of 2)

สรุปโดย เป้ และ พี่อมร
2) Petro Vietnam Power Corporation (POW)
คุณบอล>>> ตัวนี้เป็นบริษัทลูกของ Petro Vietnam (PVN) คล้ายๆ PTT บ้านเรา มี Installed Capacity = 4,200 MW (แต่ในแง่ของ Equity Capacity = 3,900 MW), market cap = 50,000 ล้านบาท
มาดูที่ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าของเวียดนาม โรงไฟฟ้าจะขึ้นกับภาครัฐค่อนข้างมาก
ความต้องการของไฟฟ้าของเวียดนามต้องการใช้ไฟมากขึ้น สร้างโรงงานตามตัวเลข FDI ที่มากขึ้น เดินห้างมากขึ้น ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
ที่ผ่านมา demand ความต้องการใช้ไฟฟ้าเวียดนามโต 10%++ แต่โรงไฟฟ้าสร้างตามไม่ทัน โตแค่ 4-5% เท่านั้น
ถึงแม้ว่าค่าไฟเวียดนามจะถูกควบคุมจนตอนนี้ราคาถูกกว่าเพื่อนบ้านเยอะ แต่สุดท้ายค่าไฟก็ต้องขึ้น เพราะถ้าไม่ขึ้น จะไม่จูงให้ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเข้ามาลงทุน
สรุปง่ายๆว่าภาพรวมความต้องการไฟฟ้าของเวียดนามมี Demand > Supply
POW มีกำลังการผลิตไฟฟ้าในพอร์ตเป็นอัน 2 หรือ 3 ของเวียดนาม
• 60% เป็นโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ จากหลุมแก๊สในประเทศ
• 20% เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน
• 10% เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
ธุรกิจโรงไฟฟ้า ถึงแม้ว่ารัฐบาล (EVN – Electricity Vietnam) คุม แต่อีกมุมคือมีความแน่นอน คิดเรื่องธุรกิจไฟฟ้าคือ P x Q (P ราคาขาย, Q ปริมาณ) ปริมาณอาจจะผันผวนบ้าง ถ้าน้ำมาเยอะ EVN อาจจะโยกไปรับซื้อไฟจากเขื่อนมากขึ้น ต้องขึ้นอยู่แล้ว
ล่าสุดทาง POW ได้รับอนุมัติให้สร้าง โรงไฟฟ้า NT3, NT 4 ที่มีกำลังการผลิตไฟรวมกัน 1,500 MW แต่อาจจะมีช้าไปบ้างเพราะต้องใช้เชื้อเพลิง LNG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และโรงเก็บ LNG สร้างไม่ทัน ยังไม่รวมโครงการในอนาคตอีกเยอะ ซึ่งอาจจะขึ้นไประดับ 10,000 MW
ระบบการรับซื้อไฟฟ้าของเวียดนาม มี 2 แบบ
1. แบบ PPA โดยกำหนด IRR ที่ 12%
2. แบบ CGM (Competitive Generation Market)
คุณณัฐ>>> เสริมเรื่องรายละเอียดจาก Power Development Plan VII ของเวียดนามที่มีการแบ่งการซื้อขายไฟเป็นลำดับขั้น ขั้นแรกคือรับซื้อไฟตาม PPA เหมือนเมืองไทย จะทำให้รู้ว่าในแต่ละปี โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งจะมีกำไรเท่าไร เพราะจ่ายไฟไปตามค่าความพร้อมจ่าย อีกส่วนนึงเป็น CGM (Competitive Generation Market) ทาง EVN (EGAT เมืองไทย) จะเป้ดให้มีการประมูลขึ้นตามแต่ละช่วงเวลา โดยคนที่ bid ค่าไฟต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะ และไล่ไปรายอื่นที่ให้ราคาสูงกว่าเรื่อยๆจนครบ ทำให้ low cost generator(s) จะได้ benefit สูงสุด
ข้อควรระวัง:
(1) ความเสี่ยงของ PPA โรง NT1 & NT 2 จะหมดในปี 2022 แน่นอนว่าจะมีการต่ออายุ PPA อยู่แล้ว แต่ต้องลุ้นว่าตัวต่ออายุฉบับใหม่จะเกิดทัน ก่อนที่ฉบับเก่าจะหมดอายุหรือไม่ เพราะถ้าไม่ทัน เค้าจะต้องขายไฟผ่านช่องทาง CGM ซึ่งต้องไปดูว่าต้นทุนค่าไฟของเค้าสู้ได้หรือไม่สำหรับช่องทางนี้ มันเคยมีเคสแบบนี้เกิดมาแล้วใน ปี 2016 ที่ PPA ของโรงไฟฟ้า Phalai (PPC) หมดแล้วต่ออายุไม่ทัน ทำให้ PPC ต้องขายไฟผ่านช่องทาง CGM แต่ต้นทุนสู้ไม่ได้ เลยทำให้ขายในราคาขาดทุนอยู่พักนึง จนกลับมาต่ออายุ PPA ใหม่ได้

(2) โรงไฟฟ้า NT3, NT 4 ทั้งสองโรงไฟฟ้าใช้ LNG เป็นต้นทุนเชื้อเพลิง แต่ POW ยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ใช้ LNG เรื่องแบบนี้เคยเกิดกับ POW ที่ทางบริษัทแม่ PVN โอน Vung Ang ที่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินมาให้บริหารจัดการ แต่เกิดเจอปัญหาทางเทคนิค ทำให้ Utilize เหลือแค่ 30% อยู่พักนึง กว่าจะแก้ได้ต้องใช้เวลานาน

(3) อยู่ที่ช่องทาง CGM เอง เนื่องจากเชื้อเพลิงของ POW ส่วนมากเป็นแก๊ส ที่ซื้อขายกับบริษัทแม่ PVN ซึ่งมีแหล่งแก๊สธรรมชาติอยู่นอกชายฝั่ง ราคาตอนนี้ซื้อขายกันที่ US$ 4-6 /mmbtu แต่แหล่งแก๊สค่อยๆหมดลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องซื้อจากแหล่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ กระทบต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นมาเป็น US$ 7-11 /mmbtu พอต้นทุนการผลิตไฟสูงขึ้น อาจจะส่งผลให้ลดความสามารถในการแข่งขันในช่องทาง CGM ได้
ดร นิเวศน์>>> บอกว่า น่าสนใจ ราคาไม่แพง บริษัทมั่นคง มี market cap 50,000 ล้านบาท เปรียบเทียบยอดขายประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาทต่อปี ดูตัวเลขหลายๆอย่างแล้วมองว่าคล้าย RATCH มาก , DE ratio เท่ากัน แต่ราคาหุ้น RATCH แพงไปหน่อย (แพงกว่า 50%), PE พอๆกันที่ 13-14x, profit margin RATCH = 13%, POW = 10%, installed capacity พอกันที่ประมาณ 10% ของประเทศ, ใช้แก๊สเหมือนกัน
ตอนนี้การใช้ไฟในไทยไม่ค่อยโตแล้ว ยังมีซื้อไฟจากเขื่อนที่ลาวอีก สุดท้ายการใช้ไฟของไทยจะไม่ค่อยโต แก๊สธรรมชาติบ้านเราก็กำลังหมด แต่เรามีการควบคุมการรับซื้อไฟดีกว่าในเวียดนาม
แต่ความต้องการใช้ไฟของเวียดนามยังโตได้อีก การใช้ไฟไม่มีปัญหา ถ้าการใช้ไฟมาก รัฐต้องกระตุ้นให้คนมาลงทุน ด้วยการเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น ราคาไม่น่าจะถูกบีบจากรัฐมากนัก
ตัวนี้จัดเป็นหุ้นสาธารณูปโภค หวังให้ราคาเพิ่มมากๆก็ไม่ได้ เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
ผมลงหุ้นไฟฟ้า NT2 เยอะที่สุด รับปันผล 10% ทุกปี แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหน เพราะแม่ไม่ให้โต ตัวนี้เป็นลูกของ POW อีกที พอแม่เข้าตลาดเอง แม่ก้อจะโตเอง หุ้นแบบนี้จะหวังให้หุ้นเปลี่ยนชีวิต น่าจะยาก
แต่โดยตัวของ POW เองดูแล้วน่าจะมีศักยภาพ อาจจะมีโอกาสที่ Market cap ขึ้นไปเท่า RATCH หรือถึง 100,000 ล้านบาท
คุณบอล>>> เสริมเรื่องหุ้นโรงไฟฟ้าในเวียดนามว่ามีแบบ Single plant (เหมือน NT2) และแบบ Holding company (เช่น POW, Genco 3) ซึ่ง valuation ของพวก Holding ปกติจะแพงกว่า เมื่อแลกกับการมี growth ที่จะโรงไฟฟ้าเติมเข้ามาในพอร์ตได้เรื่อยๆ
การคิด valuation โรงไฟฟ้าอาจจะประเมินจาก replacement value = EV (Enterprise Value) ÷ MW เหมือนกับคิดว่าถ้าวันนี้เราจะสร้างโรงไฟฟ้า 3,900 MW แบบเดียวกับที่ POW มี เราจะต้องใช้เงินเท่าไร ในเคสของ POW จะตกอยู่ที่ US$ 0.7-0.8 million /MW หรือประมาณ 20 กว่าล้านบาทต่อ MW ซึ่งถ้าเทียบราคาแบบนี้กับที่เมืองไทย ถือว่าสร้างได้ถูกมาก และถ้าเทียบกันเองในเวียดนาม ถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้าแก๊สจะใช้เงินประมาณ US$ 1 million /MW, ถ่านหิน US$ 1.5 million /MW, โรงไฟฟ้าพลังน้ำใช้ US$ 2.x million /MW
ถ้าสร้างใหม่เทียบกับการซื้อหุ้นบริษัท ซื้อหุ้นราคานี้ถูกกว่าการไปสร้างโรงไฟฟ้าเอง
Market 50,000 ล้านบาท, Cash flow 80,000 ล้านบาท
เป็นบริษัทที่มีวินัยทางการเงินดี ตัดค่าเสื่อมค่อนข้างเร็ว มีเงินเข้ามา ก็เอาไปจ่ายหนี้
NT3, NT4 สร้างได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเลย เพราะว่า cash flow ดีมาก
แต่ปันผลไม่เยอะ ไม่เหมือน NT2 ที่ได้ 7-10%

คุณณัฐ>>> จะชอบคิด valuation โรงไฟฟ้าด้วย EV/EBITDA มากกว่า replacement cost เพราะ โรงไฟฟ้ามันมีการเสื่อมสภาพ ทำให้ความพร้อมจ่ายลดลงด้วย และไม่ใช่ธุรกิจที่รันไปได้ตลอดเรื่อย เพราะมันมี PPA อยู่
โรงไฟฟ้าเก่า ความพร้อมจ่ายก็ลดลง
ส่วน NT2 รัฐมีข่าวสองปีก่อน ว่า จะให้ NT2 สร้างโรงไฟฟ้า NT3 ให้ ทำให้ราคาวิ่งเพิ่มขึ้นมา แต่ EVN เปลี่ยนใจให้ หุ้น NT2 ร่วงลงมา
ดร บอกว่า อ่าวไม่รู้เลย ไม่งั้นขายหุ้น NT2 ไปแล้ว (ฮา) เลยอยากย้ำว่าที่เวียดนาม เรื่อง regulation มีผลต่อราคาหุ้นเยอะ ต้องตามให้ดี
###

3) Vietnam Engine and Agricultural Machinery Corporation (VEA หรือ VEAM) เป็นหุ้นขนาดกลาง
คุณบอล>>> VEAM ตอนนี้มี market cap 30,000-40,000 ล้านบาท เริ่มจะไม่เป็นขนาดกลางแล้ว
ย้อนไปช่วงปี 1995 สมัยนั้นเวียดนามยังปิดประเทศอยู่ แต่ผู้ผลิตรถยนต์อยากจะเข้ามาลงทุน เลยบอกว่าต้องให้ VEAM ไปถือหุ้นในบริษัทผลิตรถยนต์เหล่านั้น
แต่สำหรับธุรกิจหลักที่ทำรถไถ จักรกลการเกษตร รถ truck ทั้งๆที่เป็นธุรกิจอันดับต้นๆของประเทศ แต่ขาดทุนมากมาย ไม่น่าสนใจ
จุดที่เป็นเสน่ห์ของหุ้นตัวนี้ คือ VEAM ถือในหุ้นบริษัทรถยนต์ Honda , Toyota และ Ford โดย Honda ในเวียดนามนี่จะรวมทั้ง รถยนต์ และ มอเตอร์ไซด์เข้าไปด้วย ไม่ได้แยกกัน
ภาพรวมตลาดรถยนต์ Honda , Toyota , Ford มีmarket share 40% ของทั้งประเทศ ทำให้บริษัท VEAM ดูน่าสนใจ
รายได้กำไร 80% ของ VEAM มาจากมอเตอร์ไซด์ ซึ่งตอนนี้ตลาดค่อนข้าง stable
ส่วนรถยนต์ตอนนี้ตลาดกำลังโตปีละ 20% ถือเป็น Growth driver ให้แก่ VEAM ซึ่งจะได้ส่วนแบ่งกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทรถยนต์ต่างๆ
จากนโยบายลดภาษีนำเข้ารถยนต์ แล้วไปเพิ่มค่าตรวจสอบนู่น นี่ วุ่นวายไปหมด แต่ตอนนี้คลื่นลมเริ่มสงบ รถประกอบในและนอกประเทศ ราคาขายรวมๆลดลง 10% แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ดีขึ้น เพราะ demand เพิ่ม
เสน่ห์คือ ราคาถูก ปันผล 7-8% PE 8 เท่า ซึ่ง inline กับบริษัทแม่ Toyota, Honda PE ก็ประมาณนี้
ถ้าจะซื้อตัวนี้ต้อง bet กับตลาดรถยนต์ที่กำลังจะเติบโตขึ้นมา
คุณณัฐ>>> โครงสร้างตลาดรถมอเตอร์ไซต์ของเวียดนาม เหมือนไทยมากคือ Honda นำตลาด, ตามด้วย Yamaha (20%) และตอนนี้ตลาดมอเตอร์ไซต์ของ ไทย เวียดนาม เริ่ม mature
แต่คนอาจจะเปลี่ยนไปใช้แบบ scooter ที่นิยมมาก ราคาต่อคันแพงขึ้น

ข้อควรระวัง:
(1) มีผลขาดทุนในธุรกิจหลัก อย่างต่อเนื่อลมาตลอด คงแก้ยาก เพราะคู่แข่งเป็นต่างชาติที่เป็นรายใหญ่
(2) เวลาซื้อหุ้น VEAM คือเราต้องการ value ของธุรกิจที่ไปลงทุนในบริษัทรถยนต์ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ไม่ค่อยเปิดเผย
(3) รัฐถือหุ้นใหญ่ 88% แต่มีแผนต้องการ divest หุ้นออกมาให้เหลือ 51% ภายในปีหน้า ต้องดู partner รายใหม่ ว่าจะมาช่วยเสริมอย่างไร
คุณบอล>>> นอกจากบริษัมรถยนต์ต่างชาติแล้ว VEAM ยังถือหุ้นในบริษัท THACO ซึ่งเป็นรถยนต์สัญชาติเวียดนามที่มี market share อันดับหนึ่ง รองมาอาจจะเป็น Vin group ที่กำลังทำ Vin fast ซึ่งน่าจะมีการส่งเสริมโดยรัฐบาลเวียดนาม
ดร นิเวศน์>>> บอกว่าไม่น่าสนใจ ตัวเลขแปลกประหลาด เหมือนหุ้นจะถูก corner เพราะหุ้นอยู่ในมือคนที่จะเทรดน้อยมาก แค่ 4-5% ราคาอาจจะเพี้ยนง่าย, และ market cap 50,000 ล้านบาท ดูยิ่งใหญ่เกินไปหน่อย
นอกจากนี้ถ้ารถไฟฟ้า EV มาแรง ก็อาจจะได้รับผลกระทบ
เทคโนโลยีรถยนต์ก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน ที่เมืองไทยผลิตได้ถูกกว่า
ดูตัวเลขแล้วแปลกใจ สมมติว่ารายได้ 8000 ล้านบาท กำไร 7000 ล้านบาท โดยที่ตัวธุรกิจหลักไม่มีอะไรเลย ยกเว้นว่าได้กำไรมาจาก Equity method จากบริษัทที่เข้าไปซื้อหลายๆบริษัท
หลายๆเรื่องทำให้มองเห็นแต่ความเสี่ยงในการไปลงทุนตัวนี้
คุณบอล>>> เสริมที่อาจารย์บอกว่าเหมือนหุ้นจะถูก corner ก็ดูว่าอาจจะเป็นไปได้ เพราะ Free float น้อย เป็นไซส์ที่ market cap ใหญ่พอที่ต่างชาติเข้ามาซื้อได้ง่าย ถ้าไปย้อนดู paper ของ Vietcap ปีที่แล้ว หุ้นตัวนี้มี fund flow เข้ามากที่สุด เลยอาจจะทำให้ราคาขึ้นได้เร็ว
นอกจากนี้เทคโนโลยีพวกรถ Self-Driving ไม่แปลกใจว่าอีก 3-5 ปี จะเข้ามาในตลาดเยอะ ทำให้อาจจะถูก disrupt ได้
###
4) FECON Foundation Engineering and Underground Construction (FCN)
คุณณัฐ>>> FCN ทำรับเหมามีงาน 3 ประเภทหลักๆ คือ
1. คล้าย seafco คือทำ piling, foundation, soil improvement
2. ก่อสร้าง underground work หรือใต้ดินที่มีความซับซ้อน เช่น อุโมงค์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น
3. Infrastructure เช่นถนน high way
ในแง่ของรายได้ ปีที่แล้ว 65% ของ revenue มาจาก piling, foundation, soil improvement
10% มาจาก underground work, และ 15% มาจาก Infrastructure
โดยที่ Gross Profit ในส่วนงาน underground work จะสูงสุด อยู่ที่ 18-20%, ส่วน Gross Profit ในส่วนงานด้านอื่นจะอยู่ในช่วง 10-15% ขึ้นกับลักษณะของงาน
สำหรับ Backlog จากที่ได้คุยกับผู้บริหาร มีมากถึง Đong 2,800 bn (foundation 50%, underground work 20%, infrastructure 20%)

คุณบอล>>> ในด้านของจุดแข็ง FCN มีธุรกิจที่เชื่อมกับ Infrastructure เยอะ เช่นรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นแรกเปิดมาก็หลายสิบกิโล
งานฐานราก link กับ โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี โรงกลั่น
FCN ถือว่าเป็นเจ้าที่ค่อนข้างใหญ่ market share ติด top อันดับสอง สูสีกับอันดับหนึ่ง ทำให้เวลาไป Bid ใหญ่ๆได้ เจ้าเล็กๆไปไม่ได้ จะเหลือแค่คู่แข่งรายใหญ่แค่ 3-4 ราย ทำให้ได้งานที่มี margin สูงได้
ช่วงหลังๆมีไปทำ Solar farm เฟสแรก 150 MW กับ เฟสสอง180 MW มี partner ระดับโลกซึ่งเค้ามีเงินทุนหนา แต่ก็อาจจะทำให้ FCN ต้องลงทุนตามไปด้วย
โรงไฟฟ้า มีการลงทุนจากต่างประเทศเยอะ เพราะมีการใช้ไฟมากขึ้น
PE 8x ซึ่งต่ำ แต่คุณบอลเสริมว่าตัวนี้ชอบเรียกเพิ่มทุนกระจาย อาจจะมี dilute

ดร นิเวศน์>>> ตัวนี้ผมเป็น ผถห ใหญ่คนนึง FCN market cap แค่ 2,000 ล้านบาท เทียบกับ
Seafco ยอดขาย 2,000 ล้านบาท แต่ FCN มียอดขาย 3,000 ล้านบาท
FCN หนี้ไม่เยอะ แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้การค้า >> ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน
PE น้อยกว่า Seafco 3 เท่า มีกองทุนกองนึง ถือเป็นสัดส่วนที่เยอะ
แต่ Seafco เน้นเจาะเสาเข็มอย่างเดียว ทำให้ margin 13% ดีกว่า FCN ซึ่งอยู่ที่ 7-8 %
Seafco มี market cap 6,000 ล้าน แต่ FCN market cap แค่ 1/ 3 ในขณะที่มียอดขายสูงกว่า, กำไรเยอะกว่า
จุดอ่อน คือ หนี้ระยะสั้นเยอะ เพราะที่เวียดนามคนตอกเสาเข็มรับเงินเป็นคนสุดท้าย (งงเด้ๆ)
ต่างจาก ไทย ซึ่งคนตอกเสาเข็มรับเงินเป็นรายแรก เพราะที่เวียดนามคนตอกเสาเข็มจะได้เงินเมื่อตึกเสร็จก่อน เค้าจึงต้องคอย finance เงินมาเพื่อรับงานใหม่ๆ
ดูอย่างไรหุ้นตัวนี้ก็ถูก หวังว่าหุ้นจะขึ้นในอนาคต
แต่หุ้นเวียดนาม มักไม่มีต่างชาติมาซื้อเพราะ market cap เล็ก สภาพคล่องน้อย แต่การที่ FCN เป็นบริษัทเอกชน ต้องพยายามหางานตลอดเวลา ต่างจากหุ้น State enterprise ที่ผู้บริหารอายุเยอะ ไม่ค่อย aggressive
คุณณัฐ>>> เสริมว่ามีข้อเสียของหุ้นตัวนี้ คือระยะเวลาที่ FCN รับเงินนาน, และยิ่ง revenue ของ FCN สูงมากขึ้นเท่าไร ยิ่งต้อง working cap สูงมากขึ้นเท่านั้น, ต้องมีการกู้ระยะสั้นมากขึ้น และเพิ่มทุน
สองปีก่อน มีการขยายไปรับงาน infrastructure แบบ BOT โดยมีการไปถือหุ้นในโปรเจคนั้นๆด้วย เริ่มแรกอาจจะถือหุ้นสัก 30-40% พองานใกล้เสร็จก็ลดการถือหุ้นลงเหลือ 10-15% >> ดังนั้น ยิ่งถ้าไปรับงาน infrastructure – BOT มากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งต้องลงเงินในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ต้นปีที่แล้ว FCN มีหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้ว 54 ล้านหุ้น ปลายปีหน้าหุ้นจำนวนนี้จะเพิ่มเป็น 110 ล้านหุ้น เพราะ 3 เหตุผล
(1) มีการทำ Right offering ตอนปลายปี
(2) มีการเพิ่มทุน มี private placement ต้นปีหน้า
(3) กลางปีหน้าจะมี convertible bond ครบอายุ
คุณบอล>>> ฝากว่า หุ้นที่ดู PEต่ำๆ แต่เราต้องดูเหตุผลเหล่านี้ประกอบด้วย ถ้ามีเพิ่มทุน อาจจะทำให้ PE เพิ่มขึ้น เพราะเงินเพิ่มทุนที่เข้ามา แต่ไม่สามารถสร้างกำไรได้ทัน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 132

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP12 TFFIF หรือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตไทย


รอคอยมานานกว่า2ปี กับไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ หรือ TFFIFหลังอนุมัติ
น่าจะเกิดปัญหาทางเทคนิคเลยออกกองได้ช้ามาก เราไปดูเนื้อหาของกองนี้กันครับ

นโยบายในการลงทุน
ลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่มั่นคงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน กิจการโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน ท่าอากาศยาน และกิจการโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ตอนนี้มีแผนไปสร้างทางด่วนดาวคะนอง และ ที่อื่นๆ

ประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
ภาษีเงินปันผล: ยกเว้นภาษีเงินได้บคุคลธรรมดาส าหรับเงินปันผลเป็น ระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียนตั้งกองทุน ทั้งนี้สำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้บริษัทจัดการจัดตั้งและจัดการกองทนุเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ดังนั้นนับจากวันที่ของเอกสารฉบับนี ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็น บุคคลธรรมดาจะได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาสำหรับเงินปันผลเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี
ภาษีกำไรส่วนต่างราคา: ได้รับการยกเว้น

กองทุนนี้เป็นกองทุนปิด ที่ไปลงทุนในทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถี ขนาดทุนจดทะเบียนที่หนึ่งพันล้านบาท
คาดว่าจะขายได้ 41,000-45,700 ล้านบาท ความเสี่ยงกองทุนอยู่ที่ระดับ7

ข้อดี กองนี้มีอายุมากสุดถ้าเทียบกับกองInfraทั้งหมด ตอนนี้กองEGATIFอายุยาวสุดคือ 20ปี

กระทรวงการคลังจะถือหน่วยลงทุนใน TFFIF เป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดหลังการเพิ่มทุน เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนที่เหลือเสนอขายประชาชนและสถาบันการเงินรวม 90%
โดยได้รับรายได้จากค่าผ่านทางของทั้งสองแห่งเท่ากับ 45% เป็นระยะเวลา 30ปี
แต่ถ้ารายได้ที่จัดเก็บได้จริงมากกว่าที่ประมาณการมากกว่า105%ขึ้นไปก็จะลดส่วนแบ่งลงเป็น 40%
จนถึงถ้ามากกว่าที่ประมาณการ120% จะลดเหลือ 20%ที่แบ่งให้กองทุน หมายถึงว่ารายได้มากกว่าที่คาด
กองทุนก็ไม่ได้ประโยชน์จากรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มของทางด่วนมากนัก

ดังนั้นผมขอสรุปว่ากองนี้ต้องทยอยคืนทุนให้จนครบ30ปี ดังนั้นปีนึงก็คืนทุนประมาณ 3.3% ถึงแม้ว่าทางกองทุนบอกว่าจะทยอยคืนในช่วงแรกประมาณ 0.8% ก็ตาม เพื่อจะดูว่ากองนี้ให้ผลตอบแทนจริงๆเท่าไหร่
ผลตอบแทนที่ประกาศไว้ในช่วง 4.75%- 5.3% รวมการจ่ายคืนเงินต้นด้วย

ข้อสำคัญ เมื่อครบเวลา30ปี กองทุนนี้ครบอายุก็ไม่สามารถรับรู้รายได้อีกต่อไปถ้าไม่มีการลงทุนเพิ่ม
ดังนั้น ผมคิดเสมือนลดทุนลงปีละ 3.3% ดังนั้น กองนี้จะจ่ายปันผลจริงๆประมาณไม่เกิน 2%
ถ้านำเงินฝากไม่เกิน 1% ย้ายมาลงทุนกองนี้ ก็ยังดูน่าสนใจ
แต่ถ้าเทียบกับความเสี่ยงระดับ 7 แล้วผลตอบแทนดูจะน้อยเกินไป
และถ้าเทียบกับกองที่อยู่ในตลาดที่ได้ปันผลมากกว่า 6%ต่อปี ดูน่าสนใจน้อยไปอีก
ดังนั้นเป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนว่าจะลงทุนกองนี้ดีหรือไม่

กองนี้บริหารจัดการโดย บลจ กรุงไทย และ บลจ MFC ดูแลผลประโยชน์โดยธนาคารกสิกรไทย
กองทุนนี้มีแผนจะกู้เงินไปลงทุนเพิ่มในทางด่วนพิเศษหมายเลข7และ9ในอนาคต
จองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 12-19 ตค สำหรับประชาชนทั่วไปที่ธนาคารกรุงเทพ
วิธีการจัดสรร แบบ small lot first ดังนั้นมีโอกาสจองได้หน่วยลงทุนแน่นอน แต่ถ้าจองเยอะอาจได้ไม่ครบที่จอง
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 133

โพสต์

VIKH#6 : 6/10/61 เคล็ดลับการลงทุน พี่โจ ลูกอีสาน
อ โจ ได้พูดถึงเคล็ดลับทั้ง 42 ข้อ
วันนี้มาพูดถึงข้อที่23
23. เลิกทาสกันเถอะชาวหุ้น - สิ่งที่ควรเลิก
1. ตื่นเช้าดูดาวโจนส์
2. เฝ้ามอง set index ระหว่างวัน
3. ตกเย็นดูต่างชาติซื้อหรือขาย
- สิ่งเหล่านี้คือน้ำ ถ้าวันไหนเลิกได้คือเราเป็นอิสระแล้ว
- นั่นทำให้นักลงทุนคิดเหมือนกัน และตอบสนองคล้ายๆกัน
Cr: น้องบิ๊ก I-saimon

**********************************************************************

วันนี้ได้คุยกับอ โจ ว่าที่ อ โจ พูดหมายถึง นักลงทุนวีไอที่ลงทุนหุ้นในตลาดหุ้นเมืองไทย
ไม่จำเป็นต้องดูสถานการณ์ดัชนีดาวโจนส์ หรือ ต่างชาติซื้อขายเท่าไหร่ เพราะจริงๆงานหลักคือศึกษาในตัวบริษัท รวมถึงกำไร เป็นหลัก
แต่ถ้านักลงทุนที่ลงทุนลักษณะเป็น Global play ก็ต้องติดตามดูเหตุการณ์และดัชนีต่างๆประกอบการตัดสินใจลงทุน ผมเป็นคนหนึ่งที่ลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนรวมก็เลยมีการติดตามตลาดต่างประเทศ รวมถึง commodity ด้วย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันนี้จะขอมาอัปเดทสถานการณ์รอบโลกซึ่งปั่นป่วนมากนับจากวันจันทร์ที่8 ตค ที่ผ่านมาหลังจากBond yieldของสหรัฐเด้งไปถึง 3.2% หมายถึง มีคนถือพันธบัตรระยะยาวเทขายแลวไปซื้อBondระยะสั้นแทน
สรุปว่ามุมมองของตลาดว่า Fedน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในช่วง ธค ที่จะถึงนี้แต่จริงๆตลาดก็คาดการณ์อยู่แล้วว่า Yield น่าจะอยู่ที่ 2.9%
การที่Yieldไปถึง 3.2% หมายความว่า คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

Trade War ระหว่างจีนและอเมริกา ส่งผลกระทบต่อGDPของโลก ล่าสุด IMF คาดการณ์ว่าจะโตลดลง 0.2%
เหลือ 3.7%ในปีนี้และปีหน้า ส่วนGDPของสหรัฐและจีนจะลดลง 02%
จีนได้ปรับ RRR (การสำรองของธนาคารพาณิชย์)จาก 15% เหลือ 14% ปรากฏว่าทำให้นักลงทุนสถาบันมีความ
กังวลมากขึ้น ทำให้ดัชนีหุ้นของจีนลดลงกว่า4%ในวันจันทร์ที่8 และส่งผลกระทบต่อ EU ดัชนีลดลง 4% ด้วย

***********************************************************************

หลังจากทรัมป์เก็บภาษีเพิ่มกับจีนในรอบที่สอง ปรากฏว่าฐานเสียงของทรัมป์ลดลง เพราะไปกระทบกับชาวนา
ซึ่งจะกระทบต่อการเลือกตั้งในช่วงเดือน พย ด้วย ส่วนจีนก็กำลังรอผลการเลือกตั้งให้เสร็จสิ้นแล้วจึงมีการเจรจา
กับสหรัฐ เพราะจีนเสียเปรียบที่ใช้อาวุธไปหมดแล้ว แต่สหรัฐยังมีอีกอย่างน้อนหนึ่งไม้ในการขึ้นภาษีในปีหน้า
สำหรับกองทุนต่างประเทศที่น่าสนใจ ดูจากกองทุนหุ้นจีนที่ลงมาหนักๆ ถ้าการเจรจาไปด้วยดี ก็เชื่อว่า
มีโอกาสปรับตัวเพิ่มกลับไปได้ รวมถึง กองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐก็ยังไปต่อได้ จากอัตราการว่างงานที่ลดลงและเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

ส่วนกองทุนน้ำมันก็ลุ้นว่า ถ้าสหรัฐ fully sanction อิหร่านได้ใน 7 พย ก็จะทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงไปอีก ซึ่งเป็นความปรารถนาของสหรัฐด้วย ดังนั้นราคาทองคำก็ไม่น่าจะไปไกล

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การศึกษาและเข้าใจในแต่ละสถานการณ์จะช่วยให้เราวางแผนการลงทุนให้ดียิ่งขึ้น แต่การปรับพอร์ตไม่ควรทำถี่มาก อย่างมากสุดไม่เกินไตรมาสละครั้ง แต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก ก็จะทำปีละครั้งเดียว
ถ้ามีเหตุการณ์ที่ผันผวนอีก ผมจะมาอัปเดทให้อีกครั้งนะครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 134

โพสต์

K-Vietnam กองนี้เป็นกองล่าสุดที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม
บริหารโดยบลจ กสิกรไทย

ผมได้ข้อมูลจาก น้องเต๋า น้องเป้ จาก VVI รวมถึง น้องต่าย และ คุณอุ๋ม
ต้องขอบคุณมากครับ เพราะหาข้อมูลค่อนข้างยากสำหรับกองนี้

K-Vietnam มีสัดส่วนลงทุนเองในหุ้น , ETF และกองทุนรวมที่เวียดนาม สัดส่วนประมาณ 80%โดยมีนักวิเคราะห์9คนที่ดูแลอยู่

----------------------------------------------------------------

นโยบายการลงทุนคล้ายกับ CIMB-Vietnam
สามารถซื้อ ขายได้ทุกวัน เหมือนกับกองเวียดนามของ บลจ วรรณ
IPO ระหว่าง 16-22 ตุลาคม 61 Front end fee คิดแค่ 1% โดยได้รับกองตราสารหนี้ 100 บาท ต่อการซื้อทุก 50,000บาทในช่วง IPO และสามารถซื้อเพิ่มได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตค 61 แต่ Frontend fee คิดเป็น 1.5%
กองทุนนี้ซื้อ ขายได้ทุกวัน แต่ทำรายการไม่เกิน 12.00 น

-----------------------------------------------------------------

ผมสรุปข้อดีและข้อเสียของกองทุนนี้ในความคิดเห็นของผมมาให้สำหรับคนที่สนใจครับ

ข้อดีของกองทุนนี้

1.สำหรับคนที่ต้องการลงทุนในตลาดหุ้นที่ราคายังไม่แพง คล้ายไทยเมื่อ20ปีก่อน มีโอกาสเติบโตเหมือนไทย
ช่วงนี้ราคาไม่ค่อยแพง เพราะดัชนีลงจาก 1,200 มาที่ ประมาณ 900กว่าจุด

2.ต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากมาย ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้น ทำให้การบริโภคในประเทศสูงขึ้น เราสามารถไปแชร์เรื่องการเติบโตกับเวียดนามได้ผ่านกองทุนรวมที่ไปลงทุนบริษัทต่างๆในเวียดนามได้

3.เราสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมนี้ และ ได้ผลตอบแทนอย่างน้อยเท่ากับดัชนีของตลาดหุ้นเวียดนาม

4.ไม่ต้องปวดหัวในการศึกษาหุ้นเวียดนาม เพราะส่วนใหญ่เป็นภาษาเวียดนาม ทำความเข้าใจยาก
5.ลงทุนขั้นต่ำ 500 บาทในกองทุนรวม เทียบกับลงทุนหุ้นเอง ต้องใช้เงินมากกว่านี้ ถ้าลงในprivate fundขั้นต่ำที่เห็น3ล้านบาทขึ้นไป

6.ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งในportfoiloเพื่อทำให้พอร์ตกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น

7.ถ้าตลาดหุ้นเวียดนามซึ่งเป็นตลาดชายขอบ ได้รับการอัปเกรดเป็นตลาดเกิดใหม่
ทำให้ราคาหุ้นโตได้อีกเยอะจากสถาบันต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากขึ้น
8.กองทุนนี้สภาพคล่องสูง สามารถซื้อ และ ขายได้ทุกวัน แต่เงินจากการขายจะได้รับตอน T+5

ข้อเสีย

1.สำหรับนักลงทุนที่ปกติชอบศึกษาบริษัทเอง อาจไม่ชอบลงทุนผ่านกองทุนรวมเพราะต้องเสีย
ค่าบริหารให้กับกองทุนรวม และ ไม่ได้ใช้ฝีมือตัวเองในการวิเคราะห์บริษัท อันนี้หลายคนนำมาเป็นปัจจัยจะซื้อหรือไม่

2.ส่วนของETF ซึ่งมีหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งอาจไม่ชอบบางบริษัทที่ราคาแพงไป แต่ต้องซื้อไปด้วย

3.เรายังไม่รู้ความสามารถของผู้จัดการกองทุนว่าเก่งขนาดไหน ข้อนี้แก้ไขโดยอาจรอให้ผลประการออกมาแน่ชัดก่อนแล้วค่อยลงทุนก็ได้

4.สำหรับคนที่ลงในระยะสั้น อาจไม่เหมาะ
เพราะต้องถือกองทุนมากกว่า1ปีขึ้นไป เพื่อรอให้เวียดนามเติบโต เราจะได้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้น

บทความนี้เป็นข้อมูลและข้อคิดเห็นส่วนตัว นักลงทุนต้องตัดสินใจเองว่าการลงทุนนี้เหมาะสมกับ
ตัวเองหรือไม่
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 135

โพสต์

ใครคือผู้ชนะท้ายสุดสำหรับทีวีในปัจจุบัน
เจ้าของช่องทีวีดิจิตอล ? ผู้สร้างContent? เจ้าของPlatform?


จากสัมมนาที่ภัทร เมื่อวันที่ 19 ตค 18

#ใครฆ่าประเสริฐ แฮทแทคที่เป็นtalk ใน social network จากละครเรื่อง เลือดข้นคนจาง ที่ฉายทางช่อง ONE31ตอนนี้คงทราบแล้วว่าใครเป็นคนฆ่า แต่มูลเหตุจูงใจให้ฆ่าอะไร ก็ต้องติดตามตอนต่อไป

อาจารย์นิเวศน์ได้พูดว่า ตอนนี้ผู้บริโภคสื่อทีวีจะไม่loyaltyกับช่องที่ดังๆสมัยก่อน เช่น ช่อง3 โดย อาจารย์สังเกตจากภรรยาเริ่มหันเหจากช่อง3มาดูช่องONE ซึ่งอาจารย์เริ่มมาสังเกตว่าละครดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ดูน่าติดตามมาก ทำให้มีโอกาส
เปลี่ยนจากช่องที่เคยชินมาดูช่องใหม่ๆได้ไม่ยาก ตอนนี้ก็ติดละคร เลือดข้นคนจาง เสาร์นี้จะรีบกลับไปดูว่าใครฆ่าประเสริฐ
ส่วนช่องที่สร้างcontentเก่งอย่างWorkpoint ซึ่งเมื่อก่อนเชื่อว่าคนสร้างcontentเท่านั้นจะอยู่รอด แต่ตอนนี้ratingตกลงอย่างมาก ส่วนช่องMonoเริ่มขยับมาแทนที่

แต่คุณรู้ไหมนอกจากเจ้าของช่องทีวีดิจิตอลแล้ว ไทยยังมี OTT Streaming service
ซึ่งแบ่งออกเป็น Advertising ได้แก่ Line TV , Mellow(ช่อง3) ,
และอีกกลุ่มคือ Subscription ได้แก่ Mono Max , AIS Play ,Netflix ,Iflix

ปรากฏว่าคนไทยนิยมดูฟรี แต่ยอมให้มีโฆษณาได้ ทำให้ Line TV และ AIS Play
เริ่มต้นมาพร้อมกันเมื่อ2 ปีที่แล้ว
แต่ตอนนี้ยอดคนดู ของ LineTV 20ล้านคน ส่วน AIS Play 1.6 ล้านคนเท่านั้น
แล้วคุณรู้ไหมว่า คนที่ดูละคร เรื่องเลือดข้นคนจาง ส่วนใหญ่ดูจากสื่ออะไร
ปรากฏว่า 78%ดูจากLine TV ที่เหลือดูจากช่องOne31 ส่วนYoutubeไม่สามารถดูเรื่องนี้ได้
ทำให้ตอนนี้ ใครที่เป็นเจ้าของPlatform และมีคนติดตามดูเยอะอย่างLineTV,Youtubeจะได้เปรียบ
และยอดการเติบโตก็สูงถึง 50-60 ล้านคน ดังนั้นน่าเป็นห่วง คนที่ทำDigital TVว่าคู่แข่งไม่ใช่ช่องทีวีด้วยกันแล้วแต่คู่แข่งจากนอกธุรกิจทีวีรุกเข้ามาสู่Digital TV ซึ่งในต่างประเทศเจอปัญหานี้แล้ว เชื่อว่าต่อไปไทยก็คง
เจอสภาพที่คล้ายกัน และต่อไปเจ้าของPlatformก็จะมาทำรายการของตัวเอง เหมือนกับ Netflixกำลังทำอยู่
ทำให้ เจ้าของcontentก็โดนผลกระทบไปด้วย สุดท้ายใครเป็นผู้ชนะก็เดาได้ไม่ยาก
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 136

โพสต์

งานสังสรรค์วีไอครั้งที่2 ปี 2561 ของสมาคมไทยวีไอ 27 ตค 2561

ช่วงรุมหลังงานกับ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
พิธีกร คุณบอล และ น้องเบส


คุณบอลเกริ่นนำ ว่าก่อนจจหน้านี้ บัตรเข้างานสัมมนาครั้งนี้ยังไม่เต็ม แต่พอใกล้วันงาน
มีคนติดต่อมาเยอะมาก ถามว่ายังมีที่นั่งเหลือหรือไม่ ซึ่งปกติช่วงหุ้นตก จะมาร่วมงานกันน้อยมาก
มาเริ่มคำถามข้อแรกกันครับ

Q: ตอนนี้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงไหน
A: อ นิเวศน์บอกว่า เคยพูดเมื่อ3-4 ปีที่แล้วว่า ได้ขายไปพอสมควร แล้วกลับมาตลาดหุ้นอีกครั้งเพราะ
เทียบกับนำไปฝากกับเงินปันผลของหุ้นแล้วมาลงหุ้นดีกว่า ได้ผลตอบแทนสูงกว่า ผมเลยเจ็บตัวไปในรอบนี้
ตอนช่วงหลังเริ่มเห็นสัญญาณตลาดหุ้นไม่ไปไหน ปีที่แล้วก็ออกหนังสือชื่อว่า ลงทุนในตลาดหุ้นSideways
ซึ่งตลาดหุ้นช่วงปี 57-60 ไม่ได้ไปไหนเลย

กลยุทธ์ในการลงทุนมี 2 ทาง คือ
1. ตลาดหุ้นตกแรงๆ แล้วค่อยขึ้นกลับมา
2. ตลาดหุ้นตกช้าๆ และ ไม่ไปไหนไกล

ส่วนตัวอาจารย์คิดว่าเป็นข้อ 1 แต่ไม่เกิดขึ้นเพราะ เม็ดเงินของคนไทยที่ลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือลงทุนเอง
มารับที่ต่างชาติขายออกมาช่วงนั้นจนถึงปัจจุบันคิดเป็นยอดขาย 500,000-600,000 ล้านบาท ปีนี้ก็ขายอีก
260,000 ล้านบาท ถ้าเป็นเมื่อก่อนมีการขายจากต่างชาติแบบนี้ ตลาดPanicแล้ว
แต่ตอนนี้ต่างชาติขาย รายย่อยและกองทุนรับ
ช่วงนี้พื้นฐานเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้น คนไทยเริ่มแก่ตัวลง ผลประกอบการบริษัทไม่ค่อยดี
เริ่มมาดีเอาตอนปีนี้ เพราะรัฐบาลก่อนหน้าลดภาษีของบริษัทลง ช่วยประคองไปได้

คนไทยอยู่ในช่วงเก็บเงินมากสุดเทียบกับช่วงที่ผ่านมา มีการออมเงินผ่าน กองทุนประหยัดภาษ๊เช่น RMF,LTF
ซึ่งเป็นตัวหนุนให้หุ้นไม่ค่อยลง
กิจการไม่ค่อยขยายตัว ดังนั้นเจ้าของบริษัทเลยเอาเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นแทน
ปีนี้ส่งออกดีขึ้นมาหน่อย แต่ตอนนี้เริ่มชะลอแล้ว ส่งออกของเวียดนามเริ่มตามทันเราแล้ว
นักลงทุนที่มีประสบการณ์ ศึกษามาเพียงพอก็ไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน

ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงไม่ได้นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่มีทางออกในเรื่องการลงทุน
ซื้อทองก็เจ๊ง Propertyก็เฟ้อมาก เลยเข้าตลาดหุ้นแทน ทำให้ประคองตลาดไปได้
ส่วนตัวอาจารย์เองหลังจากรอPanicมาหลายปีไม่เกิดสักที เลยเข้าตลาดหุ้นรอบใหม่
ปันผลได้แค่5%ก็happyแล้ว และเงินส่วนนึงไปลงทุนตลาดหุ้นเวียดนาม ผลตอบแทนที่ผ่านมา
ได้ปีละ5% ซึ่งน้อยมาก ไม่ได้ดีกว่าเมืองไทย แต่ถือว่าเป็นการDiversify หรือการกระจายความเสี่ยง
รอคนเวียดนามมีรายได้เพิ่ม และ นำมาลงทุนในตลาดหุ้น

ผมลงทุนแบบหว่านแห ทั้งที่หุ้นปันผล 10% แต่หุ้นก็ลง แม้ว่าผู้บริหารบอกว่าจะปันผลปีหน้า 12%
แต่ไม่มีใครสนใจ เพราะมีทางออกที่สามารถหาผลตอบแทนได้มากกว่านี้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย ด้วยเหตุผลข้างต้น ตลาดหุ้นไทยเลยไม่Panicด้วยพลังเงินของรายย่อยและกองทุน
ดอกเบี้ยต่ำติดดิน บริษัทใหญ่ ธนาคารขนาดใหญ่ กำไรเยอะ แต่ไม่โต เพราะโดนdisruptionในเรื่องค่าธรรมเนียม
ที่หายไป ส่วน Teleco คนมีมือถือกันหมดแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ๆโตยากแล้ว
ท่าอากาศยาน (AOT) ซึ่งใหญ่มากแล้ว จะโตมากกว่านี้ก็ยาก ที่กำไรมากๆที่ผ่านมาเนื่องมาจากรัฐบาลและท่องเที่ยวโต
ส่วนธุรกิจโรงแรม ที่มีโรงแรมในตลาดประเทศ ก็มีคู่แข่งมาเปิดตาม ไม่สามารถป้องกันคู่แข่งเข้ามา กำไรก็โตยาก
ส่วนค้าปลีกก็โตช้าลง เพราะคนเกิดในอัตราที่ต่ำลง แทบไม่มีsectorใหญ่ๆที่โตได้ เราเลยต้องกระจายความเสี่ยง
ไปลงในต่างประเทศ

เราผ่านช่วงsuper growthมาแล้ว คนก็ไม่กล้าลงทุนเพิ่ม เพราะอาจมีปัจจัยจากรัฐมาแทรกแซงเช่น ลดค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน เป็นต้น

ตอนนี้ ก็เลยหาหุ้น Deep Value ซึ่งได้ผลตอบแทน 10-15% ก็มีความสุขแล้ว
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 137

โพสต์

งานสังสรรค์วีไอครั้งที่2 ปี 2561 ของสมาคมไทยวีไอ 27 ตค 2561

ช่วงรุมหลังงานกับ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (ต่อ)

Q: นักลงทุนบางคนยังไม่เคยเจอวิกฤตใหญ่ เช่น วิกฤตSubprime ซึ่งตลาดหุ้นตกวันละ10%ติดต่อกัน อยากให้
อาจารย์ช่วยแชร์
A: สมัยก่อนตลาดหุ้นลงแรง ลง10%เป็นเรื่องธรรมดา สมัยนี้ถ้าเป็นเหมือนสมัยก่อน ต่างประเทศขาย5,000ล้านบาท
ตลาดหุ้นก็ตกเป็นเดือนๆ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไป ตลาดหุ้นไม่ได้ลงหนัก ถึงมีการขายติดต่อกัน แต่ไม่เจอวันพิฆาต
ตอนนี้คนจะชินว่า เวลาตลาดหุ้นตกก็รอตลาดหุ้นเด้ง เลยไม่รู้ถึงเหตุการณ์สมัยก่อน
ความชินนั้นน่ากลัวมาก หุ้นลงมาได้50% ถึงแม้storyยังดี ยี่ห้อขายได้ดี คิดว่าถูก แต่PEของหุ้นยัง 30 เท่า
คนดูแต่สิ่งใกล้ๆ ยอมรับหุ้นPE 20-30 เท่า คิดว่าราคาลงมาก็น่าจะขึ้นไปได้ ดังนั้นหลายคนจึงเข้าไปซื้อ
ซึ่งที่ผ่านมาก็เด้งจริงๆ ดังนั้นต้องรอให้คนหมดกำลังใจ เงินหมด จึงจะเกิดวิกฤต
สมัยก่อน หุ้นต้องลงจนมีPE 10 เท่าจึงค่อยเข้าไปซื้อ แต่ปัจจุบัน หุ้นที่ลงมามากๆ ก็ยังมี PE 30เท่า
และไม่ใช่หุ้นที่เด่น อันดับในอุตสาหกรรมก็ อันดับ 2-3
ตอนตลาดแย่ อาจารย์แนะนำว่า เราควรเกี่ยงเรื่องราคา สมัยก่อนหุ้นที่มีPE 15 เท่าก็คิดว่ายังแพง
คนที่เป็นHard Core ก็มีการใช้Leverage , Block Trade หรือมีการใช้ margin เพื่อให้มีกำไรเยอะๆ
ถึงแม้หุ้นขึ้นไม่เยอะก็สามารถทำกำไรเยอะ ปัจจัยเหล่านี้ช่วยประคองตลาดหุ้นไม่ให้ลงลึกมาก

Q: อยากให้อาจารย์แนะนำคนที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้น จะปรับmindset อย่างไร
A: อาจารย์แนะนำให้ขายหมด ตอนหุ้นวิกฤต PE เหลือแค่10เท่า คนยังไม่ซื้อเลย
ตอนนี้ต้องอย่าให้ความเคยชินมาหลอกลวงเรา ถ้าเกิดการล้างไพ่ ตลาดจะลงหนักมาก
จะมานึกว่าทำไมเราไปซื้อหุ้น ที่มีPE 30เท่าได้อย่างไร
Q: อาจารย์มีเปลี่ยนตัวหุ้นระหว่างทางหรือไม่
A: ไม่เคยเปลี่ยน เพราะตอนตัดสินใจลงทุนในหุ้นแต่ละตัวนั้น ได้มองแล้วว่า
บริษัทที่เลือกมีโอกาสที่จะชนะในระยะยาวหรือไม่

เราชินเรื่องเกี่ยวกับstartupว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประสบความสำเร็จในช่วง20ปีที่ผ่านมา เช่น Facebook
ถ้าเราเจอบริษัทแบบเดียวกันนี้ก็จะซื้อ แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปทุกคนรู้เหมือนกันหมด

อาจารย์คิดอีกแบบว่า สมัยก่อนไม่มีคนรู้ เลยประสบความสำเร็จ แต่ในปัจจุบันถ้าคุณทำเหมือนกัน
ไม่สามารถเติบโตได้อย่างFacebook , Google เพราะต้องแข่งขันกับบริษัทใหญ่ๆที่ลงมาแข่งกับเรา หรือบางที
อาจถูกซื้อจากบริษัทเหล่านี้
ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนชับ ก็มีหลายบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในวงการ แต่ก็เข้ามาทำเหมือนกัน
เพราะบริษัทเหล่านี้มีเงินสดในมือมาก สามารถลงทุนวิจัย พัฒนาได้ กลายเป็นว่าบริษัทใหญ่ๆก็ต่อสู้กัน
และต้องมีบริษัทที่หายไปจากการต่อสู้ บาดเจ็บกันทั้งหมด ทายไม่ถูกว่าสุดท้ายใครเป็นผู้ชนะ ใครได้ประโยชน์
สุดท้ายก็จะทำธุรกิจคล้ายๆกันหมด

อาจารย์แนะนำว่า เราไม่ควรเข้าไปยุ่งในส่วนที่เราไม่ชำนาญ พยายามหาในส่วนที่ยังไม่มีคนเล่นน่าจะมีโอกาสมากกว่า
มองตลาดเมืองไทย จุดไหนที่เราชนะได้ กินแค่ตรงนี้ก็พอ การซื้อstartupเล็กๆเพื่อหวังโตในระยะยาวเป็นunicornไม่ง่ายเลย เพราะรายใหญ่ดักไว้หมดแล้ว


Q: อยากให้อาจารย์แนะนำว่า จะดูยอดขายต่อMarketcapในแต่ละอุตสาหกรรม ดูอย่างไร
A: ยอดขายในแต่ละproductไม่เท่ากัน เช่น ยอดขายของน้ำมัน หรือ ข้าวซึ่งเป็นสินค้าcommodity ไม่มีความหมาย
เนื่องจากสินค้าอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ราคาขึ้นกับตลาดโลก

อาจารย์แนะนำให้ไปดูยอดขายที่ก่อให้เกิดกำไรที่ชัดเจน รักษาmarginได้ มีคนfavorสินค้า หรือ เป็นผู้นำมีmarket shareเยอะ หรือ มีต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งเสมอ
ตัวอย่างเช่น บริษัทAppleขายสินค้าในราคาแพงกว่า ถ้ายอดขายโต ก็ส่งผลดีต่อกำไร

ดังนั้นต้องดูเฉพาะยอดขายที่ก่อให้เกิดกำไรที่ชัดเจน ถ้าสินค้ามีความแตกต่าง marginจะเป็นตัวบอกกำไร
ถ้าเป็นสินค้าcommodityจะผันผวน ต้องเฉลี่ยไป

ตัวอย่างเช่น จะคำนวณหากำไรของบริษัทที่ขายน้ำมัน สมมติเรารู้ว่ากำไรจะได้ 2%ของยอดขาย
ดังนั้นคำนวณได้ว่า จำนวนยอดเงินที่ขายในแต่ละปั้ม*2%*จำนวนปั้ม จะรู้ว่ากำไรที่เป็น
longrun / averageว่าได้เท่าไหร่

แต่เราทำผิด คือตอนยอดขายดีๆ marginก็โตเป็น4% กำไรโตพรวด คนก็ขยับ PEจาก 10เป็น20เท่า เพราะถือเป็นหุ้นgrowthรวมถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว ก็เลยให้PEเป็น40เท่า หุ้นเลยขึ้น 4 เท่า อะไรก็ตามที่โตผิดปกติเช่น marginที่ผิดปกติก็อยู่ไม่ได้นาน ทำให้ราคาหุ้นลงพรวด ดังนั้นจะไม่ซื้อหุ้นที่เป็นcommodityที่ขึ้นแรงๆ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 138

โพสต์

รูปแบบการจ่ายเงินที่เปลี่ยนไป

จำได้ว่าสมัยสัก20ปีก่อน ตอนนั้นบัตรเครดิตยังไม่ค่อยนิยม ค่าสมัครและค่าธรรมเนียมรายปีก็แพง
ดังนั้นจะนิยมจ่ายเป็นเงินสดมากกว่า แต่อาจทำไว้สักใบเพื่อจ่ายในกรณีเป็นเงินก้อนใหญ่
แต่ร้านค้าที่รับก็ไม่มาก แถมยังเก็บค่าธรรมเนียมการรูดด้วย
เวลาไปซื้อหนังสือเช่นร้านดอกหญ้า ที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าเงินไม่พอก็ไปเบิกเงิน
ที่ตู้ATMมาจ่าย เพราะสมัยนั้นร้านยังไม่รับบัตรเครดิต

ต่อมาบัตรเครดิตก็ได้รับความนิยมเมื่อ10ปีที่ผ่านมา เพราะส่วนใหญ่จะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีได้
ทำให้กับจับจ่ายก็สะดวกขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดว่าอาจต้องมียอดเงินขึ้นต่ำที่จะรูดบัตร
จึงยังจำเป็นต้องมีเงินสดติดตัวบ้าง

นักท่องเที่ยวชาวจีนเริ่มมาท่องเที่ยวในไทย ทาง 7-11 ก็เปิดให้จ่ายเงินผ่าน Alipay ซึ่งถือเป็น E Wallet
หรือ กระเป๋าเงินอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งสะดวกในการจับจ่ายสำหรับชาวจีนมาก เพราะ ที่ประเทศจีนไม่นิยมบัตรเครดิต
วิวัฒนาการการชำระเงินที่เมืองจีน ก็เลยข้ามขั้นจาก จ่ายเงินสด ไปเป็น จ่ายผ่าน Alipay หรือ Wechat Pay
การชำระเงินก็สะดวก เวลาจะชำระสินค้า เจ้าของร้านก็สแกนQR codeของผู้ซื้อ ก็ถือจบขั้นตอนการจ่ายเงิน
หลังจากนั้นก็มีการประยุกต์การใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ร้านที่ไม่ได้ลงทุนเรื่องอุปกรณ์การสแกน ก็พิมพ์QR code
เพื่อให้คนซื้อสแกนจ่ายเงิน แม้แต่ให้อั่งเปาในช่วงตรุษจีนก็ยังให้ผ่านQR code เลย ถ้าต้องการบริจาคเงินให้วัดหรือ
ทำบุญกับขอทาน ก็สแกนQR codeของเขาก็ได้

ย้อนมาเมืองไทยบ้าง ทางธนาคารขนาดใหญ่ก็เริ่มให้ใช้กัน โดย ธนาคารวายุภักษ์ เริ่มก่อนโดยทำป้ายQR codeแจก
ไปตามร้านค้าตลาดสด แต่ปรากฏว่าไม่ค่อยมีร้านค้าใช้ อีกธนาคารสีม่วง ก็ได้ไอเดียเรื่องนางกวัก ว่าเป็นที่นับถือของ
พ่อค้าแม่ค้า ดังนั้น จึงทำเป็นตุ๊กตาแม่มณีคล้ายกับเรียกลูกค้า ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก รวมถึงการโปรโมตผ่านตัวละคร แม่การะเกด จากเรื่องบุพเพสันนิวาสด้วย

นอกจากนี้ E wallet ในไทยยังมีหลายเจ้าที่ลงมาแข่งขัน เจ้าใหญ่อย่าง True ก็มาทำ True e wallet และ โปรโมตผ่านร้าน 7-11 ก็รับจ่ายผ่าน True e wallet ก็สามารถเรียกลูกค้าได้ ส่วน ค่าย Line ก็ร่วมมือกับ BTS ทำ Rabbit Line pay
ออกมา ตอนนี้ยังสามารถlink บัตร Rabbit กับ Rabbit line pay เข้าด้วยกัน สามารถเช็ครายการใช้จ่าย เกี่ยวกับ
รถไฟฟ้าผ่านทาง app rabbit line pay ได้ด้วย

แล้วค่ายบัตรเครดิตละ จะยอมแพ้เหรอครับ ไม่มีทาง ตอนนี้ได้ข่าวว่า Master card , Visa car , China Union pay
รวมกันเพื่อทำมาตรฐานระบบ QR code สำหรับการใช้จ่าย

สุดท้ายคนที่ได้ผลประโยชน์จริงๆน่าจะเป็นผู้บริโภค ต่อไปอาจไม่ต้องพกเงินออกนอกบ้าน แค่มีมือถือเครื่องเดียวก็ได้แล้ว
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 139

โพสต์

งานสังสรรค์วีไอครั้งที่2 ปี 2561 ของสมาคมไทยวีไอ 27 ตค 2561
ช่วงรุมหลังงานกับ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตอนที่2
พิธีกร คุณบอล และ น้องเบส


Q: อยากสอบถามความเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง และ ตอกเสาเข็ม
A: อุตสาหกรรมรับเหมามากับประชากรที่เพิ่มขึ้น และ รวยขึ้น แต่ตอนนี้เด็กเกิดใหม่น้อยลง
Facilityที่สร้างมาเยอะ สะสมมาเรื่อยๆ Mega projectที่เกิดขึ้น สุดท้ายเป็นอย่างไร
การที่ประเทศญี่ปุ่นไมร่วมลงทุนกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ไปเชียงใหม่จากข่าวเมื่อวันที่ 26 ตค 18
ความคิดเก่าเกี่ยวกับว่าจำเป็นต้องมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง สุดท้ายสร้างขึ้นมาก็เจ๊ง จริงๆนาทีนี้ใช้เครื่องบินดีกว่า
ถ้าญี่ปุ่นถอยก็รอรัฐบาลหน้ามาตัดสินใจ ท้ายสุดก็ขึ้นกับcapacity
การรับงานpublicเป็นธุรกิจสีเทา กำไรได้มาจะถึงกระเป๋าเราเท่าไหร่
ธุรกิจเสาเข็ม มีข้อดี คือ กำไรจากการเก็บเงินหลังงานเสร็จ ไม่ต้องรอตึกเสร็จ คำนวณง่าย มีmarginค่อนข้างดี
กำไรจะโตมากในช่วงนี้ กำไรเพิ่ม ถ้าให้PEเพิ่มอีก เราก็จะติดกับดัก PEเพิ่ม เราเข้าไปซื้อของแพง บางคนคิดว่า
ซื้อแพง ก็ขายแพงกว่า แต่มีคนอื่นรู้ดีกว่าเรา
หุ้นเสาเข็มไม่ใช่หุ้นGrowth เพราะว่าถ้าprojectหมด ก็กลับมาสู่ช่วงปกติ ซึ่งปกติPEไม่เกิน 10 เท่า
ระยะสั้น PEสูงได้จากนักเก็งกำไร เป็นเหตุว่าหุ้นตัวเล็กมีmarket cap 10,000-100,000 ลบ ตัวอย่างเช่น
บริษัทขายขนมทำไมจะโตได้ขนาดนี้ ถึงแม้เขาบริหารดีกว่า แต่ธุรกิจไม่ใช่ธุรกิจหลักในเมืองไทย อาจมีคู่แข่งเข้ามาได้

Q: ราคาห้นบางตัว เช่น Jxxxt ลงมาเยอะสุดในปีนี้ เกิดอะไรขึ้น จะเจ๊งไหม มีโอกาสกลับเหมือนเดิมไหม
A: ตอนหุ้นขึนมีstory : JxT, Jaxxxt อะไรก็ดูดีหมด มือถือก็เป็นผู้นำ พยายามทำเป็นหุ้นgrowth
ตอนนี้กลับมาสู่ความเป็นจริง ขายมือถือเท่าไหร่ marginเท่าไหร่
ตอนนี้ต้องเข้าสู่ความเป็นจริง ควรมีmarket cap เท่าไหร่ ถ้าresonableก็ถึงจะเข้าไป
Marketcapรวมหนี้ด้วย ถ้าเราวิเคราะห์แบบนี้ได้ ตัวธุรกิจขายมือถือไม่มีvalue marginบางมาก

Q: Bond 10 years Yieldเพิ่ม มีโอกาสเกิดวิกฤตไหม
A: มีโอกาส เพราะถ้าYieldสูง คนหันมาซื้อBondแทน เวลานั้นคนย้ายจากหุ้นมาBond มีผลสูงมาก
คนกลัวมา ดอกเบี้ยขึ้นแรงๆ แต่ยังมั่นใจดอกเบี้ยในไทยไม่ขึ้นแรง เพราะว่าเงินยังมีอยู่เยอะ ไม่มีทางไป
รัฐบาลพยายามกดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ความเสี่ยงมีแต่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับสหรัฐ แต่ถ้าสหรัฐเกิดไป
เราก็โดนไม่แรง และ ฟื้นตัวได้

Q: อาจารย์มีการขายหุ้นบางตัวไป อยากให้ช่วยแนะนำว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ขายหุ้นไป
A: ส่วนใหญ่ดูfundamental ราคาเป็นส่วนน้อยที่เป็นตัวตัดสินใจในการขาย
หุ้นตกไม่ใช่ประเด็นในการขาย เวลากิจการดี สุดท้ายราคาก็กลับมา
ตอน Hmpro เปิด Magahome มีคู่แข่งเช่น ไทวัสดุ Global houseเข้ามาตลาดใกล้เคียง
แทนกันได้เยอะในต่างจังหวัด อีกหน่อยก็แย่ คนที่improveบ้านแบบ middle income ก็จะไปที่อื่น
ผมซื้อHmproมา10ปี ราคาขึ้นก็เลยขายหมูไป เพราะว่าหลังจากการขาย ราคาก็ขึ้นไปอีก ต่อมาซื้อ
QHซึ่งถือHmpro 25% valuationได้ ขยายไปมาเลเซีย ถ้าธุรกิจที่นั่นลงตัว ก็เป็นตัวเร่งได้
ช่วงนี้ Hmpro ขึ้นสวนกระแสมาตลอด
การซื้อหุ้น QH เหมือนการซื้อหุ้น Hmpro ในราคาdiscount ปันผลดี ดูแลผู้ถือหุ้นดี มีธรรมมาภิบาล
ส่วน BCP ซื้อมาก่อน BCPG เพราะตอนหลังหาหุ้นซื้อยาก ส่วนsuper stock ราคาแพงเวอร์มาก
เลยหาหุ้นแบบ Supercheap stockแทน BCP ราคาค่อนข้างถูก ปันผล 5-6%
Commodity long run ,marginบาง 2-3% แต่ยอดขาย แสนล้านบาท ได้กำไร 2,000-3,000 ล้านบาท
ประกอบกับ ลงทุนในธุรกิจBattery ซื้อบ่อน้ำมัน ซึ่งอาจารย์ไม่เห็นด้วย เพราะเจ๊งไปบ่อนึงแล้ว
ถือหุ้น50%ในโรงเอทานอลด้วย P/B 1 เท่า , PE < 10 เท่า ปันผล 5-6% ดูย้อนหลัง 5-6 ปี
มีเงินสำหรับจ่ายปันผลได้ Cash flowดี , EBITDA / cash 10,000 กว่าล้านบาทต่อปี
Market cap 50,000 ลบ แสดงว่าเก็บแค่ 3-4 ปี ก็คืนหมดแล้ว พอใจกับปันผล 5%
BCPG มั่นคงน้อยกว่า BCP เป็นหุ้นแนว growth

Q: วิกฤต ถ้าเกิดจริงๆ อาจารย์สนใจหุ้นUS, VN หรือ ไทยครับ
A: น่าจะเป็นหุ้นไทย เพราะเรารู้ดีกว่าหุ้นในตลาดอื่น เวลาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม
เห็นว่าหลายอย่างไม่เหมือนกับไทย เกณฑ์การทำธุรกิจ มีความแตกต่าง
ถ้าย้อนหลังไปได้ ประเทศเวียดนามตอนนั้นกำลังพุ่ง ย้ายโรงงานจากไทยไปเวียดนาม
ทำให้เรารู้สึกว่าเวียดนามจะเป็น Next Thailand and Beyond
เราเข้าตอนเริ่มต้น น่าจะได้กำไร และต้องการdiversify เพราะเห็นriskในไทย
อาจารย์ใช้robotหาหุ้นจากเกณฑ์ที่อาจารย์กำหนด และ ซื้อลงทุนไป 100 กว่าตัวที่เข้าเกณฑ์
แต่3 ปีไม่ไปไหน ลงอีก ได้แต่ปันผล และ ปกติต้องปรับportทุกปี แต่ไม่มีสภาพคล่องให้ปรับportเลย
ยังหวังว่า ตลาดหุ้นเวียดนาม รายย่อยจะแห่มาเล่นจนPE 40 เท่า ครั้งนึงในชีวิต ซึ่งคุ้มมาก

Q: ตอนวิกฤต ตลาดหุ้นเวียดนามจะแย่กว่าไทยไหม
A: ตอนนี้ก็ลงไปเยอะแล้ว หุ้นที่อาจารย์ลงไปส่วนใหญ่เป็นของรัฐ ไม่มีแรงจูงใจใรการเติบโต
แต่ถือว่าเป็นการกระจายการลงทุน

Q: อยากให้อาจารย์ช่วยแชร์ประสบการณ์ความผิดพลาดมาแบ่งปันเพื่อเป็นกำลังใจ
A: ความรู้ที่เรียนมาอาจผิด แต่สถานการณ์ที่ผ่านมา ทำให้หุ้นขึ้นมา
บางทีรวยจากการผิด ถ้าเราลงอย่างไม่ถูกต้อง จะไม่ยั่งยืน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยขาดทุน แต่ยืนอยู่บนฐานที่ถูกต้อง
ถ้าเกิดความเสียหายขึ้น ก็ฟื้นมาได้
นักเก็งกำไรระดับโลก บางครั้งรวยกว่าวอร์เรน แต่ก็มีโอกาสขาดทุนและหายไป
ให้ล้างสมอง ไม่ได้อยู่ตอนนี้ แต่ไปอยู่ตอนวิกฤต ไม่มีสภาพคล่อง ไม่มีการเชียร์หุ้น
คุณจะให้valueเท่าไหร่ วอร์เรนไม่เคยซื้อของแพง
ตอนซื้อapple PE 10กว่าเท่า เขาซื้อหุ้นราคาถูก
บางทีต้องคิดว่าแต่ละคนมีจุดยืนอย่างไร
เวลาขึ้นดีมากๆ ได้ไม่ค่อยมาก แต่เวลาตลาดลง ขาดทุนไม่เยอะ ประมาณ 20% แต่หลายคนเจอขาดทุน 50%
วอร์เรน ไม่เคยเจอกำไรเกิน 100% มีแค่2ปีที่กำไรเยอะ กำไร 40-45%ต่อปี อาศัยความอึดและทน ไม่ตื่นเต้นมาก
ปกตินักลงทัเวลาหุ้นตก ก็เศร้า ทำใจให้มันผ่านไป เราต้องรอหุ้นขึ้นในอีก2-3 ปี ซึ่งทำยาก แต่ผมรอเป็น 10 ปีเลย
ร้านสะดวกซื้อ ก็เคยลงหนักๆมาหลายรอบ รอบละ 10-20% บางทีก็หาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมลง
เราต้องมั่นใจในธุรกิจ อนาคตขยายสาขาได้อีก ยังพอถือได้

Q: คำแนะนำสำหรับคนที่ซื้อไปแล้วตอนPE สูง จะปรับportอย่างไร
A: ระยะต่อจากนี้หลายปี จะกลับมาเป็นช่วงของหุ้นvalue เน้นหุ้นถูก อนาคตค่อนข้างโตยาก
หุ้นgrowthดีๆ ค่อนข้างแพงซึ่ง downside risk สูง
ต้องปรับเปลี่ยนความคิด ล้างสมอง กลับมาเริ่มต้นใหม่ ไม่รับรู้ว่าหุ้นขึ้นแบบนี้
เล่นกันแบบบ้าคลั่ง กำไรเป็น 100% ซึ่งเป็นอะไรที่ผิดปกติ
การลงทุนต้องค่อยๆไป ได้ ปีละ 10-15% ก็ทำให้ฐานะการเงินดีขึ้นแล้ว
หวังแต่ financially ดีขึ้น ตอนเข้าตลาดหวังปันผลอย่างเดียว สุดท้ายอยู่ที่คนในบริษัท
เวลาไปเที่ยวก็ดูพฤติกรรมของคนแต่ละประเทศ เปรียบเทียบกับคนไทย
วัดได้ถ้าคนมีศักยภาพ ท้ายสุด ประเทศมีความก้าวหน้า
ตอนนี้เราเจริญกว่า เขามีปัญหาเรื่องระบบ ถ้าแก้ได้ก็เจริญกว่า
จีนเมื่อ30ปีที่แล้วล้าหลัง จีนที่อยู่นอกประเทศเจริญกว่า พอเปลี่ยนแปลงระบบ ก็เจริญอย่างรวดเร็ว
ขึ้นอยู่กับคน ดังนั้นที่เวียดนาม อย่างไรก็เจริญ ถือเป็นเสือตัวต่อไป

สุดท้ายขอขอบคุณ อาจารย์นิเวศน์ และ คุณบอล น้องเบสมากครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 140

โพสต์

สัมมนา ฺฺฺBetter Trade 2018
ตอน ฉวยโอกาสจากนอกประเทศ
โดย ดร วิศิษฐ์

ดร วิศิษฐ์ได้นำกราฟperformanceของสินทรัพย์ทั่วโลกมาเปรียบเทียบระหว่างปีนี้( 25ตค 61) กับปีที่แล้ว
ปีที่แล้วตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ค่อนข้างดี ส่วนปีนี้ปรากฏว่าลบหมดทุกตลาดยกเว้นตลาดหุ้นสหรัฐบวกเพียง 1.2%
โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนลบ 21%
ส่วนcommodity เช่นน้ำมันเป็นขาขึ้น บวกไป 10.5% ส่วนทองคำติดลบไป 5.4% ช่วงเดือน ตค ทองคำดีดตัวขึ้นมาจากต่ำสุด
1180 มาที่ 1230 $ต่อออนซ์ ดร มองว่าทองคำน่าสนใจสำหรับปีหน้า

ราคาน้ำมัน perform (+10.5%) แต่ราคาcommodities อื่นๆไม่ perform เลยแปลว่าตลาดกังวลภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ต้องกลัว เพราะว่าจะมาแน่นอนเพียงแต่ว่ายังไม่ใช่ตอนนี้ และก็จะมีช่วงนึงที่ได้กำไรเยอะจากวิธีการ buy and hold ซึ่งควรจะทำในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี2019

ดอกเบี้ยที่แท้จริงของสหรัฐ(Real US Bond Yield) ปรับตัวสวนทางกับราคาทองคำ เช่น ช่วงปี 2009 ดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับตัวลดลง ทองกลับตัวเป็นขาขึ้นจนถึงปี 2011 และในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวเป็นขาขึ้น ทองเปลี่ยนทิศกลายเป็น sideways ทันที

คำถามคือ ทำไมทองคำถึงจะเริ่มขึ้นได้จากนี้ไป ให้ดูดอกเบี้ยนโยบายจากเฟด เรามองว่าเฟดจะไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ไกล
ถ้าดูจาก guidance เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยได้อีกซัก 2- 3 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะนิ่งดังนั้นจะทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่สามารถขึ้นต่อได้อีก
เฟดไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยเพราะว่าถ้าขึ้นอีกเศรษฐกิจจะไปไม่รอด (ต้นทุนสูงจนทำผลตอบแทนไม่ทันดอกเบี้ยที่จ่าย)

รอบนี้เชื่อว่าเหมือน ปี2011(กรีซ) และปี 2016 (Brexit) เพียงแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน เดือนธันวาคมนี้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยแต่เมื่อเดือนที่แล้วทุกคนมั่นใจว่าขึ้นดอกเบี้ย 90%แต่ตอนนี้ลดลงเหลือ 70%แล้ว
ซึ่งอีก 2 อาทิตย์ถัดไปอาจจะลดระดับความเชื่อมั่นลงอีก (หมายถึงโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในเดือน ธค น่าจะลดลงอีก)

จีนเริ่มมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน คล้ายกับการทำ QE แต่จะไม่ใช้คำนี้เหมือนกับฝั่งอเมริกา

เงินอัดฉีดเข้าไปในระบบ หรือ QE นั้นตอนนี้ ECBและBOJ มีปริมาณเงินมากกว่าสหรัฐแล้ว

จากข้อมูลBloomberg และ Trinity research พบว่า แนวโน้มที่FEDจะขึ้นดอกเบี้ยได้อีก1ครั้งหลังจากนั้น
ก็คงดอกเบี้ยไว้ ส่วน ECB จะหยุดQEในช่วงธคปีนี้ และจะเริ่มปรับดอกเบี้ยขึ้นในช่วง Q4 219

ถ้าplot กราฟของ Yield curve ผลต่างพันธบัตร10ปีลบด้วย Yieldผลต่างพันธบัตร2ปี พบว่า ถ้าต่ำกว่า0%มีโอกาสเกิดวิกฤต
เช่น ช่วงปี 2000 ( Dot com crisis ) และ ปี 2008 (Hamberger crisis)

ทุก 10 ปีมีเศรษฐีและทุก 10 ปีมีคนจน ที่พูดอย่างนี้เป็นเพราะว่าดูจาก Yield curve ผลต่างพันธบัตร10ปีลบด้วย Yieldผลต่างพันธบัตร2ปี เมื่อไหร่ก็ตามขาลงมันจะบ่มการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง 1997 Lehman2007 เพียงแต่ระหว่างทางมีการทำQE ตลอดทางเพื่อทำให้การเกิดวิกฤตชะลอช้าลง ตอนนี้ยังมีการต่อเวลาอยู่ถ้าดูจาก yield curveล่าสุดลงมาที่ 3%และวกกลับ ดูอีกซัก 1 ปี แต่การต่อเวลาก็ยังมีโอกาสให้ทำกำไรได้ ซึ่งปีหน้าจะติดตามอย่างใกล้ชิด

ประเทศไทยมีหนี้รัฐบาลน้อยเมื่อก่อนภาคเอกชนของไทยอ่อนแอแต่ปัจจุบันแข็งแกร่ง กลับกันในภาคครัวเรือนเมื่อก่อนแข็งแกร่งแต่ปัจจุบันอ่อนแอ ในประเทศจีน ภาคครัวเรือน ภาครัฐแข็งแรง แต่ภาคเอกชนอ่อนแอดังนั้นรัฐบาลต้องเข้าไปช่วยเหลือภาคเอกชน ถ้ามองไม่ผิดจีนต้องใช้นโยบายนี้

หุ้นไทยมองว่าดัชนี 1580-1600 ที่ลงมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นจุดต่ำสุดแต่ว่าขาขึ้นจะเป็นปลายไตรมาส 1 ต่อ ไตรมาส 2 ปีหน้า***

และถ้าเกิดจีนทำนโยบายการเงินแบบนี้ขึ้นมาจริงๆ สินทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุดคือ ทองคำ ซึ่งถ้าถามว่าซื้อทองแล้วขึ้นเลยได้มั้ย คำตอบก็คือใช่ซื้อแถวนี้

คำถามคือจะหลุด 1580 -1600 มั้ยส่วนตัวคิดว่าหลุดไม่ง่าย เพราะว่า 1600 เมื่อก่อนเป็นแนวต้าน ถ้าไม่มีอะไรช็อคโลก ไม่น่าจะหลุด 1600 ตลาดเป็นไซด์เวย์ ยังไม่เป็นขาขึ้น 1900ได้ต้องเป็นเหตุการณ์ช๊อคโลกซึ่งมาจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน ซึ่งจีนจะเริ่ม relax นโยบายทางการเงินซึ่งจีนจะเริ่มลด RRR (required reserve ratio) คือการตั้งสำรองลดน้อยลงมาเพื่อให้เงินมีในระบบมากขึ้น

ถ้าธันวาคมขึ้นดอกเบี้ยเสร็จแล้วพูดต่ออีกว่า จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง ให้หลบแสดงว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงกำลังจะขึ้นต่อและมีผลต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งตอนนี้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.25 สิ้นปีจะขึ้นเป็น 2.50 ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามเป็น 4% ทองคำก็ไม่รอด

SET Index รอบนี้ ถ้าดูจาก Earning Yield Gap (ส่วนกลับของPE ratio ) เคยลงไปที่3% ดัชนี1850 ซึ่งยืนอยู่ไม่ได้
จึงต้องหล่นลงมา ณ ที่ดัชนี 1600จุด EY = 4.35% ดูน่าจะเป็นแนวรับ ไม่น่าจะต่ำกว่านี้

ฝรั่งถือหุ้นเราแค่ 29%ถือว่าต่ำสุด นับตั้งแต่ปี 2004 แต่ก็ยังไม่สัญญาณว่าต่างชาติจะเข้ามาซื้อกลับ

ปีนี้ตัวที่ outperform จะเป็นหุ้นตัวที่มี high dividend yield เพราะว่ากระทรวงการคลังเก็บภาษีกองทุนพวก fixed income 15 เปอร์เซ็นต์ทำให้กองที่ลงทุนย้ายมาเปลี่ยนเป็นลงทุนใน Equity High dividend yield แทน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 141

โพสต์

วันนี้เห็นหุ้นIPOที่พึ่งเข้า ที่ผลิตแผ่นยางรายใหญ่ของอีสาน แต่ไม่สามารถยืนเหนือราคา IPO ได้
ราคาต่ำกว่าจอง 20% ถึงแม้จะroad showทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ตาม
ทำให้นักลงทุนหุ้นจองผิดหวังไปตามกัน

เท่าที่ดูจากstoryที่กำไรเติบขึ้นมากจาก ต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำ
นักลงทุนต้องเข้าใจถึงหุ้นที่ลงทุน ก่อนเข้าจอง เช่น หุ้นของบริษัทนี้ ถือเป็นหุ้นวัฐจักร กำไรค่อนข้างผันผวน
ตามราคาวัตถุดิบที่แปรผันตามราคายางตลาดโลก

โดยธรรมชาติของหุ้นที่จะเข้าตลาด ถ้ามาเข้าตอนตลาดที่มีPE สูง เจ้าของสามารถปรับราคาหุ้นได้เพิ่มขึ้น
ดังนั้นจะนิยมออกตอนตลาดขาขึ้น หรือ บางทีจะมาทำIPOตอนสินค้าของบริษัทกำลังขายดี
ยกตัวอย่างบริษัท GoPro Inc (NASDAQ:GPRO) คือบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายกล้อง Go Pro ซึ่งตอนเข้าตลาด
ที่ราคา 40$ และ สามารถปรับตัวขึ้นถึง 90$ เพราะว่ากระแสช่วงนั้น กล้องGo Pro อยู่ในกระแสแฟชั่นมาก
ทำให้คนคาดหวังว่ารายได้และกำไรจะโตต่อเนื่อง ปรากฏว่า ธุรกิจไม่สามารถทำกำไรได้ตามที่นักลงทุนคาดหวัง
ทำให้มีการเทขายหุ้นออกมาจนราคาปัจจุบันอยู่ที่ 5.65 $

หากเราสนใจลงทุนหุ้นIPO ต้องทำความเข้าใจในธุรกิจให้ดีๆ แต่ถ้ารู้สึกว่าการลงทุนแบบนี้ค่อนข้างเสี่ยงเกินไป
ก็หลีกเลี่ยงที่จะลงทุนได้ แม้แต่ ดร นิเวศน์ เองก็ไม่ได้ลงทุนหุ้นIPOและถือระยะยาว เพราะปกติอาจารย์ก่อนการลงทุน
ต้องศึกษาให้เข้าใจบริษัทที่จะลงทุนก่อน และ จะเข้าซื้อตอนหุ้นเจอปัญหาบางอย่างแต่ไม่ร้ายแรง และราคาลงมาจน
ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ดังนั้น ถ้าเราไม่เข้าใจก็สามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นที่เป็น Passive Fund ก็เป็นทางเลือกที่ได้ผลตอบแทนตามดัชนีที่อ้างอิง เช่น SET50 เป็นต้น ซึ่งสามารถเติบโตตามตลาดได้ ซึ่งผลตอบแทนที่ผ่านมา
ก็ดี เมื่อเทียบกับผลตอบแทนเงินฝาก
Suphat
Verified User
โพสต์: 473
ผู้ติดตาม: 0

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 142

โพสต์

ขอบคุณพี่อมร มากๆเลยครับ :D
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 143

โพสต์

ในประเทศสหรัฐอเมริกา Nifty Fifty เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการสำหรับหุ้นทุน ขนาดใหญ่ ห้าสิบตัวที่เป็นที่นิยม ใน ตลาดหุ้น นิวยอร์ก
ในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็น หุ้นที่ซื้อและถือ หรือหุ้น " Blue-chip "
โดยดูประวัติศาสตร์ที่มีแรงผลักดันในช่วงตลาดกระทิง
ต้นปี 1970 ซึ่งช่วงนั้นซื้อ ขายที่PEสูงมาก แต่คนก็ยังยอมรับได้ เพราะคิดว่าหุ้นยังเติบโตต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งได้แก่หุ้น Johnson&Johnson , Pfizer , McDonald , P&G ,Xerox , IBM ,Pepsi Co, Coke

ขณะที่ความผิดพลาดของหุ้นกลุ่มนี้และ ผลประกอบการunderperformance ผ่านต้นทศวรรษ 1980
เป็นตัวอย่างของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาในช่วงที่นักลงทุนจำนวนมากได้รับอิทธิพลจากความเชื่อมั่นในตลาดในเชิงบวก
ไม่สนใจการประเมินมูลค่าหุ้นขั้นพื้นฐาน หลังจากเกิดวิกฤต ก็มีเพียงหุ้นบางตัวที่รอดมาได้ เช่น Walmart

ในประเทศอินเดีย คำ NIFTY 50 หมายถึง ดัชนีหุ้น ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติที่มีการกระจายตัวซึ่งประกอบด้วย 50 หุ้น ซึ่งเป็นตัวแทนของ 12 ภาคส่วนของเศรษฐกิจอินเดีย เป็นหนึ่งในสองดัชนีวัดผลหลักในอินเดียพร้อมกับ BSE Sensex
ซึ่งต้องรอดูต่อไปว่า บริษัทเหล่านี้จะเป็นเหมือนที่สหรัฐหรือไม่

ส่วนในไทย ดร นิเวศน์ ขนามนามหุ้นเหล่านี้ว่า หุ้นแก๊งนางฟ้าที่มีstoryว่าจะเติบโต
ทำให้นักลงทุนประเมินว่าสามารถลงทุนได้ด้วยPEที่ค่อนข้างสูง บางบริษัทให้PE 100 เท่า
สุดท้ายผลประกอบการจะเป็นตัวพิสูจน์ว่า บริษัทนั้นสมควรได้รับ PE ที่สูงขนาดนั้นหรือไม่
ตามหลักการลงทุนแบบวีไอ นอกจากดูว่าบริษัทนั้นมีผลประกอบการที่ดีในอนาคตแล้ว
ราคาก็เป็นอีกส่วนที่ต้องคำนึง ถ้าเราซื้อค่อนข้างแพง ทำให้ไม่เกิดMOS หรือ ส่วนต่างระหว่าง
ราคาตลาดและราคามูลค่าที่แท้จริง ตอนที่ตลาดเกิดปรับฐาน ราคาหุ้นแก๊งนางฟ้า
ที่ผลประกอบการไม่ดี ก็มีสิทธิร่วงจากสวรรค์ได้
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 144

โพสต์

Thailand 2019 จัดโดย ประชาชาติธุรกิจ
ดร สมคิดมากล่าวเปิดงาน

"สมคิด" แนะไทยใช้โอกาสเป็นเจ้าภาพอาเซียนปี 62 สร้างความเชื่อมั่น ดึงการค้าการลงทุนจากจีน-ญี่ปุ่น

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษภายในงานสัมมนา "THAILAND 2019 : เมื่อคนเปลี่ยน Landscapeธุรกิจโลกเปลี่ยน ธุรกิจไทยจะก้าวไปอย่างไร" ว่า
ในปี 62 ถือเป็นปีที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับประเทศไทย เนื่องจากเป็นปีที่เห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่มาจากโลกและไทยเอง

โอกาสอันแรกอยู่ที่เอเชีย โดยเฉพาะ ญึ่ปุ่นและจีน ที่มีเศรษฐกิจที่เป็นกำลังหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอเชีย เรต้องสร้างความสัมพันธ์ลึกซึ้ง และ ก้าวไปเรื่อยๆไม่เห็นประเทศไหนทันเรา

จีนเมื่อ 15 ปีก่อน เราคุยในระดับคณะรัฐมนตรีว่าจะร่วมมือกันอย่างไร เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ล่าสุดมีการเดินทางไปยังประเทศจีน
โดยมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนจาก high level การค้า ไปสู่ระดับความร่วมมือระหว่างกระทรวงและกระทรวง รวมไปถึงความสัมพันธ์
กับอนุภูมิภาค หรือ Subregion ประกอบด้วยจีน11มณฑล รวม เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เทียนสิน ทำให้จีนก้าวหน้า ซึ่งหากไทยสามารถเป็นศูนย์กลางของ CLMVT ในการประสานประเทศต่างๆ ได้ ไทยจะมีโปรไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นและเป็นจุดสนใจของประเทศยักษ์ใหญ่ เช่น จีน, ญี่ปุ่น ที่จะใช้ไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รองนายกรัฐมนตรี ยังมองว่าประเทศจีนในขณะนี้ มีความต้องการเชื่อมโยงเส้นทางจากประเทศจีนไปยังประเทศอื่นๆ โดยใช้เส้นทางรถไฟ หรือเรียกว่าโครงการเส้นทางสายเศรษฐกิจ (One Belt One Road : OBOR) โดยสิ่งสำคัญ คือ การค้าและการลงทุนจะขยายไปตามเส้นทางดังกล่าว ซึ่งขณะนี้เส้นทางที่จะเป็นไปได้มากที่สุด คือ การเชื่อมโยงเส้นทางทางภาคใต้ของไทยถึงแม้จะไม่รวมมาเลเซียก็ตาม เราจะเพิ่มจากEECไปถึงชุมพร สุราษฏร์ เชื่อมอันดามันกับอ่าวไทย

หากสามารถทำให้ไทยและจีนเชื่อมโยงกันได้ ก็จะเป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับประเทศ ที่นอกเหนือไปจากการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ขณะเดียวกัน ภายในปีนี้จะมีการผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ระหว่างอาเซียน กับ 6 ประเทศคู่เจรจา คือ จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ซี่งจะส่งผลทำให้ RCEP มีเขตการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา โดยขณะนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้ส่งสัญญาณชัดเจนในการผลักดันให้ RCEP เกิดขึ้นจริงในปีนี้ หรืออย่างช้าปีหน้า

"เมื่อไรที่ RCEP เกิด One Belt One Road พาดผ่าน และประเทศไทยสามารถทำตัวของเราเองให้เป็นหัวใจของ CLMVT ได้ อันนี้คือโอกาสมหาศาล ซึ่งผมเคยพูดว่าประเทศเล็ก-ใหญ่ไม่สำคัญ สำคัญคือ เราต้องแสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญกับ geopolitics ของโลก และวันนี้กำลังเกิดขึ้น" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

พร้อมระบุว่า นอกจากนี้ ประเทศจีนยังต้องการที่จะเปิดประเทศ ซึ่งถือเป็นเชิงสัญลักษณ์ในการที่จีนจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลก จากการผลักดันการค้าในประเทศฮ่องกง มาเก๊า และกวางตุ้ง ให้เกิดขึ้น โดยไทยเองแม้ว่าจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้เกิดการค้าเสรี และต้องการบอกกับประเทศจีนว่าการดำเนินยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจีนนั้นจำเป็นต้องอาศัย Connectivity โดยไทยเป็นกลุ่มของ CLMVT ขอให้ใช้ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์

สีเจี้ยนผิง ชัดเจนที่ต้องการให้จีนเปิดประเทศ ต้องการให้ One Belt One Road ไปทุกชาติด้วยเหตุผลสองประการคือ

1. เขาต้องการเป็นผู้นำระดับโลก ไม่ใช่เพื่อประโยชน์สำหรับคนจีนเท่านั้น

2. จากการประชุม One Belt One Road มีการจัดงานหงเฉียวฟอร์รั่ม ผู้ค้าขายมาเจอกัน ฮ่องกง มาเก๊า กวางตุ้ง ถือเป็นหัวมังกร และ ผู้ว่าอีก8มณฑลเป็นท้องมังกรมารับแขก เขาต้องการผลักดันให้เกิดการค้าในภูมิภาคให้ได้

เราเห็นด้วยกับจีน ในการสร้างกำลังใจ สร้างบทบาทเกื้อกูลกัน ปีหน้าเราเป็นประธานอาเซียนจะหนุนไทยให้เด่น ปีหน้าจีนยังโตดี RCEPเกิด และ ไทยอยู่ใน TPP ตอนก่อนหน้า Harry Landเดิมจะตั้งที่เวียดนาม แต่เราชวนมาไทย ซึ่งเขาก็ตกลง แต่ขอเรื่องอำนวยความสะดวกในการธุรกรรม ถ้าเราแก้ไขได้ ต้นปีหน้าจะมีการค้าขายจากฮ่องกงมา เราต้องการสร้างกลไกขึ้นมาสามารถพูดทีเดียว 3 มณฑล คือ ฮ่องกง มาเก๊า และกวางตุ้ง ผู้ว่าทางเขาก็เห็นด้วย เมื่อวานนายกของสิงคโปร์จับมือกับจีน เพื่อยกระดับFTAระหว่างกัน แต่ก็ตามหลังไทยเยอะ

โอกาสที่สองนั้น เป็นเรื่องของBOI ในเรื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่เป็นปัญหาในขณะนี้ ไทยจะใช้โอกาสนี้ในการดึงดูดการลงทุนต่างชาติ โดยวันที่ 19 พ.ย.นี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะเสนอบอร์ดเพื่อออกมาตรการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เป็นโอกาสที่ดีอย่างมากสำหรับประเทศไทยในปีหน้า

ขณะที่ยังมองเป็นโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยด้วยในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ตลอดจนกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อรองรับ อีกทั้งรัฐบาลยังคงผลักดันในเรื่องของการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนในรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งหากสามารถรักษาภาพการลงทุนภาครัฐและเอกชนไว้ได้ สิ่งที่ตามมาคือ ความเชื่อมั่นของภาคประชาชน

ส่วนความเสี่ยงของประเทศไทย ก็คือ มีการเลือกตั้ง ถ้าทำได้ดีจะไปต่อได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะแย่ ไทยเคยเป็นประธานอาเซียน และ เกิดเหตุประท้วงจนประเทศอื่นต้องกลับก่อนกำหนด หวังว่าคราวนี้จะไม่เกิดอีก

สุดท้ายขอขอบคุณ ดร สมคิด ที่มากล่าวเปิดงานและอัปเดท นโยบายให้ครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 145

โพสต์

งานสัมมนา Thailand 2019 ที่ประชาชาติจัดขึ้นมาเป็นปีที่สามและมีทำหนังสือจัดอันดับ 100 บริษัทในอาเซียน
มีวิทยากรทรงคุณวุฒิมาพูดมากมาย ได้แก่
รองนายกรัฐมนตรี ดร สมคิด
ดร ศุภวุฒิ สายเชื้อ
CEO ปตท / คุณศุภจี จาก ดุสิตธานี และ คุณชฏาทิพ จาก siampiwat มาพูด เนื้อหาอัดแน่นมากครับ ดร สมคิด ผมสรุปก่อนหน้านี้แล้ว

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวในงานสัมมนา "THAILAND 2019" เมื่อคนเปลี่ยน แลนด์สเคปธุรกิจโลกเปลี่ยน ธุรกิจไทยจะก้าวไปอย่างไรว่า เบื้องต้นภาพเศรษฐกิจไทยในปี 62 จะเติบโตต่ำกว่าระดับ 4% ซึ่งเป็นอัตราชะลอตัวลงจากปีนี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 4.3% โดยภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นประมาณ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะฟื้นตัว และการส่งออกสินค้าจะเติบโตได้ในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจใหม่ คือการที่ภาครัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ทั้งนี้ ยังต้องจับตาการผลักดันลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐนั้น จะหนุนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนตามมาหรือไม่ หลังจากที่ในปีนี้การลงทุนของภาคเอกชนเติบโตเพียง 3.5% หากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จก็ควรจะเห็นการลงทุนของภาคเอกชนเติบโตมากกว่า 3.5% ค่อนข้างมาก หรือเติบโตสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์

นายศุภวุฒิ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังผลักดันหลักในขณะนี้ คือการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะเป็นการนำทรัพย์สินที่มีการใช้น้อยกลับมาใช้ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะสนามบินอู่ตะเภาที่ปัจจุบันรองรับผู้โดยสารอยู่เพียง 1 ล้านคน ก็จะสามารถผลักดันให้รองรับได้ถึง 20-30 ล้านคน ก็จะหนุนให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน และจะมีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยคาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมอย่างน้อยในช่วงครึ่งหลังปี 62

สำหรับปัจจัยทางด้านการเมืองของไทย นายศุภวุฒิ กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งที่มีความชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 62 จะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น เพราะการเลือกตั้งเป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ขณะที่ไทยไม่มีการเลือกตั้งมาเป็นเวลาประมาณ 8 ปี จึงเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับการเลือกตั้งภายใต้กติกาใหม่อย่างในปัจจุบัน ทำให้มองว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 62 จะเป็นเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมือง การนับคะแนน การจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ยัง wait & see ว่ารัฐบาลใหม่จะมีนโยบายอย่างไร และมีศักยภาพ ตลอดจนเสถียรภาพทางการเมืองในระดับไหน และในช่วงครึ่งหลังของปี 62 ก็จะมุ่งที่การบริหารจัดการการเมืองและความไม่แน่นอนให้หมดลงไป

ด้านปัจจัยต่างประเทศที่การส่งออก คิดเป็นสัดส่วน 50% ของจีดีพี และการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 15% ของจีดีพี ทำให้กำลังซื้อที่มาจากภายนอกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของจีดีพีจะได้รับผลกระทบอย่างไร ท่ามกลางประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่เกิดขึ้น ขณะที่ด้านตลาดยุโรป ก็ยังไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกได้ หลังยังมีปัญหางบประมาณของอิตาลี และกรณีการถอนตัวจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) รวมถึงเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศแกนหลักของยุโรปก็จะออกจากการมีบทบาททางการเมือง

ด้านจีนก็จะเป็นลักษณะการประคองตัว และใช้นโยบายให้ค่าเงินหยวนทยอยอ่อนค่า เพื่อรับมือกับสงครามการค้า ซึ่งการลดค่าเงินนับเป็นการลดอำนาจซื้อลง ขณะที่การอ่อนค่าของเงินหยวน กดดันให้ค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) อ่อนค่าลงด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อตลาดโลกให้ลดลงไปด้วยในปี 62

"มองดูเศรษฐกิจโลก ค่าเงินที่ไม่ชัดเจน คุณเป็นนักลงทุน คุณเป็นผู้บริหารบริษัทใหญ่ ๆ ก็ wait & see เหมือนกัน เกรงว่าการลงทุนของโลกจะแผ่ว"นายศุภวุฒิ กล่าว

นายศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ น่าจะยังคงมีทิศทางปรับขึ้นในเดือน ธ.ค.นี้อีก 1 ครั้ง และในปี 62 ปรับขึ้นอีก 3 ครั้ง เพราะเศรษฐกิจสหรัฐปรับขึ้นอย่างร้อนแรงจึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ไทยจะจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่นั้น อยู่ที่ภาครัฐจะพิจารณา โดยเฉพาะในกรณีที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำเพียงแค่ 1% ,การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังแข็งแกร่งอยู่ในระดับ 7-8% ของจีดีพีในปีนี้ และคาดว่าจะอยู่ระดับ 6-7% ของจีดีพีในปีหน้า ซึ่งเงินทุนยังไหลเข้าประเทศ จากภาคการส่งออกที่มากกว่าการนำเข้าเดือนละ 2-3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

"ประเด็นที่น่าสนใจต้องดูค่าเงินดอลลาร์ไปทางไหน แนวโน้มก็คงจะแข็งค่าขึ้น ก็ต้องดูว่าเรามีศักยภาพที่จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ คือดูว่าดุลบัญชีเดินสะพัดยังสูงอยู่หรือเปล่า นักท่องเที่ยวจีนจะกลับมาหรือเปล่า การส่งออกสินค้าโดยรวมเป็นอย่างไร คือภาพรวมการมองภาพเศรษฐกิจไทยในปีหน้า สิ่งที่เราคงจะเห็นครึ่งปีแรกเราก็คงจะพะวงสนใจหาคำตอบให้ตัวเองด้านการเมือง และครึ่งหลังประเมินว่ารัฐบาลใหม่จะมีนโยบายอะไรที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ"นายศุภวุฒิ กล่าว

ด้านนางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดุสิตธานี (DTC) กล่าวว่า การปรับตัวของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเพียงแค่ในระยะสั้นปี 62 แต่ควรจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ที่ทิศทางของภาคการท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น นักเดินทางท่องเที่ยวในปัจจุบันจะเป็นการเติบโตของชนชั้นกลาง และผู้เดินทางส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งอาจทำให้รูปแบบของการให้บริการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นักเดินทางจากภาตตะวันตกต้องการรับบริการในรูปแบบหนึ่ง แต่ในภาคเอเชียต้องการรับบริการในรูปแบบหนึ่ง ,การนำเทคโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาร่วมให้บริการ ,ฝึกบุคลากรเพื่อรองรับกับการให้บริการ ,การมีจพื้นฐานให้เพียงพอกับการอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการท่องเที่ยวด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมและให้เกิดความยั่งยืน เป็นต้น

ทั้งนี้ เห็นว่าภาคธุรกิจจะต้องพึงมีปัจจัย 3 ด้านเพื่อรองรับและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาเที่ยวไทย เช่น ความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการ , ประสบการณ์ที่ดีเหนือความคาดหมาย และความคุ้มค่าให้กับผู้รับบริการ

ส่วนคุณ ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารของSiampiwat มากล่าวถึงโครงการ
ICONSIAM ซึ่งดร สมคิดกล่าวชมว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้กล้าเปิดโครงการ
คุณชฏาทิพ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ซื้อที่ดินมา 40 ไร่ติดแม่นำ้เจ้าพระยาทางฝั่งธนบุรี ซึ่งตอนนั้นเมื่อ6ปีที่แล้วยังมีกีฬาสีอยู่เลย ตอนแถลงโครงการก็หลังจาก22 พย 14 สองสัปดาห์ ซึ่งตอนนั้น ไม่ค่อยมีใครกล้าเปิดโครงการใหญ่ๆ
มีอุปสรรคมากมายในการทำงาน รวมทั้งการวางแผนเชื่อมinfrastructureร่วมกับชุมชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และ ภาครัฐ มีทั้่งรถไฟสายสีทอง 2,000ลบ กับท่านั้ำ 500 ลบ เพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำ และส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

ICONSIAM Model แนวความคิดใหม่ในการทำธุรกิจสู่ความยั่งยืนร่วมกัน
1.The Combine Excellence การรวมสุดยอดฝีมือไทยและจาก 4 ทวีปทั่วโลก
เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ ศิลปะและ วัฒนธรรม
2.The Share Values model การผนึกกำลังคร้้งยิ่งใหญ่เพื่อให้แม่น้ำเจ้าพระยา
เป็น The Next Global Destination.
3.The CO-Creation การสร้างเมืองสุขสยาม ด้วยความร่วมมือระดับชาติจากชุมชมท้องถิ่นไทย

ต้องขอบคุณ ICONSIAM ทำให้ชาวฝั่งธนมีที่พักผ่อนหย่อนใจไม่แพ้คนในเมืองแล้ว ต่อไปไม่ต้องง้อพารากอนแล้ว

Cr: ข้อมูลบางส่วนจาก InfoQuest
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 146

โพสต์

นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยในงานสัมมนา 5G จุดเปลี่ยนLandscape เศรษฐกิจและการเมือง ว่าจะเสนอให้ อนุญาติ 2 โอเปอเรเตอร์ คือ บมจ.แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) สามารถทดลอง 5G บนคลื่นความถี่ 2.6 GHz โดย ADVANC จะทดลองที่เอ็มโพเรียม และ TRUE ทดลองที่เอ็มควอเทียร์ ขณะที่ดีแทคอยู่ระหว่างขออนุญาต
โดยทั้ง 3 ค่ายเตรียมความพร้อม เพื่อเจ้าสู่เทคโนโลยี 5G ในปี 63 ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง
นอกจาก5Gจะเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมด้วย
นายฐากร ได้กล่าวย้อนหลังการใช้งานมือถือก่อนการเลือกตั้งล่าสุด คือ 3 กค 2554 ซึ่งมีการเลือกตั้งครั้งสุดท้าย ซึ่งตอนนั้น
มีคนใช้มือถือ 71.7 ล้านเลขหมายในระบบ2Gทั้งหมด ดูประวัติการเติบโตของ3G,4Gจากในรูป
ล่าสุด ปี 61 มีเลขหมาย2G จำนวน 1.5 ล้านเลขหมาย ส่วน 3G/4G จำนวนเลขหมายเท่ากับ 123.5 ล้านเลขหมาย มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากและเกิดอย่างรวดเร็วมาก
ส่วนถ้าดูเปรียบเทียบระหว่างปี 2554 / 2561 สำหรับ Social
ปี 2554 ยังไม่มีการใช้smartphone มีใช้บนPCอย่างเดียว
Facebook มีผู้ใช้ 6.1 ล้านคน , Twister 70,000คน , Youtube 120,000 คน
ส่วนปี 2561 Facebook มีผู้ใช้ 49 ล้านคน , Twister 13.6ล้านคน , Youtube 6ล้านคน , Line 44 ล้านคน
ทายว่าหลังปี2563 เมื่อ5Gเข้ามีบทบาทในช่วงปี 2563-2565 มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพหลังจากเริ่มใช้งาน5ปี
จุดเปลี่ยนที่วิเคราะห์ได้
1. มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ 5 อย่าง
1.1 โครงสร้างภาคการผลิต ซึ่งมองว่าจะช่วยลูกค้าลดต้นทุนการผลิต เปลี่ยนแปลงการผลิตครั้งยิ่งใหญ่
1.2 ห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนแปลงไป ยุคเดิม เน้นผลิตจำนวนมาก ส่งผ่านคนกลาง
เปลี่ยนเป็น เน้นการผลิต ขายผ่านplatformตรงตามความต้องการของลูกค้า
1.3 ทฤษฏี Demand&Supply อาจอธิบายเศรษฐกิจใหม่ไม่ได้ เพราะว่ามีการใช้Big data เข้าไปคำนวณความ ต้องการใช้สินค้าที่แท้จริง ราคาสินค้าควรถูกลง เพราะไม่ต้องผลิตเผื่อและบวกเข้ากับราคาสินค้า
1.4 ธุรกิจที่เป็นตัวกลางในการประกอบธุรกิจ ถูกลดบทบาท และ หายไปในที่สุด ต่อไปจะมีการผ่านplatform
ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ เช่น ธนาคารใช้พนักงานสินเชื่อมาปล่อยสินเชื่อ อนาคตAIจะเข้ามาแทนที่ วิเคราะห์การปล่อยสินเชื่อ
1.5 5Gจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆตามเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้น
2. ส่วนโครงสร้างทางการเมืองที่ปรับเปลี่ยน
2.1 ระบบการเลือกตั้ง หลักกฎหมายเรื่องลงคะแนนเสียงในสถานที่กลาง อนาคตการใช้สิทธิของประชาชนในที่หน่วยเลือกตั้งไหนก็ได้ ข้อมูลต้องเชื่อมระหว่างหน่วยเลือกตั้งเข้าด้วยกันหมด ทำให้เพิ่ม%ในการใช้สิทธิมากขึ้น
2.2 โครงสร้างการหาเสียงของพรรคการเมืองและผู้สมัครจะไม่ผ่านคนกลาง เช่น หัวคะแนน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู
อนาคตไม่ต้องผ่านหัวคะแนนแล้ว ประชาชนคุยผ่านผู้สมัครได้แล้ว
สรุปคือ 5G จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยรัฐเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เกิด5G


สัมมนา 5G จุดเปลี่ยนLandscape เศรษฐกิจและการเมือง ในเง่มุมของ Operator

คุณวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บมจ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
พูดถึง5Gต่างจาก4G
1.SPEED : ความเร็ว 4G = 100 MHz , 5G = 10 GHz application ที่ใช้ได้แก่ กล้อง VR resolutionละเอียด , AR , หนัง3มิติเช่น Star war.
2.Capacity : อุปกรณ์ที่ต่อได้ ก็เพิ่มจาก100,000 ชิ้น เป็น 1,000,000 ชิ้นต่อตารางกม
3.Latency : ความเร็วเพิ่มจาก 10ms เป็น 1ms ทำให้รอบรับ Autonomous car ,การผ่าตัดโดยrobotผ่าน
คุณหมอที่อยู่ห่างออกไป

นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) TRUE กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐโดยเฉพาะการประมูลคลื่นความถี่ ที่5G ต้องใช้คลื่นความถี่มากถึง 100 MHz หากต้องใช้เงินลงทุนมากเทียบเคียงราคา 900MHz ครั้งก่อนที่ประมูล 10 MHz ในราคาถึง 7.6 หมื่นล้านบาทก็อาจจะทำให้ 5G ไม่เกิด ทั้งนี้ยกตัวอย่างในจีนที่รัฐบาลจีนให้คลื่นความถี่กับ China Mobile 160MHz เพื่อใช้กับ 5G ซึ่งมีผู้ใช้บริการกว่า 900 ล้านคน ( วิทยากรในช่วงถัดไปไม่เห็นด้วย เพราะ
China mobileเป็นของรัฐ และ จีนเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ ดังนั้นต้องเร่งผลิตก่อนสหรัฐ แต่ไทยเป็นผู้ใช้ ดังนั้นต้องเก็บค่าใช้คลื่น)

"นโยบายภาครัฐต้องชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนของคลื่นความถี่ 5G ต้องการใช้คลื่น 100 MHz ถ้าต้นทุนสูง ก็คงจะเกิดยาก ฉะนั้นในปี 63 จะเกิดได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล"นายวิเชาวน์ กล่าว

ส่วนทางด้าน DTAC พูดถึงการใช้เทคโนโลยีมาช่วย smart farm และตอนนี้กำลังจะทดสอบ5G โดยรอทางกสทชอนุมัติ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 147

โพสต์

สัมมนา มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562
ก่อนอื่นขออธิบายคำย่อต่างๆในบทความนี้
EM (EMERGING MARKET) คือตลาดหุ้นเกิดใหม่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 โซน
US คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
EU คือ ยุโรป
JP คือ ประเทศญี่ปุ่น
China คือ ประเทศจีน

คุณอาทิตย์ ทองเจริญ SVP Schroder (Singapore) พูดเป็นคนแรกว่า
ในหัวข้อ Global Emerging Market : Outlook and Market Perspective
ตลาดหุ้นปีที่แล้ว (2017) ดัชนี MSCI EMERGING MARKET บวก30%
ปีนี้ 2018 เดือนมค ตลาดยังเป็นขาขึ้น พอเดือนกพ ดัชนีลบอย่างหนัก
เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มไม่ดี จนถึงตอนนี้ ดัชนี EMERGING MARKET ติดลบ15%
คำถามคือ อะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

ดูจากภาพ Emerging Marketได้แบ่งเป็นส่วนแรกสีส้ม แย่กว่าเดิม
ส่วนสีน้ำเงิน ปีนี้เหมือนกับปีที่แล้ว ส่วนสีเขียวปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว

เรามาดูในส่วนสีส้มที่ปีนี้แย่กว่าปีที่แล้วได้แก่

1. A move from synchronized growth with low inflation to rising stagflation concerns
And $ Strength การเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในส่วน US,EU,JP เติบโตไปทางเดียวกันในปีที่แล้ว
การค้าขายต่างๆระหว่างประเทศไปในทิศทางเดียวกัน
ปีนี้ เศรษฐกิจของUS ยังคงดีอยุ่ แต่ EU ชะลอตัวลง, EMERGING MARKET ขยายตัวน้อยลง
ผลที่ตามมาเกิดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจเติบโตช้า แต่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น (Stagflation คือ
คำที่มาจากการรวมกันของ 2 คำ ได้แก่ Stagnation และ Inflation ซึ่งปัญหาของ Stagflation
ก็มีที่มาจากทั้ง 2 ปัญหานี้นั่นเอง Stagnation คือ การที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากอัตราการว่างงานที่สูง
Inflation คือภาวะเงินเฟ้อ เป็นที่ภาวะมูลค่าของเงินลดลงทำให้ค่าครองชีพสูง)

2. $ strength
ค่าเงิน$ กับตลาดหุ้นแปรผันในทิศทางตรงกันข้าม
ดัชนีหุ้นEMERGING MARKET ลดลง , ค่าเงิน$ แข็งค่า
ย้อนไปหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ค่าเงิน$แข็งค่าขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี 2010
เมื่อลงทุนในตลาดหุ้น EMERGING MARKET จะมีกำไรมาตลอด
แต่ปีนี้ ค่า$ แข็งค่าขึ้น ทำให้EMERGING MARKETแย่ลง

3. Crude price strength
ปีที่แล้ว ราคาน้ำมันอยู่ระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง แต่ยังพึ่งพาส่งออก
ปีนี้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ตค ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง แต่ก็ยังสูงกว่าปีที่แล้วเดือนเดียวกัน
ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ประเทศที่นำเข้าน้ำมันเยอะเช่น จีน อินเดีย ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
ทำให้ Current account หรือ ดุลบัญชีเดินสะพัดแย่ลง

4. Trade risk escalation
Trade war ที่ทรัมป์ เก็บภาษีนำเข้าสินค้า หลายๆคนเห็นว่าทำกับจีนเท่านั้น
แต่ supply chainเชื่อมโยงกัน จีนนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นมาผลิตให้สหรัฐก็เช่นกัน
ถึงแม้ว่าจะโฟกัสที่จีนกับสหรัฐ แต่จริงๆแล้ว ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหลายประเทศ
แต่ผลกระทบต่อส่งออก จะเห็นในอีก3-4เดือนข้างหน้า ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก

5.Currency weakness and CB policy action in EM
ไม่มีใครทายได้ว่าคุณทรัมป์จะพูดอะไร อย่างนึงที่เห็นในช่วงนี้ ต้นเดือน พย ผลการเลือกตั้งที่สหรัฐ
คุณทรัมป์สูญเสียสภาล่างไป ทำให้การคุมเสียงในการVoteยากขึ้น แต่ยังคุมเสียงสภาบนอยู่
เกิดการbalanceนโยบายที่cracy น้อยลง แต่นโยบายยังดำเนินต่อไป แต่รุนแรงน้อยลงกว่าต้นปีที่ผ่านมา
ค่าเงินตลาดEMERGING MARKET อ่อนลง เมื่อ$แข็งค่า
สุดท้าย เกิดการrevise EPS ของตลาดEMERGING MARKET
ถ้าคิดว่า เศรษฐกิจไม่ดี ก็จะreviseกำไรให้น้อยลง
ยกเว้นปี 2017 ที่ปรับประมาณการณ์กำไรดีขึ้น

6. Negative eps revisions
ปี2018 จากโซนสีแดง คนเริ่มมีการrevise ปรับประมาณการณ์กำไรน้อยลงใน
EMERGING MARKET ซึ่งจะส่งผลแย่ลง แต่จุดที่ดีคือมีการเติบโตจากปีที่แล้ว

โซนสีน้ำเงิน ที่ยังคงเดิมเหมือนเดิมได้แก่

1. EMERGING MARKET ยังอยู่ใน Mid cycle เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในช่วงเติบโตสูงมาก
ถือว่าอยู่ในช่วงท้ายก่อนชะลอตัว EMERGING MARKETยังไม่ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด
ทำให้ภาวะเศรษฐกิจไม่น่าชะลอตัว หรือ ถดถอย

2. วิกฤตเศรษฐกิจที่ลามไปถึงเกาหลีใต้ สถานการเงินไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมานั้นมาก

3. เส้นสีน้ำเงินหมายถึงพึ่งพารัฐบาลหรือ Financingจากต่างประเทศเช่น ประเทศตุรกี
ดังนั้นจึงสรุปว่ามีทั้งตลาดที่ดี และ ตลาดไม่ดี

4. เวลาเงินไหลเรามีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น

5. Monetary policy normalization
ธนาคารกลางของEMEเอื้อต่อระบบเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับธนาคารกลางของ สหรัฐ

6. จีน GDP Q2 อาจชะลอตัวลง การเติบโตของGDPจาก 2 digit ลดเหลือแค่ 1 digit.

โซนสีเขียวหมายถึง ส่วนที่ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว

1. Equity valuations เรื่องValuation จากที่ราคาหุ้นลงไปมากกว่า20%
ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นดูดีกว่าปีที่แล้วที่ราคาหุ้นของEMERGING MARKET แพงมาก
ROE , PB ของตลาดEMERGING MARKET ปัจจุบัน 2017 ที่ตลาดขึ้นเยอะ ตอนนี้ลงไป20%
Valuation ค่อนข้างถูก นอกจากนี้ PB, PE ปัจจุบันดูค่อนข้างน่าสนใจ

2. Currencies have sold off : ค่าเงินตลาด EMERGING MARKET
ผลตอบแทนของEMERGING MARKET ได้แก่ capital gain, dividend ดูน่าสนใจขึ้น

3. sentiment cautious flowที่นักลงทุนเข้าน้อยลง แสดงว่ามีการดูแลดีขึ้น

4. China stimulus restarting จีนเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจอีก
(EMERGING MARKET แบ่งเป็น 3 area) ถ้าดูน้ำหนักตลาดหุ้นยังอยู่ที่จีน ซึ่งมีอิทธิพลต่อ
EMERGING MARKET ได้ ธนาคารกลางจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

Why still EMERGING MARKET ? ทำไมตลาดเกิดใหม่น่าสนใจ

1. Size of EMERGING MARKET economics and capital mkt ประมาณ 50%
แต่ตลาดหุ้นมีมูลค่าแค่ 30% ภาพไม่balance

2. มีโอกาสที่ได้ผลตอบแทนที่สูง ในตลาด EMERGING MARKET

3. ปีนี้เศรษฐกิจ EMERGING MARKET ยังไม่สวยหรู ต้องระวัง Trade war

4. บริษัทจดทะเบียนในEMERGING MARKET มีการเติบโตดี ค่อนข้างถูก
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 148

โพสต์

โฉมหน้าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยปี 2019

คูณ ไพบูลย์ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
ปาฏกถาพิเศษหัวข้อ โฉมหน้าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยปี 2019

ภาพใหญ่ปีนี้ค่อนข้างแปลก เศรษฐกิจโลกจริงๆ ดีมากๆ
นับย้อนไป10ปีที่แล้วหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปีนี้เศรษฐกิจโลกโตสุดๆ 3.8-3.9%
เศรษฐกิจบ้านเราก็โตมาก แต่USบางไตรมาสก็โตสูงกว่าเรา ส่วนจีนก็โต 6%
แต่การลงทุนปีนี้แปลกที่เป็นปีแรก สินทรัพย์ทุกชนิดติดลบหมดเลย
มองเฉพาะตลาดหุ้นก็ลงเกือบทุกตลาดทั้ง ตลาดที่พัฒนาแล้วและตลาดที่กำลังพัฒนา
มีขึ้นแค่3-4 ตลาด SET ติดลบน้อยกว่าหลายประเทศ ติดลบ6-7% แต่ที่อื่นๆเฉลี่ย -15%
เป็นครั้งแรกหลังวิกฤต ที่จังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด พร้อมๆกับการดึงสภาพคล่องออกด้วย
นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจ ตลาดหุ้นที่ขึ้นมาตลอดสิบปี ถือเป็นตลาดกระทิงที่ร้อนแรง
แต่เจอสภาพคล่องที่ถูกดึงออก รวมถึงการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
มีโอกาสที่ตลาดหุ้นกลายจากตลาดกระทิงเป็นตลาดหมีได้ เป็นความกังวลของนักลงทุนว่าจะเกิดหรือเปล่า
ถ้าเกิดขึ้นก็ถือว่าจบรอบของตลาดกระทิง แต่ถ้าไม่ใช่ ก็มีโอกาสดีที่ตลาดหุ้นมีโอกาสขึ้นได้
ถ้าตัดประเด็นที่คุณทรัมป์เกี่ยวกับTrade war เรื่องอื่นก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้
ปีนี้พักฐานรอว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ถ้าเศรษฐกิจโลกไปได้ ตลาดหุ้นก็ยังไปต่อได้
ช่วงปี2013 ที่เฟดแจ้งว่าจะไม่เพิ่มปริมาณเงิน (QE) และเปลี่ยนเป็น Quantitative Tightening (QT)
ทุกคนเริ่มลังเลว่าไปทางไหน การขึ้นดอกเบี้ย หรือ การทำQT สะท้อนไปที่ราคาหุ้นแล้ว
แนวคิด 50% สะท้อนไปที่ ข้อแรก คือ เศรษฐกิจUS ปี2020 แย่ลง
ส่วนผมคิดตรงกันข้าม คือข้อสอง การทำของเฟด ค่อนข้างต่ำกว่าที่เคยประกาศ
สภาพคล่องน่าจะยังดีอยู่ ดอกเบี้ยสะท้อนในราคาเยอะแล้ว
ปีนี้ตอนต้นปี คนส่วนใหญ่ไม่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง พอผลออกมาว่าจะขึ้น4ครั้งเลยกระทบเยอะ
ปีหน้าคาดขึ้น 3 ครั้ง ซึ่งสะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว
คนตกงานน้อยมากๆในรอบสิบปี เศรษฐกิจUSดีมาก
อีกด้าน นโยบายการคลัง ทรัมป์ยังใช้จ่ายอยู่ เขาสนใจเศรษฐกิจและราคาหุ้นด้วย
ช่วงนี้ทรัมป์ไม่พูดถึงตลาดหุ้นเลย จากนี้ไปเริ่มdefenseกับFEDว่าไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยอีก
ตลาดหุ้นของUS หุ้นยังไม่ตกเมื่อเทียบกับดัชนีตอนต้นปี2018
Trade war ไม่มีใครเดาใจทรัมป์ได้ แต่ถ้าทำจนสุดทาง มีแต่เสีย คนรับเคราะห์คือผู้บริโภค
ถ้าเราเชื่อว่า น้ำหนักไม่มากที่คุยไม่รู้เรื่อง และฝืนทำไปสุดซอย น่าจะเป็นข่าวดีต่อตลาดหุ้น
ถ้าเศรษฐกิจ US ไม่รุนแรงอย่างที่หลายคนคาด ดังนั้นเศรษฐกิจโลกก็ดีด้วย
ทุกคนยังเชื่อว่า Trade war น่าจะคุยกันได้ ตลาดหุ้นน่าจะperformในปีหน้า
ไทยเรามีความเสียง ซึ่งแยกออกเป็น2ปัจจัยคือ
1. เสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่น่าจะน้อยกว่าชุดนี้ ดูว่าจะผลักดันนโยบายออกมาได้แค่ไหน
เป็นconcernที่ต่างชาติกังวลอยู่ ถ้าไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ เป็นประเด็นต้องจับตาดู
2. การส่งออกและการท่องเที่ยวโตไม่ดีเหมือนในอดีต นักท่องเที่ยวโตไม่มากเพราะฐานใหญ่แล้ว
ต้องมาดูที่การลงทุนของภาคเอกชน และ การบริโภคครัวเรือน
จากการวิเคราะห์ มองตรงกันว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะโตน้อยกว่าปีนี้ คาดเดาว่าโตอยู่ได้ 3.8-4.0%
โดยการลงทุนของภาคเอกชนต้องลงทุนตามรัฐที่ลงไปก่อนหน้า และ มีการบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย
การขึ้นดอกเบี้ยครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในเดือน ธค 18 ไม่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจ
โดยภาพรวม ยังมีความเสี่ยง แต่น้อยกว่าโอกาสที่เศรษฐกิจฟื้นตัว
เศรษฐกิจUSยังไปได้ แต่กลัวTrade warเรื่องเดียว
การลงทุนในปีหน้า
ในอดีต ถ้าตลาดหุ้นไทยปีนี้ไม่ดี ปีหน้าจะดี แต่ประเด็นที่ต้องมองมี 2 เรื่องคือ
1. เศรษฐกิจจะถดถอยไหม
2. กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังเติบโตอีกไหม
สิ่งที่กังวลในตลาดโลก มีวิกฤตใหม่ไหม มีฟองสบู่ในสินทรัพย์เช่น property bubble ไหม
โอกาสที่เกิดวิกฤตในUS น่าจะน้อย แต่อาจเกิดในขึ้นประเทศเล็กๆ
ส่วนประเทศอิตาลีน่าจะconcern แต่คิดว่า EU น่าจะดูแลอิตาลีได้
ธนาคารพาณิชย์ของไทยแข็งแรงมาก หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง property bubble ไม่น่าจะมี
ปีหน้ามีโอกาสลงทุนในหุ้นที่จะฟื้นตัว รอบนี้ยังไม่จบจากสภาพคล่องที่มากเนื่องมาจากการทำQE
สภาพคล่องยังเกินระดับปกติอีกหลายปี จนกว่าสภาพคล่องจะลงมาสู่ระดับปกติ
มีโอกาสที่เงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นทำให้performได้ดี
ส่วนหุ้นที่น่าลงทุน ต้องฟัง 5 อรหันต์ แต่upsideไม่น่าจะเยอะถึง30%ในสมัยก่อน
แต่อย่างน้อยหุ้นก็ขึ้นเป็น%มากกว่า การโตของGDPบ้าง
เดาว่าปีต่อไป จะจบตลาดกระทิงหรือไม่ แต่ผมว่ายังเร็วเกินไปที่จบรอบของตลาดกระทิง
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 149

โพสต์

The Road Ahead by Aberdeen Standard
Adithep Vanabrikasha Chief Investment Officer
Pongtharin Sapayanon , Head of Thai Fixed Income

เริ่มที่คุณพงษ์ธารินก่อน
คำถามคือ ทำไมเศรษฐกิจเมืองไทยperformค่อนข้างดี
ก่อนอื่นดูภาพกว้าง อะไรคือตัวdrive
GDP Growth – moderating to potential
ปรากฏว่ามาจากการส่งออก เป็นตัวกระตุ้นในแง่เศรษฐกิจของเมืองไทย
แต่การส่งออกในQ3 2018ไม่ค่อยดี มาจากสินค้าส่งออกไม่ดี เติบโตติดลบไป
ตัวที่เป็นจุดอ่อนคือ เดือน กย การส่งออกสินค้าลดลง ทำให้Q3 การส่งออกของสินค้าไม่ค่อยดี
เวลาคำนวณ GDP เอา Net export(Net goods exports ,Net services exports)
มาคำนวณ ทำให้GDP Q3 ดูโตน้อยกว่าQอื่นๆ
ถ้าดูส่วนอื่น ยังมีmomentum คือ Domestic demand และ การลงทุน (Investment)
ปีนี้ คาดว่าGDP โต4.5% ปีหน้า 3.75-4.25% ปีหน้าปัจจัยที่จะพยุงเศรษฐกิจ คือ การลงทุน
ที่ผ่านมา ยังไม่ค่อยuniform หมายถึงไม่ได้มาพร้อมๆกัน เพราะบางปีมาจากเอกชน บางปีจากภาครัฐ
ปีหน้ามาครบหมดทุกภาครวม FDI ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่Q3เลย รวมถึงinvestmentซึ่งส่งผลต่อ GDPปีหน้ามาก
ในแง่การส่งออก ปกติพูดถึงส่งออกสินค้า แต่ตอนคำนวณต้องNet Service Exportsเข้ามาด้วย
จะเห็นว่า Net service export สูงกว่า Net Goods exportมากในQ3
เราคิดว่า Serviceน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในปี2019 ถึงแม้นักท่องเที่ยวจีนลดลง
ปกติจะมีปัจจัยอย่างนึงที่ทำให้นักท่องเที่ยวในแต่ละประเทศหายไปเช่น สี่ปีที่แล้ว รัสเซียก็หายไป
ตอนนั้น น้ำมันลงค่อนข้างแรง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของรัสเซียลดค่าไปเยอะ 1 รูเบิ้ลเท่ากับเงินไทย
1 บาท ตอนนี้แลกได้ 2 รูเบิ้ลเท่ากับ1 บาทแล้วแต่ตอนนี้นักท่องเที่ยวรัสเซียเริ่มกลับมาแล้ว
นักท่องเที่ยวจีนก็เช่นกัน ถึงแม้จะลดลงแต่จะลดถึงระดับนึง ไม่ได้หายไปทั้งหมด

เทรนที่คนจีนมาไทยก็ยังเพิ่มขึ้น แต่ขึ้นกับseasonal คนจีนชอบมาQ1 เที่ยวไทยเยอะสุด
แล้วค่อยๆเริ่มลดลง เทรนแบบนี้เชื่อว่าคนจีนจะกลับมาอีก
ที่ผ่านมาคนมาเที่ยวในQ2-Q3 คือเพื่อนบ้าน เช่น
1.มาเลเซีย เพราะอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงแล้วคงที่ ทำให้เขากลับมา
2. อีกประเทศคือเวียดนาม ทัวร์มาไทยค่อนข้างโตมาก เราได้benefitค่อนข้างเยอะ
เวียดนาม เราส่งออกไปค่อนข้างมาก เราส่งออกเวียดนาม ตอนนี้โตถึง 3,000กว่าล้านบาทต่อไตรมาส
3. อีกประเทศ คือกัมพูชา ส่งออกแรงมากจากไม่ถึง1,000 ลบตอนนี้ถึง 2,000กว่าลบแล้ว

Thai baht-tough and resilient for a reason
ค่าเงินบาทแข็งค่ามาก บวกกับนักท่องเที่ยวมาก ได้เงินมากกว่าที่จ่ายไป ทำให้เงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศอื่นในทวีปนี้
จากปี 2015 current accountโตขึ้น จาก 4.x ไปถึง 10%ของGDP แต่เทียบกับปี 2016 12%
ปีนี้น่าจะลดลงเหลือ7% แต่ยังTop of asia
ทิศทางค่าเงินบาท กับ $ ใช้ NEER เป็นตัววัดเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ทิศทางของสกุลบาทเป็นอย่างไร
ปี2015 ค่อนข้างนิ่งมากระหว่างค่าเงินบาทกับ$ ทำให้ตัววัด NEER (Norminal Effective Exchange Rate)
ไม่เปลี่ยนแปลงมาก และ ปี2015เป็นครั้งสุดท้ายที่ลดดอกเบี้ย และคงที่ 1.5%มาจนถึงปัจจุบัน
ประชุมเดือน ธค น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แล้วไม่ขึ้นต่ออีกเพราะเงินเฟ้อต่ำมาก
ถ้าเพิ่มดอกเบี้ยมากกว่านี้ จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งกว่านี้

ตลาดตราสารหนี้พร้อมแล้ว Yield 2 years ขยับมาเป็น2%แล้ว ก็ไม่ได้กระทบอะไรเลยรวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน
ในแง่ของเลือกตั้ง บอกได้จากมุมมองของเราเอง เห็นด้วยว่า โอกาสมีเลือกตั้งมีมากกว่า 50%
แต่ช่วงไหนระหว่าง กพ ถึง พค ถ้าเป็นไปได้ จะเอาเดือน กพ เลย
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตอนต้นปี แล้วเลือกตั้งเลย หวังว่าคนจะจำได้ว่าเงินมาจากไหน
ถ้าเป็นไปตามแผน น่าจะมีเลือกตั้งในQ1 2019
ถ้าไม่มีเลือกตั้งจะกระทบต่อการลงทุน หรือการเมืองไม่นิ่ง การลงทุนก็จะลดลง
ตอนนี้ในแง่ลงทุนปี2016-2017 จะเห็น motorway สาย บางปะอิน กาญจนบุรี , MRT สายสีส้มไปอย่างต่อเนื่อง
EEC ครั้งแรกไม่คิดว่าจะเกิดเร็วเพราะprojectค่อนข้างใหญ่ ตอนนี้น่าจะเกิดเร็วมากกว่าที่คาด
4 project ที่เกิดก่อนในEEC ได้แก่
1. Link 3 Airport มูลค่า 224,000 ลบ
2. U-Tapao Internation Airport มูลค่า 290,000 ลบ
3. Laem Chabang phase 3 มูลค่า 114,000 ลบ
4. Map Ta Put Industrial Port Phase 3 มูลค่า 55,000 ลบ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 150

โพสต์

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดกิจกรรม “ล่องเจ้าพระยา ใคร่ครวญอนาคตประเทศไทย” มีคณะผู้บริหารร่วมพูดคุยกับสื่อมวลชน นายบรรยง พงษ์พานิช ประธาน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) บรรยายในหัวข้อ “วิเคราะห์จุดอ่อนประเทศไทย แก้ไม่ได้ไปต่อยาก” ว่าติดกับดักการเติบโตร่วม 10 ปี

Cr : ThaiPublica

นายบรรยงกล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนซึ่งมีรายได้ประชากรต่อหัว 9,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้ออกมาบอกประชาชนว่าให้อดทน แต่ประเทศไทยที่มีรายได้ประชากรต่อหัว 6,600 ดอลลาร์สหรัฐ กลับมีการออกมากบอกว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวดี สบายใจ เพราะเศรษฐกิจไทยจะโตในอัตรา 4% เป็นครั้งแรก หลังจากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยโตเฉลี่ย 3% มาเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ไตรมาส 3 ปีนี้เศรษฐกิจเติบโตแค่ 3.3% ซึ่งชะลอตัวลงมาจากไตรมาส 1 และไตรมาส 2 อย่างมีนัย อีกทั้งรายละเอียดของการเติบโตเศรษฐกิจก็ยังมีข้อกังขา

นายบรรยงกล่าวต่อว่า สรุปประเทศไทยในทางเศรษฐกิจ ติดกับดับมาเกือบ 20 ปี ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจ 2540 เศรษฐกิจก็ไม่ได้ขยายตัวดี เศรษฐกิจเติบโตเพียง 4-5% เท่านั้นเอง ถ้าเทียบกับที่เคยเติบโต 7% โดยเฉลี่ย มา 40 ปี ในช่วงปี 2500-2540 ซึ่งยุคนั้นมีการเรียกประเทศไทยว่า มหัศจรรย์ของเอเชีย หรือ Miracle of Asia

“ถามว่าที่เราเติบโตเฉลี่ยมา 3-4% มาต่อเนื่องยาวนานเกือบ 10 ปี มีการอัดฉีดเงินทุกด้าน ยังโตมาได้แค่ 4% อะไรคือปัญหา”

10 ปีที่ผ่านมาไม่ใช่เฉพาะในประเทศอาเซียน ประเทศไทยเป็นประเทศที่อัตราการเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาด้วยกันเกือบทั้งโลก ยกเว้นประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจในช่วงนั้น ถ้าไปในอัตรานี้ประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านไทย เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ที่มีอัตราการเติบโตเกือบ 6% จะโตล้ำหน้าไทยไปชั่วชีวิตของเยาวชนรุ่นนี้

ถามว่าปัญหาคืออะไร ประเทศไทยมีปัญหาเยอะแยะมากมายเกือบทุกด้าน ที่ทำให้ประเทศเราขึ้นชื่อว่าเป็น “sick man of Asia คนป่วยของเอเชีย” ในการวิเคราะห์ทั่วไปจะเห็นปัญหาหนึ่ง คือ แก่ก่อนรวย คือการขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญ คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่จะสร้างเสริมเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ปัญหาคือคนไทยมีอายุสูงพ้นวัยทำงาน ขณะที่ตัวประเทศไทยเพิ่งพัฒนามาได้ครึ่งเดียว คือ 6,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ตามเป้าหมายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วต้องมี 12,500 ดอลาร์ ประเทศไทยจะเอาทรัพยากรที่ไหนที่จะมาทำให้เติบโตต่อไปได้ ในเมื่อทรัพยากรมนุษย์ขาดแคลน การส่งเสริมให้คนไทยมีลูกเพิ่มขึ้นก็ต้องใช้เวลาอีก 20-30 ปี กว่าจะเพิ่มขึ้นได้

ประเทศไทยมีอัตราการเกิดต่ำสุดในโลก 1.4 ต่อผู้หญิง 1 คน ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่มยุโรป สวีเดนยังสูง 1.7 แต่ประเทศไทยต้องอยู่กับปัญหานี้ ซึ่งยังแก้ไม่ได้ ต้องรับคนเข้ามาในประเทศ แต่คนที่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยยังไม่มีคุณภาพที่จะเพิ่มผลิตภาพได้มากมาย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานทักษะต่ำเกือบทั้งนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยมีนโยบายที่จะชักจูงโน้มน้าวให้คนที่มีทักษะสูงเข้ามา เพราะคนที่มีทักษะสูงในประเทศกีดกันไว้ผ่านนโยบายต่างๆ โดยที่ไม่รู้ตัว

ปัญหาต่อไปคือ ด้านการศึกษา เป็นสิ่งที่พูดกันมา เป็นสิ่งที่รู้และยอมรับกันทั่วว่า การศึกษาล้มเหลว ไม่สามารถยกระดับบุคคลากรของประเทศให้ขึ้นมามีคุณภาพพอที่จะเพิ่มผลิตภาพโดยรวมของประเทศขึ้นมาได้ ส่วนการปฏิรูปการศึกษาที่เริ่มวันนี้จะเห็นผลในอีก 10-20 ปีข้างหน้า

คอร์รัปชัน อุปสรรคใหญ่ฝังรากลึก
นายบรรยงกล่าวต่อในด้านอุปสรรค อุปสรรคใหญ่ของไทยคือคอร์รัปชันที่ฝังรากลึกในสังคม ระบาดไปทั่ว นอกจากจะเอาทรัพยากรไปแล้ว ยังทำให้นโยบายบิดเบือน ส่งผลกระทบในวงกว้าง ในทางวิชาการบอกว่า ถ้าคนโกงไป 1 ล้านบาทจะส่งผลลบต่อระบบทั้งระบบ 10 เท่า ไม่ใช่แค่ตัวเงินที่เอาไป แต่ส่งผลต่อเนื่องยาวนาน ตัวอย่าง สมมติให้พ่อค้าสามารถไปซื้อการผูกขาดมาได้ ไม่ว่าจะจ่ายเงินไป 1 พันล้านบาท 2 พันล้านบาท 3 พันล้านบาทก็ตาม แต่ผลประโยชน์ที่เขาได้กลับมาเป็นแสนล้านบาทจากการผูกขาด ซึ่งแสนล้านบาทเอาไปจากไหน ไปจากผู้บริโภคทั้งหลาย จากศักยภาพการแข่งขัน ทำให้ทุกอย่างบิดเบือนไปหมด

เวลาเราพูดถึงการปฏิรูปซึ่งพูดกันมานานตั้งแต่ปี 2557 จะปฏิรูปไปไหน มีทิศทางอะไร รูปแบบเป็นอย่างไร ก็ชวนมองไปว่า เวลาพัฒนาไปแล้ว อย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรจะมีความสุขไปด้วย เพราะการกระจุกตัวไม่มาก มีทั้งความมั่งคั่งและการกระจายที่ทั่วถึง ก็พบว่ามีเงื่อนไข 3 อย่าง

หากไปดูดัชนีหรือตัววัด 3 อย่าง ประเทศที่อยู่อันดับต้นของดัชนี ด้านแรก ความร่ำรวย ที่วัดจาก GDP per capita พบว่า 20 ประเทศแรกที่มีความร่ำรวยที่สุดในโลก สอง ความเป็นประชาธิบไตย ซึ่งดัชนีที่ได้รับการยอมรับกันมากที่สุด democracy index ที่จัดทำโดย Economic Intelligent Unit (EIU) พบว่าประเทศ 20 ประเทศที่มีประชาธิปไตยสูง มีการพัฒนามายาวนาน (ซึ่งประชาธิปไตยไม่ได้แปลว่าเลือกตั้ง)

“ประเทศไทยก่อนที่จะมีปฏิวัติอยู่ที่อันดับ 60 ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประชาธิปไตยเต็มใบหรือ full democracy ปัจจุบันนี้อยู่อันดับ 102 แต่หากไม่มีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ อันดับของไทยคงไปอยู่เหนือเกาหลีเหนือนิดเดียว การพัฒนาประชาธิปไตยมีองค์ประกอบอื่นเยอะแยะ ไม่ใช่มีแค่การเลือกตั้ง ต้องมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง มีหลักนิติธรรม (rule of law) เป็นต้น”

ดัชนีตัวที่ 3 คือ Corruption Perception Index ดัชนีชี้วัดความโปร่งใส

“ที่ผมยก 3 ดัชนีนี้ขึ้นมา เพราะมีคำถามง่ายๆ ว่า ประเทศเหล่านี้ที่ร่ำรวย เคารพสิทธิมนุษยชน ถึงเลิกโกง หรือเพราะเคารพสิทธิมนุษยชน แล้วไม่โกง ประเทศถึงรวย ซึ่งค่อนข้างชัด ว่าไม่ใช่รวยแล้วถึงเลิกโกง ไม่ใช่ว่ารวยแล้วถึงเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยที่พัฒนาต่อเนื่องยาวนาน เพราะมีกลไกที่ทำให้เกิดความโปร่งใสทำให้พัฒนาไปได้”

ไทยจะเดินแนวไหน
ทีนี้ เวลาพูดอย่างนี้ แล้วคำถามต่อมาคือ จะทำอะไร อะไรคือธีม อะไรคือแนวที่ไทยควรไป

ในด้านเศรษฐกิจเป้าหมายมี 3 ข้อ คือ มั่งคั่ง แบ่งปันและยั่งยืน โดย มั่งคั่ง คือ รายได้ต่อหัว ไม่ใช่กระจุกเฉพาะกลุ่ม ต้องแบ่งปันมีการกระจายที่ดี เรื่องความมั่งคั่งประเทศไทยมาได้ครึ่งทางแล้ว แต่การกระจายยังน้อย

ประเทศไทยติดอันดับที่การกระจายความมั่งคั่งแย่ อยู่อันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและอินเดีย คนรัสเซีย 1% แรกถือทรัพย์สินรวม 74% คนอินเดีย 1% แรกถือทรัพย์สินรวม 58.8% คนไทย 1% แรกหรือประมาณ 600,000 คน ถือทรัพย์สิน 58.0% และจะแซงอินเดียได้ในเร็วๆ นี้ ขณะที่ประเทศอื่นไม่ถึง 50% สหรัฐอเมริกา 42%

นอกจากนี้ จากการวัดทุกมุมประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงมาก แนวทางที่ทำมาในการกระจายความมั่งคั่งไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งมาตรการที่พยายามจะเสริมเข้าไป เช่น นโนยายประชานิยม ที่จะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำ หรือการพยายามเก็บภาษีจากผู้มีรายได้มากให้ได้มากขึ้น โดยภาษีที่ออกมาคือภาษีมรดก ซึ่งมีผลมา 3 ปีแล้ว เก็บได้ประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนภาษีที่ดิน มีทั้งวิธีเลี่ยงวิธีใช้ดุลยพินิจมากมาย ทั้งหมดนี้จะเป็นก้าวที่บอกว่าจะเดินอย่างไร

ด้านความยั่งยืนหมายถึง ต้องมีการพัฒนาเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม ในระยะสั้นเศรษฐกิจเสถียรมาก แต่ความยั่งยืนจะหยุดอยู่กับที่ จะอย่างยั่งยืนไปตลอดหรือไม่

รัฐต้องทำในสิ่งจำเป็น ปล่อยกลไกตลาดทำงาน

นายบรรยงกล่าวต่อว่า “จากประสบการณ์ 40 ปีในการทำงานหลายเรื่อง ธีมอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยไม่เคยมีใครพูดถึง ผมคิดว่าธีมที่เหมาะสมที่สุดของไทยคือนีโอลิเบอรัล (เสรีนิยมใหม่) ความเป็นรัฐสวัสดิการ”
รัฐสวัสดิการ ส่วนใหญ่ยังสับสนระหว่าง welfare กับสังคมนิยม ประเทศที่ประสบผลสำเร็จมากในเรื่องรัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศในยุโรปเหนือ จะพบว่าใช้ระบบตลาดเต็มที่ แต่มีกระบวนการที่จะย้ายทรัพยากรจากภาคส่วนที่ไม่จำเป็นมาสู่ภาคส่วนที่จำเป็น รวมทั้งย้ายจากภาคส่วนที่มั่งคั่งไปสู่ภาคส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ
welfare ของประเทศยุโรปเหนือไม่เกี่ยวกับความมั่งคั่งหรือไม่มั่งคั่ง เช่น สวัสดิการด้านการมีบุตร คนรวยคนจนได้รับทุกคน รวมทั้งการรักษาพยาบาล ยกตัวอย่าง สวีเดนโรงพยาบาลรัฐมีสัดส่วนเพียง 14% เท่านั้นอีก 86% เป็นโรงพยาบาลเอกชน โรงเรียนก็เหมือนกัน คือไม่ใช่โรงเรียนรัฐ เป็นประเทศรัฐสวัสดิการ แต่ไม่ได้สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล แต่ให้ตลาดทำงาน รัฐให้คูปองไป ประชาชนไปเลือกใช้บริการเอง ให้ตลาดทำหน้าที่ทั้งการกำหนดราคาและการแข่งขัน นี่คือ welfare ในความหมายของเสรีนิยมใหม่ ไม่ใช่สังคมนิยมที่เป็นระบบที่รัฐทำทุกอย่าง แต่เมืองไทยยังไม่มีเส้นแบ่งชัดระหว่างสวัสดิการกับสังคมนิยม
แนวคิดของเสรีนิยมใหม่จริงๆ คือ รัฐทำแต่สิ่งที่จำเป็น รัฐปล่อยให้ตลาดทำงานให้ได้มากที่สุด รัฐจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกรณีที่ตลาดล้มเหลว หรือเกิดผลกระทบต่อสิ่งที่ปกป้องตัวเองไม่ได้ เช่น สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
รัฐจะมีบทบาทต่อเมื่อเกิด market failure หรือ เกิด externalities ซึ่งตัวอย่างของ market failure คือ หน้าที่ของรัฐคือการวางกลไก วางโครงสร้างการตลาดเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเต็มที่โดยสมบูรณ์ แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ที่ตลาดทำงานไม่ได้ เช่น กรณีที่ต้องมีการพัฒนาในพื้นที่ที่เอกชนยังไม่ทำ ตรงนี้รัฐต้องเข้าไปเกี่ยว วิธีการเข้าไปเกี่ยวมีหลายวิธี แต่วิธีการที่เลวร้ายสุดคือรัฐลงไปทำเอง
market failure ที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ เมื่อไรก็ตามที่มีการเกิดผูกขาด มีการแข่งขันน้อยราย รัฐจะต้องทำลายการผูกขาดนั้นถ้าทำได้ หรือในกรณีที่การผูกขาดนั้นไม่สามารถที่จะทำลายได้ เพราะเป็น national monopoly รัฐต้องเข้าไปควบคุมไม่ให้ใครก็ตาม ไม่ว่ารัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนเอาพลัง monopoly นั้นไปเอารัดเอาเปรียบตลาดแล้วทำให้เกิดการบิดเบือน และรัฐจะต้องไม่สร้างการผูกขาดเสียเอง เช่น เปิดประมูล duty free แบบ single operator เป็นต้น
ในประเทศไทยชัดเจนมาก รัฐบาลเราใหญ่เกินไปทั้งขนาด บทบาท อำนาจ วิธีการที่ดีที่สุด คือ การลดทั้งขนาด บทบาท และอำนาจของรัฐ ผ่านหน่วยงานของรัฐ ผ่านกฎหมายที่รัฐถืออยู่ และผ่านรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน
“หลักง่ายๆ คือ ลดให้มากที่สุด เช่น การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แต่คงไม่เกิดขึ้น เพราะการปฏิรูปทำให้ผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ไปด้วย หรือ การทำ regulatory guillotine เป็นความพยายามที่จะลดกฎหมาย กฎระเบียบ”
นายบรรยงกล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีกฎหมาย 7 แสนฉบับ ซึ่งแยกเป็นของท้องถิ่น 5 แสนฉบับ ขณะนี้มีความพยายามที่จะจัดการยกเลิกกฎหมายเหลือ 1 แสนฉบับ แต่ต้องใช้เวลา เพราะกฎหมายทั่วไป การแก้ไขต้องใช้เวลาฉบับละ 2 ปี ถ้าจะแก้ทั้งหมดใช้เวลานาน เป็นหมื่นปี ดังนั้นควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และหน่วยงานของรัฐควรแยกเอาไปทำ ขณะนี้มีหน่วยงานที่บางแห่งเริ่มทำแล้ว เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ทำเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้ว และกำลังจะทำกับกฎหมายด้านสถาบันการเงิน
ส่วนกระบวนการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญมาก จากการทำงานกับองค์การต่อต้านคอร์รัปชัน ที่ก่อตั้งมาแล้ว 7 ปี ก็เห็นความคืบหน้าในหลายจุด แต่การขจัดคอร์รัปชันในทันทีเป็นไปไม่ได้ เพราะมีจำนวนมหาศาล มีคนพูดว่า คอร์รัปชันเป็นหนึ่งในสายเลือดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่อนาคตต้องกำจัดให้ได้ ไม่เช่นนั้นประเทศจะไม่มีอนาคตที่รุ่งโรจน์ไปได้