ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ หุ้นที่มีจำนวนมากขึ้นและมี Market Cap. ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ไทยก็คือหุ้นที่ผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าและผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ ผมจะเรียกง่าย ๆ ว่า “หุ้นโรงไฟฟ้า” ซึ่งในระยะหลัง ๆ นี้ก็กลายเป็นกลุ่มหุ้นที่มีความโดดเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เหตุผลก็คงเป็นเพราะว่าราคาของหุ้นกลุ่มนี้มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจนแทบจะกลายเป็น “หุ้นนางฟ้า” ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ภาพของหุ้นโรงไฟฟ้าก็คือเป็นหุ้น “Defensive” ที่มีผลการดำเนินงานสม่ำเสมอไม่ผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นมากนัก เช่นเดียวกับราคาหุ้นที่มักจะไม่ค่อยปรับตัวไปไหนไกล ไม่เหมาะกับนักเก็งกำไรที่ต้องการทำเงินอย่างรวดเร็ว คนที่ลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้ามักคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนจากปันผลพอ ๆ กับหรือมากกว่ากำไรจากราคาหุ้น ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะได้ผลตอบแทนรวมไม่เกิน 10-20% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้หุ้นโรงไฟฟ้าเปลี่ยนไป ดูเหมือนว่ามันกำลังทำตัวเหมือน “Super Stock” ที่ทำให้เจ้าของบางคนกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับต้น ๆ ของเมืองไทย มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น
ข้อแรกก็คือ บริษัทที่ผลิตไฟฟ้าขายนั้น เริ่มที่จะเข้าไปผลิตไฟ้ฟ้าจากพลังงานทดแทนที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังความร้อนจากแหล่งใต้ดิน พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ และพลังงานชีวมวลซึ่งรวมถึงขยะและเศษไม้ เป็นต้น โดยที่พลังงานเหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำอานิสงค์จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลงมาก ผลก็คือ บริษัทเอกชนโดยเฉพาะที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสามารถสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าขายให้กับทางการได้เพิ่มขึ้นจำนวนมากและมีกำไรดีกว่าธุรกิจผลิตไฟฟ้าแบบเดิม นี่ก่อให้เกิดกระแสการเติบโต “รอบแรก” และทำให้หุ้นผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะแสงแดดและลมกลายเป็น “หุ้นเติบโต” ที่ “ร้อนแรง” มากในช่วงก่อนหน้านี้ก่อนที่จะซาลงเมื่อ “ฟองสบู่” ของหุ้นขนาดกลางและเล็กที่เติบโตเร็วและมีสตอรี่ “แตก”
ข้อสอง ผลประกอบการของบริษัทที่ผลิตไฟฟ้าขายส่วนใหญ่แล้วไม่ได้แย่ลงเหมือนหุ้น “นางฟ้า” อื่น ๆ และในยามที่เศรษฐกิจซบเซาเช่นในช่วงเร็ว ๆ นี้ บริษัทที่ขายไฟฟ้าก็ยังสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้ เหตุผลก็เพราะว่าธุรกิจมีสัญญาซื้อขายไฟชัดเจนกับการไฟฟ้าและผู้ซื้ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ดังนั้น รายได้และกำไรโดยปกติก็ไม่ค่อยลดอยู่แล้ว หุ้นโรงไฟฟ้าจำนวนมากยังมีสัญญาขายไฟใหม่เพิ่มขึ้น ดังนั้น กำไรของบริษัทจึงยังเพิ่มขึ้น นี่ก็เป็นเรื่องของธุรกิจขายไฟฟ้าในประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ บริษัทโรงไฟฟ้าจำนวนมากเริ่มเข้าไปทำโครงการในต่างประเทศโดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่มีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมหาศาลอานิสงค์จากการลดการใช้ไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ที่ลดลงไปมาก ในลาวที่มีพลังงานน้ำเหลือเฟือ และล่าสุดในเวียตนามที่กำลังมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามหาศาลจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในประเทศ
ข้อสาม การที่บริษัทผลิตไฟฟ้าของไทยสามารถขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วนั้นเป็นเพราะสภาพคล่องทางการเงินที่ล้นเหลือในสถาบันการเงินและตลาดเงินซึ่งทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยของไทยต่ำมาก ดังนั้น พวกเขาก็สามารถไปประมูลหรือเสนอผลตอบแทนการลงทุนที่ต่ำให้กับผู้ซื้อไฟฟ้าได้ ในอีกด้านหนึ่ง การระดมเงินเพื่อทำโครงการก็สามารถทำได้มาก อัตราหนี้สินต่อทุนของโครงการนั้นสามารถทำได้ถึง 3 เท่า ซึ่งก็ยิ่งทำให้บริษัทสามารถทำโครงการที่ให้ผลตอบแทนโครงการไม่สูงแต่ยังสามารถทำกำไรให้กับส่วนของผู้ถือหุ้นที่เพียงพอได้ ในประเด็นนี้เองผมก็เคยคิดว่าในตลาดอย่างประเทศเวียตนามนั้น เวลากู้เงิน บริษัทของเวียตนามอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 10% ต่อปี ในขณะที่บริษัทไทยอาจจะจ่ายแค่ 5% และยังกู้ได้มากกว่า ดังนั้น บริษัทไทยจึงน่าจะสามารถเข้าไปทำโครงการในเวียตนามได้ไม่ยาก และพวกเราก็ไปกัน และนี่ก็คือการบูม “รอบสอง” ของธุรกิจโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับบริษัทผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สามารถขยายตัวเติบโตค่อนข้างเร็วในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยนั้นหา “หุ้นเติบโต” ยากขึ้นเรื่อย ๆ
สุดท้าย นักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นไทยเองนั้น “กระหาย” การเติบโตมากยิ่งกว่าเรื่องอื่นใดในการลงทุน พวกเขาคิดว่าการเติบโตนั้นเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญที่สุดต่อราคาหุ้น หุ้นกลุ่มใดหรือตัวใดที่เขาเห็นว่ามีการเติบโตเร็วและชัดเจน มีสตอรี่ที่จะโตต่อไปอีกมากรออยู่ เขาก็พร้อมที่จะกระโดดเข้าไปซื้อลงทุนหรือเก็งกำไร ดังนั้น หุ้นก็มักจะดีดตัวขึ้น และถ้าหุ้นตัวนั้นมี Free Float น้อยกว่าคนที่เข้าไปเล่น ราคาก็จะปรับตัวขึ้นไปสูงและเร็วซึ่งก็ยิ่งทำให้นักลงทุนอื่นเข้าไปซื้อเพราะคิดว่ามันจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก กระบวนการแบบนี้ บ่อยครั้งก็ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปเป็น “ฟองสบู่” ซึ่งถ้าหากว่าผลประกอบการบริษัทยังโตขึ้นในระดับดีพอใช้ ราคาก็มักจะยืนอยู่ได้ อาจจะเป็นหลาย ๆ ไตรมาศหรืออาจจะเป็นปี ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่ผลประกอบการเริ่มไม่โตอย่างที่คิดหรือถึงกับลดลง ฟองสบู่ก็อาจจะ “แตก” ได้ และนี่ก็คือความเสี่ยงที่เราเคยเห็นและประสบมาไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้
คำถามสำคัญก็คือ นี่คือภาวะ “ฟองสบู่” ของหุ้นโรงไฟฟ้าหรือยัง? สัปดาห์ก่อนหุ้นโรงไฟฟ้ากลุ่มหนึ่งที่ปรับตัวขึ้นไปสูงก่อนหน้านี้ตกลงมาแรงถือเป็นสัญญาณเตือนหรือไม่? หรือมันเป็นอย่างที่นักวิเคราะห์พูดว่าเป็นเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจี้ให้รัฐดึงกำลังการผลิตไฟฟ้าคืนจากเอกชนมาเป็น 51% ของกำลังผลิตทั้งหมดในประเทศภายใน 10 ปี ซึ่งจะทำให้บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนทั้งหลายไม่สามารถโตได้ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าหุ้นโรงไฟฟ้าจะตกลงมาวันเดียวและก็ไม่ได้แรงถึงขนาด “ฟองสบู่แตก” ดูเหมือนว่านักลงทุนยังไม่ได้เปลี่ยนภาพของหุ้นโรงไฟฟ้า
การที่จะบอกว่าหุ้นโรงไฟฟ้ากลุ่มหนึ่งเป็นฟองสบู่นั้น เราคงต้องวิเคราะห์ดูถึงความถูกความแพงของหุ้นเปรียบเทียบกับการเติบโตของกำไรของกิจการในระยะยาว ในอดีตเองนั้น หุ้นโรงไฟฟ้ามักจะเป็นหุ้นที่ไม่แพงหรือบางครั้งก็ถูก ค่า PE ซึ่งเป็นตัววัดค่าแบบหยาบ ๆ นั้น ผมเคยคิดว่ามันไม่ควรจะเกิน 10 เท่าคิดจากกำไรปกติ แต่นั่นก็คือค่าที่ภาวะอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเป็นปกติ ในยามที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากอย่างปัจจุบันและยังไม่เห็นว่าจะขึ้นได้เมื่อไรนั้น ผมคิดว่าหุ้นโรงไฟฟ้าน่าจะมีค่า PE สูงขึ้นได้ อาจจะเป็น 17 เท่าพอ ๆ กับตลาดซึ่งจะทำให้คนลงทุนได้ผลตอบแทนต่อปีประมาณ 6% สำหรับธุรกิจไฟฟ้าที่ “ไม่ค่อยโตแล้ว” แต่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ในยามที่ธุรกิจผลิตไฟฟ้ากำลังโตหรือโตอย่างรวดเร็วอย่างที่หุ้นหลายตัวเป็นอยู่ ค่า PE ก็อาจจะสูงขึ้นได้ สูงแค่ไหนก็เป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องวิเคราะห์อย่างรอบคอบ วิธีการหนึ่งก็คือ ประเมินว่าอีกกี่ปีกำไรของบริษัทจะสูงขึ้นจนทำให้ค่า PE ลดลงมาจนเหลือ 17 เท่าหรือ 10 เท่า นี่ก็เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เหตุผลก็คือ นอกจากบริษัทอาจจะไม่สามารถขยายโครงการเพิ่มขึ้นตามแผนแล้ว บางทีโครงการในอนาคตนั้นก็อาจจะไม่ได้ทำกำไรเท่าโครงการเดิมที่มีอยู่ด้วย
ในฐานะที่เป็น VI แบบอนุรักษ์นิยม ผมเองก็มักจะไม่ค่อยอยากลงทุนในหุ้นที่ “แพงเกินที่จะยอมรับได้” เพราะหุ้นที่แพงมาก ๆ นั้น ความเสี่ยงที่จะขาดทุนหนักมีไม่น้อย ทุกอย่างที่คาดไว้จะต้องสมบูรณ์แบบ บางครั้งแค่มีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ราคาก็อาจจะลดลงได้มาก ตัวอย่างนั้นมีมากจนผมไม่อยากจำ บางคนอาจจะเถียงว่า “ครั้งนี้ไม่เหมือนเดิม” “มันเป็นหุ้นโรงไฟฟ้าที่มั่นคงมาก” มันคงไม่ล่มสลายง่าย ๆ เหมือนหุ้น… ผมไม่เถียงว่ามันไม่เหมือนกัน แต่จะเสี่ยงไปทำไม?
หุ้นโรงไฟฟ้า/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
หุ้นโรงไฟฟ้า/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นโรงไฟฟ้า/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
กำลังผลิตไฟฟ้าในไทย : เอกชน
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
กำลังผลิตไฟฟ้าในไทย : กฟผ
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
กำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งหมด :
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด:
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
ปัจจุบันกำลังผลิตรวม มีประมาณกลมๆ 42,000 MW
ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีนี้ (ที่อากาศร้อนสุดๆ หลายบ้านๆ หลายคน
ค่าไฟฟ้าพุ่งอย่างไม่เคยเจอมาก่อนรวมทั้งตัวผมเองด้วย)
30,853 MW เรามีกำลังไฟฟ้าสำรอง ประมาณ 36%
ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% เท่านั้น นั่นคือ
มีกำลังสำรองเพียงพอไปอีก 12 ปี เป็นอย่างน้อย
การมีกำลังสำรองมากเกินไปขนาดนี้ ทำให้ ผู้ใช้ไฟฟ้า
โดยเฉพาะ ผู้ใช้ไฟรายใหญ่ (จริงๆ ไม่ต้องใหญ่ก็ได้
แค่มีหม้อแปลงเป็นของตนเองก็ได้แล้ว) จ่ายค่าไฟฟ้า
แพงเกินความจำเป็น ส่วน "เกินจริง" นี้คือกำไรที่ไปสู่
มือของ ผู้ผลิตไฟฟ้า เป็นจำนวนเงินมหาศาลใช่หรือไม่
พวกเรากำลังโดยปล้น โดยไม่รู้สึกตัวหรือไม่ อย่างไร ???
ยิ่งกว่านั้น โรงงานต่างๆ เริ่มมีการผลิตไฟฟ้าใช้เอง
โดยใช้โซลาห์เซลล์บ้าง (อาทิ ที่เห็นชัดๆ SNC)
บางส่วนก็ใช้ วัสดุ ที่เมื่อก่อนเอาไปทิ้งหรือขาย
ตอนนี้นำกลับมาผลิตไฟฟ้าก็มี (TPIPL/TPIPP)
และหลายๆ บ้านเริ่มใช้ หลอดไฟ LED ทั้งแบบกลม
และแบบยาว ซึ่งราคาเริ่มถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ประหยัด
ไฟฟ้าได้ประมาณ 50% ของส่วนที่เป็นแสงสว่าง ส่วน
เครื่องปรับอากาศที่กินไฟเยอะ ถ้าเปลี่ยนใหม่ ผมแนะ
นำให้ใช้แบบ อินเวอร์เตอร์ ที่ตอนนี้ราคาปรับลงมาเยอะ
และบางยี่ห้อแก้ไขจุดอ่อนให้บอร์ดควบคุมรับมือกับไฟตก
ไฟเกินบ้านเราได้อย่างดี ทำให้ไม่พังง่ายๆ แอร์แบบนีี้
ประหยัดไฟฟ้ามากกว่า 20% ครับ (ตู้เย็นแบบอินเวอร์เตอร์
ก็ประหยัดไฟฟ้ากว่าปกติมากกว่า 20% ครับ) พวกบรรดา
PC และ Notebook รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ก็เร็วขึ้น เย็นขึ้น
ประหยัดไฟฟ้ากว่าเดิมเยอะ (อันนี้ประสบการณ์เร็วๆ นี้เลย
เพิ่งซื้อ Notebook รุ่นใหม่ ยี่ห้อเดิม ราคาพอๆ กันกับปีก่อน
คือหมื่นสามพันกว่าบาท CPU AMD Ryzen5 รุ่นใหม่ล่าสุดมี 4 คอร์
เท่ากับปีก่อนคือ AMD A10 นอกจากความเร็วจะเหนือกว่าเครื่อง
ปีก่อนเยอะความร้อนน้อยลงมาก ตัวหม้อแปลงไฟฟ้าก็มีขนาด
เล็กลงมาก ไม่น่าเชื่อว่า เพียงแค่หนึี่งปีผ่านไป จะไปไกลขนาดนีี้)
ถามว่า ทำไมต้องรีบส่งเสริมการสร้าง รฟฟ เพื่อเพิ่มกำลังผลิต
มากไปกว่านี้ด้วย ??? ในเมื่อกำลังผลิต มีเกิน ความต้องการ
ไปอีกกว่า 12 ปี และมีแนวโน้มว่า การใช้ไฟฟ้าอาจไม่เพิ่ม
ขึ้นถ้าหากมีการเปลี่ยนไปใช้หลอด LED และเครื่องปรับอากาศ
และตู้เย็นแบบอินเวอร์เตอร์มากขึ้นในอนาคตอันใกล้ อีกทั้ง
โรงงานต่างๆ เริ่มหันมาผลิตไฟฟ้าใช้เอง เพราะต้นทุนโซลาร์เซลส์
ถูกลงเรื่อยๆ (ถ้าอีกหน่อยถูกลงมากกว่านี้ พวกเทคโนฯ การเก็บไฟ
ที่ราคาถูกลงและปลอดภัยมากขึ้น ตามบ้านเรือนอาจจะ
หันมาติดโซลาร์เซลส์ใช้เองมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นได้)
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
กำลังผลิตไฟฟ้าในไทย : กฟผ
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
กำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งหมด :
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด:
https://www.egat.co.th/index.php?option ... Itemid=116
ปัจจุบันกำลังผลิตรวม มีประมาณกลมๆ 42,000 MW
ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีนี้ (ที่อากาศร้อนสุดๆ หลายบ้านๆ หลายคน
ค่าไฟฟ้าพุ่งอย่างไม่เคยเจอมาก่อนรวมทั้งตัวผมเองด้วย)
30,853 MW เรามีกำลังไฟฟ้าสำรอง ประมาณ 36%
ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% เท่านั้น นั่นคือ
มีกำลังสำรองเพียงพอไปอีก 12 ปี เป็นอย่างน้อย
การมีกำลังสำรองมากเกินไปขนาดนี้ ทำให้ ผู้ใช้ไฟฟ้า
โดยเฉพาะ ผู้ใช้ไฟรายใหญ่ (จริงๆ ไม่ต้องใหญ่ก็ได้
แค่มีหม้อแปลงเป็นของตนเองก็ได้แล้ว) จ่ายค่าไฟฟ้า
แพงเกินความจำเป็น ส่วน "เกินจริง" นี้คือกำไรที่ไปสู่
มือของ ผู้ผลิตไฟฟ้า เป็นจำนวนเงินมหาศาลใช่หรือไม่
พวกเรากำลังโดยปล้น โดยไม่รู้สึกตัวหรือไม่ อย่างไร ???
ยิ่งกว่านั้น โรงงานต่างๆ เริ่มมีการผลิตไฟฟ้าใช้เอง
โดยใช้โซลาห์เซลล์บ้าง (อาทิ ที่เห็นชัดๆ SNC)
บางส่วนก็ใช้ วัสดุ ที่เมื่อก่อนเอาไปทิ้งหรือขาย
ตอนนี้นำกลับมาผลิตไฟฟ้าก็มี (TPIPL/TPIPP)
และหลายๆ บ้านเริ่มใช้ หลอดไฟ LED ทั้งแบบกลม
และแบบยาว ซึ่งราคาเริ่มถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ประหยัด
ไฟฟ้าได้ประมาณ 50% ของส่วนที่เป็นแสงสว่าง ส่วน
เครื่องปรับอากาศที่กินไฟเยอะ ถ้าเปลี่ยนใหม่ ผมแนะ
นำให้ใช้แบบ อินเวอร์เตอร์ ที่ตอนนี้ราคาปรับลงมาเยอะ
และบางยี่ห้อแก้ไขจุดอ่อนให้บอร์ดควบคุมรับมือกับไฟตก
ไฟเกินบ้านเราได้อย่างดี ทำให้ไม่พังง่ายๆ แอร์แบบนีี้
ประหยัดไฟฟ้ามากกว่า 20% ครับ (ตู้เย็นแบบอินเวอร์เตอร์
ก็ประหยัดไฟฟ้ากว่าปกติมากกว่า 20% ครับ) พวกบรรดา
PC และ Notebook รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ก็เร็วขึ้น เย็นขึ้น
ประหยัดไฟฟ้ากว่าเดิมเยอะ (อันนี้ประสบการณ์เร็วๆ นี้เลย
เพิ่งซื้อ Notebook รุ่นใหม่ ยี่ห้อเดิม ราคาพอๆ กันกับปีก่อน
คือหมื่นสามพันกว่าบาท CPU AMD Ryzen5 รุ่นใหม่ล่าสุดมี 4 คอร์
เท่ากับปีก่อนคือ AMD A10 นอกจากความเร็วจะเหนือกว่าเครื่อง
ปีก่อนเยอะความร้อนน้อยลงมาก ตัวหม้อแปลงไฟฟ้าก็มีขนาด
เล็กลงมาก ไม่น่าเชื่อว่า เพียงแค่หนึี่งปีผ่านไป จะไปไกลขนาดนีี้)
ถามว่า ทำไมต้องรีบส่งเสริมการสร้าง รฟฟ เพื่อเพิ่มกำลังผลิต
มากไปกว่านี้ด้วย ??? ในเมื่อกำลังผลิต มีเกิน ความต้องการ
ไปอีกกว่า 12 ปี และมีแนวโน้มว่า การใช้ไฟฟ้าอาจไม่เพิ่ม
ขึ้นถ้าหากมีการเปลี่ยนไปใช้หลอด LED และเครื่องปรับอากาศ
และตู้เย็นแบบอินเวอร์เตอร์มากขึ้นในอนาคตอันใกล้ อีกทั้ง
โรงงานต่างๆ เริ่มหันมาผลิตไฟฟ้าใช้เอง เพราะต้นทุนโซลาร์เซลส์
ถูกลงเรื่อยๆ (ถ้าอีกหน่อยถูกลงมากกว่านี้ พวกเทคโนฯ การเก็บไฟ
ที่ราคาถูกลงและปลอดภัยมากขึ้น ตามบ้านเรือนอาจจะ
หันมาติดโซลาร์เซลส์ใช้เองมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นได้)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.