การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 1
เมื่อ 1 เดือนที่แล้ว Dr.Jim Walker นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของ CLSA ออกบทวิเคราะห์ที่แหวกแนวจากนักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ โดยทำนายว่าเศรษฐกิจจีนจะสะดุดตัวและขยายตัวเพียง 3-4% ในปี 2007 ซึ่ง Dr.Walker สรุปว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ "รุนแรงและเจ็บปวด" (sharp & painful)
Dr.Walker คือใคร ? เขาคือผู้ที่ทำนายว่า เศรษฐกิจไทยจะถดถอยในปี 1997 และเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนเดียวที่ทำนายถูกต้องว่า เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต แม้แต่ Prof.Paul Krugman เองที่คาดการณ์พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเอเชียที่เน้นแต่ปริมาณการลงทุน ยังยอมรับว่า Prof.Krugman เอง เพียงแต่คิดว่าเศรษฐกิจของเอเชียจะชะลอตัวลง มิได้คาดการณ์ว่าจะเข้าสู่สภาวะวิกฤตที่ล้ำลึกเช่นที่ Dr. Walker ได้ทำนายเอาไว้
Dr.Walker กล่าวเตือนตั้งแต่ต้นว่า การทำนายเศรษฐกิจจีนของเขาครั้งนี้เป็นการตักเตือนแต่เนิ่นๆ โดยยอมรับว่าเศรษฐกิจจีนนั้นจะยังขยับตัวในอัตราสูงที่ 8-10% ในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ต้องยอมรับในความถูกต้องของ Dr.Walker ที่ทำนายไว้เมื่อตอนต้นปี 2004 ว่า จะไม่มี hard landing เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจีน ซึ่งหากจำได้ในช่วงนั้นหลายคนพากันวิตกว่า เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ในทางตรงข้าม Dr.Walker บอกว่า จะไม่มี landing เกิดขึ้น กล่าวคือ เศรษฐกิจจีนก็จะยังขยายตัวในอัตราที่ไม่ได้ชะลอตัวลงแต่อย่างใด
แต่ทำไมวันนี้ Dr.Walker จึงหันกลับมาทำนายว่า เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในปี 2007 ? เขาเชื่อว่าพัฒนาการของเศรษฐกิจจีนในวัฏจักรปัจจุบันที่เริ่มประมาณปี 2000 นั้น เป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แตกต่างจากวัฏจักรรอบก่อนๆ (1983-85 และ 1992-94) เพราะในรอบก่อนหน้านั้น เศรษฐกิจยังขยายตัวในกรอบของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ซึ่งมีการจำกัดขอบเขตของการแข่งขัน และเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการควบคุมและวางแผนจากรัฐบาลกลาง
สำหรับวัฏจักรปัจจุบันนั้น Dr.Walker อ้างว่า มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญจากระบบเดิม คือมีลักษณะเป็นระบบทุนนิยมและกลไกตลาดเสรีอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีสถาบันและกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล (private property) ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบทุนนิยมอย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนั้น การเข้าเป็นภาคีองค์การการค้าโลก (WTO) และการผ่อนคลายให้ธนาคารพาณิชย์เอกชนเปิดดำเนินการ เป็นการส่งเสริมกลไก ตลาดเสรี และเพิ่มความมั่นใจให้กับนายทุนอีกระดับหนึ่ง
ดังนั้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในรอบนี้ (ตั้งแต่ปี 2000) จึงเป็นเศรษฐกิจ "ขาขึ้น" ซึ่งมีลักษณะของระบบนายทุนอย่างค่อนข้างจะเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันที่รุนแรงมากกว่าในอดีตอย่างมาก Dr.Walker ยกตัวอย่างว่า เมื่อเขาไปเยี่ยมชมบริษัทผลิตกระดาษแห่งหนึ่ง เขาทราบจากผู้บริหารของบริษัทว่า มีบริษัทผลิตกระดาษที่เป็นคู่แข่งประมาณ 5,000 แห่ง ในขณะที่ตัวเลขสถิติของทางการนั้น คำนวณว่ามีบริษัทผลิตกระดาษชำระในมณฑลเพียง 2,000-3,000 แห่ง นอกจากนั้น บริษัทคู่แข่งนั้นส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยอดีตพนักงานของบริษัทแรกๆ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นในทุกภาคอุตสาหกรรมของจีน กล่าวคือ ความแปลกใหม่ของระบบทุนนิยมและกลไกตลาดเสรีได้ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไร้ขอบเขต (rampant capitalism)
การแข่งขันดังกล่าวย่อมเป็นผลดีในเชิงของการกระตุ้นการขยายตัวของผลผลิตและการจ้างงาน แต่หากนำไปวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรีย เมื่อ 80 ปีที่แล้ว ก็จะต้องสรุปว่า การเร่งผลิตและการแข่งขันที่รุนแรงดังกล่าว จะต้องนำมาสู่สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ นักศึกษาเศรษฐศาสตร์จะจำได้ว่า นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในการเผยแพร่ทฤษฎีดังกล่าวก็คือ Joseph Schumpeter ซึ่งให้ข้อสรุปที่ค่อนข้างจะเศร้าหมองว่า เศรษฐกิจขาขึ้นนั้น จะต้องสร้างปัจจัยที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจขาลงในที่สุด
ดังนั้น วัฏจักรของเศรษฐกิจทุนนิยมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเศรษฐกิจขาขึ้นนั้นจะเริ่มต้นจากความสามารถและความกล้าเสี่ยงของชนชั้นพ่อค้า (entrepreneurial bursts of activity) ที่หวังจะได้กำไรอย่างงาม แต่ในความพยายามที่จะแข่งขันกันอย่างรุนแรงและไม่มีขอบเขตนั้น นายทุนก็จะตัดราคาซึ่งกันและกัน จนกำไรหมดลง และในที่สุดก็จะทำให้ขาดสภาพคล่องและสินเชื่อ จนกระทั่งธุรกิจจะต้องล้มละลายลงในที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ระบบทุนนิยมนั้นควรจะยกเลิกไป เพราะก็ยังเป็นระบบที่กระตุ้นให้เกิดพัฒนาการทางเทคโนโลยี (เพื่อหวังผลกำไร) และส่งเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ระบบทุนนิยมก็ยังเป็นระบบที่จะเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ก็จะต้องเผชิญกับความผันผวน โดยการมีทั้งเศรษฐกิจขาขึ้นและขาลงนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
กลับมามองเศรษฐกิจจีน ก็จะเห็นว่ากลุ่มนายทุนกลุ่มใหม่ที่กำลังเร่งพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ นั้น กำลังกดดันธุรกิจรุ่นเก่าของจีน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประสบปัญหาในการทำกำไรอย่างมาก จึงไม่ใช่สิ่งที่แปลกแต่อย่างใดที่ตลาดหุ้นของจีนนั้น ดัชนีจะปรับตัวลดลงมาโดยตลอด เพราะบริษัทที่จดทะเบียนอยู่เดิมนั้นถูกผลกระทบอย่างหนักจากการแข่งขันของบริษัทรายใหม่ๆ เห็นได้จากดัชนีหลักทรัพย์หลักๆ ของจีน เช่น ดัชนี "Shanghai A Shares" ที่ลดลงจาก 2,200 จุด ในปี 2001 เหลือ 1,300 จุด ในปัจจุบัน และดัชนี "Shenzhen A Shares" ที่ลดลงจาก 700 จุด เหลือ 300 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน
CLSA อ้างผลการสำรวจผู้ประกอบการที่จัดทำขึ้นว่า ผู้ประกอบการเพียง 18% สามารถปรับราคาสินค้าของตนเพิ่มขึ้นได้ เพราะการแข่งขันที่สูงมาก ในขณะเดียวกัน 46% บอกว่า ต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นก็ยังพบว่า ต้นทุนด้านแรงงาน (เงินเดือนพนักงาน) นั้น เพิ่มขึ้นถึง 10-20% โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลงในอนาคตแต่อย่างใด
ในประเด็นนี้ Dr.Walker มองต่างมุมจากผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ โดยฟันธงว่า จีนกำลังจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเงินเดือนพนักงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงในอนาคต ทั้งนี้โดยยกตัวอย่างต่างๆ เช่น การประเมินว่าที่มณฑล Guangdong และ Fujian นั้น ขาดแรงงานถึง 2 ล้านคน และแม้ว่าตัวเลขนี้จะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของจำนวนแรงงานจากชนบทที่จะอพยพเข้ามาทำงานในเมืองหลวง แต่ก็ต้องมีการขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำให้พนักงานถึง 12% เมื่อเดือนมีนาคม 2548 แต่ทั้งนี้ข้อเท็จจริงคือจีนกำลังขาดแคลนพนักงานที่มีฝีมือ พนักงานระดับผู้จัดการ และผู้บริหารระดับกลางเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตอย่างมาก ทั้งนี้ การแข่งขันจัดตั้งบริษัทแห่งใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้องการผู้จัดการและผู้บริหารระดับกลางเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว จนกระทั่งจีนต้องนำเข้าแรงงานประเภทนี้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีการประเมินว่าจีนต้องนำเข้าผู้จัดการและผู้บริหารระดับกลางจากไต้หวัน ประมาณ 800,000-1,000,000 คน กล่าวโดยสรุปคือ จีนกำลังขาดแคลนพนักงานที่มีฝีมืออย่างหนัก ดังนั้น ความเชื่อของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ว่าจีนมีแรงงานราคาถูกอย่างเหลือเฟือจึงไม่เป็นความจริง และจีนกำลังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และกำไรลดลงเพราะขาดแคลนแรงงาน
ทั้งนี้ CLSA ประเมินว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเงินเดือนจริงในสหรัฐ จะไม่เพิ่มขึ้นเลย แต่เงินเดือนในจีนนั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 450%
สรุปได้ว่า การแข่งขันกันขยายธุรกิจเพื่อแสวงหากำไรอย่างไม่มีขอบเขตนั้น ทำให้ราคาสินค้าลดลง แต่ต้นทุนการผลิตและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่ผู้ประกอบการและนายทุนของจีนก็ยังไม่ลดละการเพิ่มกำลังการผลิตเพราะต่างฝ่ายต่างก็ยังเชื่อมั่นว่ามีโอกาสสร้างกำไรในอนาคตและมีการคาดการณ์ที่เกินเลยความจริงว่าเศรษฐกิจ (อุปสงค์) จะขยายตัวในอัตราสูงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งขยายการผลิตและเพิ่มยอดขาย รวมทั้งการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดโดยไม่ได้คำนึงถึงกำไรในปัจจุบันมากนัก (เพราะคาดว่าเมื่อสามารถทำยอดขายได้สูงแล้ว กำไรจะเพิ่มขึ้นตามมาในภายหลัง)
แต่ปัญหาหลักที่จะเกิดขึ้นคือการแข่งขันเพิ่มกำลังการผลิตที่รุนแรงและแรงกดดันของเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้านั้น จะทำให้กำไรของธุรกิจต่างๆ หดตัวลง ในขณะที่รัฐบาลจีนจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น และลดการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ การดำเนินนโยบายดังกล่าวในขณะที่ธุรกิจกำลังมีปัญหากำไรหดตัว จะเป็นตัวจุดชนวนซ้ำเติมธุรกิจให้ปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย ทั้งในธนาคารรัฐและธนาคารเอกชน ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรงได้ในที่สุดในปี 2007 ซึ่ง Dr.Walker คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเพียง 4%
ก็คงจะต้องรอดูต่อว่า Dr.Walker จะทำนายเศรษฐกิจจีนได้อย่างแม่นยำเช่นการทำนายเศรษฐกิจไทยเมื่อเกือบ 10 ปีก่อนหน้าหรือไม่
Dr.Walker คือใคร ? เขาคือผู้ที่ทำนายว่า เศรษฐกิจไทยจะถดถอยในปี 1997 และเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนเดียวที่ทำนายถูกต้องว่า เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต แม้แต่ Prof.Paul Krugman เองที่คาดการณ์พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเอเชียที่เน้นแต่ปริมาณการลงทุน ยังยอมรับว่า Prof.Krugman เอง เพียงแต่คิดว่าเศรษฐกิจของเอเชียจะชะลอตัวลง มิได้คาดการณ์ว่าจะเข้าสู่สภาวะวิกฤตที่ล้ำลึกเช่นที่ Dr. Walker ได้ทำนายเอาไว้
Dr.Walker กล่าวเตือนตั้งแต่ต้นว่า การทำนายเศรษฐกิจจีนของเขาครั้งนี้เป็นการตักเตือนแต่เนิ่นๆ โดยยอมรับว่าเศรษฐกิจจีนนั้นจะยังขยับตัวในอัตราสูงที่ 8-10% ในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ต้องยอมรับในความถูกต้องของ Dr.Walker ที่ทำนายไว้เมื่อตอนต้นปี 2004 ว่า จะไม่มี hard landing เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจีน ซึ่งหากจำได้ในช่วงนั้นหลายคนพากันวิตกว่า เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ในทางตรงข้าม Dr.Walker บอกว่า จะไม่มี landing เกิดขึ้น กล่าวคือ เศรษฐกิจจีนก็จะยังขยายตัวในอัตราที่ไม่ได้ชะลอตัวลงแต่อย่างใด
แต่ทำไมวันนี้ Dr.Walker จึงหันกลับมาทำนายว่า เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในปี 2007 ? เขาเชื่อว่าพัฒนาการของเศรษฐกิจจีนในวัฏจักรปัจจุบันที่เริ่มประมาณปี 2000 นั้น เป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แตกต่างจากวัฏจักรรอบก่อนๆ (1983-85 และ 1992-94) เพราะในรอบก่อนหน้านั้น เศรษฐกิจยังขยายตัวในกรอบของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ซึ่งมีการจำกัดขอบเขตของการแข่งขัน และเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการควบคุมและวางแผนจากรัฐบาลกลาง
สำหรับวัฏจักรปัจจุบันนั้น Dr.Walker อ้างว่า มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญจากระบบเดิม คือมีลักษณะเป็นระบบทุนนิยมและกลไกตลาดเสรีอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีสถาบันและกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล (private property) ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบทุนนิยมอย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนั้น การเข้าเป็นภาคีองค์การการค้าโลก (WTO) และการผ่อนคลายให้ธนาคารพาณิชย์เอกชนเปิดดำเนินการ เป็นการส่งเสริมกลไก ตลาดเสรี และเพิ่มความมั่นใจให้กับนายทุนอีกระดับหนึ่ง
ดังนั้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในรอบนี้ (ตั้งแต่ปี 2000) จึงเป็นเศรษฐกิจ "ขาขึ้น" ซึ่งมีลักษณะของระบบนายทุนอย่างค่อนข้างจะเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันที่รุนแรงมากกว่าในอดีตอย่างมาก Dr.Walker ยกตัวอย่างว่า เมื่อเขาไปเยี่ยมชมบริษัทผลิตกระดาษแห่งหนึ่ง เขาทราบจากผู้บริหารของบริษัทว่า มีบริษัทผลิตกระดาษที่เป็นคู่แข่งประมาณ 5,000 แห่ง ในขณะที่ตัวเลขสถิติของทางการนั้น คำนวณว่ามีบริษัทผลิตกระดาษชำระในมณฑลเพียง 2,000-3,000 แห่ง นอกจากนั้น บริษัทคู่แข่งนั้นส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยอดีตพนักงานของบริษัทแรกๆ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นในทุกภาคอุตสาหกรรมของจีน กล่าวคือ ความแปลกใหม่ของระบบทุนนิยมและกลไกตลาดเสรีได้ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไร้ขอบเขต (rampant capitalism)
การแข่งขันดังกล่าวย่อมเป็นผลดีในเชิงของการกระตุ้นการขยายตัวของผลผลิตและการจ้างงาน แต่หากนำไปวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรีย เมื่อ 80 ปีที่แล้ว ก็จะต้องสรุปว่า การเร่งผลิตและการแข่งขันที่รุนแรงดังกล่าว จะต้องนำมาสู่สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ นักศึกษาเศรษฐศาสตร์จะจำได้ว่า นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในการเผยแพร่ทฤษฎีดังกล่าวก็คือ Joseph Schumpeter ซึ่งให้ข้อสรุปที่ค่อนข้างจะเศร้าหมองว่า เศรษฐกิจขาขึ้นนั้น จะต้องสร้างปัจจัยที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจขาลงในที่สุด
ดังนั้น วัฏจักรของเศรษฐกิจทุนนิยมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเศรษฐกิจขาขึ้นนั้นจะเริ่มต้นจากความสามารถและความกล้าเสี่ยงของชนชั้นพ่อค้า (entrepreneurial bursts of activity) ที่หวังจะได้กำไรอย่างงาม แต่ในความพยายามที่จะแข่งขันกันอย่างรุนแรงและไม่มีขอบเขตนั้น นายทุนก็จะตัดราคาซึ่งกันและกัน จนกำไรหมดลง และในที่สุดก็จะทำให้ขาดสภาพคล่องและสินเชื่อ จนกระทั่งธุรกิจจะต้องล้มละลายลงในที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ระบบทุนนิยมนั้นควรจะยกเลิกไป เพราะก็ยังเป็นระบบที่กระตุ้นให้เกิดพัฒนาการทางเทคโนโลยี (เพื่อหวังผลกำไร) และส่งเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ระบบทุนนิยมก็ยังเป็นระบบที่จะเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ก็จะต้องเผชิญกับความผันผวน โดยการมีทั้งเศรษฐกิจขาขึ้นและขาลงนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
กลับมามองเศรษฐกิจจีน ก็จะเห็นว่ากลุ่มนายทุนกลุ่มใหม่ที่กำลังเร่งพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ นั้น กำลังกดดันธุรกิจรุ่นเก่าของจีน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประสบปัญหาในการทำกำไรอย่างมาก จึงไม่ใช่สิ่งที่แปลกแต่อย่างใดที่ตลาดหุ้นของจีนนั้น ดัชนีจะปรับตัวลดลงมาโดยตลอด เพราะบริษัทที่จดทะเบียนอยู่เดิมนั้นถูกผลกระทบอย่างหนักจากการแข่งขันของบริษัทรายใหม่ๆ เห็นได้จากดัชนีหลักทรัพย์หลักๆ ของจีน เช่น ดัชนี "Shanghai A Shares" ที่ลดลงจาก 2,200 จุด ในปี 2001 เหลือ 1,300 จุด ในปัจจุบัน และดัชนี "Shenzhen A Shares" ที่ลดลงจาก 700 จุด เหลือ 300 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน
CLSA อ้างผลการสำรวจผู้ประกอบการที่จัดทำขึ้นว่า ผู้ประกอบการเพียง 18% สามารถปรับราคาสินค้าของตนเพิ่มขึ้นได้ เพราะการแข่งขันที่สูงมาก ในขณะเดียวกัน 46% บอกว่า ต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นก็ยังพบว่า ต้นทุนด้านแรงงาน (เงินเดือนพนักงาน) นั้น เพิ่มขึ้นถึง 10-20% โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลงในอนาคตแต่อย่างใด
ในประเด็นนี้ Dr.Walker มองต่างมุมจากผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ โดยฟันธงว่า จีนกำลังจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเงินเดือนพนักงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงในอนาคต ทั้งนี้โดยยกตัวอย่างต่างๆ เช่น การประเมินว่าที่มณฑล Guangdong และ Fujian นั้น ขาดแรงงานถึง 2 ล้านคน และแม้ว่าตัวเลขนี้จะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของจำนวนแรงงานจากชนบทที่จะอพยพเข้ามาทำงานในเมืองหลวง แต่ก็ต้องมีการขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำให้พนักงานถึง 12% เมื่อเดือนมีนาคม 2548 แต่ทั้งนี้ข้อเท็จจริงคือจีนกำลังขาดแคลนพนักงานที่มีฝีมือ พนักงานระดับผู้จัดการ และผู้บริหารระดับกลางเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตอย่างมาก ทั้งนี้ การแข่งขันจัดตั้งบริษัทแห่งใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้องการผู้จัดการและผู้บริหารระดับกลางเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว จนกระทั่งจีนต้องนำเข้าแรงงานประเภทนี้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีการประเมินว่าจีนต้องนำเข้าผู้จัดการและผู้บริหารระดับกลางจากไต้หวัน ประมาณ 800,000-1,000,000 คน กล่าวโดยสรุปคือ จีนกำลังขาดแคลนพนักงานที่มีฝีมืออย่างหนัก ดังนั้น ความเชื่อของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ว่าจีนมีแรงงานราคาถูกอย่างเหลือเฟือจึงไม่เป็นความจริง และจีนกำลังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และกำไรลดลงเพราะขาดแคลนแรงงาน
ทั้งนี้ CLSA ประเมินว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเงินเดือนจริงในสหรัฐ จะไม่เพิ่มขึ้นเลย แต่เงินเดือนในจีนนั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 450%
สรุปได้ว่า การแข่งขันกันขยายธุรกิจเพื่อแสวงหากำไรอย่างไม่มีขอบเขตนั้น ทำให้ราคาสินค้าลดลง แต่ต้นทุนการผลิตและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่ผู้ประกอบการและนายทุนของจีนก็ยังไม่ลดละการเพิ่มกำลังการผลิตเพราะต่างฝ่ายต่างก็ยังเชื่อมั่นว่ามีโอกาสสร้างกำไรในอนาคตและมีการคาดการณ์ที่เกินเลยความจริงว่าเศรษฐกิจ (อุปสงค์) จะขยายตัวในอัตราสูงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งขยายการผลิตและเพิ่มยอดขาย รวมทั้งการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดโดยไม่ได้คำนึงถึงกำไรในปัจจุบันมากนัก (เพราะคาดว่าเมื่อสามารถทำยอดขายได้สูงแล้ว กำไรจะเพิ่มขึ้นตามมาในภายหลัง)
แต่ปัญหาหลักที่จะเกิดขึ้นคือการแข่งขันเพิ่มกำลังการผลิตที่รุนแรงและแรงกดดันของเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้านั้น จะทำให้กำไรของธุรกิจต่างๆ หดตัวลง ในขณะที่รัฐบาลจีนจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น และลดการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ การดำเนินนโยบายดังกล่าวในขณะที่ธุรกิจกำลังมีปัญหากำไรหดตัว จะเป็นตัวจุดชนวนซ้ำเติมธุรกิจให้ปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย ทั้งในธนาคารรัฐและธนาคารเอกชน ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรงได้ในที่สุดในปี 2007 ซึ่ง Dr.Walker คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเพียง 4%
ก็คงจะต้องรอดูต่อว่า Dr.Walker จะทำนายเศรษฐกิจจีนได้อย่างแม่นยำเช่นการทำนายเศรษฐกิจไทยเมื่อเกือบ 10 ปีก่อนหน้าหรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 481
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณมากครับ
พูดถึงเรื่องแรงงานสำหรับที่เมืองไทยเราก็มีอะไรๆ แปลกๆครับ อย่างในตอนนี้ที่เพื่อนผมเล่าให้ฟังว่าหาคนทำงานในโรงงานไม่พอ วันสองวันมานี้โรงงาน Nikon ที่นิคมโรจนะลงทุนจ้างรถโฆษณาออกตระเวณไปประกาศทั่วจังหวัดว่ารับสมัครพนักงาน รับสมัครกันมาตั้งแต่ต้นปีแล้วจนป่านนี้ยังได้แค่ครึ่งเดียว ยังไม่รวม Cannon ที่นิคมไฮเทคที่รับอีก 4,000 คน ก็ยังได้ไม่เท่าไหร่
ทำให้โครงการที่จะขยายต่างๆต้องชะลอออกไปก่อนในหลายๆโรงงานเมื่อเจอเรื่องแรงงานเป็นอย่างนีเข้าครับ
พูดถึงเรื่องแรงงานสำหรับที่เมืองไทยเราก็มีอะไรๆ แปลกๆครับ อย่างในตอนนี้ที่เพื่อนผมเล่าให้ฟังว่าหาคนทำงานในโรงงานไม่พอ วันสองวันมานี้โรงงาน Nikon ที่นิคมโรจนะลงทุนจ้างรถโฆษณาออกตระเวณไปประกาศทั่วจังหวัดว่ารับสมัครพนักงาน รับสมัครกันมาตั้งแต่ต้นปีแล้วจนป่านนี้ยังได้แค่ครึ่งเดียว ยังไม่รวม Cannon ที่นิคมไฮเทคที่รับอีก 4,000 คน ก็ยังได้ไม่เท่าไหร่
ทำให้โครงการที่จะขยายต่างๆต้องชะลอออกไปก่อนในหลายๆโรงงานเมื่อเจอเรื่องแรงงานเป็นอย่างนีเข้าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 7
มีเหตุมีผลน่าติดตามชมครับ ว่าจะเป็นอย่างที่คาดหรือเปล่า
ส่วนการขาดแคลนแรงงานในไทยเป็นเรื่องจริงแน่นอนครับ
ลำพัง จ.สงขลา ขาดแรงงานไร้ฝีมือประมาณ 12,000 คนครับ
แต่แรงงานระดับกลาง ระดับ ปวช ปวส ปริญาตรี มีปัญหาเช่นกันครับ
แต่เป็นปัญหามีแรงงานล้นครับ คือรับ1 ตำแหน่งมีสมัครกันเกือบ 100 คน :lol:
สถานประกอบการหลายแห่ง ต้องใช้ทุกวิธีในการหาแรงงาน
เช่น เพิ่มเงินให้กับนายหน้า ส่งทีมงานไปหาพนักงานในจังหวัดที่ห่างไกลขึ้น สร้างหอพัก เพิ่มค่าแรง จ้างแรงงานต่างด้าว ทำแม้กระทั่งนำชาวเขาจากทางภาคเหนือมาทำงาน ให้ค่ารถไป-กลับบ้านปีละ 2 ครั้ง แม้ทำกันขนาดนี้ ก็ไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ ต้องผลิตเท่าที่ผลิตได้ ทั้งที่มีออร์เดอร์รออยู่
ผมคิดว่าจังหวัดที่มีโรงงานมาก เช่นอยุธยา สมุทรสาคร หรือจังหวัดตะวันออก คงมีปัญหาอย่างนี้เช่นกัน
เคยสอบถามเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นที่ทำงานในเวียดนาม ว่ามีปัญหาอย่างนี้หรือเปล่า เค้าบอกว่าไม่มีปัญหาเรื่องแรงงานเลยครับ :lol:
ส่วนการขาดแคลนแรงงานในไทยเป็นเรื่องจริงแน่นอนครับ
ลำพัง จ.สงขลา ขาดแรงงานไร้ฝีมือประมาณ 12,000 คนครับ
แต่แรงงานระดับกลาง ระดับ ปวช ปวส ปริญาตรี มีปัญหาเช่นกันครับ
แต่เป็นปัญหามีแรงงานล้นครับ คือรับ1 ตำแหน่งมีสมัครกันเกือบ 100 คน :lol:
สถานประกอบการหลายแห่ง ต้องใช้ทุกวิธีในการหาแรงงาน
เช่น เพิ่มเงินให้กับนายหน้า ส่งทีมงานไปหาพนักงานในจังหวัดที่ห่างไกลขึ้น สร้างหอพัก เพิ่มค่าแรง จ้างแรงงานต่างด้าว ทำแม้กระทั่งนำชาวเขาจากทางภาคเหนือมาทำงาน ให้ค่ารถไป-กลับบ้านปีละ 2 ครั้ง แม้ทำกันขนาดนี้ ก็ไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ ต้องผลิตเท่าที่ผลิตได้ ทั้งที่มีออร์เดอร์รออยู่
ผมคิดว่าจังหวัดที่มีโรงงานมาก เช่นอยุธยา สมุทรสาคร หรือจังหวัดตะวันออก คงมีปัญหาอย่างนี้เช่นกัน
เคยสอบถามเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นที่ทำงานในเวียดนาม ว่ามีปัญหาอย่างนี้หรือเปล่า เค้าบอกว่าไม่มีปัญหาเรื่องแรงงานเลยครับ :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 8
ผลกระทบที่จะเกิดกับเรา ไม่รู้กลุ่มไหนเกิดวิกฤต(น่าจะเป็นกลุ่มที่เราขายเข้าจีน)
และกลุ่มไหนจะเกิดโอกาส(น่าจะเป็นกลุ่มที่เป็นคู่แข่งทางการค้ากับจีน)
มีบริษัทไหนบ้างช่วยบอกที
และกลุ่มไหนจะเกิดโอกาส(น่าจะเป็นกลุ่มที่เป็นคู่แข่งทางการค้ากับจีน)
มีบริษัทไหนบ้างช่วยบอกที
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 13
ญี่ปุ่นเค้าแก้ปัญหาด้วยการสร้างแรงงานไร้สมองขึ้นมาใช้งาน
ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ศึกษาสาขานี้กันจนเป็น ดร. เต็มประเทศ
ผลิตแรงงานพรรค์นี้ออกมาจนเกร่อ ..ใครเป็นแฟนสตาร์วอร์สคงนึกออก
ล่าสุด ฮอนด้า สร้างแรงงานไร้สมอง ออกมาเหมือนคนมาก
จนพวกเรียนดอกเตอร์หน้าแหกกันไปทั้งโลก ทำอะไรน๊านนานแต่ไม่ได้เรื่อง
ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ศึกษาสาขานี้กันจนเป็น ดร. เต็มประเทศ
ผลิตแรงงานพรรค์นี้ออกมาจนเกร่อ ..ใครเป็นแฟนสตาร์วอร์สคงนึกออก
ล่าสุด ฮอนด้า สร้างแรงงานไร้สมอง ออกมาเหมือนคนมาก
จนพวกเรียนดอกเตอร์หน้าแหกกันไปทั้งโลก ทำอะไรน๊านนานแต่ไม่ได้เรื่อง
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 14
ถ้าจะผลิตเจ้า robot แบบที่ญี่ปุ่นทำกันคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี ซึ่งไม่ใช่เพราะคนไทยไม่มีฝีมือนะครับ แต่เป็นเพราะปัจจัยไม่เพียงพอมากกว่า ในประเทศไทยโรงงานประเภท Heavy Industry แทบไม่มีเห็น แถมชิ้นส่วนหลายๆอย่างต้องพึ่งการนำเข้า(อย่างที่บ้านต้องการใช้ลูกปืนบางเบอร์ เมืองไทยไม่มีผลิตต้องนำเข้าอย่างเดียว) เลยทำให้ไม่เหมาะสมในเชิงพาณิชย์ หรือบางทีทำขึ้นมาก็กลายเป็นไม่มีตลาดรองรับเสียอีก ลำบากครับๆ
-
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 15
พวกออโตเมชั่นควรซื้อชิ้นส่วนมาประกอบเอาครับ ทำเองหมดไม่คุ้ม ไม่ต้องทำเป็นตัวๆเหมือนฮอนด้าก็ได้ คนไทยทำพวกนี้เยอะขึ้นนะ แต่บางโรงงานไม่ยอมเปลี่ยน
จนกระทั่งแข่งขันไม่ได้ก็ตายไป พวกที่ใช้ไม่ต้องเฮฟวี่ก็ได้ ที่จริงงานจิ๋วๆ ละเอียดๆใช้เครื่องดีกว่าคน เพราะทำซ้ำดีกว่า
คุณยืนเจอปัญหาเดียวกับผมเลย เรื่องชิ้นส่วนเครื่องจักรนำเข้าทั้งนั้น
กลับมาที่จีน.. ผมว่าเค้าผลิตเครื่องจักรและชิ้นส่วนเองได้เยอะนะ
เรื่องแรงงานคน ถ้ามันขาดจริงๆ เค้าคงปรับไปใช้เครื่องจักรได้
อาจจะใช้เวลาซักหน่อย
จนกระทั่งแข่งขันไม่ได้ก็ตายไป พวกที่ใช้ไม่ต้องเฮฟวี่ก็ได้ ที่จริงงานจิ๋วๆ ละเอียดๆใช้เครื่องดีกว่าคน เพราะทำซ้ำดีกว่า
คุณยืนเจอปัญหาเดียวกับผมเลย เรื่องชิ้นส่วนเครื่องจักรนำเข้าทั้งนั้น
กลับมาที่จีน.. ผมว่าเค้าผลิตเครื่องจักรและชิ้นส่วนเองได้เยอะนะ
เรื่องแรงงานคน ถ้ามันขาดจริงๆ เค้าคงปรับไปใช้เครื่องจักรได้
อาจจะใช้เวลาซักหน่อย
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 16
ที่ผมพูดถึงพวก Heavy คือในเชิงต้นน้ำนะครับ คือการที่จะผลิตRobotให้ได้ในเชิงพาณิชย์ต้องอาศัยพวกนี้ครับ ไม่งั้นเกิด Scale ยากมากครับ By the way เสียดายจังเลยครับ ปีนี้ไม่ได้ไปmeeting ถ้าทางน่าสนุกกว่าที่ผ่านๆมา เจอสอบไฟนอลพอดี ชวดเลย
- someOne
- Verified User
- โพสต์: 253
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 17
วันนี้คุยกะเพื่อนที่เค้าเรียนอยู่ที่ปักกิ่ง ประเทศจีนครับ เรียนเอก เศรษฐศาสตร์ การค้า
เพื่อนบอกว่า การคอรัปชั่นในประเทศจีน หากถูกจับได้ ประหารทันทีครับ
ปีที่แล้วโดนประหารไปหนึ่งรายเนื่องจากคอรัปชั่นไปประมาณ 10 ล้านหยวน หรือราวๆ 50 ล้านบาท
เพื่อนบอกว่า การคอรัปชั่นในประเทศจีน หากถูกจับได้ ประหารทันทีครับ
ปีที่แล้วโดนประหารไปหนึ่งรายเนื่องจากคอรัปชั่นไปประมาณ 10 ล้านหยวน หรือราวๆ 50 ล้านบาท
ด้วยความเคารพ
From someOne
--------------------
Knowledge Access Investment
From someOne
--------------------
Knowledge Access Investment
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 19
ความคิดผมนะ ผิดถูกยังไงช่วยดูหน่อย
ทำไมผมว่าถ้าเศรษฐกิจจีนแตก หรือตุ๊บลงมา มันต้องเป็นผลดีซิครับ การใช้พลังงานก็จะน้อยลง การบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายลดลง ราคาขายของของจีนสูงขึ้น ประเทศอื่นขายของได้มากขึ้น
ทำไมผมว่าถ้าเศรษฐกิจจีนแตก หรือตุ๊บลงมา มันต้องเป็นผลดีซิครับ การใช้พลังงานก็จะน้อยลง การบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายลดลง ราคาขายของของจีนสูงขึ้น ประเทศอื่นขายของได้มากขึ้น
_________
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 20
ผมเคยไปเมืองจีนมา ที่หนึ่ง เค้ามีถนนที่เรียกว่าถนนคอรัปชั่นเลยครับsomeOne เขียน:วันนี้คุยกะเพื่อนที่เค้าเรียนอยู่ที่ปักกิ่ง ประเทศจีนครับ เรียนเอก เศรษฐศาสตร์ การค้า
เพื่อนบอกว่า การคอรัปชั่นในประเทศจีน หากถูกจับได้ ประหารทันทีครับ
ปีที่แล้วโดนประหารไปหนึ่งรายเนื่องจากคอรัปชั่นไปประมาณ 10 ล้านหยวน หรือราวๆ 50 ล้านบาท
มีภัตตาคารหรูๆ สนามกอล์ฟ แหล่งบันเทิง คอนโด ต่างๆ
สงสัยต้องประหารเยอะเลยงานนี้
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 22
"ฟิตช์" ชี้แบงก์จีนอ่อนแอหนัก ยอดหนี้พุ่ง ฉุดเศรษฐกิจร่วง
สถาบันจัดอันดับทางการเงินและบริษัทบริหารจัดการทางการเงิน ฟิตช์ เรตติ้ง, เอิรนส์แอนด์ยัง, ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส, เอสแอนด์พี และสถาบันแมคคินซี โกลบอล ต่างให้ข้อมูลในแนวทางเดียวกันถึงความอ่อนแอในธุรกิจธนาคารจีน คาดมีหนี้ค้าง NPL 600 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ NPA หรือหนี้รอการขายติดอยู่ในแบงก์กว่า 673 ล้านดอลลาร์
ฟิตช์ เรตติ้ง เปิดเผยรายงานในหัวข้อระบบธนาคารจีนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ระบุว่า แม้หลายปีที่ผ่านมาธุรกิจธนาคารในประเทศจีนได้เร่งพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างรวดเร็วน่าประทับใจ แต่ธนาคารต่างๆ ในประเทศจีนกลับยังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงเหมือนเดิม อีกทั้งยังมีปัญหาอีกมากมายที่รอการแก้ไข ซึ่งหากปล่อยให้ความเสี่ยงนี้ดำเนินต่อไป ย่อมส่งผลกระทบที่กว้างใหญ่และลึกกว่าต่อระบบเศรษฐกิจของจีนในอนาคต
ปัญหาสำคัญของความอ่อนแอในอุตสาหกรรมธนาคารในประเทศจีน มีสาเหตุจากปัญหาคอร์รัป ชั่นอย่างกว้างขวาง ความไร้ประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดสรรงบประมาณ ขาดความก้าวหน้าในระบบจัดการความเสี่ยงและระบบควบคุมภายใน เมื่อรวมกับหนี้เสียที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลแล้ว จึงทำให้ธนาคารจีนล้าหลังกว่าธนาคารในประเทศเอเชียด้วยกันอยู่มาก
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สถาบันจัดอันดับหลายแห่งลงความเห็นว่า ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมธนาคารในจีนเป็นจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดและกำลังท้าทายต่อระบบเศรษฐกิจจีน
จอร์จ ฟรีดแมน นักวิเคราะห์ทางการเงิน กล่าวว่า จีนออกเงินกู้ขึ้นมาเพื่อใช้ในทางการเมืองและสร้างความมั่นคงทางสังคมเป็นหลัก แต่ในหลายกรณีเงินกู้ที่ปล่อยออกมานั้นถูกนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ นอกเหนือการพัฒนาหรือความช่วยเหลือต่อสาธารณะ เช่น ถูกนำไปใช้ลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ และไม่มีกำไรเพื่อนำมาจ่ายเงินกู้ที่ยืมไป
หากพิจารณาผลการศึกษาจากสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่า ธนาคารจีนนั้นกำลังเดินไปสู่จุดที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น โดยในรายงานของเอสแอนด์พีชี้ว่า ระบบธนาคารในอินเดียยังมีความแข็งแกร่งและก้าวหน้ากว่าธนาคารจีนหลายขั้น และหากเปรียบเทียบธุรกิจธนาคารจีนกับประเทศต่างๆ ในเอเชียแล้ว ธนาคารจีนยังอ่อนแอและยังมีแนวโน้มถดถอยลงเรื่อยๆ
ทั้งนี้ เอ็ม รามา โร ผู้สื่อข่าวจากเอเชียน ทริบูน ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยขนาดและความรวดเร็วเท่านั้นยังไม่สามารถยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้ เช่นกรณีเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งเคยเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อทศวรรษ 1980 แต่ขณะนี้กลับประสบกับปัญหาฟองสบู่
ดังนั้นในขณะที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังคงพึ่งพากับการส่งออกมากกว่าการบริโภคภายในประเทศ และธนาคารจีนหลายแห่งยังมุ่งปล่อยเงินกู้เพื่อธุรกิจการส่งออกมากกว่า แม้จะมีกำไรไม่มากนัก แล้วหนี้เหล่านี้กำลังจะก่อปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจจีนในอนาคตข้างหน้า
สถาบันจัดอันดับทางการเงินและบริษัทบริหารจัดการทางการเงิน ฟิตช์ เรตติ้ง, เอิรนส์แอนด์ยัง, ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส, เอสแอนด์พี และสถาบันแมคคินซี โกลบอล ต่างให้ข้อมูลในแนวทางเดียวกันถึงความอ่อนแอในธุรกิจธนาคารจีน คาดมีหนี้ค้าง NPL 600 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ NPA หรือหนี้รอการขายติดอยู่ในแบงก์กว่า 673 ล้านดอลลาร์
ฟิตช์ เรตติ้ง เปิดเผยรายงานในหัวข้อระบบธนาคารจีนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ระบุว่า แม้หลายปีที่ผ่านมาธุรกิจธนาคารในประเทศจีนได้เร่งพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างรวดเร็วน่าประทับใจ แต่ธนาคารต่างๆ ในประเทศจีนกลับยังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงเหมือนเดิม อีกทั้งยังมีปัญหาอีกมากมายที่รอการแก้ไข ซึ่งหากปล่อยให้ความเสี่ยงนี้ดำเนินต่อไป ย่อมส่งผลกระทบที่กว้างใหญ่และลึกกว่าต่อระบบเศรษฐกิจของจีนในอนาคต
ปัญหาสำคัญของความอ่อนแอในอุตสาหกรรมธนาคารในประเทศจีน มีสาเหตุจากปัญหาคอร์รัป ชั่นอย่างกว้างขวาง ความไร้ประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดสรรงบประมาณ ขาดความก้าวหน้าในระบบจัดการความเสี่ยงและระบบควบคุมภายใน เมื่อรวมกับหนี้เสียที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลแล้ว จึงทำให้ธนาคารจีนล้าหลังกว่าธนาคารในประเทศเอเชียด้วยกันอยู่มาก
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สถาบันจัดอันดับหลายแห่งลงความเห็นว่า ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมธนาคารในจีนเป็นจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดและกำลังท้าทายต่อระบบเศรษฐกิจจีน
จอร์จ ฟรีดแมน นักวิเคราะห์ทางการเงิน กล่าวว่า จีนออกเงินกู้ขึ้นมาเพื่อใช้ในทางการเมืองและสร้างความมั่นคงทางสังคมเป็นหลัก แต่ในหลายกรณีเงินกู้ที่ปล่อยออกมานั้นถูกนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ นอกเหนือการพัฒนาหรือความช่วยเหลือต่อสาธารณะ เช่น ถูกนำไปใช้ลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ และไม่มีกำไรเพื่อนำมาจ่ายเงินกู้ที่ยืมไป
หากพิจารณาผลการศึกษาจากสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่า ธนาคารจีนนั้นกำลังเดินไปสู่จุดที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น โดยในรายงานของเอสแอนด์พีชี้ว่า ระบบธนาคารในอินเดียยังมีความแข็งแกร่งและก้าวหน้ากว่าธนาคารจีนหลายขั้น และหากเปรียบเทียบธุรกิจธนาคารจีนกับประเทศต่างๆ ในเอเชียแล้ว ธนาคารจีนยังอ่อนแอและยังมีแนวโน้มถดถอยลงเรื่อยๆ
ทั้งนี้ เอ็ม รามา โร ผู้สื่อข่าวจากเอเชียน ทริบูน ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยขนาดและความรวดเร็วเท่านั้นยังไม่สามารถยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้ เช่นกรณีเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งเคยเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อทศวรรษ 1980 แต่ขณะนี้กลับประสบกับปัญหาฟองสบู่
ดังนั้นในขณะที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังคงพึ่งพากับการส่งออกมากกว่าการบริโภคภายในประเทศ และธนาคารจีนหลายแห่งยังมุ่งปล่อยเงินกู้เพื่อธุรกิจการส่งออกมากกว่า แม้จะมีกำไรไม่มากนัก แล้วหนี้เหล่านี้กำลังจะก่อปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจจีนในอนาคตข้างหน้า
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 23
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเจอปัญหาก็เพราะ Bank ปล่อยกู้มั่วซั่ว คราวนี้เป็นที่จีนบ้างเหรอ?
สุดท้าย ธนาคารกลางของจีนคงต้องแทรกแซงเหมือนกัน แต่จะอุ้มไหวไหม ไม่รู้เฮะ ไม่อุ้มก็ไม่ได้
หลายๆคนมองว่าจีนเติบโตเร็ว น่ากลัว แต่จริงๆจีนน่าจะมีปัญหาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ หาคนจีนที่"เป็นผู้เป็นคน" ยากนะ
สุดท้าย ธนาคารกลางของจีนคงต้องแทรกแซงเหมือนกัน แต่จะอุ้มไหวไหม ไม่รู้เฮะ ไม่อุ้มก็ไม่ได้
หลายๆคนมองว่าจีนเติบโตเร็ว น่ากลัว แต่จริงๆจีนน่าจะมีปัญหาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ หาคนจีนที่"เป็นผู้เป็นคน" ยากนะ
I do not sleep. I dream.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 189
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 24
ผมคิดว่าต้องเทียบว่าNPL NPA เป็นกี่เปอร์เซนต์ของเงินที่ปล่อยกู้ทั้งหมดมีมากกว่าแบงค์ไทยตอนนี้หรือตอนที่มีปัญหาหรือไม่ ผมเข้าใจว่าไทยมีปัญหาจากการต้องลดค่าเงินบาททำให้หนี้ต่างประเทศท่วมหัว แต่ยังไม่เห็นแนวโน้มแบบเดียวกันว่าจะเกิดที่จีน ทุกประเทศที่เติบโตเร็วต้องเจอปัญหา NPLนี้เหมือนๆกัน
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 26
อูยยย~~ แตะเบรคมั่งก็ดีครับ :lol: :lol: :lol:shanghai เขียน:ตอนนี้ GDP 11 กว่าเเล้วอ่ะ เอิ๊กๆ ยอดเยี่ยมไปเลย
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 27
ดูเหมือนจะมีที่สุดของโลกในจีน เกิดขึ้นถี่เหมือนกันคับ
เอมีอะไรบ้างเนี่ย
ชายหาดที่เซี่ยงไฮ้
รถไฟฟ้าไปทิเบตที่สูงที่สุด
เขื่อนยักษ์
เหมืองทองขนาดใหญ่
ก๊าซธรรมชาติ
ผมเคยเขียนในกระทู้หนึ่งที่ว่า
จีนพยายามสร้างโลก ซ้อนโลกอยู่
โลกที่คนภายนอก กับคนภายในจีน
มีภาวะที่ต่างกัน
เราอยู่ภายนอก จีน มีภาระ ต้นทุน เพิ่ม
เงินเฟ้อ เพิ่ม ประชากรเพิ่ม สงคราม
ภัยธรรมชาติ และอื่นอื่น
แต่ในจีนจะไม่เหมือนกัน
อีกหน่อยจะเห็นภายชัดมากขึ้น
เอมีอะไรบ้างเนี่ย
ชายหาดที่เซี่ยงไฮ้
รถไฟฟ้าไปทิเบตที่สูงที่สุด
เขื่อนยักษ์
เหมืองทองขนาดใหญ่
ก๊าซธรรมชาติ
ผมเคยเขียนในกระทู้หนึ่งที่ว่า
จีนพยายามสร้างโลก ซ้อนโลกอยู่
โลกที่คนภายนอก กับคนภายในจีน
มีภาวะที่ต่างกัน
เราอยู่ภายนอก จีน มีภาระ ต้นทุน เพิ่ม
เงินเฟ้อ เพิ่ม ประชากรเพิ่ม สงคราม
ภัยธรรมชาติ และอื่นอื่น
แต่ในจีนจะไม่เหมือนกัน
อีกหน่อยจะเห็นภายชัดมากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1717
- ผู้ติดตาม: 0
การสะดุดตัวของเศรษฐกิจจีน ในปี2007 !!!!
โพสต์ที่ 28
เป็นกระทู้ " นำเสนอรายงานที่เป็นประโยชน์ " ขออนุญาตติดดาว เพื่อเป็นกำลังใจให้ จขกท. ครับ