ขอช่วยให้อธิบายคำว่า ต้นทุนทางการเงิน ให้หน่อยครับ
ต้นทางการเงิน ใช่ ดอกเบี้ยที่ บริษัท ต้องจ่าย ใช่ไหมครับ
เช่น ดอกเบี้ย 8% คือ ต้องจ่ายดอกเบี้ย 8 % ต่อปี อันนี้คือ ต้นทุนทางการเงินใช่ไหมครับ
WACC คือต้นทางทางการเงินในการลงทุนใช่ไหมครับ
ถ้า WACC 8% คือ เงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นและเงินกู้ คิดค่า ถ่วงน้ำหนักแล้ว เป็น 8% ต่อปี แบบนี้ถูกไหมครับ
WACC ควรมีค่า ระหว่าง CAPM และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใช่ไหมครับ
ความหมายของ WACC Weighted Average Cost of Capital
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมายของ WACC Weighted Average Cost of Capital
โพสต์ที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความหมายของ WACC Weighted Average Cost of Capital
โพสต์ที่ 2
อธิบายให้ฟังละกัน (ทบทวนตัวเองไปในตัว)
WACC นั้นสะท้อนความต้องการอยู่ สามส่วนคือ
1. ส่วนของหนี้สิน คือ ตัวที่ บริษัทไปกู้มา ก็ต้องใช้คืนในรูปของดอกเบี้ยและเงินต้น
2. ส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อนักลงทุนลงทุนไป ผลตอบแทนคือ ปันผล
3. ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ซื้อ หุ้นกู้ไม่มีวันหมดอายุ อันนี้ผลตอบแทนก็อยู่ในรูปของดอกเบี้ย ที่จ่ายทุกปี
ดังนั้น WACC มันสะท้อน ความต้องการของ บุคคลทั้งสามกลุ่มข้างต้น
คำถามคือ เมื่อไรจะ ใช้ WACC เป็นตัวหารในสมการ ที่ใช้งาน
ถ้าหากคุณต้องการรู้มูลค่าของบริษัทว่าเท่าไร นั้นคือ ใช้ทั้งบริษัทประเมิน ดังนั้น คุณก็ต้องใช้ตัวหาร WACC
เพราะ มันคือ ความสามารถของบริษัทที่หามาแล้วจ่ายคืน ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั้งหมด
ถ้าหากคุณต้องการรู้มูลค่าของหุ้นที่ลงทุนไปควรเป็นเท่าไร ก็ใช้ผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Ke ในสมการของ WACC เท่านั้น
สิ่งที่ต้องระวัง คือ ดอกเบี้ยของหนี้สิน ถ้าหากออกเป็น Zero cupon bond ต้องเอามาคิดไหม บอกว่าต้องมาคิด มันคือ
การจ่ายดอกเบี้ยที่ปลายทาง ตอนวันหมดอายุ ไม่จ่ายระหว่างทาง ทำให้มีดอกเบี้ยนั้นเอง แต่ตอนขายมัน Discount ลงมา
ส่วน หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ นั้น ปัจจุบัน ถ้าใครออกหลังปี 2563 แล้ว ก็คิดเป็นส่วนของหนี้สิน ถ้าออกก่อน ก็ลงในส่วนของผู้ถือหุ้นได้ แต่ให้เวลา 3 ปีที่ต้องดำเนินการไปอยู่ด้านหนี้สิน
อันนี้คือ ป่าของเรื่อง WACC link กันให้หมดแล้ว
แต่ระวังสิ่งหนึ่งที่ WACC ไม่ได้บอกคือ การเอาเงินจาก Supplier มาใช้ก่อน WACC ไม่ได้บอกในจุดนี้น่า
หรือ ตัวเงินที่ต้องจ่ายให้พนักงานในอนาคต ก็ต้องดูว่า ทำมาแล้ว ถ้าปลดพนักงาน ณ วันนี้เป็นเช่นไร
ก็ต้องดูไว้ด้วย
WACC นั้นสะท้อนความต้องการอยู่ สามส่วนคือ
1. ส่วนของหนี้สิน คือ ตัวที่ บริษัทไปกู้มา ก็ต้องใช้คืนในรูปของดอกเบี้ยและเงินต้น
2. ส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อนักลงทุนลงทุนไป ผลตอบแทนคือ ปันผล
3. ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ซื้อ หุ้นกู้ไม่มีวันหมดอายุ อันนี้ผลตอบแทนก็อยู่ในรูปของดอกเบี้ย ที่จ่ายทุกปี
ดังนั้น WACC มันสะท้อน ความต้องการของ บุคคลทั้งสามกลุ่มข้างต้น
คำถามคือ เมื่อไรจะ ใช้ WACC เป็นตัวหารในสมการ ที่ใช้งาน
ถ้าหากคุณต้องการรู้มูลค่าของบริษัทว่าเท่าไร นั้นคือ ใช้ทั้งบริษัทประเมิน ดังนั้น คุณก็ต้องใช้ตัวหาร WACC
เพราะ มันคือ ความสามารถของบริษัทที่หามาแล้วจ่ายคืน ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั้งหมด
ถ้าหากคุณต้องการรู้มูลค่าของหุ้นที่ลงทุนไปควรเป็นเท่าไร ก็ใช้ผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Ke ในสมการของ WACC เท่านั้น
สิ่งที่ต้องระวัง คือ ดอกเบี้ยของหนี้สิน ถ้าหากออกเป็น Zero cupon bond ต้องเอามาคิดไหม บอกว่าต้องมาคิด มันคือ
การจ่ายดอกเบี้ยที่ปลายทาง ตอนวันหมดอายุ ไม่จ่ายระหว่างทาง ทำให้มีดอกเบี้ยนั้นเอง แต่ตอนขายมัน Discount ลงมา
ส่วน หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ นั้น ปัจจุบัน ถ้าใครออกหลังปี 2563 แล้ว ก็คิดเป็นส่วนของหนี้สิน ถ้าออกก่อน ก็ลงในส่วนของผู้ถือหุ้นได้ แต่ให้เวลา 3 ปีที่ต้องดำเนินการไปอยู่ด้านหนี้สิน
อันนี้คือ ป่าของเรื่อง WACC link กันให้หมดแล้ว
แต่ระวังสิ่งหนึ่งที่ WACC ไม่ได้บอกคือ การเอาเงินจาก Supplier มาใช้ก่อน WACC ไม่ได้บอกในจุดนี้น่า
หรือ ตัวเงินที่ต้องจ่ายให้พนักงานในอนาคต ก็ต้องดูว่า ทำมาแล้ว ถ้าปลดพนักงาน ณ วันนี้เป็นเช่นไร
ก็ต้องดูไว้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความหมายของ WACC Weighted Average Cost of Capital
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ