Vietnam Takeoff/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
Vietnam Takeoff/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
สภาวการณ์ที่ตลาดหุ้นเวียตนามวิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงเร็ว ๆ นี้จนกลับมาเกือบถึงจุด “All time high” ที่ประมาณ 1,170 จุดทั้ง ๆ ที่เพิ่งผ่านมรสุมโควิด-19 “รอบสอง” ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา คำถามที่เกิดขึ้นในใจของผมก็คือ หุ้นเวียตนามต่อจากนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องไปมากน้อยแค่ไหน? ได้เวลาที่จะ “ลุย” ตลาดหุ้นเวียตนามอย่างจริงจังหรือยัง? และคำตอบของผมก็คือ เวลาที่หุ้นเวียตนามจะ “ออกบิน” หรือ “Takeoff” น่าจะใกล้มาถึงแล้ว เหตุผลนั้นมีมากมาย ลองมาดูกัน
ในการที่จะดูว่าตลาดหุ้นจะดีอย่างโดดเด่นในอนาคตระยะยาวนั้น ผมจะดูถึงปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศว่าเป็นอย่างไรในอนาคตระยะยาวเป็นสิบ ๆ ปีหรืออย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป โดยตัวแรกที่จะดูก็คือ การเจริญเติบโตของ GDP ของประเทศ ซึ่งในกรณีของเวียตนามนั้น นักวิจัยแทบจะทุกสำนักต่างก็มองว่าจะเติบโตสูงมากใน “ระดับโลก” ประสบการณ์ที่ผมเห็นก็คือ เวียตนามน่าจะโตต่อไปในระดับอย่างน้อย 5-6% ต่อปี ไปอีกไม่น้อยกว่า 10-20 ปี อย่างที่ไทยเคยทำได้ในช่วง “ทศวรรษทอง” ของไทยประมาณระหว่างปี 1987-2007 เป็นเวลา 20 ปี
ว่าที่จริง แม้แต่ปีที่แล้วที่เกิดวิกฤตโควิด-19 เวียตนามก็ยังโตเกือบ 3% และถือเป็นประเทศที่โตสูงที่สุดในโลกในขณะที่ประเทศอื่นต่างก็ติดลบมากจนแทบจะเป็นประวัติการณ์ นอกจากนั้น ในปี 2564 ก็ยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะโตไม่น้อยกว่า 6-7% ขึ้นไป อานิสงค์จากการ “ไหลบ่า” ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่พยายามหลีกเลี่ยงหรือย้ายฐานการลงทุนในจีนที่กำลังมีปัญหาสงครามการค้ากับอเมริกา
ปัจจัยตัวที่สองก็คือเรื่องของ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งในความคิดของผมก็คือ เป็นตัวที่จะ “จุดชนวน” ให้ตลาดหุ้นเวียตนาม “Takeoff” ในรอบนี้ ประเด็นก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรหรือ Bond Yield อายุ 10 ปี ของเวียตนามลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงแค่ 1 ปีที่ผ่านมาจากประมาณ 5% ต่อปีเหลือเพียง 2% ต้น ๆ อานิสงค์จากสภาพคล่องทางการเงินที่ล้นโลกรวมถึงเวียตนาม ว่าที่จริงอัตราพันธบัตรอายุ 10 ปีของเวียตนามนั้นลดลงมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 10 ปีมาแล้วจากอัตราที่เคยสูงถึงปีละ 10% ซึ่งก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเวียตนามปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ และกลายเป็นตลาดระดับ “ซุปเปอร์สตาร์” ของตลาดในกลุ่ม “ชายขอบ” หรือ Frontier Market ผลกระทบของการลดลงของดอกเบี้ยและสภาพคล่องทางการเงินทำให้นักลงทุนส่วนบุคคลของเวียตนามหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน จำนวนนักลงทุนหน้าใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราสองเท่าตัวจากปีที่แล้ว และนี่ก็น่าจะช่วยขับเคลื่อนหุ้นให้วิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเร็ว ๆ
ปัจจัยตัวที่สามที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไปได้ดีก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งในตลาดหุ้นเวียตนามนั้น บริษัทขนาดใหญ่ที่สุด 30 บริษัทสามารถทำกำไรเติบโตได้สูง แม้แต่ปี 2563 ที่เป็นปีวิกฤติโควิด-19 ก็ยังสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยน่าจะประมาณ 7% ดังนั้น ในปี 2564 และปีต่อ ๆ ไปที่เศรษฐกิจเวียตนามจะดีขึ้นมาก กำไรของบริษัทก็น่าจะยังโตขึ้นไปได้เร็วและมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเติบโตของผู้บริโภคหรือความร่ำรวยของคนเวียตนามนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อานิสงค์จากการมีงานทำและการเพิ่มขึ้นของค่าแรงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะของนักลงทุนต่างชาติ อีกส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็คือ การขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของการปล่อยกู้แก่บุคคลธรรมดาที่มี “สลิบเงินเดือน” หรือมีรายได้แน่นอนจากการเป็นพนักงานประจำของบริษัทใหญ่ ๆ ซึ่งจะทำให้การบริโภคซึ่งรวมถึงการใช้จ่ายในสินค้าราคาสูง เช่น การซื้อบ้านและรถยนต์เติบโตเร็วขึ้นมาก
สุดท้ายที่จะกำหนดว่าการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นจะมากน้อยแค่ไหนโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายังอยู่ที่ความถูกความแพงของหุ้นซึ่งวัดจากค่า PE ของตลาด แม้ว่าค่า PE ของเวียตนามจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้เป็นประมาณ 17-18 เท่า แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนแล้วก็พบว่าเป็นค่า PE ที่ต่ำที่สุด ประเทศอื่นทุกประเทศต่างก็มีค่า PE เกิน 20 เท่า บางประเทศเช่นอินโดนีเซียมากถึงกว่า 30 เท่า ทั้ง ๆ ที่เวียตนามเป็นประเทศที่โตเร็วที่สุด ค่า PE ที่ต่ำกว่า 20 เท่าในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลดลงมาเหลือเพียง 2-3% ต่อปีและดูเหมือนว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอีกนานนั้นก็ต้องถือว่าเป็นราคาหุ้นที่ไม่แพง นอกเหนือจากนั้น ผลตอบแทนปันผลของตลาดหุ้นเวียตนามก็ค่อนข้างดีมาก น่าจะไม่น้อยกว่าปีละ 3% โดยเฉลี่ย
นอกจากปัจจัยด้านพื้นฐานดังที่กล่าวมาแล้ว ผลตอบแทนการลงทุนบ่อยครั้งยังขึ้นอยู่กับ “เหตุการณ์ไม่คาดคิด” ที่เกิดขึ้นในประเทศซึ่งมีทั้งดีและร้าย ตัวอย่างเช่นในตลาดหุ้นไทยเองนั้น เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นก็เช่น การรัฐประหาร ความวุ่นวายทางการเมืองหรือการเกิดน้ำท่วมใหญ่ ที่ทำให้หุ้นตก เป็นต้น ส่วนเหตุการณ์ดีก็เช่น มีการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น 20% ภายในเวลา 2 ปี ซึ่งทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนดีขึ้นและทำให้หุ้นวิ่งขึ้น เป็นต้น สำหรับตลาดหุ้นเวียตนามนั้น ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่เราจะคาดไม่ได้ว่าใน 10 ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น แต่หลายสิ่งที่ “ดีต่อตลาดหุ้น” น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก และเมื่อเกิดขึ้นหุ้นก็น่าจะวิ่งขึ้นแรงได้
อย่างแรกเลยที่ผม “รอ” ว่าน่าจะเกิดขึ้นภายใน 3-4 ปีก็คือการที่ตลาดหุ้นเวียตนามจะได้รับการยกระดับจากตลาดหุ้นชายขอบเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่หรือ “Emerging Market” และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำให้กองทุนขนาดใหญ่จากต่างประเทศสามารถเข้าไปลงทุนได้ ซึ่งนั่นมักจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นแรงมาก บางแห่งที่เคยถูกปรับแบบนั้นดัชนีตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ตลาดหุ้นเวียตนามนั้น จริง ๆ แทบทุกอย่างพร้อมแล้วโดยเฉพาะด้านขนาดของตลาดและปริมาณการซื้อขายซึ่งช่วงเร็ว ๆ นี้มีปริมาณการซื้อขายบางวันสูงถึงวันละกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่สิ่งที่ยังขาดก็คือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น เรื่องของข้อจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ เป็นต้น ทำให้ยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งนี่ก็มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่ “เจ้าหน้าที่เป็นใหญ่” มาช้านาน ซึ่งทำให้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีมากและเปลี่ยนแปลงได้ช้า
เรื่องที่สองก็คือ การเกิดขึ้นของ “นักลงทุนสถาบัน” เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญของรัฐ กองทุนของบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต รวมถึงกองทุนรวมต่าง ๆ ในประเทศ สิ่งเหล่านี้น่าจะยังมีน้อยมากหรือไม่มี แต่ในไม่ช้าก็จะต้องเกิดขึ้น เพราะสังคมของเวียตนามก็น่าจะเริ่มแก่ตัวลงในไม่ช้าเมื่อคนเกิดน้อยลงตามกระแสของโลก การเก็บเงินเพื่อการเกษียณโดยเฉพาะเมื่อคนร่ำรวยและมีฐานะดีขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะกลายเป็นความจำเป็น และเมื่อ “กระแส” นี้เกิดขึ้น ความต้องการที่จะลงทุนในตลาดหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นมหาศาล ดังนั้น หุ้นก็จะเติบโตขึ้นต่อเนื่องยาวนาน และนี่ก็คือสิ่งที่ “ไม่คาดคิด” แต่เป็นสิ่งที่ดีเมื่อเกิด คนที่ลงทุนในหุ้นอยู่ก็จะได้รับ “โบนัส” หรือกำไรจากการที่หุ้นปรับตัวขึ้นไป “ก้อนใหญ่”
นอกจากเรื่องของพื้นฐานของตลาดหุ้นและหุ้นในตลาดที่พร้อมแล้วเกือบทุกด้านสำหรับตลาดหุ้นเวียตนาม สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ “เครื่องมือ” ในการลงทุน เมื่อ 4-5 ปีก่อนผมเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามและก็พบว่าในช่วง 3-4 ปีแรกไม่ประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งก็คือ ผมไม่รู้จักตัวหุ้นดีพอและไม่มีเครื่องมือการลงทุนที่มีประสิทธิภาพเช่น กองทุนรวมหรือ ETF ที่จะหลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นเอง ผลก็คือ ผมเลือกลงทุนในหุ้นแบบกระจายมากและคล้าย ๆ กับ “กองทุนหุ้น VI ตัวเล็ก” ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำมากเมื่อเทียบกับดัชนี แต่ในปัจจุบัน มีกองทุนหลายแบบที่เราจะสามารถเลือกลงทุนได้เช่น ETF ของหุ้น 30 ตัวที่น่าจะอิงกับดัชนีตลาดของเวียตนาม ETF Daimond ที่อิงกับหุ้นแนวซุปเปอร์สต็อกที่มี Foreign Premium หรือหุ้นที่ต่างชาติต้องจ่ายแพงกว่าคนเวียตนาม เป็นต้น ซึ่งกองทุนหรือ ETF เหล่านี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้อย่างสะดวกและน่าจะได้ผลตอบแทนตามทิศทางของหุ้นใหญ่ ๆ หรือหุ้นดี ๆ ในตลาดโดยไม่ต้องเลือก ผมเองในช่วงเร็ว ๆ นี้ เวลามีเงินสดจากปันผลหรือการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนในตลาดเวียตนาม ผมก็จะลงทุนใน ETF หรือกองทุนเป็นหลักแทนการเลือกหุ้นเองแล้ว
ก่อนที่จะจบ ก็คงต้องเตือนว่า การลงทุนในเวียตนามนั้น ไม่ใช่ว่าจะทำให้ “รวยเร็วมาก” แต่น่าจะรวยเร็วพอใช้ในระยะยาวและผมคิดว่ามีความเสี่ยงต่ำถ้าอยู่นานพอ สิ่งที่พอคาดหวังได้น่าจะเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% และถ้าโชคดีอาจจะถึง 15% ในระยะเวลา 10 ปีนับจากนี้
ในการที่จะดูว่าตลาดหุ้นจะดีอย่างโดดเด่นในอนาคตระยะยาวนั้น ผมจะดูถึงปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศว่าเป็นอย่างไรในอนาคตระยะยาวเป็นสิบ ๆ ปีหรืออย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป โดยตัวแรกที่จะดูก็คือ การเจริญเติบโตของ GDP ของประเทศ ซึ่งในกรณีของเวียตนามนั้น นักวิจัยแทบจะทุกสำนักต่างก็มองว่าจะเติบโตสูงมากใน “ระดับโลก” ประสบการณ์ที่ผมเห็นก็คือ เวียตนามน่าจะโตต่อไปในระดับอย่างน้อย 5-6% ต่อปี ไปอีกไม่น้อยกว่า 10-20 ปี อย่างที่ไทยเคยทำได้ในช่วง “ทศวรรษทอง” ของไทยประมาณระหว่างปี 1987-2007 เป็นเวลา 20 ปี
ว่าที่จริง แม้แต่ปีที่แล้วที่เกิดวิกฤตโควิด-19 เวียตนามก็ยังโตเกือบ 3% และถือเป็นประเทศที่โตสูงที่สุดในโลกในขณะที่ประเทศอื่นต่างก็ติดลบมากจนแทบจะเป็นประวัติการณ์ นอกจากนั้น ในปี 2564 ก็ยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะโตไม่น้อยกว่า 6-7% ขึ้นไป อานิสงค์จากการ “ไหลบ่า” ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่พยายามหลีกเลี่ยงหรือย้ายฐานการลงทุนในจีนที่กำลังมีปัญหาสงครามการค้ากับอเมริกา
ปัจจัยตัวที่สองก็คือเรื่องของ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งในความคิดของผมก็คือ เป็นตัวที่จะ “จุดชนวน” ให้ตลาดหุ้นเวียตนาม “Takeoff” ในรอบนี้ ประเด็นก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรหรือ Bond Yield อายุ 10 ปี ของเวียตนามลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงแค่ 1 ปีที่ผ่านมาจากประมาณ 5% ต่อปีเหลือเพียง 2% ต้น ๆ อานิสงค์จากสภาพคล่องทางการเงินที่ล้นโลกรวมถึงเวียตนาม ว่าที่จริงอัตราพันธบัตรอายุ 10 ปีของเวียตนามนั้นลดลงมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 10 ปีมาแล้วจากอัตราที่เคยสูงถึงปีละ 10% ซึ่งก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเวียตนามปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ และกลายเป็นตลาดระดับ “ซุปเปอร์สตาร์” ของตลาดในกลุ่ม “ชายขอบ” หรือ Frontier Market ผลกระทบของการลดลงของดอกเบี้ยและสภาพคล่องทางการเงินทำให้นักลงทุนส่วนบุคคลของเวียตนามหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน จำนวนนักลงทุนหน้าใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราสองเท่าตัวจากปีที่แล้ว และนี่ก็น่าจะช่วยขับเคลื่อนหุ้นให้วิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเร็ว ๆ
ปัจจัยตัวที่สามที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไปได้ดีก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งในตลาดหุ้นเวียตนามนั้น บริษัทขนาดใหญ่ที่สุด 30 บริษัทสามารถทำกำไรเติบโตได้สูง แม้แต่ปี 2563 ที่เป็นปีวิกฤติโควิด-19 ก็ยังสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยน่าจะประมาณ 7% ดังนั้น ในปี 2564 และปีต่อ ๆ ไปที่เศรษฐกิจเวียตนามจะดีขึ้นมาก กำไรของบริษัทก็น่าจะยังโตขึ้นไปได้เร็วและมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเติบโตของผู้บริโภคหรือความร่ำรวยของคนเวียตนามนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อานิสงค์จากการมีงานทำและการเพิ่มขึ้นของค่าแรงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะของนักลงทุนต่างชาติ อีกส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็คือ การขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของการปล่อยกู้แก่บุคคลธรรมดาที่มี “สลิบเงินเดือน” หรือมีรายได้แน่นอนจากการเป็นพนักงานประจำของบริษัทใหญ่ ๆ ซึ่งจะทำให้การบริโภคซึ่งรวมถึงการใช้จ่ายในสินค้าราคาสูง เช่น การซื้อบ้านและรถยนต์เติบโตเร็วขึ้นมาก
สุดท้ายที่จะกำหนดว่าการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นจะมากน้อยแค่ไหนโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายังอยู่ที่ความถูกความแพงของหุ้นซึ่งวัดจากค่า PE ของตลาด แม้ว่าค่า PE ของเวียตนามจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้เป็นประมาณ 17-18 เท่า แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนแล้วก็พบว่าเป็นค่า PE ที่ต่ำที่สุด ประเทศอื่นทุกประเทศต่างก็มีค่า PE เกิน 20 เท่า บางประเทศเช่นอินโดนีเซียมากถึงกว่า 30 เท่า ทั้ง ๆ ที่เวียตนามเป็นประเทศที่โตเร็วที่สุด ค่า PE ที่ต่ำกว่า 20 เท่าในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลดลงมาเหลือเพียง 2-3% ต่อปีและดูเหมือนว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอีกนานนั้นก็ต้องถือว่าเป็นราคาหุ้นที่ไม่แพง นอกเหนือจากนั้น ผลตอบแทนปันผลของตลาดหุ้นเวียตนามก็ค่อนข้างดีมาก น่าจะไม่น้อยกว่าปีละ 3% โดยเฉลี่ย
นอกจากปัจจัยด้านพื้นฐานดังที่กล่าวมาแล้ว ผลตอบแทนการลงทุนบ่อยครั้งยังขึ้นอยู่กับ “เหตุการณ์ไม่คาดคิด” ที่เกิดขึ้นในประเทศซึ่งมีทั้งดีและร้าย ตัวอย่างเช่นในตลาดหุ้นไทยเองนั้น เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นก็เช่น การรัฐประหาร ความวุ่นวายทางการเมืองหรือการเกิดน้ำท่วมใหญ่ ที่ทำให้หุ้นตก เป็นต้น ส่วนเหตุการณ์ดีก็เช่น มีการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น 20% ภายในเวลา 2 ปี ซึ่งทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนดีขึ้นและทำให้หุ้นวิ่งขึ้น เป็นต้น สำหรับตลาดหุ้นเวียตนามนั้น ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่เราจะคาดไม่ได้ว่าใน 10 ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น แต่หลายสิ่งที่ “ดีต่อตลาดหุ้น” น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก และเมื่อเกิดขึ้นหุ้นก็น่าจะวิ่งขึ้นแรงได้
อย่างแรกเลยที่ผม “รอ” ว่าน่าจะเกิดขึ้นภายใน 3-4 ปีก็คือการที่ตลาดหุ้นเวียตนามจะได้รับการยกระดับจากตลาดหุ้นชายขอบเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่หรือ “Emerging Market” และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำให้กองทุนขนาดใหญ่จากต่างประเทศสามารถเข้าไปลงทุนได้ ซึ่งนั่นมักจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นแรงมาก บางแห่งที่เคยถูกปรับแบบนั้นดัชนีตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ตลาดหุ้นเวียตนามนั้น จริง ๆ แทบทุกอย่างพร้อมแล้วโดยเฉพาะด้านขนาดของตลาดและปริมาณการซื้อขายซึ่งช่วงเร็ว ๆ นี้มีปริมาณการซื้อขายบางวันสูงถึงวันละกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่สิ่งที่ยังขาดก็คือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น เรื่องของข้อจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ เป็นต้น ทำให้ยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งนี่ก็มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่ “เจ้าหน้าที่เป็นใหญ่” มาช้านาน ซึ่งทำให้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีมากและเปลี่ยนแปลงได้ช้า
เรื่องที่สองก็คือ การเกิดขึ้นของ “นักลงทุนสถาบัน” เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญของรัฐ กองทุนของบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต รวมถึงกองทุนรวมต่าง ๆ ในประเทศ สิ่งเหล่านี้น่าจะยังมีน้อยมากหรือไม่มี แต่ในไม่ช้าก็จะต้องเกิดขึ้น เพราะสังคมของเวียตนามก็น่าจะเริ่มแก่ตัวลงในไม่ช้าเมื่อคนเกิดน้อยลงตามกระแสของโลก การเก็บเงินเพื่อการเกษียณโดยเฉพาะเมื่อคนร่ำรวยและมีฐานะดีขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะกลายเป็นความจำเป็น และเมื่อ “กระแส” นี้เกิดขึ้น ความต้องการที่จะลงทุนในตลาดหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นมหาศาล ดังนั้น หุ้นก็จะเติบโตขึ้นต่อเนื่องยาวนาน และนี่ก็คือสิ่งที่ “ไม่คาดคิด” แต่เป็นสิ่งที่ดีเมื่อเกิด คนที่ลงทุนในหุ้นอยู่ก็จะได้รับ “โบนัส” หรือกำไรจากการที่หุ้นปรับตัวขึ้นไป “ก้อนใหญ่”
นอกจากเรื่องของพื้นฐานของตลาดหุ้นและหุ้นในตลาดที่พร้อมแล้วเกือบทุกด้านสำหรับตลาดหุ้นเวียตนาม สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ “เครื่องมือ” ในการลงทุน เมื่อ 4-5 ปีก่อนผมเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามและก็พบว่าในช่วง 3-4 ปีแรกไม่ประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งก็คือ ผมไม่รู้จักตัวหุ้นดีพอและไม่มีเครื่องมือการลงทุนที่มีประสิทธิภาพเช่น กองทุนรวมหรือ ETF ที่จะหลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นเอง ผลก็คือ ผมเลือกลงทุนในหุ้นแบบกระจายมากและคล้าย ๆ กับ “กองทุนหุ้น VI ตัวเล็ก” ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำมากเมื่อเทียบกับดัชนี แต่ในปัจจุบัน มีกองทุนหลายแบบที่เราจะสามารถเลือกลงทุนได้เช่น ETF ของหุ้น 30 ตัวที่น่าจะอิงกับดัชนีตลาดของเวียตนาม ETF Daimond ที่อิงกับหุ้นแนวซุปเปอร์สต็อกที่มี Foreign Premium หรือหุ้นที่ต่างชาติต้องจ่ายแพงกว่าคนเวียตนาม เป็นต้น ซึ่งกองทุนหรือ ETF เหล่านี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้อย่างสะดวกและน่าจะได้ผลตอบแทนตามทิศทางของหุ้นใหญ่ ๆ หรือหุ้นดี ๆ ในตลาดโดยไม่ต้องเลือก ผมเองในช่วงเร็ว ๆ นี้ เวลามีเงินสดจากปันผลหรือการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนในตลาดเวียตนาม ผมก็จะลงทุนใน ETF หรือกองทุนเป็นหลักแทนการเลือกหุ้นเองแล้ว
ก่อนที่จะจบ ก็คงต้องเตือนว่า การลงทุนในเวียตนามนั้น ไม่ใช่ว่าจะทำให้ “รวยเร็วมาก” แต่น่าจะรวยเร็วพอใช้ในระยะยาวและผมคิดว่ามีความเสี่ยงต่ำถ้าอยู่นานพอ สิ่งที่พอคาดหวังได้น่าจะเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% และถ้าโชคดีอาจจะถึง 15% ในระยะเวลา 10 ปีนับจากนี้
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Vietnam Takeoff/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
เวียดนามตอนนี้ปกครองโดยระบบเผด็จการ ซึ่งผมเดาว่าน่าจะมีการโกงกิน คอรัปชั่น เอาเปรียบประชาชนอยู่
แต่บังเอิญว่า ค่าแรงถูก คุณภาพดี และเวียดนามวางตัวเป็นกลางไม่ได้โปรจีนหรือโปรอเมริกาแบบเลือกข้าง
เพื่อนๆ คิดว่า ในอนาคต คนหนุ่มสาวเวียดนามที่อยาก upgrade ประเทศ จะมาประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย แบบไทยหรือพม่าไหมครับ
แต่บังเอิญว่า ค่าแรงถูก คุณภาพดี และเวียดนามวางตัวเป็นกลางไม่ได้โปรจีนหรือโปรอเมริกาแบบเลือกข้าง
เพื่อนๆ คิดว่า ในอนาคต คนหนุ่มสาวเวียดนามที่อยาก upgrade ประเทศ จะมาประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย แบบไทยหรือพม่าไหมครับ
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
- odin
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Vietnam Takeoff/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เดาได้ยากมากครับ ไม่มีข้อมูลอะไรมาชี้วัดได้ว่า ถ้ารัฐทำให้พอใจหรือไม่พอใจ แล้วจะมาเรียกร้องหรือไม่luckyman เขียน: ↑อาทิตย์ ก.พ. 21, 2021 9:07 pmเวียดนามตอนนี้ปกครองโดยระบบเผด็จการ ซึ่งผมเดาว่าน่าจะมีการโกงกิน คอรัปชั่น เอาเปรียบประชาชนอยู่
แต่บังเอิญว่า ค่าแรงถูก คุณภาพดี และเวียดนามวางตัวเป็นกลางไม่ได้โปรจีนหรือโปรอเมริกาแบบเลือกข้าง
เพื่อนๆ คิดว่า ในอนาคต คนหนุ่มสาวเวียดนามที่อยาก upgrade ประเทศ จะมาประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย แบบไทยหรือพม่าไหมครับ
เพราะไม่ว่าจะเป็นระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย ก็จะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ เพราะว่าคนเรามีสมองที่เลือกข้างอยู่ตลอดเวลา (ถ้าอยู่ข้างเราคือพวกเรา)
ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น นักธุรกิจ และนักลงทุนในตลาดทุนก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตาม
และการปกครองแบบไหน ที่ทุนนิยมชอบ แน่นอนก็คือรัฐต้องเข้ามาแทรกแทรงน้อยที่สุด
และระบอบเผด็จการจะมีโอกาสแทรกแทรงมากที่สุด มากได้ถึงขนาดยึดทรัพย์สิน ส่วนระบอบประชาธิปไตย ก็พิสูจน์แล้วว่ามีโอกาสแทรกแทรงน้อยที่สุด บริษัทที่เก่งมีความสามารถ ก็มีโอกาสทำมาหากินได้อย่างอิสระ
“Compound interest is the eighth wonder of the world. He who understands it, earn it ; he who doesn’t, pays it.”
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: Vietnam Takeoff/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
FM.96.5 | รู้ใช้เข้าใจเงิน | -Vietnam Takeoff- หุ้นเวียดนาม (22-02-64)
คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร -Vietnam Takeoff- หุ้นเวียดนาม สภาวการณ์ที่ตลาดหุ้นเวียดนามวิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
https://youtu.be/DkXRPvZXzDQ?t=1245
คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร -Vietnam Takeoff- หุ้นเวียดนาม สภาวการณ์ที่ตลาดหุ้นเวียดนามวิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
https://youtu.be/DkXRPvZXzDQ?t=1245
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #