CMCF

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

CMCF

โพสต์ที่ 1

โพสต์

CMCF : บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร / อาหารและเครื่องดื่ม
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
จำนวนไม่เกิน 187,500,000 หุ้น (คิดเป็น 30% ของหุ้นทั้งหมดหลัง) IPO แบ่งเป็น
1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัท จำนวนไม่เกิน 125,000,000 หุ้น และ
2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม (CH Group Capital Limited) จำนวนไม่เกิน 62,500,000 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
1.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ข้อมูล Filing
https://www.chotiwat.com
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: CMCF

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต" จะนำหุ้นเข้า SET ขาย IPO ไม่เกิน 187.50 ล้านหุ้น


บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด(มหาชน) จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยจะเสนอขายหุ้น IPO ทั้งหมดจำนวนไม่เกิน 187.50 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 125 ล้านหุ้น และ CH Group Capital Limited ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิม ได้นำหุ้นสามัญเดิมออกมาเสนอขายไม่เกิน 62.50 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1.0 บาท โดยมีบล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) และผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO ดังกล่าว

สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุน เบื้องต้นจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

โครงสร้างผู้ถือหุ้น จะมีบริษัท เคี่ยงฮวด โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 70% ภายหลังการขายหุ้น IPO สัดส่วนจะลดลงเหลือ 56% ส่วนCH Group Capital ที่นำหุ้นเดิมออกมาขาย เดิมถือหุ้น 12.5% ภายหลังการขายหุ้น IPO จะไม่ได้ถือหุ้น
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: CMCF

โพสต์ที่ 3

โพสต์

https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... sID=337515

หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 29/04/2564
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท หลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / นาย ทินพันธุ์ หวั่งหลี
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: CMCF

โพสต์ที่ 4

โพสต์

CMCFรุกขยายฐานลูกค้าสร้างการเติบโต
เผยแพร่: 23 ก.ย. 2564 11:55 ปรับปรุง: 23 ก.ย. 2564 11:55 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต วางกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตช่วยลดการเพิ่มแรงงานใหม่ในอนาคต พร้อมรุกขยายสินค้าอาหารสำเร็จรูป เพิ่มศักยภาพการเติบโต ล่าสุดได้รับการอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์จากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเสนอขายหุ้น IPO

นายสมนึก โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน) หรือ CMCF เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 4 ทศวรรษ โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) ผลิตภัณฑ์อื่นๆ และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ ในการพัฒนาและผลิตอาหารด้วยนวัตกรรมและมีความปลอดภัยให้กับสังคมโลก

บริษัทฯ แบ่งธุรกิจหลักเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 80% ของรายได้จากการขายรวม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ พร้อมรับประทาน (Standard Product) และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ แบบปรุงรสชาติพร้อมรับประทาน (Value-Added Product) 2.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) 3.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ และ 4.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) ได้แก่ ปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์

“ปัจจุบันเราถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตและแปรรูปปลาทูน่าแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ โดยมีกำลังการผลิตอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปรวม 87,900 ตันน้ำหนักสุทธิ (Net Weight) ต่อปี สามารถผลิตสินค้าจำนวนมากและมีความหลากหลายด้วยต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ โดยเราให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และการส่งมอบสินค้าที่ตรงต่อเวลาในราคาที่แข่งขันได้” นายสมนึก กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2563 บริษัทฯ ได้รุกขยายฐานการผลิตในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาทูน่าขนาดใหญ่ของโลกและเป็นแหล่งการประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fishing) ที่สำคัญของโลก โดยเข้าถือหุ้น 49% ใน PT Lautindo Synergy Sejahtera หรือ LSS ซึ่งประกอบธุรกิจแปรรูปและจำหน่ายปลาทูน่าตัดแต่งแช่แข็ง มีกำลังการผลิต 12,700 ตันน้ำหนักสุทธิ (Net Weight) ต่อปี เพื่อนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการผลิตปลาทูน่าแปรรูปของบริษัทฯ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการจัดหาปลาและความเสี่ยงจากการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงรองรับแผนงานรุกขยายตลาดในภูมิภาคเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ

บริษัทฯ วางกลยุทธ์การเติบโต โดยบริษัทฯ จะเน้นขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นและมีการเติบโตสูง และขยายตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่ใช้วัตถุดิบจากการประมงอย่างยั่งยืนซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ตลอดจนมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตภายในโรงงานเพื่อลดการเพิ่มแรงงานในอนาคต และ LSS ในอินโดนีเซียมีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายปลาทูน่าแปรรูปถุงสูญญากาศและผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังใช้กลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและลดของเหลือจากกระบวนการผลิต (Zero Waste) โดยการนำผลพลอยได้ในกระบวนการแปรรูปปลาทูน่ามาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซึ่งจะเพิ่มรายได้และอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายจากการบำบัดน้ำเสียในกระบวนการผลิต

นอกจากนี้ บริษัทฯ จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทฯ ได้แก่ ‘เอ็มโปร’ ผลิตภัณฑ์อาหารเหลวที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Functional Food) และมีคุณค่าทางโภชนาการ เจาะกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพและผู้สูงวัย โดยเริ่มจำหน่ายแก่โรงพยาบาลในปีที่ผ่านมา และ ‘อีซี่ ควิก’ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปผลิตจากเนื้อสัตว์ ผัก และธัญพืชพร้อมรับประทาน เจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ต้องการอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานเพื่อให้บริการหรือ จัดงานต่างๆ

ทั้งนี้ หลังจากบริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 187,500,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 30.0 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 125,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย CH Group Capital Limited จำนวนไม่เกิน 62,500,000 หุ้น ปัจจุบันได้รับการอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเสนอขายหุ้น IPO

นายสมบูรณ์ โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีโรงงานผลิตในประเทศ 2 แห่ง ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย โรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่นๆ และโรงงานผลิตปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทย่อย รวมถึง โรงงานแปรรูปและจำหน่ายปลาทูน่าตัดแต่งแช่แข็งในอินโดนีเซียภายใต้การดำเนินงานของ LSS

ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าภายในโรงงาน จนได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลต่างๆ อาทิ ใบรับรองห่วงโซ่การคุ้มครอง (Chain of Custody) ตามมาตรฐานการรับรองอาหารทะเลจากการประมงธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Marine Stewardship Council หรือ MSC), มาตรฐานโคเชอร์ (Kosher) รองรับตลาดในกลุ่มผู้บริโภคชาวยิวที่นับถือศาสนาจูดาย ฯลฯ และให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงเกิดเทรนด์การบริโภคอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ที่ใช้วัตถุดิบจากการทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Seafood) การทำประมงที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่า โดย Grand View Research องค์กรด้านการวิจัยระดับโลกประเมินว่าในปี 2562 อุตสาหกรรมปลาทูน่าแปรรูปทั่วโลกมียอดขายรวม 11,721 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 17,331.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี

“เราเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต เช่น การบำบัดน้ำเสียและกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย Anaerobic Fixed Film Reactor ที่ทันสมัยและประหยัดพลังงาน การนำก๊าซชีวภาพที่เกิดจากปฏิกิริยาย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ในการอุ่นน้ำป้อนก่อนเข้าบอยเลอร์ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ เพื่อสร้างการเติบโตไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม” นายสมบูรณ์ กล่าว
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: CMCF

โพสต์ที่ 5

โพสต์

โชติวัฒน์อุตฯ เตรียมพร้อมขายหุ้น IPO 187.50 ล้านหุ้นหลัง ก.ล.ต.อนุมัติไฟลิ่ง

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday September 23, 2021 13:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสมนึก โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต (CMCF) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมพร้อมเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 187,500,000 หุ้น หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) แล้ว

สำหรับหุ้นที่จะเสนอขายในครั้งนี้ ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวนไม่เกิน 125,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย CH Group Capital Limited จำนวนไม่เกิน 62,500,000 หุ้น

CMCF ดำเนินธุรกิจมากว่า 4 ทศวรรษ โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) ผลิตภัณฑ์อื่นๆ และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ ในการพัฒนาและผลิตอาหารด้วยนวัตกรรมและมีความปลอดภัยให้กับสังคมโลก

ธุรกิจหลักแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 80% ของรายได้จากการขายรวม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก ปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ พร้อมรับประทาน (Standard Product) และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ แบบปรุงรสชาติพร้อมรับประทาน (Value-Added Product) 2.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) 3.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ และ 4.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) ได้แก่ ปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์


"ปัจจุบันเราถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตและแปรรูปปลาทูน่าแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ โดยมีกำลังการผลิตอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปรวม 87,900 ตันน้ำหนักสุทธิ (Net Weight) ต่อปี สามารถผลิตสินค้าจำนวนมากและมีความหลากหลายด้วยต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ โดยเราให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และการส่งมอบสินค้าที่ตรงต่อเวลาในราคาที่แข่งขันได้" นายสมนึก กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 63 บริษัทฯ ได้รุกขยายฐานการผลิตในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาทูน่าขนาดใหญ่ของโลกและเป็นแหล่งการประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fishing) ที่สำคัญของโลก โดยเข้าถือหุ้น 49% ใน PT Lautindo Synergy Sejahtera หรือ LSS ซึ่งประกอบธุรกิจแปรรูปและจำหน่ายปลาทูน่าตัดแต่งแช่แข็ง มีกำลังการผลิต 12,700 ตันน้ำหนักสุทธิ (Net Weight) ต่อปี เพื่อนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการผลิตปลาทูน่าแปรรูปของบริษัทฯ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการจัดหาปลาและความเสี่ยงจากการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงรองรับแผนงานรุกขยายตลาดในภูมิภาคเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ

บริษัทวางกลยุทธ์การเติบโต โดยปัจจุบันเน้นการปรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มอาหารสัตว์ระดับพรีเมี่ยมที่มีการแข่งขันด้านตลาดน้อยกว่าตลาดอื่นๆ ที่มีวัตถุดิบหลัก อาทิ อกไก่ เนื้อปลาแซลม่อน เนื้อปลาทูน่า น่องไก่ เพื่อผลิตอาหารสัตว์ประเภทแมวและสุนัข เป็นต้น โดยปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์ให้ความสำคัญกับคุณภาพอาหารค่อนข้างมาก ในประเทศสหรัฐ ตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป บริษัทมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และรายได้จากอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มให้มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าสัดส่วนรายได้จะเพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 30% จากปัจจุบันที่ราว 20% เพื่อทำให้อัตราการทำกำไรมีทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกันนี้ยังเป็นการลดการแข่งขันในผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่าอื่นๆที่มีอัตราการเติบโตราว 5% ต่อปี แต่การแข่งขันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก

นอกจากนี้ บริษัทจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทฯ ได้แก่ "เอ็มโปร" ผลิตภัณฑ์อาหารเหลวที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Functional Food) และมีคุณค่าทางโภชนาการ เจาะกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพและผู้สูงวัย โดยเริ่มจำหน่ายแก่โรงพยาบาลในปีที่ผ่านมา และ ?อีซี่ ควิก? ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปผลิตจากเนื้อสัตว์ ผัก และธัญพืชพร้อมรับประทาน เจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ต้องการอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานเพื่อให้บริการหรือ จัดงานต่างๆ

ด้านนายสมบูรณ์ โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน CMCF กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตในประเทศ 2 แห่ง ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย โรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่นๆ และโรงงานผลิตปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทย่อย รวมถึง โรงงานแปรรูปและจำหน่ายปลาทูน่าตัดแต่งแช่แข็งในอินโดนีเซียภายใต้การดำเนินงานของ LSS

ทั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าภายในโรงงาน จนได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลต่างๆ อาทิ ใบรับรองห่วงโซ่การคุ้มครอง (Chain of Custody) ตามมาตรฐานการรับรองอาหารทะเลจากการประมงธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Marine Stewardship Council หรือ MSC), มาตรฐานโคเชอร์ (Kosher) รองรับตลาดในกลุ่มผู้บริโภคชาวยิวที่นับถือศาสนาจูดาย ฯลฯ และให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงเกิดเทรนด์การบริโภคอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ที่ใช้วัตถุดิบจากการทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Seafood) การทำประมงที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่า โดย Grand View Research องค์กรด้านการวิจัยระดับโลกประเมินว่าในปี 62 อุตสาหกรรมปลาทูน่าแปรรูปทั่วโลกมียอดขายรวม 11,721 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 17,331.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 70 หรือเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี

"เราเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต เช่น การบำบัดน้ำเสียและกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย Anaerobic Fixed Film Reactor ที่ทันสมัยและประหยัดพลังงาน การนำก๊าซชีวภาพที่เกิดจากปฏิกิริยาย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ในการอุ่นน้ำป้อนก่อนเข้าบอยเลอร์ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ เพื่อสร้างการเติบโตไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม" นายสมบูรณ์ กล่าว
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: CMCF

โพสต์ที่ 6

โพสต์

“CMCF”แต่งตัวเข้าSET ขายไอพีโอ187.50ล.หุ้น

CMCF เตรียมขาย IPO จำนวน 187.50 ล้านหุ้น เข้า SET ระกดมทุนคืนหนี้-เป็นเงินทุนหมุนเวียน คาดลด D/E ต่ำกว่าปัจจุบันที่อยู่ระดับ 1 เท่า ขณะที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกกว่า 90% เล็งขยายฐานลูกค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีมาร์จิ้นและการเติบโตสูง



นายสมนึก โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน) หรือ CMCF ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) ผลิตภัณฑ์อื่นๆ และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วโลก เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับการอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว



โดยอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 187,500,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 30.0 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัท จำนวนไม่เกิน 125,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย CH Group Capital Limited จำนวนไม่เกิน 62,500,000 หุ้น



*คืนหนี้ลด D/E ต่ำกว่า 1 เท่า

สำหรับวัตถุประสงค์การระดมทุน เพื่อนำเงินไปใช้ชำระคืนหนี้ ส่วนที่เหลือจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ซึ่งคาดว่าหลังเข้าระดมทุนและจะทำให้ D/E ปรับตัวลดลงต่ำกว่าปัจจุบันที่อยู่ระดับ 1 เท่า นอกจากนี้บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของกำไรสุทธิ



สำหรับโครงสร้างธุรกิจปัจจุบันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสูญญากาศ ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 80% ของรายได้จากการขายรวม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ พร้อมรับประทาน (Standard Product) และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ แบบปรุงรสชาติพร้อมรับประทาน (Value-Added Product)

2.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) 3.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ และ 4.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) ได้แก่ ปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์



*ส่งออกกว่า 90%

ขณะที่รายได้หลักส่วนใหญ่จากการส่งออกประมาณ 90% โดยจำหน่ายกว่า 50 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม Standard Product ประมาณ 60-70% ด้านธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง Pet Food อยู่ที่ระดับประมาณ 20% ซึ่งในอนาคตบริษัทคาดหวังสัดส่วนให้เป็น 30% เนื่องจากมีโอกาสเติบโตสูงและมาร์จิ้นดี



ด้านโรงงานการผลิตปัจจุบันบริษัทมีแหล่งผลิตมาจาก 3 แห่งได้แก่ 1. โรงงาน CMC สำหรับผลิตภัณฑ์หลักทั้งอาหารกระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง กำลังการผลิต 87,900 ตัน/ปี โดยใช้กำลังการผลิต(Utilization) ไปประมาณ 50% , 2. โรงงาน TCF เพื่อใช้ผลิตปลาป่น กำลังการผลิต 14,000 ตัน/ปี ใช้ Utilization ไปแล้วประมาณกว่า 40% ซึ่งทั้ง2 แห่งนี้อยู่ในจังหวัดสงขลา



และโรงงานแห่งที่ 3 คือ โรงงานแปรรูปและจำหน่ายปลาทูน่าตัดแต่งแช่แข็งในประเทศอินโดนีเซีย โดยบริษัทได้เข้าถือหุ้น 49% ใน PT Lautindo Synergy Sejahtera หรือ LSS ที่ทำโรงงานดังกล่าว มีกำลังการผลิต 12,700 ตัน/ปี โดยเริ่มดำเนินการผลิตตั้งแต่ปีนี้ ใช้ Utilization ประมาณ 20% และคาดว่าในปีหน้าสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น จะเพิ่ม Utilization ได้มากขึ้น ซึ่งการเข้าลงทุนโรงงานแห่งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบ เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นแหล่งจับปลาทูน่าขนาดใหญ่ และยังมีค่าแรงงานถูกกว่าไทย



*ขยายฐานอาหารสัตว์เลี้ยง

ทั้งนี้บริษัทวางกลยุทธ์การเติบโต จะเน้นขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นและมีการเติบโตสูง และขยายตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่ใช้วัตถุดิบจากการประมงอย่างยั่งยืนซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้น อีกทั้งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตภายในโรงงานเพื่อลดการเพิ่มแรงงานในอนาคต และ LSS ในอินโดนีเซียมีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายปลาทูน่าแปรรูปถุงสูญญากาศและผลิตภัณฑ์อื่นๆ
โพสต์โพสต์