รีวิวหลักสูตร Advanced Valuation ของอาจารย์ Aswath Damodaran
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
รีวิวหลักสูตร Advanced Valuation ของอาจารย์ Aswath Damodaran
โพสต์ที่ 1
สืบเนื่องจากกระทู้ “การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน” ซึ่งผมได้แนะนำให้ไปเรียนการประเมินมูลค่ากับอาจารย์ Aswath Damodaran ล่าสุดตัวผมเองได้เรียนหลักสูตร Advanced Valuation ทาง Online จบ ได้ Certification เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เลยอยากจะขออนุญาต Review หลักสูตรสักเล็กน้อย สำหรับคนที่สนใจ
หลักสูตร Advanced Valuation ของ อ. Aswath Damodaran
ผมขอท้าวความเล็กน้อยว่าที่ผมไปเรียนหลักสูตรนี้ เพราะ ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขึ้น ผมมีความจำเป็นที่ต้องไปลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนด้วยเหตุผลบางประการ ผมติดปัญหาในการลงทุนหุ้นประเภทนี้ เพราะ ผมทำ Valuation หุ้นพวกนี้ไม่เป็น
ด้วยความที่โดยปรัชญาการลงทุนที่ผมเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมจึงจำเป็นต้องหาทางในการ Valuation หุ้นพวกนี้อย่างถูกต้อง และเท่าที่ลองดูวิธีการที่มีอยู่ในโลกแล้ว ผมรู้สึกว่าวิธีการของอาจารย์ Aswath Damodaran เป็นวิธีการที่สมเหตุสมผลที่สุดในมุมมองของผม
จริงๆ แล้วอาจารย์ Aswath เค้ามีสอนฟรีให้ดูใน YouTube อยู่แล้ว ผมไล่ฟังไปดูไป แล้วได้ข้อสรุปว่า หุ้นเทคฯ พวกนี้ Range ของ Value มันกว้างมาก ผมควรที่จะทำ Monte Carlo Simulation ถึงจะเห็นภาพของโอกาสและความเสี่ยงได้ดีขึ้น ซึ่งผมก็พอจะเข้าใจ Concept ของการทำ Monte Carlo Simulation แต่ก็ไม่เคยทำจริงๆ สักที อีกทั้งผมรู้สึกว่าหลักคิด และวิชาการอะไรของอาจารย์อะไรหลายๆ อย่างที่อยู่เบื้องหลังตัวเลขที่จะดึงมาใส่ในสมมติฐาน มันมีที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลมากๆ ซึ่งผมอยากจะเรียนรู้มากกว่านี้ ผมคิดว่าการที่ผมจะเรียนฟรี ผ่าน youTube มันทำให้ระดับของความตั้งใจของผมมันน้อยเกินกว่าที่จะซึบซับองค์ความรู้จากอาจารย์ ผมเลยตัดสินใจที่จะลงเรียน Online และทุ่มเทเวลาให้กับอาจารย์ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา
หลักสูตร Advanced Valuation เป็นหลักสูตร Online ของทาง NYU ซึ่งจะมีเปิดทั้งหมดปีละ 2 ครั้ง ในช่วง Spring กับ Fall ช่วงที่ผมสนใจจะเรียนตอนนั้นคือเดือนพฤศจิกายน 2020 หากสมัครภายในเดือนธันวาคมจะมีส่วนลด Early Bird 12% เหมืออย่างในช่วงนี้ที่มีราคา Early Bird ไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม
ผมโชคดีที่ได้เรียนในช่วง Spring 2021 ซึ่งผมคิดว่าการเรียนในช่วง Spring น่าจะดีกว่าเรียนช่วง Fall เพราะ การเรียนการสอนในช่วง Spring มันจะไปตรงกับหลักสูตรหลักของทาง NYU ตัวเต็ม ที่นักเรียน ป.ตรี กับ ป.โท เค้าเรียนกันพอดี ยิ่งในปีนี้ COVID ทำให้การเรียนการสอน Logistic ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะเกิดขึ้น Online แทนที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การสื่อสาร ทางจดหมาย การบ้าน ทั้งหมดมีการ Update ขึ้นเว็บ ให้ผมสามารถเรียนได้ ข้อสอบในห้องเรียนปีนี้แทนที่จะเป็นข้อสอบเขียน ก็ทำเป็นข้อสอบ Choice เหมือนกับหลักสูตร Online เลย อีกทั้งหากมีข้อสงสัยอะไร ทุกๆ 2 สัปดาห์ อาจารย์ก็จะมีจัด Zoom Session ให้เราเข้าไปถามกับอาจารย์ได้ (เทียบกับหลักสูตรปกติที่เข้าไปเจอได้ทุกสัปดาห์ แต่ต้องแบ่งเวลากัน 3 Class ผมเลยมีโอกาสได้ถามคำถามกับอาจารย์เยอะมาก) ผมเลยรู้สึกว่า Advanced Valuation ของปีนี้ดูเหมือนว่าราคาจะ Under Value มากๆ โดยผมจะใช้เน้นเรียนจาก YouTube ของหลักสูตรปกติไปเป็นหลัก และใช้เนื้อหาของ Online ที่สั้นกว่าเป็นตัวเสริม แต่ไปเน้นอ่าน Assign Reading ต่างๆ ที่อาจารย์ให้มา เพื่อเสริม เติมเนื้อหาที่ได้เรียนมา
เป้าหมายของหลักสูตรนี้ คือ ทุกคนจะต้องทำ Final Project ส่งอาจารย์ ซึ่งเราจะทำการเลือกหุ้น แล้วทำ Valuation Report ส่งหลังจากสอบ Final เสร็จ และระหว่างที่เราเรียนไปแต่ละคลาส เราจะค่อยๆ เติมเต็มข้อมูล และตัวเลขเข้าไปในกิจการที่เราเลือกมา
ผมวางแผนที่จะใช้หุ้นที่สนใจลงทุน ไปใช้ในการวิเคราะห์ และถามตอบกับอาจารย์ เพื่อที่จะทำเป็น Final Project มีหุ้นตัวหนึ่งที่ผมวางแผนที่จะเข้าลงทุนอยู่พอดี และระหว่างการเรียนผมก็จะใช้มันเป็นเคส Study ไปพร้อมๆ กัน
หลักสูตรปกติของชั้น ป.ตรี และ ป.โท อาจารย์จะอนุญาตให้นักเรียนส่ง DCF Model ไปให้อาจารย์ Feedback ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป สำหรับหลักสูตร Online ไม่มีเขียนถึงเรื่องนี้เลย แต่ว่าใน Session Zoom ครั้งก่อนสุดท้ายครั้งหนึ่ง อาจารย์ให้โอกาสนักเรียนในการส่ง DCF ที่เราทำให้อาจารย์ดูว่ามันมีปัญหาอะไรไหม อาจารย์มีความเห็นอะไรไหม แล้วตอบกลับมาทางอีเมล์
ผมดีใจมาก และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี ผมพยายามทำ DCF Model หลังวันศุกร์ตอนที่ตัวเลขต่างๆ มันนิ่งแล้ว และส่งให้กับอาจารย์ในช่วงสุดสัปดาห์ กะว่าอาจารย์ได้ช่วยดูให้สัปดาห์ถัดมา ผมส่งไปช่วงคืนวันอาทิตย์ ปรากฎว่า อาจารย์ตอบกลับมาอย่างรวดเร็ว ส่งอีเมล์ถามตอบกัน 2-3 รอบ และอาจารย์ก็ให้ความเห็นอันทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก (นอกจากนี้ ใน Session Zoom ก่อนๆ หน้าผมก็ได้ไอเดียอะไรหลายๆ อย่างจากอาจารย์เพื่อเอาไปใช้ในการทำ Final Project ซึ่งมันเป็นประโยชน์มากๆ เลยครับ)
ใน Zoom Session ถัดมา ดูเหมือนว่าจะไม่ใครส่ง DCF Model ไปให้อาจารย์เลยสักคน ผมเลยเป็นคนเดียวที่ได้ความเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ ซึ่งเป็นความเห็นที่ทรงคุณค่า ทำให้ผมมั่นใจว่าผมมาถูกทางแล้ว และสามารถเอามันไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
ดังนั้น Zoom Session ในมุมมองของผมจึงเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ ซึ่งถ้าหากเพื่อนๆ ตัดสินใจเรียน ผมอยากจะให้เพื่อนๆ เตรียมตัว เตรียมคำถามเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะถามอาจารย์ คุณค่าของคำตอบอาจารย์ที่มีประสบการณ์มากขนาดนี้ ช่างหาค่าไม่ได้เลยจริงๆ
ตัวอย่างความเห็นที่ไม่อยากจะเชื่อว่าจะได้ยินจากคนที่หุ้นถึง 53 ตัวแบบอาจารย์ เช่น อาจารย์แนะนำว่า ถ้าหุ้นที่คุณถือมัน Undervalue มากๆ แถมมี Option to Expand เยอะๆ แล้วถ้าคุณมั่นใจว่าคุณคิดถูก คุณอยากจะถือเท่าไร คุณก็ถือไปเถอะ ตราบเท่าที่คุณนอนหลับได้อย่างสบายใจ คุณจะซื้อไป 30-40% ของพอร์ตเลยก็ได้ ถ้าคุณถือมันได้อย่างสบายใจ
หรืออีกความเห็นหนึ่ง เช่น ถ้าคุณลงทุนในหุ้น 10 เด้ง คุณไม่ต้องไปเสียเวลาทำ Monte Carlo Simulation หรอก Simulation เอาไว้ใช้กับพวกกิจการที่คุณไม่แน่ใจใน Upside และ Downside ทำแล้วมันถึงจะได้ประโยชน์ เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ใน Zoom Session เท่านั้น ซึ่งผมก็ไม่คิดว่าอาจารย์จะไปพูดเรื่องหุ้น 10 เด้ง หรือ ให้ถือหุ้นแบบตีแตกในโอกาสอื่นๆ
Final project คือ Crown Jewel ของหลักสูตรครับ ผมคิดว่า หากคุณมีหุ้นอะไรบางอย่างที่ต้องการศึกษาอย่างลึกซึ้งว่า เราจะ Valuation มันอย่างไร Fundamental ของตัวเลขต่างๆ มันมาจากไหน เราจะเอาตัวเลขของบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรม มาวิเคราะห์หา Base Rate อย่างไร ขนาดตลาดควรเป็นเท่าไร เพื่อทำให้ตัวเลข Growth, Profit Margin, Reinvestment ตลอดจนความเสี่ยงของการลงทุน ที่เราใส่เข้าไปในโมเดลของเรามันสมเหตุสมผล ไม่ได้มาแบบเลื่อนลอย หรือลอกคนอื่นเค้ามา เหล่านี้คือ สิ่งที่ผมได้จากการเรียนในหลักสูตรนี้
วิธีการเรียน เนื้อหา และระดับความหนักหน่วง
ในการเรียนคุณควรมีพื้นฐาน Accounting, Finance และสถิติ ขั้นพื้นฐานมาเสียก่อน ซึ่งตรงนี้อาจารย์เค้าทำหลักสูตรกระชับๆ ให้เรียนฟรีในส่วนของ Accounting และ Finance ซึ่งถ้าจะให้ดีจริงๆ อาจารย์บอกว่าควรที่จะเรียน Corporate Finance ของอาจารย์มาก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจพื้นฐานวิธีคิดของกิจการ ว่าในเชิงการดำเนินงานแล้วบริษัทเค้าคิดกันอย่างไร ซึ่งอาจารย์บอกว่า Corporate Fiance นี่ถือว่าเป็นคลาสลูกรักของอาจารย์เลยทีเดียว
โดยส่วนตัว ผมเลือกที่จะฟัง Corporate Finance หลักสูตรสั้นทาง YouTube แบบผ่านหูแบบเร็วๆ มาก่อนเรียน Valuation ซึ่งผมก็ตั้งใจว่า ไว้เรียนจบแล้ว จะกลับมาเรียนหลักสูตร Corporate Finance ตัวเต็มจาก YouTube อีกที
ในการเรียนจริงจะมีเนื้อหา Video สั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับใน YouTube นะครับ อันนี้จะเป็น Version ใหม่ ที่ถูกถ่ายทำ และเรียบเรียงใหม่ตอนปี 2016 ซึ่งรู้สึกว่าจะทำได้ดีขึ้น กว่าที่มีให้เรียนฟรีใน YouTube วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาก็จะไม่เหมือนกับหลักสูตรเดิม หรือหลักสูตรตัวเต็มครับ
สัปดาห์หนึ่งอาจารย์จะให้เนื้อหามาเรียน 2 Class ซึ่งเราจะเรียนตอนไหนก็ได้ เรียนเสร็จก็จะมี Quiz สั้นๆ แบบเป็น Choice ให้ทำ หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะจัด Paper ที่เป็น Require Reading มาให้อ่าน ซึ่งผมคิดว่า “โหด” พอสมควร
Paper ที่อาจารย์ Assign มาให้อ่านโดยเฉลี่ยแล้ว ยาวประมาณ 50 หน้า บางอันอาจจะยาวเป็นร้อยหน้า หรือบางทีอาจารย์ก็ให้ Paper มาสองอันใน 1 คลาส น้ำหนักของ Paper ที่ให้มาจะโดนหนักๆ แน่นๆ ในช่วงต้นของหลักสูตร ในช่วงหลังๆ อาจจะเบาลง แต่ก็ยังมี โดยผมแนะนำว่า บางที Paper ที่อาจารย์ให้มาอาจจะมี Version ที่ Update กว่าที่ให้ Download ในหลักสูตร ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มลงมืออ่าน ลอง Search ชื่อ Paper นั้นๆ อีกสักที เผื่อจะได้อ่าน Version ที่มัน Update นิดนึง
หลังจากที่อ่าน Paper จบ ซึ่งแต่ละอันก็ใช้เวลานานอยู่ ก็จะมี Quiz ให้ทำ ซึ่ง Quiz อันนี้จะเป็นข้อสอบเขียน ถ้าทำไหวก็ควรทำ เพราะ จะช่วยให้องค์ความรู้เราแน่นขึ้น แต่ถ้าทำไม่ไหว จะข้ามก็ไม่มีผลอะไรการกับเรียนจบครับ ไม่มีการให้คะแนนอะไรกับ Quiz ในส่วนนี้
เอาจริงๆ คือ Paper พวกนี้เนื้อหาบางทีพาเราไปถึงสวรรค์ไปเลยก็มี ถ้าเราไม่ได้อยากจะไปรู้อะไรมากขนาดนั้น ผมแนะนำว่า ฟัง YouTube ของหลักสูตรปกติ หรืออ่านหนังสือเรียนประกอบหลักสูตร อาจจะง่ายกว่า และก็น่าจะเพียงพอ แต่ผมเป็นสายแข็งครับ ผมเอาจริงเอาจังมาก ผมทุ่มเทจัดสรรเวลาให้กับอาจารย์เต็มที่อยู่แล้ว เลยพยายามอ่านเท่าที่อ่านได้ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง อย่างน้อยก็ผ่านตา แต่ถึงขนาดนี้ ผมก็ยังรู้สึกว่ามันมากเกินไป บางทีขยาด และอยากอ้วกเลยทีเดียว
หลังจากส่วน Require Reading แล้วก็จะมีส่วน Optional Reading, Web Cast ตลอดจนไฟล์ Excel ต่างๆ ที่อาจารย์มีเอาไว้ให้เราโหลดไปใช้และทดลองทำ ในส่วน Optional Reading จะเป็น Blog ของอาจารย์จาก Case จริงๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนไป บางอันก็จะมี YouTube ให้ดูด้วย ซึ่งผมว่ามันมีประโยชน์มากๆ เลยครับกับการได้อ่านในส่วนนี้
ส่วน Web Cast นี่อาจารย์เค้าจะทำการดึงตัวเลข คำนวณตัวเลข จากโลกแห่งความเป็นจริงให้เราดูจริงๆ ว่าเวลาทำจริงๆ แล้ว เราทำกันอย่างไร และก็จะมี Excel ไฟล์ที่เกี่ยวข้องให้เราเอาไปใช้ได้ด้วย
ก่อนจะจบคลาสแต่ละอัน ก็จะเป็น Assignment ว่า ให้เอาสิ่งที่เรียนมาไปใช้กับ หุ้นที่เราเลือกที่จะทำเป็น Final Project
โดยสรุปแล้ว เนื้อหาคลาสหนึ่งๆ ใช้เวลาเรียนน่าจะมี 10 ชั่วโมงได้ เรียนหนักจริงๆ ครับ เมื่อเทียบกับ platform revolution ที่ผมเรียนของ EMERITUS ไปก่อนหน้านี้ ความหนักนี่ต่างกันหลายเท่าตัวเลยครับ
หลังจากเรียนๆ ไปทุกๆ 2 สัปดาห์ก็จะมี Zoom ที่อาจารย์จะสรุปเนื้อหา และให้เข้ามาถาม/ตอบ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมแค่ได้เข้า Zoom ไปถามคำถามอาจารย์แค่ 2 ครั้ง ผมก็คุ้มค่าเรียนแล้วครับ
ทุกๆ 3-4 สัปดาห์ก็จะมี Quiz ทีนึง รวมแล้วมี Quiz 3 ครั้ง กับสอบ Final 1 ครั้ง อันนี้เป็นการสอบที่เก็บคะแนนจริง ข้อสอบเป็น Choice ไม่ได้ยากอะไรมาก ถ้าได้ฝึกทำตัวอย่างข้อสอบเก่า แต่ข้อสอบเก่าๆ นี่ก็ยากอยู่ ผมต้องใช้เวลาเตรียมสอบแต่ละครั้ง นานอยู่ครับ อาจารย์เค้าจะมี Review ข้อสอบเก่า และมีตัวอย่างข้อสอบเก่า และคำตอบให้ทดลองทำ ผมคิดว่าการฝึกทำเยอะๆ จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาขึ้นอีกเยอะมากเลยครับ
จริงๆ แล้ว แค่สอบ Quiz กับ Final เฉยๆ ไม่ต้องส่ง Final Project ก็เรียนจบได้แล้วครับ เพราะ เค้าต้องการคะแนนแค่ 55 คะแนนในการเรียนให้จบ แต่คะแนนทั้งหมดที่ได้จากการสอบมี 60 คะแนน อย่างไรก็ตามหากคุณมาเรียนแล้ว เพราะ คุณเป็นนักลงทุน Final Project กับการได้ Feedback จาก Valuation คุณทำควรที่จะเป็นสิ่งที่คุณได้มันกลับไป หลังจาส่ง Final Project เสร็จมันจะมีมาแต่คะแนน ไม่มี Feedback อะไรอีก เพราะ คนเรียนกับอาจารย์มีเป็นเกือบพัน อาจารย์คงจะให้ Feedback ไม่ไหว
ดังนั้นกลยุทธ์ของคุณ คือ คุณต้องฉวยโอกาสที่อาจารย์ให้คุณส่ง DCF Model ไปให้อาจารย์ดูทาง e-mail และถามคำถามเพิ่มเติมตอน Zoom Session สุดท้าย
เรียนจบแล้วได้อะไร
โดยส่วนตัวผมไม่ได้เรียนจบทางการเงินที่มหาวิทยาลัยแบบดีๆ เนื้อหาแน่นๆ มาก่อน (ผมมีไปจบป.ตรี Finance ที่ราม มาใบหนึ่ง แต่เนื้อหาอ่วนยวบมาก) พอได้มาเรียนแล้วรู้เลยว่าเมื่อก่อนที่เราทำ Valuation เราเอาตัวเลขมาใส่แบบมั่วๆ มโนๆ โชคดีที่สมัยก่อนหุ้นที่ซื้อราคาไม่แพง ตลาดอยู่ในช่วงจังหวะที่เหมาะสม เลยรอดมาได้ แต่ถ้ามาเจอตลาดหุ้นแพงๆ แบบช่วงนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การมั่ว การมโน แบบในอดีตจะทำให้ผมรอดตายได้ไหม หากฟองสบู่รอบนี้แตก
พอได้มาเรียนแล้วก็เข้าใจความสอดคล้องเชื่อมโยงของตัวเลขแต่ละตัวมากขึ้นเยอะเลยครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะใส่ Growth เข้าไป เราจะหามาจากไหน เราจะตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างไร ที่มาของ Growth ที่เรารู้มาโดยหลักการมันสอดคล้องกับตัวเลขไหม บริษัทอื่นเค้าเป็นอย่างไร ในทางสถิติแล้วตัวเลขที่เราใส่เข้าไปมันเวอร์ไปไหม และผลกระทบของมันไปเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง พฤติกรรมของการเติบโตจากการศึกษาในอดีตมันเป็นอย่างไร
หลังจากที่เรารู้เข้าใจพื้นฐานแบบลึกซึ้ง และรู้ว่าจะดึงจะหาตัวเลขมาอย่างไร (ซึ่งมันก็อาจจะเป็นปัญหาตามมา ที่จะทำให้คุณเสียเงินให้กับ Data Provider อย่าง Capital IQ, FactSet หรือ Refinitiv เพื่อที่จะได้ข้อมูลพวกนี้มาใช้) มันทำให้การทำ Valuation ของผมเดี๋ยวนี้เร็วขึ้นเยอะ และกล้าที่จะลองทำ Valuation ของกิจการต่างๆ มากขึ้น เพราะ อาจารย์สอนวิธีการ Valuation ของกิจการหลากหลายประเภท หลากหลายวิธีการ และสอนให้เข้าใจในความเป็นไปต่างๆ มากขึ้น
นอกจากนี้ผมได้ฝึกทำ Monte Carlo Simulation ตามเป้าหมายของการมาเรียนและได้เอามาใช้จริงด้วยครับ ทุกวันนี้กิจการที่ผมลงทุน มิติในการมอง Valuation ของผมเปลี่ยนไปมาก เพราะ การทำ Simulation ผมสามารถประเมินถึงความน่าจะเป็นที่ผมจะขาดทุนว่ามีมากน้อยเท่าไหร่ และถ้าผมจะกำไร ผมจะได้กำไรเท่าไร ภายใต้ความน่าจะเป็นขนาดไหน
ผลของการทำ Simulation มีอิทธิพลต่อการจัดพอร์ต ปรับพอร์ต เป็นอย่างมาก บางกิจการช่วงของมูลค่าแคบ เพราะ กิจการเจอตลาด เจอลูกค้า มีความแข็งแรง และอยู่ตัวแล้ว ซึ่งเราก็สามารถเห็นได้จาก Standard Deviation จากการทำ Simulation ในขณะที่บางกิจการอยู่ในช่วงตั้งไข่ เราจะเห็นโอกาสความเป็นไปได้ที่มีมิติหลากหลายมากขึ้นเยอะ ส่งผลให้เราไม่ได้รู้แค่ว่าหุ้นมันถูกหรือแพง แต่รู้ถึงความน่าจะเป็นของ Upside และ Downside ที่เป็นไปได้ ส่งผลให้เรามีความรู้ชัดถึงความไม่แน่นอน และรู้ว่าจะวางแผนในการ Take Action อย่างไร
ข้อดีอย่างหนึ่งของการเรียน NYU คือ เราสามารถใช้สิทธิของนักเรียน NYU ในการซื้อ License Oracle Crystal Ball ราคา Faculty ซึ่งจะถูกกว่าราคาปกติพอสมควร ในการเอามาใช้ทำ Monte Carlo Simulation อีกทั้งสิทธิของการเป็นนักเรียน NYU จะทำให้เราได้ Access ไปในห้องสมุด และ Resource ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมันมีอะไรให้อ่าน ให้ศึกษาเยอะเกินกว่าที่จะบอกได้หมด
ฐานข้อมูลอันหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับ Stock Investor คือ สิทธิในการเข้าถึง Research Paper ผ่านทาง Thomson One ซึ่งผมได้มีโอกาสอ่าน Paper ของ Analyst หลายๆ สำนักผ่านทางช่องทางนี้ หรือถ้ามาสาย VC หรือคนที่เล่นหุ้น IPO หรือวิเคราะห์พวก SPAC คุณก็สามารถเข้าไปเจาะดูข้อมูลบริษัท Start-Up หรือ Private Company ได้ผ่านทาง Pitchbook หรือ CB Insight ได้ พวกนี้เราสามารถใช้อีเมล์ของนักศึกษาเข้าไปสมัครแล้วใช้ดูได้
หลังจากที่เรียนจบ ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปเวลาอ่าน Research Paper ของนักวิเคราะห์ คือ ผมรู้สึกว่านักวิเคราะห์แม้ว่าจะเป็นสถาบันการเงินใหญ่ๆ ระดับโลก ทำ Valuation กันได้มั่วมากเลย (อาจจะเหมือนกับที่นักลงทุนบางคนรู้สึกกับบทวิเคราะห์ไทย) สมัยก่อนตอน Valuation หุ้นเทคที่ขาดทุนไม่เป็น ผมพยายามหา Paper มาอ่าน แล้วก็ดูเค้าทำ Valuation ดูแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ว่าทำไมถึงได้ราคาเป้าหมายแบบนี้ มาถึงทุกวันนี้ ผมได้ข้อสรุปชัดเจนเลยครับ ว่าแต่ละคน “มั่ว” กันมาก ผมหาคนที่ Valuation แบบมีหลักการน่าเชื่อถือไม่ค่อยเจอ ราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์พวกนี้มี Bias และมีเหตุผลที่จะปรับเป้าตาม Movement ของตลาด คือ ถ้าจะอ่านก็อ่านส่วนพัฒนาการของกิจการ แล้วก็ใช้แค่ตัวเลข Financial Projection ในระยะสั้น มาใส่ในโมเดลเราพอครับ ในส่วน Valuation อย่าไปเชื่อสิ่งที่นักวิเคราะห์เขียนเลยครับ เค้าพร้อมที่จะเปลี่ยนตลอด ถ้าหุ้นขึ้นหรือหุ้นลง
ในกรณีที่ไม่ชอบ ไม่เชื่อใน Intrinsic Valuation ควรที่จะเรียนไหม?
ผมว่าไม่ต้องเรียนครับ ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่ได้ไปทาง Intrinsic Valuation แต่คุณอาจจะได้ประโยชน์กับการเรียนฟรีในส่วน Relative Valuation ครับ
ผมคิดว่าแนวความคิดเรื่อง Relative Valuation ของอาจารย์ มันน่าเชื่อถือมากกว่าสิ่งที่นักวิเคราะห์ปัจจุบันเค้าใช้กันนะครับ ผมคิดว่าการเอาข้อมูลตัวเลขของบริษัทที่เป็น Peer Comp หรือในอุตสาหกรรม มา Control Fundamental Driver แล้วเอามาทำ Regression Analysis แบบวิธีการของอาจารย์ มันดูแล้วมีหลักการมีจุดยึดมากกว่า วิธีการทั่วๆ ไปที่นักลงทุนใช้กัน
ตัวอย่างเช่น ผมอาจจะหาหุ้นที่ Misprice จาก EV/S ที่ต่ำเกินไป แล้ว Control ในส่วน Growth และ Operating Margin จากนั้นก็ใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการหาจุดซื้อขายแทน ประกอบกับใช้ Money Management ในการคุมความเสี่ยง
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ไม่ต้องเรียนก็ทำได้ อ่านนิดๆ หน่อยๆ ก็พอครับ
หลักสูตร Advanced Valuation ของ อ. Aswath Damodaran
ผมขอท้าวความเล็กน้อยว่าที่ผมไปเรียนหลักสูตรนี้ เพราะ ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขึ้น ผมมีความจำเป็นที่ต้องไปลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนด้วยเหตุผลบางประการ ผมติดปัญหาในการลงทุนหุ้นประเภทนี้ เพราะ ผมทำ Valuation หุ้นพวกนี้ไม่เป็น
ด้วยความที่โดยปรัชญาการลงทุนที่ผมเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมจึงจำเป็นต้องหาทางในการ Valuation หุ้นพวกนี้อย่างถูกต้อง และเท่าที่ลองดูวิธีการที่มีอยู่ในโลกแล้ว ผมรู้สึกว่าวิธีการของอาจารย์ Aswath Damodaran เป็นวิธีการที่สมเหตุสมผลที่สุดในมุมมองของผม
จริงๆ แล้วอาจารย์ Aswath เค้ามีสอนฟรีให้ดูใน YouTube อยู่แล้ว ผมไล่ฟังไปดูไป แล้วได้ข้อสรุปว่า หุ้นเทคฯ พวกนี้ Range ของ Value มันกว้างมาก ผมควรที่จะทำ Monte Carlo Simulation ถึงจะเห็นภาพของโอกาสและความเสี่ยงได้ดีขึ้น ซึ่งผมก็พอจะเข้าใจ Concept ของการทำ Monte Carlo Simulation แต่ก็ไม่เคยทำจริงๆ สักที อีกทั้งผมรู้สึกว่าหลักคิด และวิชาการอะไรของอาจารย์อะไรหลายๆ อย่างที่อยู่เบื้องหลังตัวเลขที่จะดึงมาใส่ในสมมติฐาน มันมีที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลมากๆ ซึ่งผมอยากจะเรียนรู้มากกว่านี้ ผมคิดว่าการที่ผมจะเรียนฟรี ผ่าน youTube มันทำให้ระดับของความตั้งใจของผมมันน้อยเกินกว่าที่จะซึบซับองค์ความรู้จากอาจารย์ ผมเลยตัดสินใจที่จะลงเรียน Online และทุ่มเทเวลาให้กับอาจารย์ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา
หลักสูตร Advanced Valuation เป็นหลักสูตร Online ของทาง NYU ซึ่งจะมีเปิดทั้งหมดปีละ 2 ครั้ง ในช่วง Spring กับ Fall ช่วงที่ผมสนใจจะเรียนตอนนั้นคือเดือนพฤศจิกายน 2020 หากสมัครภายในเดือนธันวาคมจะมีส่วนลด Early Bird 12% เหมืออย่างในช่วงนี้ที่มีราคา Early Bird ไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม
ผมโชคดีที่ได้เรียนในช่วง Spring 2021 ซึ่งผมคิดว่าการเรียนในช่วง Spring น่าจะดีกว่าเรียนช่วง Fall เพราะ การเรียนการสอนในช่วง Spring มันจะไปตรงกับหลักสูตรหลักของทาง NYU ตัวเต็ม ที่นักเรียน ป.ตรี กับ ป.โท เค้าเรียนกันพอดี ยิ่งในปีนี้ COVID ทำให้การเรียนการสอน Logistic ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะเกิดขึ้น Online แทนที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การสื่อสาร ทางจดหมาย การบ้าน ทั้งหมดมีการ Update ขึ้นเว็บ ให้ผมสามารถเรียนได้ ข้อสอบในห้องเรียนปีนี้แทนที่จะเป็นข้อสอบเขียน ก็ทำเป็นข้อสอบ Choice เหมือนกับหลักสูตร Online เลย อีกทั้งหากมีข้อสงสัยอะไร ทุกๆ 2 สัปดาห์ อาจารย์ก็จะมีจัด Zoom Session ให้เราเข้าไปถามกับอาจารย์ได้ (เทียบกับหลักสูตรปกติที่เข้าไปเจอได้ทุกสัปดาห์ แต่ต้องแบ่งเวลากัน 3 Class ผมเลยมีโอกาสได้ถามคำถามกับอาจารย์เยอะมาก) ผมเลยรู้สึกว่า Advanced Valuation ของปีนี้ดูเหมือนว่าราคาจะ Under Value มากๆ โดยผมจะใช้เน้นเรียนจาก YouTube ของหลักสูตรปกติไปเป็นหลัก และใช้เนื้อหาของ Online ที่สั้นกว่าเป็นตัวเสริม แต่ไปเน้นอ่าน Assign Reading ต่างๆ ที่อาจารย์ให้มา เพื่อเสริม เติมเนื้อหาที่ได้เรียนมา
เป้าหมายของหลักสูตรนี้ คือ ทุกคนจะต้องทำ Final Project ส่งอาจารย์ ซึ่งเราจะทำการเลือกหุ้น แล้วทำ Valuation Report ส่งหลังจากสอบ Final เสร็จ และระหว่างที่เราเรียนไปแต่ละคลาส เราจะค่อยๆ เติมเต็มข้อมูล และตัวเลขเข้าไปในกิจการที่เราเลือกมา
ผมวางแผนที่จะใช้หุ้นที่สนใจลงทุน ไปใช้ในการวิเคราะห์ และถามตอบกับอาจารย์ เพื่อที่จะทำเป็น Final Project มีหุ้นตัวหนึ่งที่ผมวางแผนที่จะเข้าลงทุนอยู่พอดี และระหว่างการเรียนผมก็จะใช้มันเป็นเคส Study ไปพร้อมๆ กัน
หลักสูตรปกติของชั้น ป.ตรี และ ป.โท อาจารย์จะอนุญาตให้นักเรียนส่ง DCF Model ไปให้อาจารย์ Feedback ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป สำหรับหลักสูตร Online ไม่มีเขียนถึงเรื่องนี้เลย แต่ว่าใน Session Zoom ครั้งก่อนสุดท้ายครั้งหนึ่ง อาจารย์ให้โอกาสนักเรียนในการส่ง DCF ที่เราทำให้อาจารย์ดูว่ามันมีปัญหาอะไรไหม อาจารย์มีความเห็นอะไรไหม แล้วตอบกลับมาทางอีเมล์
ผมดีใจมาก และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี ผมพยายามทำ DCF Model หลังวันศุกร์ตอนที่ตัวเลขต่างๆ มันนิ่งแล้ว และส่งให้กับอาจารย์ในช่วงสุดสัปดาห์ กะว่าอาจารย์ได้ช่วยดูให้สัปดาห์ถัดมา ผมส่งไปช่วงคืนวันอาทิตย์ ปรากฎว่า อาจารย์ตอบกลับมาอย่างรวดเร็ว ส่งอีเมล์ถามตอบกัน 2-3 รอบ และอาจารย์ก็ให้ความเห็นอันทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก (นอกจากนี้ ใน Session Zoom ก่อนๆ หน้าผมก็ได้ไอเดียอะไรหลายๆ อย่างจากอาจารย์เพื่อเอาไปใช้ในการทำ Final Project ซึ่งมันเป็นประโยชน์มากๆ เลยครับ)
ใน Zoom Session ถัดมา ดูเหมือนว่าจะไม่ใครส่ง DCF Model ไปให้อาจารย์เลยสักคน ผมเลยเป็นคนเดียวที่ได้ความเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ ซึ่งเป็นความเห็นที่ทรงคุณค่า ทำให้ผมมั่นใจว่าผมมาถูกทางแล้ว และสามารถเอามันไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
ดังนั้น Zoom Session ในมุมมองของผมจึงเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ ซึ่งถ้าหากเพื่อนๆ ตัดสินใจเรียน ผมอยากจะให้เพื่อนๆ เตรียมตัว เตรียมคำถามเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะถามอาจารย์ คุณค่าของคำตอบอาจารย์ที่มีประสบการณ์มากขนาดนี้ ช่างหาค่าไม่ได้เลยจริงๆ
ตัวอย่างความเห็นที่ไม่อยากจะเชื่อว่าจะได้ยินจากคนที่หุ้นถึง 53 ตัวแบบอาจารย์ เช่น อาจารย์แนะนำว่า ถ้าหุ้นที่คุณถือมัน Undervalue มากๆ แถมมี Option to Expand เยอะๆ แล้วถ้าคุณมั่นใจว่าคุณคิดถูก คุณอยากจะถือเท่าไร คุณก็ถือไปเถอะ ตราบเท่าที่คุณนอนหลับได้อย่างสบายใจ คุณจะซื้อไป 30-40% ของพอร์ตเลยก็ได้ ถ้าคุณถือมันได้อย่างสบายใจ
หรืออีกความเห็นหนึ่ง เช่น ถ้าคุณลงทุนในหุ้น 10 เด้ง คุณไม่ต้องไปเสียเวลาทำ Monte Carlo Simulation หรอก Simulation เอาไว้ใช้กับพวกกิจการที่คุณไม่แน่ใจใน Upside และ Downside ทำแล้วมันถึงจะได้ประโยชน์ เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ใน Zoom Session เท่านั้น ซึ่งผมก็ไม่คิดว่าอาจารย์จะไปพูดเรื่องหุ้น 10 เด้ง หรือ ให้ถือหุ้นแบบตีแตกในโอกาสอื่นๆ
Final project คือ Crown Jewel ของหลักสูตรครับ ผมคิดว่า หากคุณมีหุ้นอะไรบางอย่างที่ต้องการศึกษาอย่างลึกซึ้งว่า เราจะ Valuation มันอย่างไร Fundamental ของตัวเลขต่างๆ มันมาจากไหน เราจะเอาตัวเลขของบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรม มาวิเคราะห์หา Base Rate อย่างไร ขนาดตลาดควรเป็นเท่าไร เพื่อทำให้ตัวเลข Growth, Profit Margin, Reinvestment ตลอดจนความเสี่ยงของการลงทุน ที่เราใส่เข้าไปในโมเดลของเรามันสมเหตุสมผล ไม่ได้มาแบบเลื่อนลอย หรือลอกคนอื่นเค้ามา เหล่านี้คือ สิ่งที่ผมได้จากการเรียนในหลักสูตรนี้
วิธีการเรียน เนื้อหา และระดับความหนักหน่วง
ในการเรียนคุณควรมีพื้นฐาน Accounting, Finance และสถิติ ขั้นพื้นฐานมาเสียก่อน ซึ่งตรงนี้อาจารย์เค้าทำหลักสูตรกระชับๆ ให้เรียนฟรีในส่วนของ Accounting และ Finance ซึ่งถ้าจะให้ดีจริงๆ อาจารย์บอกว่าควรที่จะเรียน Corporate Finance ของอาจารย์มาก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจพื้นฐานวิธีคิดของกิจการ ว่าในเชิงการดำเนินงานแล้วบริษัทเค้าคิดกันอย่างไร ซึ่งอาจารย์บอกว่า Corporate Fiance นี่ถือว่าเป็นคลาสลูกรักของอาจารย์เลยทีเดียว
โดยส่วนตัว ผมเลือกที่จะฟัง Corporate Finance หลักสูตรสั้นทาง YouTube แบบผ่านหูแบบเร็วๆ มาก่อนเรียน Valuation ซึ่งผมก็ตั้งใจว่า ไว้เรียนจบแล้ว จะกลับมาเรียนหลักสูตร Corporate Finance ตัวเต็มจาก YouTube อีกที
ในการเรียนจริงจะมีเนื้อหา Video สั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับใน YouTube นะครับ อันนี้จะเป็น Version ใหม่ ที่ถูกถ่ายทำ และเรียบเรียงใหม่ตอนปี 2016 ซึ่งรู้สึกว่าจะทำได้ดีขึ้น กว่าที่มีให้เรียนฟรีใน YouTube วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาก็จะไม่เหมือนกับหลักสูตรเดิม หรือหลักสูตรตัวเต็มครับ
สัปดาห์หนึ่งอาจารย์จะให้เนื้อหามาเรียน 2 Class ซึ่งเราจะเรียนตอนไหนก็ได้ เรียนเสร็จก็จะมี Quiz สั้นๆ แบบเป็น Choice ให้ทำ หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะจัด Paper ที่เป็น Require Reading มาให้อ่าน ซึ่งผมคิดว่า “โหด” พอสมควร
Paper ที่อาจารย์ Assign มาให้อ่านโดยเฉลี่ยแล้ว ยาวประมาณ 50 หน้า บางอันอาจจะยาวเป็นร้อยหน้า หรือบางทีอาจารย์ก็ให้ Paper มาสองอันใน 1 คลาส น้ำหนักของ Paper ที่ให้มาจะโดนหนักๆ แน่นๆ ในช่วงต้นของหลักสูตร ในช่วงหลังๆ อาจจะเบาลง แต่ก็ยังมี โดยผมแนะนำว่า บางที Paper ที่อาจารย์ให้มาอาจจะมี Version ที่ Update กว่าที่ให้ Download ในหลักสูตร ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มลงมืออ่าน ลอง Search ชื่อ Paper นั้นๆ อีกสักที เผื่อจะได้อ่าน Version ที่มัน Update นิดนึง
หลังจากที่อ่าน Paper จบ ซึ่งแต่ละอันก็ใช้เวลานานอยู่ ก็จะมี Quiz ให้ทำ ซึ่ง Quiz อันนี้จะเป็นข้อสอบเขียน ถ้าทำไหวก็ควรทำ เพราะ จะช่วยให้องค์ความรู้เราแน่นขึ้น แต่ถ้าทำไม่ไหว จะข้ามก็ไม่มีผลอะไรการกับเรียนจบครับ ไม่มีการให้คะแนนอะไรกับ Quiz ในส่วนนี้
เอาจริงๆ คือ Paper พวกนี้เนื้อหาบางทีพาเราไปถึงสวรรค์ไปเลยก็มี ถ้าเราไม่ได้อยากจะไปรู้อะไรมากขนาดนั้น ผมแนะนำว่า ฟัง YouTube ของหลักสูตรปกติ หรืออ่านหนังสือเรียนประกอบหลักสูตร อาจจะง่ายกว่า และก็น่าจะเพียงพอ แต่ผมเป็นสายแข็งครับ ผมเอาจริงเอาจังมาก ผมทุ่มเทจัดสรรเวลาให้กับอาจารย์เต็มที่อยู่แล้ว เลยพยายามอ่านเท่าที่อ่านได้ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง อย่างน้อยก็ผ่านตา แต่ถึงขนาดนี้ ผมก็ยังรู้สึกว่ามันมากเกินไป บางทีขยาด และอยากอ้วกเลยทีเดียว
หลังจากส่วน Require Reading แล้วก็จะมีส่วน Optional Reading, Web Cast ตลอดจนไฟล์ Excel ต่างๆ ที่อาจารย์มีเอาไว้ให้เราโหลดไปใช้และทดลองทำ ในส่วน Optional Reading จะเป็น Blog ของอาจารย์จาก Case จริงๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนไป บางอันก็จะมี YouTube ให้ดูด้วย ซึ่งผมว่ามันมีประโยชน์มากๆ เลยครับกับการได้อ่านในส่วนนี้
ส่วน Web Cast นี่อาจารย์เค้าจะทำการดึงตัวเลข คำนวณตัวเลข จากโลกแห่งความเป็นจริงให้เราดูจริงๆ ว่าเวลาทำจริงๆ แล้ว เราทำกันอย่างไร และก็จะมี Excel ไฟล์ที่เกี่ยวข้องให้เราเอาไปใช้ได้ด้วย
ก่อนจะจบคลาสแต่ละอัน ก็จะเป็น Assignment ว่า ให้เอาสิ่งที่เรียนมาไปใช้กับ หุ้นที่เราเลือกที่จะทำเป็น Final Project
โดยสรุปแล้ว เนื้อหาคลาสหนึ่งๆ ใช้เวลาเรียนน่าจะมี 10 ชั่วโมงได้ เรียนหนักจริงๆ ครับ เมื่อเทียบกับ platform revolution ที่ผมเรียนของ EMERITUS ไปก่อนหน้านี้ ความหนักนี่ต่างกันหลายเท่าตัวเลยครับ
หลังจากเรียนๆ ไปทุกๆ 2 สัปดาห์ก็จะมี Zoom ที่อาจารย์จะสรุปเนื้อหา และให้เข้ามาถาม/ตอบ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมแค่ได้เข้า Zoom ไปถามคำถามอาจารย์แค่ 2 ครั้ง ผมก็คุ้มค่าเรียนแล้วครับ
ทุกๆ 3-4 สัปดาห์ก็จะมี Quiz ทีนึง รวมแล้วมี Quiz 3 ครั้ง กับสอบ Final 1 ครั้ง อันนี้เป็นการสอบที่เก็บคะแนนจริง ข้อสอบเป็น Choice ไม่ได้ยากอะไรมาก ถ้าได้ฝึกทำตัวอย่างข้อสอบเก่า แต่ข้อสอบเก่าๆ นี่ก็ยากอยู่ ผมต้องใช้เวลาเตรียมสอบแต่ละครั้ง นานอยู่ครับ อาจารย์เค้าจะมี Review ข้อสอบเก่า และมีตัวอย่างข้อสอบเก่า และคำตอบให้ทดลองทำ ผมคิดว่าการฝึกทำเยอะๆ จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาขึ้นอีกเยอะมากเลยครับ
จริงๆ แล้ว แค่สอบ Quiz กับ Final เฉยๆ ไม่ต้องส่ง Final Project ก็เรียนจบได้แล้วครับ เพราะ เค้าต้องการคะแนนแค่ 55 คะแนนในการเรียนให้จบ แต่คะแนนทั้งหมดที่ได้จากการสอบมี 60 คะแนน อย่างไรก็ตามหากคุณมาเรียนแล้ว เพราะ คุณเป็นนักลงทุน Final Project กับการได้ Feedback จาก Valuation คุณทำควรที่จะเป็นสิ่งที่คุณได้มันกลับไป หลังจาส่ง Final Project เสร็จมันจะมีมาแต่คะแนน ไม่มี Feedback อะไรอีก เพราะ คนเรียนกับอาจารย์มีเป็นเกือบพัน อาจารย์คงจะให้ Feedback ไม่ไหว
ดังนั้นกลยุทธ์ของคุณ คือ คุณต้องฉวยโอกาสที่อาจารย์ให้คุณส่ง DCF Model ไปให้อาจารย์ดูทาง e-mail และถามคำถามเพิ่มเติมตอน Zoom Session สุดท้าย
เรียนจบแล้วได้อะไร
โดยส่วนตัวผมไม่ได้เรียนจบทางการเงินที่มหาวิทยาลัยแบบดีๆ เนื้อหาแน่นๆ มาก่อน (ผมมีไปจบป.ตรี Finance ที่ราม มาใบหนึ่ง แต่เนื้อหาอ่วนยวบมาก) พอได้มาเรียนแล้วรู้เลยว่าเมื่อก่อนที่เราทำ Valuation เราเอาตัวเลขมาใส่แบบมั่วๆ มโนๆ โชคดีที่สมัยก่อนหุ้นที่ซื้อราคาไม่แพง ตลาดอยู่ในช่วงจังหวะที่เหมาะสม เลยรอดมาได้ แต่ถ้ามาเจอตลาดหุ้นแพงๆ แบบช่วงนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การมั่ว การมโน แบบในอดีตจะทำให้ผมรอดตายได้ไหม หากฟองสบู่รอบนี้แตก
พอได้มาเรียนแล้วก็เข้าใจความสอดคล้องเชื่อมโยงของตัวเลขแต่ละตัวมากขึ้นเยอะเลยครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะใส่ Growth เข้าไป เราจะหามาจากไหน เราจะตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างไร ที่มาของ Growth ที่เรารู้มาโดยหลักการมันสอดคล้องกับตัวเลขไหม บริษัทอื่นเค้าเป็นอย่างไร ในทางสถิติแล้วตัวเลขที่เราใส่เข้าไปมันเวอร์ไปไหม และผลกระทบของมันไปเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง พฤติกรรมของการเติบโตจากการศึกษาในอดีตมันเป็นอย่างไร
หลังจากที่เรารู้เข้าใจพื้นฐานแบบลึกซึ้ง และรู้ว่าจะดึงจะหาตัวเลขมาอย่างไร (ซึ่งมันก็อาจจะเป็นปัญหาตามมา ที่จะทำให้คุณเสียเงินให้กับ Data Provider อย่าง Capital IQ, FactSet หรือ Refinitiv เพื่อที่จะได้ข้อมูลพวกนี้มาใช้) มันทำให้การทำ Valuation ของผมเดี๋ยวนี้เร็วขึ้นเยอะ และกล้าที่จะลองทำ Valuation ของกิจการต่างๆ มากขึ้น เพราะ อาจารย์สอนวิธีการ Valuation ของกิจการหลากหลายประเภท หลากหลายวิธีการ และสอนให้เข้าใจในความเป็นไปต่างๆ มากขึ้น
นอกจากนี้ผมได้ฝึกทำ Monte Carlo Simulation ตามเป้าหมายของการมาเรียนและได้เอามาใช้จริงด้วยครับ ทุกวันนี้กิจการที่ผมลงทุน มิติในการมอง Valuation ของผมเปลี่ยนไปมาก เพราะ การทำ Simulation ผมสามารถประเมินถึงความน่าจะเป็นที่ผมจะขาดทุนว่ามีมากน้อยเท่าไหร่ และถ้าผมจะกำไร ผมจะได้กำไรเท่าไร ภายใต้ความน่าจะเป็นขนาดไหน
ผลของการทำ Simulation มีอิทธิพลต่อการจัดพอร์ต ปรับพอร์ต เป็นอย่างมาก บางกิจการช่วงของมูลค่าแคบ เพราะ กิจการเจอตลาด เจอลูกค้า มีความแข็งแรง และอยู่ตัวแล้ว ซึ่งเราก็สามารถเห็นได้จาก Standard Deviation จากการทำ Simulation ในขณะที่บางกิจการอยู่ในช่วงตั้งไข่ เราจะเห็นโอกาสความเป็นไปได้ที่มีมิติหลากหลายมากขึ้นเยอะ ส่งผลให้เราไม่ได้รู้แค่ว่าหุ้นมันถูกหรือแพง แต่รู้ถึงความน่าจะเป็นของ Upside และ Downside ที่เป็นไปได้ ส่งผลให้เรามีความรู้ชัดถึงความไม่แน่นอน และรู้ว่าจะวางแผนในการ Take Action อย่างไร
ข้อดีอย่างหนึ่งของการเรียน NYU คือ เราสามารถใช้สิทธิของนักเรียน NYU ในการซื้อ License Oracle Crystal Ball ราคา Faculty ซึ่งจะถูกกว่าราคาปกติพอสมควร ในการเอามาใช้ทำ Monte Carlo Simulation อีกทั้งสิทธิของการเป็นนักเรียน NYU จะทำให้เราได้ Access ไปในห้องสมุด และ Resource ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมันมีอะไรให้อ่าน ให้ศึกษาเยอะเกินกว่าที่จะบอกได้หมด
ฐานข้อมูลอันหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับ Stock Investor คือ สิทธิในการเข้าถึง Research Paper ผ่านทาง Thomson One ซึ่งผมได้มีโอกาสอ่าน Paper ของ Analyst หลายๆ สำนักผ่านทางช่องทางนี้ หรือถ้ามาสาย VC หรือคนที่เล่นหุ้น IPO หรือวิเคราะห์พวก SPAC คุณก็สามารถเข้าไปเจาะดูข้อมูลบริษัท Start-Up หรือ Private Company ได้ผ่านทาง Pitchbook หรือ CB Insight ได้ พวกนี้เราสามารถใช้อีเมล์ของนักศึกษาเข้าไปสมัครแล้วใช้ดูได้
หลังจากที่เรียนจบ ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปเวลาอ่าน Research Paper ของนักวิเคราะห์ คือ ผมรู้สึกว่านักวิเคราะห์แม้ว่าจะเป็นสถาบันการเงินใหญ่ๆ ระดับโลก ทำ Valuation กันได้มั่วมากเลย (อาจจะเหมือนกับที่นักลงทุนบางคนรู้สึกกับบทวิเคราะห์ไทย) สมัยก่อนตอน Valuation หุ้นเทคที่ขาดทุนไม่เป็น ผมพยายามหา Paper มาอ่าน แล้วก็ดูเค้าทำ Valuation ดูแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ว่าทำไมถึงได้ราคาเป้าหมายแบบนี้ มาถึงทุกวันนี้ ผมได้ข้อสรุปชัดเจนเลยครับ ว่าแต่ละคน “มั่ว” กันมาก ผมหาคนที่ Valuation แบบมีหลักการน่าเชื่อถือไม่ค่อยเจอ ราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์พวกนี้มี Bias และมีเหตุผลที่จะปรับเป้าตาม Movement ของตลาด คือ ถ้าจะอ่านก็อ่านส่วนพัฒนาการของกิจการ แล้วก็ใช้แค่ตัวเลข Financial Projection ในระยะสั้น มาใส่ในโมเดลเราพอครับ ในส่วน Valuation อย่าไปเชื่อสิ่งที่นักวิเคราะห์เขียนเลยครับ เค้าพร้อมที่จะเปลี่ยนตลอด ถ้าหุ้นขึ้นหรือหุ้นลง
ในกรณีที่ไม่ชอบ ไม่เชื่อใน Intrinsic Valuation ควรที่จะเรียนไหม?
ผมว่าไม่ต้องเรียนครับ ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่ได้ไปทาง Intrinsic Valuation แต่คุณอาจจะได้ประโยชน์กับการเรียนฟรีในส่วน Relative Valuation ครับ
ผมคิดว่าแนวความคิดเรื่อง Relative Valuation ของอาจารย์ มันน่าเชื่อถือมากกว่าสิ่งที่นักวิเคราะห์ปัจจุบันเค้าใช้กันนะครับ ผมคิดว่าการเอาข้อมูลตัวเลขของบริษัทที่เป็น Peer Comp หรือในอุตสาหกรรม มา Control Fundamental Driver แล้วเอามาทำ Regression Analysis แบบวิธีการของอาจารย์ มันดูแล้วมีหลักการมีจุดยึดมากกว่า วิธีการทั่วๆ ไปที่นักลงทุนใช้กัน
ตัวอย่างเช่น ผมอาจจะหาหุ้นที่ Misprice จาก EV/S ที่ต่ำเกินไป แล้ว Control ในส่วน Growth และ Operating Margin จากนั้นก็ใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการหาจุดซื้อขายแทน ประกอบกับใช้ Money Management ในการคุมความเสี่ยง
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ไม่ต้องเรียนก็ทำได้ อ่านนิดๆ หน่อยๆ ก็พอครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 117
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รีวิวหลักสูตร Advanced Valuation ของอาจารย์ Aswath Damodaran
โพสต์ที่ 3
worksheet นี้ ถูกสร้าง โดย Aswath Damodaran
เมื่อ 17-Nov-2004 17.05 น. ชิ่อ feff3st.xls เป็นการวิเคราะห์ แบบ Three Stage Analysis
ผมใช้มาเป็นต้นแบบในการศึกษา การควบรวมระหว่าง BECL กับ BMCL (BEM)
แต่ผมหาต้นฉบับ อันนี้ไม่พบแล้ว แต่ยืนยันว่า ช่วยประกอบการตัดสินใจได้ดีมากครับ
เมื่อ 17-Nov-2004 17.05 น. ชิ่อ feff3st.xls เป็นการวิเคราะห์ แบบ Three Stage Analysis
ผมใช้มาเป็นต้นแบบในการศึกษา การควบรวมระหว่าง BECL กับ BMCL (BEM)
แต่ผมหาต้นฉบับ อันนี้ไม่พบแล้ว แต่ยืนยันว่า ช่วยประกอบการตัดสินใจได้ดีมากครับ
อายุใกล้ 70 , ถ้าผิดพลาด ก็ ขออภัย ครับ
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 117
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รีวิวหลักสูตร Advanced Valuation ของอาจารย์ Aswath Damodaran
โพสต์ที่ 4
ปัจจุบัน ยัง Search พบ worksheet นี้ ที่
http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/pc/
ขอแก้ไข ชื่อ worksheet ครับ ที่ถูกเป็น fcff3st.xls ครับ
http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/pc/
ขอแก้ไข ชื่อ worksheet ครับ ที่ถูกเป็น fcff3st.xls ครับ
อายุใกล้ 70 , ถ้าผิดพลาด ก็ ขออภัย ครับ
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 117
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รีวิวหลักสูตร Advanced Valuation ของอาจารย์ Aswath Damodaran
โพสต์ที่ 5
ผมเคยศึกษา การทำ Valuation ของ อาจารย์ Aswath Damodaran แต่จำชื่อ worksheet ไม่ได้แล้ว
ท่านอาจารย์ แบ่ง การศึกษา ออกเป็น 3 Phase ถ้าจำไม่ผิดคือ Growth-Stable-Decline
ผมคิดว่า น่าจะเอามาใช้กับการประเมินมูลค่า บริษัท Technology ที่ขาดทุนได้ แต่ปรับเป็น
Loss-Growth-Stable และ เมื่อเราปรับตัวแปรต่างๆ จะทำให้เราเห็นภาพว่า อัตราการเติบโตจะต้อง
เป็นเท่าใดจึงจะชดเชยการขาดทุนได้ และ ภาพกว้างๆในการกำหนดขอบเขตของมูลค่าครับ
การทำแบบจำลองอาจช่วยให้เราวางขอบเขต ความเสี่ยงและกำหนดจุดตัดสินใจล่วงหน้าได้
หากกิจการไม่เติบโตในอัตราที่เราคาดหวังไว้
ท่านอาจารย์ แบ่ง การศึกษา ออกเป็น 3 Phase ถ้าจำไม่ผิดคือ Growth-Stable-Decline
ผมคิดว่า น่าจะเอามาใช้กับการประเมินมูลค่า บริษัท Technology ที่ขาดทุนได้ แต่ปรับเป็น
Loss-Growth-Stable และ เมื่อเราปรับตัวแปรต่างๆ จะทำให้เราเห็นภาพว่า อัตราการเติบโตจะต้อง
เป็นเท่าใดจึงจะชดเชยการขาดทุนได้ และ ภาพกว้างๆในการกำหนดขอบเขตของมูลค่าครับ
การทำแบบจำลองอาจช่วยให้เราวางขอบเขต ความเสี่ยงและกำหนดจุดตัดสินใจล่วงหน้าได้
หากกิจการไม่เติบโตในอัตราที่เราคาดหวังไว้
อายุใกล้ 70 , ถ้าผิดพลาด ก็ ขออภัย ครับ
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน