MoneyTalk
Update หุ้นหลัก กลุ่มโรงพยาบาล
.
.
่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ระลอกสาม ที่เกิดระบาดหนักภายในระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหุ้นไทย ดัชนีปรับตัวผันผวนทั้งในแดนบวก-ลบ ทำให้กระแสตอบรับหุ้นกลุ่ม รพ. ได้รับความสนใจจากนักลงทุน คาดถึงผลรายได้ในการตรวจ + รับการรักษา การเปิดรับจองวัคซีน และเมื่อรัฐฯ ประกาศล็อกดาวน์ต่ออีก 14 วัน หุ้นกลุ่มหลัก กลุ่ม รพ. จะปรับตัวไปในทิศทางใด? ผลการดำเนินงาน Q2/64 และคาดการณ์ผลประกอบการ Q3/64 มารับชมกันเลยค่ะ
.
พบกับแขกรับเชิญ
คุณเกษม พันธ์รัตนมาลา
Head of Research
บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) - CGS CIMB
.
และแขกรับเชิญร่วมวิเคราะห์
คุณภิญญ์พิสิฐ ตั้งธำรงโรจน์ (Pop)
นักลงทุนเชี่ยวชาญ กลุ่มโรงพยาบาล
อาจารย์ไพบูลย์ เกริ่นนำ ว่าให้กำลังใจกับหน้าด่าน ได้แก่ คุณหมอ พยาบาล และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
(ซึ่งตอนนี้ก็มีโอกาสได้รับวัคซีนไฟเซอร์ เป็นบูตเตอร์เรียบร้อยแล้ว)
อาจารย์บอกว่า ยังต้องดำเนินรายการ เพราะขอทำหน้าที่เท่าที่ทำได้ ในการให้ความรู้เรื่องการเงิน
ส่วนเวลาอื่นก็สามารถไปช่วยเหลือสังคมได้
วันนี้ก็เป็นเรื่องการupdateหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล
Q:ปกติ การมีโรคระบาดมา หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจะถูกกระทบ แต่ปีที่ผ่านมา ได้รับผลประโยชน์
บางรพ ราคาหุ้นขึ้นมาเกือบall time high รพ เอกชน รายได้รับมากขึ้น จากการบริการcovid
คุณเกษม มองว่ากลุ่ม รพ โดยรวมเป็นอย่างไร
A:กลุ่มรพ outperform ตลาดไปเยอะ YTD ตลาดหุ้นไทยขึ้นไป6% แต่กลุ่มรพ ขึ้นไปเกือบ 20%
ซึ่งแต่ละรพ ราคาหุ้นขึ้นไม่เท่ากัน ขึ้นกับกลยุทธ์ของแต่ละ รพ ว่าเขาสามารถบริการตรวจ และรักษาCovid
ได้ไหม เช่น รพ เกษมราษฏร์(BCH) และ รพ อื่นบางรพ ที่ราคาขึ้นไปถึง80%ในช่วงที่ผ่านมา
แต่รพ ที่ไม่ได้เน้นตรวจหรือรักษาผู้ป่วยCovidราคาก็แทบไม่ขยับไปไหนเลย
Q: ผลประกอบการ ของรพ ที่รักษาcovid ถือว่าเป็นการขึ้นที่ชั่วคราวไหม
A: มีหลายประเด็นต้องนำมาพิจารณา ขอเริ่มในแต่ละประเด็นก่อน
ปีที่แล้ว ตอนติดcovidรอบแรก BCH activeในการตรวจcovidก็เลยมีรายได้ในส่วนนี้เยอะ
แต่พอ Q3,Q4 ไม่มีผู้ติดเชื้อในบางวัน ราคาหุ้นBCH underperformหุ้นรพ อื่น เพราะคนส่วนใหญ่
คิดว่า ราคาหุ้นของBCHคงพีคไปแล้ว จากรายได้จากการตรวจCovidคงไม่ได้มีรายได้แบบนี้เข้ามาอีก
พอเจอCovid wave 2,3 คนก็ไม่คิดว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้นแล้ว
ต้องมองยาวออกไปอีก รพ ที่ให้บริการcovidก็ได้รายได้เพิ่มขึ้น และ วัคซีนที่สั่งเข้ามาก็จะทำให้
รพ เหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึง จับมือกับโรงแรมต่างๆ จัดตั้งhospitel ทำให้รายได้ใน q2,q3,q4
ยังสามารถเติบโตต่อไปได้อีก
ถ้ามองยาวไปกว่านั้น รพ ได้ผลประโยชน์ต่อได้ อาจได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่คุ้นเคยกับรพ เหล่านี้มากขึ้น
ในมุมมองนักลงทุน ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ สามารถช่วยเหลือสังคมและทำให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น
หลังจากcovid รพ ที่ให้บริการCovidก็สามารถได้รับผลประโยชน์ต่อเนื่อง
Q:น้องPopสอบถามว่า รพ ที่รับรักษาcovid ก็จะได้กลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามา เป็นไปได้ไหมว่า
BCH,CHG (รพ จุฬารัตน์) มีอีกกลุ่มที่ประกันตนกับรพ รัฐ จะย้ายมาที่นี่
A:มีความเป็นไปได้ครับ ผู้ประกันตนช่วงนี้เพิ่มไม่เยอะ แต่รพ เช่น BCH ไม่ได้รับ สปสช
ผู้ป่วยไม่ได้จ่ายเงินให้ แต่ รพ ไปเก็บกับ สปสช
CHG ก็ไปรับคนไข้เฉพาะด้าน เช่น โรคหัวใจ จากรพ รัฐเข้ามารักษาเหมือนกัน
รพ รัฐ ดูแลคนไข้Covid ก็เลยมีโอกาสส่งต่อคนไข้โรคอื่นมารักษาที่ CHG
รพ เอกชนอื่นก็ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ถือเป็น recurring income
คุณเกษม จะศึกษา รพ ในเชิงลึก 5รพ คือ BDMS,BH,BCH,CHG,PR9
Q: น้องPOP เมื่อวันที่3 สค สปสช. ปรับลดงบค่าตรวจโควิด RT-PCR ลง 26-35% เป็น 1,500-1,700 บาทต่อครั้ง และการตรวจด้วย Antigen test kit ลดลง 8-21% เป็น 450-550 บาทต่อครั้ง แต่เพิ่มรายการเบิกจ่ายบางรายการให้ผู้ป่วย ICU เฉลี่ย 34% และเพิ่มรายการเบิกจ่ายสำหรับผู้ป่วยใน และย้อนหลังไปถึงเดือน มีนาคม พี่เกษมมีความเห็นถึงรายได้ที่ลดลงจาก
การตรวจ กับ รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการรักษา สำหรับรพ BCH,CHGอย่างไร
A:ถ้าเราดูราคาหุ้น BCHปรับลดลง5%จากการกลัวค่าตรวจลดลง จาก การตรวจ 2ยีนเหลือ 1,500 และ 3ยีนเหลือ1,700บาท อาจไม่ใช่เรื่องsurprise เพราะปลายปีที่แล้ว เคยปรับลดลงมาเหลือ 2,300บาทมารอบนึงแล้ว
สปสช ก็ดูอยู่ ว่าการตรวจปริมาณเยอะก็มีeconomy of scale รพ มีกำไรมากขึ้น ก็เลยลดราคาลง
และเขามีการปรับเพิ่มขึ้น ในบางรายการเช่น ICU เพื่อดึงดูดรพ เอกชนให้เพิ่มเตียงรักษาผู้ป่วยcovidมากขึ้น
ถือเป็นเรื่องดี ผมคุยกับต่างประเทศ ที่มองว่า รพ รัฐจะรับไม่ไหว และ ระบบสาธารณสุขจะล่มสลายไป
และให้ รพ เอกชน รักษาcovidทำด้วย
การmoveของ สปสช คราวนี้ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ รพ เอกชน เพิ่มเตียงเพื่อรักษาผู้ป่วยcovidมากขึ้น
ถือว่าเป็นเรื่องดี น่าจะชดเชยได้เกือบหมด และ มีผลย้อนหลัง 29มิย
แต่ที่ลดค่าตรวจ มาเริ่มในวันที่ 1สค
แสดงว่าที่ปรับเพิ่มในวันที่ 29,30 มิย ก็ยังไม่มีผลต่องบในQ2
Q: วัคซีนที่ไปฉีดตาม รพ นั้น รพ ได้เยอะหรือเปล่าครับ รวมถึง การฉีดวัคซีนทางเลือกเช่น modernaที่จะเข้ามาในไตรมาสสี่ปีนี้
A: ตามความคิด มีกำไรทั้งไปฉีดวัคซีนของรัฐ และ วัคซีนทางเลือก แต่กำไรของการฉีดวัคซีนทางเลือกจะมากกว่า
เพราะรับมา 1,100 บาท แต่คิด 1,650 บาท มีค่าใช้จ่ายบางอย่างในการฉีด แต่ก็มีกำไรเยอะกว่าฉีดวัคซีนของรัฐ
คุณเกษม จะมาเจาะลึกแต่ละรพ ที่ดูแล เริ่มจาก
1.BCH
เป็นรพ ที่activeสุดในการตรวจรักษา ไตรมาสสองและสาม ทำได้ดีมาก สัดส่วนการตรวจ50%ของรพเอกชนทั้งหมด
ไตรมาสสอง ตรวจไปเกือบ 600,000 เคส และไตรมาสสามตรวจไป 260,000เคสในเดือน กค
คาดการณ์ว่าตรวจไปถึง 900,000-1,000,000เคส ดังนั้น ผลการดำเนินงานไตรมาสอง
กำไรโต80-90% หรือ โตเป็นเท่าตัวเทียบกับไตรมาสหนึ่งปีนี้
ส่วนไตรมาสสองปีที่แล้ว กำไรไม่ดี ก็จะทำให้กำไรกระโดดไป 100กว่า%
2.CHG
Q1 ตรวจไป 20,000เคส และ Q2 ตรวจไป 80,000เคส
จะเห็นว่าตรวจเยอะเพิ่มขึ้น จากการcovidระบาดหนัก
รวมถึงการได้รับสิทธ์การรักษาโรคหัวใจจากรพรัฐ
ไตรมาสสอง ยังได้สัญญาใหม่เข้ามาอีก
รายได้จะเข้ามาเต็มไตรมาส ทำให้รายได้เป็นสองเท่าของไตรมาสสองปีที่แล้ว
3.BDMS
ไตรมาสหนึ่ง ยังไม่ค่อยactiveเท่าไหร่ พอไตรมาสสอง wave2เข้ามา
และแรงขึ้น เลยไม่รอผู้ป่วยต่างชาติ พอกลางไตรมาสสอง ก็เริ่มหันมาเจาะกลุ่มป่วยCovidมากขึ้น
เพิ่มจำนวนเตียง และ ร่วมกับโรงแรมทำhospitel
และเริ่มจับกลุ่มจากHighendมาเป็นMiddleทำให้ต้นทุนการให้บริการสูงกว่า BCH,CHG
การรักษาและเบิกจากสปสช อาจไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก
แต่ก็ไปจับมือกับทหารบก จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ที่ สนามกีฬาธูปเตมีย์
จะช่วยเสริมรายได้ ทำให้กำไรจะใกล้เคียงกับ Q1
แต่ถ้าเทียบกับ Q2 2020 จะเพิ่มมากกว่าเท่าตัว
4.BH
ไม่เน้นตรวจcovid อยากเตรียมเตียงสำหรับผู้ป่วยเขาเอง รวมถึงต่างชาติ
Q2อาจไม่ดีเท่าที่ควร แต่จะดีกว่า Q1หลายสิบ% และดีกว่าQ2 2020ด้วย
จากรายได้ฉีดวัคซีน และได้กลุ่มลูกค้าใหม่
5.รพ พระรามเก้า (PR9)
จับกลุ่มลูกค้า B+ ถึงA-
ต้นทุนสูงกว่า BCH,CHG ทำให้การเบิกค่าใช้จ่ายจาก สปสช อาจไม่คุ้มมากนัก
Q1 ทำได้ค่อนข้างดี มีการผ่าตัดเปลี่ยนไตมากขึ้น แต่Q2รายได้จะน้อยลง
แต่ก็ยังมากกว่าQ2 2020
Q: น้องPop ถามเรื่องเกี่ยวกับHospitel
พี่เกษมทราบแนวโน้มของHospitelของ BCH,CHG,BDMSไหมครับ
A: ตอนนี้มี เตียง 12,500เตียง และมีutilization 85%
ทำให้ รพ เอกชน ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเตียงในรพ แต่ไปจับมือกับ รร เพื่อทำ Hospitel
หมอให้คำปรึกษาผ่าน Telemedicineซึ่งรายได้จะดีกว่าช่วงที่ทำ ASQ ให้คนกักตัว
CHG ก็มีจับมือกับหลายรร เพิ่มเตียง 1,000เตียง
รายได้ส่วนนี้ จะมีต่อเนื่องจากQ2ไปถึงQ4 2021
Covidรอบนี้ อาจจะเลยไปถึงQ4
และยังมีรายได้จากการฉีดวัคซีน Moderna 3.9ล้านโดสในช่วง Q4
และอีกlotในช่วง Q1,Q2 2022 อีกอย่างน้อย 5ล้านโดส
Q: CGS CMIB แนะนำรพ ทั้งห้าแห่งอย่างไรบ้างครับ
A:แนะนำซื้อ BCH,CHG และให้Hold BDMS
อีกสองแห่งให้ลดน้ำหนักลง
เป็นคำแนะนำตลอดครึ่งปีหลัง
ส่วนรพ ขนาดเล็กกลุ่มชานเมือง ช่วงก่อนcovid อาจเสียเปรียบ รพ ขนาดใหญ่
ช่วงcovid รพ ขนาดเล็ก เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ส่วน รพ ขนาดใหญ่ ลูกค้าต่างชาติอาจลดลง เพราะคนไข้รอไม่ได้ ไปรักษาที่อื่น
รวมถึงบางประเทศ เห็นความจำเป็นในการมี รพ เพื่อรักษาคนในประเทศ ซึ่งถือเป็นภาพระยะยาว
ส่วนPaint-up demand อาจมีเกิดขึ้น แต่ก็มีบางส่วนรักษาที่ประเทศตัวเอง
ทำให้ภาพลูกค้าต่างประเทศอาจไม่ดีสำหรับรพ ขนาดใหญ่
ส่วนปริมาณคนไข้ ที่ถูกเลื่อน 10%กว่าอาจกลับมาได้แค่บางส่วน
เพราะอาจโดนผลกระทบจากcovidทำให้เข้า รพ ที่มีราคาถูกลง
อาจารย์ไพบูลย์ สรุปว่ากลุ่มโรงพยาบาลยังเติบโตต่อในช่วงครึ่งปีหลัง 2021
โดยเฉพาะ รพ ที่สามารถตรวจและรักษาCovidได้
ส่วน รพ ขนาดใหญ่ที่รับผู้ป่วยต่างชาติเป็นหลัก อาจเหนื่อยมากขึ้น
อาจารย์บอกว่า เราไม่ได้ดีใจจาก รายได้ที่เพิ่มขึ้นของรพ เหล่านี้
แต่เป็นสิ่งที่ได้รับจากการเข้ามีส่วนร่วมในการตรวจCovidและรักษาผู้ป่วย
เชื่อว่า ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นไม่ได้ดีใจจากคนที่เสียชีวิตครับ
สุดท้ายขอขอบคุณ คุณเกษม อาจารย์ไพบูลย์ และ น้องPOPมากครับที่มาให้ข้อมูลกลุ่มรพ
Page :Seminar Knowledge By Amorn
MoneyTalk update หุ้นหลัก กลุ่มโรงพยาบาล
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: MoneyTalk update หุ้นหลัก กลุ่มโรงพยาบาล
โพสต์ที่ 2
สามารถรับชมที่Youtubeได้ครับ
https://youtu.be/1ZG2JVDda1Y
https://youtu.be/1ZG2JVDda1Y
แนบไฟล์