ACOM
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
ACOM
โพสต์ที่ 1
ACOM : บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
Holding Company ลงทุนในบริษัทย่อยทั้งในและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) อย่างครบวงจรรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ การให้คำปรึกษา การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ และยังมีสถานะเป็นกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center)
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ เทคโนโลยี /เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 40% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO ประกอบด้วย
1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ ไม่เกิน 971,211,369 หุ้น
2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม (เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด) ไม่เกิน 971,211,369 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
1.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
https://www.acommerce.asia
ประเภทธุรกิจ
Holding Company ลงทุนในบริษัทย่อยทั้งในและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) อย่างครบวงจรรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ การให้คำปรึกษา การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ และยังมีสถานะเป็นกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center)
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ เทคโนโลยี /เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 40% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO ประกอบด้วย
1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ ไม่เกิน 971,211,369 หุ้น
2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม (เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด) ไม่เกิน 971,211,369 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
1.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
https://www.acommerce.asia
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 2
"เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป" เตรียมนำหุ้นเข้า SET ระดมทุนขยายธุรกิจ-ซื้อกิจการ
บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET โดยจะเสนอขายหุ้น IPO ทั้งหมดไม่เกิน 1,942.42 ล้านหุ้น โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนมีแผนจะนำไปใช้สำหรับการซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต, ใช้เป็นเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจปกติ ใช้เป็นเงินลงทุนในแพลตฟอร์ม EcommercelQ และเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ รวมถึงใช้สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommercelQ SaaS และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป
บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ได้ยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน1,942.42 ล้านหุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 971.21 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 971.21 ล้านหุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นไม่เกิน 40.0% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ทั้งนี้บริษัท เอคอมิมร์ซ กรุ๊ป ประกอบธุรกิจประเภทกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (“อีคอมเมิร์ซ”) อย่างครบวงจร การให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรของบริษัทฯ รวมถึง การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การดำเนินการร้านค้าแบรนด์ (Brand Store Operations) การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Performance Marketing) คลังสินค้าและบริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) ศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) และการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights)
บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ในห้าประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform)
นายวีระพงษ์ ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในเอกสารเผยแพร่ว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 8 ปี โดยเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี (Tech Company) ที่เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (GMV) ในปี 2563 ให้แก่ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรใน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีบริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform) ของบริษัทฯ ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ’ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือที่ครอบคลุมต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและการจัดเก็บข้อมูล
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ SaaS (Software as a Service) ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ SaaS’ ในปี 2564 ที่ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับการบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเพื่อให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคขั้นปลายและคู่แข่งของตน ทั้งนี้ ณ วันที่ของเอกสารฉบับนี้ ผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS มีคุณสมบัติในการให้การบริการสองรูปแบบ ได้แก่ บริการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาด (Market Insight) และบริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจร (Client Analytics) รวมถึงให้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
บริษัทฯ ได้ให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในบนตลาดซื้อขาย (Marketplaces) และแพลตฟอร์มสื่อสังคม (Social Media Platform) เพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบไร้รอยต่อแก่ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าของลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์มของบริษัทฯ รวมถึงสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์การเติบโต 6 ส่วน เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความเป็นพันธมิตรและการบูรณาการกับแบรนด์ที่มีอยู่ (การขายผลิตภัณฑ์อื่นเพิ่ม (Cross Sell) และการเพิ่มยอดขาย (Upsell)) 2.ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และบริการที่มีอยู่ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 3.ขยายเครือข่ายเเละขอบเขตการให้บริการในพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และขยายเข้าไปยังกลุ่มใหม่ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ 5.การพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ SaaS เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และตลาดใหม่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของบริษัทฯ และ 6.การหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ และส่งเสริมธุรกิจเดิมและ/หรือการขยายธุรกิจเข้าไปในพื้นที่ภูมิศาสตร์หรือตลาดใหม่
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป หรือ ACOM มีจุดแข็งด้านการให้บริการการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปครบวงจร (end-to-end ecommerce) แบบผ่านแพลตฟอร์ม Ecommerce IQ และผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ Ecommerce IQ SaaS อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีความซับซ้อน การบริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่มีเอกลักษณ์โดยมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อและสามารถปรับขยายรองรับการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ ช่วยให้วางกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 5 ประเทศ และด้วยขีดความสามารถของบริษัทฯ ส่งผลให้สามารถเข้าเป็นพันธมิตรระดับภูมิภาคที่สำคัญของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรกับองค์กรระดับโลก
บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET โดยจะเสนอขายหุ้น IPO ทั้งหมดไม่เกิน 1,942.42 ล้านหุ้น โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนมีแผนจะนำไปใช้สำหรับการซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต, ใช้เป็นเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจปกติ ใช้เป็นเงินลงทุนในแพลตฟอร์ม EcommercelQ และเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ รวมถึงใช้สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommercelQ SaaS และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป
บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ได้ยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน1,942.42 ล้านหุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 971.21 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 971.21 ล้านหุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นไม่เกิน 40.0% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ทั้งนี้บริษัท เอคอมิมร์ซ กรุ๊ป ประกอบธุรกิจประเภทกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (“อีคอมเมิร์ซ”) อย่างครบวงจร การให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรของบริษัทฯ รวมถึง การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การดำเนินการร้านค้าแบรนด์ (Brand Store Operations) การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Performance Marketing) คลังสินค้าและบริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) ศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) และการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights)
บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ในห้าประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform)
นายวีระพงษ์ ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในเอกสารเผยแพร่ว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 8 ปี โดยเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี (Tech Company) ที่เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (GMV) ในปี 2563 ให้แก่ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรใน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีบริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform) ของบริษัทฯ ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ’ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือที่ครอบคลุมต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและการจัดเก็บข้อมูล
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ SaaS (Software as a Service) ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ SaaS’ ในปี 2564 ที่ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับการบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเพื่อให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคขั้นปลายและคู่แข่งของตน ทั้งนี้ ณ วันที่ของเอกสารฉบับนี้ ผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS มีคุณสมบัติในการให้การบริการสองรูปแบบ ได้แก่ บริการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาด (Market Insight) และบริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจร (Client Analytics) รวมถึงให้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
บริษัทฯ ได้ให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในบนตลาดซื้อขาย (Marketplaces) และแพลตฟอร์มสื่อสังคม (Social Media Platform) เพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบไร้รอยต่อแก่ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าของลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์มของบริษัทฯ รวมถึงสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์การเติบโต 6 ส่วน เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความเป็นพันธมิตรและการบูรณาการกับแบรนด์ที่มีอยู่ (การขายผลิตภัณฑ์อื่นเพิ่ม (Cross Sell) และการเพิ่มยอดขาย (Upsell)) 2.ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และบริการที่มีอยู่ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 3.ขยายเครือข่ายเเละขอบเขตการให้บริการในพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และขยายเข้าไปยังกลุ่มใหม่ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ 5.การพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ SaaS เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และตลาดใหม่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของบริษัทฯ และ 6.การหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ และส่งเสริมธุรกิจเดิมและ/หรือการขยายธุรกิจเข้าไปในพื้นที่ภูมิศาสตร์หรือตลาดใหม่
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป หรือ ACOM มีจุดแข็งด้านการให้บริการการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปครบวงจร (end-to-end ecommerce) แบบผ่านแพลตฟอร์ม Ecommerce IQ และผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ Ecommerce IQ SaaS อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีความซับซ้อน การบริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่มีเอกลักษณ์โดยมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อและสามารถปรับขยายรองรับการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ ช่วยให้วางกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 5 ประเทศ และด้วยขีดความสามารถของบริษัทฯ ส่งผลให้สามารถเข้าเป็นพันธมิตรระดับภูมิภาคที่สำคัญของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรกับองค์กรระดับโลก
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 3
https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... 92&lang=th
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : -
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) / นาง ดาริน กาญจนะ
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : -
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) / นาง ดาริน กาญจนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 4
เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 1,942.42 ล้านหุ้น เข้า SET ใช้ซื้อกิจการ-ขยายธุรกิจ
ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday December 14, 2021 10:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมารกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัท 971,211,369 หุ้น คิดเป็น 20% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด 971,211,369 หุ้น คิดเป็น 20% รวมทั้งหมดคิดเป็น 40% โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทจะนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในกลุ่มธุรกิจดิจิทัล/อีคอมเมิร์ซ โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อใช้สำหรับการเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ เช่น เวียดนาม และมาเลเซีย รวมทั้งเสนอตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับการให้บริการ และพิจารณารวมกิจการกับธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ในตลาด และเสริมขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทฯ
นอกจากนั้นจะใช้เป็นเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจ, ใช้เป็นเงินลงทุนในแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ เพื่อขยายขอบเขตคุณสมบัติ (Feature) และผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ (Solution) และใช้ลงทุนในระบบอัตโนมัติสำหรับกระบวนการภายในบางอย่าง, ใช้พัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ SaaS และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป เป็น Holding Company ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) อย่างครบวงจร รวมถึง การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การดำเนินการร้านค้าแบรนด์ (Brand Store Operations) การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Performance Marketing) คลังสินค้าและบริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) ศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) และการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights)
บริษัทประกอบกิจการอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย โดยในประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform) ซึ่งมีการใช้งานร่วมกันสำหรับทั้งภูมิภาค
ณ วันที่ 3 ธ.ค.64 ACOM HK ถือหุ้นใน ACOM จำนวน 3,715,845,460 หุ้น คิดเป็น 99.9% ของหุ้นทั้งหมด โดยโครงสร้างการถือหุ้นใน ACOM HK มี DKSH China (Holding) Limited เป็นผู้ถือหุ้นหลัก 21.50% และ Sealine Pte Ltd 21.23%
ผลการดำเนินงานในช่วงปี 61-63 บริษัทมีรายได้รวม 2,988.5 ล้านบาท 4,601.5 ล้านบาท และ 7,292.8 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่มีผลขาดทุน (958.8) ล้านบาท (652.7) ล้านบาท และ (83.1) ล้านบาท
ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 64 (ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ) บริษัทมีรายได้รวม 6,339.7 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 6,763.2 ล้านบาท ขาดทุน (492.6) ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 206.3 ล้านบาท เป็นผลจากเงินกู้ยืมภายในกิจการระหว่างบริษัทกับบริษัทย่อย ซึ่งอยู่ในสกุลเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทอยู่ระหว่างการแปลงเงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินสกุลบาทภายในปลายปี 64 คาดว่าจะทำให้ผลขาดทุนทางบัญชีจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะลดลง
ณ วันที่ 30 ก.ย.64 (ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ) บริษัทมีสินทรัพย์รวม 2,411.8 ล้านบาท หนี้สินรวม 2,250.9 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 160.9 ล้านบาท
ทั้งนี้ นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท คณะกรรมการบริษัทอาจพิจารณาการจ่ายเงินปันผลประจำปี โดยจะต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้และให้รายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป
ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday December 14, 2021 10:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมารกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัท 971,211,369 หุ้น คิดเป็น 20% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด 971,211,369 หุ้น คิดเป็น 20% รวมทั้งหมดคิดเป็น 40% โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทจะนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในกลุ่มธุรกิจดิจิทัล/อีคอมเมิร์ซ โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อใช้สำหรับการเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ เช่น เวียดนาม และมาเลเซีย รวมทั้งเสนอตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับการให้บริการ และพิจารณารวมกิจการกับธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ในตลาด และเสริมขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทฯ
นอกจากนั้นจะใช้เป็นเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจ, ใช้เป็นเงินลงทุนในแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ เพื่อขยายขอบเขตคุณสมบัติ (Feature) และผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ (Solution) และใช้ลงทุนในระบบอัตโนมัติสำหรับกระบวนการภายในบางอย่าง, ใช้พัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ SaaS และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป เป็น Holding Company ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) อย่างครบวงจร รวมถึง การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การดำเนินการร้านค้าแบรนด์ (Brand Store Operations) การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Performance Marketing) คลังสินค้าและบริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) ศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) และการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights)
บริษัทประกอบกิจการอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย โดยในประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform) ซึ่งมีการใช้งานร่วมกันสำหรับทั้งภูมิภาค
ณ วันที่ 3 ธ.ค.64 ACOM HK ถือหุ้นใน ACOM จำนวน 3,715,845,460 หุ้น คิดเป็น 99.9% ของหุ้นทั้งหมด โดยโครงสร้างการถือหุ้นใน ACOM HK มี DKSH China (Holding) Limited เป็นผู้ถือหุ้นหลัก 21.50% และ Sealine Pte Ltd 21.23%
ผลการดำเนินงานในช่วงปี 61-63 บริษัทมีรายได้รวม 2,988.5 ล้านบาท 4,601.5 ล้านบาท และ 7,292.8 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่มีผลขาดทุน (958.8) ล้านบาท (652.7) ล้านบาท และ (83.1) ล้านบาท
ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 64 (ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ) บริษัทมีรายได้รวม 6,339.7 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 6,763.2 ล้านบาท ขาดทุน (492.6) ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 206.3 ล้านบาท เป็นผลจากเงินกู้ยืมภายในกิจการระหว่างบริษัทกับบริษัทย่อย ซึ่งอยู่ในสกุลเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทอยู่ระหว่างการแปลงเงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินสกุลบาทภายในปลายปี 64 คาดว่าจะทำให้ผลขาดทุนทางบัญชีจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะลดลง
ณ วันที่ 30 ก.ย.64 (ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ) บริษัทมีสินทรัพย์รวม 2,411.8 ล้านบาท หนี้สินรวม 2,250.9 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 160.9 ล้านบาท
ทั้งนี้ นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท คณะกรรมการบริษัทอาจพิจารณาการจ่ายเงินปันผลประจำปี โดยจะต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้และให้รายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 5
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ เดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยื่นไฟลิ่งขอเสนอขายหุ้น IPO ชูจุดเด่นเป็น Tech Company ผู้นำด้านการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางกลยุทธ์ขยายการลงทุนสร้างการเติบโตตามการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ก่อตั้ง บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 8 ปี โดยเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี (Tech Company) ที่เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (GMV) ในปี 2563 ให้แก่ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรใน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีบริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรครอบคลุม ตั้งแต่ การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การดำเนินการให้ร้านค้าแบรนด์ (Brand Store Operations) การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Performance Marketing) บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) ศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) และการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights) โดยบริษัทฯ ช่วยให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซและขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ขายตรงของแบรนด์ ("ร้านค้า brand.com") บนร้านค้าอย่างเป็นทางการบนตลาดซื้อขาย (Marketplaces) หลัก และแพลตฟอร์มสื่อสังคม (Social Media Platform) รายใหญ่ เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าแบบไร้รอยต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ยังคงสอดคล้องกับตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์นั้น ๆ
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform) ของบริษัทฯ ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ’ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือที่ครอบคลุมต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและการจัดเก็บข้อมูล
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ SaaS (Software as a Service) ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ SaaS’ ในปี 2564 ที่ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับการบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเพื่อให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคขั้นปลายและคู่แข่งของตน ทั้งนี้ ณ วันที่ของเอกสารฉบับนี้ ผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS มีคุณสมบัติในการให้การบริการสองรูปแบบ ได้แก่ บริการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาด (Market Insight) และบริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจร (Client Analytics) รวมถึงให้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
บริษัทฯ ได้ให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในบนตลาดซื้อขาย (Marketplaces) และแพลตฟอร์มสื่อสังคม (Social Media Platform) เพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบไร้รอยต่อแก่ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าของลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์มของบริษัทฯ รวมถึงสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
“เรามีความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคกับผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมากมายในหลากหลายกลุ่มสินค้า อาทิเช่น สินค้าอุปโภคบริโภค แฟชั่น ความงามและสินค้าหรูหรา และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และครัวเรือน เป็นต้น โดยเเบรนด์ชั้นนำต่างประกอบไปด้วย ยูนิลีเวอร์ (Unilever) 3เอ็ม (3M) นารายา (Naraya) ควิกซิลเวอร์หรือบอร์ดไรเดอร์ส (Quicksilver หรือ Boardriders) เรกคิทท์ (Reckitt) ฯลฯ โดยตามข้อมูลของ Inter Brand ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 14 แบรนด์จากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564 บริษัทฯ มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดจำกัดการเชื่อมต่อข้อมูลและเพิ่มความสามารถการให้บริการใหม่ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกนำมาสู่การเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 3/2564 บริษัทฯ มีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร120 ราย บริหารจัดการสินค้ากว่า 35,574 รายการ และมีให้การอำนวยความสะดวกแก่ธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่าคำสั่งซื้อเฉลี่ย (Average Order Value) 1,305.6 บาทต่อออเดอร์ โดยในงวดสิบสองเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 บริษัทฯ ได้ให้การบริการแบบครบวงจรแก่คำสั่งซื้อสินค้ากว่า 7.8 ล้านรายการ คิดเป็นยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) กว่า 9,500.2 ล้านบาท และนับตั้งแต่การเริ่มประกอบกิจการ บริษัทฯ ได้เชื่อมต่อผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรกับผู้บริโภคขั้นปลายแล้วกว่า 11.6 ล้านราย” นายพอล กล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์การเติบโต 6 ส่วน เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความเป็นพันธมิตรและการบูรณาการกับแบรนด์ที่มีอยู่ (การขายผลิตภัณฑ์อื่นเพิ่ม (Cross Sell) และการเพิ่มยอดขาย (Upsell)) 2.ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และบริการที่มีอยู่ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 3.ขยายเครือข่ายเเละขอบเขตการให้บริการในพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และขยายเข้าไปยังกลุ่มใหม่ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ 5.การพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ SaaS เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และตลาดใหม่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของบริษัทฯ และ 6.การหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ และส่งเสริมธุรกิจเดิมและ/หรือการขยายธุรกิจเข้าไปในพื้นที่ภูมิศาสตร์หรือตลาดใหม่
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค โดยรายได้รวมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จาก 2,988.5 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 4,601.5 ล้านบาทในปี 2562 และเป็น 7,292.8 ล้านบาทในปี 2563 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 56.2 ต่อปี และรายได้รวมสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน เพิ่มขึ้นจาก 5,232.7 ล้านบาทในปี 2563 เป็น 6,339.7 ล้านบาทในปี 2564 คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 21.2 ต่อปี ขณะเดียวกัน Operating EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี กำไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน จาก (790.3) ล้านบาทในปี 2561 เป็น (478.4) ล้านบาทในปี 2562 และเป็น 111.7 ล้านบาทในปี 2563 และสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน จาก 113.0 ล้านบาทในปี 2563 เป็น (120.2) ล้านบาทในปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายกิจการโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
“จากข้อมูลของ Euromonitor คาดการณ์ว่ามูลค่าธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 19.8 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2563-2568 จากยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่ 52.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็นยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่ 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 จากการเปลี่ยนพฤติกรรมซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยมี COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ต่อปีในปี 2563 ถึงร้อยละ 85.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณคำสั่งซื้อร้อยละ 69.6 และมูลค่าคำสั่งซื้อโดยเฉลี่ย (Average Order Value) ร้อยละ 9.5” นายพอล กล่าว
นางสาว วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป หรือ ACOM มีจุดแข็งด้านการให้บริการการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปครบวงจร (end-to-end ecommerce) แบบผ่านแพลตฟอร์ม Ecommerce IQ และผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ Ecommerce IQ SaaS อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีความซับซ้อน การบริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่มีเอกลักษณ์โดยมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อและสามารถปรับขยายรองรับการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ ช่วยให้วางกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 5 ประเทศ และด้วยขีดความสามารถของบริษัทฯ ส่งผลให้สามารถเข้าเป็นพันธมิตรระดับภูมิภาคที่สำคัญของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรกับองค์กรระดับโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบข้อมูลแสดงรายการการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ซึ่งประกอบด้วย (1)หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ (2)หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ โดยจะนำเงินจากการระดมทุนไปใช้เป็นเงินทุนเพื่อการเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคตลง ทุนในแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ เดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยื่นไฟลิ่งขอเสนอขายหุ้น IPO ชูจุดเด่นเป็น Tech Company ผู้นำด้านการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางกลยุทธ์ขยายการลงทุนสร้างการเติบโตตามการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ก่อตั้ง บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 8 ปี โดยเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี (Tech Company) ที่เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (GMV) ในปี 2563 ให้แก่ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรใน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีบริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรครอบคลุม ตั้งแต่ การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การดำเนินการให้ร้านค้าแบรนด์ (Brand Store Operations) การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Performance Marketing) บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) ศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) และการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights) โดยบริษัทฯ ช่วยให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซและขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ขายตรงของแบรนด์ ("ร้านค้า brand.com") บนร้านค้าอย่างเป็นทางการบนตลาดซื้อขาย (Marketplaces) หลัก และแพลตฟอร์มสื่อสังคม (Social Media Platform) รายใหญ่ เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าแบบไร้รอยต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ยังคงสอดคล้องกับตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์นั้น ๆ
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Technology Platform) ของบริษัทฯ ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ’ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือที่ครอบคลุมต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและการจัดเก็บข้อมูล
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ SaaS (Software as a Service) ภายใต้ชื่อ ‘EcommerceIQ SaaS’ ในปี 2564 ที่ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับการบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเพื่อให้ผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคขั้นปลายและคู่แข่งของตน ทั้งนี้ ณ วันที่ของเอกสารฉบับนี้ ผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS มีคุณสมบัติในการให้การบริการสองรูปแบบ ได้แก่ บริการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาด (Market Insight) และบริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจร (Client Analytics) รวมถึงให้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
บริษัทฯ ได้ให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในบนตลาดซื้อขาย (Marketplaces) และแพลตฟอร์มสื่อสังคม (Social Media Platform) เพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบไร้รอยต่อแก่ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าของลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์มของบริษัทฯ รวมถึงสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
“เรามีความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคกับผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมากมายในหลากหลายกลุ่มสินค้า อาทิเช่น สินค้าอุปโภคบริโภค แฟชั่น ความงามและสินค้าหรูหรา และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และครัวเรือน เป็นต้น โดยเเบรนด์ชั้นนำต่างประกอบไปด้วย ยูนิลีเวอร์ (Unilever) 3เอ็ม (3M) นารายา (Naraya) ควิกซิลเวอร์หรือบอร์ดไรเดอร์ส (Quicksilver หรือ Boardriders) เรกคิทท์ (Reckitt) ฯลฯ โดยตามข้อมูลของ Inter Brand ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 14 แบรนด์จากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564 บริษัทฯ มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดจำกัดการเชื่อมต่อข้อมูลและเพิ่มความสามารถการให้บริการใหม่ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกนำมาสู่การเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 3/2564 บริษัทฯ มีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร120 ราย บริหารจัดการสินค้ากว่า 35,574 รายการ และมีให้การอำนวยความสะดวกแก่ธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่าคำสั่งซื้อเฉลี่ย (Average Order Value) 1,305.6 บาทต่อออเดอร์ โดยในงวดสิบสองเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 บริษัทฯ ได้ให้การบริการแบบครบวงจรแก่คำสั่งซื้อสินค้ากว่า 7.8 ล้านรายการ คิดเป็นยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) กว่า 9,500.2 ล้านบาท และนับตั้งแต่การเริ่มประกอบกิจการ บริษัทฯ ได้เชื่อมต่อผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรกับผู้บริโภคขั้นปลายแล้วกว่า 11.6 ล้านราย” นายพอล กล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์การเติบโต 6 ส่วน เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความเป็นพันธมิตรและการบูรณาการกับแบรนด์ที่มีอยู่ (การขายผลิตภัณฑ์อื่นเพิ่ม (Cross Sell) และการเพิ่มยอดขาย (Upsell)) 2.ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และบริการที่มีอยู่ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 3.ขยายเครือข่ายเเละขอบเขตการให้บริการในพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และขยายเข้าไปยังกลุ่มใหม่ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ 5.การพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ SaaS เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ อีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และตลาดใหม่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของบริษัทฯ และ 6.การหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ และส่งเสริมธุรกิจเดิมและ/หรือการขยายธุรกิจเข้าไปในพื้นที่ภูมิศาสตร์หรือตลาดใหม่
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค โดยรายได้รวมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จาก 2,988.5 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 4,601.5 ล้านบาทในปี 2562 และเป็น 7,292.8 ล้านบาทในปี 2563 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 56.2 ต่อปี และรายได้รวมสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน เพิ่มขึ้นจาก 5,232.7 ล้านบาทในปี 2563 เป็น 6,339.7 ล้านบาทในปี 2564 คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 21.2 ต่อปี ขณะเดียวกัน Operating EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี กำไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน จาก (790.3) ล้านบาทในปี 2561 เป็น (478.4) ล้านบาทในปี 2562 และเป็น 111.7 ล้านบาทในปี 2563 และสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน จาก 113.0 ล้านบาทในปี 2563 เป็น (120.2) ล้านบาทในปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายกิจการโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
“จากข้อมูลของ Euromonitor คาดการณ์ว่ามูลค่าธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 19.8 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2563-2568 จากยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่ 52.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็นยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่ 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 จากการเปลี่ยนพฤติกรรมซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยมี COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ต่อปีในปี 2563 ถึงร้อยละ 85.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณคำสั่งซื้อร้อยละ 69.6 และมูลค่าคำสั่งซื้อโดยเฉลี่ย (Average Order Value) ร้อยละ 9.5” นายพอล กล่าว
นางสาว วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป หรือ ACOM มีจุดแข็งด้านการให้บริการการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปครบวงจร (end-to-end ecommerce) แบบผ่านแพลตฟอร์ม Ecommerce IQ และผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ Ecommerce IQ SaaS อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีความซับซ้อน การบริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่มีเอกลักษณ์โดยมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อและสามารถปรับขยายรองรับการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ ช่วยให้วางกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 5 ประเทศ และด้วยขีดความสามารถของบริษัทฯ ส่งผลให้สามารถเข้าเป็นพันธมิตรระดับภูมิภาคที่สำคัญของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรกับองค์กรระดับโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบข้อมูลแสดงรายการการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ซึ่งประกอบด้วย (1)หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ (2)หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ โดยจะนำเงินจากการระดมทุนไปใช้เป็นเงินทุนเพื่อการเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคตลง ทุนในแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ACOM
โพสต์ที่ 6
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ACOM
โพสต์ที่ 7
`เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (ACOM)` จ่อขายไอพีโอ 1,942 ล้านหุ้น-เทรด SET ปีนี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -14 มี.ค. 65 15:48 น.
'บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (ACOM)' จ่อขายไอพีโอ 1.94 พันล้านหุ้น ระดมทุนเพื่อเข้าซื้อกิจการ-ลงทุนเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม EcommerceIQ คาดเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ภายในปีนี้
นายวีระพงษ์ ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM เปิดเผยในงานแถลงข่าว Meet The Press ว่า บริษัทฯ เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น ในปีนี้ และเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) กลุ่มเทคโนโลยี /เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โดยนำเงินระดมทุนที่ได้ใช้เป็นเงินทุน เพื่อการเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต ลงทุนในแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป
"สำหรับการเข้าระดมทุน IPO คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการเตรียมตัว ซึ่งอยากให้นักลงทุนได้ติดตามข้อมูลกัน" นายวีระพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทฯ เป็นผู้นำให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปี ด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อ
โดยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
1. แพลตฟอร์มเทคโนโลยี "EcommerceIQ" ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยรองรับคำสั่งซื้อสินค้าได้กว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน
2. ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง นอกจากนี้คาดว่าในปี 65 - 66 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์, บริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ, เปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC)
3. ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ในปี 64 บริษัทฯ ได้บริหารจัดการอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรให้กับแบรนด์สินค้าระดับโลกและระดับท้องถิ่น ณ สิ้นปีถึง 168 ราย โดย 13 แบรนด์เป็นแบรนด์ระดับโลกจากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564 ตามข้อมูลของ InterBrand มีคำสั่งซื้อสินค้ากว่า 8.02 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสินค้าที่บริษัทฯ บริหารจัดการอย่างครบวงจร (End-to-End Merchandise Value – EMV) จำนวนถึง 10,149 ล้านบาท
สำหรับธุรกิจบริการ E-commerce enabler มีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 16.5% เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 63 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor พร้อมทั้งจะมุ่งขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 65 Euromonitor คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ 16.5%
ทั้งนี้มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 65 จะคิดเป็นประมาณเพียง 8.3% จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้การประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับแบรนด์ระดับโลกและระดับท้องถิ่น พาแบรนด์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายด้านกฎหมายอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศ และความซับซ้อนโลจิสติกส์ในแต่ละท้องถิ่น และมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดเหมือนเช่นที่บริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่า 71.7% ต่อปีตั้งแต่ปี 62
นอกจากนี้บริษัทฯ วางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุนพันธมิตรอย่าง DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของบริษัทฯ ในปัจจุบัน ที่ต้องการให้บริษัทฯ ให้บริการในประเทศเวียดนามประกอบกัน
ด้านนางสาวเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย ACOM เปิดเผยว่าทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทยปี 63 อยู่ที่ 39.1% ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลของ Euromonitor
โดยบริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน
รายงาน ชุติมา อภิชัยสุขสกุล
เรียบเรียง สุรเมธี มณีสุโข
อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -14 มี.ค. 65 15:48 น.
'บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (ACOM)' จ่อขายไอพีโอ 1.94 พันล้านหุ้น ระดมทุนเพื่อเข้าซื้อกิจการ-ลงทุนเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม EcommerceIQ คาดเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ภายในปีนี้
นายวีระพงษ์ ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM เปิดเผยในงานแถลงข่าว Meet The Press ว่า บริษัทฯ เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น ในปีนี้ และเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) กลุ่มเทคโนโลยี /เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โดยนำเงินระดมทุนที่ได้ใช้เป็นเงินทุน เพื่อการเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต ลงทุนในแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป
"สำหรับการเข้าระดมทุน IPO คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการเตรียมตัว ซึ่งอยากให้นักลงทุนได้ติดตามข้อมูลกัน" นายวีระพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทฯ เป็นผู้นำให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปี ด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อ
โดยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
1. แพลตฟอร์มเทคโนโลยี "EcommerceIQ" ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยรองรับคำสั่งซื้อสินค้าได้กว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน
2. ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง นอกจากนี้คาดว่าในปี 65 - 66 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์, บริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ, เปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC)
3. ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ในปี 64 บริษัทฯ ได้บริหารจัดการอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรให้กับแบรนด์สินค้าระดับโลกและระดับท้องถิ่น ณ สิ้นปีถึง 168 ราย โดย 13 แบรนด์เป็นแบรนด์ระดับโลกจากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564 ตามข้อมูลของ InterBrand มีคำสั่งซื้อสินค้ากว่า 8.02 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสินค้าที่บริษัทฯ บริหารจัดการอย่างครบวงจร (End-to-End Merchandise Value – EMV) จำนวนถึง 10,149 ล้านบาท
สำหรับธุรกิจบริการ E-commerce enabler มีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 16.5% เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 63 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor พร้อมทั้งจะมุ่งขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 65 Euromonitor คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ 16.5%
ทั้งนี้มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 65 จะคิดเป็นประมาณเพียง 8.3% จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้การประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับแบรนด์ระดับโลกและระดับท้องถิ่น พาแบรนด์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายด้านกฎหมายอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศ และความซับซ้อนโลจิสติกส์ในแต่ละท้องถิ่น และมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดเหมือนเช่นที่บริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่า 71.7% ต่อปีตั้งแต่ปี 62
นอกจากนี้บริษัทฯ วางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุนพันธมิตรอย่าง DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของบริษัทฯ ในปัจจุบัน ที่ต้องการให้บริษัทฯ ให้บริการในประเทศเวียดนามประกอบกัน
ด้านนางสาวเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย ACOM เปิดเผยว่าทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทยปี 63 อยู่ที่ 39.1% ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลของ Euromonitor
โดยบริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน
รายงาน ชุติมา อภิชัยสุขสกุล
เรียบเรียง สุรเมธี มณีสุโข
อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 8
เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป เดินหน้าขยายฐานลูกค้าแบรนด์ระดับโลก และบุกตลาดเวียดนาม
‘เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เดินหน้าขยายฐานลูกค้าแบรนด์ระดับโลกและบุกตลาดเวียดนามภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ‘DKSH’ ชูศักยภาพแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูลอีคอมเมิร์ซที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปีด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจ SME ทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service อย่างเต็มรูปแบบในปี 2565 เพื่อส่งเสริมศักยภาพของแบรนด์ท้องถิ่น และ SME ในการทำธุรกิจท่ามกลางการเติบโตของยุคดิจิทัล
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ผู้นำในการให้บริการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดใน 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชูจุดเด่นด้านบริการที่หลากหลายและครบวงจร ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มี API เชื่อมต่อกว่า 300 รายการ และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบสามารถรองรับคำสั่งซื้อมากกว่า 330,000 คำสั่งซื้อต่อวัน โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้บริหารจัดการอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรให้กับแบรนด์สินค้าระดับโลกและระดับท้องถิ่น ณ สิ้นปี 2564 ถึง 168 ราย โดย 13 แบรนด์เป็นแบรนด์ระดับโลกจากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564 ตามข้อมูลของ InterBrand มีคำสั่งซื้อสินค้ากว่า 8.02 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสินค้าที่บริษัทฯ บริหารจัดการอย่างครบวงจร (End-to-End Merchandise Value – EMV) จำนวนถึง 10,149 ล้านบาท
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ถือเป็นผู้นำให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 16.5 เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 2563 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ พร้อมทั้งจะมุ่งขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 Euromonitor คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5 ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 2565 จะคิดเป็นประมาณเพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้การประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับแบรนด์ระดับโลกและระดับท้องถิ่น พาแบรนด์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายด้านกฎหมายอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศ และความซับซ้อนโลจิสติกส์ในแต่ละท้องถิ่น และมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดเหมือนเช่นที่บริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก บริษัทฯ มีจุดแข็งในด้านการมีประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลก และประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์ จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
การให้บริการที่หลากหลายอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ประกอบไปด้วย โซลูชั่นที่จะสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้สามารถพัฒนาการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งเว็บสโตร์ มาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบริการครอบคลุมทั้งการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การบริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) เช่น กำหนดราคา, ทำโปรโมชั่น, บริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และบริหารสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) เช่น เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights) เพื่อกำหนดหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลอดจนมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ end-to-end solution อยู่แล้วของบริษัทฯ (เช่น การบริหารช่องทางการขายออนไลน์แบบอัตโนมัติ การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีต้นทุนที่เหมาะสมและรวดเร็วที่สุดโดยอัตโนมัติ) นำมาทำให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี "EcommerceIQ" ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยรองรับคำสั่งซื้อสินค้าได้กว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน 2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง นอกจากนี้คาดว่าในปี 2565 – 2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์, บริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ, เปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC) และ 3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการีคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท[1]
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online ฺB2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4/ 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์และรายการสินค้า 2.ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ 3.ขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซียเพื่อสร้างการเติบโตที่ดี 4.ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 5.มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และ 6. พิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ecommerce enabler ที่มีความ fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
นางสาวเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย
ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน” นางสาวเพ็ญสิริ กล่าว
‘เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เดินหน้าขยายฐานลูกค้าแบรนด์ระดับโลกและบุกตลาดเวียดนามภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ‘DKSH’ ชูศักยภาพแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูลอีคอมเมิร์ซที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปีด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจ SME ทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service อย่างเต็มรูปแบบในปี 2565 เพื่อส่งเสริมศักยภาพของแบรนด์ท้องถิ่น และ SME ในการทำธุรกิจท่ามกลางการเติบโตของยุคดิจิทัล
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ผู้นำในการให้บริการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดใน 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชูจุดเด่นด้านบริการที่หลากหลายและครบวงจร ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มี API เชื่อมต่อกว่า 300 รายการ และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบสามารถรองรับคำสั่งซื้อมากกว่า 330,000 คำสั่งซื้อต่อวัน โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้บริหารจัดการอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรให้กับแบรนด์สินค้าระดับโลกและระดับท้องถิ่น ณ สิ้นปี 2564 ถึง 168 ราย โดย 13 แบรนด์เป็นแบรนด์ระดับโลกจากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564 ตามข้อมูลของ InterBrand มีคำสั่งซื้อสินค้ากว่า 8.02 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสินค้าที่บริษัทฯ บริหารจัดการอย่างครบวงจร (End-to-End Merchandise Value – EMV) จำนวนถึง 10,149 ล้านบาท
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ถือเป็นผู้นำให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 16.5 เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 2563 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ พร้อมทั้งจะมุ่งขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 Euromonitor คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5 ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 2565 จะคิดเป็นประมาณเพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้การประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับแบรนด์ระดับโลกและระดับท้องถิ่น พาแบรนด์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายด้านกฎหมายอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศ และความซับซ้อนโลจิสติกส์ในแต่ละท้องถิ่น และมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดเหมือนเช่นที่บริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก บริษัทฯ มีจุดแข็งในด้านการมีประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลก และประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์ จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
การให้บริการที่หลากหลายอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ประกอบไปด้วย โซลูชั่นที่จะสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้สามารถพัฒนาการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งเว็บสโตร์ มาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบริการครอบคลุมทั้งการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การบริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) เช่น กำหนดราคา, ทำโปรโมชั่น, บริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และบริหารสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) เช่น เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights) เพื่อกำหนดหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลอดจนมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ end-to-end solution อยู่แล้วของบริษัทฯ (เช่น การบริหารช่องทางการขายออนไลน์แบบอัตโนมัติ การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีต้นทุนที่เหมาะสมและรวดเร็วที่สุดโดยอัตโนมัติ) นำมาทำให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี "EcommerceIQ" ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยรองรับคำสั่งซื้อสินค้าได้กว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน 2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง นอกจากนี้คาดว่าในปี 2565 – 2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์, บริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ, เปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC) และ 3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการีคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท[1]
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online ฺB2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4/ 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์และรายการสินค้า 2.ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ 3.ขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซียเพื่อสร้างการเติบโตที่ดี 4.ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 5.มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และ 6. พิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ecommerce enabler ที่มีความ fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
นางสาวเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย
ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน” นางสาวเพ็ญสิริ กล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 9
‘บมจ เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ผู้นำในการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยบริการครบวง
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ ผู้นำในการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยบริการครบวงจรและศักยภาพในการทำธุรกิจท่ามกลางการเติบโตของยุคดิจิทัล
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 10
ACOM จ่อขาย IPO พร้อมเทรด SET ปี 65 ตั้งเป้าขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน
ACOM ผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. เสนอขาย IPO ระดมทุน SET ภายในปี 65 พร้อมเดินหน้าขยายฐานลูกค้าแบรนด์ระดับโลก
นายวีระพงษ์ ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบข้อมูลแสดงรายการการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 13 ธ.ค.2564 จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ซึ่งประกอบด้วย
(1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้
(2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้
ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ พร้อมทั้งจะมุ่งขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 Euromonitor คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย Ecommerce Enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5
ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย Ecommerce Enabler ในปี 2565 จะคิดเป็นประมาณเพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้การประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับแบรนด์ระดับโลกและระดับท้องถิ่น พาแบรนด์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายด้านกฎหมายอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศ และความซับซ้อนโลจิสติกส์ในแต่ละท้องถิ่น และมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดเหมือนเช่นที่บริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ACOM ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก บริษัทฯ มีจุดแข็งในด้านการมีประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลก และประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย
ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์
จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
การให้บริการที่หลากหลายอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ประกอบไปด้วย โซลูชั่นที่จะสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้สามารถพัฒนาการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งเว็บสโตร์ มาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบริการครอบคลุมทั้งการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การบริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) เช่น กำหนดราคา, ทำโปรโมชั่น, บริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น
บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และบริหารสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) เช่น เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights) เพื่อกำหนดหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตลอดจนมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก
โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ End-to-end Solution อยู่แล้วของบริษัทฯ (เช่น การบริหารช่องทางการขายออนไลน์แบบอัตโนมัติ การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีต้นทุนที่เหมาะสมและรวดเร็วที่สุดโดยอัตโนมัติ)
นำมาทำให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (Self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี "EcommerceIQ" ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยรองรับคำสั่งซื้อสินค้าได้กว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน
2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ "EcommerceIQ SaaS" ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง
นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2565 – 2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์, บริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ, เปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC)
3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่างๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ
ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการีคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ
ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4 ปี 2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online ฺB2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม”
นายวีระพงษ์ กล่าวว่า ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี
จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1. มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์และรายการสินค้า 2. ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ 3. ขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซียเพื่อสร้างการเติบโตที่ดี
4. ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 5.มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และ 6. พิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ
ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด Ecommerce Enabler ที่มีความ Fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
นางสาวเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor
นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568
เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน”
ACOM ผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. เสนอขาย IPO ระดมทุน SET ภายในปี 65 พร้อมเดินหน้าขยายฐานลูกค้าแบรนด์ระดับโลก
นายวีระพงษ์ ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบข้อมูลแสดงรายการการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 13 ธ.ค.2564 จำนวนไม่เกิน 1,942,422,738 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ซึ่งประกอบด้วย
(1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้
(2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 971,211,369 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้
ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ พร้อมทั้งจะมุ่งขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 Euromonitor คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย Ecommerce Enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5
ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย Ecommerce Enabler ในปี 2565 จะคิดเป็นประมาณเพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยทำให้การประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับแบรนด์ระดับโลกและระดับท้องถิ่น พาแบรนด์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายด้านกฎหมายอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศ และความซับซ้อนโลจิสติกส์ในแต่ละท้องถิ่น และมีการเติบโตที่ก้าวกระโดดเหมือนเช่นที่บริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ACOM ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก บริษัทฯ มีจุดแข็งในด้านการมีประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลก และประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย
ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์
จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
การให้บริการที่หลากหลายอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ประกอบไปด้วย โซลูชั่นที่จะสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้สามารถพัฒนาการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งเว็บสโตร์ มาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบริการครอบคลุมทั้งการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) การบริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) เช่น กำหนดราคา, ทำโปรโมชั่น, บริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น
บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และบริหารสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับชำระเงินและการจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) เช่น เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อมูลในเชิงลึก (Data Analytics and Insights) เพื่อกำหนดหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตลอดจนมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก
โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ End-to-end Solution อยู่แล้วของบริษัทฯ (เช่น การบริหารช่องทางการขายออนไลน์แบบอัตโนมัติ การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีต้นทุนที่เหมาะสมและรวดเร็วที่สุดโดยอัตโนมัติ)
นำมาทำให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (Self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี "EcommerceIQ" ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ เช่น การบริหารการจัดจำหน่ายหลายช่องทางการขาย (Channel Management) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management) การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) การบริหารจัดการผู้บริโภค (Customer Management) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยรองรับคำสั่งซื้อสินค้าได้กว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน
2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ "EcommerceIQ SaaS" ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง
นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2565 – 2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์, บริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ, เปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC)
3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่างๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ
ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการีคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ
ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4 ปี 2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online ฺB2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม”
นายวีระพงษ์ กล่าวว่า ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี
จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1. มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์และรายการสินค้า 2. ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ 3. ขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซียเพื่อสร้างการเติบโตที่ดี
4. ขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 5.มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และ 6. พิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ
ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด Ecommerce Enabler ที่มีความ Fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
นางสาวเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor
นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568
เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน”
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ACOM
โพสต์ที่ 11
“เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป” รุกธุรกิจทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service เต็มรูปแบบในปี 2565
Forbes Thailand
FORBES THAILAND / ADMIN
IT | NEWS #
15 MAR 2022 | 4:28 PM 107
‘เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ บุกตลาดเวียดนามภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ‘DKSH’ ชูศักยภาพแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูลอีคอมเมิร์ซที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปีด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท เตรียมรุกธุรกิจทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service อย่างเต็มรูปแบบในปี 2565
วีระพงษ์ ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 16.5 เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 2563 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ปี 2565 Euromonitor ได้คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5 ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 2565 เพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท และบริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ข้อมูลสำคัญ
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมในปี 2568 ที่ 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2564 มีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563
Euromonitor คาดปี 2563–2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญในปี 2568
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก ผ่านมีจุดแข็งในด้านประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลกและประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย
และเมื่อประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์ จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ชู e-commerce IQ SaaS
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ end-to-end solution อยู่แล้วของบริษัทฯ เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ ของบริษัท 2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง
นอกจากนี้คาดว่าระหว่างปี 2565–2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ การบริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ การเปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC) และ 3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
จับมือกับ DKSH
นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ
ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ตเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม
โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online B2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4/ 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม” วีระพงษ์ กล่าว
อาเซียน ภูมิภาคแห่งศักยภาพ
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี
จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องใน 6 ด้าน การมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ การลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ การขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซีย
การขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และส่วนสุดท้ายคือพิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ
ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ecommerce enabler ที่มีความ fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
อีคอมเมิร์ซไทยเติบโตควบคู่ภูมิภาคอาเซียน
ด้าน เพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor
นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญในปี 2568
เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย
ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน”เพ็ญสิริ กล่าว
https://forbesthailand.com/news/it/%e0% ... b9%80.html
Forbes Thailand
FORBES THAILAND / ADMIN
IT | NEWS #
15 MAR 2022 | 4:28 PM 107
‘เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ บุกตลาดเวียดนามภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ‘DKSH’ ชูศักยภาพแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูลอีคอมเมิร์ซที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปีด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท เตรียมรุกธุรกิจทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service อย่างเต็มรูปแบบในปี 2565
วีระพงษ์ ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 16.5 เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 2563 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ปี 2565 Euromonitor ได้คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5 ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 2565 เพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท และบริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ข้อมูลสำคัญ
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมในปี 2568 ที่ 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2564 มีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563
Euromonitor คาดปี 2563–2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญในปี 2568
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก ผ่านมีจุดแข็งในด้านประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลกและประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย
และเมื่อประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์ จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ชู e-commerce IQ SaaS
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ end-to-end solution อยู่แล้วของบริษัทฯ เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ ของบริษัท 2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง
นอกจากนี้คาดว่าระหว่างปี 2565–2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ การบริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ การเปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC) และ 3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
จับมือกับ DKSH
นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ
ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ตเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม
โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online B2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4/ 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม” วีระพงษ์ กล่าว
อาเซียน ภูมิภาคแห่งศักยภาพ
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี
จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องใน 6 ด้าน การมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ การลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ การขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซีย
การขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และส่วนสุดท้ายคือพิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ
ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ecommerce enabler ที่มีความ fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
อีคอมเมิร์ซไทยเติบโตควบคู่ภูมิภาคอาเซียน
ด้าน เพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor
นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญในปี 2568
เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย
ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน”เพ็ญสิริ กล่าว
https://forbesthailand.com/news/it/%e0% ... b9%80.html
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 12
ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป” หรือ ACOM ชูจุดเด่นผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน รุกขยายธุรกิจและเพิ่มฐานลูกค้าในระดับภูมิภาค
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ หรือ ACOM ชูจุดเด่นผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยประสบการณ์และความพร้อมของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้สามารถพัฒนาการ ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ณ สิ้นปี 2564 มีฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลกรวมกว่า 168 ราย เพิ่มขึ้นมากถึง 50 รายจากปีก่อนหน้า และมียอดขายสินค้าที่บริหารจัดการแบบครบวงจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางกลยุทธ์รุกขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค ผนึก DKSH บุกตลาดเวียดนามหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยล่าสุดสำนักงาน ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่งแล้ว เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มุ่งขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตในระดับภูมิภาค โดยใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรให้แก่แบรนด์สินค้าชั้นนำระดับโลกเกือบ 10 ปี โดยเป็นผู้นำในการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E – commerce Enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) โดยมีมูลค่าเป็น 1.8 เท่าเทียบกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดและมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 16.5 ในปี 2563
ปัจจุบันบริษัทฯ ให้บริการใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ โดยนำเสนอบริการอย่างครบวงจรเพื่อสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ในการพัฒนาการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งเว็บสโตร์มาร์เก็ตเพลส และโซเชียลมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบริการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) เพื่อกำหนดหรือปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับลูกค้าอีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ใช้เงินลงทุนแล้วกว่า 800 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งในส่วนของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” ซึ่งใช้ในการบริหารจัดการการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯ ได้เชื่อมต่อแพลตฟอร์มเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) กว่า 300 รายการ ไปยังผู้ให้บริการต่างๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ Payment Gateway และ Warehouse Management System หรือ WMS เป็นต้น ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถจัดการกับธุรกรรมที่มีความซับซ้อนและสามารถรองรับคำสั่งซื้อได้มากกว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ “EcommerceIQ Market Insights” ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS ซึ่งปัจจุบันให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงให้แก่แบรนด์สินค้า เพื่อให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคและคู่แข่ง ในการกำหนดราคาสินค้าและวางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง
บริษัทฯมียอดขายสินค้าที่บริหารจัดการแบบครบวงจรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 52 จากปี 2562 ถึงปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายเดิมและการได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่ โดยหากพิจารณายอดขายของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายเดิมที่เริ่มใช้บริการกับบริษัทฯในปี 2559 ถึงปี 2562 พบว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ระหว่างร้อยละ 35 ถึงร้อยละ 184 แสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จในการสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯมีฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลกรวมกว่า 168 ราย สุทธิเพิ่มขึ้นมากถึง 50 รายจากปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 43 ซึ่งช่วยส่งเสริมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทฯอีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนและเพิ่มฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
1. มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้า และการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ
2. ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ
3. ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
4. มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ต่างๆ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ตั้งแต่บรรษัทข้ามชาติถึงธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มที่น้อยมากเนื่องจากอยู่ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS และ
5. การเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคตเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ เช่น เวียดนาม และขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย การเสริมขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทฯ และ แบรนด์ที่มีการขายเฉพาะในช่องทางออนไลน์ (Private Online Brands) ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและที่จะช่วยให้บริษัทฯ ได้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดจำหน่ายแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
“เรามี DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย เป็นพันธมิตรที่ดีและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเราตั้งแต่ปี 2558 ล่าสุดบริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH โดยทางบริษัทฯ จะเป็นพาร์ทเนอร์เพียงรายเดียวของ DKSH สำหรับการให้บริการธุรกิจออนไลน์แบบ Business-to-Consumer หรือ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ ACOM ดำเนินธุรกิจ โดย DKSH ได้ถ่ายโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ให้กับ ACOM จึงทำให้ไตรมาสที่ 4/2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบครบวงจรเพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ (ในไตรมาสที่ 3/2564) เป็น 168 แบรนด์ ทำให้เรามีโอกาสให้บริการแก่แบรนด์สินค้าใหม่หลายรายจาก DKSH นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังวางแผนเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามเพื่อสนับสนุน DKSH และลูกค้าของเรา” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
นายธนิก ธราวิศิษฏ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking and Capital Markets ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญ จำนวนรวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 35.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 15.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้สำหรับการลงทุนขยายธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และขยายขีดความสามารถในการให้ได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ใช้เป็นเงินทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตการเสนอขายหุ้น IPO และแบบแสดง รายการข้อมูลฯ (ไฟลิ่ง) แล้ว
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ หรือ ACOM ชูจุดเด่นผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยประสบการณ์และความพร้อมของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้สามารถพัฒนาการ ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ณ สิ้นปี 2564 มีฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลกรวมกว่า 168 ราย เพิ่มขึ้นมากถึง 50 รายจากปีก่อนหน้า และมียอดขายสินค้าที่บริหารจัดการแบบครบวงจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางกลยุทธ์รุกขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค ผนึก DKSH บุกตลาดเวียดนามหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยล่าสุดสำนักงาน ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่งแล้ว เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มุ่งขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตในระดับภูมิภาค โดยใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรให้แก่แบรนด์สินค้าชั้นนำระดับโลกเกือบ 10 ปี โดยเป็นผู้นำในการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E – commerce Enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) โดยมีมูลค่าเป็น 1.8 เท่าเทียบกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดและมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 16.5 ในปี 2563
ปัจจุบันบริษัทฯ ให้บริการใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ โดยนำเสนอบริการอย่างครบวงจรเพื่อสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ ในการพัฒนาการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งเว็บสโตร์มาร์เก็ตเพลส และโซเชียลมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีบริการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) เพื่อกำหนดหรือปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับลูกค้าอีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ใช้เงินลงทุนแล้วกว่า 800 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งในส่วนของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” ซึ่งใช้ในการบริหารจัดการการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯ ได้เชื่อมต่อแพลตฟอร์มเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) กว่า 300 รายการ ไปยังผู้ให้บริการต่างๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ Payment Gateway และ Warehouse Management System หรือ WMS เป็นต้น ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถจัดการกับธุรกรรมที่มีความซับซ้อนและสามารถรองรับคำสั่งซื้อได้มากกว่า 330,000 ออเดอร์ต่อวัน นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ “EcommerceIQ Market Insights” ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS ซึ่งปัจจุบันให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงให้แก่แบรนด์สินค้า เพื่อให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคและคู่แข่ง ในการกำหนดราคาสินค้าและวางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง
บริษัทฯมียอดขายสินค้าที่บริหารจัดการแบบครบวงจรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 52 จากปี 2562 ถึงปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายเดิมและการได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่ โดยหากพิจารณายอดขายของผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายเดิมที่เริ่มใช้บริการกับบริษัทฯในปี 2559 ถึงปี 2562 พบว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ระหว่างร้อยละ 35 ถึงร้อยละ 184 แสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จในการสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯมีฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลกรวมกว่า 168 ราย สุทธิเพิ่มขึ้นมากถึง 50 รายจากปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 43 ซึ่งช่วยส่งเสริมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทฯอีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนและเพิ่มฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
1. มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้า และการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ
2. ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ
3. ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
4. มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ต่างๆ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ตั้งแต่บรรษัทข้ามชาติถึงธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มที่น้อยมากเนื่องจากอยู่ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS และ
5. การเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคตเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ เช่น เวียดนาม และขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย การเสริมขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทฯ และ แบรนด์ที่มีการขายเฉพาะในช่องทางออนไลน์ (Private Online Brands) ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและที่จะช่วยให้บริษัทฯ ได้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดจำหน่ายแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
“เรามี DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย เป็นพันธมิตรที่ดีและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเราตั้งแต่ปี 2558 ล่าสุดบริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH โดยทางบริษัทฯ จะเป็นพาร์ทเนอร์เพียงรายเดียวของ DKSH สำหรับการให้บริการธุรกิจออนไลน์แบบ Business-to-Consumer หรือ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ ACOM ดำเนินธุรกิจ โดย DKSH ได้ถ่ายโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ให้กับ ACOM จึงทำให้ไตรมาสที่ 4/2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบครบวงจรเพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ (ในไตรมาสที่ 3/2564) เป็น 168 แบรนด์ ทำให้เรามีโอกาสให้บริการแก่แบรนด์สินค้าใหม่หลายรายจาก DKSH นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังวางแผนเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามเพื่อสนับสนุน DKSH และลูกค้าของเรา” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
นายธนิก ธราวิศิษฏ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking and Capital Markets ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญ จำนวนรวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 35.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 15.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยเอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้สำหรับการลงทุนขยายธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และขยายขีดความสามารถในการให้ได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ใช้เป็นเงินทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตการเสนอขายหุ้น IPO และแบบแสดง รายการข้อมูลฯ (ไฟลิ่ง) แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 13
ACOM ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์จาก สำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมความพร้อมเสนอขาย IPO ระดมทุนขยายธุรกิจ ตอกย้ำผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน
17 พฤษภาคม 2022 / เวลา 10:00 น.
นายธนิก ธราวิศิษฏ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking and Capital Markets ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการนำบริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด หรือ ACOM เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายหลังที่ ACOM ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. ล่าสุดได้รับอนุมัติ
แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงาน ก.ล.ต.แล้ว โดยปัจจุบัน ACOM อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ตลอดจนพิจารณากำหนดช่วงราคาและระยะเวลาที่จะเสนอขายหุ้น IPO เพื่อแจ้งให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ ACOM จะเสนอขายหุ้นสามัญจำนวนรวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 35.0
ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท
คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 15.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน
ร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ โดยจะนำเงินไปใช้ลงทุนขยายธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มขีดความสามารถในการได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ใช้เป็นเงินทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนทั่วไป
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E – commerce Enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) โดยมีมูลค่าเป็น 1.8 เท่าเทียบกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดและมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 16.5 ในปี 2563 ปัจจุบันให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ พัฒนาและเพิ่มศักยภาพการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งเว็บสโตร์ มาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย
บริษัทฯ ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า ขณะเดียวกันบริษัทฯ มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยใช้เงินลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท ทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” สำหรับการบริหารการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดังกล่าวเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) แล้วกว่า 300 รายการ ไปยังผู้ให้บริการต่างๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ รวมถึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ “EcommerceIQ Market Insights” และซอฟต์แวร์ “EcommerceIQ Client Analytics” ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS เพื่อให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ช่วยให้แบรนด์สินค้าเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและคู่แข่ง สามารถกำหนดราคาสินค้าและวางตำแหน่งให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง โดยบริษัทฯ คาดว่าตลอดช่วงปี 2565 และ 2567 จะสามารถนำเสนอการให้บริการเพิ่มเติมภายใต้ EcommerceIQ SaaS ได้อีก
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลกทั้งสิ้นกว่า 168 ราย เพิ่มขึ้นถึง 50 ราย หรือร้อยละ 42 เทียบกับปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 13 แบรนด์ จาก 100 แบรนด์แรกในปี 2564 โดยมีสินค้าที่รับบริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ ขณะที่ยอดขายสินค้าที่บริหารจัดการแบบครบวงจรนับจากปี 2562-2564 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 52 ปัจจัยมาจากการขยายฐานลูกค้ารายใหม่และยอดขายของลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้น โดยเมื่อพิจารณายอดขายของลูกค้ารายเดิมที่เริ่มใช้บริการในปี 2559 – 2562 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2562-2564 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 35 – 184 ส่วนยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ของบริษัทฯ ในปี 2564 อยู่ที่ 10,149.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 8,192.8 ล้านบาท
“บริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH เพื่อเป็นพาร์ทเนอร์เพียงรายเดียวสำหรับการให้บริการธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดย DKSH ได้โอนและแนะนำ
แบรนด์สินค้าที่ต้องการขยายธุรกิจออนไลน์แบบ B2C แก่ ACOM ทำให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 4/2564 และบริษัทฯ ยังวางแผนขยายธุรกิจในเวียดนามเพื่อสนับสนุน DKSH และลูกค้าอย่างต่อเนื่อง” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่ 1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ 2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่ และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 4) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และ 5) การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำธุรกิจในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
17 พฤษภาคม 2022 / เวลา 10:00 น.
นายธนิก ธราวิศิษฏ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking and Capital Markets ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการนำบริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด หรือ ACOM เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายหลังที่ ACOM ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. ล่าสุดได้รับอนุมัติ
แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงาน ก.ล.ต.แล้ว โดยปัจจุบัน ACOM อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ตลอดจนพิจารณากำหนดช่วงราคาและระยะเวลาที่จะเสนอขายหุ้น IPO เพื่อแจ้งให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ ACOM จะเสนอขายหุ้นสามัญจำนวนรวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 35.0
ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท
คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 15.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน
ร้อยละ 20.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ โดยจะนำเงินไปใช้ลงทุนขยายธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มขีดความสามารถในการได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ใช้เป็นเงินทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS และเป็นเงินทุนหมุนเวียนทั่วไป
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E – commerce Enabler) อย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) โดยมีมูลค่าเป็น 1.8 เท่าเทียบกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดและมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 16.5 ในปี 2563 ปัจจุบันให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนแบรนด์สินค้าต่างๆ พัฒนาและเพิ่มศักยภาพการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งเว็บสโตร์ มาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย
บริษัทฯ ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า ขณะเดียวกันบริษัทฯ มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยใช้เงินลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท ทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” สำหรับการบริหารการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดังกล่าวเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) แล้วกว่า 300 รายการ ไปยังผู้ให้บริการต่างๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ รวมถึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ “EcommerceIQ Market Insights” และซอฟต์แวร์ “EcommerceIQ Client Analytics” ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS เพื่อให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ช่วยให้แบรนด์สินค้าเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและคู่แข่ง สามารถกำหนดราคาสินค้าและวางตำแหน่งให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง โดยบริษัทฯ คาดว่าตลอดช่วงปี 2565 และ 2567 จะสามารถนำเสนอการให้บริการเพิ่มเติมภายใต้ EcommerceIQ SaaS ได้อีก
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลกทั้งสิ้นกว่า 168 ราย เพิ่มขึ้นถึง 50 ราย หรือร้อยละ 42 เทียบกับปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 13 แบรนด์ จาก 100 แบรนด์แรกในปี 2564 โดยมีสินค้าที่รับบริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ ขณะที่ยอดขายสินค้าที่บริหารจัดการแบบครบวงจรนับจากปี 2562-2564 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 52 ปัจจัยมาจากการขยายฐานลูกค้ารายใหม่และยอดขายของลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้น โดยเมื่อพิจารณายอดขายของลูกค้ารายเดิมที่เริ่มใช้บริการในปี 2559 – 2562 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2562-2564 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 35 – 184 ส่วนยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ของบริษัทฯ ในปี 2564 อยู่ที่ 10,149.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 8,192.8 ล้านบาท
“บริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH เพื่อเป็นพาร์ทเนอร์เพียงรายเดียวสำหรับการให้บริการธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดย DKSH ได้โอนและแนะนำ
แบรนด์สินค้าที่ต้องการขยายธุรกิจออนไลน์แบบ B2C แก่ ACOM ทำให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 4/2564 และบริษัทฯ ยังวางแผนขยายธุรกิจในเวียดนามเพื่อสนับสนุน DKSH และลูกค้าอย่างต่อเนื่อง” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่ 1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ 2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่ และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 4) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และ 5) การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำธุรกิจในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 14
ACOM โชว์ศักยภาพธุรกิจให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรขยายตัวโดดเด่น Q1/65 ทำรายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท เติบโตแข็งแกร่ง 39.8% รับการค้าออนไลน์บูม
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ (บริษัทฯ) หรือ ACOM โชว์ผลงานไตรมาส 1/2565 แข็งแกร่ง ทำรายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท เติบโตโดดเด่น 39.8% จากการขยายฐานลูกค้าใหม่และยอดขายสินค้าจากลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้นรับอีคอมเมิร์ซบูม ตอกย้ำศักยภาพผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ สามารถทำรายได้ในช่วงไตรมาส 1/2565 เติบโตในระดับที่ดี
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในฐานะเป็นผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่สามารถเติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวของภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในระดับภูมิภาค โดยข้อมูลจาก Euromonitor คาดว่ามูลค่าธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้นับจากปี 2563 - 2568 จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 19.8 ต่อปี จากยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่ 5.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 1.29 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาและการปรับตัวของผู้ขายสินค้า
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาส 1/2565 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,591.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1,853.7 ล้านบาท โดยบริษัทฯ สามารถบริหาร Operating EBITDA Margin ให้มีอัตราขาดทุนลดลงจากร้อยละ -2.8 สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นร้อยละ -2.7 สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการขยายขนาดทั้งในกิจกรรมทางตรงและทางอ้อมซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเมื่อคิดตามร้อยละของรายได้นั้นลดลง ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ ขณะที่ผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2565 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 115.9 ล้านบาท จาก 214.6 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ของบริษัทฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการดำเนินงานทั้งทางตรงและฝ่ายสนับสนุน การลดลงของผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ปัจจัยการเติบโตมาจากการขยายฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 ที่เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 171 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีลูกค้า 114 ราย และยอดขายสินค้าของลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้น โดยยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในไตรมาส 1/2565 อยู่ที่ 2,931.0 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 2,009.4 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอดขายของบริษัทฯ มีความสัมพันธ์ตรงกับการเติบโตของการบริโภคและการจับจ่ายออนไลน์ในอาเซียน (ASEAN Consumer’s Spending) ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยบริษัทฯ มียอดขายสินค้าในหลากหลายประเภท ในช่องทางออนไลน์ที่หลากหลายใน 5 ประเทศและมีระบบเชื่อมต่อกับช่องทางออฟไลน์ของแบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย
“เรามีความมั่นใจในศักยภาพธุรกิจและการเติบโตของบริษัทฯ สะท้อนให้เห็นจากรายได้รวม ณ ไตรมาส 1/2565 ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และรายได้รวมในปี 2562 – 2564 ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 4,601.5 ล้านบาท เป็น 8,948.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 39.5% ต่อปี และเรามีความมุ่งมั่นที่จะขยายฐานลูกค้า พื้นที่ให้บริการและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ เพื่อนำบริษัทฯ เติบโตอย่างมีศักยภาพ เช่น EcommerceIQ Market Insight ที่ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้ามากกว่า 21 รายแล้วถึงแม้จะเพิ่งเปิดตัวไป ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการออกผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ประเภทใหม่ เช่น Logistics Management Channel Management และ Order Management เป็นต้น ซึ่งจะสามารถทำให้บริษัทฯ ได้รับค่าบริการประมาณร้อยละ 3 - 5 ของ EMV บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเติบโต พัฒนาและขยายธุรกิจ EcommerceIQ SaaS ให้มีสัดส่วนรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายการเติบโตทางธุรกิจในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อเป็นการสนับสนุนแบรนด์ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรของบริษัทฯ ในระดับภูมิภาคที่บริษัทฯ ได้ให้บริการอยู่ในปัจจุบันที่ต้องการให้บริษัทฯ ให้บริการในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมถึงแบรนด์ในกลุ่มของ DKSH ที่ดำเนินการในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยที่บริษัทฯ คาดหวังว่าจะมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป หรือ ACOM กล่าวว่า บริษัทฯ ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่ 1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
ครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ 2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 4) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และ 5) การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การขยายไปยังตลาดเวียดนาม บริษัทฯ มีสัญญาร่วมมือทางกลยุทธกับทาง DKSH เรียบร้อยแล้ว
‘บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ (บริษัทฯ) หรือ ACOM โชว์ผลงานไตรมาส 1/2565 แข็งแกร่ง ทำรายได้รวม 2,591.5 ล้านบาท เติบโตโดดเด่น 39.8% จากการขยายฐานลูกค้าใหม่และยอดขายสินค้าจากลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้นรับอีคอมเมิร์ซบูม ตอกย้ำศักยภาพผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ ACOM เปิดเผยว่า บริษัทฯ สามารถทำรายได้ในช่วงไตรมาส 1/2565 เติบโตในระดับที่ดี
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในฐานะเป็นผู้นำการให้บริการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่สามารถเติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวของภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในระดับภูมิภาค โดยข้อมูลจาก Euromonitor คาดว่ามูลค่าธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้นับจากปี 2563 - 2568 จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 19.8 ต่อปี จากยอดขายสินค้ารวม (GMV) ที่ 5.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 1.29 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาและการปรับตัวของผู้ขายสินค้า
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาส 1/2565 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,591.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1,853.7 ล้านบาท โดยบริษัทฯ สามารถบริหาร Operating EBITDA Margin ให้มีอัตราขาดทุนลดลงจากร้อยละ -2.8 สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นร้อยละ -2.7 สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการขยายขนาดทั้งในกิจกรรมทางตรงและทางอ้อมซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเมื่อคิดตามร้อยละของรายได้นั้นลดลง ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ ขณะที่ผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2565 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 115.9 ล้านบาท จาก 214.6 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ของบริษัทฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการดำเนินงานทั้งทางตรงและฝ่ายสนับสนุน การลดลงของผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ปัจจัยการเติบโตมาจากการขยายฐานลูกค้าแบรนด์ไทยและแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 ที่เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 171 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีลูกค้า 114 ราย และยอดขายสินค้าของลูกค้ารายเดิมที่เพิ่มขึ้น โดยยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในไตรมาส 1/2565 อยู่ที่ 2,931.0 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 2,009.4 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอดขายของบริษัทฯ มีความสัมพันธ์ตรงกับการเติบโตของการบริโภคและการจับจ่ายออนไลน์ในอาเซียน (ASEAN Consumer’s Spending) ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยบริษัทฯ มียอดขายสินค้าในหลากหลายประเภท ในช่องทางออนไลน์ที่หลากหลายใน 5 ประเทศและมีระบบเชื่อมต่อกับช่องทางออฟไลน์ของแบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย
“เรามีความมั่นใจในศักยภาพธุรกิจและการเติบโตของบริษัทฯ สะท้อนให้เห็นจากรายได้รวม ณ ไตรมาส 1/2565 ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และรายได้รวมในปี 2562 – 2564 ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 4,601.5 ล้านบาท เป็น 8,948.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 39.5% ต่อปี และเรามีความมุ่งมั่นที่จะขยายฐานลูกค้า พื้นที่ให้บริการและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ เพื่อนำบริษัทฯ เติบโตอย่างมีศักยภาพ เช่น EcommerceIQ Market Insight ที่ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้ามากกว่า 21 รายแล้วถึงแม้จะเพิ่งเปิดตัวไป ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการออกผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ประเภทใหม่ เช่น Logistics Management Channel Management และ Order Management เป็นต้น ซึ่งจะสามารถทำให้บริษัทฯ ได้รับค่าบริการประมาณร้อยละ 3 - 5 ของ EMV บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเติบโต พัฒนาและขยายธุรกิจ EcommerceIQ SaaS ให้มีสัดส่วนรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายการเติบโตทางธุรกิจในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อเป็นการสนับสนุนแบรนด์ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรของบริษัทฯ ในระดับภูมิภาคที่บริษัทฯ ได้ให้บริการอยู่ในปัจจุบันที่ต้องการให้บริษัทฯ ให้บริการในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมถึงแบรนด์ในกลุ่มของ DKSH ที่ดำเนินการในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยที่บริษัทฯ คาดหวังว่าจะมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว” นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป หรือ ACOM กล่าวว่า บริษัทฯ ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ (Webstore Development) บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ (Brand Store Operations) ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ (E-commerce Strategy Consulting) ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร (Warehousing and Fulfillment) รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า (Payment and Delivery) วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics and Insights) รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า (Customer Care Solutions) เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่ 1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
ครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ 2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 4) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และ 5) การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การขยายไปยังตลาดเวียดนาม บริษัทฯ มีสัญญาร่วมมือทางกลยุทธกับทาง DKSH เรียบร้อยแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 16
‘ACOM’ มุ่งขยายธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรในอาเซียนตามแผน หลังรายได้ไตรมาส 1 เติบโตถึงร้อยละ 39.8 ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจ พร้อมประเมินสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ก่อนเดินหน้า IPO
บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (บริษัทฯ) หรือ ACOM ประเมินแนวโน้มธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) อย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบ แต่บริษัทฯ ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทฯ มีการเติบโตของรายได้ ถึงร้อยละ 39.8 และมีฐานลูกค้าแบรนด์ที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นกว่า 57 ราย เป็น 171 ราย จากไตรมาส 1 ปี 2564 พร้อมวางแผนขยายธุรกิจเพื่อรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องและความเป็นผู้นำตลาดในระดับภูมิภาค รวมถึงติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินช่วงเวลา IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เหมาะสม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบัน ได้รับผลกระทบจากความผันผวนในเชิงมหภาค เช่น ราคาพลังงาน ภาวะอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มองว่าภาพรวมธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) อย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น หลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากว่า 2 ปี ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆหันมาทำการตลาดออนไลน์แบบหลากหลายช่องทาง บริษัทฯ ได้วางแผนขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องเพื่อคงความเป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยชูจุดแข็งที่มีบริการครบวงจรแบบ End-to-End ตั้งแต่ต้นจนจบและมีแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อขยายตลาดและเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ตลอดจนรักษาความเป็นผู้นำธุรกิจในระดับภูมิภาค ได้แก่ 1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับผู้ใช้บริการ
อีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละรายให้มีเครือข่ายครอบคลุมกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ ทั้งบริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อนหรือการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล 3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ในด้านฟีเจอร์และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น บนแพลตฟอร์มของบริษัทฯ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน และ 5) เข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น ประเทศเวียดนามและการขยายธุรกิจในประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
โดยในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถขยายฐานลูกค้าที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 มีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรวม 171 ราย เป็นแบรนด์ระดับโลกอย่าง 3เอ็ม (3M) ควิกซิลเวอร์หรือบอร์ดไรเดอร์ส (Quicksilver หรือ Boardriders) เรกคิทท์ (Reckitt) ยูนิลีเวอร์ (Unilever) เป็นต้น โดยเพิ่มขึ้นกว่า 57 รายจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการเสริมตามความต้องการของลูกค้า (Value Added Services) อีก 50 ราย รวมเป็น 221 ราย นอกจากนี้ จากข้อมูลของ Inter Brand พบว่า ในปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 13 แบรนด์จากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564
บริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าให้แก่แบรนด์รายใหญ่ของเอเชียแปซิฟิกที่มีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอกว่าพันแบรนด์ โดย DKSH ได้โอนแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ให้แก่บริษัทฯ และหากแบรนด์อื่นๆในพอร์ตโฟลิโอต้องการขายสินค้าออนไลน์ บริษัทฯ จะได้สิทธิ์เพียงรายเดียว (Exclusive Right) ในการให้บริการสนับสนุนธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้บริษัทฯ มีแผนงานรุกขยายธุรกิจในเวียดนามซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่เป็นผู้ใช้บริการและแบรนด์ในกลุ่ม DKSH ขยายฐานลูกค้าอีกด้วย
ขณะที่ความคืบหน้าในการเข้าระดมทุน IPO นั้น ปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงาน ก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว และได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินช่วงเวลา IPO และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เหมาะสม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน
บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (บริษัทฯ) หรือ ACOM ประเมินแนวโน้มธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) อย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบ แต่บริษัทฯ ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทฯ มีการเติบโตของรายได้ ถึงร้อยละ 39.8 และมีฐานลูกค้าแบรนด์ที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นกว่า 57 ราย เป็น 171 ราย จากไตรมาส 1 ปี 2564 พร้อมวางแผนขยายธุรกิจเพื่อรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องและความเป็นผู้นำตลาดในระดับภูมิภาค รวมถึงติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินช่วงเวลา IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เหมาะสม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACOM เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบัน ได้รับผลกระทบจากความผันผวนในเชิงมหภาค เช่น ราคาพลังงาน ภาวะอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มองว่าภาพรวมธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) อย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น หลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากว่า 2 ปี ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆหันมาทำการตลาดออนไลน์แบบหลากหลายช่องทาง บริษัทฯ ได้วางแผนขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องเพื่อคงความเป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยชูจุดแข็งที่มีบริการครบวงจรแบบ End-to-End ตั้งแต่ต้นจนจบและมีแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อขยายตลาดและเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ตลอดจนรักษาความเป็นผู้นำธุรกิจในระดับภูมิภาค ได้แก่ 1) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับผู้ใช้บริการ
อีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละรายให้มีเครือข่ายครอบคลุมกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ ทั้งบริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อนหรือการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล 3) ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ในด้านฟีเจอร์และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น บนแพลตฟอร์มของบริษัทฯ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน และ 5) เข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น ประเทศเวียดนามและการขยายธุรกิจในประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
โดยในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถขยายฐานลูกค้าที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 มีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรวม 171 ราย เป็นแบรนด์ระดับโลกอย่าง 3เอ็ม (3M) ควิกซิลเวอร์หรือบอร์ดไรเดอร์ส (Quicksilver หรือ Boardriders) เรกคิทท์ (Reckitt) ยูนิลีเวอร์ (Unilever) เป็นต้น โดยเพิ่มขึ้นกว่า 57 รายจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการเสริมตามความต้องการของลูกค้า (Value Added Services) อีก 50 ราย รวมเป็น 221 ราย นอกจากนี้ จากข้อมูลของ Inter Brand พบว่า ในปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 13 แบรนด์จากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564
บริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าให้แก่แบรนด์รายใหญ่ของเอเชียแปซิฟิกที่มีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอกว่าพันแบรนด์ โดย DKSH ได้โอนแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ให้แก่บริษัทฯ และหากแบรนด์อื่นๆในพอร์ตโฟลิโอต้องการขายสินค้าออนไลน์ บริษัทฯ จะได้สิทธิ์เพียงรายเดียว (Exclusive Right) ในการให้บริการสนับสนุนธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้บริษัทฯ มีแผนงานรุกขยายธุรกิจในเวียดนามซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่เป็นผู้ใช้บริการและแบรนด์ในกลุ่ม DKSH ขยายฐานลูกค้าอีกด้วย
ขณะที่ความคืบหน้าในการเข้าระดมทุน IPO นั้น ปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงาน ก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว และได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินช่วงเวลา IPO และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เหมาะสม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 17
เจาะหุ้น IPO ตัวล่าสุด ACOM ธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอาเซียน
19.07.2022
ธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) ครบวงจรในกลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากว่า 2 ปี ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ หันมาทำการตลาดออนไลน์แบบหลากหลายช่องทาง นับเป็นโอกาสที่จะสร้างการเติบโตให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม
ซึ่ง ACOM หรือ บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce Enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และย่อมได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบริโภคดังกล่าวข้างต้น จึงวางแผนขยายธุรกิจในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัทก็อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจต่อยอดการเติบโตในอนาคต โดยธุรกิจ ACOM จะน่าสนใจและมีจุดเด่นแค่ไหน ติดตามได้ในบทความนี้
ธุรกิจและบริการของ ACOM
ACOM เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร โดยบริษัทมีสถานะเป็นกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center)
สำหรับบริการด้านอีคอมเมิร์ซของ ACOM ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทยังพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้ง EcommerceIQ, EcommerceIQ Market Insights และ EcommerceIQ Client Analytics ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS เพื่อนำมาสนับสนุนบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันบริษัทให้บริการใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
โดยสิ้นไตรมาส 1/2565 บริษัทมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรวม 171 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 57 รายจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการเสริมตามความต้องการของลูกค้า (Value Added Services) อีก 50 ราย รวมเป็น 221 ราย นอกจากนี้ จากข้อมูลของ Inter Brand พบว่า ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 13 แบรนด์จากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564
มีผู้ถือหุ้นเป็น DKSH ผู้นำการตลาดด้านสินค้าอุปโภคบริโภค
อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ ACOM เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต คือ การสนับสนุนจาก DKSH ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าให้แก่แบรนด์รายใหญ่ของเอเชียแปซิฟิก และมีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอกว่าพันแบรนด์ ล่าสุดบริษัทได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH โดยบริษัทจะเป็นพาร์ตเนอร์เพียงรายเดียวของ DKSH สำหรับการให้บริการธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ ACOM ดำเนินธุรกิจ ซึ่ง DKSH ได้ถ่ายโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ให้กับ ACOM ทำให้มีโอกาสให้บริการแก่แบรนด์สินค้าใหม่หลายราย นอกจากนั้น บริษัทยังวางแผนเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามเพื่อสนับสนุน DKSH และลูกค้าของบริษัทอีกด้วย ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังการเสนอขายหุ้นไอพีโอครั้งนี้ DKSH จะมีสัดส่วนการถือหุ้นใน ACOM ราว 18.00-19.99%
ผลประกอบการย้อนหลัง
ในด้านผลประกอบการบริษัทยังมีผลขาดทุนสะสม โดยปี 2562-2563 มีผลขาดทุนสุทธิ 781.9 ล้านบาท 458.0 ล้าน และ 563.6 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนไตรมาส 1/65 บริษัทมีขาดทุนสุทธิลดลงอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 115.9 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการดำเนินงานทั้งทางตรงและฝ่ายสนับสนุน การลดลงของผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
บุกตลาดใหม่ ขยายฐานลูกค้า สร้างการเติบโต
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทมีแผนที่จะขยายการเติบโตทางธุรกิจในเวียดนาม เพื่อเป็นการสนับสนุนแบรนด์ ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซของบริษัทในระดับภูมิภาคที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และต้องการให้บริษัทขยายบริการไปในเวียดนาม รวมถึงแบรนด์ในกลุ่มของ DKSH ที่ดำเนินการในเวียดนาม โดยบริษัทคาดหวังว่าจะมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ, 2.ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, 4. มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และ 5. การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การขยายไปยังตลาดเวียดนาม บริษัทฯ มีสัญญาร่วมมือทางกลยุทธกับทาง DKSH เรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลเสนอขายหุ้นไอพีโอ
ACOM จะเสนอขายหุ้น IPO รวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 35% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 15.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ และ 2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้
โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้สำหรับการลงทุนขยายธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และขยายขีดความสามารถในการให้ได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ประมาณ 2,300 - 3,000 ล้านบาท ใช้เป็นเงินทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ ประมาณ 300 ล้านบาท รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ราว 200 ล้านบาท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป 500-800 ล้านบาท
19.07.2022
ธุรกิจให้บริการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) ครบวงจรในกลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากว่า 2 ปี ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ หันมาทำการตลาดออนไลน์แบบหลากหลายช่องทาง นับเป็นโอกาสที่จะสร้างการเติบโตให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม
ซึ่ง ACOM หรือ บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce Enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และย่อมได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบริโภคดังกล่าวข้างต้น จึงวางแผนขยายธุรกิจในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัทก็อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจต่อยอดการเติบโตในอนาคต โดยธุรกิจ ACOM จะน่าสนใจและมีจุดเด่นแค่ไหน ติดตามได้ในบทความนี้
ธุรกิจและบริการของ ACOM
ACOM เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร โดยบริษัทมีสถานะเป็นกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center)
สำหรับบริการด้านอีคอมเมิร์ซของ ACOM ครอบคลุมการออกแบบและพัฒนาร้านค้าออนไลน์ บริหารร้านค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร รับชำระเงินและจัดส่งสินค้า วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก รวมถึงมีศูนย์บริการและดูแลลูกค้า เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ สื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทยังพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้ง EcommerceIQ, EcommerceIQ Market Insights และ EcommerceIQ Client Analytics ในรูปแบบ Software as a Service หรือ SaaS เพื่อนำมาสนับสนุนบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันบริษัทให้บริการใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
โดยสิ้นไตรมาส 1/2565 บริษัทมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรวม 171 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 57 รายจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการเสริมตามความต้องการของลูกค้า (Value Added Services) อีก 50 ราย รวมเป็น 221 ราย นอกจากนี้ จากข้อมูลของ Inter Brand พบว่า ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรที่เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 13 แบรนด์จากลำดับ 100 แบรนด์แรกในปี 2564
มีผู้ถือหุ้นเป็น DKSH ผู้นำการตลาดด้านสินค้าอุปโภคบริโภค
อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ ACOM เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต คือ การสนับสนุนจาก DKSH ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าให้แก่แบรนด์รายใหญ่ของเอเชียแปซิฟิก และมีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอกว่าพันแบรนด์ ล่าสุดบริษัทได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH โดยบริษัทจะเป็นพาร์ตเนอร์เพียงรายเดียวของ DKSH สำหรับการให้บริการธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ ACOM ดำเนินธุรกิจ ซึ่ง DKSH ได้ถ่ายโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจออนไลน์แบบ B2C ให้กับ ACOM ทำให้มีโอกาสให้บริการแก่แบรนด์สินค้าใหม่หลายราย นอกจากนั้น บริษัทยังวางแผนเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามเพื่อสนับสนุน DKSH และลูกค้าของบริษัทอีกด้วย ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังการเสนอขายหุ้นไอพีโอครั้งนี้ DKSH จะมีสัดส่วนการถือหุ้นใน ACOM ราว 18.00-19.99%
ผลประกอบการย้อนหลัง
ในด้านผลประกอบการบริษัทยังมีผลขาดทุนสะสม โดยปี 2562-2563 มีผลขาดทุนสุทธิ 781.9 ล้านบาท 458.0 ล้าน และ 563.6 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนไตรมาส 1/65 บริษัทมีขาดทุนสุทธิลดลงอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 115.9 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการดำเนินงานทั้งทางตรงและฝ่ายสนับสนุน การลดลงของผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
บุกตลาดใหม่ ขยายฐานลูกค้า สร้างการเติบโต
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทมีแผนที่จะขยายการเติบโตทางธุรกิจในเวียดนาม เพื่อเป็นการสนับสนุนแบรนด์ ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซของบริษัทในระดับภูมิภาคที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และต้องการให้บริษัทขยายบริการไปในเวียดนาม รวมถึงแบรนด์ในกลุ่มของ DKSH ที่ดำเนินการในเวียดนาม โดยบริษัทคาดหวังว่าจะมีผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และเพิ่มฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ได้แก่ 1.มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มจำนวนแบรนด์ รายการสินค้าและการให้บริการมากกว่า 1 ประเทศ, 2.ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น บริการจัดการคำสั่งซื้อที่ซับซ้อน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.ขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, 4. มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านฟีเจอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพื่อขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ทั้งบริษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และ 5. การเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อขยายตลาดใหม่ เช่น เวียดนามและขยายธุรกิจที่มีในมาเลเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การขยายไปยังตลาดเวียดนาม บริษัทฯ มีสัญญาร่วมมือทางกลยุทธกับทาง DKSH เรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลเสนอขายหุ้นไอพีโอ
ACOM จะเสนอขายหุ้น IPO รวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 35% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 15.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้ และ 2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งนี้
โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้สำหรับการลงทุนขยายธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่อาจมีขึ้นในอนาคต เพื่อขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์สู่ตลาดใหม่ และขยายขีดความสามารถในการให้ได้มาซึ่งผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร ประมาณ 2,300 - 3,000 ล้านบาท ใช้เป็นเงินทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม EcommerceIQ และเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ ประมาณ 300 ล้านบาท รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ราว 200 ล้านบาท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไป 500-800 ล้านบาท
แนบไฟล์
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ACOM
โพสต์ที่ 18
ACOM เปิดตัวฟีเจอร์ Price Intelligence เกาะติดราคาสินค้าคู่แข่งแบบเรียลไทม์
ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday September 8, 2022 16:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (ACOM) ผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) ครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า บริษัทเปิดตัว "Price Intelligence" ฟีเจอร์ใหม่ที่จะเป็นเครื่องมือเพื่อการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางสงครามราคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์รู้ตำแหน่งของตนเองในตลาด โดยถือเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์และกำหนดราคาที่พร้อมแข่งขันได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้แบรนด์สามารถเติบโตโดยได้ไม่สูญเสียผลกำไร
Price Intelligence เป็นฟีเจอร์ล่าสุดใน EcommerceIQ แพลตฟอร์มการจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางบริษัทพัฒนาฟีเจอร์นี้ขึ้นมาในปี 62 และได้ใช้ภายในบริษัทเพื่อควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ของแต่ละแคมเปญ โดยเริ่มตั้งแต่ Mega Campaign 3.3 จนถึงทุกวันนี้
ฟีเจอร์ล่าสุดดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับแบรนด์ โดยใช้เป็นเครื่องมือติดตามราคาคู่แข่งได้อย่างครอบคลุม ช่วยให้แบรนด์สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าในตลาดของผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันได้อย่างง่ายดาย และสามารถค้นหาจุดสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการทำกำไรและการขยายตัวของธุรกิจ
"Price Intelligence เป็นเครื่องมือถูกที่พัฒนาขึ้นใหม่ โดยมีจุดประสงค์ที่จะช่วยให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องติดตามราคาของแบรนด์คู่แข่งในตลาดด้วยตัวเอง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าออนไลน์ในตลาดอีคอมเมิร์ซ และเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่สามารถช่วยเก็บข้อมูลได้แบบเรียลไทม์" นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
ข้อมูลจาก Price Intelligence จะทำให้การติดตามราคาเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในแคมเปญต่างๆ เช่น การขาย Flash Sales หรือการขายสินค้าด้วยการทำโปรโมชั่นช่วง Pay Day นอกจากนี้ฟีเจอร์ใหม่ดังกล่าวยังช่วยให้ทางแบรนด์สามารถปรับราคาสินค้าเพื่อสร้างรายได้ที่เหมาะสม ตรวจสอบหมวดหมู่สินค้าที่ร่วมรายการจากแบรนด์และผู้จำหน่าย รวมถึงติดตามสินค้าของผู้จำหน่ายที่ไม่ได้ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการได้อีกด้วย โดย Price Intelligence ได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่เพิ่ม URL ของผลิตภัณฑ์จาก LAZADA หรือ Shopee เข้าไปในแพลตฟอร์มก็จะสามารถดูข้อมูลที่ต้องการได้ทันที
อนึ่ง ACOM มีแผนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) รวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น
ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday September 8, 2022 16:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป (ACOM) ผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) ครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า บริษัทเปิดตัว "Price Intelligence" ฟีเจอร์ใหม่ที่จะเป็นเครื่องมือเพื่อการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางสงครามราคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์รู้ตำแหน่งของตนเองในตลาด โดยถือเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์และกำหนดราคาที่พร้อมแข่งขันได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้แบรนด์สามารถเติบโตโดยได้ไม่สูญเสียผลกำไร
Price Intelligence เป็นฟีเจอร์ล่าสุดใน EcommerceIQ แพลตฟอร์มการจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางบริษัทพัฒนาฟีเจอร์นี้ขึ้นมาในปี 62 และได้ใช้ภายในบริษัทเพื่อควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ของแต่ละแคมเปญ โดยเริ่มตั้งแต่ Mega Campaign 3.3 จนถึงทุกวันนี้
ฟีเจอร์ล่าสุดดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับแบรนด์ โดยใช้เป็นเครื่องมือติดตามราคาคู่แข่งได้อย่างครอบคลุม ช่วยให้แบรนด์สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าในตลาดของผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันได้อย่างง่ายดาย และสามารถค้นหาจุดสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการทำกำไรและการขยายตัวของธุรกิจ
"Price Intelligence เป็นเครื่องมือถูกที่พัฒนาขึ้นใหม่ โดยมีจุดประสงค์ที่จะช่วยให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องติดตามราคาของแบรนด์คู่แข่งในตลาดด้วยตัวเอง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าออนไลน์ในตลาดอีคอมเมิร์ซ และเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่สามารถช่วยเก็บข้อมูลได้แบบเรียลไทม์" นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว
ข้อมูลจาก Price Intelligence จะทำให้การติดตามราคาเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในแคมเปญต่างๆ เช่น การขาย Flash Sales หรือการขายสินค้าด้วยการทำโปรโมชั่นช่วง Pay Day นอกจากนี้ฟีเจอร์ใหม่ดังกล่าวยังช่วยให้ทางแบรนด์สามารถปรับราคาสินค้าเพื่อสร้างรายได้ที่เหมาะสม ตรวจสอบหมวดหมู่สินค้าที่ร่วมรายการจากแบรนด์และผู้จำหน่าย รวมถึงติดตามสินค้าของผู้จำหน่ายที่ไม่ได้ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการได้อีกด้วย โดย Price Intelligence ได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่เพิ่ม URL ของผลิตภัณฑ์จาก LAZADA หรือ Shopee เข้าไปในแพลตฟอร์มก็จะสามารถดูข้อมูลที่ต้องการได้ทันที
อนึ่ง ACOM มีแผนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) รวมไม่เกิน 1,599,642,100 หุ้น ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 685,560,900 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด จำนวนไม่เกิน 914,081,200 หุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ACOM
โพสต์ที่ 19
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator