ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 91

โพสต์

ช่วงนี้อาจจะไม่ใช่แค่หลงป่า แต่มีดินถล่ม น้ำป่าไหลหลากเข้ามาบ้าง :rofl: :rofl: :rofl:

ถ้าก่อนหน้าที่ใครฝึกปีนต้นไม้ หนีขึ้นที่สูงบ้าง ก็คงจะใจชื้นหน่อย แต่ถ้าเจอน้ำพัด ช่วงนี้ก็หาเถาวัลย์ รากไทร เกาะไว้แน่นๆ หน่อยนะครับ

แล้วมันก็จะผ่านไป เดี๋ยวเราไปเก็บของป่ากัน

:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1399
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 92

โพสต์

4. ในเมื่อวิธีการลงทุนของคนดังๆหลายๆคนเช่น Buffett, Dalio, Fisher, Lynch, Munger, Theil ได้ถูกเผยแพร่ออกมา มันจะใช้ได้หรือไม่ ถ้าคนส่วนใหญ่นำไปใช้ แล้วความสำเร็จของคนเหล่านี้เป็น survivalship bias หรือไม่
ความแตกต่างคนที่ผลตอบแทนดียาวหลายปี >15ปี ไม่ใช่การนำหลักการมาใช้อย่างเดียว หลักการเรียน3ปีก็รู้เรื่องหมดแล้ว
แต่เป็นเพราะมองอนาคตถูกต้องกว่า และมีกลยุทธ์ที่ดีกว่า

เพราะสิ่งที่ทำให้นักลงทุนต่างกันคืออ่านอนาคตได้ดีกว่ากัน และคำว่าหลักการมันไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปแม้แต่ warren ยังเคยพลาด ก็ขึ้นอยู่ว่าใครพลาดน้อยกว่ากัน
คนที่จบการเงินใช่ว่าจะชนะคนไม่จบ ผมว่าตำราหรือหลักการไม่ใช่ที่สุดของความสำเร็จ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 93

โพสต์

wj เขียน:
อังคาร ธ.ค. 07, 2021 7:29 am
ความแตกต่างคนที่ผลตอบแทนดียาวหลายปี >15ปี ไม่ใช่การนำหลักการมาใช้อย่างเดียว หลักการเรียน3ปีก็รู้เรื่องหมดแล้ว
แต่เป็นเพราะมองอนาคตถูกต้องกว่า และมีกลยุทธ์ที่ดีกว่า

เพราะสิ่งที่ทำให้นักลงทุนต่างกันคืออ่านอนาคตได้ดีกว่ากัน และคำว่าหลักการมันไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปแม้แต่ warren ยังเคยพลาด ก็ขึ้นอยู่ว่าใครพลาดน้อยกว่ากัน
คนที่จบการเงินใช่ว่าจะชนะคนไม่จบ ผมว่าตำราหรือหลักการไม่ใช่ที่สุดของความสำเร็จ
ด้วยความเคารพนะครับพี่ wj ผมว่าคนส่วนใหญ่อ่อนหลักการ (ผมเป็นหนึ่งในนั้น) คล้ายๆ พอจะลงมือทำอาหาร ก็ลงมือทำเลยโดยไม่ศึกษาหลักการ วัตถุดิบ เครื่องปรุง การใช้ความร้อน เทคนิคการทำ รูปแบบการทำ ฯลฯ

สุดท้ายพอทำบ่อยๆ แบบไร้หลักการ แล้วมันก็กินได้ อยู่ได้ เลี้ยงคนในครอบครัวได้ คนใกล้ตัวชมว่าอร่อย ก็เข้าใจว่าเราฝีมือดี ก็เลยลองเปิดร้านอาหารดู

ซึ่งพอได้เปิดร้านอาหาร ได้เห็น review จากลูกค้า เห็นรายได้กำไรของร้านจริงๆ ถึงจะได้เห็นความสามารถตัวเองจริงๆ

(อาชีพนักลงทุนบางทีมันก็ไม่ง่ายดาย และตรงไปตรงมาอย่างนั้น เพราะ เวลาเราลงทุนกว่าจะเห็นผลลัพธ์จริงๆ บางทีมันมี time lag ถึง 5 ปี แถมบางทีเป็นเรื่องโชคช่วยมากกว่าฝีมือ)

จริงอยู่ว่าถ้าเรามีประสบการณ์อย่างยาวนานมากเพียงพอ เราอาจจะตกผลึกออกมาเป็นหลักการอะไรบางอย่างได้ แต่มันจะดีกว่าไหม ที่เราเรียนรู้ได้จากประสบการณ์คนอื่น จากหลักการของคนอื่น

โดยส่วนตัว ผมลงทุนมาตั้งแต่ปี 2003 ลงทุนมา 18 ปี ผมยังงงๆ ก๊งๆ ต้องย้อนกลับไป revise องค์ความรู้ ทฤษฎี และหลักการอยู่เป็นระยะๆ เพราะ บางทีลงทุนมาถึงจุดหนึ่ง เราก็เผลอเดินเข้าไปใน พื้นที่ที่หลักการเดิมๆ ของเราใช้ไม่ได้ หรือไม่หลักการของเราถูกก็จริง แต่กลยุทธ์ หรือ แผนปฏิบัติการของเราผิด

ผมเป็นคนที่ scrutinized ตัวเองบ่อย ไม่ปล่อยให้ต้องรอให้คนมาสะกิดเตือน มันช้าไปกับกระบวนการพัฒนาตัวเอง และสิ่งที่สำคัญที่ผมต้องกลับมาพิจารณาตัวเองบ่อยๆ คือ ผมกำลังทำอะไรอยู่ กำลังหลุดออกไปนอกหลักการอยู่หรือไม่ และถ้าหลุดก็ต้อง scrutinized ตัวเองจนมั่นใจว่า หลักการวิธีการเดิมมันใช้ไม่ได้แล้ว จำเป็นต้อง unlearn และ relearn

อย่างปีที่แล้วเมื่อเจอ COVID โลกมันพลิก หลักการเดิมของผมใช้ไม่ได้อีกต่อไป ผมต้องลงแรง ทุ่มเทเวลาอย่างหนัก เพื่อหาทางใหม่ หลักการใหม่ ที่เข้ากันได้กับโลกหลัง COVID

ผมเป็นคนไม่เก่งครับ พี่ wj อาจจะเป็นคนที่ใช้เวลาแค่ 3 ปีก็เรียนรู้ได้หมด พอดีผมไม่ได้เก่งขนาดนั้น แค่เริ่มต้นลงทุนให้เป็นผมก็ใช้เวลาไป 5 ปีแล้ว กว่าจะเข้าใจหลักการต่างๆ พอทำกำไรได้ก็ต้องใช้เวลา 10 ปี ผ่านมาเกือบ 20 ปีทุกวันนี้ยังหลงป่า วิ่งหนีดินถล่มอยู่เลย

แต่ผมก็สนุกนะ ถึงจะไม่ได้เก่งแบบคนอื่นเค้า ไม่ได้รวยมากๆ แบบคนอื่นเค้า แต่ก็สนุกดี เสียวๆ มันๆ ดี รู้สึกดีที่ได้เห็นอะไรใหม่ๆ ได้พัฒนาตัวเองอยู่ทุกวัน

ผมจะลองยกตัวอย่างประเด็นเรื่องหลักการมันสำคัญยังไงให้ดู เป็นรูปธรรมนิดนึง

อย่างในการลงทุนต่างประเทศ บางทีเราได้ยินว่าหุ้นเทคโนโลยีอย่างพวก SaaS นี่ มันมีการลงทุนใน intangible asset พวก R&D และการลงทุนในการ acquire ลูกค้า ที่เรียกว่า CAC ที่เราจะเห็นผ่าน S&M

ถ้าเราแม่นในหลักการจริงๆ สิ่งที่เราจะเห็นตามมาก็คือ งบกำไร/ขาดทุน มันไม่สะท้อนความจริงของกระแสเงินสด ที่ควรจัดค่าใช้จ่ายทั้ง R&D และ S&M ให้เป็น capital expenditure เพราะ R&D และ CAC เหล่านี้มันส่งผลกระทบกับกิจการมากกว่า 1 ปี เราจำเป็นต้องศึกษาและตัดสินใจว่าการลงทุนในสองส่วนนี้ เราควรตัดจ่าย amortize อย่างไร

ผลที่ตามมา เราจึงจำเป็นที่จะต้อง convert งบการเงินทั้งหมด ให้สะท้อนความจริงข้อนี้ ก่อนทำการวิเคราะห์กิจการ

จะเห็นได้ว่า มันเกิดความขัดแย้งกันของหลักการระหว่าง account กับ finance ที่เราจำเป็นต้องเข้าใจ และต้องลงแรงในการ convert งบทุกครั้งก่อนวิเคราะห์หุ้น SaaS

ผลของการ convert คือ เราจะเห็นความจริงว่า หุ้นพวกนี้ กำไรมันดีกว่าที่คิด ที่เห็นว่าขาดทุนจริงๆ แล้วมันไม่ได้ขาดทุน แต่มันเกิดการขาดทุนจากหลักการบัญชีที่บังคับให้ classify เงินลงทุนใน intangible asset เป็นค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง และทำให้บริษัทขาดทุน

เราจำเป็นต้องใช้หลักการที่ถูกต้อง ในการได้เห็นตัวเลขที่ถูกต้อง ถึงจะได้เข้าใจได้ว่าหุ้นตัวนี้ ถูกหรือแพง ความสามารถในการทำกำไรจริงๆ เป็นเท่าไร

อย่างความเป็นจริงในเรื่องนี้ ผมก็ติดปัญหาในการวิเคราะห์อยู่นาน เพราะว่า ตัวเองอ่อนในหลักการ ต้องกลับไปเรียนรู้ในหลักการนี้ใหม่ ซึ่งพึ่งจะเข้าใจจริงๆ ก็เมื่อไม่นานมานี้

ถ้าปราศจากหลักการ บางทีแล้วเราก็ไม่อาจมองเห็นความจริงในปัจจุบันที่ถูกต้องได้ ไม่ต้องพูดถึงอนาคตที่เราพยายามจะคาดการณ์กันเลยครับ

อนาคตในโลก decentralized, defi, dao หรือ web3 ผมคิดว่าหลักการที่ผมรู้อยู่ทุกวันนี้ก็คงจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ผมคงต้อง unlearn และ relearn ใหม่อีก และเมื่อโลกเปลี่ยนไปอีกในโลกยุค quantum หรือ space economy หลักการเดิมๆ คงจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 94

โพสต์

และถ้าเราแม่นในหลักการของหุ้น SaaS จริงๆ ช่วงนี้ คือ เวลาทองในการหาของถูกเลยครับ

ตลาดหุ้น tech ตอนนี้ rotate จาก high growth ไปสู่ quality growth เท่าที่ไล่ๆ ดูมีหุ้นเด็ดๆ หลายๆ ตัวที่คุณภาพดีแต่ราคาถูก เพราะ ความไม่เข้าใจในหลักการ หรือ ความขี้เกียจในการลงแรงแปลงงบการเงิน

ตลาดหุ้นสหรัฐจะ efficient กับอะไรที่เห็นได้ตรงๆ ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นอะไรที่ต้องลงแรง convert เอง ไม่มีให้ดูง่ายๆ ใน Bloomberg พวกนี้เป็นโอกาสครับ

อาจารย์ Damodaran สอนผมจากประสบการณ์ในการลงทุนหุ้น tech ของเค้ากว่า 30-40 ปี ว่า ถ้ากำไรมันซ่อนอยู่จากหลักการบัญชีที่บิดเบี้ยวแบบนี้ เดี๋ยววันหนึ่งตลาดก็เห็น เราก็แค่ต้องมีความเชื่อและศรัทธา ในปรัชญาและหลักการของเรา
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1399
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 95

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับความเห็น
ผมว่านักลงทุนต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ถ้าปล่อยให้ความรู้หยุดมันไม่ใช่แค่หยุดแต่มันจะถอยหลัง ถ้าจะเปรียบ SaaS ในรายการ R&D หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันน่าจะจับต้องยาก กับบริษัทโบราณอย่าง coke ผมก็มองว่าธรรมชาติการวิเคาะห์ธุรกิจยังพอเอามาใช้ได้ อย่าง coke จ่าย advertising ตรงนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีตัวตนที่เป็นจะกลายเป็น tangible asset(เว้นแต่มันจะถูกขายออกไป) แต่มันคือ asset ที่ทดไว้ในใจของนักลงทุน มันจะแสดงออกมาในแบบของ ROA/ROE ที่ดูสูงขึ้นกว่ากิจการที่มีสินทรัพย์จับต้องได้เช่น โรงไฟฟ้า หรือ ทางด่วน ที่ค่อนข้างชัดเจนว่าใช้สินทรัพย์ที่มีตัวตน แต่โรงไฟฟ้า/หรือทางด่วน ก็พลิกได้เมื่อการได้มาของราคาขายไฟฟ้าในวันที่ประมูลงานได้คำนวณแล้ว irr 10% แล้วต่อมาต้นทุนการก่อสร้างลดลงอย่างมากเช่น solar cell ในวันนี้ หรือการจราจรสูงกว่าคาด ก็จะทำให้ ROA ของกิจการเหล่านี้ดูดีได้แต่มันจะไม่เป็นแบบนี้ในระยะยาวเมื่อมีโครงการมากขึ้น

ผมเชื่อว่า การวิเคราะห์การลงทุนมันเป็นโลกของนักลงทุน มันไม่ใช่เพียงโลกของนักการเงิน ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่อซื้อหุ้นมันต้องมีหลากหลายวิธีที่จะทำเงินกับมันได้

ส่วน 3 ปีที่ผมว่านั้นคือหลักการของเหล่านักลงทุนไม่ว่าจะเป้น Buffett, Dalio, Fisher, Lynch, Munger, Theil หรือการบัญชีเกี่ยวกับการลงทุน ผมว่ามันตายตัวพอควร และปรับไปตามแต่ละอุตสาหกรรมอันนี้มันต้องศึกษาใหม่เรื่อยๆตามแต่อุตสาหกรรมมันจะเป็นไปตรงนี้ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบไม่มีจุดสุดท้ายจนกว่าเราจะเลิกลงทุน

ส่วนสิ่งที่ซ่อนในบัญชี ผมมองว่ามันมีหลากหลายมากและผมคนหนึ่งครับที่ใช้วิธีนี้ในการลงทุน หาอะไรที่มันอยู่ในงบหาให้ละเอียด หาไปเรื่อยๆทีละตัว แต่ผมว่ามันเหนื่อยเลยทีเดียว

ผมเองลงทุน18ปีพอๆกับคุณ picatos และรู้สึกเบื่อในบางเวลาเพราะสมองมันถูกฝึกให้นึกถึงการลงทุนเสมอ เช้า-เที่ยง-เย็น ต้องเปิดดูข่าวบริษัท และต้องศึกษาเทคโนโลยี่ว่าเป็นอย่างไร เมื่อว่างก็ต้องดูหุ้นไหนพอจะเอาไปใส่ใน shortlist แล้วก็ไปแกะหางบว่ามีอะไรอยู่ข้างในบ้าง มันเป็นอะไรที่สนุกในวัยต่ำกว่า 40 ช่วงหลังความจำด้อยลงต้องทำ mind map เพื่อสามารถกลับไปทบทวนในสิ่งที่คิดไว้ได้เร็วขึ้น บางทีความคิดดีๆมันก็ปรากฎออกมาเหมือนสายน้ำที่ไหลบ่าต้องจดเอาไว้ และบางครั้งมันก็เหมือนน้ำปะปาไม่ไหล

ทุกวันนี้กำลังคิดว่าไปลงทุนใน REIT, Bond ดีไหมจะได้เบากายหน่อย แต่ไปเห็นHK เลยมองว่าน่าจะลงทุนง่ายกว่าที่อยู่ในไทย และผมใช้กลยุทธรอให้เป็น รอตอนตลาด panic อันนี้ทำให้เหนื่อยน้อยลง ก็ยังประสบการณ์HKไม่มากแต่ก็พอเอาตัวรอดได้ครับ ผมก็ไม่ได้เก่ง แต่อาศัยขยันที่จะอ่านเจาะงบการเงิน
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 96

โพสต์

ผมคิดว่าถ้า S&M แบบบริษัท traditional company ทั่วไปที่ไม่เกิน 15%-20% ของยอดขาย และ growth ต่ำๆ ก็พอจะตีเหมาะเป็น maintenance capex ได้แหละ

แต่ถ้าบริษัทที่กำลัง blitz scale แบบ snow flake ที่ S&M 60% R&D 40% ผมว่าวิธีคิดแบบปกติอาจจะใช้กันไม่ได้ ต้อง capitalize intangible investment พวกนี้ แทนที่จะคิดเป็น operating expenses นะครับ

โดยส่วนตัวไม่ได้ชอบหาเงิน ไม่ได้ชอบลงทุน เลยจัดสรรเวลาให้กับการลงทุนไม่มาก ตั้งเป้าระยะยาวไม่เกิน 2% ของชีวิต แต่ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนหลักการอาจจะใช้เวลามากกว่าเป้าไปหน่อย

เพราะ มีเวลาให้กับการลงทุนน้อย ผมเลยดูหุ้นน้อย ตัดหุ้นในหลายๆ อุตสาหกรรมทิ้งไปเยอะ และไปเน้นที่หลักการ เน้นอะไรใหญ่ๆ ยาวๆ ที่คนอาจจะไม่มองกัน หรือไม่อยากลงแรง อยากได้หุ้นที่ซื้อครั้งเดียวแล้วถือได้ตลอดชีวิต เลยพยายามหากิจการที่อยู่ได้ 100 ปี และเป็นสิ่งที่ใหญ่จริงๆ

ที่ยกเรื่องความขัดแย้งกันระหว่างบัญชีกับการลงทุนขึ้นมา เพราะ กิจการที่ disruptive power และ network effect สูงๆ ที่มีแนวโน้มเป็น winner take all หลายๆ กิจการที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา มี feature แบบอย่างที่สามารถพลิกเป็นโอกาสในการลงทุนได้

ผมเป็นคนที่ไม่มีความสุขกับการหาหุ้น แต่มีความสุขกับการได้เห็นคนเจ๋งๆ ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่กับโลกใบนี้ มีความสุขทุกครั้งที่ได้ฟัง founder เจ๋งๆ พูดอะไรที่ทำให้เรารู้สึกถึงความสว่าง ฟังแล้วอิ่มเอิบใจเวลาฟัง conference call

กำไรอาจจะไม่มาก แต่ได้ความสุขทางใจ อย่างเมื่อคืนได้ฟัง CEO ของ Zoom ให้สัมภาษณ์ว่าที่ทำ Zoom ขึ้นมา เพราะ สมัยวัยรุ่น แฟนอยู่ต่างเมือง เวลาจะเดินทางไปเจอต้องยืนเบียดบนรถไฟถึง 9 ชั่วโมง กว่าจะได้เจอกัน

หลังจากสร้าง Zoom ขึ้นมาเสร็จ ทุกวันนี้ก็สัญญากับภรรยาว่าจะมี business trip แค่ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง นอกนั้น Zoom หมด

สิ่งเหล่านี้มันทำให้ผมรู้สึกอิ่มใจ มากกว่ากำไรที่ได้จากการลงทุน

บางทีการได้ชื่นชมพืชพันธุ์เหล่าไม้ สัตว์เล็กสัตว์น้อย และทัศนียภาพของธรรมชาติระหว่างหลงป่า มันก็อาจจะมีความสุขกว่าการขึ้นเครื่องบินก็ได้นะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 97

โพสต์

ปีนี้เป็นปีที่โหดแท้สำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะหุ้นสายเทคเลยครับ อเมริกา จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ทุกทวีปอาการเดียวกันหมด

ผมรู้สึกว่าเรียนรู้อะไรเยอะมาก ๆ รู้สึกว่าตัวเองโง่มาก ถ้ามองกลับไปที่ตัวเองตอนต้นปี

และตอนนี้ยังไม่รู้สึกว่าจะฉลาดพอที่จะแข่งขันได้ ก็เดินทาง เรียนรู้ กันต่อไปครับ

แต่ถึงยังไงโลก digital ก็เดินหน้าแบบไม่หวนกลับ

เราก็เลือกได้ว่าจะตามมันไปด้วยการ unlearn และ relearn ใหม่

หรือ ลองหาของเก่าที่ classic ไม่ถูก disrupt ที่ยังใช้ตำราเดิมๆได้ 100%

การลงทุนต่างประเทศยังไงก็คือทางสายเอกทางเดียว

ที่ทำให้เรามองเห็นว่า เราอยากเลือกทางไหนที่เหมาะกับเราที่สุด

ทั้งเวลาที่ใช้ ทั้งผลตอบแทนที่ได้ รวมไปถึงความสุขที่เราจะมีในระหว่างทาง

ผมก็ยังยืนยันแบบนี้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 98

โพสต์

Linzhi เขียน:
พุธ ธ.ค. 08, 2021 1:52 pm
ปีนี้เป็นปีที่โหดแท้สำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะหุ้นสายเทคเลยครับ อเมริกา จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ทุกทวีปอาการเดียวกันหมด

ผมรู้สึกว่าเรียนรู้อะไรเยอะมาก ๆ รู้สึกว่าตัวเองโง่มาก ถ้ามองกลับไปที่ตัวเองตอนต้นปี

และตอนนี้ยังไม่รู้สึกว่าจะฉลาดพอที่จะแข่งขันได้ ก็เดินทาง เรียนรู้ กันต่อไปครับ

แต่ถึงยังไงโลก digital ก็เดินหน้าแบบไม่หวนกลับ

เราก็เลือกได้ว่าจะตามมันไปด้วยการ unlearn และ relearn ใหม่

หรือ ลองหาของเก่าที่ classic ไม่ถูก disrupt ที่ยังใช้ตำราเดิมๆได้ 100%

การลงทุนต่างประเทศยังไงก็คือทางสายเอกทางเดียว

ที่ทำให้เรามองเห็นว่า เราอยากเลือกทางไหนที่เหมาะกับเราที่สุด

ทั้งเวลาที่ใช้ ทั้งผลตอบแทนที่ได้ รวมไปถึงความสุขที่เราจะมีในระหว่างทาง

ผมก็ยังยืนยันแบบนี้
จะเหมาหุ้น tech โดยรวมว่าแย่ คงจะไม่ถูก เพราะ หุ้นเทคตัวใหญ่อย่าง FANGMAN ปีนี้ก็กำไรดีอยู่ น่าจะเป็นพวก tech ตัวเล็กๆ มากกว่า ที่คืนกำไรที่ได้มาจากปีที่แล้วกลับคืนให้ตลาดไป

ไม่รู้สิ ผมฟังหลายๆ คนบอกว่าเล่นหุ้นเทคตัวเล็กๆ ที่กำลังเปลี่ยนโลก ให้ซื้อแล้วปิดพอร์ต ปิดตา ไม่ต้องสนใจ valuation ไม่ต้องสนใจราคา ใช้ศรัทธาเอาอย่างเดียว ผมว่ายาก เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้วมันเกินความสามารถของจิตใจมนุษย์ ยกเว้นจะมีสัดส่วนในพอร์ตอยู่น้อยมากๆ ถึงจะไม่สนใจได้จริงๆ ถ้าไม่อย่างนั้นต้องเป็นคนที่ได้ผลประโยชน์อย่างอื่น อย่างชื่อเสียง หรือ รายได้จากการสอนและจัดสัมมนา ถึงจะมี mentality ระดับนั้นได้

โดยส่วนตัว อัดหุ้นเทคทั้งพอร์ต อยู่ต่างประเทศเกิน 90% และจิตใจไม่เข้มแข็งขนาดนั้น เลยต้องพึ่งพาอาจารย์ และพระพุทธ ต้องมีวิชาในการ valuation รู้จักคุมหน้าตักและความเสี่ยง มีเทคนิคในการเอาตัวรอดหนีตาย และก็หวังว่าบุญกุศลที่สั่งสมมา จะไม่ทำให้ซวยจนเกินไป

ปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ได้เรียนรู้อะไรอีกเยอะมาก สนุกทุกปีที่ได้ลงทุน มันที่สุดของปีนี้ ก็เรื่องจีน และการเมืองเลยครับ

หวังว่าปีหน้าจะมีอะไรสนุกๆ ให้เรียนรู้อีก

ว่าแต่ว่า ตอนนี้หุ้นเทคตัวเล็กๆ ที่ลงมารอบนี้ มันมีของดีๆ ที่ถูกเทกระจาด เพราะ พฤติกรรมเหมารวมของตลาดอยู่นา...า

น่าจะเป็นเวลาที่ควรขยันมากกว่าปิดตา
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 99

โพสต์

นับถืออาจารย์ picatos มากๆ เลยครับ เวลาแค่ 2% ของอาจารย์ น่าจะสร้างองค์ความรู้ได้มากกว่าเวลาศึกษาหุ้นทั้งชีวิตที่ผ่านมาของผมเลย

ยิ่งช่วงนี้ผันตัวมาเป็น full-time dad แล้ว ก็ยิ่งพบว่าตัวเองเริ่มตามเด็กรุ่นใหม่เขาไม่ทันขึ้นเรื่อยๆ แล้ว สงสัยว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าไม่แพ้ AI ก็คงสู้เด็กรุ่นใหม่ไม่ไหว ^^"

เห็นอ.ดังตฤณท่านว่า ถ้า success ทางโลกมากๆ แรงยึดเหนี่ยวจะมากจนหันไปหาทางธรรมยาก ฟังแล้วเป็นกำลังใจที่ดี มิน่าไอเราก็ทำอะไรทางโลกไม่ค่อยสำเร็จ (ถถถ) สงสัยว่าใน 10 ปีข้างหน้า พอลูกเริ่มโต ถ้าผมไม่อ่านหุ้นจนหัวฟู เพื่อพยายามตามโลกให้ทัน ก็คงอาจจะต้องปรับพอร์ตบางส่วนไปลงทุนในกองทุน แล้วหันไปเร่งความเพียรศึกษาธรรม

ไม่เกี่ยวกับหัวกระทู้เลยครับ แต่อยากโพสแบบชิวๆ บ้าง หวังว่าอาจารย์และท่านนายกจะไม่ถือสา

ปล. อาจารย์เคยแซวว่า เสียดายไหม พลาดโอกาสรวยกับบริษัท startup ตอนนั้นลืมตอบ ผมไม่เสียดายนะครับ ไม่ได้รู้สึกว่าพลาดอะไรไป และรู้สึกว่าน่าจะดีแล้วที่ได้พลาดไป ไม่อย่างนั้นตอนนี้คงหัวฟูกว่าเดิม และคงมีเวลาให้ครอบครัวและการศึกษาธรรมน้อยลงกว่านี้มากเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 100

โพสต์

นายมานะ เขียน:
พุธ ธ.ค. 08, 2021 9:59 pm
นับถืออาจารย์ picatos มากๆ เลยครับ เวลาแค่ 2% ของอาจารย์ น่าจะสร้างองค์ความรู้ได้มากกว่าเวลาศึกษาหุ้นทั้งชีวิตที่ผ่านมาของผมเลย

ยิ่งช่วงนี้ผันตัวมาเป็น full-time dad แล้ว ก็ยิ่งพบว่าตัวเองเริ่มตามเด็กรุ่นใหม่เขาไม่ทันขึ้นเรื่อยๆ แล้ว สงสัยว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าไม่แพ้ AI ก็คงสู้เด็กรุ่นใหม่ไม่ไหว ^^"

เห็นอ.ดังตฤณท่านว่า ถ้า success ทางโลกมากๆ แรงยึดเหนี่ยวจะมากจนหันไปหาทางธรรมยาก ฟังแล้วเป็นกำลังใจที่ดี มิน่าไอเราก็ทำอะไรทางโลกไม่ค่อยสำเร็จ (ถถถ) สงสัยว่าใน 10 ปีข้างหน้า พอลูกเริ่มโต ถ้าผมไม่อ่านหุ้นจนหัวฟู เพื่อพยายามตามโลกให้ทัน ก็คงอาจจะต้องปรับพอร์ตบางส่วนไปลงทุนในกองทุน แล้วหันไปเร่งความเพียรศึกษาธรรม

ไม่เกี่ยวกับหัวกระทู้เลยครับ แต่อยากโพสแบบชิวๆ บ้าง หวังว่าอาจารย์และท่านนายกจะไม่ถือสา

ปล. อาจารย์เคยแซวว่า เสียดายไหม พลาดโอกาสรวยกับบริษัท startup ตอนนั้นลืมตอบ ผมไม่เสียดายนะครับ ไม่ได้รู้สึกว่าพลาดอะไรไป และรู้สึกว่าน่าจะดีแล้วที่ได้พลาดไป ไม่อย่างนั้นตอนนี้คงหัวฟูกว่าเดิม และคงมีเวลาให้ครอบครัวและการศึกษาธรรมน้อยลงกว่านี้มากเลยครับ
จริงๆ concept ของ 2% ของชีวิต ผมได้แรงบันดาลใจมาจากหมอพงศ์ศักดิ์ กับ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

มีครั้งหนึ่งผมมีโอกาสได้ถามหมอพงศ์ศักดิ์ว่าเค้าใช้เวลาอย่างไรในชีวิตในการศึกษาหุ้น ถึงรู้ว่าเค้าใช้เวลาแต่ละวันแค่ประมาณ 2 ชั่วโมง ในขณะที่ผมใช้เวลามากถึง 8-10 ชั่วโมง เราใช้เวลามากกว่าหมอตั้งเยอะ แต่ผลตอบแทนต่ำกว่ามาก รู้เรื่อง จับประเด็นในธุรกิจต่างๆ สู้คุณหมอเค้าไม่ได้เลย เลยทำให้ผมต้องกลับมาคิดว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ ประสิทธิภาพในการใช้เวลาของเราเป็นอย่างไร

พอพยายามจะ upgrade time efficiency ตอนนั้นผมเริ่มฝึกปฏิบัติธรรมแล้ว แล้วก็ได้ศึกษาเรื่ององค์แห่งการตรัสรู้ พบว่าจิตตรัสรู้ดวงเดียวที่มีประสิทธิภาพจริงๆ สามารถรู้แจ้งโลก รู้แจ้งทุกสิ่งได้ เลยคิดว่ามันมีหนทางเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เวลา ตอนแรกตั้งเป้าเอาไว้ที่ 5% พอทำได้ เลยลดลงเหลือ 2%

จริงๆ ในช่วงนี้แม้ว่าผมใช้เวลากับการลงทุนมากขึ้น แต่ผมใช้มากขึ้น เพื่อที่จะ upgrade ระบบ operating system ของตัวเอง จัดระบบการ screen หาหุ้น feed ข้อมูล และวิเคราะห์หุ้นให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เพื่อที่จะสามารถที่จะลดการใช้เวลาลงให้เหลือ 1% ของชีวิต

ผมเชื่อนะครับว่า การลงทุนที่ดีจริงๆ เราควรที่จะซื้อมันทีเดียว แล้วไม่ต้องขายไปตลอดชีวิต ในเมื่อการซื้อก็สามารถเสร็จได้ในเสี้ยววินาที เวลาตั้งเยอะแยะในการลงทุนของเรามันถูกใช้ไปกับเรื่องอะไรกันแน่ ผมถามตัวเอง

ผมอยากจะคั้นเอาที่เน้นๆ จริงๆ จะได้เอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า ผมเชื่อว่าโอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์เป็นของหายาก ช่วงเวลาในการเป็นมนุษย์ช่างสั้นแสนสั้น ผมอยากใช้เวลาที่มีอยู่น้อยนิดกว่านี้ไปกับเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า

คำถามคือ เรื่องอื่นที่สำคัญกว่านี้ มันสามารถสอดประสาน และส่งเสริมให้การลงทุนเราง่ายขึ้นได้หรือไม่ เราสามารถเอาสิ่งที่เราชอบอยู่แล้ว ทำอยู่แล้วไปต่อยอดในการลงทุนได้ไหม

ฐานในการที่เอาไปต่อยอดในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการศึกษาในอดีต ประสบการณ์ทำงาน ความชื่นชอบและสนใจนับตั้งแต่วัยเด็ก ประสบการณ์ทางธรรม ทุกอย่างที่เป็นไปได้ ถูกใช้เป็นฐานในการเลือกเส้นทางที่เราจะศึกษาสิ่งต่างๆ เพิ่ม ในลักษณะยิงปืนนัดเดียวให้ได้ 2 ตัว คือ ตอบโจทย์ในที่เติมเต็มความสุขในการใช้ชีวิตของเรา และเป็นฐานที่ดี ที่จะเอาไปต่อยอดเรื่องลงทุน

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงปฏิเสธที่จะเสียเวลาศึกษาหุ้นในหลาย sector มากๆ มี say no กับหุ้นหลายๆ ตัวไปเยอะมาก แต่ผมเชื่อมากกว่าว่า ถ้ามันเป็นหุ้นที่ดีจริงๆ ที่เราสามารถถือลงทุนได้ตลอดชีวิต แม้ว่าวันนี้เราจะ say no กับมันไป เดี๋ยวมันจะกลับมา มันจะดึงดูดให้เราอยากดูมันเองในอนาคต และมันจะมีวันที่ราคามันได้และใจเราพร้อม ไม่จำเป็นต้องฝืนเข้าไปศึกษา เพราะ ใครๆ เค้าก็เล่นกัน ใครๆ เค้าก็รู้กัน การไม่เข้าสังคมของผม เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลา เพราะ ผมจะเสียเวลาไปกับ FOMO น้อยมาก

ในเมื่อการใช้ชีวิตในสิ่งที่เราชอบทุกๆ วัน เป็นฐานที่พร้อมจะเอาไปใช้ในการลงทุนได้ การลงทุนก็จะเป็นแค่งานอดิเรกสนุกๆ ที่อยากทำก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ แถมได้ผลตอบแทนระยะยาวที่โอเค ไม่ได้เครียดจนเกินไป

อย่าคิดจะไปแข่งอะไรกันใครเลยครับตู้ มันไม่สนุกหรอก แข่งชนะปีนี้ไปแล้วไงอ่ะ ชีวิตมันเป็น infinite game อยู่แล้ว ถ้าพยายามจะชนะในปีนี้ พยายามชนะปีหน้าให้ได้ สุดท้ายก็ burn out แล้วก็ drop out ออกไปอยู่ ถึงเทพมาก ชนะจนวันตาย สุดท้ายก็ตายป่ะ

ตายไปก็มีคนจำเราได้ไม่กี่คน แถมความจำของมนุษย์ก็ช่างแสนสั้น เรื่องล่อหลอกให้คนที่เราอยากให้เค้าจำเราก็มีตั้งเยอะแยะ เค้าคิดถึงเราก็ไม่ค่อยบ่อยหรอก แถมยิ่งผ่านไปนานความทรงจำก็ยิ่งเลือนลาง สุดท้ายวันหนึ่งเค้าก็ลืมเรา หรือไม่วันหนึ่งเค้าก็ตายจากโลกนี้ไปเหมือนกัน

เด็กรุ่นใหม่และ AI มันเก่งกว่าเราแน่ๆ เหมือนกับที่ผมเห็นเด็กยุคใหม่หลายๆ คนรวมไปถึงตู้และเพื่อนๆ ที่ผมก็รู้สึกว่าพวกคุณก็หนุ่มกว่าผม ขยันกว่าผม เก่งกว่าผม รู้มากกว่าผมตั้งเยอะ

ช่วงเวลาของผมก็ได้ผ่านไปแล้ว เสื่อมไปแล้ว ดับลงไปแล้ว ผมไม่หวังที่จะได้ผลตอบแทนเยอะๆ อย่างในอดีตแล้ว เพราะ มันไม่เหมาะสมกับเหตุปัจจัย

แต่มันจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถที่จะมีมุทิตาจิต ยินดีไปกับความเก่ง และความสำเร็จของเด็กยุคใหม่ๆ และ AI ในอนาคต

ผมได้แรงบันดาลใจและได้ประโยชน์มาจากนักลงทุนรุ่นก่อนๆ และบุคคลต่างๆ ในอดีต ผมก็ขอส่งผ่านกำลังใจและองค์ความรู้ เพื่อเป็นฐานที่จะให้ตู้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และคนรุ่นใหม่ๆ ได้ก้าวขึ้นไปในที่ๆ สูงยิ่งๆ ขึ้น ยิ่งกว่าที่ผมสามารถทำได้


ปล: ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องหัวข้อกระทู้อยู่แล้ว เพราะผมแคร์คนที่ผมพยายามจะสื่อสารด้วยมากกว่า... ถถถ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ztar
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 101

โพสต์

เป็นกระทู้ที่ย้อนกลับมาอ่านหลายรอบมากๆ ได้เรียนรู้อะไรตลอดสำหรับมือใหม่เช่นผม ขอบคุณพี่ๆทุกท่านที่ช่วยแชร์มุมมอง ประสบการณ์ มากๆนะครับ

ปล. เฝ้ารออ่านอัพเดต ไอเดีย/discussion คุณ Picatos, นายกหลิน, คุณตู้ และ ท่านอื่นๆนะครับ FC ครับ
Zolo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 74
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 102

โพสต์

สอบถามพี่ๆครับเรื่องปีหน้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ EPF จะมีกองใหม่ที่ลงทุนในต่างประเทศ ควรย้ายจากลงทุนในหุ้นไทยไปลงกองใหม่ไหมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 103

โพสต์

ความยากของตลาดหุ้นต่างประเทศ
.
1. เรามองเห็นทุกอย่างไม่ครบ
.
ธุรกิจหลายอย่างมีความเสี่ยงเฉพาะตัว การลงทุนต่างประเทศมักจะมีความซับซ้อนที่เรามองไม่เห็น หรือเรามองไม่ออกเลย
.
เนื่องจากธุรกิจในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันสูง รสนิยมผู้บริโภค พัฒนาการของตลาด กฎเกณฑ์ภาครัฐ กฎหมาย รวมไปถึงผู้บริหาร ซึ่งความเข้าใจตรงนี้ก็ต้องอาศัยการเก็บเกี่ยวประสบการณ์เป็นอย่างมาก
.
2. เราติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ยาก หรือช้ากว่า
.
ข้อมูลในต่างประเทศดี ๆ มักจะเสียเงิน และแพงมาก ๆด้วย
.
รายย่อยยากที่จะมีข้อมูลที่เหนือกว่าได้ ที่แย่ไปกว่านั้นคือข้อมูลที่เป็นข้อมูล first hand information เราไม่สามารถไปเก็บเองได้
.
การติดต่อ IR แทบจะเป็นไปได้ยากมากในหุ้นต่างประเทศ นอกจากนั้น คำตอบของ IR นั้น เราจะพิสูจน์ได้อย่างไร ว่าถูกต้อง
.
และอุปสรรคสำคัญอีกอย่างคือ สภาพแวดล้อม ความใกล้ชิดในตลาดแทบเป็นไปไม่ได้ เรามักตามแต่ข่าวในตลาดหุ้น ซึ่งข่าวในตลาดมักจะเป็นข่าวที่ช้าไปแล้ว โอกาสที่เราจะติดตาม ข่าวทั่ว ๆ ไปในหุ้นต่างประเทศนั้น มีน้อยกว่ามาก
.
3. ตลาดหุ้นมีความผันผวนรุนแรงกว่าไทย
.
หุ้นไทย +/- ได้ระดับหนึ่ง แต่หุ้นต่างประเทศเนื่องจากมีเครื่องมือทางการเงินเช่นการ Future หรือ Options บางครั้งหุ้นลงแต่มีคนทำเงินได้ ต่างจากหุ้นไทยที่ทุกคนจะทำเงินได้ต่อเมื่อหุ้นขึ้น ทำให้มีแรงจูงใจที่ทุกคนจะร่วมมือกัน (ฮั้ว) กันมากกว่า (จนกว่าฮั้วจะแตก)
.
4. ตลาดหุ้นมีความเฉลียวฉลาดมากกว่า
.
ในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว มักจะมีการคิดสองชั้นสามชั้นเสมอ ท่าไม้ตายง่าย ๆ คือก่อนหุ้นจะลงจะสับขาให้ขึ้นก่อนเพื่อขายของ และก่อนจะขึ้น ต้องทุบให้ตายเรียบก่อน
.
นอกจากนั้น ตลาดยังมีการทำ model ที่ค่อนข้างแม่นยำมาก ดังนั้นผลประกอบการที่ผิดจาก assumption จะส่งผลร้ายแรงกับราคาหุ้นภายในวันเดียว การ +/- ระดับ 50% ในวันเดียวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ อย่างถาวรในหุ้นต่างประเทศ
.
5. การศึกษา และ ความลึกที่ไม่เพียงพอของนักลงทุนไทย
.
การลงทุนในตลาดหุ้นใหม่ ๆ ในธุรกิจใหม่ ๆ ยิ่งทำให้มีความยากเป็นทวีคูณ และนอกจากนั้น ยังมีหุ้นให้เลือกจำนวนมาก (หุ้นไทยมี <1,000 ตัว หุ้นนอกมี 630,000 ตัว) นักลงทุนจึงมักจะรู้เพียงแค่ว่า หุ้นนี้ทำธุรกิจอะไร โมเดลเป็นยังไง ความเข้าใจหุ้นแบบหยาบ ๆ มักจะไม่เพียงพอในการทำเงินได้จริงในตลาดหุ้น และยิ่งไม่เพียงพอ ถ้าเราต้องการ Alpha หรือทำผลตอบแทนชนะตลาดหุ้นในระยะยาว
.
สรุป
สำหรับการเอาตัวรอดในตลาดหุ้นต่างประเทศ ผมคิดว่าต้องอาศัยชั่วโมงบิน ยังไงก็ไม่มีทางลัด และแน่นอนว่าเป็นโหมด Hard กว่าตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนที่คาดหวังได้นั้น ขึ้นกับ
.
ความสามารถเรา x ความสามารถของหุ้น
.
ถ้าเราลงทุนหุ้นไทย เรามีความสามารถ 9 หุ้นอาจจะมีคุณภาพ 5 ผลลัพท์คือ 45 แต่ถ้าเราลงหุ้นต่างประเทศ เรามีความสามารถ 3 หุ้นมีคุณภาพ 10 ผลลัพท์คือ 30 ซึ่งแพ้ตลาดหุ้นไทย
.
แย่ไปกว่านั้น ถ้าหุ้นดี เราอาจจะซื้อแพง ไปขายถูก สุดท้าย อะไร คูณด้วย 0 หรือ คูณค่าติดลบ ผลมันก็จะไม่ดีแน่นอน
.
สำหรับนักลงทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการขยาย Circle of Competence หรือขอบเขตความสามารถ ซึ่งทุกวันนี้ คนจะเก่งเร็วขึ้นทุกวัน ยังไม่นับ AI ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการลงทุนมากขึ้น
.
บางครั้งการลงทุนในยุคอนาคตอาจจะไม่ใช่โลกของเป็ด แต่เป็นโลกของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจจะเป็นหนทางเดียวที่เราจะเอาชนะใน Age of AI ได้
.
ผมไปค่อย ๆ โพสต์หุ้นเริ่ม ๆ ไว้ใน www.Thaivi.org ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ ก็หวังว่าจะมีนักลงทุนถกกันมากขึ้น เพราะสุภาษิตจีนบอกว่า ช่างรองเท้าสามคนรวมกันนั้น เหนือกว่าขงเบ้ง (三个臭皮匠,顶个诸葛亮)
.
วีไอไทยรวมกัน ก็อาจจะเหนือกว่าวอลสตรีทก็เป็นได้ครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 104

โพสต์

ไม่ได้อัพเดทนาน เพราะยุ่งมาก ๆ ครับช่วงนี้

แต่ผมยังสนุกอยู่นะครับ แม้ว่าสนุกน้อยลงเพราะมันไม่คึกคักเหมือนปี 2020/ต้น2021

แต่ก็คิดว่ามีโอกาสอยู่อีกมากมายในต่างประเทศ

ส่วนคนที่ไม่พร้อมก็ควรจะตระหนักถึงความเสี่ยงให้มากเข้าไว้

ผมใช้เวลาเยอะมาก ๆ จริงๆ และได้ผลตอบแทนที่ไม่แปรผันกันเลย

แต่ผมคิดว่าคุ้มค่าสำหรับระยะยาว ๆ

เพราะเอาจริง ๆ แนวลงทุนผมก็คือ ​หาจุด Lagrange point ใน Universe of investment ให้เจอ

คือ ซื้อเสร็จแล้วไม่แตะไปนาน ๆ ตอนนี้ยังพยายามหาจุดนี้ให้เจออยู่ครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 105

โพสต์

ผมสังเกตว่าเวลานายกหลินเขียน มักจะเขียนในมุมของการแข่งขัน ว่าเราจะไปแข่งอะไรกับเขาอย่างไร ซึ่งตามปกติแล้ว ผมจะไม่ค่อยได้คิดในมุมที่ว่าเราจะไปแข่งอะไรกับคนอื่น และจะไปเอาชนะอะไรกับคนอื่นอย่างไร แต่ในวันนี้อยากลองเขียนในมุมการเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของนักลงทุนไทยเมื่อเทียบกับชาวต่างชาตินิดนึง

ถ้าเราได้เรียนรู้โลก ศึกษาโลกเยอะๆ จะพบว่า ถ้าวัดกันที่ความสามารถ โดยรวมๆ แล้ว คนในประเทศเรา ที่เกิดในดินแดนที่ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีอากาศสบายตลอดทั้งปี รองเท้าแตะคู่เดียว ไปได้ทั้งประเทศ เวลาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราก็เลยจะเงียบๆ ไม่ออกมาเรียกร้องสิ่งที่ถูกต้อง และทุกครั้งที่เกิดเหตุอะไรขึ้น คนที่อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบอะไรก็แล้วแต่ จะมีคำว่า "เราไม่ได้นิ่งนอนใจ" เป็นคำแก้ตัวประกอบร่วมด้วยตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความชิวของคนไทย ที่ไม่ได้ชอบไปแข่งขันอะไรกับคนอื่น ชิวๆ ปล่อยไหล นิ่งนอนใจกันสุดๆ

แตกต่างกันประเทศที่มี 4 ฤดู หน้าหนาวโหดร้าย ถ้ามีใครมาแย่งของเราไปในหน้าหนาวสุดแสนทรหด มันหมายถึงความเป็นความตายของเราเลยทีเดียว วัฒนธรรมของประเทศเมืองหนาว จึงรักษาสิทธิตัวเอง ไม่ปล่อยให้คนมาเอาเปรียบ กฎสังคมต้องเป็นกฎสังคม เพราะ มันอาจหมายถึงความชีวิตและความตาย อาหาร ข้าวของที่มีอยู่อย่างจำกัด ต้องวางแผนการจัดเก็บอาหาร วางแผนการเพาะปลูก พูดย่อๆ โดยรวมแล้ว คนที่เกิดประเทศเมืองหนาวจึงมีคุณสมบัติขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงกว่า เพราะ วัฒนธรรมส่งเสริมให้วางแผน ส่งเสริมให้อดทนต่อสภาพอากาศ และรู้จักใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฤดู เป็นต้น

ยิ่งประเทศ สหรัฐฯ ที่เป็นประเทศที่รวบรวมคนร้อยพ่อ พันแม่ จากดินแดนต่างๆ อพยพเข้ามาอยู่ แสวงหาโอกาส แข่งขัน แย่งชิงกันแล้ว ระดับของความเข้มข้ม และขีดความสามารถในการแข่งขันของนักลงทุนสหรัฐฯ เรียกได้ว่า เอาชนะเราตั้งแต่เลือกเกิดกันมาแล้ว

ความเห็นส่วนตัว คือ ถ้าคิดจะไปแข่งกับคนระดับโลกที่สหรัฐฯ แบบตรงๆ ผมว่าเตรียมตัวแพ้ เตรียมตัวตายเอาไว้เลยดีกว่า พื้นฐานทางวัฒนธรรม และ Mindset ของเรามันต่างชั้นกันเกินไป ผมอยากจะแนะนำว่า ถ้าคิดจะไปแข่งกับเค้า ยอมแพ้เค้าไปเลย แล้วซื้อ Index Fund น่าจะดีกว่า เพราะ เป็นการเกาะขี่ความสามารถของคนเก่งๆ โดยปล่อยให้คนเก่งๆ ฆ่าฟันกัน คั้นเอาสิ่งที่ดีที่สุดออกมาเป็นค่าเฉลี่ย ที่มีต้นทุนต่ำ น่าจะเหมาะกับคนไทยไม่ได้แข่งเก่ง และไม่ได้อยากจะครองโลก

แต่ถ้าสมมติว่าเราไม่คิดว่าจะไปแข่งขันอะไรกับเค้าล่ะ ถ้า Return ของ Index รายปี ไม่ใช่ Benchmark ที่เราพยายามจะไปเอาชนะ เรามีขีดความสามารถอะไรที่ดูแล้ว เราพอจะเอาตัวรอด และได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจในตลาดโหดๆ แบบนี้ได้บ้าง

โดยส่วนตัวผมคิดว่าจุดเด่นที่สุด และเรียกว่าเป็นโชคอันประเสริฐสุดของการได้เกิดเป็นคนไทย คือ การได้เข้าถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่โดดเด่นที่สุด ที่เหนือกว่าองค์ความรู้ทางจิตอื่นใดในโลกนี้

ถ้าความสำเร็จในการลงทุนประกอบด้วย 1) ความสามารถในการวิเคราะห์ 2) ความสามารถในการจัดการใจตัวเอง บวกกับ 3) โชค ผมคิดว่าการเกิดเป็นคนไทยผู้ที่ได้ฝึกจิตในวิถีพุทธเราแม้ว่าจะแพ้ชาวต่างชาติในข้อที่ 1 แต่เรามีลุ้นมากๆ กับข้อที่ 2 กับ 3

อย่างในข้อที่ 3 พุทธฯ ของเราได้สอนในเรื่องกรรมและวิบากเอาไว้อย่างชัดเจนว่า วิบาก (ผลลัพธ์) ที่ดี เกิดจาก กรรม (เหตุ) ที่ดี ถ้าเราให้คนสุขคนอื่นเอาไว้มาก เราก็จะเสวยวิบากในการได้รับความสุขอย่างแน่นอน ถ้าเราให้โชคคนอื่นเอาไว้มาก ตัวเราเองก็จะเป็นผู้รับโชคที่ไม่คาดหวังได้มาก ดังนั้นถ้าเราจะแก้ปัญหาในเรื่องโชคในการลงทุน เราควรหมั่นสร้างเหตุในการให้โชคกับคนอื่น บ่อยๆ ตัวอย่างเช่น เห็นคนทำงานดีตั้งใจเราก็สนับสนุน ให้ทิป พูดกับเค้าดีๆ ให้กำลังใจในการทำงาน เขียน Comment ชื่นชมคน ทำดีแบบนี้ บ่อยๆ จนเป็นอาจิณ เพื่อที่ว่าวันหนึ่งผลของเราที่ตั้งใจทำงานในการลงทุน จะได้รับผลลัพธ์ที่เหมาะสมกับเค้าบ้าง

ในข้อที่ 2 ความสามารถในการจัดการใจของตัวเอง การฝึกสติ ผมเชื่อว่าช่วยในการลงทุนได้เป็นอย่างมาก อย่างการลงทุนในหุ้นอย่าง Amazon สิ่งที่นักลงทุนต้องเจอ คือ การ Drawdown แบบโหดๆ
ภาพผลตอบแทนและการ Drawdown สะสม

Drawdown ของ Amazon เมื่อเทียบกับดัชนีในแต่ละปี


กราฟจากในบทความ Looking For The Next Amazon แสดงให้เห็นว่าในการลงทุนหุ้นสุดเทพอย่าง Amazon เราจะต้องเจอ Drawdown เฉลี่ยปีละ 36% ปีที่โดนจัดหนักสุดๆ อย่างปี 2000 และ 2001 เราต้องทนกับการ Drawdown ระดับ 83% และ 73% และถ้าคุณถือข้ามปี 1999 ไปถึง 2000 คุณอาจจะได้เห็นเงินคุณหายไปมากถึง 95% เลยทีเดียว

ผมคิดว่า Mentality ขนาดที่จะทนการ Drawdown ระดับนี้ได้ ต้องมีเครื่องมือในการจัดการจิตที่เทพมากๆ ซึ่ง พุทธศาสนา อาจเป็นคำตอบสำหรับคุณได้

พุทธฯ ไม่ได้มีคำตอบแค่ว่าเราจะจัดการกับใจเราอย่างไรในเวลาจะสถานการณ์หนักๆ แต่มีเครื่องมือในการที่จะปลูกศรัทธา ตลอดจนการที่จะลงทุนและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

อย่างผลลัพธ์ที่ได้ที่เห็นกับตัวผมชัดๆ คือ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผมมีความสุข สนุกกับการศึกษา วิเคราะห์การลงทุนในช่วงนี้มากๆ แม้ว่าจะรู้ชัดว่าก็ยังมีความกลัว มีความสั่นไหวกับการติดลบของพอร์ต แต่ความสุขในการเรียนรู้ และใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน มีปริมาณที่มากกว่าความกลัวหรือความกังวลใจอย่างเทียบกันไม่ได้ ศรัทธาในตัวกิจการและ Founder ก็ยังมีอยู่เต็มเปี่ยม ในขณะที่เราเห็นโอกาสในการปรับพอร์ต มีสติที่จะรอเวลาที่เหมาะสมในการ Execute

การเกิดเป็นคนไทยอาจจะไม่ได้ทำให้คุณลงทุนชนะคนอื่นได้ผลตอบแทนมากมาย แต่ผมเชื่อว่าถ้าคุณเป็นคนไทยที่เข้าถึงพุทธฯ และได้ฝึกจิตแบบพุทธฯ คุณจะหาเลี้ยงชีพด้วยการลงทุนอย่างมีความสุขเหมาะสมกับตัวคุณเอง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 106

โพสต์

ผมอยากเพิ่มภาพประกอบอีกนิดนึงว่า Valuation มีผลต่อการ Drawdown เสมอ อย่างในช่วงฟองสบู่ Dot-Com EV/Sale ของ AMZN ขึ้นไปซื้อขายกันในช่วง 10-60 เท่า ซึ่งการซื้อในช่วงนั้นเจอ Drawdown อย่างหนักมากๆ ราคาที่ลงมา 95% เป็นผลจาก valuation ล้วนๆ รายได้บริษัทยังโตอยู่ แต่ EV/sales เหลือแค่ 1.26 เท่า

ค่าเฉลี่ย EV/Sale ของ AMZN ในระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 2 เท่า (เพิ่มขึ้นมาเป็น 3-4 เท่าหลังจากมี AWS) ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ซื้อ EV/Sale ที่สูงเกินไป แต่ระหว่างทางก็อาจจะเจอ Drawdown ที่ระดับ 40% ได้อยู่เป็นระยะๆ

สรุป คือ ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคาไม่แพงเกินไป เตรียมใจโดน Drawdown ที่ประมาณ 50% ก็พอครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 107

โพสต์

ผมเคยเจอพี่มี่ใน oppday ตอนนั้นทุกคนรุมถามพี่มี่เรื่อง EV หุ้นจีน หุ้น growth มีผมคนเดียวที่ถามไปว่า "ช่วงนี้การลงทุนมันยากกว่าช่วงที่พี่เพิ่งเข้ามาเปล่าครับ" ถ้าผมจำได้พี่เค้าตอบประมาณว่า "มันก็เหมือนๆกันหมดละครับ" ตอนแรกผมก็งงๆ แต่พอเอาเรื่องราวจากทั้งหนังสือของ Dalio Fisher Graham Lynch Malkiel Theil รวมถึง internet articles ต่างๆมาต่อเป็นภาพ ก็เลยเห็นด้วยกับพี่เค้า ผมขอสรุปมาคร่าวๆนะครับ บางทีอาจจะมีบางอย่างขาดหายไปก็ขออภัยด้วยครับ

ในช่วง 1920-1929: ไม่มี Buffett ไม่มี Fisher ไม่มี Graham ไม่มี Lynch และที่สำคัญไม่มี SEC! คุณแทบจะไม่รู้ว่าหุ้นบ.ไหนดีหรือไม่ดี คุณหวังพึ่ง data ที่มาจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ และ ticker ของ broker (ที่คุณวิ่งไปดูตอนพักเที่ยง) และคุณจะรู้ได้ยังไงว่า data พวกนี้มัน bias แค่ไหน หลังเลิกงานคุณต้องไปอ่านหนังสือหาความรู้ที่ public library จนดึกดื่น ส่วนคนที่ไม่ออกแรงหาอะไรเลย มัวแต่ไปฟังที่เค้าพูดต่อๆกันมาแล้วก็ไปซื้อตามๆกัน สุดท้ายก็...... ถ้าคุณโชดดีหน่อย เป็นพนักงานของ GE หรือ US Steel คุณอาจจะได้รับรู้ถึงกิจการพวกนี้ดีกว่าคนอื่น

ในช่วง 1930-1939: ความยากก็ยังคล้ายๆกับช่วง 1920-1929 บวกกับคนส่วนใหญ่เข็ดกับตลาดหุ้นและไม่มีเงินจากแบงค์ล้ม SEC เพิ่งเริ่มตั้ง financial statements ยังไม่มี standard format ถ้าคุณเป็นคนโปแลนด์ คุณจะยิ่งซวยเข้าไปใหญ่ โดนนาซีบุกทำให้ตลาดหุ้นถูกปิดในปี 1939 พอหลังปี 1945 หุ้นของคุณก็จะโดน nationalised เพราะโดนโซเวียตปกครองจนกว่าปี 1991

ในช่วง 1940-1949: ความยากก็ยังคล้ายๆกับช่วง 1930-1939 บวกกับคนส่วนใหญ่กังวลเรื่องสงคราม น้อยคนนักที่จะรู้จักหนังสือของ Graham

ในช่วง 1950-1969: ในยุค 50 คนส่วนใหญ่ยังกังวลเรื่อง second depression คล้ายๆกับช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คุณเริ่มรู้จักหนังสือของ Graham และ Fisher แต่วิธียังไม่แพร่หลาย คุณยังต้องหาข้อมูลต่างๆเองตาม annual report ที่คุณต้องโทรไปหรือส่งจดหมายไปขอ และรอ... หรือถ้าคุณมีเงินมากขึ้นมาหน่อยคุณก็ไปซื้อ analyst report หรือจ้าง investment consultant ก็ได้ การคำนวณต่างๆนั้นต้องใช้เครื่องคิดเลขอันใหญ่ที่ขายในราคา... ยากที่จะเอื้อม ตอนนี้ยังไม่มี Value Line Investment Survey ส่วน broker บางที่เริ่มใช้ quotron แล้วเวลาโทรไปขอหรือถามราคาคุณก็จะรู้ทันทีแทนที่จะรอ ticker tape ทีวีเริ่มเป็นที่แพร่หลาย (ยกเว้นแอฟริกาใต้ที่มีทีวีหลังปี 1976) มีข่าวสารที่เข้าถึงได้เยอะขึ้น แต่คุณยังต้องหาข้อมูลต่างๆเองเช่นหนังสือวิธีการลงทุนจาก public library ที่มีซึ่งอาจจะอยู่ไกลจากบ้านคุณ

ในช่วง 1970-1989: เริ่มมีการใช้ computer รวมถึง terminal ที่มาในปี 1982 charts เริ่มแพร่หลาย (ที่ผมเคยเห็นก็เป็น price-eps-dividend chart) มีการ process ข้อมูลที่เร็วมากขึ้น มีการใช้ automatic trading และมีคนเริ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้น แต่คุณยังต้องหาข้อมูลต่างๆเองเช่นวิธีการลงทุน annual report ที่คุณต้องโทรไปหรือส่งจดหมายไปขอหรือไปขอสำเนาจาก broker investment club (ที่เริ่มเป็นที่นิยม) และ public library เพราะยังไม่มี internet

ในช่วง 1990-2009: เป็นยุค transition เข้าสู่ internet มี publicly available data ที่มากขึ้นและสามารถหาอ่านได้ที่บ้านผ่านคอม และมีคนเริ่มเข้ามาสนใจในตลาดมากขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจจาก Buffett Fisher Lynch ดร.นิเวศน์ ฯลฯ จากหนังสือที่ขายดิบขายดี เริ่มมี quant investing เกิดขึ้น (และดับไป) เพื่อหาผลตอบแทนที่จะเอาชนะตลาด multiples (P/E P/B %YIELD) ถูกนำมาใช้เป็น benchmark ในการคัดหุ้น ความยากในช่วงนี้ก็น่าจะเป็นความรวดเร็วของข้อมูล เช่น internet บ้านยังช้าอยู่ทำให้ได้ข้อมูลหรือ trade ลำบากกว่า institutional players และ online trading ยังไม่แพร่หลาย

ในช่วง 2009-now: ช่วงนี้ barrier to entry แทบไม่มีเลยเหมือนช่วงที่ผ่านๆมา เช่นบางโบรคไม่มีขั้นตำ่ในการเปิด account และมีการแข่งขันเรื่องค่าคอมกันทำให้ค่าคอมตำ่กว่าแต่ก่อนมาก รวมถึงดอกเบี้ยที่ตำ่มากทำให้คนเป็นจำนวนมากหันมาลงทุนในสิ่งที่เสี่ยงขึ้น raw data ต่างๆ ถูก processed อย่างรวดเร็ว คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องไปอ่าน 56-1/10K/universal registration document อีกแล้ว คุณแค่อ่านสรุปที่มีบน page ต่างๆที่มีมากจนนับไม่ถ้วน และเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก และยังมี free content ต่างๆอีกมากมายให้อ่านจนเลือกไม่ถูก ส่งผลให้หุ้นเกือบทุกตัวที่มีพฐ.ดีและมี story ที่ดีถูกจับจองไปจนหมดจน multiples (P/E P/B) สูงขึ้น ตลาดในภาพรวมนั้นก็น่าจะสะท้อนข้อมูลและพฐ.ไปเป็นส่วนใหญ่* และมันคือความยาก ณ ตอนนี้ ที่จะหาของที่ดีจริงๆ

ผมเคยนึกถึงที่พี่โจเคยพูดถึงกลุ่ม leasing ประมาณว่า "พวกกลุ่ม leasing มี margin ที่สูงทำกำไรได้ดี ก็จะมีผู้เล่นเข้ามามาก" และยังมีอีกกลุ่มที่(เคย)มี margin สูงคือโรงแรมโดยตอนนี้ผมเห็นโรงแรม(หรู)ที่ถูกก่อสร้างขึ้นเยอะมากเช่น 1. Dusit Central Park 2. Chao Phraya Estate (Four Seasons & Capella) 3. Sinthorn Village (Kempinski & Kimpton) 4. North Sathorn Road project (ของ Beyond/PDI) 5. One Bangkok (TCC มีอยู่กี่โรงแรมก็ไม่รู้) พอผู้เล่นเข้ามามากก็เกิดการแข่งขันทางราคา (ถ้า demand จำกัด) ส่งผลให้ margin หด แล้วมันจะเป็นกับตลาดหุ้นเปล่า? ผมกำลังหาคำตอบอยู่ครับ แต่น่าจะมาในรูปของ debatable topics ซะมากกว่า

*ผมเคยมองข้ามเรื่องของ meme stock short squeeze hodl ซึ่งก็เป็น market inefficiency อย่างหนึ่ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 108

โพสต์

สืบเนื่องจากที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องขีดความสามารถของนักลงทุนไทยในการแข่งขันในโลกด้วยความสามารถแบบพุทธในการจัดการกับใจตัวเอง ก็ได้รับคอมเม้นท์จากอาจารย์ตู้ว่า "...ช่วงนี้เห็นคนใกล้ตัวบางคนล้างพอร์ตหุ้นต่างประเทศไปแล้ว..." ประกอบกับนายกหลิน กับ คุณ Peter1011 ออกมาพูดถึงความยากในการลงทุนหุ้นต่างประเทศ ด้วยความที่ผมไม่เข้าสังคมเลย จึงเดาๆ ว่าสถานการณ์ทางจิตใจของนักลงทุนที่ถือหุ้นเทคฯ ต่างประเทศคงจะหดหู่ เศร้าหมอง บีบคั้นจิตใจเป็นอย่างยิ่ง จนอาจจะทำให้ใครบางคนตัดสินใจทำสิ่งที่ผิดพลาดลงไป ผมเลยอยากจะใช้ความสามารถบางอย่างที่ได้ผมจากการจะฝึกที่เป็นชาวพุทธเผื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นักลงทุนไม่มากก็น้อย

ใน สีติสูตร พระพุทธเจ้าได้สอนถึงการฝึกจิตเอาไว้ 6 อย่าง โดยมีการฝึกจิต 4 อย่างที่ผลลัพธ์ของมันมีผลต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก
"...
ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
..."

ถ้าจะพูดในภาษานักลงทุนก็อาจจะเทียบเคียงได้กับคำว่า

ในเวลาที่หุ้นขึ้น เรากำลังคึกคะนอง โลภ อยากจะเชียร์หุ้น อยากจะซื้อเพิ่ม เราก็ควรที่จะข่มความโลภ ความคึกคะนอง ความพองฟูของใจตัวเอง เพื่อให้ตัดสินใจลงทุนต่อด้วยเหตุผล ประกอบด้วยสติ ผ่านการวิเคราะห์อย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป 1

ในเวลาที่หุ้นตก ตลาดและตัวเราจิตตก หวาดกลัว เราก็ควรจะที่ประคองจิต ยกจิตที่เศร้าหมอง หวาดกลัว ให้ขึ้นมาอยู่ในสภาพที่ปกติ เพื่อให้ตัดสินใจลงทุนต่อด้วยเหตุผลประกอบด้วยสติ ผ่านการวิเคราะห์อย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป 1

ในยามที่จิตใจหดหู่ หมดพลัง ขี้เกียจ อ่อนล้า ไม่อยากขยัน ไม่อยากศึกษา ก็ยังจิตให้ร่าเริง มีพลัง มีความหมั่นเพียรวิริยะ ในการวิเคราะห์ ศึกษาการลงทุน 1

ในยามที่จิตใจเสียสมดุล เสียความเป็นกลาง ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ต่างๆ เร่งเร้า เราก็ควรที่จะวางเฉยกับข้อมูลข่าวสารที่ไหลเข้ามา วางเฉยกับความเป็นไปของจิต เพื่อไม่ Feed อาหารที่ไม่เหมาะสมกับจิต เพื่อปล่อยชะลอโมเมนตัน และปล่อยให้สภาพของจิตที่ขาดสมดุลดับลงไป กลับเข้าสู่ความสงบ เป็นกลาง จะได้ลงทุนต่อได้ด้วยเหตุผล ประกอบด้วยสติ 1

สิ่งที่เกิดขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนี้ อาจจะบีบคั้นจนทำให้ใครบางคนตัดสินใจล้างพอร์ตไป ผมคิดว่าเราจำเป็นต้อง "ประคองจิต" ของเราให้ขึ้นมาอยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนที่จะทำการวิเคราะห์การลงทุนต่อไป ผมจึงขอให้โอกาสนี้ เป็นเพื่อนคนหนึ่งที่ปรารถนาดีต่อใครบางคนที่กำลังจมน้ำ และต้องการห่วง ต้องการชูชีพ

เวลาหุ้นตกหนักๆ จิตที่ยังไม่ถูกฝึกยกจิตข่มจิตอย่างดี จะถูกบีบคั้นอย่างหนัก ข่าวสารทุกอย่างเหมือนจะมีแต่ข่าวร้าย จนถึงจุดหนึ่งความบีบคั้นทางใจของเราจะทำให้เราอยากที่จะหนีออกจากปัญหา หนีออกจากสถานการณ์ จนถึงจุดหนึ่งเราจะทนไม่ไหว ยกธงขาว ยอมแพ้ และถ้ายอมแพ้ขนาดล้างพอร์ต ข่าวร้ายก็คือ นี่เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน บทความล่าสุดของ Howard Mark ผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการซื้อของถูกจากคนที่ยกธงขาว ยอมแพ้ เขียนประเด็นนี้เอาไว้จากชัดเจนว่า

"Selling Because It’s Down

As wrong as it is to sell appreciated assets solely to crystalize gains, it’s even worse to sell them just because they’re down. Nevertheless, I’m sure many people do it.

...

What about the ultimate proof? The essential ingredient in Oaktree’s investments in distressed debt – bargain purchases – has emanated from the great opportunities sellers gave us. Negativity reaches a crescendo during economic and market crises, causing many investors to become depressed or fearful and sell in panic. Results like those we target in distressed debt can only be achieved when holders sell to us at irrationally low prices.

Superior investing consists largely of taking advantage of mistakes made by others. Clearly, selling things because they’re down is a mistake that can give the buyers great opportunities."

ในขณะที่อาจารย์ Mauboussin ก็ได้เขียนและทำงานวิจัยเอาไว้ในหัวข้อ Managing the Man Overboard Moment : Making an Informed Decision After a Large Price Drop ว่าถ้าหากหุ้นมี Valuation ที่ถูกแล้ว แต่ Momentum แย่ ราคาไหลลงมาเรื่อยๆ วันหนึ่งราคาเกิดตกหนักๆ สภาพอารมณ์ของเราถูกบีบคั้นอย่างถึงขีดสุด การขายเป็นกลยุทธ์ที่ผิด เพราะว่า จากข้อมูลทางสถิติกว่า 5,400 เคส สรุปได้ว่า นั่นคือสัญญาณซื้อต่างหาก

เพื่อหยุดการกระทำที่ผิดพลาด ขั้นแรกเราต้องย้อนกลับมาดูสถานการณ์ในปัจจุบันนิดนึงว่า หุ้นที่ลงรอบนี้เกิดจากอะไร?

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ตลาด นักข่าว นักวิเคราะห์ กูรู บอกว่า เพราะ เงินเฟ้อ แล้วดอกเบี้ยจะขึ้น ถ้าดอกเบี้ยขึ้นจะทำให้ฟองสบู่แตก และทุกอย่างจะกลายเป็น ศูนย์

ขอย้อนอดีตเล็กน้อย จากประสบการณ์การลงทุนที่ผมมี ผมจำได้ว่า ครั้งหนึ่งหุ้นตก เพราะ เกิดวิกฤต Euro ที่คนกลัวๆ กันว่าจะจ่ายหนี้กันไม่ได้ และ Euro จะล่มสลาย แล้วลามไปทั่ว และทุกอย่างจะมลายหายไปหมด แต่สุดท้ายทุกคนก็ร่วมมือกันประคองให้ผ่านสถานการณ์มาได้ ล่าสุดตอนเกิด COVID สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนแรก มีคนบอกว่ามันแรงระดับสงครามโลก แต่สุดท้ายแล้ว เราก็ใช้เครื่องมือต่างๆ ทั้งเทคโนโลยี การเงิน และการคลัง ทำให้ผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายมาได้ ที่จีนตอนนี้ก็เช่นกัน คนกลัวกันว่ารัฐบาลจีนจะทำอะไรอีกก็ไม่รู้ เทขายอย่างหนัก หนีออกจากตลาด จนทำให้ Howard Mark ต้องยุ่งวุ่นวายกับการเลือกซื้อ Distress Asset กันอย่างเมามัน

กลับมาที่ปัจจุบันกันอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ผมจำได้ว่า คนกลัวเงินฝืด บอกว่าเงินฝืดไม่ดี จะทำให้เศรษฐกิจแย่ แต่พอมาตอนนี้เงินเฟ้อก็บอกเงินเฟ้อไม่ดีจะทำให้เศรษฐกิจพัง คำถามแรกที่เราควรจะถามก็คือ เงินเฟ้อ เงินฝืด ไม่ดีจริงหรือ ถ้าเงินไม่เฟ้อเงินก็ต้องฝืด ถ้าเงินไม่ฝืดเงินก็ต้องเฟ้อ มันก็ต้องเป็นอะไรสักอย่าง แต่ไม่ว่าอะไรมันจะเป็นอะไร มันก็ต้องแย่อย่างนั้นหรือ

หรือว่าจริงๆ แล้ว เงินเฟ้อเงินฝืดเป็นเพียงแค่แพะรับบาปตัวหนึ่ง ที่เราหาข้ออ้างมาอธิบายหุ้นของเราที่มันตกลงมา และเป็นข้ออ้างทางอารมณ์ของเราในการขายหุ้นหนีตาย

เอาจริงๆ ในเรื่องเงินเฟ้อเงินฝืด ถ้าเราจะมองตามความเป็นจริงตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เราต้องแบ่งแยกมันระหว่างเงินเฟ้อที่ดี กับเงินเฟ้อที่ไม่ดี ในขณะที่เงินฝืดก็มีเงินฝืดที่ดี และเงินฝืดที่ไม่ดี เพราะถ้า เงินฝืดเกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ผลิตสินค้าและบริการได้ดีขึ้นในราคาที่ถูกลง นี่หมายความว่าอำนาจในการซื้อของคนกำลังเพิ่มขึ้น มี Consumer Surplus ที่สูงขึ้น ในขณะที่เงินเฟ้อถ้าเกิดจากเศรษฐกิจดี คนมีเงิน มีกำลังใช้จ่าย มี Demand สูง มันก็จะเข้ากับตำรา Phillips Curve ที่อธิบายปรากฎการณ์ว่าเงินเฟ้อช่วยให้เศรษฐกิจดี คนตกงานน้อย

มาดูฝั่งไม่ดีบ้าง คือ ถ้าเงินฝืด เกิดจากกำลังซื้อที่หดตัว โครงสร้าง Demography มีปัญหา อันนี้ไม่ค่อยดี ในขณะที่ถ้าเงินเฟ้อมาจาก Supply ที่มีอยู่จำกัด หรือถูกควบคุมอย่างที่ OPEC รวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมันอย่างในอดีต หรือถ้าเงินเฟ้อมาจากการสูญเสียวินัยทางการเงิน พิมพ์เงิน ให้รัฐบาลถังแตกใช้จ่าย อันนี้ถึงจะเกิด Self-Fulfilling Inflation อันนี้อาจจะเกิด Hyper Inflation และทำให้เศรษฐกิจพังได้

มาดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกัน ผมคิดว่าเงินฝืดในช่วงก่อนหน้าเกิดจาก Technology Deflation ซะส่วนใหญ่ โอเคว่า โครงสร้าง Demography อาจจะมีส่วนอยู่บ้าง แต่ Demography มันต้องใช้เวลาระดับ 20 ปี ถึงจะเกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ Technology Deflation ที่เกิดจาก Innovation และ Business Model แบบใหม่ๆ ทำให้ต้นทุนการใช้ชีวิตถูกลงมันเปลี่ยนชีวิตของเราในระดับ 5-10 ปี แบบลดค่าใช้จ่ายลงอย่างมหาศาล

ในขณะที่ Inflation ที่เกิดขึ้นในรอบนี้ หลายๆ คนบอกว่ามาจาก Pent-Up Demand ซึ่งก็สะท้อนว่าเงินเฟ้อมาจากฝั่ง Demand ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ในขณะที่เงินเฟ้อที่มาจาก Supply Chain Disruption ที่เกิดจาก COVID ก็ชัดเจนว่าวันหนึ่ง COVID ก็จะกลายเป็นโลกประจำถิ่น และราคาที่สูงก็จะดึงดูดให้คนเข้ามาทำสินค้าที่กำไรสูงมากยิ่งขึ้น สุดท้ายราคาก็จะลดลงเพราะการแข่งขัน แต่ก็อาจจะต้องใช้เวลาอยู่บ้าง แต่ผมเชื่อว่าสั้นมาก เพราะ อย่าง Tesla ใช้เวลาสร้าง GigaFactory ที่จีนแค่ 168 วัน นับตั้งแต่ได้ Permit จนถึงสร้างเสร็จ ในช่วง COVID เราได้เห็นโรงพยาบาลที่ Wuhan สร้างเสร็จใน 10 วัน เราได้เห็นโรงสร้างผลิตวัคซีน mRNA ที่ Ramp-Up Production อย่างรวดเร็ว ผมเชื่อว่าปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เปลี่ยนโครงสร้างของ Supply Chain ไปมาก ซึ่งเหล่านี้จะทำให้ Inflation ในปัจจุบันไม่เหมือนในอดีต คล้ายๆ กับการแก้ปัญหาวิกฤต COVID ในปัจจุบันที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับในอดีต

ย้อนกลับมาที่คำถามเดิมว่า "หุ้นลงรอบนี้เกิดจากอะไร?" จริงๆ คำตอบสำหรับผม มันง่ายมากๆ เลยครับว่า หุ้นที่ลงรอบนี้ เกิดจากก่อนหน้านี้ หุ้นขึ้นมากเกินไป ตลาดมันร้อนแรงเกินไป มันก็ต้องพักลงมาบ้างเป็นธรรมดา ยิ่งถ้าหุ้นถูกไล่ขึ้นมาหลายๆ เท่าในช่วงไม่ถึง 1 ปี มันก็เป็นธรรมดาที่ต้องพักลงมาบ้าง เพราะ หุ้นหลายๆ ตัวที่ถูกไล่ขึ้นมานั้นดีแค่ในระยะสั้น แต่ไม่ได้ดีมากนักในระยะยาว พอการเติบโตไม่ได้มากอย่างที่บางคนคิด ก็โดนเทขายลงมา

ในมุมของ Valuation บ้าง...

ในช่วงที่ตลาดร้อนแรง นักลงทุนในหุ้น High Growth จะมองไปที่ TAM และ Market Share เวลาทำ DCF Valuation ก็จะใช้โมเดลสำหรับหุ้น Young-Growth ที่ใส่ TAM, Market Share และ Take Rate ลงไปในโมเดล โดยไม่แคร์ว่า Growth Rate ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับ Base Rate ขนาดไหน แต่เวลาตลาดกังวลใจ ก็จะกลับมาใช้ Three Stage DCF Valuation กลับมาดูที่ Base Rate เพราะ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าบริษัทฯ ที่เราวิเคราะห์ จะชนะและครองตลาดได้จริงรึเปล่าในอนาคต

ในภาษาการลงทุนมันจะมีคำว่า GARP ซึ่งย่อมาจาก Growth At Reasonable Price ซึ่งผมเข้าใจว่า คำๆ นี้เกิดขึ้นหลังจากฟองสบู่ Nifty Fifty แตกไปในช่วงปี '70 คำถามคือ Reasonable Price ในมุมของ 3-Stage DCF Valuation มันหมายถึง Implied Sales Growth ในช่วง 1-5 ปี เท่าไหร่กันแน่?

ผมได้ทดลองดึงข้อมูลหุ้นเทคฯ ทั้งโลกที่มี Market Cap มากว่า $1b และยอดขายมากกว่า $100m จาก FactSet แล้วมาดูว่า การเติบโตของยอดขายในช่วง 5 ปี ในทางสถิติแล้วหุ้นเทคทำกันได้เท่าไหร่ ซึ่งจากบริษัท 928 บริษัท ค่า Median ของการเติบโตจะอยู่ที่ 11.61% ในขณะที่ Percentile 75% อยู่ที่ 22.60%
ผมได้ลองคำนวน Implied Growth จากหลายๆ บริษัทที่ผมติดตามอยู่ พบว่าราคาที่ซื้อขายอยู่แถวๆ นี้ Implied Sales Growth กันอยู่ที่ประมาณ 20% ซึ่งนี่ก็อาจจะหมายความว่า ราคาหุ้น High Growth นี้ที่ตลาดซื้อขายกันอยู่แถวๆ นี้ ไม่แพงแล้วครับ เป็นราคาที่ซื้อได้ GARP มากๆ

การซื้อหุ้นการ์ฟๆ แบบนี้มีข้อดีคือ เราได้ Optionality ฟรีครับ เพราะ อย่างที่เราคุยกันเรื่อง Platform Business Model เรื่อง Network Effect จะรู้ว่าถ้าถูกหวยนี่รวยไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าไม่ถูกหวย ราคาที่ Implied Growth แบบนี้ ถ้าเชื่อว่าเศรษฐกิจจะโอเค ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็ซื้อถือลงทุนไปได้ยาวๆ ถ้าวิเคราะห์คุณภาพแล้วโอเค ซึ่งส่วนใหญ่ผมเห็นหุ้นที่เพื่อนๆ เลือกๆ กันมา คุณภาพหลายๆ ตัวระดับ A+ แต่ราคาตอนนี้ Implied Expectation อยู่ที่ประมาณ B- ได้ เราจะหวังที่จะไปซื้อคืนที่ราคา Crisis ที่ C- หรือ D กันเลยเหรอ?

ตลาดตอนนี้ฟองสบู่รึเปล่า? เราจะมีโอกาสได้ซื้อที่ C- หรือ D ไหม? มาลองฟังอาจารย์ Damodaran ทำ Valuation ตลาดล่าสุดดูครับ

phpBB [video]


อาจารย์บอกว่าตลาดโดยรวมตอนนี้ไม่เป็นฟองสบู่ครับ ราคาตอนนี้อาจจะแพงกว่าที่อาจารย์ Valuation ไปสัก 10% ได้ Implied ERP ที่ 4.24% ไม่ได้ผิดปกติอะไร ถ้าไม่ได้คิดว่า Inflation จะมีปัญหาอะไรมากมาย ก็ลงทุนได้ อารมณ์คล้ายๆ กับต้นปี 2021 เลยที่ก็ Over Value ประมาณ 10% กล่าวคือ ตลาดที่ขึ้นมารอบนี้มาจาก Earnings ที่ทำได้จริง และ Earnings ในอนาคตที่เศรษฐกิจดี

เศรษฐกิจดีจริงหรือ? ดีเพราะอะไร?
เพื่อนๆ รู้ไหมครับว่า ช่วง Great Depression และ สงครามโลกครั้งที่ 2 เวลาที่เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และความเป็นความตาย ทำให้เกิดความพยายามในการเอาตัวรอด ใช้ชีวิต และเกิดเป็น Innovation มากมาย และส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตในเวลาต่อมาผลของ Great Depression ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงปี 1934-1944 ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นผู้นำโลกในเวลาถัดมา
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ COVID ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติวิถีการใช้ชีวิตของคนเป็นอย่างมาก มีความพยายามเอาตัวรอด และเกิดการลงทุนครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ทุกคนทุกที่ในโลก พร้อมที่จะปรับรับเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

กระแสน้ำที่ไหลผ่านไปแล้ว ไม่ไหลย้อนกลับ เรายอมหรือที่จะเลิกใช้ Smart Phone แล้วกลับไปใช้โทรศัพท์ Landline เทคโนโลยีที่ดีขึ้นเมื่อใช้แล้วได้ประโยชน์ ก็มีแต่จะใช้มันมากขึ้น โลกทุกวันนี้มีความหยืดหยุ่น และแข็งแกร่งในการปรับตัวมากกว่าเดิมมาก

Stagflation ในช่วงปี '70 เกิดขึ้น เพราะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี ข้อมูล การติดต่อสื่อสาร ยังไม่สมบูรณ์ จึงเป็นความผิดพลาดทางเทคนิคที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานานหลายปี แต่ในยุคสมัยที่คนทุกคนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้เร็วขึ้น วิกฤตระดับโลกอย่าง COVID เรายังใช้เวลาไม่กี่เดือนในการพัฒนาวัคซีนได้เลย เรื่องจิ๊บๆ อย่าง Inflation ดูแล้วเป็นเรื่องเล็กไปเลย

แถม Inflation ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ยังเป็น Inflation ที่ดีด้วยซ้ำ Inflation ที่ดีทำให้ยอดขายและกำไรของบริษัทดีกว่าที่คาดเสมอ

ดังนั้นนี่คือเวลาซื้อไม่ใช่เวลาขาย นี่คือเวลาฮึกเหิมไม่ใช่หดหู่ นี่คือเกมส์ที่สถาบันจะบีบเอาของจากรายย่อยก่อนลากขึ้นรอบใหญ่เพราะเศรษฐกิจรอบนี้มันดีกว่าที่คิด และเพราะเค้ารู้ว่า ถ้าไล่ต้อนรายย่อยอย่างเราๆ ให้จนมุม เราจะคายของคืนเขา เพราะ เค้าอยู่มานานกว่า เค้าเก๋าเกมส์กว่า และเค้าได้ของถูกๆ ทุกครั้งเวลากดราคาถึงจุดหนึ่ง

นี่คือช่วงเวลาที่พวกเรา รายย่อยชาวไทย ที่ข้อมูลและเครื่องมืออาจจะสู้ฝรั่งเขาไม่ได้ แต่มันเป็นเวลาที่วัดความสามารถทางใจมากกว่าทางสมอง และเครื่องมือทางใจเราก็มีอยู่พร้อมอยู่แล้ว ที่จะทำให้เราตัดสินใจลงทุนด้วยสติ ประกอบด้วยความไม่ประมาท และเราก็มี Valuation ที่เป็นหลักปรัชญาการลงทุนของ ThaiVI ที่ทำให้เรารู้ว่า เงินที่เราลงทุนไป เราจะได้อะไรกลับมา

เป็นกำลังใจให้กับทุกๆ คนให้ผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายนี้ไปให้ได้นะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
metapona
Verified User
โพสต์: 42
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 109

โพสต์

ขอบคุณมากจริงๆ ครับพี่ตี่ ได้ทั้งความรู้ทั้งประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา และสถิติ ทำให้มีกำลังใจศึกษาต่อไปครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 110

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับอาจารย์ตี่
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
nuthjira
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 233
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 111

โพสต์

ขอบคุณอาจารย์ตี่มากๆครับ
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
drsp
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 112

โพสต์

มุมมองส่วนตัวกับหุ้นต่างประเทศของผม

1.ผมอ่านความเห็นเซียนทั้งหลายที่ไปลุยหุ้นต่างประเทศ
ทำให้ผมตกผลึกความคิดได้ว่า มันยากและอยู่นอกวงกลมของผมมากเกินไป
เวลาผมเจอใครที่รู้ว่าผมเล่นหุ้น มักจะมาชวนคุยบอกเขาก็เล่นหุ้น
แต่พอคุยแล้ว90%ผมพบว่าเป็นนักเก็งกำไร น้อยคนจะศึกษาพื้นฐานหุ้นจริงจัง
ตลาดหุ้นไทยจึงเหมาะกับผมเพราะผมมีแต้มต่ออยู่บ้าง
ตลากอเมริกามีนักวิเคราะห์อาชีพจากมหาลัยระดับโลกเป็นพันเป็นหมื่น
สินค้าผลิตภัณฑ์เขาผมก็ไม่เข้าใจ มุมมองผู้บริโภคผมก็ไม่รู้ ฯลฯ
ปรัชญาผมคือไม่เล่นเกมส์ที่ผมไม่มีแต้มต่อ

2.ถ้าสักวันสถานการณ์บีบบังคับให้ผมต้องไปเล่นหุ้นต่างประเทศ
เช่นหาหุ้นไทยไม่ได้แล้ว
ผมคงมองประเทศที่ผมคิดว่าสู้กับนักลงทุนที่นั่นได้
เช่น จีน ฮ่องกง เวียตนาม
ผมคงไม่ไปประเทศที่มีคนเก่งกว่าผมจนผมไปก็คงเป็นมดปลวกแบบอเมริกา

3.ช่วง5ปีทีผ่านมาดัชนีแนสแดกอยุ่ที่ประมาณ5พัน ปัจจุบันขึ้นถึง1.5หมื่น
น่าจะเป็นผมตอบแทนระดับต้นๆของโลก
ที่ขึ้นมามากก็มาจากหุ้นไม่กี่ตัว
ปัจจุบันp/eแนสแดกประมาณ26 pegประมาณ2
ผมว่าเขาวิ่งมาไกลและเหนื่อยมากจนต้องพักบ้างแล้ว

ผมชอบอ่านที่เซียนทั้งหลายบรรยายประสบการณ์ไปต่างประเทศ
ทั้งสนุกและได้ความรู้
เหมือนที่ผมชอบดูอเมรกันฟุตบอล
แต่ถ้าให้ไปเล่นเอง นักลงทุนใจปลาซิวแบบผมคงได้แต่ส่ายหัว
kjarrung
Verified User
โพสต์: 263
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 113

โพสต์

การไปลงทุนต่างประเทศ ก็คือการไปแชร์กำไรจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ และเมื่อกำไรก็ดึงเงินกลับประเทศช่วยเพิ่มทุนสำรองและเงินบาทในประเทศ แต่ถ้ายังไม่ดึงกลับ ก็ลงทุนต่อไปเรื่อย ๆ จนพอใจแล้วถึงดึงกลับประเทศ ถ้าลงทุนในประเทศก็เหมือนการแย่งชิงทรัพยากรและกำไรกันเองในประเทศ
ผมลงทุนหุ้นอเมริกามาประมาณ 5 ปีตั้งแต่ปี 2560 ผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นไทยมากมากและชนะตลาด DJ ทุกปี และมีส่วนช่วยทำให้ภาพรวมของพอร์ตลงทุนดีขึ้น ช่วงแรก ๆจะเลือกหุ้นตัวใหญ่ ๆ แต่ช่วงปีหลัง ๆ พอมีกำไร ส่วนใหญ่จะเลือกลงหุ้นที่มีขนาดกลาง มี Market Cap ไม่เกิน 50 billions USD P/E ไม่เกิน 10 เท่า P/B ไม่เกิน 1.5 เท่า ปันผล 5 % ขึ้นไปและจ่ายปันผลทุกไตรมาส รวมทั้งมีผลกำไรตลอด หุ้นกลุ่มนี้ เวลาตลาดลง จะไม่ลงเท่าตลาด เวลาตลาดขึ้น ก็จะขึ้นมากกว่าตลาด อย่างช่วงนี้ DJ Index ลงไปเกือบ 5 % แต่หุ้นพวกนี้ยังบวกได้ถึง 4 % จากต้นปี ผมไม่เคยลงทุนหุ้นตัวใหญ่เลย เช่น FB Google Apple Amazon เพราะรู้สึกว่าราคาแพงเกินไป อีกอย่างชอบหุ้นที่จ่ายปันผลทุกไตรมาส ตอนนี้จัดพอร์ตจนมีปันผลเข้ามาทุกเดือน เงินปันผลก็จะนำไปซื้อหุ้นตัวเดิม ๆ เพิ่มทำให้ปันผลไตรมาสต่อไปเพิ่มขึ้น จำนวนหุ้นก็เพิ่มขึ้น ยิ่งช่วงนี้ตลาดลง เราก็มีเงินเพื่อไปซื้อหุ้นเพิ่มโดยไม่ต้องแลกเงินบาท หุ้นบางตัวปันผลทุกเดือนก็มี ใช้แนวทางนี้มาประมาณ 3 ปี หุ้นตัวที่ซื้อเท่าเดิม แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส คิดว่าได้ผลและไม่ต้องเทรดบ่อย ๆ แค่ติดตามผลดำเนินงานหุ้นในพอร์ตอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นครับ ตลาดจะเป็นอย่างไร ผมไม่กังวล ขอแค่ปันผลเข้าทุกเดือนก็พอใจแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 114

โพสต์

ขอบคุณอ.ตี่มากครับ ดีมากจริง ๆ ครับ

ช่วงนี้เป็นช่วงประวัติศาสตร์ ใครที่อยู่ในตลาด 2 ปีที่ผ่านมา
ถือว่า upgrade และได้องค์ความรู้ ประสบการณ์ที่หาได้ยาก

ที่ผมพูดขีดความสามารถ เพราะถ้าผมมั่นใจ ผมก็จะสู้สุดตัว แต่ถ้าผมไม่มั่นใจ ผมก็จะไม่วัดความลึกด้วยเท้าสองเท้า

ผมคิดอย่างที่เคยพูดมาตลอดว่า ถ้าเราพยายาม เราพอสู้ได้ ถ้าเรารู้จุดอ่อนจุดแข็งตัวเอง

ประเด็นสำคัญที่สุด ตามที่อ.ตี่ว่า ผมว่า mindset ที่เราควรจะรู้คือ

หุ้นที่เราถืออยู่ draw down ที่น่าจะเป็นควรเป็นเท่าไหร่ โดยที่ไม่มีวิกฤตอะไร (หรือพื้นฐานหุ้นเปลี่ยน) เลย

อันนี้จากประสบการณ์ผม

หุ้นไทยขนาดใหญ่ 20%
หุ้นไทยขนาดเล็ก 30%

หุ้นเมกาเฉลี่ยขนาดใหญ่ 20%
หุ้นเทคเติบโตขนาดใหญ่ 30%
หุ้นเทคไม่มีกำไรขนาดกลางเล็ก 60%
หุ้นไบโอเทคไม่มีรายได้ 80%

ไม่นับฟองสบู่ และ วิกฤตนะครับ

การจัดพอร์ตทั้งเงิน ทั้งจิตใจก็ควรจะ match กับ draw down ที่เป็นไปได้ด้วย

จริง ๆ draw down แบบนี้ ทำให้ผมคิดว่าตลาดหุ้นต่างประเทศ แม้จะฉลาดมาก แต่ก็ไร้ประสิทธิภาพในเวลาสั้น ๆ แบบที่บัฟเฟตต์พูดเลย

จุดนี้แหละที่ผมว่าเป็นจุดอ่อนของ Mr. Market ต่างประเทศ

แม้ว่าจังหวะสั้นๆ นั้นจะสั้นและดูสับสนมาก แต่มันก็สนุกไม่น้อยที่จะขอลองครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
GFlying
Verified User
โพสต์: 97
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 115

โพสต์

ผมเองก็เพิ่งไปลงทุนหุ้นต่างประเทศได้ไม่นาน เหตุผลส่วนตัวที่ตัดสินใจไปคือ ณ ตอนนั้นหาหุ้นไทยที่ราคาต่ำกว่ามูลค่ามากๆ ไม่เจอ (อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ MOS ของแต่ละบุคคล) ก็เลยมองไปยังการลงทุน ตปท มากขึ้น ผมก็สั่งหนังสือมาอ่านเตรียมความพร้อม (หนังสือก็คล้ายๆ กับที่พี่หลินแนะนำเลยครับ) สมัครพวก Fool, Seeking Alpha, ติดตามช่อง Youtube ตปท และ twitter ทำให้รู้เลยว่าจริงๆแล้ว การหาข้อมูลหุ้น ตปท นั้นไม่ได้ยากอะไรเลย ณ ตอนนี้สัดส่วนหุ้นไทย: หุ้น ตปท ผมอยู่ราวๆ 60:40

อย่างไรก็ตามในอนาคตคงจะไปลงทุน ตปท หมดละครับ ช่วงนี้ผมลงทุนไปด้วย ศึกษาไปด้วย ทำให้สนุกกับการลงทุนไปเรื่อยๆ ครับ

ส่วนเรื่อง Valuation ผมศึกษาจาก อาจารย์ Damodaran ในช่อง Youtube และหนังสือของแกครับ นำมาประยุกต์ใช้เอาเองครับ

:D :D :D
ทิวเขา
Verified User
โพสต์: 16
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 116

โพสต์

-ขอบคุณมากครับ ทรงคุณค่ามากๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 117

โพสต์

Linzhi เขียน:
อาทิตย์ ม.ค. 23, 2022 11:27 am
...
หุ้นที่เราถืออยู่ draw down ที่น่าจะเป็นควรเป็นเท่าไหร่ โดยที่ไม่มีวิกฤตอะไร (หรือพื้นฐานหุ้นเปลี่ยน) เลย

อันนี้จากประสบการณ์ผม

หุ้นไทยขนาดใหญ่ 20%
หุ้นไทยขนาดเล็ก 30%

หุ้นเมกาเฉลี่ยขนาดใหญ่ 20%
หุ้นเทคเติบโตขนาดใหญ่ 30%
หุ้นเทคไม่มีกำไรขนาดกลางเล็ก 60%
หุ้นไบโอเทคไม่มีรายได้ 80%

ไม่นับฟองสบู่ และ วิกฤตนะครับ

การจัดพอร์ตทั้งเงิน ทั้งจิตใจก็ควรจะ match กับ draw down ที่เป็นไปได้ด้วย
...
อ่านที่ท่านนายกหลินเขียนเรื่องเกี่ยวกับเรื่อง Draw Down แล้วก็คิดถึงที่ อ. Damodaran สอนถึงผลกระทบจาก 1) Business Model และ 2) Business Life Cycle กับ Valuation

ผมคิดว่าที่นายกหลินสังเกตเห็นว่าหุ้นไทย Draw Down น้อย น่าจะเป็นเพราะว่า Business Model ของหุ้นไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจดั้งเดิมที่มี Play Book ออกมาหมดแล้ว การประเมินการณ์การเติบโตของรายได้และอัตราการทำกำไรมีความชัดเจนระดับหนึ่ง มูลค่าที่ประเมินได้จึงมีช่วงที่ค่อนข้างแคบ

ในขณะที่หุ้น BioTech ที่ Draw Down สูงๆ เพราะ พฤติกรรมของหุ้นพวกนี้มีลักษณะเหมือน Option เงินลงทุนใน R&D เหมือนเป็น Premium ที่จ่ายลงไปในการพัฒนา ซึ่งมีโอกาสเป็น 0 ถ้าพัฒนาแล้วไม่ประสบความสำเร็จ

ในขณะที่หุ้นเทคที่ไม่มีกำไร โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วง Young Growth และ Business Model บางทีก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะโตเท่าไร จะกำไรเท่าไร จะ Turn ลูกค้าที่ Acquire มาเป็นกำไรได้ไหม จึงทำให้ช่วงสมมติฐานของการเติบโตของรายได้ และอัตราการทำกำไร ยังมั่วกันอยู่พอสมควร ไม่เหมือนหุ้นดั้งเดิมในอเมริกาที่เห็นการเติบโตและอัตราการทำกำไรที่ชัดเจนแล้ว มูลค่าที่ประเมินได้จึงมีช่วงแคบมากกว่า

ความไม่แน่นอนของรายได้และกำไรของธุรกิจเทค Young Growth พวกนี้ ผมว่าเราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติเข้ามาใช้ประกอบร่วมด้วยในการตัดสินใจกำหนดสัดส่วนในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Scenario Analysis หรือ Monte Carlo Simulation

ผมชอบแนวความคิดของอ. Mauboussin ในเรื่อง Outside View และ การลงทุนแบบ Expectation Investing มากๆ จึงพัฒนาวิธีการวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ประกอบการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน เพราะ สุดท้ายแล้วการจัดสัดส่วนการลงทุนที่ดีก็ควรจะอิงไปตาม Kelly Criterion

แนวคิดก็คือ ถ้าแม้ว่าเราจะมี Inside View ในการศึกษาในเชิงลึกกิจการจนทำ Valuation ในมุมมองของเราแล้ว แต่คนอื่นอาจจะไม่ได้คิดเหมือนกับเราก็ได้ สิ่งที่คนอื่นคิดน่าจะเป็นไปตามตัวเลขสถิติที่เกิดในอดีต ถ้าเราเอาค่าทางสถิติของตัวแปรที่เราจะศึกษาเข้ามาใส่ แล้วลองทำ Scenario Analysis อาจจะทำให้เราเห็นโอกาสในการ Drawdown ที่จะเกิดขึ้นกับหุ้นของเราได้มากขึ้น ซึ่งในหุ้น High Growth แน่ล่ะตัวแปรที่สำคัญที่สุด คือ Sales Growth ซึ่งจะเป็นตัวแปรที่ผมมักเลือกมาทำ Scenario Analysis เทียบกับ Operating Margin บ้าง เทียบกับอัตราดอกเบี้ยบ้าง

สิ่งที่ผมกำลังพัฒนาและทดลองทำอยู่ตอนนี้ คือ เอาค่า Sales Growth ย้อนหลังในอดีตของบริษัทเทคฯ มาทดลองทำ Scenario Analysis ดูโอกาสและความเสี่ยงในการลงทุน ในการนี้ผมเลือกที่จะดึงข้อมูลหุ้นเทคที่มี Market Cap เกิน $1b และ ยอดขายมากกว่า $100m จาก FactSet มาดูว่าบริษัทเทคแต่ละบริษัททำ Sales Growth ในช่วง 5 ปี และ 10 ปีกันได้เท่าไรบ้าง
หมายเหตุ แกน percentile มันผิดไป 5 นะครับ แต่ผมแก้ไขไม่ได้ แกน x ต้องเริ่มจาก 50 แล้วไปจบที่ 95

ข้อสังเกต คือ 5yr Sales Growth ของช่วงปี 2010-2015 กับ 2015-2020 ใกล้เคียงกันมาก โดยเฉพาะช่วง Percentile ที่ 80 เป็นต้นไป ในขณะนี้อัตราการเติบโตในระยะยาว 10 ปีโดยส่วนใหญ่แล้วจะลดลง เพราะการที่จะโตยาวๆ อย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี เป็นเรื่องที่ยากมากๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ 3 Stage Growth DCF Model ของอาจารย์ Damodaran จึงให้ช่วง High Growth Phase แค่ 5 ปี แล้วค่อยๆ ลู่ลงเข้าสู่ค่าการเติบโตระยะยาว

ทีนี้ผมลองเอาหุ้นเทค Young Growth มาทำเป็นตุ๊กตาดูว่าเราจะวิเคราะห์การ Drawdown กันได้อย่างไรในสถานการณ์จริง โดยผมขอเลือกเอา Fiverr มาวิเคราะห์

ใน DCF Model ของผม ผมใช้ 3 Stage Growth ของอาจารย์ Damodaran มาใส่ค่าต่างๆ ตามตัวเลขจากตลาดล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยใช้ ERP=4.57% Sales/Capital=1.5 Operating Margin ปีหน้า 15% แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็น 30% ในปีที่ 10 Tax Rate ใช้ 10%->20% จำนวนหุ้นใช้ 37.18m มูลค่า Option ใช้ค่าที่ Factset คำนวนให้ที่ $206.3m

ผมจะทำ Scenario Analysis โดยดูผลกระทบของ 1-5yr Sales Growth กับ อัตราดอกเบี้ย T-Bond เป็นตัวแปรเพื่อใช้ในการคำนวนมูลค่าของกิจการ เพราะ ในชั่วโมงนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่เราสนใจกันมากที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบกับมูลค่าของกิจการขนาดไหน?

ผมเลือกเอา 5yr Sales Growth ช่วง Percentile ตั้งแต่ 70 ขึ้นไปทำ Scenario Analysis เพราะว่า ตามปกติคนเราแบ่งเกรดก็จะแบ่งกัน 4 กลุ่ม เป็น A,B,C,D การใช้ Top Quartile มาใช้กับหุ้นที่เป็น Young Growth น่าจะกำลังดี เพราะ เราลงทุนกิจการพวกนี้ในเรื่องการเติบโต การเติบโตต้องเป็นระดับ A เท่านั้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย T-Bond ผมใช้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 1.75% (+/-0.25%) แล้วก็ไล่ขึ้นไปถึง 5%

จากการวิเคราะห์ ดูเหมือนว่าราคาหุ้นของ Fiverr ณ ขณะนี้จะ Price-In อัตราการเติบโตของรายได้ที่ Percentile ที่ 75 ในขณะที่ Price-In อัตราดอกเบี้ย T-Bond อยู่ที่ประมาณ 2%

ในวันที่ผมปรับลดสัดส่วนการลงทุน Fiverr ของผมลง หลังงบไตรมาสสองเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว ราคาช่วงนั้นอยู่แถวๆ 180 บาท ลองมาดูกันครับว่าถ้าคิดจากราคา 180 บาท ที่ข้อมูลวันนี้มันมี Upside/Downside ได้มากน้อยขนาดไหน?

จะเห็นได้ว่าที่ราคาแถวๆ $180 ราคานี้ได้ Price-In อัตราการเติบโตของกิจการเอาไว้ที่ Percentile มากกว่า 90 การที่กิจการจะเติบโตไปได้ระดับ 95 นี่ต้องเป็นระดับ Outlier เท่านั้น ดังนั้นเมื่อแรงกดดันจากเงินเฟ้อมาเต็ม เราจึงเห็นการ Drawdown ลงมา 55%

เห็นอาจารย์ตู้พึ่งเข้า Fiverr เพิ่มไป เรามาลองเอาใจช่วยดูสิว่าราคาที่อาจารย์ตู้เข้ามีความเสียวมากน้อยขนาดไหน

เท่าที่ดูถ้า Fiverr โตได้มากกว่า 30% ในระยะ 5 ปี ถึงแม้ดอกเบี้ยจะขึ้นไป 5% อ.ตู้ ก็น่าจะเอาอยู่ แต่ถ้าเกิด Fiverr เป็น Outlier จริงๆ อย่างที่ อ.ตู้ คิด ขึ้นไปโตได้ในระดับ Percentile ที่ 95 อ.ตู้ ก็คงจะรวยไม่รู้เรื่อง ไม่ต้องสนดอกเบี้ยอีกต่อไป

ก่อนจบ Post นี้ ล่าสุดผมได้ฟัง Audible เรื่อง How I built this ของคุณ Guy Raz ในบทที่ 2 เรื่อง "Is It Dangerous or Just Scary?" ได้พูดถึงความสำคัญที่เราจำเป็นต้องแบ่งแยกความกลัวกับอันตรายออกจากกัน

เค้าเล่าว่า เวลาเราเดินไปที่หน้าผา แล้วถ้าเราเดินถอยหลังกลับออกมาจากหน้าผา สถานการณ์อย่างนี้เราจะรู้สึกกลัวมากๆ แต่จริงๆ แล้วไม่อันตราย เพราะ เราถอยกลับทางเก่าที่เรียบๆ แต่มันจะเสียวมากเพราะภาพข้างหน้ามันคือหน้าผาที่ดูอันตราย

อีกสถานการณ์หนึ่งเรากำลังเดินชิวๆ อยู่ในหุบเขาที่เต็มไปด้วยหิมะ สามารถเล่นสกีได้ วิวสวยๆ ข้างทางช่างรื่นรมสวยงาม แต่ปรากฎว่าทางที่เราเดินมีความชันมากกว่า 30 องศา และหิมะกำลังละลาย ในสถานการณ์นี้แม้ว่าเราจะไม่รู้สึกกลัวเลยแม้แต่น้อย แต่อันตรายมาก เพราะ อาจจะเกิดหิมะถล่มได้

ในการลงทุนก็เช่นกัน ในวันที่ตลาดหุ้นคึกคักถึงขีดสุด ราคาหุ้นแพงลิบลิ่ว เราเฮ เพื่อนเฮ แต่จริงๆ แล้วที่จุดนั้นอาจจะเป็นจุดที่อันตรายมากๆ ก็ได้ ณ วันที่ 5 ก.พ. 20 อ.ตู้ ได้เขียนเชียร์หุ้น Fiverr ในไอเดียหุ้นเด้ง บรรยากาศตอนนั้นผมว่า Emotion น่าจะเร่งเร้ากันถึงขีดสุด แต่ความเป็นจริงแล้ว Pay-Off มันเป็นแบบนี้ครับ (ขออนุญาตใช้ข้อมูลปัจจุบันในการวิเคราะห์นะครับ)

เกมส์ของนักลงทุน คือ การเอาชนะอารมณ์และคำนวณความเป็นได้ของโอกาสและความเสี่ยงอย่างสมเหตุสมผล ยิ่งหุ้นเทคฯ Young Growth ที่ความไม่แน่นอนของอนาคตสูงมากๆ แล้ว การทำ Scenario Analysis แล้วจัด Position Sizing ให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และหวังว่าอาจารย์ตู้จะรู้สึกสบายใจมากขึ้นกับการซื้อในครั้งนี้ แต่อย่าลืมประเมินความอันตรายด้วยตัวเองนะครับ เพราะ โมเดลของผมอาจจะผิดก็ได้

May The Force Be With You
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 118

โพสต์

ชวนอ.ตี่คุยเรื่องประเด็นเรื่องการจัด position sizing เรื่องนี้เป็นคำถามของผมมากเลยครับ
สาเหตุนึงเพราะผมเองเห็นเพื่อนๆส่วนใหญ่จะมีโอกาสในการเลือกหุ้นถูกตัว winrate สูง + คำพูดหรือค่านิยม "ตีแตก" ทำให้กล้าลงpositionในหุ้นตัวๆนึงมีนัยยะมาก

1.อ.มีความเห็น หรือวิธีจัดการ การวางpositionของหุ้นยังไง เพื่อไม่ให้พอร์ตเสี่ยงมากเกินไป และทนต่อ drawdownได้
สำหรับหุ้นตปท. ส่วนตัวผมเองใช้หลักกระจายตัว ลงแทบจะเท่าๆกัน ก็เลยคาดหวังผลตอบแทนอาจจะไม่สูงหวือหวา แต่ขอให้ได้ชนะดัชนีทั้งเรื่องผลตอบแทน และค่า Drawdownนะครับ
หรือว่าถ้ามองถึงความแข็งแรงของธุรกิจ แล้วก็บอกว่า อ่ะขอให้มันดีพอ เด๋วทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไป กลับมาได้-แต่นานเท่าไรไม่รู้

2.เห็นอ.ตี่ทำพวกโมเดลScenario Analysisพวกนี้ แล้วเปิดหูเปิดตากับการเอามาประยุกต์ใช้กับหุ้นรายตัว เพื่อทำพอร์ตโฟลิโอมากเลยครับ
รอดูพวก Monte Carlo Simulation, Risk of ruin ถ้ามีก็ถือเป็นบุญตา+สมองครับ

ขอบคุณที่มาแบ่งปันความรู้อีกครั้งครับ
การลงทุนแนวvi ไม่ได้แปลว่า นักลงทุนคนนั้นดีกว่า หรือมีวรรณะสูงกว่าคนที่ลงทุนแนวอื่นๆหรอก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 119

โพสต์

romee เขียน:
จันทร์ ม.ค. 24, 2022 9:41 am
ชวนอ.ตี่คุยเรื่องประเด็นเรื่องการจัด position sizing เรื่องนี้เป็นคำถามของผมมากเลยครับ
สาเหตุนึงเพราะผมเองเห็นเพื่อนๆส่วนใหญ่จะมีโอกาสในการเลือกหุ้นถูกตัว winrate สูง + คำพูดหรือค่านิยม "ตีแตก" ทำให้กล้าลงpositionในหุ้นตัวๆนึงมีนัยยะมาก

1.อ.มีความเห็น หรือวิธีจัดการ การวางpositionของหุ้นยังไง เพื่อไม่ให้พอร์ตเสี่ยงมากเกินไป และทนต่อ drawdownได้
สำหรับหุ้นตปท. ส่วนตัวผมเองใช้หลักกระจายตัว ลงแทบจะเท่าๆกัน ก็เลยคาดหวังผลตอบแทนอาจจะไม่สูงหวือหวา แต่ขอให้ได้ชนะดัชนีทั้งเรื่องผลตอบแทน และค่า Drawdownนะครับ
หรือว่าถ้ามองถึงความแข็งแรงของธุรกิจ แล้วก็บอกว่า อ่ะขอให้มันดีพอ เด๋วทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไป กลับมาได้-แต่นานเท่าไรไม่รู้
โดยส่วนตัวถ้าไม่ใช่ position ตีแตก จะ limit ไม่เกิน 20% ครับ แต่ถ้าดีมากๆ ตีแตกได้ก็จัดไปได้ถึง 30% ตอนที่เปิด position หลังจากนั้นก็จะปล่อยไหล ถ้าสัดส่วนมันโตไปเกิน 40% ก็ trim out ไปเรื่อยๆ หรือ trailing stop เอา หรือใช้ technical ในการลด position ส่วนเกิน

ถ้าไม่ใช่ position ตีแตก ส่วนใหญ่ position sizing จะ dynamic มาก เพราะ อย่างที่โชว์ใน post ก่อนหน้าว่า ช่วงของ valuation มันกว้างมาก ดังนั้น technical จะมีผลต่อการเลือกโมเดล และการให้น้ำหนักระหว่าง inside view กับ outside view คือ ถ้าเป็นตลาดขาขึ้น หุ้นพวกนี้ optionality มันสูงก็จะปล่อยมันวิ่ง ใช้ valuation model และค่าตัวแปรที่ aggressive หน่อย simulation ก็จะใช้จุด trim out ที่ percentile ที่สูงหน่อย แต่ถ้าตลาดไม่ดี technical เสีย ก็จะดูความเป็นไปได้ของ level ในการ drawdown และลดสัดส่วนลงไปที่ bucket size ที่ต่ำลงมา โดยอาจจะลดหนี้ หรือ switch ไปที่ตัวที่ปลอดภัยกว่า valuation มีความแน่นอนกว่า
2.เห็นอ.ตี่ทำพวกโมเดลScenario Analysisพวกนี้ แล้วเปิดหูเปิดตากับการเอามาประยุกต์ใช้กับหุ้นรายตัว เพื่อทำพอร์ตโฟลิโอมากเลยครับ
รอดูพวก Monte Carlo Simulation, Risk of ruin ถ้ามีก็ถือเป็นบุญตา+สมองครับ

ขอบคุณที่มาแบ่งปันความรู้อีกครั้งครับ
จริงๆ stimulation ก็ทำตามอาจารย์ Damodaran นั่นแหละครับ แต่ของผมจะเอา 10-20% ของ simulation มาเป็นจุดดู downside หรือจุดเข้าซื้อ ในขณะที่ใช้ 70% เป็นจุดที่พิจารณาว่า over value

ยังมั่วๆ อยู่นะครับ แต่นี่ก็เป็นการบริหารพอร์ต การ position sizing ของผมครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ

โพสต์ที่ 120

โพสต์

ถ้าจำไม่ผิด ผมได้ยินคนที่บอร์ดนี้พูดว่าเคยซื้อ google ที่ P/E ประมาณ 10 ผมอยากรู้ว่าตอนนั้นบ.โดนอะไรมารึเปล่าครับ