การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับ
พอดีเรียนหลักการในการประเมินมูลค่าหุ้นมาแล้ว concept นี่เข้าใจครับ แต่พอมาทำจริงไม่รู้ว่าจะใส่ตัวเลขต่างๆในประมาณการงบการเงินยังไงเลย อาจจะใส่ได้บางตัว เช่น เอาเป้ารายได้ที่ ผบห.ให้ไว้ นึกไม่ออกว่าเราจะใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าจะใส่ตัวเลขในบรรทัดนั้นๆอย่างไร แล้วคิดเอาเองว่าแต่ละอุตสาหกรรมก็น่าจะมีหลักการประมาณการที่ไม่เหมือนกัน เวลาไปอ่านบทวิเคราะห์ก็งงๆว่านักวิเคราะห์เอาตัวเลขมาใส่ยังไง เลยคิดว่าถ้ามีตัวอย่างการประเมินมูลค่าหุ้นที่ใช้จริงๆในทางปฏิบัติ ของหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำอธิบายประกอบว่าที่มาของตัวเลขที่ใส่นี่มาจากไหน คงจะดีมากเลยครับ ไม่ทราบว่าผมจะหาเรื่องแบบนี้มาศึกษาได้จากที่ไหนครับ
ขอบคุณครับ
พอดีเรียนหลักการในการประเมินมูลค่าหุ้นมาแล้ว concept นี่เข้าใจครับ แต่พอมาทำจริงไม่รู้ว่าจะใส่ตัวเลขต่างๆในประมาณการงบการเงินยังไงเลย อาจจะใส่ได้บางตัว เช่น เอาเป้ารายได้ที่ ผบห.ให้ไว้ นึกไม่ออกว่าเราจะใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าจะใส่ตัวเลขในบรรทัดนั้นๆอย่างไร แล้วคิดเอาเองว่าแต่ละอุตสาหกรรมก็น่าจะมีหลักการประมาณการที่ไม่เหมือนกัน เวลาไปอ่านบทวิเคราะห์ก็งงๆว่านักวิเคราะห์เอาตัวเลขมาใส่ยังไง เลยคิดว่าถ้ามีตัวอย่างการประเมินมูลค่าหุ้นที่ใช้จริงๆในทางปฏิบัติ ของหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำอธิบายประกอบว่าที่มาของตัวเลขที่ใส่นี่มาจากไหน คงจะดีมากเลยครับ ไม่ทราบว่าผมจะหาเรื่องแบบนี้มาศึกษาได้จากที่ไหนครับ
ขอบคุณครับ
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 2
เอาข้อมูลย้อนหลังมาใส่ครับ
เป้าก็ดูย้อนหลังว่าที่ผู้บริหารเคยให้ แล้วทำได้จริงคิดเป็นกี่ %
ปีนี้เค้าให้เป้ากี่ล้าน ก็เอา % นั้นไปคูณ
ตัวเลขต้นทุนต่างๆ ก็เอาจากอดีตเฉลี่ยๆ มา
สำคัญสุดอย่าลืมใส่ mos เยอะๆ นะครับ
ถ้า mos มาก เรามั่นใจมาก ก็ลงเงินมากหน่อย
mos มาก มั่นใจน้อย ก็ไม่ต้องไปลงเยอะ
etc.
ทำเป็น % ไว้ครับ track record ส่วนตัวสำคัญมากกับการบริหาร port
แรกๆ งงกันทุกคนครับ ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชิน
เป้าก็ดูย้อนหลังว่าที่ผู้บริหารเคยให้ แล้วทำได้จริงคิดเป็นกี่ %
ปีนี้เค้าให้เป้ากี่ล้าน ก็เอา % นั้นไปคูณ
ตัวเลขต้นทุนต่างๆ ก็เอาจากอดีตเฉลี่ยๆ มา
สำคัญสุดอย่าลืมใส่ mos เยอะๆ นะครับ
ถ้า mos มาก เรามั่นใจมาก ก็ลงเงินมากหน่อย
mos มาก มั่นใจน้อย ก็ไม่ต้องไปลงเยอะ
etc.
ทำเป็น % ไว้ครับ track record ส่วนตัวสำคัญมากกับการบริหาร port
แรกๆ งงกันทุกคนครับ ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชิน
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 3
การใส่ประมาณการและใส่ตัวเลข
มันมีหลายมิติหลายมุมมองครับ
ถ้าใช้เป้า ผบห.
เราก็อาจจะเป็นนักลงทุนทั่วไป
รอ ผบห. มาให้เป้าแล้วก็กดเครื่องคิดเลข
ถ้าใช้มุมมองนักธุรกิจ
เราก็อาจจะประเมินตัวธุรกิจ
ปัจจัยบวกปัจจัยลบ
ยกตัวอย่าง
ผมเคยดีดว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ของ บ.
เอาเข้าไปขายในร้านสะดวกซื้อ
จะขายได้วันละกี่ชิ้น
หรือใช้ยอดขายคูณด้วยจำนวนสาขา
ช่องทางจัดจำหน่ายที่เปิดเพิ่มใหม่
บลาๆๆๆ
ซึ่งมันก็ไม่มีผิดไม่มีถูกแหละครับ
เราทำไว้เพื่อดูของเรา
ลองทำเป้าสูงเป้าต่ำดู
แต่สุดท้าย
ถ้าการลงทุนของเรามี mos เพียงพอ
ก็ไม่สำคัญว่าสมมติฐานของเราจะแม่นหรือไม่
มันมีหลายมิติหลายมุมมองครับ
ถ้าใช้เป้า ผบห.
เราก็อาจจะเป็นนักลงทุนทั่วไป
รอ ผบห. มาให้เป้าแล้วก็กดเครื่องคิดเลข
ถ้าใช้มุมมองนักธุรกิจ
เราก็อาจจะประเมินตัวธุรกิจ
ปัจจัยบวกปัจจัยลบ
ยกตัวอย่าง
ผมเคยดีดว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ของ บ.
เอาเข้าไปขายในร้านสะดวกซื้อ
จะขายได้วันละกี่ชิ้น
หรือใช้ยอดขายคูณด้วยจำนวนสาขา
ช่องทางจัดจำหน่ายที่เปิดเพิ่มใหม่
บลาๆๆๆ
ซึ่งมันก็ไม่มีผิดไม่มีถูกแหละครับ
เราทำไว้เพื่อดูของเรา
ลองทำเป้าสูงเป้าต่ำดู
แต่สุดท้าย
ถ้าการลงทุนของเรามี mos เพียงพอ
ก็ไม่สำคัญว่าสมมติฐานของเราจะแม่นหรือไม่
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 4
ของพวกนี้ คงจะต้องใส่เอง ตาม สมมติฐานของเราครับ
ขึ้นอยู่กับว่า เราตั้ง สมมติฐาน เอาไว้อย่างไร จะดูสมเหตุ สมผลหรือไม่ เช่น
สมมติว่า ตลาดรวม ไม่โตเลย นิ่งๆ เท่าเดิม สินค้าบริษัทก็ไม่ได้แข็งแกร่งเหนือกว่าคู่แข่งอะไร บริษัทไม่มีสินค้าใหม่ ไม่ได้เจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่ม แล้วอยู่ๆ ผบห ตั้งเป้าว่า โต 10% อันนี้หากเราใส่ไปว่า growth 10% อาจจะดูไม่สมเหตุสมผล เท่าไหร่ คือไม่ได้มีหลักฐานเพียงพอว่า มันจะได้ 10% ครับ
โดยคร่าวๆ ผมว่า เราอาจจะดู ว่า
1. สินค้าเดิม ตลาดเดิม : ตลาดรวมโตมั้ย โตเท่าไหร่
2. สินค้าเดิม ตลาดเดิม : Positioning ของบริษัทเป็นอย่างไรในตลาด ที่ผ่านมาโตเร็ว หรือ ช้ากว่า ตลาด
3. สินค้าเดิม ตลาดใหม่ๆ : ปัจจุบันสินค้า ขยายตลาดไปเยอะ ยัง มีช่องว่างมั้ย ยังขยายได้ที่ช่องทางไหน
4. สินค้าใหม่ : บริษัทมี สินค้าบริการใหม่ๆ มาเป็น new s-curve ให้กับบริษัทหรือไม่
พองบจริง ออกมาเราตรวจสอบ ของจริง VS สมมติฐาน แล้วปรับเปลี่ยน projection ในอนาคตไปเรื่อยๆ ครับ
ยิ่งแต่ละอุตสาหกรรม จะมี ความแตกต่างกัน แนะนำหนังสือของ SET ที่ออกมา
วิเคราะห์หุ้นราย sector ดูนะครับ ในห้องสมุดมารวย เสียค่าสมาชิกนิดหน่อย สามารถยืมหนังสือกลับบ้านมาได้เลยครับ
เช่น ปีที่แล้ว ผมสนใจ หุ้นประกัน แต่ดูงบแล้ว งง งง ผมก็เริ่มทำความเข้าใจจากหนังสือ ชุดนี้แหละครับ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 5
ขอแชร์ Video เผืออาจเป็นประโยชน์ ครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
- Tanukicho
- Verified User
- โพสต์: 215
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 6
ทางการเงินเขาให้เทียบเป็น ratio ครับ คือ เอาส่วนต่างๆหารรายได้ หรือสินทรัพย์บางตัว เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นสัดส่วนต่างๆก็จะเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มครับ แต่การเพิ่มขึ้นทุกครั้งมันมีต้นทุนอยู่ ไม่ใช่อยู่ดีๆรายได้จะเพิ่มขึ้นเอง มันต้องใช้ทั้งสินทรัพย์และส่วนทุนในการเพิ่มขึ้น
มันเลยเป็นที่มาของคำว่า บริษัที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้หนี้ ส่วนทุนหรือสินทรัพย์ใดๆ แต่เติบโตได้ด้วยตนเอง โดยใช้เงินน้อยที่สุด โดยไม่ต้องขอทุนเพิ่ม หรือมีกำไรที่เกิดจากส่วนทุน มาต่อทุนเรื่อยๆโดยไม่ต้องจ่ายเงินปันผล หรือกู้เงินมาลงทุนเลย
บริษัทประกันที่มีเงินฟรีจำนวนมาก จาการขาย option ทั้ง put และ call บริษัทที่ได้เงินมาฟรี แล้วเอาเงินคนอื่นไปต่อยอดและได้เงินฟรีมาเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้เลย
หรือง่ายๆ เงินน้อยต่อเป็นเงินมาก ใช้แค่ความรู้ ไม่ได้ใช้เงินที่มากเลย
มันเลยเป็นที่มาของคำว่า บริษัที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้หนี้ ส่วนทุนหรือสินทรัพย์ใดๆ แต่เติบโตได้ด้วยตนเอง โดยใช้เงินน้อยที่สุด โดยไม่ต้องขอทุนเพิ่ม หรือมีกำไรที่เกิดจากส่วนทุน มาต่อทุนเรื่อยๆโดยไม่ต้องจ่ายเงินปันผล หรือกู้เงินมาลงทุนเลย
บริษัทประกันที่มีเงินฟรีจำนวนมาก จาการขาย option ทั้ง put และ call บริษัทที่ได้เงินมาฟรี แล้วเอาเงินคนอื่นไปต่อยอดและได้เงินฟรีมาเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้เลย
หรือง่ายๆ เงินน้อยต่อเป็นเงินมาก ใช้แค่ความรู้ ไม่ได้ใช้เงินที่มากเลย
“ กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่เมื่อขาย ”
Cr.Richdad
Cr.Richdad
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1561
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 7
ผมว่าตัวเลขทั้งหมดเกิดจากความเข้าใจในตัวธุรกิจครับ
ตัวอย่างเช่นบริษัท A เราประมาณการรายได้ว่าโต 20% จากผู้บริหารบอกมาแต่เราไม่ได้เข้าใจว่าธุรกิจนั้นขายสินค้าอะไร ทำธุรกิจกับใคร ความเสี่ยงอยู่ที่ไหน 20%นั้นจะมาจากไหน ตลาดและอุตสาหกรรมกำลังโตหรือกำลังหดลง ใส่ตัวเลขไปใส่ได้แต่หลังจากใส่แล้วกลับมามองจะเห็นได้ว่าเราจะไม่มีความมั่นใจเลยว่ามันจะเป็น 20% จริงๆไหม กลับกันบริษัท B เราประมาณการรายได้ว่าโต 10% แต่เราเข้าใจตัวธุรกิจอย่างดี ขายสินค้าอะไร ขายให้ใคร โอกาสเป็นไปได้ไหมในการขาย เห็นการทำตลาด อุตสาหกรรมมีแนวโน้มเดียวกัน หลังจากเราใส่ตัวเลขแล้วเราจะรู้สึกว่าสบายใจนะเพราะเราตั้งสมมติฐานตัวเลขที่ใส่ไปจากความเข้าใจของเรา
เพราะฉะนั้นการที่บอกว่าเข้าใจ Concept แต่พอมาทำจริงมันงงๆ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดามากครับ ทำบริษัทที่ 1 งง บริษัทที่ 2 งง บริษัทที่ 3 งง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรครับแต่ต้องทำไปเรื่อยๆ ถ้าหยุดแค่บริษัทที่ 3 เราก็จะงงอยู่แบบนั้นครับ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำไปจนถึงบริษัทที่ 50 เราจะเริ่มเข้าใจมากขึ้น ถึงบริษัท ที่ 100 เราจะเข้าใจมากๆๆขึ้นอีกครับ ผมก็เป็นหนึ่งคนที่พึ่งเริ่มฝึกการประมาณการงบการเงินเพื่อเอามาประเมิณมูลค่าหุ้นเหมือนกันครับ ช่วงแรกๆก็งงมากว่าจะใส่ตัวเลขอะไร ใส่ไปแล้วก็ไม่ได้มีความมั่นใจอะไรเลย ใส่ไปแล้วได้กำไรได้ราคาหุ้นออกมาก็รู้สึกว่ามันเชื่อได้มั้ยเนี่ย หลังจากนั้นก็มาหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่เชื่อในตัวเลขที่เราใส่ไป ก็ถึงมาเจอว่าเราไม่ได้เข้าใจว่าตัวเลขเหตุผลที่รองรับคืออะไร ตัวธุรกิจไม่ได้เข้าใจมากอย่างที่ได้กล่าวมาครับ
ทุกวันนี้ก็ฝึกทำเรื่อยๆ ใช้ข้อมูลเก่าบ้าง ประเมิณใหม่บ้างตามอนาคตที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ แล้วก็รอเฉลยทีละไตรมาสว่าสิ่งที่เราคิดเราใส่ตัวเลขไว้มันเป็นไปได้ขนาดไหน แล้วเอามาลองดูว่าเวลาเราคิดเราควรจะคิดอย่างไรจากเฉลย บางครั้งประเมิณมากไปเพราะเรา Bias รึป่าวหรือเราคิดถูกแล้วแต่ผู้บริหารดันทำแย่เอง ทั้งหมดนี้ก็ขอให้สู้ต่อไปครับ หัวอกเดียวกันสำหรับมือใหม่ครับ
ปล. เคยฟังนักลงทุนเก่งๆคุยกันเรื่องพวกนี้ ประเมิณถูกบ่อย แม่นยำมาก ตัวเลขนู้นตัวเลขนี้ใส่ไปอย่างมั่นใจ ผมยังแอบอิจฉาเลยครับ แต่ก็คิดว่าสักวันเราก็ต้องเป็นคนนั้นให้ได้เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่นบริษัท A เราประมาณการรายได้ว่าโต 20% จากผู้บริหารบอกมาแต่เราไม่ได้เข้าใจว่าธุรกิจนั้นขายสินค้าอะไร ทำธุรกิจกับใคร ความเสี่ยงอยู่ที่ไหน 20%นั้นจะมาจากไหน ตลาดและอุตสาหกรรมกำลังโตหรือกำลังหดลง ใส่ตัวเลขไปใส่ได้แต่หลังจากใส่แล้วกลับมามองจะเห็นได้ว่าเราจะไม่มีความมั่นใจเลยว่ามันจะเป็น 20% จริงๆไหม กลับกันบริษัท B เราประมาณการรายได้ว่าโต 10% แต่เราเข้าใจตัวธุรกิจอย่างดี ขายสินค้าอะไร ขายให้ใคร โอกาสเป็นไปได้ไหมในการขาย เห็นการทำตลาด อุตสาหกรรมมีแนวโน้มเดียวกัน หลังจากเราใส่ตัวเลขแล้วเราจะรู้สึกว่าสบายใจนะเพราะเราตั้งสมมติฐานตัวเลขที่ใส่ไปจากความเข้าใจของเรา
เพราะฉะนั้นการที่บอกว่าเข้าใจ Concept แต่พอมาทำจริงมันงงๆ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดามากครับ ทำบริษัทที่ 1 งง บริษัทที่ 2 งง บริษัทที่ 3 งง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรครับแต่ต้องทำไปเรื่อยๆ ถ้าหยุดแค่บริษัทที่ 3 เราก็จะงงอยู่แบบนั้นครับ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำไปจนถึงบริษัทที่ 50 เราจะเริ่มเข้าใจมากขึ้น ถึงบริษัท ที่ 100 เราจะเข้าใจมากๆๆขึ้นอีกครับ ผมก็เป็นหนึ่งคนที่พึ่งเริ่มฝึกการประมาณการงบการเงินเพื่อเอามาประเมิณมูลค่าหุ้นเหมือนกันครับ ช่วงแรกๆก็งงมากว่าจะใส่ตัวเลขอะไร ใส่ไปแล้วก็ไม่ได้มีความมั่นใจอะไรเลย ใส่ไปแล้วได้กำไรได้ราคาหุ้นออกมาก็รู้สึกว่ามันเชื่อได้มั้ยเนี่ย หลังจากนั้นก็มาหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่เชื่อในตัวเลขที่เราใส่ไป ก็ถึงมาเจอว่าเราไม่ได้เข้าใจว่าตัวเลขเหตุผลที่รองรับคืออะไร ตัวธุรกิจไม่ได้เข้าใจมากอย่างที่ได้กล่าวมาครับ
ทุกวันนี้ก็ฝึกทำเรื่อยๆ ใช้ข้อมูลเก่าบ้าง ประเมิณใหม่บ้างตามอนาคตที่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ แล้วก็รอเฉลยทีละไตรมาสว่าสิ่งที่เราคิดเราใส่ตัวเลขไว้มันเป็นไปได้ขนาดไหน แล้วเอามาลองดูว่าเวลาเราคิดเราควรจะคิดอย่างไรจากเฉลย บางครั้งประเมิณมากไปเพราะเรา Bias รึป่าวหรือเราคิดถูกแล้วแต่ผู้บริหารดันทำแย่เอง ทั้งหมดนี้ก็ขอให้สู้ต่อไปครับ หัวอกเดียวกันสำหรับมือใหม่ครับ
ปล. เคยฟังนักลงทุนเก่งๆคุยกันเรื่องพวกนี้ ประเมิณถูกบ่อย แม่นยำมาก ตัวเลขนู้นตัวเลขนี้ใส่ไปอย่างมั่นใจ ผมยังแอบอิจฉาเลยครับ แต่ก็คิดว่าสักวันเราก็ต้องเป็นคนนั้นให้ได้เหมือนกัน
The most inefficient is "Stock market"
The best investment asset is "Knowledge"
The most valuable thing is "Time"
3 Powerful paths to have financial freedom.
The best investment asset is "Knowledge"
The most valuable thing is "Time"
3 Powerful paths to have financial freedom.
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การใส่ตัวเลขประมาณการงบการเงิน
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator