WEH
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
WEH
โพสต์ที่ 1
‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ปักธงขาย IPO ปี’64 ส่งหุ้นกู้ชิมลาง 3,000 ล้านบาท
Business Today
‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ หรือ WEH ฝ่ากระแสดราม่าผู้ถือหุ้นเดิม เสนอขายหุ้นกู้มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% เปิดแผนร่วมทุนโรงไฟฟ้าเวียดนาม-ปักหมุดเข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ไฟลิ่ง) ของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH มูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท และมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000 ล้านบาท
หุ้นกู้ดังกล่าว อายุ 1 ปี 9 เดือน ระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กำหนดเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (High net worth) ระยะเวลาการจองซื้อระหว่างวันที่ 17- 23 ธันวาคม 2563 กำหนดยอดจองซื้อขั้นต่ำที่ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่ 6.25% ชำระดอกเบี้ย ทุก 3 เดือน
นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ บริษัทฯ ต้องการแสดงความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ของบริษัทฯ ได้รับทราบถึงศักยภาพในการระดมทุนของ WEH อีกทั้งขยายช่องทางการระดมทุน จากเดิมพึ่งพาเพียงวงเงินกู้จากสถาบันการเงิน
สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และเพื่อไปลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจภายในปี 2564 เพื่อรองรับการศึกษาเข้าลงทุนในโครงการใหม่ ๆ โดยไม่จำกัดโอกาสลงทุนในประเทศเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับการมองหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายธุรกิจกำหนดขยายกำลังการผลิตไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ให้แตะระดับ 1,500 เมะกวัตต์(MW) ภายใน 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 717 MW จากจำนวนโรงไฟฟ้า 8 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ราว 500,000 ไร่ ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ
ด้าน นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 3,000 ล้านบาท จะนำไปใช้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ประเทศเวียดนาม มูลค่าโครงการประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้วางเงินมัดจำโครงการแล้ว 750 ล้านบาท (สามารถขอเงินมัดจำคืนได้) คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 4-5 เดือนต่อจากนี้
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นของรัฐบาลเวียดนาม และมีรัฐบาลเวียดนามเป็นผู้ซื้อสัญญาไฟฟ้า อย่างไรก็ดี การเจรจาลงทุนในโรงไฟฟ้าในครั้งนี้เป็นการเจรจากับบริษัทเอกชนสัญชาติเวียดนามที่ดำเนินการอยู่ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าการลงทุนจะออกมาในลักษณะของรูปแบบการร่วมทุนระหว่าง WEH และเอกชนรายดังกล่าว ซึ่งโรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ เข้าลงทุนยังคงกำหนดอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ไม่ต่ำกว่า 10% เช่นเดิม
เมื่อสอบถามถึงกระแสข่าวปัญหาภายในบริษัทฯ รวมถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจได้รับผลกระทบ นายวิชัย กล่าวว่า แม้ว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีเรทติ้ง (Unrated Bond) แต่การที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงได้รับความไว้วางใจจากตัวแทนจำหน่ายถึง 8 บริษัทหลักทรัพย์ ถือเป็นเครื่องการันตีความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ได้ระดับหนึ่ง
ในส่วนของปัญหาระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมนั้น ที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ สะท้อนจากผลประกอบการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของ WEH ที่ยังสามารถเติบโตได้เฉลี่ย 30% โดยในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมประมาณ 12,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,000 ล้านบาท และมียอดขายเติบโตเฉลี่ยประมาณ 30-40%
“การระดมทุนครั้งนี้ ถือเป็นการระดมทุนครั้งแรกแก่ประชาชนทั่วไปของบริษัทฯ ส่วนการระดมทุนขายหุ้น IPO ยังคงเป็นเป้าหมายหลักที่เราตั้งใจเอาไว้ ซึ่งเราจะทำให้ดีที่สุด โดยคาดว่าภายในปีหน้า (2564) หากเคลียร์ปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้นเดิมได้ บริษัทฯ ก็มีความพร้อมเข้าระดมทุนได้ทันที” นายวิชัย กล่าว
ทั้งนี้ WEH มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ประมาณ 2 เท่า มีจำนวนหนี้สินรวมประมาณ 32,000 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ปีละประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกจำนวน 1.40 บาท และต่อจากนี้มีความตั้งใจจะปันผลเป็นประจำทุกปีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น
Business Today
‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ หรือ WEH ฝ่ากระแสดราม่าผู้ถือหุ้นเดิม เสนอขายหุ้นกู้มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% เปิดแผนร่วมทุนโรงไฟฟ้าเวียดนาม-ปักหมุดเข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ไฟลิ่ง) ของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH มูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท และมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000 ล้านบาท
หุ้นกู้ดังกล่าว อายุ 1 ปี 9 เดือน ระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กำหนดเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (High net worth) ระยะเวลาการจองซื้อระหว่างวันที่ 17- 23 ธันวาคม 2563 กำหนดยอดจองซื้อขั้นต่ำที่ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่ 6.25% ชำระดอกเบี้ย ทุก 3 เดือน
นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ บริษัทฯ ต้องการแสดงความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ของบริษัทฯ ได้รับทราบถึงศักยภาพในการระดมทุนของ WEH อีกทั้งขยายช่องทางการระดมทุน จากเดิมพึ่งพาเพียงวงเงินกู้จากสถาบันการเงิน
สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และเพื่อไปลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจภายในปี 2564 เพื่อรองรับการศึกษาเข้าลงทุนในโครงการใหม่ ๆ โดยไม่จำกัดโอกาสลงทุนในประเทศเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับการมองหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายธุรกิจกำหนดขยายกำลังการผลิตไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ให้แตะระดับ 1,500 เมะกวัตต์(MW) ภายใน 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 717 MW จากจำนวนโรงไฟฟ้า 8 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ราว 500,000 ไร่ ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ
ด้าน นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 3,000 ล้านบาท จะนำไปใช้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ประเทศเวียดนาม มูลค่าโครงการประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้วางเงินมัดจำโครงการแล้ว 750 ล้านบาท (สามารถขอเงินมัดจำคืนได้) คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 4-5 เดือนต่อจากนี้
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นของรัฐบาลเวียดนาม และมีรัฐบาลเวียดนามเป็นผู้ซื้อสัญญาไฟฟ้า อย่างไรก็ดี การเจรจาลงทุนในโรงไฟฟ้าในครั้งนี้เป็นการเจรจากับบริษัทเอกชนสัญชาติเวียดนามที่ดำเนินการอยู่ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าการลงทุนจะออกมาในลักษณะของรูปแบบการร่วมทุนระหว่าง WEH และเอกชนรายดังกล่าว ซึ่งโรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ เข้าลงทุนยังคงกำหนดอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ไม่ต่ำกว่า 10% เช่นเดิม
เมื่อสอบถามถึงกระแสข่าวปัญหาภายในบริษัทฯ รวมถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจได้รับผลกระทบ นายวิชัย กล่าวว่า แม้ว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีเรทติ้ง (Unrated Bond) แต่การที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงได้รับความไว้วางใจจากตัวแทนจำหน่ายถึง 8 บริษัทหลักทรัพย์ ถือเป็นเครื่องการันตีความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ได้ระดับหนึ่ง
ในส่วนของปัญหาระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมนั้น ที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ สะท้อนจากผลประกอบการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของ WEH ที่ยังสามารถเติบโตได้เฉลี่ย 30% โดยในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมประมาณ 12,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,000 ล้านบาท และมียอดขายเติบโตเฉลี่ยประมาณ 30-40%
“การระดมทุนครั้งนี้ ถือเป็นการระดมทุนครั้งแรกแก่ประชาชนทั่วไปของบริษัทฯ ส่วนการระดมทุนขายหุ้น IPO ยังคงเป็นเป้าหมายหลักที่เราตั้งใจเอาไว้ ซึ่งเราจะทำให้ดีที่สุด โดยคาดว่าภายในปีหน้า (2564) หากเคลียร์ปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้นเดิมได้ บริษัทฯ ก็มีความพร้อมเข้าระดมทุนได้ทันที” นายวิชัย กล่าว
ทั้งนี้ WEH มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ประมาณ 2 เท่า มีจำนวนหนี้สินรวมประมาณ 32,000 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ปีละประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกจำนวน 1.40 บาท และต่อจากนี้มีความตั้งใจจะปันผลเป็นประจำทุกปีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 2
WEHเสนอขายหุ้นกู้3พันล้าน เล็งรองรับแผนลงทุนวินด์ฟาร์มในเวียดนาม
Source - ข่าวหุ้น
Tuesday, December 15, 2020 05:27
WEH เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ 3 พันล้านบาท รองรับแผนลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่ในเวียดนาม คาดชัดเจน 4-5 เดือนนี้ พร้อมเร่งเจรจาปิดดีลในไทยอย่างน้อย 1 โครงการในปีหน้า หนุนกำลังผลิตเพิ่มแตะ 1.5 พันเมกะวัตต์ภายในปี 68 มั่นใจยอดขายปีหน้าโต 30-40%
นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท และหุ้นกู้สำรอง 1,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี 9 เดือน ระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กำหนดเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (High net worth) ระยะเวลาการจองซื้อระหว่างวันที่ 17-23 ธ.ค.นี้ กำหนดยอดจองซื้อขั้นต่ำที่ 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยที่ 6.25% ชำระดอกเบี้ย ทุก 3 เดือน
โดยการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ หลัก ๆ จะนำมาใช้ในการรองรับการขยายโครงการลงทุน ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม (วินด์ฟาร์ม) ในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่กำลังการผลิตมากกว่า 100 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 4-5 เดือนข้างหน้า
ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการลงทุนทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์ฟาร์ม) ทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา คาดว่าจะสามารถปิดดีลในประเทศไทยได้อย่างน้อย 1 โครงการภายในปี 2564
“บริษัทฯ ออกหุ้นกู้ ส่วนใหญ่เพื่อใช้สำหรับรองรับแผนลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม มูลค่าโครงการประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งนอกเหนือจากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ ทางสถาบันการเงินในต่างประเทศก็พร้อมให้การสนับสนุนทางด้านการเงินเช่นกัน ซึ่งการศึกษาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ก่อน ดังนั้นหากโครงการมีความชัดเจน ก็จะมาหนุนกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมี 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 717 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ 5 แสนไร่ ในจ.นครราชสีมา และจ.ชัยภูมิ และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 1,500 เมกะวัตต์ภายในปี 2568” นายวิชัย กล่าว
สำหรับแผนออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ของ WEH โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่นายทะเบียนหุ้นกู้
ล่าสุด บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ 8 แห่งเพื่อทำหน้าที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้และนายหน้าค้าหลักทรัพย์ โดยผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคพีเอ็ม จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในส่วนของนายหน้าค้าหลักทรัพย์ คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอเชีย เวลท์ จำกัด
ส่วนแผนการดำเนินงานปี 2564 บริษัทฯ ยังมั่นใจว่ายอดขายจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 30-40% โดยในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 6,000 ล้านบาท ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ในระดับดังกล่าวเช่นกัน ขณะเดียวกัน ในปี 2564 บริษัทฯ หวังว่าจะสามารถจบดีลในไทยได้อย่างน้อย 1 โครงการ ขณะที่โครงการในเวียดนาม น่าจะสามารถเริ่มทำสัญญาอย่างจริงจังได้
ด้านความคืบหน้าการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) บริษัทฯ หวังว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2564 ทั้งนี้บริษัทฯ มีความพร้อม และตั้งเป้าการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ยังรอจังหวะที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีความสามารถในการทำกำไรเติบโตปีละกว่า 40% และมีความสามารถในการชำระหนี้ 3,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันยังเหลือหนี้อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 15 ธ.ค. 2563
Source - ข่าวหุ้น
Tuesday, December 15, 2020 05:27
WEH เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ 3 พันล้านบาท รองรับแผนลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่ในเวียดนาม คาดชัดเจน 4-5 เดือนนี้ พร้อมเร่งเจรจาปิดดีลในไทยอย่างน้อย 1 โครงการในปีหน้า หนุนกำลังผลิตเพิ่มแตะ 1.5 พันเมกะวัตต์ภายในปี 68 มั่นใจยอดขายปีหน้าโต 30-40%
นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท และหุ้นกู้สำรอง 1,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี 9 เดือน ระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กำหนดเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (High net worth) ระยะเวลาการจองซื้อระหว่างวันที่ 17-23 ธ.ค.นี้ กำหนดยอดจองซื้อขั้นต่ำที่ 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยที่ 6.25% ชำระดอกเบี้ย ทุก 3 เดือน
โดยการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ หลัก ๆ จะนำมาใช้ในการรองรับการขยายโครงการลงทุน ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม (วินด์ฟาร์ม) ในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่กำลังการผลิตมากกว่า 100 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 4-5 เดือนข้างหน้า
ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการลงทุนทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์ฟาร์ม) ทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา คาดว่าจะสามารถปิดดีลในประเทศไทยได้อย่างน้อย 1 โครงการภายในปี 2564
“บริษัทฯ ออกหุ้นกู้ ส่วนใหญ่เพื่อใช้สำหรับรองรับแผนลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม มูลค่าโครงการประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งนอกเหนือจากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ ทางสถาบันการเงินในต่างประเทศก็พร้อมให้การสนับสนุนทางด้านการเงินเช่นกัน ซึ่งการศึกษาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ก่อน ดังนั้นหากโครงการมีความชัดเจน ก็จะมาหนุนกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมี 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 717 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ 5 แสนไร่ ในจ.นครราชสีมา และจ.ชัยภูมิ และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 1,500 เมกะวัตต์ภายในปี 2568” นายวิชัย กล่าว
สำหรับแผนออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ของ WEH โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่นายทะเบียนหุ้นกู้
ล่าสุด บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ 8 แห่งเพื่อทำหน้าที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้และนายหน้าค้าหลักทรัพย์ โดยผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคพีเอ็ม จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในส่วนของนายหน้าค้าหลักทรัพย์ คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอเชีย เวลท์ จำกัด
ส่วนแผนการดำเนินงานปี 2564 บริษัทฯ ยังมั่นใจว่ายอดขายจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 30-40% โดยในปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 6,000 ล้านบาท ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ในระดับดังกล่าวเช่นกัน ขณะเดียวกัน ในปี 2564 บริษัทฯ หวังว่าจะสามารถจบดีลในไทยได้อย่างน้อย 1 โครงการ ขณะที่โครงการในเวียดนาม น่าจะสามารถเริ่มทำสัญญาอย่างจริงจังได้
ด้านความคืบหน้าการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) บริษัทฯ หวังว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2564 ทั้งนี้บริษัทฯ มีความพร้อม และตั้งเป้าการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ยังรอจังหวะที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีความสามารถในการทำกำไรเติบโตปีละกว่า 40% และมีความสามารถในการชำระหนี้ 3,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันยังเหลือหนี้อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 15 ธ.ค. 2563
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 3
WEHเล็งปันผลปีนี้ไม่ต่ำกว่า15บ. ปิดงบ 9 เดือนกำไร 1,840 ล้าน ลุ้น Q4 พีคสุด!
Source - ข่าวหุ้น
Monday, November 16, 2020 05:42
“วินด์เอนเนอร์ยี่ฯ” เล็งจ่ายปันผลจากกำไรงวดปี 63 ไม่น้อยกว่า 15 บาทต่อหุ้น หลังจ่ายระหว่างกาลจากกำไรงวดครึ่งปีแรกไปแล้ว 1.40 บาทต่อหุ้น ปิดงบ 9 เดือนปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,840 ล้านบาท ลุ้นผลงานไตรมาส 4 พีคสุด จ่อเคาะแผนลงทุนวินด์ฟาร์มที่เวียดนาม 600-800 เมกะวัตต์ในปีหน้า ขณะที่เตรียมออกหุ้นกู้ 2 พันล้านบาทในช่วงปลายปีนี้
นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH เปิดเผยว่า บริษัท อยู่ระหว่างพิจารณาการจ่ายเงินปันผลประจำปี จากกำไรในงวดปี 2563 ไม่น้อยกว่า 15 บาทต่อหุ้น หลังจากได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรในงวด 6 เดือนแรกของปี 2563 ไปแล้วที่ 1.40 บาทต่อหุ้น นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
โดยคณะกรรมการบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่าฐานะการเงินของ WEH ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่ง เป็นบริษัทไม่มีหนี้ ในแต่ละปีมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ประมาณ 8,000 ล้านบาท ส่งผลให้มีสภาพคล่องมากเพียงพอรองรับการดำเนินธุรกิจ จึงมีแนวคิดจะจัดสรรกำไรจ่ายเงินปันผลเพื่อตอบแทนคืนให้กับผู้ถือหุ้น ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ
ทั้งนี้ บริษัทได้นำกำไรจากผลการดำเนินงานปี 2562 ไปใช้หนี้ของบริษัททั้งหมดประมาณ 8,000 ล้านบาท เมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ ส่วนบริษัทลูก (เป็นบริษัทที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแต่ละโครงการ) ยังมีหนี้จากการกู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยมีต้นทุนดอกเบี้ยประมาณ 4-5%
สำหรับผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2563 บริษัทมีรายได้รวม 6,300 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,840 ล้านบาท เนื่องจากกำลังลมช่วง 9 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 4.91 เมตรต่อวินาที ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 20 ปี แต่บริษัทคาดหวังว่าผลประกอบการในไตรมาส 4/2563 จะฟื้นตัวตามกำลังลม เพราะโดยปกติเป็นไตรมาสที่มีกำลังลมดีที่สุด และผลิตกำลังลมในสัดส่วน 40% ของกำลังลมทั้งปี จึงคาดว่าปี 2563 จะมีกำไรมากกว่า 4,000 ล้านบาท
โดยปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินการจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าครบทั้ง 8 โรง กำลังการผลิตรวม 717 เมกะวัตต์ (MW) ครอบคลุมพื้นที่ราว 5 แสนไร่ใน 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ
ด้านการลงทุนในต่างประเทศ ขณะนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการศึกษาลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนามร่วมกับพาร์ตเนอร์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2564 โดยบริษัทจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้เข้าไปซื้อโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่พร้อมจะก่อสร้างได้เลย จึงยังต้องรอภาครัฐของเวียดนามออก PPA ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2564 ถึงจะมีความชัดเจนในการเข้าไปลงทุน ซึ่งคาดว่าเฟสแรกจะมีกำลังการผลิตออกมาประมาณ 600-800 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท โดยยื่นขออนุญาตออกและเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา คาดว่าจะเสนอขายได้ประมาณช่วงเดือนธันวาคม 2563 ก่อนหน้านี้บริษัทได้ขอนุมัติวงเงินออกหุ้นกู้จากผู้ถือหุ้นไว้ที่มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท แต่วงเงินหุ้นกู้ที่จะออกในครั้งนี้จะยังไม่ใช่ทั้งหมดของที่ขออนุมัติไว้ เพื่อทดลองตลาดและทำให้นักลงทุนรู้จักบริษัทมากขึ้น
สำหรับวงเงินออกหุ้นกู้ดังกล่าวสามารถรองรับการขยายกำลังการผลิตได้ประมาณ 500 เมกะวัตต์ เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้บริษัทดำเนินการตามแผน 5 ปีที่มีเป้าหมายจะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 1,500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตรวมประมาณ 717 เมกะวัตต์
“บริษัทยังคงมองหาโอกาสการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต และไม่จำกัดอยู่ที่พลังงานลม โดยให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด เพียงแต่ให้ความสำคัญกับพลังงานลมเป็นลำดับแรก เพราะมีความเชี่ยวชาญ แต่ยอมรับว่าพลังงานลมในประเทศยังต้องรอนโยบายจากภาครัฐ ทำให้บริษัทขยายโอกาสการลงทุนไปต่างประเทศ เพื่อกระจายฐานรายได้ และลดความเสี่ยงในภาวะกำลังลมในประเทศอ่อนแรง โดยโครงการที่เป็นไปได้และมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด คือ โครงการในประเทศเวียดนาม เนื่องจากมีความต้องการสูง และพบว่ามีกำลังลมในระดับที่ดีกว่าประเทศไทย”นายกำธร กล่าว
ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 16 พ.ย. 2563
Source - ข่าวหุ้น
Monday, November 16, 2020 05:42
“วินด์เอนเนอร์ยี่ฯ” เล็งจ่ายปันผลจากกำไรงวดปี 63 ไม่น้อยกว่า 15 บาทต่อหุ้น หลังจ่ายระหว่างกาลจากกำไรงวดครึ่งปีแรกไปแล้ว 1.40 บาทต่อหุ้น ปิดงบ 9 เดือนปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,840 ล้านบาท ลุ้นผลงานไตรมาส 4 พีคสุด จ่อเคาะแผนลงทุนวินด์ฟาร์มที่เวียดนาม 600-800 เมกะวัตต์ในปีหน้า ขณะที่เตรียมออกหุ้นกู้ 2 พันล้านบาทในช่วงปลายปีนี้
นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH เปิดเผยว่า บริษัท อยู่ระหว่างพิจารณาการจ่ายเงินปันผลประจำปี จากกำไรในงวดปี 2563 ไม่น้อยกว่า 15 บาทต่อหุ้น หลังจากได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรในงวด 6 เดือนแรกของปี 2563 ไปแล้วที่ 1.40 บาทต่อหุ้น นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
โดยคณะกรรมการบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่าฐานะการเงินของ WEH ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่ง เป็นบริษัทไม่มีหนี้ ในแต่ละปีมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ประมาณ 8,000 ล้านบาท ส่งผลให้มีสภาพคล่องมากเพียงพอรองรับการดำเนินธุรกิจ จึงมีแนวคิดจะจัดสรรกำไรจ่ายเงินปันผลเพื่อตอบแทนคืนให้กับผู้ถือหุ้น ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ
ทั้งนี้ บริษัทได้นำกำไรจากผลการดำเนินงานปี 2562 ไปใช้หนี้ของบริษัททั้งหมดประมาณ 8,000 ล้านบาท เมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ ส่วนบริษัทลูก (เป็นบริษัทที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแต่ละโครงการ) ยังมีหนี้จากการกู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยมีต้นทุนดอกเบี้ยประมาณ 4-5%
สำหรับผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2563 บริษัทมีรายได้รวม 6,300 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,840 ล้านบาท เนื่องจากกำลังลมช่วง 9 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 4.91 เมตรต่อวินาที ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 20 ปี แต่บริษัทคาดหวังว่าผลประกอบการในไตรมาส 4/2563 จะฟื้นตัวตามกำลังลม เพราะโดยปกติเป็นไตรมาสที่มีกำลังลมดีที่สุด และผลิตกำลังลมในสัดส่วน 40% ของกำลังลมทั้งปี จึงคาดว่าปี 2563 จะมีกำไรมากกว่า 4,000 ล้านบาท
โดยปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินการจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าครบทั้ง 8 โรง กำลังการผลิตรวม 717 เมกะวัตต์ (MW) ครอบคลุมพื้นที่ราว 5 แสนไร่ใน 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ
ด้านการลงทุนในต่างประเทศ ขณะนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการศึกษาลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนามร่วมกับพาร์ตเนอร์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2564 โดยบริษัทจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้เข้าไปซื้อโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่พร้อมจะก่อสร้างได้เลย จึงยังต้องรอภาครัฐของเวียดนามออก PPA ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2564 ถึงจะมีความชัดเจนในการเข้าไปลงทุน ซึ่งคาดว่าเฟสแรกจะมีกำลังการผลิตออกมาประมาณ 600-800 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท โดยยื่นขออนุญาตออกและเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา คาดว่าจะเสนอขายได้ประมาณช่วงเดือนธันวาคม 2563 ก่อนหน้านี้บริษัทได้ขอนุมัติวงเงินออกหุ้นกู้จากผู้ถือหุ้นไว้ที่มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท แต่วงเงินหุ้นกู้ที่จะออกในครั้งนี้จะยังไม่ใช่ทั้งหมดของที่ขออนุมัติไว้ เพื่อทดลองตลาดและทำให้นักลงทุนรู้จักบริษัทมากขึ้น
สำหรับวงเงินออกหุ้นกู้ดังกล่าวสามารถรองรับการขยายกำลังการผลิตได้ประมาณ 500 เมกะวัตต์ เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้บริษัทดำเนินการตามแผน 5 ปีที่มีเป้าหมายจะมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 1,500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตรวมประมาณ 717 เมกะวัตต์
“บริษัทยังคงมองหาโอกาสการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต และไม่จำกัดอยู่ที่พลังงานลม โดยให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด เพียงแต่ให้ความสำคัญกับพลังงานลมเป็นลำดับแรก เพราะมีความเชี่ยวชาญ แต่ยอมรับว่าพลังงานลมในประเทศยังต้องรอนโยบายจากภาครัฐ ทำให้บริษัทขยายโอกาสการลงทุนไปต่างประเทศ เพื่อกระจายฐานรายได้ และลดความเสี่ยงในภาวะกำลังลมในประเทศอ่อนแรง โดยโครงการที่เป็นไปได้และมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด คือ โครงการในประเทศเวียดนาม เนื่องจากมีความต้องการสูง และพบว่ามีกำลังลมในระดับที่ดีกว่าประเทศไทย”นายกำธร กล่าว
ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 16 พ.ย. 2563
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 4
เปิด 4 จุดเด่น "วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง"
Source - มิติหุ้นออนไลน์
Sunday, November 01, 2020 22:00
โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกในประเทศไทยมีการเติบโตสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าเกือบทุกประเภท เช่นโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และที่ลืมไม่ได้คือโรงไฟฟ้าพลังงานลม หรือโรงไฟฟ้ากังหันลม ซึ่งประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในผู้มีโรงไฟฟ้าประเภทนี้สูงสุดในภูมิภาคเช่นกัน โดยในปี 62 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ากังหันลมกว่า 1,400 เมกะวัตต์
WEH หรือ บริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ถือได้ว่าเป็นผู้นำทางด้านโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งแม้จะไม่ใช่เป็นผู้บุกเบิก แต่เป็นผู้ที่มีศักยภาพสูง ด้วยการมองการณ์ไกลของผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นว่าโรงไฟฟ้าชนิดนี้จะสามารถสร้างความโดดเด่นในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ด้วยกันเราจะเห็นว่า WEH เติบโตอย่างรวดเร็วมาก
4 จุดเด่นของ WEH
WEH มีโรงไฟฟ้ากังหันลมมากที่สุด
หากนับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าประเภทกังหันลม 4 รายหลักซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกัน 1,227 MW ได้แก่ WEH, EA, GUNKUL, EGCO พบว่า WEH เป็นบริษัทที่ขายไฟฟ้าแล้วมากที่สุดถึง 717 MW และเป็นบริษัทที่มีโรงไฟฟ้ากังหันลมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
WEH มีรายได้สูงสุดของกลุ่มธุรกิจ
การผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่เต็มศักยภาพตั้งปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นรายได้ที่เติบโตอย่างมาก โดยสิ้นปี 62 พบว่า WEHมีรายได้จากการขายไฟสูงถึง 12,000 ล้านบาท สูงกว่า GUNKUL, EA, EGCO เมื่อเปรียบเทียบการขายไฟจากโรงไฟฟ้าประเภทเดียวกัน
WEH โดดเด่นด้วยกำไรที่แข็งแกร่ง
หากนับบริษัทผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้แก่ EA, GULF, BGRIM, GUNKUL พบว่า ณ สิ้นปี 62 WEH มีกำไรสูงถึง 5,888 ล้านบาท ขณะที่ EA แม้จะมีกำไร 6,081 ล้านบาท แต่กว่า 60% เป็นกำไรจากธุรกิจไบโอดีเซล ดังนั้นหากนับเฉพาะธุรกิจขายไฟฟ้าแล้ว WEH เป็นบริษัทที่มีกำไรสุทธิมากที่สุดในปี 62
WEH อัตรากำไรสุทธิสูงที่สุดในกลุ่ม
บริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ในระดับสูง จะสะท้อนให้เห็นความสามารถในการทำกำไร ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง WEH มีอัตรากำไรสุทธิสูงมากถึง 48.8% ในปี 62 และสูงกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าที่เปรียบเทียบได้ทั้งหมดทุกรายอย่างมาก
WEH ถือว่าเป็นบริษัทที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย ในการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่ และมีความสามารถในการทำกำไรที่โดดเด่น จึงไม่แปลกใจที่ WEH ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในเวลานี้
ที่มา: www.mitihoon.com
Source - มิติหุ้นออนไลน์
Sunday, November 01, 2020 22:00
โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกในประเทศไทยมีการเติบโตสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าเกือบทุกประเภท เช่นโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และที่ลืมไม่ได้คือโรงไฟฟ้าพลังงานลม หรือโรงไฟฟ้ากังหันลม ซึ่งประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในผู้มีโรงไฟฟ้าประเภทนี้สูงสุดในภูมิภาคเช่นกัน โดยในปี 62 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ากังหันลมกว่า 1,400 เมกะวัตต์
WEH หรือ บริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ถือได้ว่าเป็นผู้นำทางด้านโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งแม้จะไม่ใช่เป็นผู้บุกเบิก แต่เป็นผู้ที่มีศักยภาพสูง ด้วยการมองการณ์ไกลของผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นว่าโรงไฟฟ้าชนิดนี้จะสามารถสร้างความโดดเด่นในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ด้วยกันเราจะเห็นว่า WEH เติบโตอย่างรวดเร็วมาก
4 จุดเด่นของ WEH
WEH มีโรงไฟฟ้ากังหันลมมากที่สุด
หากนับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าประเภทกังหันลม 4 รายหลักซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกัน 1,227 MW ได้แก่ WEH, EA, GUNKUL, EGCO พบว่า WEH เป็นบริษัทที่ขายไฟฟ้าแล้วมากที่สุดถึง 717 MW และเป็นบริษัทที่มีโรงไฟฟ้ากังหันลมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
WEH มีรายได้สูงสุดของกลุ่มธุรกิจ
การผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่เต็มศักยภาพตั้งปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นรายได้ที่เติบโตอย่างมาก โดยสิ้นปี 62 พบว่า WEHมีรายได้จากการขายไฟสูงถึง 12,000 ล้านบาท สูงกว่า GUNKUL, EA, EGCO เมื่อเปรียบเทียบการขายไฟจากโรงไฟฟ้าประเภทเดียวกัน
WEH โดดเด่นด้วยกำไรที่แข็งแกร่ง
หากนับบริษัทผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้แก่ EA, GULF, BGRIM, GUNKUL พบว่า ณ สิ้นปี 62 WEH มีกำไรสูงถึง 5,888 ล้านบาท ขณะที่ EA แม้จะมีกำไร 6,081 ล้านบาท แต่กว่า 60% เป็นกำไรจากธุรกิจไบโอดีเซล ดังนั้นหากนับเฉพาะธุรกิจขายไฟฟ้าแล้ว WEH เป็นบริษัทที่มีกำไรสุทธิมากที่สุดในปี 62
WEH อัตรากำไรสุทธิสูงที่สุดในกลุ่ม
บริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ในระดับสูง จะสะท้อนให้เห็นความสามารถในการทำกำไร ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง WEH มีอัตรากำไรสุทธิสูงมากถึง 48.8% ในปี 62 และสูงกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าที่เปรียบเทียบได้ทั้งหมดทุกรายอย่างมาก
WEH ถือว่าเป็นบริษัทที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย ในการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่ และมีความสามารถในการทำกำไรที่โดดเด่น จึงไม่แปลกใจที่ WEH ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในเวลานี้
ที่มา: www.mitihoon.com
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 5
กับดักไม่เชื่อมั่นWEH ยกแรกล้มเหลวหุ้นกู้!
ตรวจสอบ “วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง” (WEH) ในกำมือบริหารของ "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" ยกแรกออกหุ้นกู้ล้มเหลว ตั้งเป้าขายยอด 3 พันล้านบาท เพื่อรุกโรงไฟฟ้าลมเวียดนาม 100 เมกะวัตต์ แต่กลับขายได้แค่ 393 ล้านบาท จับตาอนาคตความเชื่อมั่น
มหากาพย์ "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด" หรือ "WEH" ที่มีผู้ถือหุ้นระดับบิ๊กของประเทศไทยจำนวนมาก ยังคงอยู่บนเส้นทางที่มืดมน ไร้วี่แววในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากความเชื่อมั่นที่สั่นคลอน ท่ามกลางการเปลี่ยนมือผู้บริหารระดับสูงจาก "ณพ ณรงค์เดช" มาสู่มือของ "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" นำทัพโดย "นายกำธร กิตติอิสรานนท์" ประธานกรรมการบริหาร WEH ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ "นายประเดช กิตติอิสรานนท์" ก็ตาม นั้นก็เพราะล่าสุด WEH ประสบความล้มเหลวกับการขาย "หุ้นกู้" ให้กับนักลงทุน ซึ่งถือเป็นด่านหน้าในการกอบกู้ความเชื่อมั่น!
อันที่จริงบริษัทแห่งนี้เปรียบเสมือนเค้กที่แสนอร่อย มีผลการดำเนินงานที่ดี ผลตอบแทนลงทุนสูง จากการเป็นบริษัทไฟฟ้าพลังงานลมที่มีกำลังการผลิตที่ประมาณ 717 MW และเป็นโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาขายไฟฟ้าด้วย ADDER 3.50 บาท ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ลงทุนไป ขณะเดียวกัน WEH ยังได้รับการสนับสนุนในด้านสินเชื่ออย่างมากจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ กระทั้งโครงการทุกอย่างเสร็จสิ้นเดินหน้าขายไฟได้ครบ 8 โครงการ
ปี 2562 บริษัทนี้มีรายได้กว่า 12,000 ล้านบาท กำไร 5,888 ล้านบาท และมีกำไรสะสม 5,975 ล้านบาท ซึ่งกำไรขนาดนี้ถือว่าสูงกว่า ยักษ์ใหญ่พลังงานเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่าง GULF เสียอีก
เพียงแต่สิ่งที่ทำให้เค้กชิ้นนี้ หมดเสน่ห์ ยังไม่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ มาจากการแย่งชิงเค้กก้อนนี้กันอย่างดุเดือด จนมีคดีเต็มไปหมด
@ WEH ในมือกิตติอิสรานนท์
กระทั่งล่าสุด "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" สามารถเข้าสู่อำนาจใน WEH จากการที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ลงมติให้ นายณพ พ้นจากบอร์ด และแต่งตั้งให้ "นายประเดช กิตติอิสรานนท์" เข้ามาเป็นกรรมการแทน ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 56.9638% และไม่เห็นด้วย 43.0361%โดยดึงเรื่องการปันผล การคุมค่าใช้จ่าย ความหวังการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นจุดจูงใจ
ซึ่งหลังจาก "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" เข้ามากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ บอร์ดใหม่สั่งประกาศจ่ายปันผลครั้งแรกทันทีที่ 1.40 บาท เมื่อเดือนตุลาคม 2563 แต่ก็ยังถือเป็นผลงานไม่ได้ เพราะเม็ดเงินที่จ่ายปันผลนั้นนำมาจากผลการดำเนินงานปี 2562 สมัยที่ "ณพ" กุมอำนาจ
"นายกำธร" ได้ประกาศให้ความหวังก่อนหน้านี้ว่า ยังมีแนวโน้มการจ่ายปันผลเพิ่มอีก และเพิ่มความหวังจากการประกาศเพิ่มพอร์ตไฟฟ้าให้แตะ 1,500 MW ใน 5 ปี โดยจะประเดิมขายหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% เพื่อนำไปรุกตลาดเวียดนาม 100 เมกะวัตต์
@ขายหุ้นกู้ต่ำเป้า
ในที่สุดบทพิสูจน์แรกก็มาถึงกลางเดือนธันวาคม นั้นคือ การลงนามขายแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ (WEH229A) มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งนายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการบริษัท ระบุว่า เพื่อเป็นทุนนำไปลงทุนโครงการพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่มากกว่า 100 เมกะวัตต์ (MW) มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้ที่สถาบันการเงินพร้อมปล่อยกู้
ข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ของ WEH ระบุว่า มูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขาย 2,000 ล้านบาทและมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ยูโอบีเคย์เฮียน(ประเทศไทย) ทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่นายทะเบียนหุ้นกู้ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวอายุ 1 ปี 9 เดือนระบุชื่อผู้ถือไม่ด้อยสิทธิไม่มีประกันและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กำหนดเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ให้จองซื้อไปเมื่อ 17- 23 ธ.ค.63 อัตราดอกเบี้ยสุดจูงใจสูงถึง 6.25% ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน แถมหุ้นกู้นี้มีการลงนามในสัญญาแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ถึง 8 แห่งเพื่อจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ทว่ากลับสามารถขายหุ้นกู้ได้แค่เพียง 393.90 ล้านบาทเท่านั้น!!!
@ หุ้นกู้SSPนิยมกว่า
นับว่าล้มเหลวเมื่อนำหุ้นกู้ WEH ไปเปรียบเทียบกับ หุ้นกู้ของ บมจ.เสริมสร้างพาวเวอร์ (SSP) ผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าโซลาร์ ที่ออกหุ้นกู้ (SSP226A) ช่วงเดียวกันคือ 4 ธ.ค. 2563 พบว่า SSP สามารถขายหุ้นกู้ได้ 800 ล้านบาท มากกว่า WEH โดยมีผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ 4 แห่ง น้อยกว่า WEH ทั้งๆ ที่ SSP มีกำไรน้อยกว่า WEH 10 เท่า โดยหุ้นกู้ SSP มีระยะเวลาไถ่ถอน 1 ปี 6 เดือน ระยะเวลาน้อยกว่า WEH เล็กน้อย ให้ดอกเบี้ย 4.60% ถูกกว่า WEH ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี SSP มีเรตติ้งที่ BBB ขณะที่ WEH ยังไม่มีเรตติ้ง
นั้นแสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นที่ยังต้องรอวันพิสูจน์ แต่ที่ต้องมองไปไกลกว่านั้นเมื่อเม็ดเงินระดมทุนเข้ามาต่ำกว่าเป้า นั่นคือ การขยายไปสู่เวียดนามน่าจะเป็นจริงได้แค่ไหน?
ตรวจสอบ “วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง” (WEH) ในกำมือบริหารของ "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" ยกแรกออกหุ้นกู้ล้มเหลว ตั้งเป้าขายยอด 3 พันล้านบาท เพื่อรุกโรงไฟฟ้าลมเวียดนาม 100 เมกะวัตต์ แต่กลับขายได้แค่ 393 ล้านบาท จับตาอนาคตความเชื่อมั่น
มหากาพย์ "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด" หรือ "WEH" ที่มีผู้ถือหุ้นระดับบิ๊กของประเทศไทยจำนวนมาก ยังคงอยู่บนเส้นทางที่มืดมน ไร้วี่แววในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากความเชื่อมั่นที่สั่นคลอน ท่ามกลางการเปลี่ยนมือผู้บริหารระดับสูงจาก "ณพ ณรงค์เดช" มาสู่มือของ "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" นำทัพโดย "นายกำธร กิตติอิสรานนท์" ประธานกรรมการบริหาร WEH ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ "นายประเดช กิตติอิสรานนท์" ก็ตาม นั้นก็เพราะล่าสุด WEH ประสบความล้มเหลวกับการขาย "หุ้นกู้" ให้กับนักลงทุน ซึ่งถือเป็นด่านหน้าในการกอบกู้ความเชื่อมั่น!
อันที่จริงบริษัทแห่งนี้เปรียบเสมือนเค้กที่แสนอร่อย มีผลการดำเนินงานที่ดี ผลตอบแทนลงทุนสูง จากการเป็นบริษัทไฟฟ้าพลังงานลมที่มีกำลังการผลิตที่ประมาณ 717 MW และเป็นโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาขายไฟฟ้าด้วย ADDER 3.50 บาท ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ลงทุนไป ขณะเดียวกัน WEH ยังได้รับการสนับสนุนในด้านสินเชื่ออย่างมากจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ กระทั้งโครงการทุกอย่างเสร็จสิ้นเดินหน้าขายไฟได้ครบ 8 โครงการ
ปี 2562 บริษัทนี้มีรายได้กว่า 12,000 ล้านบาท กำไร 5,888 ล้านบาท และมีกำไรสะสม 5,975 ล้านบาท ซึ่งกำไรขนาดนี้ถือว่าสูงกว่า ยักษ์ใหญ่พลังงานเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่าง GULF เสียอีก
เพียงแต่สิ่งที่ทำให้เค้กชิ้นนี้ หมดเสน่ห์ ยังไม่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ มาจากการแย่งชิงเค้กก้อนนี้กันอย่างดุเดือด จนมีคดีเต็มไปหมด
@ WEH ในมือกิตติอิสรานนท์
กระทั่งล่าสุด "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" สามารถเข้าสู่อำนาจใน WEH จากการที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ลงมติให้ นายณพ พ้นจากบอร์ด และแต่งตั้งให้ "นายประเดช กิตติอิสรานนท์" เข้ามาเป็นกรรมการแทน ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 56.9638% และไม่เห็นด้วย 43.0361%โดยดึงเรื่องการปันผล การคุมค่าใช้จ่าย ความหวังการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นจุดจูงใจ
ซึ่งหลังจาก "ตระกูลกิตติอิสรานนท์" เข้ามากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ บอร์ดใหม่สั่งประกาศจ่ายปันผลครั้งแรกทันทีที่ 1.40 บาท เมื่อเดือนตุลาคม 2563 แต่ก็ยังถือเป็นผลงานไม่ได้ เพราะเม็ดเงินที่จ่ายปันผลนั้นนำมาจากผลการดำเนินงานปี 2562 สมัยที่ "ณพ" กุมอำนาจ
"นายกำธร" ได้ประกาศให้ความหวังก่อนหน้านี้ว่า ยังมีแนวโน้มการจ่ายปันผลเพิ่มอีก และเพิ่มความหวังจากการประกาศเพิ่มพอร์ตไฟฟ้าให้แตะ 1,500 MW ใน 5 ปี โดยจะประเดิมขายหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% เพื่อนำไปรุกตลาดเวียดนาม 100 เมกะวัตต์
@ขายหุ้นกู้ต่ำเป้า
ในที่สุดบทพิสูจน์แรกก็มาถึงกลางเดือนธันวาคม นั้นคือ การลงนามขายแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ (WEH229A) มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งนายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการบริษัท ระบุว่า เพื่อเป็นทุนนำไปลงทุนโครงการพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่มากกว่า 100 เมกะวัตต์ (MW) มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้ที่สถาบันการเงินพร้อมปล่อยกู้
ข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ของ WEH ระบุว่า มูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขาย 2,000 ล้านบาทและมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ยูโอบีเคย์เฮียน(ประเทศไทย) ทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่นายทะเบียนหุ้นกู้ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวอายุ 1 ปี 9 เดือนระบุชื่อผู้ถือไม่ด้อยสิทธิไม่มีประกันและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กำหนดเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ให้จองซื้อไปเมื่อ 17- 23 ธ.ค.63 อัตราดอกเบี้ยสุดจูงใจสูงถึง 6.25% ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน แถมหุ้นกู้นี้มีการลงนามในสัญญาแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ถึง 8 แห่งเพื่อจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ทว่ากลับสามารถขายหุ้นกู้ได้แค่เพียง 393.90 ล้านบาทเท่านั้น!!!
@ หุ้นกู้SSPนิยมกว่า
นับว่าล้มเหลวเมื่อนำหุ้นกู้ WEH ไปเปรียบเทียบกับ หุ้นกู้ของ บมจ.เสริมสร้างพาวเวอร์ (SSP) ผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าโซลาร์ ที่ออกหุ้นกู้ (SSP226A) ช่วงเดียวกันคือ 4 ธ.ค. 2563 พบว่า SSP สามารถขายหุ้นกู้ได้ 800 ล้านบาท มากกว่า WEH โดยมีผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ 4 แห่ง น้อยกว่า WEH ทั้งๆ ที่ SSP มีกำไรน้อยกว่า WEH 10 เท่า โดยหุ้นกู้ SSP มีระยะเวลาไถ่ถอน 1 ปี 6 เดือน ระยะเวลาน้อยกว่า WEH เล็กน้อย ให้ดอกเบี้ย 4.60% ถูกกว่า WEH ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี SSP มีเรตติ้งที่ BBB ขณะที่ WEH ยังไม่มีเรตติ้ง
นั้นแสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นที่ยังต้องรอวันพิสูจน์ แต่ที่ต้องมองไปไกลกว่านั้นเมื่อเม็ดเงินระดมทุนเข้ามาต่ำกว่าเป้า นั่นคือ การขยายไปสู่เวียดนามน่าจะเป็นจริงได้แค่ไหน?
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 6
บิ๊กWEHแจงเหตุหุ้นกู้กร่อย ลั่นลุยโรงไฟฟ้าเวียดนามต่อ
หัวเรือใหม่ WEH เคลียร์ประเด็นขายหุ้นกู้ได้เพียง 400 ล้านบาท จาก ที่ตั้งไว้ 2,000 ล้านบาท เหตุติดปัญหาเข้มงวด หลังบริษัทมีข่าวปัญหาต่อเนื่อง แต่ยืนยันไม่กระทบโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม เวียดนาม ชี้บริษัทมีกำไรสูงปีละ 5 พันล้านบาท กันเงินมาใช้ได้
จากกรณีการออกหุ้นกู้ "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)" หรือ "WEH" ที่มีมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท และมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เพื่อเป็นทุนนำไปลงทุนโครงการพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม แต่กลับได้รับการตอบรับเพียง 393.90 ล้านบาท ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การเดินหน้าธุรกิจภายใต้ทีมบริหารชุดใหม่ จะสะดุดหรือไม่ ?
ล่าสุด นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ WEH เปิดเผย "ทันหุ้น" โดยระบุสาเหตุที่ทำให้การขายหุ้นกู้ดังกล่าวนั้นได้จำนวน 400 ล้านบาท เนื่องจากทางฝ่ายกำกับมีความกังวลหลายเรื่องในบริษัท จึงค่อนข้างเข้มงวด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูง 6.25% ซึ่งสูงกว่าบริษัทโรงไฟฟ้าอื่นที่ขายหุ้นกู้ในช่วงเวลาเดียวกันค่อนข้างมาก เนื่องจาก บริษัทยังไม่ได้จัดอันดับเครดิตทำให้ต้องให้ดอกเบี้ยสูง อย่างไรก็ดีขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการจัดทำอันดับเครดิต
นายกำธร ระบุว่า การออกหุ้นกู้ดังกล่าวแม้ว่าจะขายได้จำนวน 400 ล้านบาท แต่ก็เพียงพอที่จะเดินหน้าโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามตามที่กล่าวไว้ในวัตถุประสงค์ เนื่องจากเป็นช่วงของการศึกษาจึงยังใช้เงินไม่มาก ประเมินช่วงครึ่งปีนี้จะใช้เม็ดเงินในช่วงแรก 450 ล้านบาท ซึ่งขาดอีกเพียง 50 ล้านบาทเท่านั้น ท่ามกลางบริษัทมีกำไรราวปีละ 4-5 พันล้านบาท จึงไม่น่ากังวล และในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการชำระหนี้หมดแล้วในส่วนของการกู้ยืมในบริษัทแม่ เหลือเพียงแต่หนี้ในโครงการเท่านั้น ซึ่งทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้
"ตอนนี้บริษัทจ่ายปันผลได้ ถ้าเราขายหุ้นกู้ได้เยอะเราก็ไม่ต้องกันเงินไว้ลงทุนมาก ก็สามารถจ่ายปันผลได้มาก แต่ถ้าขายได้น้อยก็จะมีการกันเงินส่วนใหญ่ไว้เพื่อการลงทุน" นายกำธร กล่าว
@เจาะลมเวียดนามWEH
อย่างไรก็ดีโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าในเวียดนามนั้นนั้นเฟสแรกมีมูลค่าราว 600 เมกะวัตต์ เป็นโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง แต่เป็นการลงทุนในระยะแรก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูง แต่ก็มาพร้อมกับผลตอบแทน (EIRR) ที่สูงเกิน 20% เมื่อเทียบกับโครงการที่ซื้อขายกัน หรือ ได้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) แล้ว ที่จะมี EIRR ราว 12-15% อย่างไรก็ดีในระยะแรกในการลงทุนโครงการประเภทนี้นั้น ไม่สามารถที่จะกู้ได้ จะกู้เงินก็จะเป็นในช่วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
นอกจากนี้บริษัทก็ยังเดินหน้าโครงการอื่นๆ อีกโดยไปประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากเวียดนาม เนื่องจาก ปัจจุบันโครงการลมของบริษัทได้เดินหน้าเรียบร้อยแล้วหมดแล้ว ต้องหาโปรเจกใหม่เข้ามาเติมพอร์ตในอนาคต
@อุปสรรคเข้าตลาด
สำหรับการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ยังพยายามอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่า หน่วยงานที่จะอนุมัตินั้นยังมีความเป็นห่วง โดยเฉพาะในด้านประเด็นการฟ้องร้องต่างๆ
ส่วนเรื่องที่ดิน สปก. ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการลมนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นปัญหาตั้งแรกแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังเดินหน้าในการทำสัญญาพื้นที่เช่าจากภาครัฐ ส่วนการตกลงคุยกับชาวบ้านนั้น ยินดี และอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยน
หัวเรือใหม่ WEH เคลียร์ประเด็นขายหุ้นกู้ได้เพียง 400 ล้านบาท จาก ที่ตั้งไว้ 2,000 ล้านบาท เหตุติดปัญหาเข้มงวด หลังบริษัทมีข่าวปัญหาต่อเนื่อง แต่ยืนยันไม่กระทบโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม เวียดนาม ชี้บริษัทมีกำไรสูงปีละ 5 พันล้านบาท กันเงินมาใช้ได้
จากกรณีการออกหุ้นกู้ "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)" หรือ "WEH" ที่มีมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท และมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เพื่อเป็นทุนนำไปลงทุนโครงการพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม แต่กลับได้รับการตอบรับเพียง 393.90 ล้านบาท ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การเดินหน้าธุรกิจภายใต้ทีมบริหารชุดใหม่ จะสะดุดหรือไม่ ?
ล่าสุด นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ WEH เปิดเผย "ทันหุ้น" โดยระบุสาเหตุที่ทำให้การขายหุ้นกู้ดังกล่าวนั้นได้จำนวน 400 ล้านบาท เนื่องจากทางฝ่ายกำกับมีความกังวลหลายเรื่องในบริษัท จึงค่อนข้างเข้มงวด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูง 6.25% ซึ่งสูงกว่าบริษัทโรงไฟฟ้าอื่นที่ขายหุ้นกู้ในช่วงเวลาเดียวกันค่อนข้างมาก เนื่องจาก บริษัทยังไม่ได้จัดอันดับเครดิตทำให้ต้องให้ดอกเบี้ยสูง อย่างไรก็ดีขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการจัดทำอันดับเครดิต
นายกำธร ระบุว่า การออกหุ้นกู้ดังกล่าวแม้ว่าจะขายได้จำนวน 400 ล้านบาท แต่ก็เพียงพอที่จะเดินหน้าโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามตามที่กล่าวไว้ในวัตถุประสงค์ เนื่องจากเป็นช่วงของการศึกษาจึงยังใช้เงินไม่มาก ประเมินช่วงครึ่งปีนี้จะใช้เม็ดเงินในช่วงแรก 450 ล้านบาท ซึ่งขาดอีกเพียง 50 ล้านบาทเท่านั้น ท่ามกลางบริษัทมีกำไรราวปีละ 4-5 พันล้านบาท จึงไม่น่ากังวล และในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการชำระหนี้หมดแล้วในส่วนของการกู้ยืมในบริษัทแม่ เหลือเพียงแต่หนี้ในโครงการเท่านั้น ซึ่งทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้
"ตอนนี้บริษัทจ่ายปันผลได้ ถ้าเราขายหุ้นกู้ได้เยอะเราก็ไม่ต้องกันเงินไว้ลงทุนมาก ก็สามารถจ่ายปันผลได้มาก แต่ถ้าขายได้น้อยก็จะมีการกันเงินส่วนใหญ่ไว้เพื่อการลงทุน" นายกำธร กล่าว
@เจาะลมเวียดนามWEH
อย่างไรก็ดีโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าในเวียดนามนั้นนั้นเฟสแรกมีมูลค่าราว 600 เมกะวัตต์ เป็นโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง แต่เป็นการลงทุนในระยะแรก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูง แต่ก็มาพร้อมกับผลตอบแทน (EIRR) ที่สูงเกิน 20% เมื่อเทียบกับโครงการที่ซื้อขายกัน หรือ ได้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) แล้ว ที่จะมี EIRR ราว 12-15% อย่างไรก็ดีในระยะแรกในการลงทุนโครงการประเภทนี้นั้น ไม่สามารถที่จะกู้ได้ จะกู้เงินก็จะเป็นในช่วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
นอกจากนี้บริษัทก็ยังเดินหน้าโครงการอื่นๆ อีกโดยไปประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากเวียดนาม เนื่องจาก ปัจจุบันโครงการลมของบริษัทได้เดินหน้าเรียบร้อยแล้วหมดแล้ว ต้องหาโปรเจกใหม่เข้ามาเติมพอร์ตในอนาคต
@อุปสรรคเข้าตลาด
สำหรับการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ยังพยายามอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่า หน่วยงานที่จะอนุมัตินั้นยังมีความเป็นห่วง โดยเฉพาะในด้านประเด็นการฟ้องร้องต่างๆ
ส่วนเรื่องที่ดิน สปก. ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการลมนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นปัญหาตั้งแรกแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังเดินหน้าในการทำสัญญาพื้นที่เช่าจากภาครัฐ ส่วนการตกลงคุยกับชาวบ้านนั้น ยินดี และอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยน
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 7
ช็อค!WEHล้มเวียดนาม กังขาออกหุ้นกู้ทำไม?
มันแปลกดีนะ! กรณี WEH ขายหุ้นกู้ตั้งใจระดมเงิน 2 พันล้านบาทเดือนธันวาคม แต่ขายได้ 400 ล้านบาท อ้างลงทุนโครงการเวียดนาม แต่เปิดเอกสารมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อพฤศจิกายนกลับตาลปัตร บอร์ดมองโครงการเวียดนามเสี่ยง ตั้งใจยุติและหาทางลดสัดส่วน คำถามแล้วระดมเงินจากการออกหุ้นกู้ไปทำไม? ตามติดประชุมผู้ถือหุ้นวันนี้!
เป็นเรื่องที่น่าพิศวง ชวนสงสัย กับการดำเนินการประกาศขายหุ้นกู้ของ "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด" หรือ "WEH" ที่ได้เสนอขายในช่วงเดือนธันวาคม โดยมีมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท และมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000ล้านบาท จ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% ชำระดอกเบี้ยทุก 3เดือน แต่ขายได้จริง 393.90 ล้านบาท โดย บริษัท ระบุถึงวัตถุประสงค์การขายหุ้นกู้ตามสื่อ เพื่อเป็นทุนนำไปลงทุนโครงการพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งสวนทางกับ มติบอร์ดช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ได้เห็นชอบให้ถอนตัวออกจากโครงการเวียดนาม
@ มติพ.ย.63ให้ยุติเวียดนาม
"ทีมงานทันหุ้น" ได้รับเอกสารรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2563ซึ่งประชุมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จะออกหุ้นกู้ในช่วงเดือนธันวาคม 2563
โดยประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ วาระที่ 4.4รายงานความคืบหน้าเรื่องการลงทุนในประเทศเวียดนาม บันทึกการประชุมระบุไว้ดังนี้ "ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนในรายละเอียดของโครงการดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงของโครงการ เงินลงทุนที่ต้องจ่ายจำนวนมาก เมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัทที่ปัจจุบันมาจากกำลังการผลิต 717เมกะวัตต์ ประกอบกับยังขาดความชัดเจนในนโยบายภาครัฐของประเทศเวียดนาม จึงเห็นควรให้ยุติโครงการ
แต่เนื่องจากโครงการได้รับอนุมัติในหลักการ ให้ดำเนินโครงการและได้มีการทำสัญญาที่จะซื้อหุ้นจำนวนร้อยละ 50ของโครงการไปแล้ว เมื่อพิจารณาถึงผลดีและผลเสียที่จะกระทบกับบริษัท ในเรื่องการละเมิดสัญญาที่อาจมีทั้งค่าชดเชย ค่าทนายต่างๆ ซึ่งอาจจะมีมูลค่าสูงกว่าเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่า premium และการลงทุนในระยะแรก จึงเห็นสมควรให้ดำเนินต่ออีกระยะหนึ่ง ภายในกำหนด 1 ปี ขณะเดียวกัน ให้รีบดำเนินการขายสิทธิเพื่อลดสัดส่วนของการลงทุน ทั้งนี้จำกัดการลงทุนที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขั้นตอนที่การเริ่มทำสัญญาและลงทุนเพิ่มไม่เกิน 10ล้านเหรียญสหรัฐ จนกว่าโครงการจะมีชื่อในแผนอนุมัติ PDP ของประเทศเวียดนาม"
@ จับตาประชุมผู้ถือหุ้นเดือด
จากเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการ 9 พฤศจิกายน ที่คณะกรรมการเห็นชอบไม่ต้องการให้ลงทุนในเวียดนาม ได้นำมาสู่ข้อกังขาว่าเหตุใดคณะกรรมการจึงปล่อยให้มีการออกหุ้นกู้ โดยให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.25%ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 มีเจตนาจะระดมเงิน 2,000-3,000ล้านบาท รวมถึงต้องไปประเมินกันว่า การประกาศเดินหน้ารุกเวียดนามทำให้ผู้ซื้อหุ้นกู้เข้าใจผิดหรือไม่ แม้ว่าหุ้นกู้ของ WEH จะขายได้เพียง 400ล้านบาทก็ตาม ข้อสงสัยต่างๆ นี้ผู้ถือหุ้นต้องไปถามในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้คณะกรรมการชี้แจง โดยเฉพาะช่วงนี้ที่คณะกรรมการผู้มีอำนาจกำลังเปลี่ยนแปลงจากเดิม
โดยวันนี้ (4 ก.พ.) บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด จะมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้ที่ 1/2564เวลา 10.00 น. ณ ห้องจูปีเตอร์ ชั้น 3โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมีวาระที่น่าสนใจ คือการพิจารณา ปลดนางเอมม่า ลูอิส คอลลินส์ ออกจากการเป็นกรรมการบริษัท และแต่งตั้งให้นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางบุษกร กอดำรงค์ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน
และจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จากเดิมที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองของบริษัท คือ นางสาวนันทิดา กิตติอิสรานนท์ หรือ นายกำธร กิตติอิศรานนท์ คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกับ นางเอมม่าลูอิส คอลลินส์ หรือ นายธันว์ เหรียญสุวรรณ รวมเป็นสองคน มาเป็น นางสาวนันทิดา กิตติอิสรานนท์ หรือ นายกำธร กิตติอิศรานนท์ คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกับ นายธันว์ เหรียญสุวรรณ หรือ นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ หรือ นางบุษกร กอดำรงค์ รวมเป็นสองคน และประทับตราสำคัญของบริษัท เนื่องจาก นายธันว์ ได้ยื่นลาออกจากการเป็นกรรมการ มีผลบังคับใช้ 31มีนาคม 2564
สำหรับกลุ่มเชฎฐ์อุดมลาภนั้น นับเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้น "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด" มีสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 1.27%
มันแปลกดีนะ! กรณี WEH ขายหุ้นกู้ตั้งใจระดมเงิน 2 พันล้านบาทเดือนธันวาคม แต่ขายได้ 400 ล้านบาท อ้างลงทุนโครงการเวียดนาม แต่เปิดเอกสารมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อพฤศจิกายนกลับตาลปัตร บอร์ดมองโครงการเวียดนามเสี่ยง ตั้งใจยุติและหาทางลดสัดส่วน คำถามแล้วระดมเงินจากการออกหุ้นกู้ไปทำไม? ตามติดประชุมผู้ถือหุ้นวันนี้!
เป็นเรื่องที่น่าพิศวง ชวนสงสัย กับการดำเนินการประกาศขายหุ้นกู้ของ "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด" หรือ "WEH" ที่ได้เสนอขายในช่วงเดือนธันวาคม โดยมีมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท และมูลค่าหุ้นกู้สำรองอีก 1,000ล้านบาท จ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 6.25% ชำระดอกเบี้ยทุก 3เดือน แต่ขายได้จริง 393.90 ล้านบาท โดย บริษัท ระบุถึงวัตถุประสงค์การขายหุ้นกู้ตามสื่อ เพื่อเป็นทุนนำไปลงทุนโครงการพลังงานลมที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งสวนทางกับ มติบอร์ดช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ได้เห็นชอบให้ถอนตัวออกจากโครงการเวียดนาม
@ มติพ.ย.63ให้ยุติเวียดนาม
"ทีมงานทันหุ้น" ได้รับเอกสารรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2563ซึ่งประชุมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จะออกหุ้นกู้ในช่วงเดือนธันวาคม 2563
โดยประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ วาระที่ 4.4รายงานความคืบหน้าเรื่องการลงทุนในประเทศเวียดนาม บันทึกการประชุมระบุไว้ดังนี้ "ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนในรายละเอียดของโครงการดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงของโครงการ เงินลงทุนที่ต้องจ่ายจำนวนมาก เมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัทที่ปัจจุบันมาจากกำลังการผลิต 717เมกะวัตต์ ประกอบกับยังขาดความชัดเจนในนโยบายภาครัฐของประเทศเวียดนาม จึงเห็นควรให้ยุติโครงการ
แต่เนื่องจากโครงการได้รับอนุมัติในหลักการ ให้ดำเนินโครงการและได้มีการทำสัญญาที่จะซื้อหุ้นจำนวนร้อยละ 50ของโครงการไปแล้ว เมื่อพิจารณาถึงผลดีและผลเสียที่จะกระทบกับบริษัท ในเรื่องการละเมิดสัญญาที่อาจมีทั้งค่าชดเชย ค่าทนายต่างๆ ซึ่งอาจจะมีมูลค่าสูงกว่าเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่า premium และการลงทุนในระยะแรก จึงเห็นสมควรให้ดำเนินต่ออีกระยะหนึ่ง ภายในกำหนด 1 ปี ขณะเดียวกัน ให้รีบดำเนินการขายสิทธิเพื่อลดสัดส่วนของการลงทุน ทั้งนี้จำกัดการลงทุนที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขั้นตอนที่การเริ่มทำสัญญาและลงทุนเพิ่มไม่เกิน 10ล้านเหรียญสหรัฐ จนกว่าโครงการจะมีชื่อในแผนอนุมัติ PDP ของประเทศเวียดนาม"
@ จับตาประชุมผู้ถือหุ้นเดือด
จากเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการ 9 พฤศจิกายน ที่คณะกรรมการเห็นชอบไม่ต้องการให้ลงทุนในเวียดนาม ได้นำมาสู่ข้อกังขาว่าเหตุใดคณะกรรมการจึงปล่อยให้มีการออกหุ้นกู้ โดยให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.25%ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 มีเจตนาจะระดมเงิน 2,000-3,000ล้านบาท รวมถึงต้องไปประเมินกันว่า การประกาศเดินหน้ารุกเวียดนามทำให้ผู้ซื้อหุ้นกู้เข้าใจผิดหรือไม่ แม้ว่าหุ้นกู้ของ WEH จะขายได้เพียง 400ล้านบาทก็ตาม ข้อสงสัยต่างๆ นี้ผู้ถือหุ้นต้องไปถามในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้คณะกรรมการชี้แจง โดยเฉพาะช่วงนี้ที่คณะกรรมการผู้มีอำนาจกำลังเปลี่ยนแปลงจากเดิม
โดยวันนี้ (4 ก.พ.) บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด จะมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้ที่ 1/2564เวลา 10.00 น. ณ ห้องจูปีเตอร์ ชั้น 3โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมีวาระที่น่าสนใจ คือการพิจารณา ปลดนางเอมม่า ลูอิส คอลลินส์ ออกจากการเป็นกรรมการบริษัท และแต่งตั้งให้นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางบุษกร กอดำรงค์ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน
และจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จากเดิมที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองของบริษัท คือ นางสาวนันทิดา กิตติอิสรานนท์ หรือ นายกำธร กิตติอิศรานนท์ คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกับ นางเอมม่าลูอิส คอลลินส์ หรือ นายธันว์ เหรียญสุวรรณ รวมเป็นสองคน มาเป็น นางสาวนันทิดา กิตติอิสรานนท์ หรือ นายกำธร กิตติอิศรานนท์ คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกับ นายธันว์ เหรียญสุวรรณ หรือ นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ หรือ นางบุษกร กอดำรงค์ รวมเป็นสองคน และประทับตราสำคัญของบริษัท เนื่องจาก นายธันว์ ได้ยื่นลาออกจากการเป็นกรรมการ มีผลบังคับใช้ 31มีนาคม 2564
สำหรับกลุ่มเชฎฐ์อุดมลาภนั้น นับเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้น "บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด" มีสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 1.27%
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 8
WEHเคลียร์ปมเวียดนาม รับกลัวเสี่ยงแต่ยังไม่เลิก
บิ๊ก WEH แจงปมเอกสารบอร์ดพ.ย.มีมติ ยุติโครงการโรงไฟฟ้าเวียดนาม เป็นการเขียนสั้นๆ รับกลัวเสี่ยง จึงต้องจำกัดเงิน แต่ยังคงเดินหน้าต่อ และพร้อมขายหากได้ราคา ยืนยันต้องมีการออกหุ้นกู้เพื่อลงทุน จะได้ไม่เบียดเบียนเงินปันผลตั้งใจจ่าย 30 บาทปีนี้ รับผลงานปีนนี้กำไรหาย 2 พันล้านเหตุลมไม่ดี ชี้ปีนี้บริษัทตั้งเป้าลดต้นทุนลงครึ่งนึง
นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH เปิดเผยถึงกรณีมีเอกสารรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2563 ซึ่งประชุมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563 ให้ทบทวนการลงทุนในประเทศเวียดนาม และมีข้อความว่า ให้ยุติโครงการว่า เกิดจากสาเหตุที่คณะกรรมการชุดปัจจุบันที่เข้ามานั้นรับช่วงต่อจากคณะกรรมการชุดก่อนมีความเชี่ยวชาญด้านสายพลังงาน และมีการทักทวงว่า การทำงานที่เวียดนามมีความเสี่ยงสูง จึงให้ระมัดระวังการใส่เงิน ยังไม่ได้ยกเลิกขณะนี้ยังเป็นการเพิ่มความระมัดระวัง
ส่วนการให้ลดสัดส่วนการลงทุนนั้น เนื่องจากโครงการการมีขนาดใหญ่มากจริงๆ สูงถึง 3 พันเมกกะวัตต์ เป็นการลงทุนโครงการลมนอกชายฝั่ง จึงต้องมีผู้ที่ร่วมลงทุนด้วย แต่ถ้ามีคนติดต่อมาสามารถขายได้ราคาสูงก็จะพิจารณา ทั้งนี้ยืนยันว่าบริษัทยังคงเดินหน้าการลงทุนไม่ใช่เฉพาะเวียดนามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโครงการในที่อื่นๆ ด้วย
@ ออกหุ้นกู้ไม่เบียดเงินปันผล
"โครงการนี้มี3,000 เมกะวัตต์ เงินลงทุนเป็นหมื่นล้านบาท มติอาจจะเขียนออกมาสั้นๆ แต่เรื่องนี้ บอร์ดถก 2-3 ชม. บอร์ดชุดเก่าไม่ความรู้ด้านพลังงาน มีความเสี่ยงสูงด้วยราคาที่ซื้อ กับความเสี่ยงที่แบกรับ ถ้าตัดไปก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นที่บอร์ดจึงอนุมัติเป็นเฟสๆ และต้องรายงานความคืบหน้า ถ้ามีโอกาสขายได้ราคาเราก็ขาย เพราะเงินลงทุนสูง แต่ตอนนี้ให้ระวังการใส่เงินไม่เกิน 15 ล้านเหรียญหรือ 450 ล้านบาท"
ส่วนการออกหุ้นกู้จำนวน 2,000 ล้านบาท นั้น นายกำธร ชี้แจงว่า เป็นเพราะบริษัทต้องการที่จะขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพราะฉะนั้นก็ต้องใช้เงินจากหุ้นกู้ เพื่อที่จะไม่ไปเบียดเงินปันผล ซึ่งบริษัทอยากที่จะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ถือหุ้นมานาน หลังจากสามารถจ่ายได้แล้ว คาดว่าจะจ่ายได้ตามที่เคยบอกไว้จ่าย 30 บาทต่อปี
@ตั้งเป้าปีนี้ลดต้นทุน
นายกำธร กล่าวด้วยว่า วานนี้ (4 ก.พ.) ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ได้มีการแต่งตั้งให้นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางบุษกร กอดำรงค์ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน
และได้มีการรับรองผลการดำเนินงาน ซึ่งกำไรลดลงกว่า 2 พันล้านบาท เนื่องจากความเร็วลมลดลง โดยสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัยนั้น คือการบริหารจัดการต้นทุน โดยปีนี้ตั้งเป้าจะลดต้นทุนให้ใช้ไม่เกิน 400 ล้านบาท จากเดิม 700-800 ล้านบาท
บิ๊ก WEH แจงปมเอกสารบอร์ดพ.ย.มีมติ ยุติโครงการโรงไฟฟ้าเวียดนาม เป็นการเขียนสั้นๆ รับกลัวเสี่ยง จึงต้องจำกัดเงิน แต่ยังคงเดินหน้าต่อ และพร้อมขายหากได้ราคา ยืนยันต้องมีการออกหุ้นกู้เพื่อลงทุน จะได้ไม่เบียดเบียนเงินปันผลตั้งใจจ่าย 30 บาทปีนี้ รับผลงานปีนนี้กำไรหาย 2 พันล้านเหตุลมไม่ดี ชี้ปีนี้บริษัทตั้งเป้าลดต้นทุนลงครึ่งนึง
นายกำธร กิตติอิสรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH เปิดเผยถึงกรณีมีเอกสารรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 10/2563 ซึ่งประชุมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563 ให้ทบทวนการลงทุนในประเทศเวียดนาม และมีข้อความว่า ให้ยุติโครงการว่า เกิดจากสาเหตุที่คณะกรรมการชุดปัจจุบันที่เข้ามานั้นรับช่วงต่อจากคณะกรรมการชุดก่อนมีความเชี่ยวชาญด้านสายพลังงาน และมีการทักทวงว่า การทำงานที่เวียดนามมีความเสี่ยงสูง จึงให้ระมัดระวังการใส่เงิน ยังไม่ได้ยกเลิกขณะนี้ยังเป็นการเพิ่มความระมัดระวัง
ส่วนการให้ลดสัดส่วนการลงทุนนั้น เนื่องจากโครงการการมีขนาดใหญ่มากจริงๆ สูงถึง 3 พันเมกกะวัตต์ เป็นการลงทุนโครงการลมนอกชายฝั่ง จึงต้องมีผู้ที่ร่วมลงทุนด้วย แต่ถ้ามีคนติดต่อมาสามารถขายได้ราคาสูงก็จะพิจารณา ทั้งนี้ยืนยันว่าบริษัทยังคงเดินหน้าการลงทุนไม่ใช่เฉพาะเวียดนามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโครงการในที่อื่นๆ ด้วย
@ ออกหุ้นกู้ไม่เบียดเงินปันผล
"โครงการนี้มี3,000 เมกะวัตต์ เงินลงทุนเป็นหมื่นล้านบาท มติอาจจะเขียนออกมาสั้นๆ แต่เรื่องนี้ บอร์ดถก 2-3 ชม. บอร์ดชุดเก่าไม่ความรู้ด้านพลังงาน มีความเสี่ยงสูงด้วยราคาที่ซื้อ กับความเสี่ยงที่แบกรับ ถ้าตัดไปก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นที่บอร์ดจึงอนุมัติเป็นเฟสๆ และต้องรายงานความคืบหน้า ถ้ามีโอกาสขายได้ราคาเราก็ขาย เพราะเงินลงทุนสูง แต่ตอนนี้ให้ระวังการใส่เงินไม่เกิน 15 ล้านเหรียญหรือ 450 ล้านบาท"
ส่วนการออกหุ้นกู้จำนวน 2,000 ล้านบาท นั้น นายกำธร ชี้แจงว่า เป็นเพราะบริษัทต้องการที่จะขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพราะฉะนั้นก็ต้องใช้เงินจากหุ้นกู้ เพื่อที่จะไม่ไปเบียดเงินปันผล ซึ่งบริษัทอยากที่จะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ถือหุ้นมานาน หลังจากสามารถจ่ายได้แล้ว คาดว่าจะจ่ายได้ตามที่เคยบอกไว้จ่าย 30 บาทต่อปี
@ตั้งเป้าปีนี้ลดต้นทุน
นายกำธร กล่าวด้วยว่า วานนี้ (4 ก.พ.) ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ได้มีการแต่งตั้งให้นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางบุษกร กอดำรงค์ เข้ามาเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน
และได้มีการรับรองผลการดำเนินงาน ซึ่งกำไรลดลงกว่า 2 พันล้านบาท เนื่องจากความเร็วลมลดลง โดยสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัยนั้น คือการบริหารจัดการต้นทุน โดยปีนี้ตั้งเป้าจะลดต้นทุนให้ใช้ไม่เกิน 400 ล้านบาท จากเดิม 700-800 ล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 9
WEH โชว์ปี 2564 รายได้โตกว่า 10% ปันผล 3.3 พันล้านบ.
31/01/2022 12:33
วินด์ เอนเนอร์ยี่ โชว์ผลการดำเนินงานปี 2564 รายได้โตกว่า 10% และยอดปันผลปี 2564
นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ( WEH ) เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2564 ที่ผ่านมา ผลดำเนินงานมีรายได้ประมาณ 11,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 10% จากปริมาณลมและความพร้อมการผลิตไฟฟ้าที่มากขึ้น รวมถึงขายสิทธิในปริมาณก๊าซเรือนกระจก ( Carbon Credit ) และกำไรสุทธิประมาณ 5,300 ล้านบาท และปีที่ผ่านมา สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 30.50 บาท/หุ้น หรือกว่า 3,300 ล้านบาท ตอกย้ำความแข็งแกร่งของบริษัท และกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่อง
“บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีมากในปีที่ผ่านมา เรามีบุคลากรคุณภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนให้บริษัท และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เราเจอกับข่าวเสียหายค่อนข้างเยอะ ซึ่งผมยืนยันว่า กระแสลบดังกล่าวไม่เป็นความจริง บริษัทฯ ไม่ได้มีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ และไม่มีภาระหนี้ผูกพันในคดีที่อดีตกรรมการและอดีตผู้บริหารได้ทำไว้ ปีที่ผ่านมา สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 30.50 บาทต่อหุ้น หรือกว่า 3,300 ล้านบาท ตอกย้ำความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี ” ซีอีโอ กล่าว
สำหรับ WEH เป็น ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการเติบโตแข็งแกร่ง และ ผู้นำพลังงานลมในประเทศไทย มีส่วนแบ่งการตลาดโรงไฟฟ้าพลังงานลม 43% ของตลาดพลังงานลมในไทยทั้งหมด
ปัจจุบัน WEH สามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท และยังคงเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนรายใหญ่ของเอเชีย พร้อมเตรียมขยายธุรกิจไปนอกอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วนทางการเงินของบริษัทฯ
31/01/2022 12:33
วินด์ เอนเนอร์ยี่ โชว์ผลการดำเนินงานปี 2564 รายได้โตกว่า 10% และยอดปันผลปี 2564
นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ( WEH ) เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2564 ที่ผ่านมา ผลดำเนินงานมีรายได้ประมาณ 11,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 10% จากปริมาณลมและความพร้อมการผลิตไฟฟ้าที่มากขึ้น รวมถึงขายสิทธิในปริมาณก๊าซเรือนกระจก ( Carbon Credit ) และกำไรสุทธิประมาณ 5,300 ล้านบาท และปีที่ผ่านมา สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 30.50 บาท/หุ้น หรือกว่า 3,300 ล้านบาท ตอกย้ำความแข็งแกร่งของบริษัท และกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่อง
“บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีมากในปีที่ผ่านมา เรามีบุคลากรคุณภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนให้บริษัท และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เราเจอกับข่าวเสียหายค่อนข้างเยอะ ซึ่งผมยืนยันว่า กระแสลบดังกล่าวไม่เป็นความจริง บริษัทฯ ไม่ได้มีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ และไม่มีภาระหนี้ผูกพันในคดีที่อดีตกรรมการและอดีตผู้บริหารได้ทำไว้ ปีที่ผ่านมา สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 30.50 บาทต่อหุ้น หรือกว่า 3,300 ล้านบาท ตอกย้ำความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี ” ซีอีโอ กล่าว
สำหรับ WEH เป็น ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการเติบโตแข็งแกร่ง และ ผู้นำพลังงานลมในประเทศไทย มีส่วนแบ่งการตลาดโรงไฟฟ้าพลังงานลม 43% ของตลาดพลังงานลมในไทยทั้งหมด
ปัจจุบัน WEH สามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท และยังคงเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนรายใหญ่ของเอเชีย พร้อมเตรียมขยายธุรกิจไปนอกอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วนทางการเงินของบริษัทฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 10
ผู้ถือหุ้น WEH เสนอแลกเพิ่มทุน “พีพี” NUSA เฉียด 69%
NUSA แจงมีผู้ถือหุ้น WEH 28 รายเสนอขายหุ้นเพื่อแลกหุ้นเพิ่มทุน PP ของ NUSA กว่า 2,705 ล้านหุ้น ซึ่งทำให้ NUSA เข้าถือหุ้น WEH เฉียด 69%
บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA เปิดเผยว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของ NUSA ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH จำนวน 3,939,750,000 หุ้น ในราคาเสนอขาย 0.90 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 3,545,775,000 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้น
โดยผู้ขายหุ้นใน WEH จะนำหุ้นสามัญ จำนวนไม่เกิน 8,755,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งชำระค่าหุ้นแล้วเต็มจำนวน หรือคิดเป็น 8.04% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH มาชำระเป็นค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทแทนการชำระด้วยเงินสดนั้น ปรากฎว่ามีผู้ถือหุ้น WEH มาเสนอขายหุ้นให้แก่บริษัท 28 ราย จำนวน 6,012,076 หุ้น หรือคิดเป็น 68.67% โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น บริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 2,317,989 หุ้น, นายกำธร กิตติอิสรานนท์ 1,014,020 หุ้น และ บริษัท ดีดี มาร์ท โฮลดิ้ง 1,010,910 หุ้น เป็นต้น ซึ่งจะแลกเป็นจำนวนหุ้นเพิ่มทุน PP ของ NUSA รวมทั้งหมดจำนวน 2,705,434,200 หุ้น หรือคิดเป็น 25.17%
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีข้อตกลงเงื่อนไขบังคับก่อนกับผู้ขายหุ้นใน WEH แต่ละรายว่าจะต้องไม่มีบุคคลภายนอกคัดค้านการเข้าซื้อหุ้น WEH จากผู้ขายหุ้นภายใน 2 สัปดาห์ นับแต่วันที่บริษัทลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องที่ที่ตั้งอยู่ โดยบริษัทได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์ เพื่อให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียในการคัดค้านการซื้อขายหุ้น WEH ของบริษัทแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2565 และสิ้นสุดระยะเวลาคัดค้านในวันที่ 7 เมษายน 2565 (ช่วงระยะเวลาประกาศให้สิทธิคัดค้าน) พบว่าไม่มีบุคคลภายนอกมาคัดค้านการซื้อขายหุ้น WEH จากผู้ถือหุ้นรายใดในช่วงระยะเวลาประกาศให้สิทธิคัดค้านดังกล่าวแต่อย่างใด
NUSA แจงมีผู้ถือหุ้น WEH 28 รายเสนอขายหุ้นเพื่อแลกหุ้นเพิ่มทุน PP ของ NUSA กว่า 2,705 ล้านหุ้น ซึ่งทำให้ NUSA เข้าถือหุ้น WEH เฉียด 69%
บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA เปิดเผยว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของ NUSA ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH จำนวน 3,939,750,000 หุ้น ในราคาเสนอขาย 0.90 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 3,545,775,000 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้น
โดยผู้ขายหุ้นใน WEH จะนำหุ้นสามัญ จำนวนไม่เกิน 8,755,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งชำระค่าหุ้นแล้วเต็มจำนวน หรือคิดเป็น 8.04% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH มาชำระเป็นค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทแทนการชำระด้วยเงินสดนั้น ปรากฎว่ามีผู้ถือหุ้น WEH มาเสนอขายหุ้นให้แก่บริษัท 28 ราย จำนวน 6,012,076 หุ้น หรือคิดเป็น 68.67% โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น บริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 2,317,989 หุ้น, นายกำธร กิตติอิสรานนท์ 1,014,020 หุ้น และ บริษัท ดีดี มาร์ท โฮลดิ้ง 1,010,910 หุ้น เป็นต้น ซึ่งจะแลกเป็นจำนวนหุ้นเพิ่มทุน PP ของ NUSA รวมทั้งหมดจำนวน 2,705,434,200 หุ้น หรือคิดเป็น 25.17%
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีข้อตกลงเงื่อนไขบังคับก่อนกับผู้ขายหุ้นใน WEH แต่ละรายว่าจะต้องไม่มีบุคคลภายนอกคัดค้านการเข้าซื้อหุ้น WEH จากผู้ขายหุ้นภายใน 2 สัปดาห์ นับแต่วันที่บริษัทลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องที่ที่ตั้งอยู่ โดยบริษัทได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์ เพื่อให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียในการคัดค้านการซื้อขายหุ้น WEH ของบริษัทแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2565 และสิ้นสุดระยะเวลาคัดค้านในวันที่ 7 เมษายน 2565 (ช่วงระยะเวลาประกาศให้สิทธิคัดค้าน) พบว่าไม่มีบุคคลภายนอกมาคัดค้านการซื้อขายหุ้น WEH จากผู้ถือหุ้นรายใดในช่วงระยะเวลาประกาศให้สิทธิคัดค้านดังกล่าวแต่อย่างใด
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 11
NUSAออกเอ็นเอฟทีต้นไม้ ตั้งเป้าโกยรายได้5พันล้าน
NUSA จับมือพันธมิตรจีนตั้งบริษัทย่อย “NUSA-CS” ลุยธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร กัญชง-กัญชา เดินหน้าสู่ดิจิทัลโทเคน เตรียมเปิดจอง “ต้นไม้มหัศจรรย์” ในวันที่ 20 เมษายนนี้ พร้อมรับยูทิลิตี้ โทเคน เพื่อใช้แลกสิทธิประโยชน์ คาดหวังรายได้ปีแรกของ NUSA-CSR ในปีนี้ที่ 5,000 ล้านบาท เผยผู้ถือหุ้น WEH เสนอขายหุ้นให้ 6,012,076 หุ้นแลกหุ้นเพิ่มทุน PP
นางศิริญา เทพเจริญ กรรมการ บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมกับพันธมิตรจีนจัดตั้ง บริษัท NUSA-CSR จำกัด หรือ “NUSA-CSR” ทุนจดทะเบียน 2,000ล้านบาท โดยพันธมิตรชาวจีนร่วมถือหุ้นฝ่ายละ 40%และที่เหลืออีก 20% เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อรุกธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมถึงผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชง-กัญชา และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เเละมุ่งสู่นวัตกรรมการเงินในรูปแบบใหม่เปิดกว้างให้คนสามารถเป็นเจ้าของผ่าน Digital Token
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว ต้นไม้มหัศจรรย์ (มิราเคิล ทรี) ซึ่งบริษัทได้ลงทุนพื้นที่และปลูกเมล็ดพันธุ์ไปแล้ว พร้อมเครื่องจักรที่มีความสามารถในการสกัดสารที่มีประโยชน์ออกมาจากพืชสีเขียวเเละบริษัทได้ทำการวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์จากกัญชา-กัญชง และเพื่อให้ทุกคนสามารถร่วมเป็นเจ้าของต้นไม้
*เปิดจองต้นไม้รับโทเคน
โดยในวันที่ 20 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นวันกัญชาโลก บริษัทเตรียมเปิดให้จองในราคา 10,000 บาทต่อ 1 ต้น จองได้ไม่เกินคนละ 10 ต้น จำกัดเพียง 400,000 ต้น ซึ่งใน 10,000บาทโดยจะได้สิทธิประโยชน์กลับไปมูลค่ากว่า 75,000 บาท นอกจากจะได้เป็นเจ้าของต้นไม้แล้ว ยังจะได้รับ NMYZ TOKEN จำนวน 10,000 เหรียญ ซึ่งเป็นยูทิลิตี้ โทเคน สามารถนำไปแลกซื้อผลิตภัณฑ์จากมิราเคิลช้อปได้ 20,000 บาท (มูลค่า 1 โทเคน เท่ากับ 2 บาท) ยังได้สิทธิ์ถือ NFT Miracle Club มูลค่า 20,000 บาท นอกจากนี้ยังได้ร่วมเป็นสมาชิก Miracle Wealth โดยอัติโนมัติ
เเละผู้เป็นเจ้าของ NMYZ TOKEN จะสามารถใช้บริการโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์การแพทย์ ที่อยู่ภายใต้ณุศาศิริ แบบพิเศษกว่าใคร ทั้งราคาพิเศษและเงื่อนไขพิเศษ นอกจากนั้นเรายังออกแบบให้ Nusa token ดูแลไปถึงการมีแพทย์ Morhello ประจำบ้าน เพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของต้นไม้มหัศจรรย์ได้มีแพทย์ทางไกลคอยดูแลอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้สิทธิ์ถือ NFT Miracle Club มูลค่า 20,000 บาท
*โกยรายได้ 5 พันล้าน
ทั้งนี้ตั้งเป้ารายได้ NUSA-CSR ในปีนี้ที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงรายได้จากการปลูกกัญชง-กัญชา ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการปลูกแล้ว, รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงกัญชง-กัญชา รวมถึงชุดตรวจ ATK นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 2 จะเริ่มมีวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากกัญชง-กัญชา ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สกินแคร์ เป็นต้น รวมถึงยังมีรายได้จากแพลตฟอร์ม Morhello ที่จะเข้ามาเป็นช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท และรายได้จากการเข้าชมเมืองมหัศจรรย์ ในโครงการ เลเจนด์ สยาม พัทยา ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว และในวันที่ 1 เมษายนนี้ ได้เปิดอย่างเป็นทางการ
โดยบริษัทยังตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปี จะแยก บริษัท NUSA-CSR จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งเจ้าของต้นไม้มหัศจรรย์ ยังได้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มครั้งแรก (IPO) ด้วย
*เพิ่มทุน PP แลก WEH
ล่าสุดบริษัทได้เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในการเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของ NUSA ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ให้แก่ผู้ขายหุ้นในบริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) จำนวน 3,939,750,000 หุ้น ในราคาเสนอขาย 0.90 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 3,545,775,000 บาท
เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH โดยผู้ขายหุ้นใน WEH จะนำหุ้นสามัญของ WEH จำนวนไม่เกิน 8,755,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งชำระค่าหุ้นแล้วเต็มจำนวน หรือคิดเป็น 8.04% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH มาชำระเป็นค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทแทนการชำระด้วยเงินสดนั้น
ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้น WEH มาเสนอขายหุ้นให้แก่บริษัท 28 ราย จำนวน 6,012,076 หุ้น หรือคิดเป็น 68.67% โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น บริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 2,317,989 หุ้น ,นายกำธร กิตติอิสรานนท์ 1,014,020 หุ้น และ บริษัท ดีดี มาร์ท โฮลดิ้ง 1,010,910 เป็นต้น ซึ่งจะแลกเป็นจำนวนหุ้นเพิ่มทุน PP ของ NUSA รวมทั้งหมดจำนวน 2,705,434,200 หุ้น หรือคิดเป็น 25.17%
NUSA จับมือพันธมิตรจีนตั้งบริษัทย่อย “NUSA-CS” ลุยธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร กัญชง-กัญชา เดินหน้าสู่ดิจิทัลโทเคน เตรียมเปิดจอง “ต้นไม้มหัศจรรย์” ในวันที่ 20 เมษายนนี้ พร้อมรับยูทิลิตี้ โทเคน เพื่อใช้แลกสิทธิประโยชน์ คาดหวังรายได้ปีแรกของ NUSA-CSR ในปีนี้ที่ 5,000 ล้านบาท เผยผู้ถือหุ้น WEH เสนอขายหุ้นให้ 6,012,076 หุ้นแลกหุ้นเพิ่มทุน PP
นางศิริญา เทพเจริญ กรรมการ บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมกับพันธมิตรจีนจัดตั้ง บริษัท NUSA-CSR จำกัด หรือ “NUSA-CSR” ทุนจดทะเบียน 2,000ล้านบาท โดยพันธมิตรชาวจีนร่วมถือหุ้นฝ่ายละ 40%และที่เหลืออีก 20% เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อรุกธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมถึงผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชง-กัญชา และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เเละมุ่งสู่นวัตกรรมการเงินในรูปแบบใหม่เปิดกว้างให้คนสามารถเป็นเจ้าของผ่าน Digital Token
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว ต้นไม้มหัศจรรย์ (มิราเคิล ทรี) ซึ่งบริษัทได้ลงทุนพื้นที่และปลูกเมล็ดพันธุ์ไปแล้ว พร้อมเครื่องจักรที่มีความสามารถในการสกัดสารที่มีประโยชน์ออกมาจากพืชสีเขียวเเละบริษัทได้ทำการวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์จากกัญชา-กัญชง และเพื่อให้ทุกคนสามารถร่วมเป็นเจ้าของต้นไม้
*เปิดจองต้นไม้รับโทเคน
โดยในวันที่ 20 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นวันกัญชาโลก บริษัทเตรียมเปิดให้จองในราคา 10,000 บาทต่อ 1 ต้น จองได้ไม่เกินคนละ 10 ต้น จำกัดเพียง 400,000 ต้น ซึ่งใน 10,000บาทโดยจะได้สิทธิประโยชน์กลับไปมูลค่ากว่า 75,000 บาท นอกจากจะได้เป็นเจ้าของต้นไม้แล้ว ยังจะได้รับ NMYZ TOKEN จำนวน 10,000 เหรียญ ซึ่งเป็นยูทิลิตี้ โทเคน สามารถนำไปแลกซื้อผลิตภัณฑ์จากมิราเคิลช้อปได้ 20,000 บาท (มูลค่า 1 โทเคน เท่ากับ 2 บาท) ยังได้สิทธิ์ถือ NFT Miracle Club มูลค่า 20,000 บาท นอกจากนี้ยังได้ร่วมเป็นสมาชิก Miracle Wealth โดยอัติโนมัติ
เเละผู้เป็นเจ้าของ NMYZ TOKEN จะสามารถใช้บริการโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์การแพทย์ ที่อยู่ภายใต้ณุศาศิริ แบบพิเศษกว่าใคร ทั้งราคาพิเศษและเงื่อนไขพิเศษ นอกจากนั้นเรายังออกแบบให้ Nusa token ดูแลไปถึงการมีแพทย์ Morhello ประจำบ้าน เพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของต้นไม้มหัศจรรย์ได้มีแพทย์ทางไกลคอยดูแลอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้สิทธิ์ถือ NFT Miracle Club มูลค่า 20,000 บาท
*โกยรายได้ 5 พันล้าน
ทั้งนี้ตั้งเป้ารายได้ NUSA-CSR ในปีนี้ที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงรายได้จากการปลูกกัญชง-กัญชา ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการปลูกแล้ว, รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงกัญชง-กัญชา รวมถึงชุดตรวจ ATK นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 2 จะเริ่มมีวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากกัญชง-กัญชา ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สกินแคร์ เป็นต้น รวมถึงยังมีรายได้จากแพลตฟอร์ม Morhello ที่จะเข้ามาเป็นช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท และรายได้จากการเข้าชมเมืองมหัศจรรย์ ในโครงการ เลเจนด์ สยาม พัทยา ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว และในวันที่ 1 เมษายนนี้ ได้เปิดอย่างเป็นทางการ
โดยบริษัทยังตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปี จะแยก บริษัท NUSA-CSR จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งเจ้าของต้นไม้มหัศจรรย์ ยังได้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มครั้งแรก (IPO) ด้วย
*เพิ่มทุน PP แลก WEH
ล่าสุดบริษัทได้เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในการเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติเสนอขายและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของ NUSA ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ให้แก่ผู้ขายหุ้นในบริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) จำนวน 3,939,750,000 หุ้น ในราคาเสนอขาย 0.90 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 3,545,775,000 บาท
เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH โดยผู้ขายหุ้นใน WEH จะนำหุ้นสามัญของ WEH จำนวนไม่เกิน 8,755,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งชำระค่าหุ้นแล้วเต็มจำนวน หรือคิดเป็น 8.04% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH มาชำระเป็นค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทแทนการชำระด้วยเงินสดนั้น
ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้น WEH มาเสนอขายหุ้นให้แก่บริษัท 28 ราย จำนวน 6,012,076 หุ้น หรือคิดเป็น 68.67% โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น บริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 2,317,989 หุ้น ,นายกำธร กิตติอิสรานนท์ 1,014,020 หุ้น และ บริษัท ดีดี มาร์ท โฮลดิ้ง 1,010,910 เป็นต้น ซึ่งจะแลกเป็นจำนวนหุ้นเพิ่มทุน PP ของ NUSA รวมทั้งหมดจำนวน 2,705,434,200 หุ้น หรือคิดเป็น 25.17%
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 12
“วินด์ เอนเนอร์ยี่” เตรียมจ่ายปันผลผู้ถือหุ้น 2,700 ล้านบาท หลังศาลอุทธรณ์ยกคำร้องฯ
May 16, 2022
ผู้ถือหุ้นเฮ! บ.วินด์ฯ เตรียมจ่ายปันผลกว่า 2,700 ล้าน หลังศาลฯ พิพากษายกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เหตุนายเกษม ณรงค์เดชไม่ใช่เจ้าของหุ้น
มีรายงานข่าวจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้ กรณีที่ นายเกษม ณรงค์เดช ได้ร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ให้บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด งดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบางส่วนจำนวน 64 ล้านหุ้นจากหุ้นทั้งหมด 108 ล้านหุ้น โดยอ้างว่าหุ้นจำนวนดังกล่าวเป็นของนายเกษม
ซึ่งในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ได้มีการอนุมัติการจ่ายเงินปันผลไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง รวม 41.9 บาทต่อหุ้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำพิพากษายกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวด้วยเหตุว่าคำร้องของนายเกษมไม่มีมูลเพียงพอ เพราะนายเกษมไม่ใช่เจ้าของหุ้นวินด์ จากคำพิพากษาดังกล่าวมีผลให้บริษัทวินด์ฯ ต้องดำเนินการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นกว่า 2,700 ล้านบาท โดยผู้ถือหุ้นที่จะได้รับเงินปันผลดังกล่าว ได้แก่ บ.โกลเด้น มิวสิค ของแม่ยาย นายณพ ณรงค์เดช และกลุ่มของนายประเดช กิตติอิสริยานนท์
โดยแหล่งข่าวจากบ.วินด์ฯ รายงานว่า บริษัทกำลังเตรียมการจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าว คาดว่าจะจ่ายเงินปันผลได้ภายในสัปดาห์หน้านี้
โดยเมื่อปี 2557 บ.วินด์ฯ มีโครงการที่แล้วเสร็จเพียง 2 โครงการ และหยุดชะงักเมื่ออดีตผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของวินด์ฯ ต้องคดีอาญา จากการแอบอ้างเบื้องสูงข่มขู่บังคับให้ผู้เสียหายลดหนี้ และได้ทำการหลบหนีคดีไปอยู่ฝรั่งเศส จนมาอยู่ในมือของ นายณพ ณรงค์เดช ที่ทำโครงการพลังงานลมครบทั้ง 8 โครงการ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 717 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2562 และในปีถัดมาก็ถูกโหวตให้พ้นจากกรรมการของบริษัท โดยกลุ่มของ นายประเดช กิตติอิสริยานนท์ ได้เข้าไปรับช่วงบริหารต่อจนถึงปัจจุบัน
บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างรายได้นับหมื่นล้านต่อปี
May 16, 2022
ผู้ถือหุ้นเฮ! บ.วินด์ฯ เตรียมจ่ายปันผลกว่า 2,700 ล้าน หลังศาลฯ พิพากษายกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เหตุนายเกษม ณรงค์เดชไม่ใช่เจ้าของหุ้น
มีรายงานข่าวจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้ กรณีที่ นายเกษม ณรงค์เดช ได้ร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ให้บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด งดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบางส่วนจำนวน 64 ล้านหุ้นจากหุ้นทั้งหมด 108 ล้านหุ้น โดยอ้างว่าหุ้นจำนวนดังกล่าวเป็นของนายเกษม
ซึ่งในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ได้มีการอนุมัติการจ่ายเงินปันผลไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง รวม 41.9 บาทต่อหุ้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำพิพากษายกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวด้วยเหตุว่าคำร้องของนายเกษมไม่มีมูลเพียงพอ เพราะนายเกษมไม่ใช่เจ้าของหุ้นวินด์ จากคำพิพากษาดังกล่าวมีผลให้บริษัทวินด์ฯ ต้องดำเนินการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นกว่า 2,700 ล้านบาท โดยผู้ถือหุ้นที่จะได้รับเงินปันผลดังกล่าว ได้แก่ บ.โกลเด้น มิวสิค ของแม่ยาย นายณพ ณรงค์เดช และกลุ่มของนายประเดช กิตติอิสริยานนท์
โดยแหล่งข่าวจากบ.วินด์ฯ รายงานว่า บริษัทกำลังเตรียมการจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าว คาดว่าจะจ่ายเงินปันผลได้ภายในสัปดาห์หน้านี้
โดยเมื่อปี 2557 บ.วินด์ฯ มีโครงการที่แล้วเสร็จเพียง 2 โครงการ และหยุดชะงักเมื่ออดีตผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของวินด์ฯ ต้องคดีอาญา จากการแอบอ้างเบื้องสูงข่มขู่บังคับให้ผู้เสียหายลดหนี้ และได้ทำการหลบหนีคดีไปอยู่ฝรั่งเศส จนมาอยู่ในมือของ นายณพ ณรงค์เดช ที่ทำโครงการพลังงานลมครบทั้ง 8 โครงการ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 717 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2562 และในปีถัดมาก็ถูกโหวตให้พ้นจากกรรมการของบริษัท โดยกลุ่มของ นายประเดช กิตติอิสริยานนท์ ได้เข้าไปรับช่วงบริหารต่อจนถึงปัจจุบัน
บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างรายได้นับหมื่นล้านต่อปี
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 13
HILITE: NUSA บวก 4% หลังกวาดหุ้น WEH เข้าพอร์ต 7.12% คาดรับปันผลราว 200 ลบ.ก.ค.นี้
ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday May 24, 2022 11:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ราคาหุ้น NUSA ดีดตัวขึ้น 4.00% หรือ เพิ่มขึ้น 0.06 บาท มาที่ 1.56 บาท มูลค่าซื้อขาย 136.48 ล้านบาท เมื่อเวลา 10.46 น.จากราคาเปิด 1.51 บาท ราคาสูงสุด 1.57 บาท และราคาต่ำสุด 1.50 บาท
นางศิริญา เทพเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าจะรับเงินปันผลจากการลงทุนหุ้นบริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ราว 200 ล้านบาทในเดือน ก.ค.65 นี้
ล่าสุด NUSA ระบุว่าได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ขายหุ้น WEH) จำนวน 3 ครั้ง โดยออกหุ้นและเสนอขายหุ้น จำนวนรวม 3,486,732,300 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH จำนวน 7,748,294 หุ้น คิดเป็น 7.12% ของของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH
นางศิริญา กล่าวว่า ขณะนี้แม้ว่า NUSA ยังไม่มีแผนซื้อหุ้น WEH เพิ่มเติม แต่หากมีผู้ถือหุ้น WEH รายใดที่สนใจจะเสนอขายหุ้น WEH เข้ามาบริษัทก็ยินดีจะพิจารณาเข้าซื้อหุ้น WEH เพิ่มอีก
ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday May 24, 2022 11:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ราคาหุ้น NUSA ดีดตัวขึ้น 4.00% หรือ เพิ่มขึ้น 0.06 บาท มาที่ 1.56 บาท มูลค่าซื้อขาย 136.48 ล้านบาท เมื่อเวลา 10.46 น.จากราคาเปิด 1.51 บาท ราคาสูงสุด 1.57 บาท และราคาต่ำสุด 1.50 บาท
นางศิริญา เทพเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าจะรับเงินปันผลจากการลงทุนหุ้นบริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ราว 200 ล้านบาทในเดือน ก.ค.65 นี้
ล่าสุด NUSA ระบุว่าได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ขายหุ้น WEH) จำนวน 3 ครั้ง โดยออกหุ้นและเสนอขายหุ้น จำนวนรวม 3,486,732,300 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH จำนวน 7,748,294 หุ้น คิดเป็น 7.12% ของของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH
นางศิริญา กล่าวว่า ขณะนี้แม้ว่า NUSA ยังไม่มีแผนซื้อหุ้น WEH เพิ่มเติม แต่หากมีผู้ถือหุ้น WEH รายใดที่สนใจจะเสนอขายหุ้น WEH เข้ามาบริษัทก็ยินดีจะพิจารณาเข้าซื้อหุ้น WEH เพิ่มอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: WEH
โพสต์ที่ 14
NUSA กวาดหุ้น วินด์ฯ เข้าพอร์ตแล้ว 7.12% หลังออกหุ้นเพิ่นทุนแลกซื้อเข้ามา
ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday May 24, 2022 10:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยว่า บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ขายหุ้น บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) จำนวน 3 ครั้ง โดยออกหุ้นและเสนอขายหุ้น จำนวนรวม 3,486,732,300 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH จำนวน 7,748,294 หุ้น คิดเป็น 7.12% ของของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH
ครั้งที่ 1 วันที่ 12 เมษายน 2565 บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น WEH 28 ราย จำนวน 2,705,434,200 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จำนวน 6,012,076 หุ้น ซึ่งบริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯให้รับทราบแล้ว
ครั้งที่ 2 วันที่ 19 เมษายน 2565 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น WEH 6 ราย จำนวน 753,623,100 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จำนวน 1,674,718 หุ้น
ครั้งที่ 3 วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น WEH 8 ราย จำนวน 27,675,000 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จ นวน 61,500 หุ้น
ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday May 24, 2022 10:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยว่า บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ขายหุ้น บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) จำนวน 3 ครั้ง โดยออกหุ้นและเสนอขายหุ้น จำนวนรวม 3,486,732,300 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH จำนวน 7,748,294 หุ้น คิดเป็น 7.12% ของของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ WEH
ครั้งที่ 1 วันที่ 12 เมษายน 2565 บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น WEH 28 ราย จำนวน 2,705,434,200 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จำนวน 6,012,076 หุ้น ซึ่งบริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯให้รับทราบแล้ว
ครั้งที่ 2 วันที่ 19 เมษายน 2565 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น WEH 6 ราย จำนวน 753,623,100 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จำนวน 1,674,718 หุ้น
ครั้งที่ 3 วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น WEH 8 ราย จำนวน 27,675,000 หุ้น เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จ นวน 61,500 หุ้น