POMPUI

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 31

โพสต์

น้ำท่วมหนุนปลากระป๋องรุ่ง ปุ้มปุ้ยงัดสินค้าใหม่ดันยอด
วันที่ 7 ตุลาคม 2564 - 17:16 น.


โควิด-น้ำท่วม หนุนตลาดปลากระป๋อง 9 พันล้านพุ่ง “ปุ้มปุ้ย” ไม่หวั่นปัญหาวัตถุดิบ เร่งปรับตัวรับโอกาส เดินหน้าลอนช์สินค้ารสชาติใหม่ ปูพรมทุกช่องทางขายเพิ่มน้ำหนักออนไลน์ มั่นใจตลาด CLMV แนวโน้มสดใส สิ้นปีตั้งเป้าสร้างรายได้โต 10%

นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลงบ้าง แต่การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นก็ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อค่อนข้างมาก ขณะที่มาตรการล็อกดาวน์ และการทำงานที่บ้าน หรือ work from home เป็นตัวแปรให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งหันมาประกอบอาหารรับประทานเองในครอบครัว บวกกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค รวมไปถึงอาหารกลุ่มกระป๋องและอาหารพร้อมทานมากขึ้น ทั้งซื้อทานเองและซื้อไปบริจาค จึงทำให้อาหารกลุ่มดังกล่าวมียอดขายเพิ่มขึ้น

จากปัจจัยดังกล่าว โดยส่วนตัวมองว่าจะส่งผลให้ภาพรวมตลาดปลากระป๋องประเภทซอสที่มีมูลค่ากว่า 8,000-9,000 ล้านบาท ในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้น เมื่อเทียบกับ 1-2 ปีที่ผ่านมา ที่ตลาดรวมมีภาวะชะลอตัวและการแข่งขันสูงอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทั้งในแง่ของการจัดโปรโมชั่นลดราคา ทั้งผู้ประกอบการเดิม และผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ที่หันมาเน้นสร้างแบรนด์สินค้าราคาถูก ขณะที่บริษัทเน้นให้ความสำคัญในการสร้างแบรนด์ ชูเรื่องจุดขาย รสชาติ คุณภาพที่มาตรฐาน ในราคาที่เข้าถึงง่ายเน้นสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทำให้ภาพรวมบริษัทในครึ่งปีแรกมียอดขายเติบโตขึ้น 8-10%


สำหรับกลยุทธ์และทิศทางการทำตลาดจากนี้ต่อไป บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มปลากระป๋องเท่านั้น ล่าสุดเตรียมลอนช์หอยลายรสชาติใหม่ รสคั่วกลิ้ง ซึ่งอยู่ในหมวดสินค้ากระป๋อง เริ่มทยอยวางขายในช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ควบคู่ไปกับการทำตลาดด้วยการจัดโปรโมชั่นลดราคาในแต่ละช่องทางอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ประกอบการปลากระป๋องต้องเจอปัญหาวัตถุดิบ คือ ปลาแมกเคอเรลขาดตลาดมตั้งแต่ต้นปี แต่ขณะนี้เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะเป็นฤดูที่ชาวประมงเริ่มจับปลาได้และทยอยนำเข้ามา และคาดว่าสถานการณ์จะกลับมาอยู่ในภาวะปกติปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งบริษัทจะต้องเตรียมวัตถุดิบให้เต็มที่ เพราะตอนนี้สินค้าในห้างกับร้านค้าก็ยังขาดส่งอยู่บ้าง ขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวหันมาส่งผลิตภัณฑ์ประเภทซาร์ดีนทดแทน

นอกจากนี้ บริษัทยังเน้นการสร้างรายได้จากการได้รับสัมปทานการขายอาหาร-เครื่องดื่มบนรถไฟจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (มีนาคม 2563-มีนาคม 2566) ด้วยบริการอาหารหลากหลายรูปแบบ อาทิ ข้าวสวยหอมมะลิ กับแกงมัสมั่นไก่ แกงฉู่ฉี่ปลา หอยลายผัดกระเทียม เป็นต้น ควบคู่กับปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชุดอาหารให้มีความสะดวกและทันสมัยขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน บริษัทอยู่ระหว่างการเพิ่มช่องทางจำหน่ายใหม่ ๆ ด้วยการขยายแพลตฟอร์มท้้งในส่วนของมาร์เก็ตเพลซ และโซเชียลคอมเมิร์ซ เพื่อเพิ่มรายได้จากช่องทางออนไลน์ จากปัจจุบันที่บริษัทมีการจำหน่ายสินค้าผ่านลาซาด้า ช้อปปี้ เจดี เซ็นทรัล โดยสามารถยอดขายได้ประมาณ 5% จากยอดขายรวม และสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการทำกิจกรรมการทำตลาด เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านการจัดบูทชวนชิม โดยมีพนักงานเชียร์ขายในร้านค้าโดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด ควบคู่กับการใช้สื่อประชาสัมพันธ์สื่อสารแบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์


“ปัจจุบันสัดส่วนยอดขายรวมแบ่งเป็น ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 40% ตามด้วยร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม 40% ช่องทางพิเศษ ที่ไม่ได้ขายผ่านช่องทางร้านค้า เช่น การออกบูทขายผลิตภัณฑ์ตามงานต่าง ๆ รวมถึงการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า 11% และช่องทางอีคอมเมิร์ซ 9%”

นายไกรฤทธิ์ย้ำว่า นอกจากตลาดในประเทศแล้ว บริษัทยังเน้นการทำตลาดในประเทศซีแอลเอ็มวีมากขึ้น ซึ่งมาตรการล็อกดาวน์ของหลาย ๆ ประเทศ กลุ่มปลากระป๋องและอาหารสำเร็จรูป กลายเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันและได้รับการตอบรับมากขึ้น โดยในส่วนของกัมพูชา ที่ผ่านมาได้เร่งกระจายสินค้าให้ครอบคลุมช่องทางการขายควบคู่กับการจัดกรรมส่งเสริมการขายอยู่เป็นระยะ ๆ ทำให้ร้านค้าต่าง ๆ เริ่มมีความเชื่อมั่นในแบรนด์ และเริ่มสต๊อกสินค้ากลุ่มปลาในซอสมะเขือเทศเพิ่มขึ้น

ขณะที่ลาวยอดขายจากกลุ่มสินค้าปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศและหอยลายเติบโตค่อนข้างดี ร้านค้าต่าง ๆ มีการสั่งออร์เดอร์เพิ่มขึ้น ส่วนในเมียนมา ที่ตลาดมีการแข่งขันสูง ทั้งจากผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศและสินค้าที่ส่งออกไปจากไทย บริษัทก็ได้มีการต้องหันมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องมากขึ้น


“ปีนี้ในภาพรวม เราตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายไว้ 10% จากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดประเทศในช่วงปลายปี จะช่วยให้เศรษฐกิจ การจับจ่ายค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น” นายไกรฤทธิ์กล่าว
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 32

โพสต์

‘ปุ้มปุ้ย’ คาดยอดขายปี 64 โตทะลุเป้าสวนกระแสโควิด อานิสงส์คน Work from Home หวังปีหน้าเติบโต 10%
โดย THE STANDARD WEALTH
18.12.2021





ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย ประเมินยอดขายปี 2564 โตเกินเป้า รับอานิสงส์โควิด คน Work from Home ส่วนปี 2565 คาดยอดขายโต 10% เร่งปั๊มยอดขายจากปลา-หอยลายปรุงรส เนื่องจากเป็นสินค้าชูโรงครองตลาดอันดับ 1 ตลอดกาล ผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดและยี่ปั๊วที่เข้าถึงฐานลูกค้าโดยตรง พร้อมเพิ่มแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลังทดลองตลาดเติบโตก้าวกระโดด

ปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ ‘ปุ้มปุ้ย’ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-ในปีนี้ ยังมีการระบาดต่อเนื่อง ประกอบกับมีสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายนที่ผ่านมา และมาตรการส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายในปี 2564 เติบโตเกินกว่าเป้าหมายที่ทางบริษัทได้กำหนดไว้

สำหรับสินค้าภายใต้แบรนด์ของปุ้มปุ้ยที่ยังคงเป็นที่นิยม และสร้างยอดขายของบริษัทให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มปลากระป๋องปรุงรส ที่มีสัดส่วนยอดขายถึง 41% และหอยลายกระป๋องปรุงรส 24% อย่างสินค้าปลาแมคเคอเรลทอดราดพริก มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 ปี

นอกเหนือจากสินค้าที่มีอยู่ในกลุ่มกระป๋องที่ผู้บริโภครู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดีนั้น ปวิตากล่าวต่อว่า ทางบริษัทได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มใหม่ๆ เพิ่มเติม เป้าหมายเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภครุ่นใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มสินค้าสแนกหอยลายอบกรอบ ที่ทำมาจากเนื้อหอยลายแท้ 100% กลุ่มสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน ที่ฉีกซองแล้วรับประทานได้เลย สะดวก และง่ายในการจัดเก็บ โดยไม่ต้องแช่เย็น เพียงวางไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติ หรือกลุ่มสินค้าน้ำแกงพร้อมปรุง เป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าเป็นอย่างมาก

“ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ทำให้ลูกค้ามีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นการปรุงอาหารด้วยตนเองที่บ้าน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อเพิ่มความสุขได้ง่ายๆ กับครอบครัวหรือคนที่เรารัก” ปวิตากล่าว

ทั้งนี้ สัดส่วนยอดขายของปุ้มปุ้ยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ 80% และต่างประเทศ 20%

สำหรับทิศทางในการทำธุรกิจในปี 2565 ปวิตากล่าวด้วยว่า บริษัทคาดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จากการได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงนั้น ทำให้บริษัทมีความมั่นใจว่ายอดขายจะเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 10% โดยบริษัทมุ่งทำกลยุทธ์ทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งบริษัทมีช่องทางอีคอมเมิร์ซในการจัดจำหน่ายสินค้า เนื่องจากช่องทางนี้ หลังได้ทดลองเปิดตลาดไปแล้ว ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีการเติบโตมากกว่า 60% และสื่อออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube, LINE และ TikTok เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคโดยตรง

อีกทั้งการเพิ่มรูปแบบรายการส่งเสริมการขายที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้า รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดทุกปี ตามสโลแกนที่ว่า ‘ปุ้มปุ้ย อร่อยที่รอยยิ้ม’

ในขณะเดียวกัน บริษัทได้ทำการปรับทิศทางขององค์กรให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลมากขึ้น นำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น ระบบ ERP เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

อีกทั้งบริษัทยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน เพื่อที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่ผู้บริโภคต่อไป เพราะรอยยิ้มในมื้ออาหารของทุกคน คือผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับปุ้มปุ้ย
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 33

โพสต์

‘ปุ้มปุ้ย’ ตรึงราคาสู้-หันเจาะช่องว่าง CLMV
วันที่ 17 มกราคม 2565 - 17:03 น.

ตลาดปลากระป๋อง 9 พันล้าน ช้ำหนัก ผู้ประกอบการกุมขมับ วัตถุดิบขาดแคลน แบกรับต้นทุนอ่วม “ปุ้มปุ้ย” เร่งปรับตัวเพิ่มดีกรีปลุกตลาด เดินหน้าเพิ่มไลน์อัพสินค้า ปลาปรุงรส-หอยปรุงรส-อาหารพร้อมทานปิ๊งไอเดียลอนช์ชุดเสริมบุญ 99 บาท ลุยขายออนไลน์ ด้านต่างประเทศ หันเพิ่มช่องทางขายรับช่องว่างตลาด CLMV ตั้งเป้าปี 2565ยอดขายโต 10%

นางปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า

สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นับเป็นความท้าทายของทุก ๆ อุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมปลากระป๋อง มูลค่าราว ๆ 8,000-9,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตชะลอตัว

แม้ช่วงระหว่างปี 2563-2564 ธุรกิจปลากระป๋องและอาหารกระป๋องได้รับอานิสงส์จากวิกฤตโควิด ทำให้สินค้าปุ้มปุ้ยมียอดขายโตขึ้น 10% เนื่องจากผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อกักตุนเอาไว้

แต่เมื่อช่วงปลายปี 2564 อัตราการจับจ่ายเริ่มชะลอตัวลง หลัก ๆ มาจากผลพวงสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่าย

ขณะเดียวกัน ตลาดปลากระป๋องยังเจอปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทั้งปลาแมคเคอเรลและปลาซาร์ดีน ที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทเองที่ต้องหันมาให้ความสำคัญในการวางแผนและบริหารจัดการวัตถุดิบให้เพียงพอ

เพื่อไม่ให้สินค้าขาด โดยในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาด การขนส่งมีปัญหา เนื่องจากมีปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ทำให้วางแผนจัดการวัตถุดิบได้ยากและจัดส่งสินค้าได้ช้าลง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทยังไม่มีการปรับราคาสินค้า พยายามตรึงราคากลุ่มปลากระป๋องไว้ให้ได้มากสุด

“บริษัทมีสินค้าหลายรายการ บางกลุ่มมีมาร์จิ้นสูง ก็จะนำมาช่วยบาลานซ์รายได้ ที่สำคัญ นอกจากบริษัทจะต้องติดตามสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอย่างใกล้ชิดแล้ว อีกด้านหนึ่งก็จะมีการควบคุมและป้องกันโรงงาน (อ.เมืองตรัง จ.ตรัง)

ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือมีการแพร่ระบาด เพื่อไม่ให้กระทบกระบวนการผลิตได้”

นางปวิตากล่าวต่อถึงกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานในปี 2565 ว่า โจทย์สำคัญจะเน้นไปที่การให้น้ำหนักในเรื่องของการสร้าง brand awareness ด้วยการโฆษณาเพื่อโปรโมตแบรนด์สินค้า

สร้างการรับรู้ให้ลูกค้ารู้จักปุ้มปุ้ยมากขึ้นเนื่องจากที่ผ่านมาปุ้มปุ้ยยังไม่เล่นตลาดเชิงรุกมากนัก ขณะเดียวกันก็จะเน้นการจัดโปรโมชั่นร่วมกับช่องทางขายต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งโมเดิร์นเทรด และเทรดิชั่นนอลเทรด

นอกจากนี้ยังจะเน้นการเพิ่มน้ำหนักช่องทางอีคอมเมิร์ซ ทั้งแพลตฟอร์มช้อปปี้, ลาซาด้า รวมถึงช่องทางไลน์แอดของบริษัทมากขึ้นด้วย

ขณะเดียวกัน บริษัทยังให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและรสชาติใหม่ ๆ ที่มาจากการวิจัยความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มทางเลือกและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์

โดยไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มปลากระป๋องเท่านั้น แต่จะมีทั้งกลุ่มปลาปรุงรส หอยปรุงรส อาหารพร้อมทาน และเครื่องแกงสำเร็จรูป รวมทั้งราคาที่เหมาะสม ควบคู่กับการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ภายนอกให้ทันสมัย


จากปัจจุบันบริษัทมีสินค้ามากกว่า 50 รายการ อาทิ กลุ่มปลาในซอสมะเขือเทศ กลุ่มปลาปรุงรส กลุ่มหอยปรุงรส กลุ่มอาหารพร้อมทานในซองปิดผนึก เช่น แกงส้มปลามาฮิ มาฮิ ใส่ยอดมะพร้าว คั่วกลิ้งไก่ ไข่พะโล้ และกลุ่มสแน็กหอยลายอบกรอบ เป็นต้น

ล่าสุดได้ลอนช์แคมเปญใหม่ ชุดเสริมบุญ ที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ปุ้มปุ้ย ทั้งปลากระป๋อง ข้าวสวยพร้อมรับประทาน และน้ำดื่ม ราคาเริ่มต้น 99 บาท

ด้านกลยุทธ์การทำตลาดในต่างประเทศ บริษัทมีการส่งออกสินค้าเข้าไปทำตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากสุดยังคงเป็นกลุ่มปลาในซอสเข้มข้น ราดพริก และปลาทอด เป็นต้น

จากนี้ต้องขยายช่องทางจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น เพราะปัจจุบันสินค้ายังไม่ครอบคลุม ตลาดยังมีช่องทางอยู่

นอกจากนี้ บริษัทต้องให้ความสำคัญกับการทำงานภายในองค์กร พนักงานต้องปรับตัวให้สอดรับกับยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น กระบวนการทำงานทุกอย่างต้องมีความคล่องตัว


พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสำหรับปีนี้ บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายไว้ที่ 10% และปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้ แบ่งเป็น ตลาดในประเทศ 70% ต่างประเทศ 30%
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 34

โพสต์

เปิดแนวรบ ‘ปุ้มปุ้ย’ เดินหน้าขยายฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่

17 ม.ค. 2565 เวลา 18:25 น

เปิดยุทธศาสตร์ “ปุ้มปุ้ย” เดินหน้าทำตลาดเชิงรุก ดึงโปรดักต์ฮีโร่รีเทิร์นสร้างแบรนด์ พร้อมขยายฐานลูกค้ากลุ่มเจน Y-Z หวังดันยอดขายเติบโตต่อเนื่อง เผยพร้อมดึงมืออาชีพ-คนรุ่นใหม่เสริมทัพสร้างองค์กรเติบโตยั่งยืน

นางปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจาหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ ‘ปุ้มปุ้ย’ เปิดเผยว่า ปีนี้ปุ้มปุ้ย จะกลับมาทำตลาดเชิงรุกโดยนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นพระเอก ไม่ว่าจะเป็นปลาปรุงรส หอยลายปรุงรส ปลาราดพริก ฯลฯ กลับมาสร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เจนเนอเรชั่นวายและเจนซี และคนทำงานที่มีไลฟ์สไตล์ต้องการความสะดวก รวดเร็ว แต่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย



“เพราะต้องการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังเจนวายและเจนซี การทำตลาดจึงต้องเน้นเชิงรุกเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเกมเมอร์ หรือกลุ่มคนทำงานที่ต้องการความสะดวกสบาย ก็มีอาหารกระป๋องพร้อมทาน ที่ติดบ้านสามารถหยิบทานได้ทันที”



ปัจจุบันปุ้มปุ้ยมีสินค้ากว่า 50 รายการทั้งในหมวดปลาปรุงรส หอยลายปรุงรส อาหารพร้อมทาน ฯลฯ และในอนาคตมีแผนพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง และล่าสุดมีแผนจัดทำชุดตักบาตร “เสริมบุญ” ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวกระป๋อง อาหารพร้อมทาน น้ำดื่ม ฯลฯ เพื่อรองรับผู้ที่ต้องการทำบุญแต่จัดเตรียมอาหารไม่ทัน





โดยจะเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์นี้ พร้อมวางจำหน่ายในราคา 99 บาท ผ่านช่องทางโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ และหากได้รับการตอบรับจะขยายช่องทางการจำหน่ายไปยังโมเดิร์นเทรด ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปร่วมทำบุญให้กับองค์กรต่างๆ ด้วย


“ความโชคดีของปุ้มปุ้ยคือ เป็นแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยมายาวนานกว่า 40 ปี ขณะที่โปรดักต์ที่เป็นพระเอก ไม่ว่าจะเป็น ปลากระป๋องปรุงรส ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 41% และหอยลายกระป๋องปรุงรสมีส่วนแบ่งตลาด 24% ถือเป็นผู้นำตลาดและมีคู่แข่งน้อยราย จึงเป็นโอกาสที่บริษัทจะนำกลับมาทำอีกครั้ง และเชื่อมั่นว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากรสชาติที่อร่อยให้ให้คุณค่าทางโภชนการสูง”



ด้านการลงทุนในปีนี้บริษัทเน้นการลงทุนในทุกภาคส่วนทั้งด้านโรงงานผลิต ที่เตรียมใช้เงินลงทุนราว 20-30 ล้านบาท ในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งการลดมลพิษต่างๆ การบำบัดน้ำเสีย การประหยัดพลังงาน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โรงงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนแบบครบทุกมิติ นอกจากนี้ยังเพิ่มงบการตลาดมากกว่าทุกปี เพื่อกลับมาทำตลาดเชิงรุกทั้งการจัดโปรโมชั่น ผ่านทางโมเดิร์นเทรดและเทรดดิชั่นนอลเทรดตามแผนงานที่วางไว้




“ความท้าทายของปุ้มปุ้ยคือ การเข้ามาของดิจิทัล (Digital Disruption) ที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ทำให้บริษัทต้องปรับแผนตั้งรับ การบริหารจัดการ เพื่อรองรับโลกในอนาคตที่กำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งปุ้มปุ้ยเอง จะต้องทำอย่างไรที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงนั้นให้ทันอย่างรวดเร็วที่สุด



ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้รุกขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และพบว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมียอดขายเติบโตแบบก้าวกระโดด 70-80% ดังนั้นในปีนี้จะเห็นการลงทุนใหม่ๆ ในช่องทางอีคอมเมิร์ซของปุ้มปุ้ย ที่ขณะนี้เตรียมจัดสรรเงินเข้าไปลงทุน เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตด้วย”



โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะมียอดขายเติบโตขึ้น 10% เช่นเดียวกับปี 2564 ที่มีการเติบโตกว่า 10% ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการระบาดของโควิด-19 ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น จากปี 2563 ซึ่งมียอดขายราว 1,563 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายในประเทศ 70% และต่างประเทศ 30% โดยปัจจุบันมีการส่งออกไปในจีน สปป.ลาว มาเลเซีย รวมถึงสหรัฐอเมริกา ฯลฯ โดยตลาดหลักยังเป็นตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในปีนี้มีแผนขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นรวมทั้งการขยายตัวแทนจำหน่ายในหลายประเทศเพิ่มขึ้นด้วย



นางปวิตา กล่าวอีกว่า ปุ้มปุ้ยมีแผนปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับการเดินหน้าธุรกิจ รวมทั้งมีแผนดึงมืออาชีพเข้ามาเสริมทัพเพื่อรองรับการแข่งขันและการทำตลาดในอนาคตด้วย ซึ่งนอกจากทายาทตระกูลโตทับเที่ยงแล้ว ยังเปิดกว้างในการสรรหามืออาชีพและคนรุ่นใหม่เข้ามาสร้างให้องค์การเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย



หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,749 วันที่ 16 - 19 มกราคม พ.ศ. 2565
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 35

โพสต์

‘ศาลฎีกา’ยุติศึกกงสีตระกูลโตทับเที่ยง ‘สุรินทร์’พ่าย-สั่งโอน‘หุ้น-ที่ดิน’แบ่งพี่น้อง

เขียนวันที่ วันอังคาร ที่ 26 เมษายน 2565 เวลา 16:41 น.

ศาลฎีกาฯ ยุติศึกกงสีตระกูล ‘โตทับเที่ยง’ สั่ง ‘สุรินทร์-พวก’ สั่งโอน ‘หุ้น 19 บริษัท-ที่ดิน’ แบ่งพี่น้อง คนละ 1 ส่วน ขณะที่ 9 พี่น้องโตทับเที่ยง นำโดยพี่ใหญ่ ‘สุธรรม โตทับเที่ยง’ ตั้งโต๊ะแถลงผลคดี 28 เม.ย.นี้

.............................

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ว่า ในวันที่ 28 เม.ย.นี้ 9 พี่น้องตระกูล ‘โตทับเที่ยง’ นำโดยพี่ใหญ่ของตระกูล นายสุธรรม โตทับเที่ยง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล หรือ POMPUI เจ้าของผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง ‘ปุ้มปุ้ย’ และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง นัดหมายสื่อมวลชนแถลงความคืบหน้าคดีกงสีหรือธุรกิจของครอบครัวตระกูลโตทับเที่ยง หลังจากเมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวออกมา

สำหรับคดีนี้ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2559 นายสุธรรม โตทับเที่ยง และพี่น้องรวม 9 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง (บุตรคนที่ 3 ตระกูลโตทับเที่ยง) กับพวกรวม 6 คน ต่อศาลแพ่งธนบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.2264/2559 เรื่อง ขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัวที่ทำมาหากินร่วมกัน ซึ่งนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง (จำเลยที่ 1) และพวก ได้ถือแทนพี่น้องทั้ง 9 คน (โจทก์)

ต่อมาวันที่ 20 มี.ค.2561 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ให้จําเลยทั้ง 6 คน (นายสุรินทร์และพวก) ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นไว้แทนพี่น้องโตทับเที่ยงคนอื่น โอนหุ้นในบริษัทฯ รวม 19 แห่ง ให้แก่โจทก์ทั้ง 9 คน (นายสุธรรมและพี่น้องรวม 9 คน) และนายสุรินทร์ (จําเลยที่ 1) คนละ 1 ส่วนของหุ้นในแต่ละบริษัทฯ และให้จำเลยทั้ง 6 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 31 แปลง ที่ถือไว้แทนพี่น้องคนอื่นในตระกูลโตทับเที่ยง ให้กับพี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน คนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน

อย่างไรก็ตาม จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ และต่อมาวันที่ 24 เม.ย.2562 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้ไขบางส่วนเกี่ยวกับที่ดินของบริษัทกงสี ซึ่งนอกจากที่แก้ไข ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น จากนั้นเมื่อวันที่ 25 เม.ย.2565 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์

“เมื่อคดีมีคําพิพากษาศาลฎีกา ถือว่าคดีถึงที่สุด โจทก์ทั้ง 9 คน จึงขอชี้แจงให้สื่อมวลชนทราบ เพื่อนําเสนอข่าวเกี่ยวกับผลคดีเป็นไปตามคําพิพากษา ทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยสรุปเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ซึ่งในการแถลงข่าวครั้งนี้ มีโจทก์ทั้ง 9 คน และทีมงานทนายความร่วมแถลงข่าว” เอกสารประชาสัมพันธ์เชิญแถลงข่าวความคืบหน้าคดีแบ่งทรัพย์สินในกงสีครอบครัวโตทับเที่ยง เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2565 ระบุ

สำหรับพี่น้อง ‘โตทับเที่ยง’ มีบิดาคือ นายโต๋ว ง่วน เตียง และมารดาชื่อนางยิ่ง แซ่โต๋ว เป็นชาวจีนอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่มาทำมาหากินในเมืองไทย

ทั้งนี้ นายโต๋ว ง่วน เตียง และนางยิ่ง แซ่โต๋ว มีบุตรด้วยกัน 10 คน คือ พี่ชายคนโต นายสุธรรม โตทับเที่ยง ,นางสุพัตรา สินสุข (โตทับเที่ยง) เสียชีวิตแล้ว ,นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ,นางจุรีย์ สัมพันธวรบุตร (โตทับเที่ยง),นายสวัสดิ์ โตทับเที่ยง เสียชีวิตแล้ว, นางจุฬา หวังศิริเลิศ (โตทับเที่ยง), นางเลอลักษณ์ หรือ จุรัตน์ มะนะสุทธิ์ (โตทับเที่ยง), นายสลิล โตทับเที่ยง, น.ส.สุนีย์ โตทับเที่ยง และ น.ส.สิริพร โตทับเที่ยง
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 36

โพสต์

แบบสรุปผลการดำเนินงาน (F45)
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)

(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
12 เดือน
ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
ปี 2564 2563
กำไร (ขาดทุน) 33,476 40,730
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นข
องบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.07(แก้ไข) 0.08(แก้ไข)
ต่อหุ้น (บาท)


ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
มีเงื่อนไข

หมายเหตุ
เนื่องจากการประเมินราคายุติธรรมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมีความแตกต่างเป็นนัยยสำคัญ

*สำหรับงบการเงินรวม

โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสินใจลงทุน

"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"

ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง )
ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ศาลฎีกาปิดคดีกงสีตระกูลโตทับเที่ยง “ปุ้มปุ้ย” แถลงปรับโครงสร้างใหญ่
วันที่ 27 เมษายน 2565 - 09:07 น.

ปิดฉากคดีมรดกเลือด “กงสีตระกูลโตทับเที่ยง” ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จําเลยโอน “หุ้น 19 บริษัท-ที่ดิน” แก่พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน คนละ 1 ส่วน ฟาก “สุธรรม โตทับเที่ยง” เตรียมตั้งโต๊ะแถลงผลคดี พร้อมปรับโครงสร้างการบริหารงานครั้งใหญ่ 28 เม.ย.นี้

วันที่ 27 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดกธุรกิจตระกูลโตทับเที่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ในจ.ตรัง เจ้าของอาณาจักรปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” และ อาหารสำเร็จรูปชนิดต่างๆ รวมทั้งธุรกิจโรงแรมกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มานานจนยื่นฟ้องกันเป็นคดี ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 4 ปี


ที่สุดคดีกงสีหรือธุรกิจของครอบครัวตระกูลโตทับที่ยง โดยศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้จําเลย โอนที่ดินให้แก่พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน คนละ 1 ส่วน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คดีกงสีหรือธุรกิจของครอบครัวตระกูลโตทับที่ยง โดยการนำของ นายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวกรวม 9 คน ยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง กับพวก รวม 6 คน ต่อศาลแพ่งธนบุรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ข้อหา กรรมสิทธิ์รวม เรียกทรัพย์คืน ขอแบ่งทรัพย์ (กงสี) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561

ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยทั้ง 6 คน ที่ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นไว้แทน โอนหุ้นในบริษัท รวม 19 บริษัทให้แก่โจทก์ทั้ง 9 คน และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน ของหุ้นในแต่ละบริษัท และให้โอนที่ดินที่จำเลยทั้ง 6 คน ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนให้แก่พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน คนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้ไขบางส่วนเกี่ยวกับที่ดินของบริษัทกงสี นอกจากที่แก้ไขให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ศาลฎีกา ได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

อนึ่ง เนื่องจากคดีนี้เป็นที่สนใจแก่สื่อมวลชนหลายแขนงที่ติดตามข่าว ประกอบกับคดีกงสีหรือธุรกิจของตระกูลโตทับเที่ยงเป็นคดีที่สาธารณชนให้ความสนใจเช่นกัน เพราะกงสีของตระกูลโตทับเที่ยงมีธุรกิจหลายอย่าง

ดังนั้น เมื่อคดีมีคำพิพากษาศาลฎีกา ถือว่าคดีถึงที่สุด โจทก์ทั้ง 9 คน จึงขอชี้แจงให้สื่อมวลชนทราบ เพื่อนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผลคดีเป็นไปตามคำพิพากษาทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยสรุปเพื่อให้เกิด ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ในการแถลงข่าวครั้งนี้ มีโจทก์ทั้ง 9 คน และทีมงานทนายความร่วมแถลงข่าว จึงขอเรียนเชิญสื่อแต่ละท่านที่สนใจในคดีนี้มาร่วมฟังการแถลงข่าวเกี่ยวกับผลคดี


โดยจะมีการแถลงข่าว ในวันที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ณ โรงแรมอิสตินแกรนด์ สาทร (ลงสถานีรถไฟฟ้าBTS สถานีสุรศักดิ์) โดยให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณต่าย ฉัตร์ฤดี อนันต์ศิริชจร โทร 0969782624

สำหรับการจัดแถลงข่าวครั้งนี้ โจทก์ทั้ง 9 คน และทีมงานทนายความได้จัดเตรียมสรุปผลคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เอกสารประกอบการแถลงข่าวให้แก่ผู้สื่อข่าวประกอบการเขียวข่าวด้วย
แนบไฟล์

pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 38

โพสต์

🔴LIVE : แถลงข่าว ครอบครัวตระกูลโตทับเที่ยง หลังยืดเยื้อยาว 4 ปี 25/04/2565
phpBB [video]
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ศาลฎีกาพิพากษายืน ตามศาลชั้นต้น คดีกงสี “ตระกูลโตทับเที่ยง”
28 เม.ย. 2565 เวลา 13:17 น.

ศาลฎีกาพิพากษายืน ตามศาลชั้นต้น คดีกงสี “ตระกูลโตทับเที่ยง” สั่งโอนหุ้น 19 บริษัท-ที่ดิน แก่พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน คนละ 1 ส่วน


วันนี้(28 เมษายน 2565) นายสุธรรม โตทับเที่ยงและครอบครัว พร้อมนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความ แถลงข่าวสรุปผลคำพิพากษาของศาลในธุรกิจของครอบครัวหรือกงสี “ตระกูลโตทับเที่ยง”

โดย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้ง 6 คน ที่ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัททั้ง 19 บริษัทไว้แทนกงสี ซึ่งบริษัทกงสีทั้ง 19 บริษัท โอนหุ้นในบริษัทให้ นายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวกรวม 9 คน ได้แก่

1.นางสาวจุรี โตทับเที่ยง
2.นางจุฬา หวังศิริเลิศ
3.นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์
4.นายสลิล โตทับเที่ยง
5.นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง
6.นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง
7.นายเสริมสันต์ สินสุข
8.นายไกรลาภ โตทับเที่ยง
9.นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง

คนละ 1 ส่วน ใน 10 ส่วน ของหุ้นแต่ละบริษัท และให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ถึงจำเลยที่ 6 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ที่ 1 ถึงโจทก์ที่ 9 และจำเลยที่ 1 คนละหนึ่งส่วนใน 10 ส่วน




ศาลอุทธรณ์พิพากษา


1. ให้จำเลยทั้ง 6 โอนหุ้นในบริษัททั้ง 19 บริษัทให้แก่โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยที่หนึ่งคนละ 1 ใน 10 ส่วนเท่าๆกันเท่านั้นไม่มีการชำระเงินแทนหุ้น
2. ศาลอุทธรณ์เห็นว่าถึงแม้ที่ดินดังกล่าวจะนำเงินของบริษัทกงสีมาซื้อ แต่ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ถึงจำเลยที่ 6 โดยใส่ชื่อแทนบริษัทกงสี แต่บริษัทกงสีเจ้าของเงินไม่ได้ร่วมฟ้องมาด้วย จึงให้ยกคำขอที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้ง 9 และจำเลยที่ 1 มาแบ่งกันคนละ 1 ใน 10 ส่วน


ทั้งนี้ ศาลฎีกาพิพากษาในส่วนของหุ้นในบริษัททั้ง 19 บริษัทโดยให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และในส่วนของที่ดินให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยศาลฎีกาได้พิพากษายืน
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 40

โพสต์

"โตทับเที่ยง" ประกาศพลิกฟื้น POMPUI ยื่นปลด SP-กลับเข้าเทรดหลังยุติคดีกงส


ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday April 28, 2022 15:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสุธรรม โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล (POMPUI) เปิดแถลงข่าวร่วมกับบุคคลในตระกูลโตทับเที่ยงว่า ตระกูลโตทับเที่ยงในฐานะผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ใน POMPUI พร้อมเดินหน้าพลิกฟื้นธุรกิจ ผลักดันหุ้น POMPUI ให้กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง พร้อมปั้นเบรนด์สินค้าอาหาร "ปุ้มปุ้ย" อย่างจริงจัง หลังจากยุติข้อพิพาทในตระกูลที่มีมาอย่างยาวนานเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาส่งผลให้คดีเป็นที่สิ้นสุด



คำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีกงสี ตระกูลโตทับเที่ยง เมื่อวันที่ 25 เม.ย.65 มีผลให้จำเลยทั้ง 6 คนที่ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัททั้ง 19 บริษัทไว้แทนกงสีโอนหุ้นในบริษัทให้กับบุคคลในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คนรวมถึงนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ซึ่งเป็นจำเลยในคดีด้วย โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้ง 6 โอนหุ้นในบริษัททั้ง 19 บริษัทให้แก่โจทก์ทั้ง 9 และจำเลยที่หนึ่งคนละ 1 ใน 10 ส่วนเท่าๆกัน เช่นเดียวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิรวมของธุรกิจครอบครัวหรือกงสีของตระกูลโตทับเที่ยง

นายสุธรรม กล่าวว่า หลังจากคำพิพากษาของศาลฎีกาออกมาแล้วก็ได้เตรียมเจรจาและจัดสรรหุ้นและที่ดินให้กับคนในตระกูลโตทับเที่ยงอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงในส่วนของนายสุรินทร์ จำเลยที่มีข้อพิพาท ซึ่งเป็นพี่น้องในตะกูลโตทับเที่ยงด้วยเช่นกัน ซึ่งคนในครอบครัวตระกูลโตทับเที่ยงพร้อมจะจัดสรรหุ้นและที่ดินอย่างเท่าเทียม และเปิดโอกาสให้คนในครอบครัวเข้ามาร่วมสานต่อธุรกิจของตระกูลต่อไป

"ความชัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความชัดแย้งเล็กน้อยที่เรามาเปิดใจคุยกันในครอบครัวได้ ผมเข้าใจว่าบางทีเราอาจจะคิดไม่ตรงกันบ้าง ทำให้เกิดความชัดแย้งขึ้น แต่ต้องใช้วิธีการหาทางออกที่ดีที่สุด ที่ได้ความเป็นธรรมกับทุกคน เมื่อเรื่องสรุปจบเรื่องแล้วก็อยากให้มาคุยกัน ในการจัดสรรและแบ่งหุ้นและที่ดิน ที่ทุกคนได้รับความเป็นธรรม และสามารถมาร่วมกันในการบริหารงานของครอบครัวได้ ซึ่งทุกคนยินดีเปิดกว้างให้คนในครอบครัวมาร่วมทำงานในธุรกิจของโตทับเที่ยง" นายสุธรรม กล่าว

สำหรับธุรกิจของ POMPUI ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของครอบครัวนั้น หลังจากมีคดีข้อพิพาทเกิดขึ้น ทำให้คนในครอบครัวโตทับเที่ยงไม่ได้เข้ามาดูแลและบริหารนานถึง 6-7 ปี ทำให้แบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" เงียบหายไปในตลาด แต่หลังจากเดือนพ.ย. 64 นายสุธรรม และคนในตะกูลโตทับเที่ยงส่วนหนึ่งได้เริ่มกลับมาดูแลธุรกิจอีกครั้ง ปัจจุบันได้ปรับโครงสร้างการบริหารด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการบริหารเมื่อช่วงกลางเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และเตรียมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 30 เม.ย.นี้ จากนั้นจะเดินหน้าขับเคลื่อนการตลาดอย่างจริงจังอีกครั้ง



พร้อมกันนั้น คณะผู้บริหารตั้งเป้าหมายนำหุ้น POMPUI กลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้งหากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 เม.ย. 65 อนุมัติ โดยจะดำเนินการยื่นขอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ปลดเครื่องหมาย SP หลังจาก POMPUI ได้ส่งงบการเงินครบทุกไตรมาสแล้ว แต่ในเรื่องของระยะเวลาการปลด SP ขึ้นกับการพิจารณาของ ตลท. ซึ่งตระกูลโตทับเที่ยงทุกคนคาดหวังให้กลับมาเทรดได้เร็วที่สุด เพราะ POMPUI ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีแค่คนในครอบครัวโตทับเที่ยงเท่านั้น ยังมีนักลงทุนรายอื่นๆ อีกมาก

นางสาวกุลเกตุ โตทับเที่ยง รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด POMPUI กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการจัดทำแผนธุรกิจ หลังจากทราบผลคำพิพากษาของคดี คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยภาพรวมของผลการดำเนินงานในปี 65 คาดว่าจะเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากการกลับมาฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ส่งผลดีต่อการบริโภค รวมถึงการส่งออกมียอดขายที่เติบโตขึ้น ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการขายในประเทศที่ 80% และสัดส่วนการส่งออก 20%

ขณะเดียวกันบริษัทจะหันมาขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์ในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงการสั่งซื้อสินค้าของ "ปุ้มปุ้ย" ได้ง่ายมากขึ้น สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน แต่ยังคงมีการบริหารช่องทางการขายร้านค้าทั่วไป (TT) และโมเดิร์นเทรด (MT) อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นช่องทางการขายหลัก ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วน TT และ MT ที่ 50:50 แต่ช่องทางการขายผ่านออนไลน์จะเข้ามาเสริมและขยายฐานลูกค้า

นอกจากนี้บริษัทจะมีการ Refresh Brand ผลิตภัณฑ์ "ปุ้มปุ้ย" และปรับบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในปีนี้จะเห็นการกลับมาทำการตลาดของผลิตภัณฑ์ "ปุ้มปุ้ย" ที่ออกมามาก และการนำผลิตภัณฑ์ไปจัดแสดงในงาน THAIFEX ซึ่งถือเป็นการกลับมาโปรโมทสินค้าของ "ปุ้มปุ้ย" อีกครั้ง

ด้านผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นนั้น บริษัทยังมีการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาเป็นระดับที่บริษัทยอมรับได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายสินค้ามากนัก โดยยังสามารถตรึงราคาขายสินค้า "ปุ้มปุ้ย" ในระดับ 18-23 บาท ซึ่งไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมา 7-8 ปีแล้ว และการจะขอการปรับราคาขายขึ้นของอาหารกระป๋องต้องขออนุญาตจากรกะทรวงพาณิชย์ด้วย

สำหรับมูลค่าตลาดอาหารกระป๋องปรุงรสและราดซอสในถือว่ายังมีการเติบโตที่ดี และมีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยที่ในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องปรุงรสของบริษัทยังคงครองส่วนแบ่งตลาด (Market share) เป็นอันดับ 1 ในประเทศ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ หอยลายกระป๋องปรุงรส และในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องราดซอส คือ ปลากระป๋อง บริษัทมี Market share ที่อันดับที่ 3 แต่ในปีนี้บริษัทจะมีการทำการตลาดมากขึ้น เพื่อผลักดันให้ Market share ของปลากระป๋อง "ปุ้มปุ้ย" ปรับเพิ่มขึ้นมาได้
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 41

โพสต์

'โตทับเที่ยง'ยุติศึก! 'สุธรรม'ส่งเทียบเชิญ 'สุรินทร์'หารือแบ่งที่ดิน-หุ้นกงสี

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 เม.ย. ที่โรงแรมอิสตินแกรนด์ สาทร เขตสาทร กทม. นายสุธรรม โตทับเที่ยง ในฐานะโจทก์ที่ 1 และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2-9 พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ โตรักษา ในฐานะทนายความทั้ง 9 คน แถลงข่าวกรณีกงสีหรือธุรกิจครอบครัวของตระกูลโตทับเที่ยง ภายหลังศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 65 ที่ผ่านมา ยืนตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง (จําเลยที่ 1 และพวกรวม 6 ราย) โอนที่ดินให้แก่พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน คนละ 1 ส่วน หลังจากยืดเยื้อมานานกว่า 6 ปี นับตั้งแต่ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรี เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 59 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 61 โดยมี นางชุติมา โตทับเที่ยง น.ส.จุรี โตทับเที่ยง นายสลิล โตทับเที่ยง น.ส.สุนีย์ โตทับเที่ยง และ น.ส.ศิริพร โตทับเที่ยง ร่วมแถลงข่าว


สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 59 นายสุธรรม โตทับเที่ยง ในฐานะโจทก์ที่ 1 กับพวกรวม 9 คน ยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 6 คนต่อศาลแพ่งธนบุรี ข้อหา กรรมสิทธิ์รวม เรียกทรัพย์คืน ขอแบ่งทรัพย์ (กงสี)

โดยเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 61 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้ง 6 คน ที่ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัททั้ง 19 บริษัทไว้แทนกงสี ซึ่งบริษัทกงสีทั้ง 19 บริษัท ได้แก่ บริษัท กว้างไพศาล จํากัด, บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จํากัด, บริษัท เอส.ตรัง คอมเพล็กซ์ จำกัด, บริษัท เอส.ตรัง ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด, บริษัท เอส.ตรัง เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, บริษัท ตรังแคนเนอรี่ จำกัด, บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จํากัด, บริษัท อะเมซิ่ง ไอเดีย จํากัด, บริษัท ตรังกว้างไพศาล จํากัด, บริษัท กว้างไพศาล โฮลดิ้ง จํากัด, บริษัท โตโฮลดิ้ง จํากัด, บริษัท ตรังโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท ไกรตะวัน จำกัด, บริษัท ตรัง ชัวร์ จำกัด, บริษัท ดิสทริค ดิเวลลอปเม้นท์ 2000 จํากัด, บริษัท ล้านรอยยิ้ม จํากัด, บริษัท คอนสแตนท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด, บริษัท ตรังทราเวล แอนด์ อะเมซิ่ง ทราเวิล จํากัด และ บริษัท เอส.ที แมเนจเม้นท์ (2013) จำกัด โอนหุ้นในบริษัทดังกล่าวให้แก่นายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวก รวม 9 คน ได้แก่ นางสาวจุรี โตทับเที่ยง, นางจุฬา หวังศิริเลิศ, นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์, นายสลิล โตทับเที่ยง, นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง, นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง, นาย เสริมสันต์ สินสุข, นายไกรลาภ โตทับเที่ยง และนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง คนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน ของหุ้นในแต่ละบริษัท และให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ถึงจำเลยที่ 6 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ที่ 1 ถึงโจทก์ที่ 9 และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 62 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1.ให้จำเลยทั้ง 6 โอนหุ้นในบริษัททั้ง 19 บริษัทให้แก่โจทก์ทั้ง 9 และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ใน 10 ส่วนเท่าๆ กัน เท่านั้น ไม่มีการชำระเงินแทนหุ้น 2.ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ถึงแม้ที่ดินดังกล่าวจะนำเงินของบริษัทกงสีมาซื้อแต่ จำเลย ที่ 1 จําเลยที่ 4 ถึง จําเลยที่ 6 โดยใส่ชื่อแทนบริษัทกงสี แต่บริษัทกงสีเจ้าของเงินไม่ได้ร่วมฟ้องมาด้วย จึงให้ยกคำขอที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้ง 9 และจําเลยที่ 1 มาแบ่งกันคนละ 1 ใน 10 ส่วน

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 65 ศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยศาลฎีกาพิพากษาในส่วนของหุ้นในบริษัททั้ง 19 บริษัท โดยให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น และในส่วนของที่ดินให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์

ดร.สมศักดิ์ โตรักษา ในฐานะทนายความโจทก์ทั้ง 9 คน เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะมีการยื่นหนังสือเชิญนายสุรินทร์ มาพูดคุยหารือร่วมกับนายสุธรรม และคนในครอบครัว เพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลฎีกาในเรื่องของการโอนหุ้นทั้ง 19 บริษัท และที่ดิน โดยจะยังไม่มีการยื่นขอบังคับคดีแต่อย่างใด เพื่อให้ตระกูลสามารถบริหารงานสืบสาน รักษา ต่อยอดกงสีต่อไปได้ ไม่มีความขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้หากไม่เป็นไปตามที่วางแนวทางไว้อาจจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่ต้องยื่นขอบังคับคดีภายใน 30 วัน

ดร.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า แต่จากที่ได้คุยกับนายสุธรรมแล้ว ยังไม่เห็นด้วยที่จะออกคำบังคับ เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกระหว่างพี่กับน้อง ซึ่งมีปัญหาเยอะ ในฐานะที่ตนเป็นทนายความ ก็อยากสมานฉันท์ ตนจึงเตรียมทำหนังสือเชิญให้มาพูดคุยเรื่องคำพิพากษาที่ผ่านมา มาร่วมกันหารือถึงแนวทาง เพราะเป็นพี่น้องกัน เพราะที่ดิน คุณสุรินทร์ก็มี 1 ส่วน ดังนั้นต้องตัดปัญหานี้ออกไปให้หมด เพื่อรุ่นหลาน 19 บริษัทที่ดินทั้งหมดก็เป็นของคุณสุรินทร์ด้วย เขาก็มีลูก ตนก็อยากให้มีการประนีประนอมร่วมกัน กลับมาทำงานร่วมกันได้


ด้านนายสุธรรม เปิดเผยว่า ในฐานะที่ตนเป็นพี่ใหญ่ของตระกูลโตทับเที่ยง และได้เริ่มธุรกิจมาตั้งแต่ 50 กว่าปีที่แล้ว ภายหลังบิดาเสียชีวิต ตนและพี่น้องกว่า 10 คน จึงต้องร่วมกันฟันฝ่ากันมา และบางครั้งอาจจะมีข้อขัดแย้งบ้างเล็กน้อย ดังนั้นจึงต้องใช้ความเป็นอารยะทำให้เรื่องขัดแย้งนี้ยุติลง จากคำพิพากษาของศาลฎีกา จึงต้องบอกว่าในบรรดาพี่น้องนั้น ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ได้ทุกคน ไม่มีใครเสีย ทุกคนได้ในสิ่งที่สมควรได้แบ่งหุ้งแบ่งที่ดินต่างๆ ตามสัดส่วน

ต่อไปนี้จะเดินหน้าทำธุรกิจต่อและระดมลูกหลานซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นมืออาชีพมาดำเนินธุรกิจของโตทับเที่ยงต่อไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ใช้บริการบริษัททั้ง 19 แห่ง รวมทั้งผู้ถือหุ้น โดยจะการประชุมผู้ถือหุ้นจะมีในวันที่ 30 เม.ย.นี้ เป็นการประชุมออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมาได้มีการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว แต่ตนและทีมคณะกรรมได้เข้ามาบริหารงานตั้งแต่ช่วง พ.ย.64 ภายหลังจากชุดเดิมลาออก เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

ส่วนแผนการบริหารงานในอนาคต นายสุธรรม กล่าวว่า ทางคณะบริหารชุดใหม่กำลังรวบรวมทำงานอยู่ เร็วๆ นี้ จะนัดหมายชี้แจงต่อไป.
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 42

โพสต์

7 ปีเคลียร์ปมกงสี 'ปุ้มปุ้ย' บทสรุปศาลปิดคดีตระกูล 'โตทับเที่ยง' แบ่งทรัพย์สินเท่ากัน พี่น้องย้ำทุกคนชนะไม่มีใครแพ้

ปิดฉากคดีตระกูล "โตทับเที่ยง" หลังศาลฎีกาพิพากษายุติปมขัดแย้ง "พี่น้อง" 10 คน ฟ้องคดีธุรกิจกงสี สรุปให้แบ่ง "หุ้นบริษัท-ที่ดิน" เท่ากัน "สุธรรม" พี่คนโตย้ำทุกคนชนะไม่มีใครแพ้ จากนี้รุ่น 1 และ รุ่น 2 จับมือขยายธุรกิจ "ปุ้มปุ้ย"

ตระกูล "โตทับเที่ยง" ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเลกระป๋องจากจังหวัดตรัง มีพี่น้อง 10 คน พี่คนโต คุณสุธรรม โตทับเที่ยง และน้องสาวคนที่ 2 คุณสุภัทรา สินสุข (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เริ่มต้นธุรกิจ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด ผลิตปลากระป๋องแบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" และ "ปลายิ้ม" ในปี 2522 จากนั้นได้มีพี่น้องเข้ามาร่วมบริหารกิจการ รวมทั้ง "คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง" โดยนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เดือนธันวาคม 2537

ธุรกิจหลักๆ ของตระกูลโตทับเที่ยง คือ อาหารกระป๋องแบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" โรงแรมธรรมรินทร์ 120 ห้อง และโรงแรมธรรมรินทร์ธนา 280 ห้อง อยู่ในจังหวัดตรัง และมีที่ดินหลายแปลงพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ทั้งหมดอยู่ภายใต้บริษัทกงสี คือ บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นของพี่น้องทุกคน

#ปมขัดแย้งตระกูลโตทับเที่ยงและบทสรุปศาลฎีกา

- วันที่ 21 มิถุนายน 2558 พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง 9 คน นำโดย คุณสุธรรม จัดแถลงข่าวไม่ให้ "คุณสุรินทร์" ใช้นามสกุลโตทับเที่ยง หลังจากคุณสุรินทร์ ได้ปลดพี่น้องในตระกูลทุกคนออกจากการเป็นกรรมการของ บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทกงสี และถือหุ้นใน บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล อีกทั้งได้สั่งปลดและเลิกจ้างพี่สาว, น้องสาว, น้องสะใภ้ และหลานๆ ที่เป็นผู้บริหารเดิม

- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง 9 คน เป็นโจทย์ยื่นฟ้องคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง กับพวกอีก 6 คน เป็นจำเลย ที่ศาลแพ่งธนบุรี ข้อหา กรรมสิทธิ์รวม เรียกทรัพย์คืน ขอแบ่งทรัพย์ (กงสี)

- วันที่ 20 มีนาคม 2560 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้คุณสุรินทร์ และจำเลยทั้ง 6 คน ที่ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัททั้ง 19 บริษัท ไว้แทนกงสี ให้โอนหุ้นให้แก่ พี่น้องทั้ง 9 คน โดยแบ่งหุ้นออกเป็น 10 ส่วนตามจำนวนพี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง และแบ่งให้พี่น้องทุกคน คนละ 1 ส่วน รวมทั้งคุณสุรินทร์ ได้ 1 ส่วนเช่นเดียวกับคนอื่น

- วันที่ 24 เมษายน 2562 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้

1. ให้คุณสุรินทร์ และจำเลยทั้ง 6 คน โอนหุ้นทั้ง 19 บริษัทธุรกิจกงสี ให้พี่น้อง 9 คน โดยแบ่งหุ้นออกเป็น 10 ส่วน ให้กับพี่น้องทุกคน รวมทั้งคุณสุรินทร์ ได้คนละ 1 ส่วนเท่ากัน "โดยไม่มีการชำระเงินแทนหุ้น"

2. กรณีทรัพย์สินที่ดิน ซึ่งใช้เงินกงสีมาซื้อ แต่ฝ่ายคุณสุรินทร์ และพวก ใส่ชื่อแทนกงสี ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืนให้ พี่น้อง และนำมาแบ่ง 10 ส่วน ให้คนละ 1 เท่ากัน

- วันที่ 7 ธันวาคม 2564 คำพิพากษาศาลฎีกา (อ่านวันที่ 25 เมษายน 2565) ดังนี้

1. ให้ส่วนของหุ้นในบริษัทกงสีทั้ง 19 บริษัท เป็นไปตามศาลชั้นต้น คือให้คืนพี่น้องทั้ง 9 คน และนำมาแบ่งเป็น 10 ส่วนให้ทุกคน (รวมทั้งคุณสุรินทร์) คนละส่วนเท่ากัน

2. ที่ดินให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คือ ให้คืนพี่น้องทั้ง 9 คน และนำมาแบ่งเป็น 10 ส่วนให้ทุกคน (รวมทั้งคุณสุรินทร์) คนละส่วนเท่ากัน

บทสรุปผลคำพิพากษาทั้ง 3 ศาลในคดีศึกสายเลือด "โตทับเที่ยง" จบลงที่ทรัพย์สินทั้งหุ้น 19 บริษัท ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด เป็นกรรมสิทธิ์รวมของธุรกิจครอบครัวหรือกงสีตระกูลโตทับเที่ยงของพี่น้องทั้ง 10 คน

#ปิดคดีกงสีพี่น้องย้ำทุกคนชนะไม่มีใครแพ้

- หลังศาลฎีกามีคำพิพากษา จะต้องบังคับคดีภายใน 30 วัน จากปมขัดแย้งตลอดเวลา 7 ปีที่สู้กันมาของตระกูลโตทับเที่ยง จากนี้ไม่ต้องการมีความขัดแย้งกันอีก โดยฝ่ายทนายโจทย์จะทำหนังสือเชิญคุณสุรินทร์ มาคุยแนวทางปฏิบัติตามคำพิพากษา ที่กำหนดให้แบ่งทรัพย์สินเท่ากัน

- คุณสุธรรม โตทับเที่ยง ในฐานะพี่คนโตของตระกูล ย้ำว่า "ความขัดแย้งยุติแล้วและพร้อมรับฟังความเห็นของคุณสุรินทร์ ซึ่งมี 1 เสียงของกงสี เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวโตทับเที่ยงยังดำเนินอยู่ต่อไป เป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอดธุรกิจกงสี และไม่เพิ่มความขัดแย้งกันอีกต่อไป"

- "วันนี้ศาลได้พิพากษาสรุปจบเรื่องของตระกูลโตทับเที่ยงแล้ว โดยไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ ทุกคนชนะหมด เพราะได้รับความเป็นธรรมทุกคน ไม่มีใครเสีย แต่ได้ในสิ่งที่ควรจะได้ และสิ่งที่ไม่ใช่ก็ไม่ได้ สิ่งไหนที่ใช่ก็ได้คืนมา จบลงแบบ win win ทุกคน"

#โตทับเที่ยง2รุ่นเดินหน้าธุรกิจปุ้มปุ้ย

- ในด้านการบริหารธุรกิจ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการและผู้บริหารบริษัทฯ เดิมได้ลาออกหมดทุกตำแหน่งและมีบางส่วนครบวาระการทำงาน จากนั้นเดือนพฤศจิกายน 2564 พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 (ลูกหลาน) ราว 20 คน นำโดยคุณสุธรรม โตทับเที่ยง ได้เข้ามาเป็นคณะกรรมการและผู้บริหารบริษัทฯ (เดิมคนในตระกูลโตทับเที่ยงทั้งรุ่น 1 ละ รุ่น 2 เป็นผู้บริหารอยู่แล้ว แต่ต้องหยุดไป 7 ปี จากความขัดแย้งของตระกูล) ปัจจุบันได้กลับมาบริหารบริษัทร่วมกับมืออาชีพ

- ตลอด 7 ปี ของปมขัดแย้งในตระกูลโตทับเที่ยง ต้องยอมรับว่าเกิดความเสียงหายในภาพลักษณ์ธุรกิจ แต่ด้วยพื้นฐานธุรกิจที่วางไว้ตั้งแต่ต้นและธุรกิจหลักอาหารกระป๋อง "ปุ้มปุ้ย" แม้ไม่ได้เป็นธุรกิจสมัยใหม่ แต่ต้องเรียกว่าเป็น "ดาวค้างฟ้า" อยู่มาได้กว่า 40 ปี และยังเป็นธุรกิจที่อยู่คู่กับผู้บริโภคต่อไป จากนี้จะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมาทำตลาดต่อเนื่อง จากนี้ "ปุ้มปุ้ย" จะไปให้ไกลกว่าเดิม

- บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล หรือ POMPUI เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ที่ยังอยู่ระหว่างฟื้นฟูการดำเนินงาน (REHABCO) และยังถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย SP (ห้ามซื้อขายชั่วคราว) โดยวันที่ 30 เมษายนนี้ จะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรับรองงบการเงินปี 2564 และจะยื่นขอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯปลด SP ต่อไป เพื่อกลับมาเทรดอีกครั้งหลังหุ้นหยุดซื้อขายไปนานกว่า 10 ปี
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ศึกกงสี “ปุ้มปุ้ย” ไม่จบ “สุรินทร์” แถลงการณ์โต้ “สุธรรม” และพี่น้อง
By ทีมข่าวคอร์ปอเรท-การตลาด28 เม.ย. 2565 เวลา 16:49 น.

หลังศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีกงสี “ตระกูลโตทับเที่ยง” สั่งโอนหุ้น 19 บริษัท-ที่ดิน แก่พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงทั้ง 10 คน "สุธรรม โตทับเที่ยง" พี่น้อง แถลงข่าวต่อสื่อถึงคดี แนวทางเคลื่อน "ปุ้มปุ้ย" ล่าสุด "สุรินทร์ โตทับเที่ยง" ออกแถลงการณ์แจงข้อเท็จจริง


คําแถลงการณ์ ของ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ต่อกรณีการแถลงข่าวของ นายสุธรรม โตทับเที่ยง

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น. กลุ่มนายสุธรรม โตทับเที่ยง ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ โรงแรมอีสตินแกรนด์สาทรเกี่ยวกับผลคดีกรรมสิทธิ์รวมโดยอ้างว่าปิดคดีฮุบที่ดิน กงสี ดังรายละเอียดที่สื่อมวลชน ซึ่งร่วมรับฟังการแถลงข่าวทราบแล้วนั้น

ข้าพเจ้า นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ขอเรียนมายังสื่อมวลชนว่าการแถลงข่าวของ นายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวก มีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง ทําให้ข้าพเจ้ากับครอบครัวได้รับความเสียหายชต่อชื่อเสียง ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความจําเป็นที่จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อให้สื่อมวลชนและสังคมได้รับทราบข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ดังนี้

1. คดีกรรมสิทธิ์รวมหรือธุรกิจครอบครัวตระกูลโตทับเที่ยง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยพิพากษาให้กลุ่มข้าพเจ้าและกลุ่มนายสุธรรมฯ โอนหุ้นที่แต่ละคนถืออยู่ใน บริษัทต่าง ๆ จํานวน 19 บริษัท โดยนําหุ้นมารวมกันแล้วแบ่งหุ้นคนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน สำหรับบริษัท จำนวน 19 บริษัทน้ัน เกือบทั้งหมดปัจจุบัน ไม่ได้ประกอบการ หรือหยุดประกอบการแล้ว ดังน้ันจึงไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างใด ๆ ต่อข้าพเจ้า และครอบครัว



2. ศาลฎีกาไม่ได้มีคำพิพากษาว่าหุ้นใน บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน)หรือ ปุ้มปุ้ย ที่ข้าพเจ้าและครอบครัวมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นกงสีที่ต้องโอนคืนให้แก่นายสุธรรมฯ กับพวกที่เป็นโจทก์ ดังนั้น ข้าพเจ้าและครอบครัวจึงยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จํากัด (มหาชน)

3. สำหรับที่ดินตามฟ้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จังหวัดตรังและที่กรุงเทพมหานคร ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ยกคำขอที่นายสุธรรมฯ กับพวก ขอให้นายสุรินทร์ฯ กับพวก จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด และเมื่อศาลฎีกามีคาพิพากษายืนตามคาพิพากษาศาล อุทธรณ์จึงเป็นผลให้ที่ดินตามฟ้องไม่ใช่ที่ดินกงสีที่นายสุธรรมฯกับพวกที่เป็นโจทก์จะใช้สิทธิอ้างความเป็นเจ้าของได้ ดังนั้นเนื้อหาจาการแถลงข่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามคําพิพากษาศาลฎีกา


4. จุดเริ่มต้นของข้อพิพาทเกิดจากการที่ข้าพเจ้าและผู้บริหารบริษัทไม่ยินยอมให้บุคคลกลุ่มหนึ่ง แสวงหาประโยชน์จากบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้มีการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้บุคคลและนิติบุคคลที่ร่วมกันแสวงหาประโยชน์ดังกล่าวชดใช้เงินให้แก่บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ซึ่งข้าพเจ้าและผู้ถือหุ้นยังคงติดตามว่าคณะกรรมการของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ชุดปัจจุบัน จะรักษาผลประโยชน์ของบริษัท โดยดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่

5. ตลอดระยะเวลาที่มีข้อพิพาท แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นคุณกับข้าพเจ้าและครอบครัวหลายคดีข้าพเจ้าไม่เคยแถลงข่าวให้ร้ายบุคคลในสกุลโตทับเที่ยง ตลอดชีวิตการทำงานของข้าพเจ้า มีความตั้งใจ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นจังหวัดตรัง ดังที่สื่อมวลชนทุกท่านได้ทราบเป็นอย่างดีแล้ว

การให้ข่าวของข้าพเจ้าในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งประสงค์ที่จะตอบโต้นายสุธรรมฯ กับพวก แต่ต้องการให้สื่อมวลชนได้รับทราบข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วน
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 44

โพสต์

เปิดอาณาจักร ตระกูลโตทับเที่ยง-ปุ้มปุ้ย จบคดีมรดกหมื่นล้าน
วันที่ 29 เมษายน 2565 - 10:26 น.


นายสุธรรม โตทับเที่ยง ย้ำว่า เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว ถือว่าความขัดแย้งในหมูเครือญาติตระกูลโตทับเที่ยงยุติลง

วันที่ 29 เมษายน 2565 ความขัดแย้งของตระกูล โตทับเที่ยง ผู้ก่อตั้งและบริหารแบรนด์ปลากระป๋อง ปุ้มปุ้ย รวมถึงเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ของจังหวัดตรัง ถือเป็นหนึ่งในมหากาพย์ของวงการธุรกิจไทย เมื่อกลุ่มเครือญาติเกิดความขัดแย้งในการบริหารธุรกิจครอบครัวหรือที่เรียกกันว่า “กงสี” จนเกิดการฟ้องร้องเพื่อแบ่งทรัพย์สินตั้งแต่ปี 2559

จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ให้มีการแบ่งทรัพย์สินประกอบด้วยหุ้นของบริษัทในเครือ 19 บริษัทให้แก่พี่น้องทั้ง 10 คน เท่า ๆ กัน ส่วนที่ดินกว่า 30 แปลง อาคารร่วม 25 ห้องให้โอนเป็นของบริษัทในเครือ

ยืนยันก้าวข้ามความขัดแย้ง

หลังมีคำพิพากษา นายสุธรรม โตทับเที่ยง โจทก์ในคดีดังกล่าว ยืนยันว่า เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว ถือว่าความขัดแย้งในหมูเครือญาติตระกูลโตทับเที่ยงยุติลง พร้อมเตรียมส่งหนังสือเชิญนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ หลังจากนี้ ทั้งด้านทรัพย์สินของกงสี และการบริหารจัดการบริษัทในเครือทั้ง 19 บริษัท พร้อมชะลอการบังคับตามคำพิพากษาออกไปก่อน

โดยย้ำว่า “วันนี้ความขัดแย้งเล็กน้อยในหมู่เครือญาติสินสุดลงแล้ว และถือว่าทุกฝ่ายวิน-วิน ไม่มีใครเสีย โดยทุกคนได้ในสิ่งที่ตนควรจะได้รับ การบริหารบริษัทหลังจากนี้ ไม่ปิดโอกาสที่นายสุรินทร์จะเข้ามาร่วมงานด้วย เพราะเรามองคนในครอบครัวก่อนอยู่แล้ว”

จากนี้ไปแต่ละธุรกิจในเครือจะเดินหน้าเต็มที่ ในฐานะธุรกิจครอบครัวโตทับเที่ยง พร้อมเดินหน้าล้างภาพความขัดแย้ง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยเฉพาะ อาหารกระป๋องตราปุ้มปุ้ย ที่ถือเป็นเรือธงของกลุ่มบริษัท



ปรับโครงสร้าง ระดมเจน 1-2 นั่งทีมบริหารปุ้มปุ้ย

ในส่วนของการบริหาร ปุ้มปุ้ย หลังจากนี้นั้น นายสุธรรม อธิบายว่า ขณะนี้ได้มีทีมบริหารใหม่เข้ารับช่วงต่อจากทีมเก่า ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยประกอบด้วยสมาชิกตระกูลโตทับเที่ยงทั้งเจน 1 และ 2 หรือพี่น้องและหลาน ๆ รวมกว่า 30 คน เข้ามารับหน้าที่ทั้งส่วนกำหนดนโยบายในฐานะกรรมการ และผู้บริหารงานโดยตรง มีตนเป็นประธานกรรมการ

โดยมีแนวทางที่จะมุ่งการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าใหม่ ขยายตลาดไปยังต่างประเทศ และหลังจากนี้จะดึงบุคลากรใหม่ ๆ เข้ามาเสริมทีมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หุ้นของบริษัทสามารถกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯได้อีกครั้ง

ย้อนชนวนเหตุขัดแย้ง

ความขัดแย้งนี้เริ่มจากปัญหาในการบริหารงาน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทกงสีของกลุ่มพี่น้อง และถือหุ้นในบริษัทผลิตภัณฑ์อาการ กว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือปุ้มปุ้ย โดยนายสุธรรม โตทับเที่ยง บุตรคนโตและพี่น้องรวม 9 คน อ้างว่า นายสุรินทร์ กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อพี่น้อง ด้วยการปลดพี่น้องในตระกูลทุกคนออกจากการเป็นกรรมการของ บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทกงสีของกลุ่มพี่น้อง และถือหุ้นในบริษัทผลิตภัณฑ์อาการ กว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือปุ้มปุ้ย


ระบุว่า การปลดดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมิชอบ เนื่องจากมีการปลอมรายงานการประชุมเพื่อแจ้งเท็จต่อนายทะเบียนพาณิชย์ รวมทั้งแต่งตั้งบุตรชายเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนอีกด้วย ซึ่งได้มีการฟ้องร้องต่อศาล และศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีทางแพ่งและอาญาแล้ว

ขณะเดียวกันนายสุรินทร์ได้สั่งปลดและเลิกจ้างพี่สาว, น้องสาว, น้องสะใภ้และหลาน ๆ ที่เป็นผู้บริหารเดิม ปรับเปลี่ยนลดตำแหน่งน้องสะใภ้และหลานอีกจำนวนหนึ่ง รวมไปถึงแก้ไขระเบียบข้อบังคับในเรื่องการกู้สหกรณ์ออมทรัพย์กว้างไพศาล ซึ่งทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย

ด้านนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจง โดยอ้างถึงปัญหาในการบริหารงาน และปัญหาธรรมาภิบาลในการบริหารของฝ่ายบริหารชุดเดิมที่สุ่มเสี่ยงจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่การทำธุรกรรมทางการค้าของบริษัท ทำให้คณะกรรมการบริษัท เสียงส่วนใหญ่จึงต้องมีมติให้หยุดธุรกรรมที่มีปัญหาทั้งหมดและมีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง

เรื่องดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นชนวนไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จนมีการยื่นคำร้องขอให้นายสุรินทร์เลิกใช้นามสกุลโตทับเที่ยง และเกิดการฟ้องร้องหมิ่นประมาทกลับ


ต่อมา นายสุธรรม โตทับเที่ยง บุตรคนโตและพี่น้องรวม 9 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง บุตรคนที่ 3 กับภรรยา, บุตรและบุคคลในตระกูลโตทับเที่ยง รวม 6 คน เป็นจำเลยที่ 1-6 ต่อศาลแพ่งธนบุรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ในคดีหมายเลขดำที่ พ.2264/2559 เรื่อง ขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัวที่ทำมาหากินร่วมกัน ซึ่งฝ่ายจำเลยถือแทนทายาทอื่น

อาณาจักรธุรกิจโตทับเที่ยง

โดยธุรกิจในตระกูลโตทับเที่ยงนั้น ประกอบด้วยบริษัทต่าง ๆ รวม 19 บริษัท ประกอบกิจการหลากหลาย ทั้ง ผลิตอาหารสำเร็จรูป ผลิตกระป๋อง โรงแรม ตลาด อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ม อาทิ บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทกงสีที่ถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ ในเครือ, บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด ( มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่าย ปลากระป๋อง ปุ้มปุ้ย

บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด มีโรงแรม 2 สาขา คือ โรงแรมธรรมรินทน์ และโรงแรมธรรมรินทน์ ธนา มีห้องพักรวม 400 ห้อง, บริษัท ตรังแคนเนอร์รี่ จำกัด เป็นซัพพลายเออร์ผลิตกระป๋องจำหน่ายให้กับโรงงานปุ้มปุ้ย, บริษัทตรังทราเวล จำกัด ทำธุรกิจท่องเที่ยว และบริษัทอื่น ๆ คือ บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัทกว้างไพศาลโฮลดิ้ง จำกัด และ

นอกจากนี้ยังมีบริษัทธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โครงการเอสวันเอวินิว, โครงการหมู่บ้านธนากาเดนส์, โครงการหมู่บ้านไทยทอง และอีกหลายโครงการ รวมถึงธุรกิจตลาดสดยิ่งดี สวนยางพาราและอื่น ๆ

10 พี่น้องโตทับเที่ยง

ในส่วนของเครือญาติพี่น้อง “โตทับเที่ยง” นั้นมี บิดาคือ นายโต๋ว ง่วน เตียง และ มารดาชื่อนางยิ่ง แซ่โต๋ว เป็นชาวจีนอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีบุตร ธิดารวมจำนวน 10 คน คือ

นายสุธรรม โตทับเที่ยง, นางสุพัตรา สินสุข (โตทับเที่ยง) เสียชีวิตแล้ว, นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง, นางจุรีย์ สัมพันธวรบุตร (โตทับเที่ยง), นายสวัสดิ์ โตทับเที่ยง เสียชีวิตแล้ว, นางจุฬา หวังศิริเลิศ (โตทับเที่ยง), นางเลอลักษณ์ หรือ จุรัตน์ มะนะสุทธิ์ (โตทับเที่ยง), นายสลิล โตทับเที่ยง, น.ส.สุนีย์ โตทับเที่ยง และ น.ส.สิริพร โตทับเที่ยง
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ศึกกงสี 'โตทับเที่ยง' ยืดเยื้อ ชิงอาณาจักรปุ้มปุ้ย
By สาวิตรี รินวงษ์29 เม.ย. 2565 เวลา 8:49 น.

มหากาพย์ความขัดแย้งกงสี "โตทับเที่ยง" เจ้าของอาณาจักร “ปุ้มปุ้ย” โรงแรม ที่ดินในกรุงเทพฯและจังหวัดตรัง ส่อเค้าขัดแย้งต่อ หลัง "สุธรรม" พี่คนโตตั้งโต๊ะสรุปผลคดี ทันทีที่จบงานแถลงข่าว "สุรินทร์" ออกแถลงการณ์ แจ้งข้อเท็จจริงอีกด้าน ระบุมีข้อมูลบางประการคลาดเคลื่อน

“สุธรรม” ผนึกน้อง-ทายาท “โตทับเที่ยง” เปิดใจแถลงสรุปผลคำพิพากษาศาลฎีกาธุรกิจครอบครัว หลังต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมนาน 6-7 ปี ย้ำไม่มีใครแพ้ ทุกคนชนะหมด พร้อมจัดทัพกลับเข้าไปบริหารอาณาจักร “ปุ้มปุ้ย” ด้าน “สุรินทร์” ออกโรงแจงข้อเท็จจริง ย้ำตนและครอบครัวยังถือหุ้นปุ้มปุ้ย ส่วนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังไม่ตกเป็นของกงสี ส่อร้าวฉานต่อ

ถือเป็นหนึ่งในมหากาพย์ความขัดแย้งของธุรกิจครอบครัวหรือกงสีตระกูล “โตทับเที่ยง” ที่มีอาณาจักรปลากระป๋องปุ้มปุ้ย ภายใต้บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) ธุรกิจโรงแรมในจังหวัดตรัง 2 แห่ง จำนวนห้องพักราว 400 ห้อง และที่ดินอีกหลายแปลงทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดตรัง

ทั้งนี้ ปมความขัดแย้งธุรกิจกงสีเกิดขึ้น และนำไปสู่การดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่งธนบุรี เมื่อพ.ย.ปี 2559 เมื่อ นายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวกรวม 9 คนโจทก์ กับ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ที่ 1 กับพวกนวม 6 คนจำเลย ข้อหา กรรมสิทธิ์ เรียกทรัพย์คืน ขอแบ่งทรัพย์(กงสี)

ตลอดเวลาระยะเวลา 6 ปีที่โจทก์และจำเลยได้ต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ล่าสุด คำพิพากษาศาลฎีกา ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้ง 6 คน ที่ถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัททั้ง 19 บริษัทไว้แทนกงสี ซึ่งบริษัทกงสีทั้ง 19 บริษัท โอนหุ้นในบริษัทให้ นายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวกรวม 9 คน ได้แก่ 1.นางสาวจุรี โตทับเที่ยง 2.นางจุฬา หวังศิริเลิศ 3.นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์ 4.นายสลิล โตทับเที่ยง 5.นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง 6.นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง 7.นายเสริมสันต์ สินสุข 8.นายไกรลาภ โตทับเที่ยง 9.นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง คนละ 1 ส่วน ใน 10 ส่วน ของหุ้นแต่ละบริษัท



ในส่วนของที่ดิน ยกคำขอที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ทั้ง 9 และจำเลยที่ 1 มาแบ่งกันคนละ 1 ใน 10 ส่วน หรือหุ้นทั้ง 19 บนริษัท ตลอดจนที่ดินสิ่งปลูกสร้าง เป็นกรรมสิทธิ์รวมของธุรกิจครอบครัวหรือกงสีตระกูลโตทับเที่ยง

นายสุธรรม โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) หรือปุ้มปุ้ย ในฐานะพี่คนโตของตระกูลโตทับเที่ยง พร้อมบรรดาน้องๆและทายาทเจนเนอเรชั่น 2 อีกราว 20 ชีวิต ตั้งโต๊ะแถลงข่าวสรุปผลคำพิพากษา

“ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีธุรกิจครอบครัวหรือกงสีโตทับเที่ยงแล้ว ไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ ทุกคนชนะหมด ด้วยความเป็นธรรมที่ได้รับมา ในสิ่งที่ตนเองควรจะได้ สิ่งไหนที่ไม่ใช่ย่อมไม่ได้ และความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย เป็นตามที่ปรากฎ”

นายสุธรรม เท้าความประวัติครอบครัวโตทับเที่ยง มีพี่น้องทั้งสิ้น 10 คน ส่วนการก่อร่างสร้างธุรกิจทำมาแล้วราว 50 ปี ขณะที่การปลุกปั้นบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาลกว่า 40 ปีที่แล้ว สร้างการเติบโต และขยายธุรกิจจนมี 19 บริษัทอยู่ภายใต้อาณาจักร

ระหว่างการสร้างธุรกิจ น้องแต่ละคนยังมีอายุน้อย เมื่อเติบโตจึงเข้ามาช่วยสืบสานกิจการครอบครัว ทั้งการวางรากฐานโรงงานปลากระป๋องปุ้มปุ้ยให้มีมาตรฐานด้านสาธารณสุข ดูแลการตลาด การเงิน บัญชี เป็นต้น

เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น ทำให้นายสุธรรม น้องๆ รวมถึงทายาท ไม่ได้บริหารธุรกิจครอบครัวเป็นเวลา 6-7 ปีที่ผ่านมา

เมื่อมีคำพิพากษาของศาล สิ่งที่เกิดขึ้นกับกิจการกงสีโตทับเที่ยง คือ เดือนส.ค.2564 คณะกรรมการบริหารชุดเดิมที่เป็นบุคคลสำคัญ ได้ลาออกทั้งหมด และคณะทำงานของนายสุธรรม ได้เข้าไปดำเนินการต่อตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย.2564

“ผมกลับเข้าไปกุมบังเหียนธุรกิจต่อในฐานะประธานกรรมการ ทั้งที่ควรเกษียณแล้ว เมื่อความจำเป็นบังคับ จึงต้องร่วมไม้ร่วมมือกันกับคนในครอบครัวเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการบริการหรือบอร์ด ซึ่งทุกคนล้วนมีความสามารถทั้งบริหารธุรกิจอาหาร โรงแรม ดูแลการเงิน บัญชี การตลาด”

นอกจากพี่น้องโตทับเที่ยงกลับเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว ยังมีทายาทอีกราว 20 ชีวิต กลับเข้ามาช่วยงานในฝ่ายต่างๆด้วย เช่น ไกรลาภ โตทับเที่ยง ดูฝ่ายโรงงาน สุวรรณี โตทับเที่ยง ดูฝ่ายจัดซื้อ ชุตมา โตทับเที่ยง ดูฝ่ายกิจการภายใน เป็นต้น

“ธุรกิจต้องเดินหน้าต่อ เรานำสิ่งที่ยุติลงวันนี้มาเป็นกำลังใจ เป็นแรงผลักดัน เพื่อมุ่งสู่จุดหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าปัจจุบัน”

สำหรับธุรกิจครอบครัวโตทับเที่ยง มี บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาลหรือปุ้ม เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งปี 2564 สร้างรายได้รวมกว่า 1,600 ล้านบาท มีกำไรสุทธิกว่า 33 ล้านบาท แม้บริษัทจะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ที่ผ่านมาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว(SP) ซึ่งขั้นตอนการปลดเครื่องหมายดังกล่าวเป็นหน้าที่ของตลาด ซึ่งบริษัทจะดำเนินตามขั้นตอนและระเบียบตลาดเพื่่อกลับไปเทรดให้เร็วที่สุด คาดเป็นปีหน้า ขณะที่ 30 เม.ย.นี้ บริษัทจะจัดการประชุมผู้ถือหุ้นผ่านระบบออนไลน์ เพื่อพิจารณางบการเงินปี 2564

ด้านนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความฝ่ายนายสุธรรมและพี่น้องโตทับเที่ยง กล่าวว่า นับจากศาลฎีกามีคำพิพากษา ขั้นตอนจากนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการยื่นขอบังคับคดีภายใน 30 วัน แต่ตนได้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ทั้ง 9 ว่าจะยังไม่ดำเนินการเรื่องดังกล่าว พร้อมแนะนำให้เชิญนายสุรินทร์ มาประชุม หารือกัน เพื่อรับฟังและระบายความขัดแย้งให้หมดไป มุ่งประคองบริษัทให้อยู่ได้ต่อไป

“นโยบายของธุรกิจครอบครัวคือการสืบสาน ต่อยอด คำนึงถึงธุรกิจทั้งหมด โดยจะไม่เพิ่มความขัดแย้งของแต่ละฝ่าย ดังนั้นการบังคับคดีจึงไว้ดำเนินการภายหลัง”

อย่างไรก็ตาม หลังการแถลงข่าวของนายสุธรรม น้องๆ รวมถึงทายาทโตทับเที่ยง ได้มีแถลงการณ์จากนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ออกมาทันที

ใจความระบุว่า จากการแถลงข่าวของนายสุธรรม โตทับเที่ยง กับพวก มีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง ทําให้ข้าพเจ้า(สุรินทร์ โตทับเที่ยง)กับครอบครัวได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง

ทั้งนี้ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมรับทราบข้อมูลอีกด้าน ดังนี้

1. คดีกรรมสิทธ์ิรวมหรือธุรกิจครอบครัวตระกูลโตทับเที่ยง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยพิพากษาให้กลุ่มข้าพเจ้าและกลุ่มนายสุธรรมฯ โอนหุ้นที่แต่ละคนถืออยู่ใน บริษัทต่าง ๆ จํานวน 19 บริษัท โดยนําหุ้นมารวมกันแล้วแบ่งหุ้นคนละ 1 ส่วนใน 10 ส่วน สาหรับบริษัท จำนวน 19 บริษัทน้ัน เกือบทั้งหมดปัจจุบัน ไม่ได้ประกอบการ จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตนและครอบครัว

2.ศาลฎีกาไม่ได้มีคำพิพากษาว่าหุ้นใน บมจ. ผลิตภณัฑ์อาหารกว้างไพศาล ที่ตนและครอบครัวมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น เป็นกงสีที่ต้องโอนคืนให้แก่นายสุธรรมฯ กับพวกที่เป็นโจทก์ ดังนั้น ตนและครอบครัวจึงยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท

3.สำหรับที่ดินตามฟ้องทั้งหมดในจังหวัดตรังและที่กรุงเทพมหานคร ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ยกคำขอที่นายสุธรรมฯ กับพวก ขอให้นายสุรินทร์ฯ กับพวก จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด และเมื่อศาลฎีกามีคาพิพากษายืนตามคาพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นผลให้ที่ดินตามฟ้องไม่ใช่ที่ดินกงสีที่นายสุธรรมฯกับพวกที่เป็นโจทก์จะใช้สิทธิอ้างความเป็นเจ้าของได้ ดังนั้นเนื้อหาจาการแถลงข่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามคําพิพากษาศาลฎีกา

ศึกกงสี 'โตทับเที่ยง' ยืดเยื้อ ชิงอาณาจักรปุ้มปุ้ย

4. จุดเริ่มต้นข้อพิพาทเกิดจากการที่ข้าพเจ้าและผู้บริหารบริษัทไม่ยินยอมให้บุคคลกลุ่มหน่ึง แสวงหาประโยชน์จากบมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ได้มีการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้บุคคลและนิติบุคคลที่ร่วมกันแสวงหาประโยชน์ดังกล่าวชดใช้เงินให้แก่บริษัท ซึ่งข้าพเจ้าและผู้ถือหุ้นยัคงติดตามว่าคณะกรรมการของบริษัทชุดปัจจุบัน จะรักษาผลประโยชน์ของบริษัท โดยดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาหรือไม่

5. ตลอดระยะเวลาที่มีข้อพิพาท แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นคุณกับข้าพเจ้าและครอบครัวหลายคดีข้าพเจ้าไม่เคยแถลงข่าวให้ร้ายบุคคลในสกุลโตทับเที่ยง ตลอดชีวิตการทำงานของข้าพเจ้า มีความตั้งใจ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นจังหวัดตรัง

“การให้ข่าวของข้าพเจ้าในคร้ังน้ีไม่ได้มุ่งประสงค์ที่จะตอบโต้นายสุธรรมฯ กับพวก แต่ต้องการให้สื่อมวลชนได้ทราบข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วน”
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 46

โพสต์

‘โตทับเที่ยง’ จัดทัพธุรกิจฟื้น ‘ปุ้มปุ้ย’ เรือธง
วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 - 12:20 น.

ตระกูล “โตทับเที่ยง” ก้าวข้ามขัดแย้งมุ่งฟื้นธุรกิจ ชูปุ้มปุ้ยเรือธง ยกทัพเจน 1-2 กว่า 30 ชีวิต คุมทั้งนโยบาย-บริหาร เดินหน้าทยอยส่งสินค้าใหม่ ขยายตลาดไทย-ต่างประเทศ เปิดแผนเข้มคุมต้นทุน-ตรึงราคารับมือวิกฤตต้นทุน

หลังข้อพิพาทมรดกธุรกิจตระกูลโตทับเที่ยง เจ้าของธุรกิจโรงแรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปลากระป๋องและอาหารสำเร็จรูปรายใหญ่ “ปุ้มปุ้ย” ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 ปี สิ้นสุดลง

โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ (25 เมษายน 2565) พิพากษาให้จําเลย คือ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง กับพวก แบ่งหุ้นทั้ง 19 บริษัทให้พี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยง ทั้ง 10 คน เท่า ๆ กัน ส่วนที่ดินให้โอนไปยังบริษัทกงสี

นายสุธรรม โตทับเที่ยง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจตระกูลโตทับเที่ยง อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล หรือปุ้มปุ้ย โรงแรมธรรมรินทร์ ตรังแคนเนอร์รี่ และอื่น ๆ เปิดเผยว่า หลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว ถือว่าความขัดแย้งในหมูเครือญาติตระกูลโตทับเที่ยงยุติลง

จากนี้ไปแต่ละธุรกิจในเครือจะเดินหน้าเต็มที่ ในฐานะธุรกิจครอบครัวโตทับเที่ยง พร้อมเดินหน้าล้างภาพความขัดแย้ง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

โดยเฉพาะอาหารกระป๋องตราปุ้มปุ้ย ที่ถือเป็นเรือธงของกลุ่มบริษัท โดยได้ส่งหนังสือเชิญ นายสุรินทร์ เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ หลังจากนี้ ทั้งด้านทรัพย์สินของกงสี และการบริหารจัดการบริษัทในเครือทั้ง 19 บริษัท

“วันนี้ความขัดแย้งเล็กน้อยในหมู่เครือญาติสิ้นสุดลงแล้ว และถือว่าทุกฝ่ายวิน-วิน ไม่มีใครเสีย โดยทุกคนได้ในสิ่งที่ตนควรจะได้รับ ซึ่งการบริหารบริษัทหลังจากนี้ ไม่ปิดโอกาสที่นายสุรินทร์ ในการที่จะเข้ามาร่วมงานด้วย เพราะเรามองคนในครอบครัวก่อนอยู่แล้ว”

นายสุธรรมกล่าวต่อไปว่า ในส่วนธุรกิจนั้น บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือปุ้มปุ้ย ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของเครือ ขณะนี้ได้มีทีมบริหารใหม่เข้ารับช่วงต่อจากทีมเก่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

โดยประกอบด้วย สมาชิกตระกูลโตทับเที่ยง ทั้งเจน 1 และ 2 หรือพี่น้องและหลาน ๆ รวมกว่า 30 คน เข้ามารับหน้าที่ทั้งส่วนกำหนดนโยบายในฐานะกรรมการ และผู้บริหารงานโดยตรง มีตนเป็นประธานกรรมการ

โดยมุ่งการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าใหม่ ขยายตลาดไปยังต่างประเทศ และหลังจากนี้จะดึงบุคลากรใหม่ ๆ เข้ามาเสริมทีมรวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หุ้นของบริษัทสามารถกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯได้อีกครั้ง


ด้านนางสาวปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารกระป๋องตราปุ้มปุ้ย กล่าวถึงทิศทางของธุรกิจในปีนี้ว่า ในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เริ่มมีทีมบริหารใหม่เข้ามารับหน้าที่

และเริ่มวางแผนการดำเนินงาน ในปี 2565 บริษัทจะเดินหน้าเต็มที่ในทุกด้าน ทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ให้ครอบคลุมความต้องการในตลาด ต่อยอดจากจุดแข็งของบริษัทที่มีเมนูหลากหลาย ทั้งหอยลาย ปลาราดพริก ฯลฯ แตกต่างจากคู่แข่งที่มักมีเพียงปลาในซอสมะเขือเทศ

เช่นเดียวกับการทำการตลาดที่จะคึกคักมากขึ้น รวมไปถึงรุกตลาดต่างประเทศ เช่น จีน จากเดิมที่มีการทำตลาดในบางประเทศของเอเชียแล้ว


พร้อมทั้งเข้มงวดการบริหารจัดการต้นทุนให้มากขึ้น รับมือราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้นต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตรึงราคาต่อไปได้ รวมทั้งมีแผนจะเปิดตัวสินค้าใหม่ต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ในงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ไทยเฟ็กซ์ 2022 ที่จะจัดปลายเดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 47

โพสต์

“ปุ้มปุ้ย” จัดทัพบริหาร ดึงมืออาชีพบุกตลาดเชิงรุก
26/05/2022 19:00

“ปุ้มปุ้ย” ยกเครื่องจัดทัพทีมผู้บริหารและทีมงานมืออาชีพ ลุยทำการตลาดแบบเชิงรุก มุ่งขยายตลาด ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ สร้างฐานลูกค้า ตั้งเป้าหมายกลับมาส่งต่อความอร่อยและสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้นในทุกมื้ออาหาร



บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล หรือ ปุ้มปุ้ย เผยถึงทิศทางในการดำเนินงาน หลังจากมีการปรับโครงสร้างองค์กร จัดทีมผู้บริหารและทีมงานมืออาชีพเข้ามาบริหารงานตั้งแต่เดือนพ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ด้วยกลยุทธ์ทำการตลาดเชิงรุก โดยมุ่งขยายตลาด ทั้งพื้นที่และช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า เตรียมปรับโฉม ‘ปุ้มปุ้ย’ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

นางปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ปุ้มปุ้ย กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สินค้าของ ‘ปุ้มปุ้ย’ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนที่อยู่บ้านมากขึ้น ทั้ง Work From Home และการรักษาตัวโ Home Isolation ทำให้สินค้าประเภทอาหารปรุงรสและอาหารพร้อมทานของ ‘ปุ้มปุ้ย’ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ซึ่งตอบโจทย์ความสะดวกในการจัดเตรียมอาหาร และความง่ายทำอาหารหรือรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ

ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เห็นจากตรงนี้ ‘ปุ้มปุ้ย’ เลยเร่งเดินหน้ารุกตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยได้นำสินค้าเข้าไปจัดจำหน่ายบนอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม ซึ่งตอนนี้มีที่ JD Central, Lazada, Shopee และบนช่องทางของ ‘ปุ้มปุ้ย’ เอง ผ่านทาง Facebook Pumpuibrand และ LINE Official Account เพื่อตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

“ซึ่งหลังจัดจำหน่าย ก็พบว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ยอดขายบนช่องทางออนไลน์หรืออี-คอมเมิร์ซเติบโตกว่า 70%” นางปวิตา กล่าว

เธอกล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกัน บนช่องทางขายหลักทั้งกลุ่มร้านค้าแบบดั้งเดิมและร้านค้าสมัยใหม่ก็ยังให้ความสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันยังเป็นช่องทางที่สร้างยอดขายหลักให้กับบริษัท ด้วยสัดส่วน 50:50 เน้นการจัดกิจกรรมและโปรโมชั่น On-Site แบบต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า



“สำหรับอีกหนึ่งช่องทางการจัดจำหน่ายที่จะมุ่งเน้นเชิงรุกมากขึ้น ได้แก่ ช่องทางตลาดต่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขายในต่างประเทศเป็น 20% ของยอดขายภาพรวมของบริษัท อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้ามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในปี 2565 นี้ จึงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มยอดขายในกลุ่มตลาดดังกล่าวนี้ ด้วยการขยายพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจในพื้นที่ต่างประเทศ” นางปวิตา กล่าว

นางปวิตา กล่าวอีกว่า โดยมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นในปีนี้ เป็น Showcase ของ ‘ปุ้มปุ้ย’ ในงาน THAIFEX Anuga-Asia 2022 ที่จัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 พฤษภาคม 2565 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ด้วยความตั้งใจที่จะให้เป็นพื้นที่เปิดโอกาสในการติดต่อกับคู้ค้าใหม่และคู่ค้าปัจจุบัน มุ่งเน้นความหลากหลายของสินค้าพร้อมทาน ปลากระป๋อง-หอยลายกระป๋อง-น้ำแกงพร้อมปรุง

เธอย้ำว่า ภาพลักษณ์ใหม่ของปุ้มปุ้ย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “POP-ART Museum : Full of Flavor, Full of Joy” สีสันสดใส อร่อยครบรส จัดจ้านในรสชาติอาหาร ตอกย้ำตัวจริงเรื่องรสชาติที่เป็นจุดแข็งของปุ้มปุ้ยมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี

นางปวิตา กล่าว่า การปรับภาพลักษณ์ของ ‘ปุ้มปุ้ย’ ให้กลับมามีสีสัน ดูทันสมัยมากขึ้น เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ เน้นไปที่กลุ่ม Gen Y-Z เพื่อสร้างการรู้จักและได้ลองทานสินค้าของ ‘ปุ้มปุ้ย’ ผ่านสินค้าที่เป็น Hero Product ได้แก่ ปลาราดพริก ปลาทอด หอยลายปรุงรส และปลาในซอสมะเขือเทศ โดยจะใช้วิธีการสื่อสารผ่านช่องทาง Social Media ในทุกแพลตฟอร์ม เข้าถึงและสร้างความใกล้ชิดระหว่างลูกค้ากับ ‘ปุ้มปุ้ย’ ได้

สำหรับเป้าหมายของธุรกิจหลังจากนี้ นางปวิตา กล่าวว่า ในเส้นทางต่อไปของ ‘ปุ้มปุ้ย’ จะเป็นการก้าวเดินด้วยก้าวที่ใหญ่ขึ้น ‘ปุ้มปุ้ย’ จะต้องกลับมามีสีสันในตลาดอีกครั้ง ด้วยภาพลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ที่ตั้งใจจะปรับโฉมให้ดูทันสมัยและสนุกสนาน ด้วยเป้าหมายที่อยากจะสร้างความสุขและความสนุกให้กับทุกมื้ออาหาร ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่ต้องการส่งต่ออาหารอร่ยให้กับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดรอยยิ้มไปอย่างกว้างไพศาล

“เป้าหมายของ ‘ปุ้มปุ้ย’ ไม่ได้คิดแค่เพียงการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว การกลับมาครั้งนี้ เราอยากเป็นแบรนด์ที่เป็นมากกว่าการขายอาหาร ไม่ได้เป็นแค่ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อทานแล้วจบ แต่ผู้บริโภคต้องอยากซื้อสินค้าของเรา เพราะได้รับถึงความรู้สึกพิเศษในการทานสินค้าของเรา นี่คือโจทย์ใหม่ของเราที่ค่อนข้างท้าทาย แต่เรามั่นใจมาก เพราะจุดแข็งของปุ้มปุ้ยคือคุณภาพของสินค้า และทีม R&D ของเรามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสินค้า เมื่อ 2 จุดแข็งนี้มารวมกัน เชื่อว่า เราจะสามารถส่งมอบสินค้าที่สร้างรอยยิ้มให้กับทุกมื้อของผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน” นางปวิตา กล่าวทิ้งท้าย
แก้ไขล่าสุดโดย pakapong_u เมื่อ พฤหัสฯ. พ.ค. 26, 2022 8:12 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 48

โพสต์

POMPUI พลิกภาพลักษณ์ "ปุ้มปุ้ย" สร้างสีสันเพิ่มฐาน Gen Y-Z รุกหนักออนไลน์


ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday May 26, 2022 16:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล (POMPUI) กล่าวว่า บริษัทวางแผนปรับภาพลักษณ์สินค้า ?ปุ้มปุ้ย? ให้มีสีสันดูทันสมัยมากขึ้นเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ เน้นกลุ่ม Gen Y-Z เพื่อสร้างการรับรู้และลองทานสินค้าของ ?ปุ้มปุ้ย? โดยมีสินค้า Hero Product ได้แก่ ปลาราดพริก ปลาทอด หอยลายปรุงรส และปลาในซอสมะเขือเทศ



บริษัมจะใช้วิธีการสื่อสารผ่านช่องทาง Social Media ในทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Tiktok, Youtube และ LINE Official Account ซึ่งการหันมามุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการบนช่องทางออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางตรงกับลูกค้าของ ?ปุ้มปุ้ย? ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงและสร้างความใกล้ชิดระหว่างลูกค้ากับ ?ปุ้มปุ้ย? ได้

สำหรับเป้าหมายของธุรกิจหลังจากนี้ นางปวิตา กล่าวว่า ในเส้นทางต่อไปของ ?ปุ้มปุ้ย? จะเป็นการก้าวเดินด้วยก้าวที่ใหญ่ขึ้น ?ปุ้มปุ้ย? จะต้องกลับมามีสีสันในตลาดอีกครั้ง ด้วยภาพลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ที่ตั้งใจจะปรับโฉมให้ดูทันสมัยและสนุกสนาน ด้วยเป้าหมายที่อยากจะสร้างความสุขและความสนุกให้กับทุกมื้ออาหาร ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่ต้องการส่งต่ออาหารอร่ยให้กับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดรอยยิ้มไปอย่างกว้างไพศาล

"เป้าหมายของ ?ปุ้มปุ้ย? ไม่ได้คิดแค่เพียงการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว การกลับมาครั้งนี้ เราอยากเป็นแบรนด์ที่เป็นมากกว่าการขายอาหาร ไม่ได้เป็นแค่ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อทานแล้วจบ แต่ผู้บริโภคต้องอยากซื้อสินค้าของเรา เพราะได้รับถึงความรู้สึกพิเศษในการทานสินค้าของเรา นี่คือโจทย์ใหม่ของเราที่ค่อนข้างท้าทาย แต่เรามั่นใจมาก เพราะจุดแข็งของปุ้มปุ้ยคือคุณภาพของสินค้า และทีม R&D ของเรามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสินค้า เมื่อ 2 จุดแข็งนี้มารวมกัน เชื่อว่า เราจะสามารถส่งมอบสินค้าที่สร้างรอยยิ้มให้กับทุกมื้อของผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน" นางปวิตา กล่าว
นางปวิตา กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันสินค้าของ ?ปุ้มปุ้ย? เข้ามามีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนที่อยู่บ้านมากขึ้น ทั้งในแง่ของการ Work From Home และการรักษาตัวโดยวิธีการ Home Isolation รวมไปถึงการกักตัวของผู้ที่มีความเสี่ยง ทำให้สินค้าประเภทอาหารปรุงรสและอาหารพร้อมทานของ ?ปุ้มปุ้ย? เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เนื่องจากตอบโจทย์เรื่องของความสะดวกในการจัดเตรียมอาหาร และความง่ายในการนำสินค้ามาทำอาหารหรือรับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ



ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เห็นจากตรงนี้ ?ปุ้มปุ้ย? เลยเร่งเดินหน้ารุกตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยได้นำสินค้าเข้าไปจัดจำหน่ายบนอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม ซึ่งตอนนี้มีที่ JD Central, Lazada, Shopee และบนช่องทางของ ?ปุ้มปุ้ย? เอง ผ่านทาง Facebook Pumpuibrand และ LINE Official Account เพื่อตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

"หลังจัดจำหน่ายก็พบว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ยอดขายบนช่องทางออนไลน์หรืออี-คอมเมิร์ซเติบโตกว่า 70%" นางปวิตา กล่าว
ขณะเดียวกัน บนช่องทางขายหลักทั้งกลุ่มร้านค้าแบบดั้งเดิมและร้านค้าสมัยใหม่ก็ยังให้ความสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันยังเป็นช่องทางที่สร้างยอดขายหลักให้กับบริษัท ด้วยสัดส่วน 50:50 เน้นการจัดกิจกรรมและโปรโมชั่น On-Site แบบต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

สำหรับอีกหนึ่งช่องทางการจัดจำหน่ายที่จะมุ่งเน้นเชิงรุกมากขึ้น ได้แก่ ช่องทางตลาดต่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขายในต่างประเทศเป็น 20% ของยอดขายภาพรวมของบริษัท อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้ามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในปี 65 จึงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มยอดขายในกลุ่มตลาดดังกล่าวนี้ ด้วยการขยายพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจในพื้นที่ต่างประเทศ

นางปวิตา กล่าวอีกว่า โดยมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นในปีนี้ เป็น Showcase ของ ?ปุ้มปุ้ย? ในงาน THAIFEX Anuga-Asia 2022 ที่จัดขึ้นในวันที่ 24 ? 28 พฤษภาคม 2565 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ด้วยความตั้งใจที่จะให้เป็นพื้นที่เปิดโอกาสในการติดต่อกับคู้ค้าใหม่และคู่ค้าปัจจุบัน มุ่งเน้นความหลากหลายของสินค้าพร้อมทาน ปลากระป๋อง-หอยลายกระป๋อง-น้ำแกงพร้อมปรุง

ขณะเดียวกันปุ้มปุ้ยขอเป็นพลังส่วนหนึ่งในการมุ่งมั่นผลักดันอาหารไทยสู่ตลาดโลก และนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของปุ้มปุ้ย ภายใต้คอนเซ็ปต์ "POP-ART Museum : Full of Flavor, Full of Joy" สีสันสดใส อร่อยครบรส เพื่อแสดงถึงความจัดจ้านในรสชาติอาหารของผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ปุ้มปุ้ย ตอกย้ำความเป็นตัวจริงเรื่องรสชาติที่เป็นจุดแข็งของปุ้มปุ้ยมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี

พร้อมจักกิจกรรมพิเศษภายในงานร่วมกับ "เชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร" ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุดิบและการปรุงรส ที่จะมาสร้างสรรค์อาหารของปุ้มปุ้ยออกมาเป็นเมนูพิเศษทั้ง 9 เมนู สไตล์โอมากาเสะให้อร่อย ผ่านเซ็ตอาหาร "Pumpui?s RawMat Box" นำเสนอแนวคิดของการทำอาหารที่มีวัตถุดิบตั้งต้นที่ดีและมีรสชาติที่อร่อยของผลิตภัณฑ์ปุ้มปุ้ย มาต่อยอดไอเดีย เพื่อทำเป็นเมนูอาหารที่มีความหลากหลายขึ้น สร้างความสนุกและความอร่อยให้เกิดขึ้นกับมื้ออาหารในแต่ละมื้อของผู้บริโภค

"และไฮไลท์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค. นี้ เชฟพฤกษ์ จะมาลงมือสาธิตการทำอาหารชุด "Pumpui?s RawMat Box" ให้ผู้ที่มาร่วมงานทุกท่านได้รับชม ในรูปแบบสนามประลองการทำอาหารที่มีเวลาจำกัดเพียง 20 นาทีเท่านั้น โดยกิจกรรมจะมี 2 รอบเวลาคือ 15.00 น. และ 17.00 น."
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: POMPUI

โพสต์ที่ 49

โพสต์

แบบสรุปผลการดำเนินงาน (F45)
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)

(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
ไตรมาสที่ 1
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ปี 2565 2564
กำไร (ขาดทุน) (8,209) 17,068
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นข
องบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (0.0164) 0.0341
ต่อหุ้น (บาท)


ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน (แก้ไข)
ไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต/เรื่องอื่น

หมายเหตุ

*สำหรับงบการเงินรวม

โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสินใจลงทุน

"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"

ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง )
ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ