ปี 1989 การเมืองและการปกครองของสหภาพโซเวียตรัสเซียกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเนื่องมาจากการ “ปฏิรูปการปกครอง” ของประธานาธิบดีโกบาช้อบที่เน้นเรื่องของ “ความโปร่งใสและการเป็นประชาธิปไตย” แทนที่จะเป็นเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์เดิม
ในส่วนของประชาชนเองนั้น ได้มีการจัดคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ที่กรุงมอสโควคือ “Moscow Music Peace Festival” หรือ “เทศกาลดนตรีเพื่อสันติภาพแห่งมอสโคว” ซึ่งในงานนั้นวงดนตรีของเยอรมันคือ The Scorpions ได้รับเชิญจากโกบาช้อบให้มาร่วมแสดงด้วยและก็เป็นครั้งแรกที่วงดนตรีจากเยอรมันได้มาแสดงที่รัสเซียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เพลงที่แสดงในครั้งนั้นเพลงหนึ่งคือ “Wind of Change” ซึ่งพรรณนาถึงบรรยากาศของมอสโควที่กำลังอบอวนไปด้วยความฝันและเสรีภาพของคนรุ่นใหม่ที่จะได้อยู่ในโลกแห่งความรุ่งโรจน์ในอนาคตที่กำลังมาถึง มันเหมือนสายลมในค่ำคืนฤดูร้อนที่พัดโบกผ่านอดีตกาลสู่อนาคตที่แสนมหัศจรรย์ที่ซึ่งโลกจะมีสันติภาพและเสรีภาพและคนใกล้ชิดกันดุจพี่น้อง
และนี่ก็คือ “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ที่ได้ “พัดผ่านไปสู่เยอรมันตะวันออก” เป็นที่แรกเมื่อกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงในอีก 3 เดือนต่อมา ไม่ต้องพูดถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในอีก 2 ปี พร้อม ๆ กับการล่มสลายของรัฐเผด็จการในยุโรปตะวันออกเกือบทั้งหมด และรวมไปถึงระบบ Apartheid ที่ให้อำนาจคนขาวเป็นใหญ่ในอาฟริกาใต้ที่ต้องล้มลงในปี 1994
เพลง Wind of Change กลายเป็น “เพลงชาติ” ของการสิ้นสุดของสงครามเย็นระหว่างโลกเสรีกับโลกสังคมนิยม บางคนโดยเฉพาะที่เป็นชาวเยอรมันบอกว่า Wind of Change เป็น “เพลงแห่งศตวรรษ” เพราะมันปลดปล่อยเยอรมันตะวันออกให้กลับมาอยู่กับตะวันตกในโลกเสรีโดยไม่ต้องมีสงคราม
ไม่ว่าจะเป็นอะไร คำว่า Wind of Change มีความหมายถึงกระแสของความคิดหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะทางการเมืองที่คนไม่คิดว่าจะเปลี่ยนได้ ใครจะไปคิดว่ากำแพงเบอร์ลินที่แข็งแกร่งและไม่มีใครสามารถจะหลุดรอดไปได้จะพังทลายในชั่วข้ามคืนโดยไม่ต้องใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มแม้แต่นัดเดียว แต่เกิดขึ้นเพราะคนเยอรมันตะวันออกเปลี่ยนความคิดว่า กำแพงไม่ควรจะมีอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับระบบการปกครองที่ประชาชนไม่ต้องการแล้ว
เหตุการณ์และปรากฎการณ์ทางการเมืองในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาของประเทศไทยนั้น ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องและ “รุนแรงมาก” ไม่ใช่เป็นความรุนแรงทางกายภาพประเภทเลือดตกยางออก แต่เป็นการเปลี่ยนแปลง “ภายในจิตใจ” ที่ลึกซึ้งอานิสงค์จากการแพร่กระจายของข่าวสารข้อมูลที่มีไม่จำกัดและไม่มีใครสามารถขัดขวางหรือกีดกันได้อีกต่อไป เช่นเดียวกับการที่คนไม่เห็นหรือไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงวันที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูกแสดงออกผ่านการกระทำบางอย่างรวมถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ “การเลือกตั้ง” ที่อาจจะกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อไม่นานมานี้ เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชนกำลังเปลี่ยนไป โดยที่พวกเขาต้องการเลือกคนที่เป็นตัวแทนความคิดของตนเอง และไม่ได้เลือกคนที่จะมาเป็น “นาย” หรือคนที่จะมาช่วยเหลืออนุเคราะห์เวลาที่ตนเองมีปัญหา พูดง่าย ๆ เลือกคนที่จะเข้ามาบริหารประเทศที่มีความสามารถและอุดมการณ์ตรงกับตนเองซึ่งก็เป็นแนวทางที่มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น จากพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ “ขวาหรือซ้าย” เป็นแนวเผด็จการอำนาจนิยมหรือแนวเสรีนิยมประชาธิปไตย เป็นต้น แทนที่จะเลือกบุคคลที่ตนเองชื่นชอบหรือคนที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างในอดีต
การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นั้น สัญญาณทุกอย่างดูเหมือนจะคล้ายกับการเลือกตั้งผู้ว่ามากเพียงแต่ว่าเป็นระดับทั้งประเทศ ซึ่งก็อาจจะทำให้คนคิดว่าในต่างจังหวัดประชาชนอาจจะคิดไม่เหมือนกัน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่อาจจะยังเลือกตัวบุคคลประเภท “บ้านใหญ่” มากกว่าจะคิดถึงเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง ดังนั้น เรื่องของการชนะแบบ “แลนด์สไลด์” อย่างที่เลือกผู้ว่าคงไม่เกิดขึ้น
แต่นั่นอาจจะเป็นความคิดทางการเมือง “รุ่นเก่า” แม้ว่าจะเพิ่งผ่านมาไม่กี่ปี ขณะนี้เราอาจจะอยู่ในสถานการณ์ “Wind of Change” ที่การเมืองไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คนกำลังเลือกผู้แทนที่มีอุดมการณ์ที่ตนเองชอบหรือต้องการมากกว่าการเลือกคน “บ้านใหญ่” และผลโพลที่มีการสำรวจจนถึงประมาณ 1 เดือนก่อนเลือกตั้งบอกว่าคนไทยกำลังสนใจหรือเลือกพรรคที่มีอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยมากกว่าอนุรักษ์นิยมอย่างมาก และตัวเลขที่ผมเห็นนั้น จะทำให้จำนวน ส.ส. ของ “ฝ่ายประชาธิปไตย” มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมากจนสามารถตั้งรัฐบาลได้อย่างเด็ดขาด ลองมาวิเคราะห์ผลจากโพลดู
สมมุติว่าพรรคแรกได้คะแนนเสียงพรรคทั่วประเทศตามโพลคือได้ 45% พรรคอันดับสองของฝ่ายเสรีประชาธิปไตยได้ 25% ก็แสดงว่าฝ่าย “ซ้าย” จะมี ส.ส. บัญชีรายชื่อ 70 คน “ฝ่ายขวา” จะได้ส.ส. ไม่เกิน 30 คน ในขณะที่ ส.ส. เขต ตามโพลก็ออกมาแบบเดียวกันคือ 45% และ 25% ตามลำดับ ในขณะที่พรรคฝ่ายอนุรักษนิยมที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดจากโพลคือ 12% สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะแตกต่างกับปาร์ตี้ลิสต์ เพราะในการแข่งขันระดับเขตนั้น เฉพาะคนที่ได้คะแนนสูงสุดในเขตเท่านั้นที่จะได้เป็น ส.ส. คนที่ได้คะแนนอันดับสองจะไม่ได้อะไรเลย เป็นคะแนน “ตกน้ำ”
ดังนั้น ถ้าทุกเขตทั่วประเทศ 400 เขต ได้คะแนนในอัตราส่วนเท่ากันทั้งประเทศ พรรคฝ่ายซ้ายอันดับ 1 ที่มีคะแนน 45% ก็จะได้ ส.ส.ไปทั้งหมด 400 คน กลายเป็นแลนด์สไลด์ได้ ส.ส. 445 คน จาก 500 คน แต่ความเป็นจริงนั้น แต่ละเขตก็มีผู้สมัครที่เป็น “บ้านใหญ่” มีคะแนนนิยมส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับพรรค ทำให้เขตนั้นเขาอาจจะได้คะแนนสูงอาจจะเกิน 50% ของคะแนนทั้งหมดในเขตและเป็นผู้ชนะได้เป็น ส.ส. แม้ว่าคะแนนที่ได้จากชื่อพรรคจะมีน้อยกว่าหรือน้อยมากก็ได้
สมมุติว่าพรรคอันดับหนึ่งนั้น มีบางเขตที่คะแนนเสียงไม่ดีได้ไม่ถึงค่าเฉลี่ยที่ 45% อาจจะได้แค่ 30% ซึ่งอาจจะมาจากคะแนนพรรคเป็นหลักแต่คะแนนส่วนตัวแทบไม่มีเลย พรรคอันดับ 2 ได้คะแนน 35% โดยมาจากคะแนนพรรค 25% และคะแนนส่วนตัวอีก 10% ผลก็คือ เขตนี้พรรคอันดับ 2 ก็จะชนะพรรคอันดับ 1 ได้เป็น ส.ส.
เช่นเดียวกัน พรรคอันดับ 3 ถึงประมาณ 5 หรือต่ำกว่านั้นก็มีสิทธิที่จะได้ ส.ส. แม้ว่าคะแนนเสียงจากพรรคจะมีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม พรรคอันดับ 3 นั้น โอกาสก็ยังมีอยู่บ้างเนื่องจากคนเชื่อว่าเป็นตัวแทนของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่คนรุ่นเก่าและคนในบางภาคเช่น ภาคใต้ จำนวนมากยังเชื่อมั่นและยอมรับอยู่
ลองมาสมมุติต่อว่า ตัวเลขที่พรรคอันดับ 1- 5 จะได้ ส.ส. เขต คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของส.ส.เขตทั้งหมดเท่าไร อิงจากโพลตัวเลขคะแนนรวมของทุกเขตหรือทั้งประเทศ โดยอัตราส่วนแบบ “กำปั้นทุบดิน” ของผมก็คือ อันดับ 1 จะได้ ส.ส. เขต 60% ของส.ส.เขตทั้งหมด 400 คน อันดับ 2 ได้ 15% อันดับ 3 ได้ 10% อันดับ 4 และ 5 ได้พรรคละ 5% ก็จะพบว่า พรรคอันดับ 1 จะได้ ส.ส.เขต 240 คน อันดับ 2 ได้ 60 คน อันดับ 3 ได้ 40 คน อันดับ 4 และ 5 ได้พรรคละ 20 คน
และเมื่อรวมกับส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมดของแต่ละพรรคก็จะพบว่า พรรคอันดับ 1 น่าจะได้ส.ส.ทั้งหมด 285 คน เป็น “แลนด์สไลด์” อันดับ 2 ได้ประมาณ 85 คน อันดับ 3 ได้ 51 คน อันดับ 4 ได้ 25 คน อันดับ 5 ได้ 23 คน รวมแล้ว 469 คน ที่เหลืออีก 31 คนกระจายไปอยู่ในพรรคเล็กพรรคน้อยที่น่าจะมีส.ส. พรรคละไม่เกิน 5 คน
ประเทศไทยจะเปลี่ยนเป็นรัฐบาล “ฝ่ายซ้าย” อ่อน ๆ และสภาจะประกอบไปด้วยพรรคใหญ่ไม่เกิน 3 พรรคที่มี ส.ส. เกิน 50 คน และทั้งหมดนี้ก็เป็นการประเมินตัวเลข ส.ส. จากโพลที่ “ยังไม่นิ่ง” แต่ภาพใหญ่ก็คงจะไม่เปลี่ยน ผมไม่รับประกันความถูกต้อง และไม่ซีเรียส เรียกว่าเป็นการ “เล่นสนุก” เหมือนการทายผลผู้แพ้-ชนะในมหกรรมฟุตบอลโลกมากกว่า
Wind of Change : ประเทศไทยซ้ายหัน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
Wind of Change : ประเทศไทยซ้ายหัน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: Wind of Change : ประเทศไทยซ้ายหัน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
FM 96.5 | รู้ใช้เข้าใจเงิน | Wind of Change : ประเทศไทยซ้ายหัน | 24 เม.ย. 66
คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://www.youtube.com/watch?v=6I97cZBnPZM&t=1640s
คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://www.youtube.com/watch?v=6I97cZBnPZM&t=1640s
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
Re: Wind of Change : ประเทศไทยซ้ายหัน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
The South African economy after Nelson Mandela is deteriorating (this can be observed by weaker currency exchange rate) as the Native leader (especially Zuma) from the ANC corrupts and do not know how to manage the country like the Afikaners leader (Strijdom, Verwoerd, Botha, de Klerk, etc.) do before because they are less educated than the Whites.
The country is now full of crimes.
The country is now full of crimes.