มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 1
ผมว่าลองมาคุยกันบ้างดีกว่า ว่ามาตรการแบงก์ชาติ กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นในตลาดตอนนี้
มีตัวไหนเปลี่ยนแปลงมั่งครับ และทำไม ???
ใครมองตัวไหน ก็ว่ามาได้เลยครับ เปลี่ยนหรือไม่ เพราะอะไร โอกาสซื้อ หรือ ขาย ....
มีตัวไหนเปลี่ยนแปลงมั่งครับ และทำไม ???
ใครมองตัวไหน ก็ว่ามาได้เลยครับ เปลี่ยนหรือไม่ เพราะอะไร โอกาสซื้อ หรือ ขาย ....
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จ
โพสต์ที่ 2
ผมไม่ใช่ VI แต่ก็อยากรู้เหมือนกัน ว่านโยบายแบงก์ชาติ ทำให้การคำนวน มูลค่าที่แท้จริงเปลี่ยนไปยังไงมั่งคัดท้าย เขียน:ผมว่าลองมาคุยกันบ้างดีกว่า ว่ามาตรการแบงก์ชาติ กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นในตลาดตอนนี้
มีตัวไหนเปลี่ยนแปลงมั่งครับ และทำไม ???
ใครมองตัวไหน ก็ว่ามาได้เลยครับ เปลี่ยนหรือไม่ เพราะอะไร โอกาสซื้อ หรือ ขาย ....
VI ท่านไหนมีความรู้ช่วยคำนวนสูตร ที่ Relate กันให้ด้วยครับ ว่าเครดิตเรตติ้งของ ตปท กับมูลค่าที่แท้จริงมันเข้าสูตรกันยังไงบ้าง ?
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 4
วันก่อนผมอ่าน ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 21-24 ธันวาคม หน้า 40beammy เขียน:ผมเปิดประเด็นให้พี่ yoyo ดีกว่า
AIT นั้น มูลค่าที่แท้จริงน่าจะไม่เปลี่ยนแปลง นะครับ (หรือป่าวหว่า ???)
แต่ราคาสิ เปลี่ยนแปลงครับ ...
เค้าบอกว่า MFEC ปรับแผน เลิกบุกตลาดภาครัฐ เน้นไปที่สื่อสาร กับ แบงก์ แทน สรุปคือ เค้ามองภาครัฐไม่สดใส
อันนี้ ถือว่า เป็น + หรือ - กับ AIT ครับ
เอเกี่ยวมั้ยเนี่ย เพราะมันไม่เกี่ยวกับนโยบาย 30% แบงก์ชาติเลย แป่ว :lol:
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 5
อสังหานี่มีข่าวว่าจะได้รับการผ่อนผันเหมือนตลาดหุ้นครับ แต่ผมไม่ทราบรายละเอียดและข้อเท็จจริงEto Demerzel เขียน:
1. อสังหาริมทรัพย์ -- เงินที่จะเข้ามาซื้อ
อสังหาไทยจากต่างชาติ คงจะหดลงเยอะ
เพราะต่างชาติเงินใหญ่ บ้านเราอสังหา
ราคาถูกมาก เทียบกับต่างประเทศ
ใครทราบบอกทีครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 6
ต้นทุนทางการเงินน่าจะสูงขึ้น จากปริมาณเงินที่น้อยลง กระทบทุกบริษัท
ราคาหุ้นน่าจะมีค่าลดลงกว่าเดิม เพราะมีความเสี่ยงจากกฏระเบียบรัฐที่ไม่สามารถคาดแนวทางได้
ถ้าค่าเงินยังอยู่ในภาวะผันผวนแรงแบบนี้ 1 บาทในสองวัน กิจกรรมทางส่งออกนำเข้าน่าจะลดลง เพราะไม่สามารถกำหนดราคาซื้อขายกันได้
ราคาหุ้นน่าจะมีค่าลดลงกว่าเดิม เพราะมีความเสี่ยงจากกฏระเบียบรัฐที่ไม่สามารถคาดแนวทางได้
ถ้าค่าเงินยังอยู่ในภาวะผันผวนแรงแบบนี้ 1 บาทในสองวัน กิจกรรมทางส่งออกนำเข้าน่าจะลดลง เพราะไม่สามารถกำหนดราคาซื้อขายกันได้
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 7
Boring Stock Lover เขียน:ต้นทุนทางการเงินน่าจะสูงขึ้น จากปริมาณเงินที่น้อยลง กระทบทุกบริษัท
ราคาหุ้นน่าจะมีค่าลดลงกว่าเดิม เพราะมีความเสี่ยงจากกฏระเบียบรัฐที่ไม่สามารถคาดแนวทางได้
ถ้าค่าเงินยังอยู่ในภาวะผันผวนแรงแบบนี้ 1 บาทในสองวัน กิจกรรมทางส่งออกนำเข้าน่าจะลดลง เพราะไม่สามารถกำหนดราคาซื้อขายกันได้
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000156039
สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ยังเรียกร้องรัฐบาลดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงอีก โดยต้องการเห็นค่าเงินบาทอยู่ที่ 38-39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเสนอรัฐลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อลดผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า ขณะที่ยอดการส่งออกอัญมณีตลอดปี 2549 คาดว่าจะส่งออกได้ตามเป้าหมาย 150,000 ล้านบาท
นางประพีร์ สรไกรกิตติกูล อุปนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าในระดับ 38-39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากขณะนี้ผู้ส่งออกรวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งค่าเงินแข็งค่าเพียงร้อยละ 2-4 ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าถึงร้อยละ 14 และที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประสบ ภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนนับร้อยล้านบาท ดังนั้น รัฐควรจะดูเป็นรายวันว่า จะหยุดการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้อย่างไร ซึ่งกลุ่มอัญมณีได้ปรับตัวโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ป้องกันความเสี่ยงในการเสนอราคาระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไว้แล้ว เนื่องจากการค้าต้องใช้เครดิตในระยะ 3-4 เดือนถึงจะได้เงินสด
นายสมชาย พรจินดารักษ์ เลขาธิการสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯ กล่าวว่า สมาคมฯ มีมติที่จะเรียกร้องรัฐลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ครอบคลุมกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าร้อยละ 14 เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้มีการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากต่างชาติ โดยกระทรวงการคลังควรเร่งหามาตรการควบคุมดูแล ส่วนยอดส่งออกอัญมณีในปีนี้ คาดว่าจะได้ตามเป้าหมาย 150,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปีที่แล้ว โดย 3 ไตรมาสแรกสามารถส่งออกได้ 130,000 ล้านบาท
จะอะไรขนาดนั้น เรื่องค่าเงินนี่ ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมค่าเงินเราแข็งกว่าชาวบ้าน แต่ว่า ผมว่าถ้า ธปท ต้องออกนโยบาย กามิกาเซ่ แบบนี้ออกมา แสดงว่ามัน ซีเรียส พอสมควร
ถ้าค่าเงินแข็งต่อ อาจจะมีปัญหาใหญ่ได้ ไม่งั้นไม่ทำอะไรเสี่ยงๆแบบนี้แน่ ดังนั้น ถ้าผมดูจากเหตุการณ์นี้ หุ้นส่งออกหลายตัวจะมีความเสี่ยงครับ ต้องดูดีๆ ถ้าคุมค่าเงินไม่อยู่จริงๆ ..... ผู้ถือหุ้นอาจซวย
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 8
แหม ไม่ใช่ VI แต่อยากแจมมั่งครับ
กระทบกับพื้นฐานธุรกิจไหนตอนนี้ยังมองไม่ออกครับ
แต่
น่าจะเป็นข้ออ้างของ บริษัทจดทะเบียน ในการบอกผู้ถือหุ้นว่า เนี่ยไง สาเหตุของการพลาดเป้า
เดาว่า วงจรเศรษฐกิจเข้าสู่ขาลงค่อนไปตอนกลางแล้ว
อสังหามักเป็นตัวจุดพลุขึ้นหรือลง เพราะเป็นเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการจ้างงาน
เมื่อไหร่ที่อสังหาแข่งกันทำคอนโดทาวเฮ้าส์แล้ว เมื่อนั้นก็.....
ลองย้อนไปดูปี38-39แล้วจะเห็นว่าวงจรมาแบบเดียวกัน
เพียงแต่ตอนนั้นนิยมคอนโดและทาวเฮ้าส์ที่เกาะกับถนนตัดใหม่ปริมลฑล
แต่ตอนนี้นิยมเกาะรถไฟฟ้า
กระทบกับพื้นฐานธุรกิจไหนตอนนี้ยังมองไม่ออกครับ
แต่
น่าจะเป็นข้ออ้างของ บริษัทจดทะเบียน ในการบอกผู้ถือหุ้นว่า เนี่ยไง สาเหตุของการพลาดเป้า
เดาว่า วงจรเศรษฐกิจเข้าสู่ขาลงค่อนไปตอนกลางแล้ว
อสังหามักเป็นตัวจุดพลุขึ้นหรือลง เพราะเป็นเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการจ้างงาน
เมื่อไหร่ที่อสังหาแข่งกันทำคอนโดทาวเฮ้าส์แล้ว เมื่อนั้นก็.....
ลองย้อนไปดูปี38-39แล้วจะเห็นว่าวงจรมาแบบเดียวกัน
เพียงแต่ตอนนั้นนิยมคอนโดและทาวเฮ้าส์ที่เกาะกับถนนตัดใหม่ปริมลฑล
แต่ตอนนี้นิยมเกาะรถไฟฟ้า
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 11
แล้วรายการ ขายใบจองทาวเฮ้าส์คอนโด ปลิวว่อน :lol:
ตอนปลายปี39ถึงปี40นั้น มีใครรู้เรื่องที่เค้าโดดเข้าไปร่วมวงสงครามค่าเงินบาทบ้าง
ส่วนใหญ่ก็รู้หลังจากที่เจ๊งกันไปแล้วทังนั้น
ตอนนั้นมีแต่คนแบ๊งค์พนันกันเล่นๆว่า setจะหลุด 700มั๊ย
:lol:
งานนี้ไม่รู้ ธปท เสียเหลี่ยม
หรือ
เหลี่ยมเสีย
มั่ง
ซีเรียสพอที่ยอมทนรับคำด่าเนี่ย ผมว่าไม่ธรรมดาจะอะไรขนาดนั้น เรื่องค่าเงินนี่ ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมค่าเงินเราแข็งกว่าชาวบ้าน แต่ว่า ผมว่าถ้า ธปท ต้องออกนโยบาย กามิกาเซ่ แบบนี้ออกมา แสดงว่ามัน ซีเรียส พอสมควร
ตอนปลายปี39ถึงปี40นั้น มีใครรู้เรื่องที่เค้าโดดเข้าไปร่วมวงสงครามค่าเงินบาทบ้าง
ส่วนใหญ่ก็รู้หลังจากที่เจ๊งกันไปแล้วทังนั้น
ตอนนั้นมีแต่คนแบ๊งค์พนันกันเล่นๆว่า setจะหลุด 700มั๊ย
:lol:
งานนี้ไม่รู้ ธปท เสียเหลี่ยม
หรือ
เหลี่ยมเสีย
มั่ง
- birdflu
- Verified User
- โพสต์: 628
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 12
ผมว่าน่าจะเป็นหุ้นส่งออกที่จะได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ครั้งนี้
เห็นชัดว่า ธปท, คลัง, และพาณิชย์ ต่างเห็นพ้องต้องกันกับการแทรกแซงค่าบาท เพื่อเกื้อหนุนการส่งออก และรักษาเสถียรภาพทางการค้า และดุลการค้า
เห็นชัดว่า ธปท, คลัง, และพาณิชย์ ต่างเห็นพ้องต้องกันกับการแทรกแซงค่าบาท เพื่อเกื้อหนุนการส่งออก และรักษาเสถียรภาพทางการค้า และดุลการค้า
Keep Calm And Chive On
- ISUZU
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 13
บทความจากคุณ IH ครับ คัดมาให้อ่านกัน
ตอนที่ 1
ธปท. สามารถเกียรติภูมิได้ตั้งแต่สมัย ดร. ป๋วย โดยจอมพลสฤษดิ์ได้เชิญ ดร. ป๋วยกลับจากการเป็นอาจารย์ที่ประเทศอังกฤษ อาจารย์ป๋วยยื่นคำขาดว่าหากตนเองเป็นผู้ว่า ธปท. รัฐบาลจะต้องไม่แทรกแซงกิจการของ ธปท. ซึ่งตลอดเวลาที่อาจารย์ป๋วยเป็นผู้ว่า ธปท. ก็สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างอิสระพอสมควร และสามารถสร้างความเชื่อมั่นกับต่างชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ อาจารย์ป๋วยได้สร้างบรรทัดฐานการทำงานของ ธปท. ที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและการแทรกแซงใดๆ ซึ่งยังสามารถรักษาบรรทัดฐานดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยจะเห็นว่าแม้ว่าประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีก่อนมีการปกครองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ กึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ หน่วยงานต่างๆ ถูกแทรกแซง และประเทศไทยก็ยังมีสภาพการเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เป็นองค์กรที่มีความอิสระได้มากเพียงพอและสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ก่อนวิกฤติการณ์เศรษฐกิจปี 2540 นั้น ประเทศไทยไม่เคยมีวิกฤติการณ์ค่าเงิน หรือเงินเฟ้อระดับสูง 100-200% ต่อปี ดังเช่นประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เคยประสบ
พื้นฐาน ธปท. เริ่มเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่งตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา เมื่อธปท. ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดเงินตลาดทุนระหว่างประเทศเพียงพอ และขาดการศึกษาประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจและการเงินต่างประเทศเพียงพอเนื่องจากหลายๆ ประเทศแม้กระทั่งอังกฤษยังแพ้กองทุนเก็งกำไรหรือ Hedge fund มาแล้วและส่งผลให้ธนาคารกลางอังกฤษขาดทุนไปพอสมควร แต่ธปท. ยังมีความเชื่อมั่นว่าเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 30 กว่าพันล้านเหรียญ จะสู้เงินของกองทุนเก็งกำไรที่ไม่ได้มีเฉพาะกองทุนของจอร์จ โซรอส แต่มาจากทุกสารทิศได้
บทเรียนหนึ่งที่ผมได้อ่านจากบทความต่างๆ ในช่วงหลังวิกฤติ ซึ่งหลายบทความเกิดจากการไปสัมภาษณ์บุคลากรและอดีตบุคลากรของ ธปท. โดยสรุปก็พบว่า ธปท. ซึ่งประกอบไปได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก บุคลากรจำนวนไม่น้อยที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ แต่เมื่อทำงานเป็นทีมก็ขาดการระดมสมองอย่างที่ควรจะเป็น การสั่งงานยังเป็นไปตามระดับอาวุโสของสายงาน การตัดสินใจต่างๆ ดำเนินการโดยบุคคลไม่กี่คนและหากมีการไม่เห็นด้วยก็ไม่สามารถทำได้มากนัก ตามธรรมชาติขององค์กรที่มีจำนวนที่มีคนเก่งจำนวนมากๆ และมีความมั่นใจสูง ทำให้บรรยากาศภายใน ธปท. ขาดการแสดงความคิดเห็นอย่าง ตรงไปตรงมา
ในระยะหลังๆ โลกทางการเงินเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศมีสูง การโอนเงินหรือทำธุรกรรมข้ามซีกโลกทำได้ภายในชั่วพริบตา และหลายๆ ครั้งตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีตลาดหุ้นหรือผลตอบแทนพันธบัตร ฯลฯ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันตรงไปตรงมาเหมือนทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียนในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาเอก ดังนั้นการที่จะเป็นคนเก่งหรือไม่เก่งในโลกโลภิวัฒน์ในปัจจุบัน การตัดสินใจที่ดีหรือแย่คงจะขึ้นกับว่าบุคคลนั้นๆ มีการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกการเงินหรือไม่ ได้ศึกษาบทความทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ มากน้อยเพียงได้ หรือมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับผู้จัดการกองทุนหรือผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ต่างชาติบ่อยหรือไม่ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตยาวนานแล้วคือวุฒิหรือผลการศึกษาเมื่อ 30 ปีก่อน
แม้ตลาดหุ้นจะไม่ใช่บ่อนพนัน แต่หากมีบ่อนใดๆ ในลาสเวกัส ที่บอกนักเล่นว่าหากนำเงินมา 100 บาท จะแลกชิปได้ 70 บาท แต่ต้องอยู่ในบ่อนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากเล่นได้แล้วเลิกกลับบ้านก่อน หรือเล่นเสียแล้วถูกภรรยาที่บ้านตามแล้วกลับก่อน 12 ชั่วโมง จะถูกชักออก 10 บาทจากเงินต้น 100 บาท หากบ่อนนี้ยังมีคนเล่นอยู่ต่อ ก็แสดงว่าต้องเป็นบ่อนที่นักเล่นต้องมั่นใจว่าเล่นยังไงก็ได้ หรือแถวๆ นั้นต้องไม่มีบ่อนเลยจนเหมือนกับการผูกขาด คือ ไม่เล่นบ่อนนี้ก็ไม่รู้จะไปเล่นบ่อนไหน
หากเปรียบเทียบแบบเดียวกัน การที่ธนาคารแห่งประเทศใดประเทศหนึ่ง มั่นใจที่จะให้นักลงทุนแลกชิปได้ 70 บาท คงจะต้องมั่นใจว่านักลงทุนต้องเล่นแล้วได้ คือ เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแข็งแกร่งมากจนซื้อหุ้นยังไงก็กำไร กำไรบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยคงจะต้องเติบโตในระดับ 25-30% ต่อปี GDP โตปีละ 9-10% หรือประเทศนั้นๆ คงจะเป็นทางเลือกหลักของนักลงทุน ก็คือ คงจะไม่มีตลาดเกิดใหม่ ( Emerging market ) ใดๆ ที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก ซึ่งกรณีนี้อาจจะเคยเกิดในช่วงทศวรรษ 90 เนื่องจากประเทศจำนวนมากยังถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบปิด
ดังนั้น ในทางทฤษฎี นักลงทุนอย่างเราซึ่งอยู่วงนอก คงไม่เห็นข้อมูลเท่าที่ธนาคารกลางเห็น เราจึงไม่ควรไปต่อว่าหรือตำหนิการตัดสินใจของธปท. ซึ่งเราควรจะมีสุมมติฐานว่า ธปท. เต็มไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงน่าจะมีการตัดสินใจหรือแนวทางที่ดีกว่าสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่คนนอกคิดหรือคาดว่าจะเกิด
แม้ทฤษฎีเป็นอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติ ผมขอขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับมาตรฐานดังกล่าว เพราะผมไม่คิดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะแข็งแกร่งพอที่จะรองรับมาตรฐานดังกล่าว หรือตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกก็มีจำนวนมากจนนักลงทุนต่างประเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงทุนในประเทศไทยเลยก็ได้ หากเรื่องมากนัก
จากเรื่องนี้ นึกถึงหนัง Hollywood เรื่อง Enemy of the state ที่ผู้ช่วยพระเอกพูดกับพระเอกที่เป็นทนายความหลายครั้งในเรื่องว่า แกนี่ไม่ฉลาดลึกล้ำก็ แต่ท้ายสุดพระเอกก็ฉลาดพอตัวครับ ดังนั้นเราคงต้องหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะเหมือนพระเอกเรื่องนี้เสียแล้วมังครับ
ตอนที่ 1
ธปท. สามารถเกียรติภูมิได้ตั้งแต่สมัย ดร. ป๋วย โดยจอมพลสฤษดิ์ได้เชิญ ดร. ป๋วยกลับจากการเป็นอาจารย์ที่ประเทศอังกฤษ อาจารย์ป๋วยยื่นคำขาดว่าหากตนเองเป็นผู้ว่า ธปท. รัฐบาลจะต้องไม่แทรกแซงกิจการของ ธปท. ซึ่งตลอดเวลาที่อาจารย์ป๋วยเป็นผู้ว่า ธปท. ก็สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างอิสระพอสมควร และสามารถสร้างความเชื่อมั่นกับต่างชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ อาจารย์ป๋วยได้สร้างบรรทัดฐานการทำงานของ ธปท. ที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและการแทรกแซงใดๆ ซึ่งยังสามารถรักษาบรรทัดฐานดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยจะเห็นว่าแม้ว่าประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีก่อนมีการปกครองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ กึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ หน่วยงานต่างๆ ถูกแทรกแซง และประเทศไทยก็ยังมีสภาพการเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เป็นองค์กรที่มีความอิสระได้มากเพียงพอและสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ก่อนวิกฤติการณ์เศรษฐกิจปี 2540 นั้น ประเทศไทยไม่เคยมีวิกฤติการณ์ค่าเงิน หรือเงินเฟ้อระดับสูง 100-200% ต่อปี ดังเช่นประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เคยประสบ
พื้นฐาน ธปท. เริ่มเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่งตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา เมื่อธปท. ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดเงินตลาดทุนระหว่างประเทศเพียงพอ และขาดการศึกษาประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจและการเงินต่างประเทศเพียงพอเนื่องจากหลายๆ ประเทศแม้กระทั่งอังกฤษยังแพ้กองทุนเก็งกำไรหรือ Hedge fund มาแล้วและส่งผลให้ธนาคารกลางอังกฤษขาดทุนไปพอสมควร แต่ธปท. ยังมีความเชื่อมั่นว่าเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 30 กว่าพันล้านเหรียญ จะสู้เงินของกองทุนเก็งกำไรที่ไม่ได้มีเฉพาะกองทุนของจอร์จ โซรอส แต่มาจากทุกสารทิศได้
บทเรียนหนึ่งที่ผมได้อ่านจากบทความต่างๆ ในช่วงหลังวิกฤติ ซึ่งหลายบทความเกิดจากการไปสัมภาษณ์บุคลากรและอดีตบุคลากรของ ธปท. โดยสรุปก็พบว่า ธปท. ซึ่งประกอบไปได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก บุคลากรจำนวนไม่น้อยที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ แต่เมื่อทำงานเป็นทีมก็ขาดการระดมสมองอย่างที่ควรจะเป็น การสั่งงานยังเป็นไปตามระดับอาวุโสของสายงาน การตัดสินใจต่างๆ ดำเนินการโดยบุคคลไม่กี่คนและหากมีการไม่เห็นด้วยก็ไม่สามารถทำได้มากนัก ตามธรรมชาติขององค์กรที่มีจำนวนที่มีคนเก่งจำนวนมากๆ และมีความมั่นใจสูง ทำให้บรรยากาศภายใน ธปท. ขาดการแสดงความคิดเห็นอย่าง ตรงไปตรงมา
ในระยะหลังๆ โลกทางการเงินเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศมีสูง การโอนเงินหรือทำธุรกรรมข้ามซีกโลกทำได้ภายในชั่วพริบตา และหลายๆ ครั้งตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีตลาดหุ้นหรือผลตอบแทนพันธบัตร ฯลฯ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันตรงไปตรงมาเหมือนทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียนในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาเอก ดังนั้นการที่จะเป็นคนเก่งหรือไม่เก่งในโลกโลภิวัฒน์ในปัจจุบัน การตัดสินใจที่ดีหรือแย่คงจะขึ้นกับว่าบุคคลนั้นๆ มีการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกการเงินหรือไม่ ได้ศึกษาบทความทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ มากน้อยเพียงได้ หรือมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับผู้จัดการกองทุนหรือผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ต่างชาติบ่อยหรือไม่ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตยาวนานแล้วคือวุฒิหรือผลการศึกษาเมื่อ 30 ปีก่อน
แม้ตลาดหุ้นจะไม่ใช่บ่อนพนัน แต่หากมีบ่อนใดๆ ในลาสเวกัส ที่บอกนักเล่นว่าหากนำเงินมา 100 บาท จะแลกชิปได้ 70 บาท แต่ต้องอยู่ในบ่อนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากเล่นได้แล้วเลิกกลับบ้านก่อน หรือเล่นเสียแล้วถูกภรรยาที่บ้านตามแล้วกลับก่อน 12 ชั่วโมง จะถูกชักออก 10 บาทจากเงินต้น 100 บาท หากบ่อนนี้ยังมีคนเล่นอยู่ต่อ ก็แสดงว่าต้องเป็นบ่อนที่นักเล่นต้องมั่นใจว่าเล่นยังไงก็ได้ หรือแถวๆ นั้นต้องไม่มีบ่อนเลยจนเหมือนกับการผูกขาด คือ ไม่เล่นบ่อนนี้ก็ไม่รู้จะไปเล่นบ่อนไหน
หากเปรียบเทียบแบบเดียวกัน การที่ธนาคารแห่งประเทศใดประเทศหนึ่ง มั่นใจที่จะให้นักลงทุนแลกชิปได้ 70 บาท คงจะต้องมั่นใจว่านักลงทุนต้องเล่นแล้วได้ คือ เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแข็งแกร่งมากจนซื้อหุ้นยังไงก็กำไร กำไรบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยคงจะต้องเติบโตในระดับ 25-30% ต่อปี GDP โตปีละ 9-10% หรือประเทศนั้นๆ คงจะเป็นทางเลือกหลักของนักลงทุน ก็คือ คงจะไม่มีตลาดเกิดใหม่ ( Emerging market ) ใดๆ ที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก ซึ่งกรณีนี้อาจจะเคยเกิดในช่วงทศวรรษ 90 เนื่องจากประเทศจำนวนมากยังถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบปิด
ดังนั้น ในทางทฤษฎี นักลงทุนอย่างเราซึ่งอยู่วงนอก คงไม่เห็นข้อมูลเท่าที่ธนาคารกลางเห็น เราจึงไม่ควรไปต่อว่าหรือตำหนิการตัดสินใจของธปท. ซึ่งเราควรจะมีสุมมติฐานว่า ธปท. เต็มไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงน่าจะมีการตัดสินใจหรือแนวทางที่ดีกว่าสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่คนนอกคิดหรือคาดว่าจะเกิด
แม้ทฤษฎีเป็นอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติ ผมขอขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับมาตรฐานดังกล่าว เพราะผมไม่คิดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะแข็งแกร่งพอที่จะรองรับมาตรฐานดังกล่าว หรือตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกก็มีจำนวนมากจนนักลงทุนต่างประเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงทุนในประเทศไทยเลยก็ได้ หากเรื่องมากนัก
จากเรื่องนี้ นึกถึงหนัง Hollywood เรื่อง Enemy of the state ที่ผู้ช่วยพระเอกพูดกับพระเอกที่เป็นทนายความหลายครั้งในเรื่องว่า แกนี่ไม่ฉลาดลึกล้ำก็ แต่ท้ายสุดพระเอกก็ฉลาดพอตัวครับ ดังนั้นเราคงต้องหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะเหมือนพระเอกเรื่องนี้เสียแล้วมังครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 14
:lovl: :lovl: :lovl:buglife เขียน:เดี๋ยวนี้ไม่มี edit แฮะ อ้อ คนซื้อ short tfex ไว้ก่อนด้วย
พี่เสี่ยคัดฯ said : คุมค่าเงินไม่อยู่ ผู้ถือหุ้นซวย
(ผู้ถือหุ้นที่นำเข้ามาขาย
ก็ซวยเหมือนกันครับ ทำแบบนี้ ฮา)
แบบนี้ต้องตอบแบบ VI ว่า ....
เวลาซื้อหุ้น ต้องเลือกหุ้นที่มี Margin of Safty ที่เพียงพอครับ
เพราะเราไม่สามารถทำนายราคาหุ้น และเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ ดังนั้นเราไม่ควรเล่นหุ้นเก็งกำไร และควรซื้อหุ้นที่ดี ในราคาที่มีส่วนลด และถือมันไว้อย่าไปสนใจ Mr.Market หากตลาดทำอะไรโง่ๆ จนมีส่วนลดอย่างเพียงพอ นั่นคือโอกาสให้เข้าซื้อ
ผมพอเป็น VI ได้ยังครับ :lol: :lol: :lol:
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- ISUZU
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 15
บทความจากคุณ IH ครับ คัดมาให้อ่านกัน
ตอนที่ 1
ธปท. สามารถเกียรติภูมิได้ตั้งแต่สมัย ดร. ป๋วย โดยจอมพลสฤษดิ์ได้เชิญ ดร. ป๋วยกลับจากการเป็นอาจารย์ที่ประเทศอังกฤษ อาจารย์ป๋วยยื่นคำขาดว่าหากตนเองเป็นผู้ว่า ธปท. รัฐบาลจะต้องไม่แทรกแซงกิจการของ ธปท. ซึ่งตลอดเวลาที่อาจารย์ป๋วยเป็นผู้ว่า ธปท. ก็สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างอิสระพอสมควร และสามารถสร้างความเชื่อมั่นกับต่างชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ อาจารย์ป๋วยได้สร้างบรรทัดฐานการทำงานของ ธปท. ที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและการแทรกแซงใดๆ ซึ่งยังสามารถรักษาบรรทัดฐานดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยจะเห็นว่าแม้ว่าประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีก่อนมีการปกครองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ กึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ หน่วยงานต่างๆ ถูกแทรกแซง และประเทศไทยก็ยังมีสภาพการเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เป็นองค์กรที่มีความอิสระได้มากเพียงพอและสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ก่อนวิกฤติการณ์เศรษฐกิจปี 2540 นั้น ประเทศไทยไม่เคยมีวิกฤติการณ์ค่าเงิน หรือเงินเฟ้อระดับสูง 100-200% ต่อปี ดังเช่นประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เคยประสบ
พื้นฐาน ธปท. เริ่มเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่งตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา เมื่อธปท. ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดเงินตลาดทุนระหว่างประเทศเพียงพอ และขาดการศึกษาประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจและการเงินต่างประเทศเพียงพอเนื่องจากหลายๆ ประเทศแม้กระทั่งอังกฤษยังแพ้กองทุนเก็งกำไรหรือ Hedge fund มาแล้วและส่งผลให้ธนาคารกลางอังกฤษขาดทุนไปพอสมควร แต่ธปท. ยังมีความเชื่อมั่นว่าเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 30 กว่าพันล้านเหรียญ จะสู้เงินของกองทุนเก็งกำไรที่ไม่ได้มีเฉพาะกองทุนของจอร์จ โซรอส แต่มาจากทุกสารทิศได้
บทเรียนหนึ่งที่ผมได้อ่านจากบทความต่างๆ ในช่วงหลังวิกฤติ ซึ่งหลายบทความเกิดจากการไปสัมภาษณ์บุคลากรและอดีตบุคลากรของ ธปท. โดยสรุปก็พบว่า ธปท. ซึ่งประกอบไปได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก บุคลากรจำนวนไม่น้อยที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ แต่เมื่อทำงานเป็นทีมก็ขาดการระดมสมองอย่างที่ควรจะเป็น การสั่งงานยังเป็นไปตามระดับอาวุโสของสายงาน การตัดสินใจต่างๆ ดำเนินการโดยบุคคลไม่กี่คนและหากมีการไม่เห็นด้วยก็ไม่สามารถทำได้มากนัก ตามธรรมชาติขององค์กรที่มีจำนวนที่มีคนเก่งจำนวนมากๆ และมีความมั่นใจสูง ทำให้บรรยากาศภายใน ธปท. ขาดการแสดงความคิดเห็นอย่าง ตรงไปตรงมา
ในระยะหลังๆ โลกทางการเงินเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศมีสูง การโอนเงินหรือทำธุรกรรมข้ามซีกโลกทำได้ภายในชั่วพริบตา และหลายๆ ครั้งตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีตลาดหุ้นหรือผลตอบแทนพันธบัตร ฯลฯ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันตรงไปตรงมาเหมือนทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียนในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาเอก ดังนั้นการที่จะเป็นคนเก่งหรือไม่เก่งในโลกโลภิวัฒน์ในปัจจุบัน การตัดสินใจที่ดีหรือแย่คงจะขึ้นกับว่าบุคคลนั้นๆ มีการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกการเงินหรือไม่ ได้ศึกษาบทความทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ มากน้อยเพียงได้ หรือมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับผู้จัดการกองทุนหรือผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ต่างชาติบ่อยหรือไม่ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตยาวนานแล้วคือวุฒิหรือผลการศึกษาเมื่อ 30 ปีก่อน
แม้ตลาดหุ้นจะไม่ใช่บ่อนพนัน แต่หากมีบ่อนใดๆ ในลาสเวกัส ที่บอกนักเล่นว่าหากนำเงินมา 100 บาท จะแลกชิปได้ 70 บาท แต่ต้องอยู่ในบ่อนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากเล่นได้แล้วเลิกกลับบ้านก่อน หรือเล่นเสียแล้วถูกภรรยาที่บ้านตามแล้วกลับก่อน 12 ชั่วโมง จะถูกชักออก 10 บาทจากเงินต้น 100 บาท หากบ่อนนี้ยังมีคนเล่นอยู่ต่อ ก็แสดงว่าต้องเป็นบ่อนที่นักเล่นต้องมั่นใจว่าเล่นยังไงก็ได้ หรือแถวๆ นั้นต้องไม่มีบ่อนเลยจนเหมือนกับการผูกขาด คือ ไม่เล่นบ่อนนี้ก็ไม่รู้จะไปเล่นบ่อนไหน
หากเปรียบเทียบแบบเดียวกัน การที่ธนาคารแห่งประเทศใดประเทศหนึ่ง มั่นใจที่จะให้นักลงทุนแลกชิปได้ 70 บาท คงจะต้องมั่นใจว่านักลงทุนต้องเล่นแล้วได้ คือ เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแข็งแกร่งมากจนซื้อหุ้นยังไงก็กำไร กำไรบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยคงจะต้องเติบโตในระดับ 25-30% ต่อปี GDP โตปีละ 9-10% หรือประเทศนั้นๆ คงจะเป็นทางเลือกหลักของนักลงทุน ก็คือ คงจะไม่มีตลาดเกิดใหม่ ( Emerging market ) ใดๆ ที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก ซึ่งกรณีนี้อาจจะเคยเกิดในช่วงทศวรรษ 90 เนื่องจากประเทศจำนวนมากยังถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบปิด
ดังนั้น ในทางทฤษฎี นักลงทุนอย่างเราซึ่งอยู่วงนอก คงไม่เห็นข้อมูลเท่าที่ธนาคารกลางเห็น เราจึงไม่ควรไปต่อว่าหรือตำหนิการตัดสินใจของธปท. ซึ่งเราควรจะมีสุมมติฐานว่า ธปท. เต็มไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงน่าจะมีการตัดสินใจหรือแนวทางที่ดีกว่าสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่คนนอกคิดหรือคาดว่าจะเกิด
แม้ทฤษฎีเป็นอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติ ผมขอขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับมาตรฐานดังกล่าว เพราะผมไม่คิดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะแข็งแกร่งพอที่จะรองรับมาตรฐานดังกล่าว หรือตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกก็มีจำนวนมากจนนักลงทุนต่างประเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงทุนในประเทศไทยเลยก็ได้ หากเรื่องมากนัก
จากเรื่องนี้ นึกถึงหนัง Hollywood เรื่อง Enemy of the state ที่ผู้ช่วยพระเอกพูดกับพระเอกที่เป็นทนายความหลายครั้งในเรื่องว่า แกนี่ไม่ฉลาดลึกล้ำก็ แต่ท้ายสุดพระเอกก็ฉลาดพอตัวครับ ดังนั้นเราคงต้องหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะเหมือนพระเอกเรื่องนี้เสียแล้วมังครับ
ตอนที่ 1
ธปท. สามารถเกียรติภูมิได้ตั้งแต่สมัย ดร. ป๋วย โดยจอมพลสฤษดิ์ได้เชิญ ดร. ป๋วยกลับจากการเป็นอาจารย์ที่ประเทศอังกฤษ อาจารย์ป๋วยยื่นคำขาดว่าหากตนเองเป็นผู้ว่า ธปท. รัฐบาลจะต้องไม่แทรกแซงกิจการของ ธปท. ซึ่งตลอดเวลาที่อาจารย์ป๋วยเป็นผู้ว่า ธปท. ก็สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างอิสระพอสมควร และสามารถสร้างความเชื่อมั่นกับต่างชาติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ อาจารย์ป๋วยได้สร้างบรรทัดฐานการทำงานของ ธปท. ที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและการแทรกแซงใดๆ ซึ่งยังสามารถรักษาบรรทัดฐานดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยจะเห็นว่าแม้ว่าประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีก่อนมีการปกครองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ กึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ หน่วยงานต่างๆ ถูกแทรกแซง และประเทศไทยก็ยังมีสภาพการเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เป็นองค์กรที่มีความอิสระได้มากเพียงพอและสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ก่อนวิกฤติการณ์เศรษฐกิจปี 2540 นั้น ประเทศไทยไม่เคยมีวิกฤติการณ์ค่าเงิน หรือเงินเฟ้อระดับสูง 100-200% ต่อปี ดังเช่นประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เคยประสบ
พื้นฐาน ธปท. เริ่มเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่งตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา เมื่อธปท. ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดเงินตลาดทุนระหว่างประเทศเพียงพอ และขาดการศึกษาประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจและการเงินต่างประเทศเพียงพอเนื่องจากหลายๆ ประเทศแม้กระทั่งอังกฤษยังแพ้กองทุนเก็งกำไรหรือ Hedge fund มาแล้วและส่งผลให้ธนาคารกลางอังกฤษขาดทุนไปพอสมควร แต่ธปท. ยังมีความเชื่อมั่นว่าเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 30 กว่าพันล้านเหรียญ จะสู้เงินของกองทุนเก็งกำไรที่ไม่ได้มีเฉพาะกองทุนของจอร์จ โซรอส แต่มาจากทุกสารทิศได้
บทเรียนหนึ่งที่ผมได้อ่านจากบทความต่างๆ ในช่วงหลังวิกฤติ ซึ่งหลายบทความเกิดจากการไปสัมภาษณ์บุคลากรและอดีตบุคลากรของ ธปท. โดยสรุปก็พบว่า ธปท. ซึ่งประกอบไปได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก บุคลากรจำนวนไม่น้อยที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ แต่เมื่อทำงานเป็นทีมก็ขาดการระดมสมองอย่างที่ควรจะเป็น การสั่งงานยังเป็นไปตามระดับอาวุโสของสายงาน การตัดสินใจต่างๆ ดำเนินการโดยบุคคลไม่กี่คนและหากมีการไม่เห็นด้วยก็ไม่สามารถทำได้มากนัก ตามธรรมชาติขององค์กรที่มีจำนวนที่มีคนเก่งจำนวนมากๆ และมีความมั่นใจสูง ทำให้บรรยากาศภายใน ธปท. ขาดการแสดงความคิดเห็นอย่าง ตรงไปตรงมา
ในระยะหลังๆ โลกทางการเงินเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศมีสูง การโอนเงินหรือทำธุรกรรมข้ามซีกโลกทำได้ภายในชั่วพริบตา และหลายๆ ครั้งตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีตลาดหุ้นหรือผลตอบแทนพันธบัตร ฯลฯ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันตรงไปตรงมาเหมือนทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียนในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาเอก ดังนั้นการที่จะเป็นคนเก่งหรือไม่เก่งในโลกโลภิวัฒน์ในปัจจุบัน การตัดสินใจที่ดีหรือแย่คงจะขึ้นกับว่าบุคคลนั้นๆ มีการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกการเงินหรือไม่ ได้ศึกษาบทความทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ มากน้อยเพียงได้ หรือมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับผู้จัดการกองทุนหรือผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ต่างชาติบ่อยหรือไม่ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตยาวนานแล้วคือวุฒิหรือผลการศึกษาเมื่อ 30 ปีก่อน
แม้ตลาดหุ้นจะไม่ใช่บ่อนพนัน แต่หากมีบ่อนใดๆ ในลาสเวกัส ที่บอกนักเล่นว่าหากนำเงินมา 100 บาท จะแลกชิปได้ 70 บาท แต่ต้องอยู่ในบ่อนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากเล่นได้แล้วเลิกกลับบ้านก่อน หรือเล่นเสียแล้วถูกภรรยาที่บ้านตามแล้วกลับก่อน 12 ชั่วโมง จะถูกชักออก 10 บาทจากเงินต้น 100 บาท หากบ่อนนี้ยังมีคนเล่นอยู่ต่อ ก็แสดงว่าต้องเป็นบ่อนที่นักเล่นต้องมั่นใจว่าเล่นยังไงก็ได้ หรือแถวๆ นั้นต้องไม่มีบ่อนเลยจนเหมือนกับการผูกขาด คือ ไม่เล่นบ่อนนี้ก็ไม่รู้จะไปเล่นบ่อนไหน
หากเปรียบเทียบแบบเดียวกัน การที่ธนาคารแห่งประเทศใดประเทศหนึ่ง มั่นใจที่จะให้นักลงทุนแลกชิปได้ 70 บาท คงจะต้องมั่นใจว่านักลงทุนต้องเล่นแล้วได้ คือ เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแข็งแกร่งมากจนซื้อหุ้นยังไงก็กำไร กำไรบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยคงจะต้องเติบโตในระดับ 25-30% ต่อปี GDP โตปีละ 9-10% หรือประเทศนั้นๆ คงจะเป็นทางเลือกหลักของนักลงทุน ก็คือ คงจะไม่มีตลาดเกิดใหม่ ( Emerging market ) ใดๆ ที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก ซึ่งกรณีนี้อาจจะเคยเกิดในช่วงทศวรรษ 90 เนื่องจากประเทศจำนวนมากยังถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบปิด
ดังนั้น ในทางทฤษฎี นักลงทุนอย่างเราซึ่งอยู่วงนอก คงไม่เห็นข้อมูลเท่าที่ธนาคารกลางเห็น เราจึงไม่ควรไปต่อว่าหรือตำหนิการตัดสินใจของธปท. ซึ่งเราควรจะมีสุมมติฐานว่า ธปท. เต็มไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงน่าจะมีการตัดสินใจหรือแนวทางที่ดีกว่าสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่คนนอกคิดหรือคาดว่าจะเกิด
แม้ทฤษฎีเป็นอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติ ผมขอขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับมาตรฐานดังกล่าว เพราะผมไม่คิดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะแข็งแกร่งพอที่จะรองรับมาตรฐานดังกล่าว หรือตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกก็มีจำนวนมากจนนักลงทุนต่างประเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงทุนในประเทศไทยเลยก็ได้ หากเรื่องมากนัก
จากเรื่องนี้ นึกถึงหนัง Hollywood เรื่อง Enemy of the state ที่ผู้ช่วยพระเอกพูดกับพระเอกที่เป็นทนายความหลายครั้งในเรื่องว่า แกนี่ไม่ฉลาดลึกล้ำก็ แต่ท้ายสุดพระเอกก็ฉลาดพอตัวครับ ดังนั้นเราคงต้องหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะเหมือนพระเอกเรื่องนี้เสียแล้วมังครับ
- ISUZU
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 16
ตอนที่ 2
หนังเรื่องนี้จบเร็วกว่าที่คิดครับ ท้ายสุด ธปท. หรือกระทรวงการคลัง ก็ได้ออกมาประกาศว่ามาตรการ 30% นั้นไม่รวมการลงทุนในหุ้นและ FDI
ก็คงค่อนข้างแน่ครับว่าตลาดหุ้นในวันพรุ่งนี้คงมีบรรยากาศที่ดีขึ้น แต่จะบวกมากน้อยแค่ไหนก็สุดจะคาดเดาครับ
แล้ว ธปท. จะทำอย่างไรกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายหุ้นแทบจะล้างพอร์ตออกไปแล้วในวันนี้ ?
แล้ว ธปท. จะทำอย่างไรกับนักลงทุนรายย่อยที่ตกใจขายหุ้นไปแล้วแต่ยังไม่ได้ซื้อกลับคืน ?
ทำอย่างไรเมื่อมาตรการที่อาจจะถูกมองว่าเป็นการโยนหินถามทาง แต่บังเอิญหินก้อนใหญ่ไปหน่อยเลยไปโดนกบาลของนักลงทุนเข้าเต็มหัวอย่างแรง
ธปท. จะทำอย่างไรกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่รู้สึกว่านโยบายของทางการไม่มีความชัดเจน เปลี่ยนไปมา ไม่ได้มีความรอบคอบในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลที่จะตามมา
นักลงทุนต่างชาติตกใจขายในวันนี้ พรุ่งนี้จะตกใจซื้อหรือไม่ หรือจะขายวันนี้แล้วขายเลยเลิกแล้วต่อกัน ก็สุดจะคาดเดาเช่นกัน
น่าเห็นใจธปท. ครับเพราะยังไงไม่ยกเลิกก็ถูกด่า ยกเลิกอย่างที่ทำอยู่ก็ถูกด่าอยู่ดี แต่ก็ยังดีที่คงจะน้อยกว่าอย่างแรกหน่อย
สิ่งที่เกิดนั้นได้ตอกย้ำให้นักลงทุนต่างชาติได้ตระหนักชัดเจนว่า ตลาดเมืองไทยเป็นตลาดเกิดใหม่ ต้องมี p/e ต่ำ เพราะมีความเสี่ยงจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น การเมือง หรือกฎระเบียบภาครัฐ การควบคุมเงินทุน ฯลฯ ดังนั้นเมื่อมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องสูง ดังนั้นจึงต้องซื้อหุ้นที่ p/e ต่ำๆ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคงจะตอบคำถามบุคคลในวงการหลักทรัพย์ และทางการเสียทีว่าทำไมตลาดไทย p/e ถึงต่ำ ทำไมธุรกิจแบบเดียวกันที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงถึงมี p/e สูงกว่าไทยนัก จะได้ไม่ต้องพยายามเชียร์หุ้นใน SET ว่าถูกน่าซื้อมากเพราะว่า p/e ต่ำกว่าที่อื่นๆ เพราะสินค้าบางครั้งมันก็มีเหตุผลที่จะถูกเหมือนกัน
อย่างน้อยผมก็ขอชื่นชมทางการว่ายังออกมาปรับตัวตอบสนองได้เร็วและเหมาะสมในระดับหนึ่ง เรื่องนี้ยิ่งเหมือนหนังเรื่อง Enemy of the state มากขึ้นไปอีกเพราะท้ายสุดพระเอกและผู้ช่วยพระเอกก็รอดชีวิต ผู้ช่วยพระเอกก็พูดว่า ( You re ) Not too stupid at all และยิ่งเหมือนตรงที่หนังเรื่องนี้ตอนท้ายคนก็ตายเป็นเบือเช่นกัน
ปล. หนังเรื่อง Enemy of the state เป็นหนังที่สนุกมากนะครับ ใครที่ยังไม่ได้ดูผมแนะนำครับโดยเฉพาะคนที่ชอบหนัง Action + Sci Fi + Thriller
หนังเรื่องนี้จบเร็วกว่าที่คิดครับ ท้ายสุด ธปท. หรือกระทรวงการคลัง ก็ได้ออกมาประกาศว่ามาตรการ 30% นั้นไม่รวมการลงทุนในหุ้นและ FDI
ก็คงค่อนข้างแน่ครับว่าตลาดหุ้นในวันพรุ่งนี้คงมีบรรยากาศที่ดีขึ้น แต่จะบวกมากน้อยแค่ไหนก็สุดจะคาดเดาครับ
แล้ว ธปท. จะทำอย่างไรกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายหุ้นแทบจะล้างพอร์ตออกไปแล้วในวันนี้ ?
แล้ว ธปท. จะทำอย่างไรกับนักลงทุนรายย่อยที่ตกใจขายหุ้นไปแล้วแต่ยังไม่ได้ซื้อกลับคืน ?
ทำอย่างไรเมื่อมาตรการที่อาจจะถูกมองว่าเป็นการโยนหินถามทาง แต่บังเอิญหินก้อนใหญ่ไปหน่อยเลยไปโดนกบาลของนักลงทุนเข้าเต็มหัวอย่างแรง
ธปท. จะทำอย่างไรกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่รู้สึกว่านโยบายของทางการไม่มีความชัดเจน เปลี่ยนไปมา ไม่ได้มีความรอบคอบในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลที่จะตามมา
นักลงทุนต่างชาติตกใจขายในวันนี้ พรุ่งนี้จะตกใจซื้อหรือไม่ หรือจะขายวันนี้แล้วขายเลยเลิกแล้วต่อกัน ก็สุดจะคาดเดาเช่นกัน
น่าเห็นใจธปท. ครับเพราะยังไงไม่ยกเลิกก็ถูกด่า ยกเลิกอย่างที่ทำอยู่ก็ถูกด่าอยู่ดี แต่ก็ยังดีที่คงจะน้อยกว่าอย่างแรกหน่อย
สิ่งที่เกิดนั้นได้ตอกย้ำให้นักลงทุนต่างชาติได้ตระหนักชัดเจนว่า ตลาดเมืองไทยเป็นตลาดเกิดใหม่ ต้องมี p/e ต่ำ เพราะมีความเสี่ยงจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น การเมือง หรือกฎระเบียบภาครัฐ การควบคุมเงินทุน ฯลฯ ดังนั้นเมื่อมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องสูง ดังนั้นจึงต้องซื้อหุ้นที่ p/e ต่ำๆ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคงจะตอบคำถามบุคคลในวงการหลักทรัพย์ และทางการเสียทีว่าทำไมตลาดไทย p/e ถึงต่ำ ทำไมธุรกิจแบบเดียวกันที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงถึงมี p/e สูงกว่าไทยนัก จะได้ไม่ต้องพยายามเชียร์หุ้นใน SET ว่าถูกน่าซื้อมากเพราะว่า p/e ต่ำกว่าที่อื่นๆ เพราะสินค้าบางครั้งมันก็มีเหตุผลที่จะถูกเหมือนกัน
อย่างน้อยผมก็ขอชื่นชมทางการว่ายังออกมาปรับตัวตอบสนองได้เร็วและเหมาะสมในระดับหนึ่ง เรื่องนี้ยิ่งเหมือนหนังเรื่อง Enemy of the state มากขึ้นไปอีกเพราะท้ายสุดพระเอกและผู้ช่วยพระเอกก็รอดชีวิต ผู้ช่วยพระเอกก็พูดว่า ( You re ) Not too stupid at all และยิ่งเหมือนตรงที่หนังเรื่องนี้ตอนท้ายคนก็ตายเป็นเบือเช่นกัน
ปล. หนังเรื่อง Enemy of the state เป็นหนังที่สนุกมากนะครับ ใครที่ยังไม่ได้ดูผมแนะนำครับโดยเฉพาะคนที่ชอบหนัง Action + Sci Fi + Thriller
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 17
คุณ IH ยังเยี่ยมเหมือนเดิมครับ
แต่ตอนนี้บ่อนเค้ายกเลิกการกักชิบ 30% แล้วนะ อิ
อย่างนี้ต้นทุนการเงินก็กลับไปเท่าเดิมแล้ว เหลือเพียงต้นทุนทางจิตใจและต้นทุนความเสี่ยง จากนโยบายใช่เป่าครับ
ดังนั้น โอกาสที่ฝรั่งงอนตลาดเรา ผมว่ามันเป็นโอกาสในการทำการบ้านกับงบการเงินอย่างหนักหรือเปล่าครับ เพราะโอกาสแบบนี้เป็นโอกาสของ ..... หรือ เปล่านะ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
แม้ตลาดหุ้นจะไม่ใช่บ่อนพนัน แต่หากมีบ่อนใดๆ ในลาสเวกัส ที่บอกนักเล่นว่าหากนำเงินมา 100 บาท จะแลกชิปได้ 70 บาท แต่ต้องอยู่ในบ่อนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากเล่นได้แล้วเลิกกลับบ้านก่อน หรือเล่นเสียแล้วถูกภรรยาที่บ้านตามแล้วกลับก่อน 12 ชั่วโมง จะถูกชักออก 10 บาทจากเงินต้น 100 บาท หากบ่อนนี้ยังมีคนเล่นอยู่ต่อ ก็แสดงว่าต้องเป็นบ่อนที่นักเล่นต้องมั่นใจว่าเล่นยังไงก็ได้ หรือแถวๆ นั้นต้องไม่มีบ่อนเลยจนเหมือนกับการผูกขาด คือ ไม่เล่นบ่อนนี้ก็ไม่รู้จะไปเล่นบ่อนไหน
หากเปรียบเทียบแบบเดียวกัน การที่ธนาคารแห่งประเทศใดประเทศหนึ่ง มั่นใจที่จะให้นักลงทุนแลกชิปได้ 70 บาท คงจะต้องมั่นใจว่านักลงทุนต้องเล่นแล้วได้ คือ เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแข็งแกร่งมากจนซื้อหุ้นยังไงก็กำไร กำไรบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยคงจะต้องเติบโตในระดับ 25-30% ต่อปี GDP โตปีละ 9-10% หรือประเทศนั้นๆ คงจะเป็นทางเลือกหลักของนักลงทุน ก็คือ คงจะไม่มีตลาดเกิดใหม่ ( Emerging market ) ใดๆ ที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก ซึ่งกรณีนี้อาจจะเคยเกิดในช่วงทศวรรษ 90 เนื่องจากประเทศจำนวนมากยังถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบปิด
อย่างนี้ต้นทุนการเงินก็กลับไปเท่าเดิมแล้ว เหลือเพียงต้นทุนทางจิตใจและต้นทุนความเสี่ยง จากนโยบายใช่เป่าครับ
ดังนั้น โอกาสที่ฝรั่งงอนตลาดเรา ผมว่ามันเป็นโอกาสในการทำการบ้านกับงบการเงินอย่างหนักหรือเปล่าครับ เพราะโอกาสแบบนี้เป็นโอกาสของ ..... หรือ เปล่านะ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- ISUZU
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 18
ตอนนี้ดีมากครับ เป็นข้อเสนอที่ดี แต่ผมเองก็ยังคงตอบตัวเองไม่ได้ (อาจเป็นเพราะยังอ่อนปสก. ก็ได้ 555...) :P
ตอนสุดท้าย
ส่วนคำถามยอดฮิตว่าในภาวะตลาดหุ้นเช่นนี้ควรทำอย่างไร ตามหัวข้อกระทู้ครับคือพื้นฐานของหุ้นในแต่ละบริษัทโดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนจากมาตรการดังกล่าวนัก ยกเว้นหุ้นที่อาจจะมีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับเรื่องค่าเงินหรือภาวะดัชนีโดยตรง เช่น กลุ่มส่งออก กลุ่มหลักทรัพย์
ดังนั้นผมคิดว่าก็เป็นโอกาสหนึ่งที่จะได้สะสมหุ้น value เข้าพอร์ต โดยให้พิจารณาไม่ใช่แค่ว่าหุ้นไหนลงมากแล้วน่าซื้อทุกตัว คงจะต้องดูพื้นฐานของหุ้น p/e ratio และแนวโน้มธุรกิจในอีก 5-10 ปีข้างหน้าประกอบด้วยครับ ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปซื้อหุ้นที่ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนแล้วหวังว่าในปีต่อๆ ไปจะดีเพราะในตลาดหุ้นตอนนี้ก็ยังมีหุ้นจำนวนมากที่มีผลการดำเนินงานที่มีกำไรครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่มีหุ้นเต็มพอร์ตแล้วก็คงต้องทำใจและอดทนถือต่อไปโดยเฉพาะหากเชื่อว่าหุ้นที่เลือกมาเป็นหุ้นที่มีศักยภาพในระยะยาวแล้ว แต่หากจะปรับพอร์ตก็คงทำได้คือการขายหุ้นที่ beta ต่ำๆ ( ลงน้อยกว่าตลาดมาก ) มาซื้อหุ้นที่มี beta สูงกว่า โดยมีข้อแม้ว่าหุ้นทั้ง 2 ตัวต้องมีคุณภาพใกล้เคียงกัน คือ ไม่ควรขายตัวดึที่ลงน้อยกว่ามาซื้อหุ้นเน่าที่ลงมากกว่า แต่จะต้องขายหุ้นดีที่ลงน้อยกว่ามาซื้อหุ้นดีเช่นกันแต่ลงมากกว่า
ผมคิดว่าหากรักจะลงทุนในหุ้น ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารค่อนข้างมาก เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวที่ตลาดลงแรงๆ แบบนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องประสบอยู่เป็นระยะครับ ครั้งก่อนๆ ก็จะเป็นเหตุการณ์ 911 ที่ดัชนีลงจาก 350 จุดเหลือ 260 จุดภายในไม่กี่วัน คิดเป็นการลง 25% หรือเท่ากับการลง 180 จุดหากคิดเทียบเท่าดัชนี 740 ซึ่งเป็นดัชนีของปีนี้ ดังนั้นหวังว่านักลงทุนทุกคนจะได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์จากการลงทุนในอนาคตครับ แม้ว่านักลงทุนหลายคนอาจจะขาดทุนหรือตัดสินใจผิดพลาดในการซื้อขายในวันนี้ เช่น ขายแล้วยังไม่ได้ซื้อกลับ ฯลฯ แต่ก็ขอให้คิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้แม้อาจจะมีราคาแพงแต่ก็จะเป็นบทเรียนที่ดีครับ เพราะอนาคตข้างหน้า การปรรับลดลงของดัชนีที่มากกว่านี้อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ ยกตัวอย่างในช่วงทศววรษ 1930 ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 90% จากระดับสูงสุดทีเดียวครับ
เรื่องนี้อาจจะสอนอย่างหนึ่งได้ว่า ซื้อหุ้นเวลาหุ้นลงหนักๆ มือเท้าเย็น บางคนเคาะไปมือสั่นไปเติม 0 เกินมาตัว อาจจะได้กำไรมากกว่าซื้อหุ้นเวลาเรามั่นใจสุดขีดครับ
ตอนสุดท้าย
ส่วนคำถามยอดฮิตว่าในภาวะตลาดหุ้นเช่นนี้ควรทำอย่างไร ตามหัวข้อกระทู้ครับคือพื้นฐานของหุ้นในแต่ละบริษัทโดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนจากมาตรการดังกล่าวนัก ยกเว้นหุ้นที่อาจจะมีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับเรื่องค่าเงินหรือภาวะดัชนีโดยตรง เช่น กลุ่มส่งออก กลุ่มหลักทรัพย์
ดังนั้นผมคิดว่าก็เป็นโอกาสหนึ่งที่จะได้สะสมหุ้น value เข้าพอร์ต โดยให้พิจารณาไม่ใช่แค่ว่าหุ้นไหนลงมากแล้วน่าซื้อทุกตัว คงจะต้องดูพื้นฐานของหุ้น p/e ratio และแนวโน้มธุรกิจในอีก 5-10 ปีข้างหน้าประกอบด้วยครับ ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปซื้อหุ้นที่ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนแล้วหวังว่าในปีต่อๆ ไปจะดีเพราะในตลาดหุ้นตอนนี้ก็ยังมีหุ้นจำนวนมากที่มีผลการดำเนินงานที่มีกำไรครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่มีหุ้นเต็มพอร์ตแล้วก็คงต้องทำใจและอดทนถือต่อไปโดยเฉพาะหากเชื่อว่าหุ้นที่เลือกมาเป็นหุ้นที่มีศักยภาพในระยะยาวแล้ว แต่หากจะปรับพอร์ตก็คงทำได้คือการขายหุ้นที่ beta ต่ำๆ ( ลงน้อยกว่าตลาดมาก ) มาซื้อหุ้นที่มี beta สูงกว่า โดยมีข้อแม้ว่าหุ้นทั้ง 2 ตัวต้องมีคุณภาพใกล้เคียงกัน คือ ไม่ควรขายตัวดึที่ลงน้อยกว่ามาซื้อหุ้นเน่าที่ลงมากกว่า แต่จะต้องขายหุ้นดีที่ลงน้อยกว่ามาซื้อหุ้นดีเช่นกันแต่ลงมากกว่า
ผมคิดว่าหากรักจะลงทุนในหุ้น ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารค่อนข้างมาก เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวที่ตลาดลงแรงๆ แบบนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องประสบอยู่เป็นระยะครับ ครั้งก่อนๆ ก็จะเป็นเหตุการณ์ 911 ที่ดัชนีลงจาก 350 จุดเหลือ 260 จุดภายในไม่กี่วัน คิดเป็นการลง 25% หรือเท่ากับการลง 180 จุดหากคิดเทียบเท่าดัชนี 740 ซึ่งเป็นดัชนีของปีนี้ ดังนั้นหวังว่านักลงทุนทุกคนจะได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์จากการลงทุนในอนาคตครับ แม้ว่านักลงทุนหลายคนอาจจะขาดทุนหรือตัดสินใจผิดพลาดในการซื้อขายในวันนี้ เช่น ขายแล้วยังไม่ได้ซื้อกลับ ฯลฯ แต่ก็ขอให้คิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้แม้อาจจะมีราคาแพงแต่ก็จะเป็นบทเรียนที่ดีครับ เพราะอนาคตข้างหน้า การปรรับลดลงของดัชนีที่มากกว่านี้อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ ยกตัวอย่างในช่วงทศววรษ 1930 ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 90% จากระดับสูงสุดทีเดียวครับ
เรื่องนี้อาจจะสอนอย่างหนึ่งได้ว่า ซื้อหุ้นเวลาหุ้นลงหนักๆ มือเท้าเย็น บางคนเคาะไปมือสั่นไปเติม 0 เกินมาตัว อาจจะได้กำไรมากกว่าซื้อหุ้นเวลาเรามั่นใจสุดขีดครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 20
[quote="ISUZU"]
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 21
คัดท้าย
ผมเคยถามตัวเองว่า
1.ในแง่พื้นฐานของกิจการ หุ้นควรจะได้ p/e เท่าไหร่ เพื่อที่เราจะเลืกหุ้นได้ถูกตัว
2.ในแง่พื้นฐานของมุมองจากนักลงทุนต่างประเทศ หมายความว่าเครดิตโดยรวมของหุ้นในเมืองไทยคงจะต่ำลงไปแล้วและเขาคงไม่ให้ p/e สูงเท่าเมื่อก่อน
สองข้อนี้มีความแตกต่างกันและคล้ายกัน แล้วตัวไหนสำคัญกว่า แล้วเราจะรวมแนวคิดเป็นอันเดียวเพื่อเลือกหุ้นได้อย่างไร
สรุปว่า วิธีวิเคราะห์ตามข้อหนึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว(ไม่เอาข้อสองเป็นตัวนำ) แต่คงคาดหวังว่าจะเป็นไปตามที่เราหวังมากไม่ได้เพราะข้อสองคงจะเป็นตัวฉุดลงเยอะพอสมควร หรือเปล่า.......
ประเด็นนี้ดีครับและก็คาใจผมอยู่เหมือนกันและก็ยังหาคำตอบไม่ได้ผมว่าลองมาคุยกันบ้างดีกว่า ว่ามาตรการแบงก์ชาติ กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นในตลาดตอนนี้
มีตัวไหนเปลี่ยนแปลงมั่งครับ และทำไม ???
ผมเคยถามตัวเองว่า
1.ในแง่พื้นฐานของกิจการ หุ้นควรจะได้ p/e เท่าไหร่ เพื่อที่เราจะเลืกหุ้นได้ถูกตัว
2.ในแง่พื้นฐานของมุมองจากนักลงทุนต่างประเทศ หมายความว่าเครดิตโดยรวมของหุ้นในเมืองไทยคงจะต่ำลงไปแล้วและเขาคงไม่ให้ p/e สูงเท่าเมื่อก่อน
สองข้อนี้มีความแตกต่างกันและคล้ายกัน แล้วตัวไหนสำคัญกว่า แล้วเราจะรวมแนวคิดเป็นอันเดียวเพื่อเลือกหุ้นได้อย่างไร
สรุปว่า วิธีวิเคราะห์ตามข้อหนึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว(ไม่เอาข้อสองเป็นตัวนำ) แต่คงคาดหวังว่าจะเป็นไปตามที่เราหวังมากไม่ได้เพราะข้อสองคงจะเป็นตัวฉุดลงเยอะพอสมควร หรือเปล่า.......
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จ
โพสต์ที่ 22
1. รายได้อาจจะเพิ่มขึ้นลดลงนิดหน่อย จากค่าเงิน (อันนี้ถือว่าจิ๊บจ๊อย)คัดท้าย เขียน: ผมไม่ใช่ VI แต่ก็อยากรู้เหมือนกัน ว่านโยบายแบงก์ชาติ ทำให้การคำนวน มูลค่าที่แท้จริงเปลี่ยนไปยังไงมั่ง
VI ท่านไหนมีความรู้ช่วยคำนวนสูตร ที่ Relate กันให้ด้วยครับ ว่าเครดิตเรตติ้งของ ตปท กับมูลค่าที่แท้จริงมันเข้าสูตรกันยังไงบ้าง ?
2. wacc สูงขึ้น เพราะว่า cost of equity สูงขึ้นเนื่องจากเครดิตเรตติ้งตก (อันนี้น่าจะหนักกว่า)
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 23
ประเด็นนี้ดีครับและก็คาใจผมอยู่เหมือนกันและก็ยังหาคำตอบไม่ได้สามัญชน เขียน:คัดท้าย
ผมเคยถามตัวเองว่า
1.ในแง่พื้นฐานของกิจการ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 24
ไม่ได้บอกให้ซื้อเลยนะ อย่าลืม ผมเขียนว่า
แต่ผมว่าเอาเวลาตกใจ ไปทำการบ้านคัดหุ้นดีกว่าครับ ตอนนี้ตอนแรกผมจะช้อนครับ พอผมไปดูราคา BigCap นะครับ งงเลย ปรากฏ ราคาหลายตัวถ้าไม่นับพวกพลังงาน ราคามันลงไปยังไม่ถึง Low ของปีนี้เลย อีกไกลเลยครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 25
โทรไปถาม BOT Hotline เค้าบอกว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้โดน Cap ไว้ด้วยครับคัดท้าย เขียน: อสังหานี่มีข่าวว่าจะได้รับการผ่อนผันเหมือนตลาดหุ้นครับ แต่ผมไม่ทราบรายละเอียดและข้อเท็จจริง
ใครทราบบอกทีครับ
Impossible is Nothing
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 26
woody เขียน: โทรไปถาม BOT Hotline เค้าบอกว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้โดน Cap ไว้ด้วยครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มาคุยกันแบบ VI มั่งดีก่า ว่ามาตรการใหม่ กับมูลค่าที่แท้จริง?
โพสต์ที่ 30
รู้สึกพันธบัตรโดนกักครับbuglife เขียน:ตกลง 30/70 เนี่ยะ ผ่อนผันหมดทุกตลาดใช่ไหมครับ
เก็งกำไรค่าเงินกันได้เหมือนเดิมแล้ว เย้
จริงๆอยากเห็น List เหมือนกันนะ ว่าอะไรกัก อะไร ไม่กัก :D
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying