ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
เฟยหง
Verified User
โพสต์: 127
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เนื่องจาก ธปท.มีการกำหนดนโยบายเป็นแบบ inflation targeting
ซึ่งทั้งๆที่ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาเงินเฟ้อเรื้อรังและยาวนาน  
และการควบคุมเงินเฟ้อ  หมายถึง  การขึ้นดบ. ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินแข็ง
และ ธุรกิจส่งออกมีปัญหา  ทำให้การตกงานเพิ่มสูงขึ้น.....

เมื่อมีปัญหาจากภายนอก  อย่างราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ก็พบว่า ธปท.ไม่สามารถจะคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่ 3% ได้เลย  
ในขณะที่ความพยายามคุมเงินเฟ้อจาก cost push นั้น  แลกด้วยการขึ้น
อดบ. ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้ ดีมานด์ในปท.แย่ลง และ ค่าเงินบาทแข็งขึ้น

ผมได้ยืนยันมาตลอดว่า ธปท.ดำเนินนโยบายการเงินผิดพลาด
ควรจะลด ดบ.ไม่ใช่ขึ้นดบ. ในการประชุม กนง. ครั้งหลังๆ  
ไทยควรเปิดช่องว่าง ส่วนต่าง ดบ.กับ USA ให้ได้ถึง 100 bps  
เพราะอย่างไรเราก็คุมเงินเฟ้อที่มาจากราคาน้ำมันสูงไม่ได้อยู่ดี  
ถ้าทำตั้งแต่ตอนนั้น  เราก็จะไม่เปิดช่องการเก็งกำไรให้ hedge fund
และ ค่าเงินบาทก็คงไม่แข็งค่ามาจนถึงปัจจุบัน และ ไม่ต้องใช้มาตรการ
ควบคุมเงินทุนแบบบ้าเลือดขนาดนั้น

การที่ ธปท.พยายยามคุมเงินเฟ้อ  ซึ่งเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้
ด้วยการขึ้น ดบ. ต่อเนื่องถึงระดับ 5%
ได้ส่งผลเสียตามมามาก   ต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท  เสียหายนับแสนล้านบาท  แต่ก็ยังไม่เห็นผล  ทำให้ธุรกิจส่งออกเริ่มมีปัญหา   นอกจากนี้
อดบ.ที่สูงเกินไปยังกดดันให้ดีมานด์ต่างๆ ภายใน ปท.ไม่ฟื้นตัวอีกด้วย  

ผมคิดว่า หม่อมอุ๋ย และ คุณธาริษา  เจ็บแค้น hedge fund มาก  เพราะทำให้แบงก์ชาติขาดทุนจากการ swap ไปเป็นแสนล้าน แถมต้องแบกต้นทุนดบ.
จากพันธบัตรที่ออกมาดูดสภาพคล่องถึงปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท
และถ้าดำเนินการลดดบ.ในช่วงนี้  ก็จะทำให้ hedge fund คาดถูก
และกำไรถึง 2 เด้ง คือ ทั้ง forex และ ราคาพันธบัตร หุ้น ที่สูงขึ้น  
และพวกเขาคิดว่า  การทำให้ hedge fund ขาดทุน ก็คือ ประเทศชาติได้กำไร แต่ที่จริงแล้ว  พวกเราก็รู้กันดีว่ามันไม่ใช่เรื่องของ zero sum game (สำหรับตลาดอัตราแลกเปลี่ยน)  
แต่เป็นเรื่องของ win win game มากกว่า  ในส่วนของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้   หาก hedge fund ได้กำไรก็หมายถึง.... นักลงทุนส่วนใหญ่ทั้งในและ ตปท.ก็จะได้กำไรตามไปด้วย  

ผมอยากจะเสนอให้ ธปท.ยกเลิก inflation targeting เสีย  แล้วนำแนวคิดนโยบายการเงินทั่วๆ ไปมาใช้  หากศก.โตช้าไป (เช่นต่ำกว่า 6%) ก็เหยียบคันเร่ง  ด้วยการลด อดบ. หาก ศก.โตเร็วไป (โตกว่า 6%) ก็เหยียบเบรก  ด้วยการขึ้น อดบ.

ยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุนเสีย  เพราะตอนนี้ตลาดพันธบัตรปั่นป่วนมาก  บริษัทที่จะออกหุ้นกู้ต้องยกเลิกกันเป็นแถว   ไหนๆ ที่ผ่านมาก็ได้ดัดหลังพวก hedge fund ให้ได้รู้สำนึกไปบ้างแล้ว  

หาก 10 ปีก่อน  ตัวปัญหาของ ธปท. คือ "ระบบตะกร้าเงินบาท"   ณ ปัจจุบันนี้  ตัวปัญหาก็คือ  นโยบาย "inflation targeting"  ซึ่งมีเพียง 7 ประเทศเท่านั้นที่ใช้กัน  และล้วนแต่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว  ซึ่งผลกระทบของราคาน้ำมันมีต่อเงินเฟ้อนั้นอยู่ในระดับต่ำ  และยังมีเงินรัฐคอยสนับสนุนสวัสดิการสังคมจำนวนมากเมื่อเทียบกับไทย  

ขอยืมข้อเขียนของ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์  ปี 2543  ดังนี้
- ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลัง "หน้ามืด" มองเห็น Inflation Targeting เป็น "ยาวิเศษ" ที่จะฟื้นคืนความน่าเชื่อถือของตนเอง (Credibility) หาได้ สำเหนียกว่าความน่าเชื่อถือเกิดจากเหตุปัจจัยนานัปการ มิได้เกิดจากความ สำเร็จในการดำเนินนโยบายเพียงโสดเดียว ในประการสำคัญ ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายแก้ "ปัญหา" ในสิ่งที่มิได้เป็นปัญหา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Golden Stock
Verified User
โพสต์: 615
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายแก้ "ปัญหา" ในสิ่งที่มิได้เป็นปัญหา
ชัดเจน  :wink:
giv2000
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

giv2000

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เห็นด้วยกับพี่เฟยหงครับ การแก้ปัญหาค่าเงินผมว่าน่าจะเริ่มด้วยการลด

ดอกเบี้ย พร้อมกับการให้ภาคเอกชนใช้หนี้ในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

(เพราะเงินบาทแข็งเกินไปจึงเป็นเวลาเหมาะที่จะชำระหนี้ในสัดส่วนที่น้อย

ลง) อันทำให้มีเงินไหลออกและทำให้ภาคเอกชนมีความแข็งแกร่งทางด้าน

การเงิน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Muffin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เห็นด้วยกับพี่เฟยหงครับ
แบงค์ชาติเจ็บตัวไปไม่ใช้น้อย...ไม่สิ คนไทยทั้งประเทศ เจ็บตัวไปไม่ใช้น้อย...
การเอาไม้ซีก(บวกกับอีโก้)ไปงัดไม้ซุง ผมก็ไม่รู้จะทำไปทำไม น่าจะหาทางเอาชนะด้วยการไม่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นมากกว่า
iambuffet
Verified User
โพสต์: 337
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เมื่อครั้งคุณสนธิ บอกว่าน้ำมันมันจะขึ้นไปถึง 50 เหรียญ
คุณทักษิณ บอกว่าน้ำมันขึ้นแล้วมันต้องลง
สุดท้ายเสียหายกันไปเท่าไหร่
ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม
แต่คุณทักษิณก็ทำประโยชน์ให้
ประเทศไทยไว้มากเช่นกันนะครับ

เพียงแต่การไม่ฟังความเห็นคนอื่น ๆ
ยึดมั่นถือมันในตัวเอง บางครั้งมันก็ทำลายตัวเอง
หลายคนอาจจะไม่ชอบคุณสนธิ
หลายคนอาจจะไม่ชอบคุณทักษิณ
หลายคนอาจจะไม่ชอบคุณเอกยุทธ
แต่หากไม่มีทิฐิ รับฟังความเห็นของทุก ๆ
จะเห็นว่า แต่ละคนล้วนแล้วแต่เป็นผู้รู้
ผู้มีปัญญา และบางครั้งก็มีความคิด ดี ๆ
ในการแก้ปัญหา แต่ละอย่าง

เรือจะใหญ่ใบต้องกว้างครับ
:D
iambuffet
Verified User
โพสต์: 337
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 6

โพสต์

นึกถึงตอนต้มยำกุ้ง
คุณเฟยหงก็เคยมีคำแนะนำที่ดี
และหากทำตามที่คุณเฟยหงแนะนำ
บ้างเมืองเราจะลดความเสียหายไปได้มหาศาล
น่าเสียดายนะครับ
ที่พูดไปก็ไม่มีใครฟัง
แย่จัง
iambuffet
Verified User
โพสต์: 337
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แต่ครั้งนั้นถ้าจำไม่ผิด
ก็เพราะไม่เชื่อคุณเฟยหง
เลยทำให้ ผู้ว่าแบงค์ชาติ
ต้องรับผิดชอบ
แบบรับไม่ไหว

บางครั้งการรับฟังความเห็นคนอื่นบ้าง ก็เป็นรื่องที่ดีครับ
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมว่าท่านเฟยหงใช้ชื่อจริงนามสกุลจริง เปิดเว็บหรือBlog เขียนบทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาคให้เป็นความรู้แก่ประชาชน

น่าจะมีคนติดตาม ไม่มากก็น้อย รวมถึงสื่อมวลชนด้วยครับ

เท่าที่ทราบ ยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนไหนทำ web หรือ blog เป็นเรื่องเป็นราวครับ
ลูกไม่ท้อ
Verified User
โพสต์: 421
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 9

โพสต์


แต่ถ้าการไหลเข้าออกของเงินทุนมีลักษณะมากเกินไป จนกระทบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ลำพังจะใช้วิธีซื้อขายเงินตราต่างประเทศคงจะไม่เพียงพอ ก็คงต้องพิจารณาใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือช่วยอีกแรง โดยการลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นการลดความร้อนแรงของการเข้ามาของเงินทุน เพราะดอกเบี้ยจะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของเงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในตลาด  แต่ถ้ากำหนดไปเสียแล้วว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือสำหรับเป้าหมายทางเงินเฟ้ออย่างเดียว จะไม่ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน จึงเหลือแต่การนำเงินดอลล่าร์มาซื้อขายในตลาดอย่างเดียวก็คงไม่เพียงพอ ถ้าค่าเงินอ่อนเกินไป หรือแพงเกินไป จนจะกระทบภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง คือการนำเข้าหรือการส่งออก ที่เหลือก็คือการเข้าควบคุมโดยตรงหรือวิธีภาษีอากร หรือวิธีอื่น ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงินของประเทศ

อย่างหนึ่ง ด้วยความเคารพ อยากให้ทางการลองทบทวนการใช้ เงินเฟ้อ เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินนั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมเพียงใด การใช้ เงินเฟ้อ เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินเป็นเหตุให้เครื่องมือที่สำคัญคือ อัตราดอกเบี้ย ไม่สามารถนำมาใช้ดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนได้โดยตรงเมื่อเกิดปัญหาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
เรื่องนโยบายการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โลกทุกวันนี้ มาตรการการเงินจึงเป็นเรื่องใหม่ที่มีผลข้างเคียงมาก ต้องคิดให้รอบคอบและรอบด้าน เพราะผู้ร้ายตัวสำคัญของโลกทุกวันนี้ก็คือพวกกองทุนเก็งกำไร หรือ Hedge fund ทั้งหลาย ไอเอ็มเอฟ ควรจะเป็นหัวหน้าเรียกร้องให้มีการควบคุมพฤติกรรมของกองทุนเก็งกำไรเหล่านี้ได้แล้ว
คงต้องรอดูผลของมาตรการทางการเงินเที่ยวนี้สักพัก


ผมไปหาอ่านมาจากแหล่งความรู้อื่นๆหนะครับ ไม่ใช่ผมเขียนเองหรอกครับ คุ้นๆว่า ผู้เขียนข้อความดังกล่าว คือ วีรพงษ์ รามางกูร จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 25 27 ธันวาคม 2549
รู้สึกดีๆ
ลูกไม่ท้อ
Verified User
โพสต์: 421
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขออภัย ลืมใส่คำว่า ดร. หน้าคำว่า วีรพงษ์ รามางกูร (เดี๋ยวจะหาว่าไม่ให้เกียรติ์กันครับ )
รู้สึกดีๆ
prin
Verified User
โพสต์: 133
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ดูๆแล้ว ส่วนใหญ่คิดว่า การเพิ่ม-ลดดอกเบี้ย จะแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จนะ
จริงๆแล้ว ผมยังไม่ค่อยจะเชื่อเสียทีเดียว
การเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ย ต้องมีปัจจัยสนับสนุนครับ
การให้ความเห็นในการเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ยแต่ละครับ ต้องอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากอัตราเงินเฟ้อด้วย มีอีกหลายอย่างเลย เช่น อัตราดอกเบี้ยคู่ค้า คู่แข่งของประเทศ ระยะช่องว่างที่เหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยของเรากับประเทศเหล่านั้น ช่องว่างระหว่าอัตราดอกเบี้ยกับอัตราเงินเฟ้อ(หรือแม้แต่เงินฝืด) ทั้งในภาวะ cost push หรือ demand pull ก็ตาม

ที่กล่าวทั้งหมด ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยในความเห็นของหลายๆท่าน เพียงแต่ยังไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอครับ นโยบายการเงินและการคลังต้องสอดคล้องกันครับ
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณครับ...
pylon ยังน่าสนใจมั๊ยครับ พี่เฟยหง... :shock:  :shock:  :shock:
เทียน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 13

โพสต์

:cool:
artvr4
Verified User
โพสต์: 767
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 14

โพสต์

jaychou เขียน:ผมว่าท่านเฟยหงใช้ชื่อจริงนามสกุลจริง เปิดเว็บหรือBlog เขียนบทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาคให้เป็นความรู้แก่ประชาชน

น่าจะมีคนติดตาม ไม่มากก็น้อย รวมถึงสื่อมวลชนด้วยครับ

เท่าที่ทราบ ยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนไหนทำ web หรือ blog เป็นเรื่องเป็นราวครับ
:cool:  :cheers:


เคยอ่าน ความเห็นคุณ เฟยหง ในพันทิพมานาน ครับ ยอมรับว่า มีมุมมองที่น่าสนใจมาก น่าจะลองทำ blog  ดูนะครับ
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 15

โพสต์

คุณเฟยหงเยี่ยมครับ ชอบลีลาการพูดจัง

น่าเขียน blog ครับ แนะนำเลยๆ ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ต่อข้อคำถามที่ว่าทำไมลดอัตราดอกเบี้ยแล้วจะช่วยให้การเก็งกำไรค่าเงินได้ ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เห็นด้วยว่าควรใช้การลดอัตราดอกเบี้ยช่วย ปัจจัยที่ทำให้คิดได้ว่าอย่างนี้คือ

1 ในรอบปีกว่าที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างแรง แต่พอมาถอดเอาผลกระทบจากราคาพลังงานออกกลับเห็นอัตราเงินเฟ้อไม่ได้สูงมากผิดปกติ นั่นแสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อสูงขึ้นเกิดจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นนั่นเอง จึงเป็นที่มาของ Cast push inflation พอราคาพลังงานปรับลดลง เงินเฟ้อก็ลดตาม เห็นได้ว่าเราควบคุมมันไม่ได้

2 การใช้ Inflation Targeting นั้นมุ่งที่จะเอาอัตราดอกเบี้ยนโยบายกดเงินเฟ้อให้ยุบ ที่ผ่านมาท่านอดีตผู้ว่าธ.ชาติพยายามจะบอกว่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก เพราะที่ผ่านมาเป็นลบจากการที่เงินเฟ้อสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย

3 การอ่อนค่าของเงินดอลล่าสหรัฐ การเก็บสินทรัพย์ไว้ในรูปเงินดอลล่าจะทำให้เงินลดค่าลง จึงพยายามหาทางรักษาค่าของเงินเอาไว้ด้วยการแปลงดอลล่าออกเป็นสินทรัพย์สกุลอื่นๆเงินจึงไหลมาทางเอเชียเป็นอันมาก

พอในกลางปีถึงปลายปี49 ราคาพลังงานลดลง เงินเฟ้อลดลง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเริ่มถ่างกว้างขึ้นหรือมีแนวโน้มเป็นบวก ตรงนี้เป็นตัวที่แสดงให้เห็นว่าการนำเอาเงินดอลล่ามาเป็นสินทรัพย์ในรูปของเงินบาทนั้นมีแนวโน้มจะไม่ด้อยค่าลงเพราะเงินเฟ้อ แต่กลับจะเพิ่มค่าขึ้นเพราะมีผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก และพร้อมจะออกไปที่อื่นถ้าที่อื่นให้ผลตอบแทนดีกว่า

การลดอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นแนวทางที่น่าจะสมเหตุสมผลที่สุดในการที่จะลดช่องว่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้เกิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำจนไม่น่าจะคุ้มที่จะเก็นสินทรัพย์ไว้ในรูปเงินบาท เงินทุนเหล่านี้ก็จะออกไปหาแหล่งใหม่ที่สามารถคงสภาพค่าของเงินของเขาเอาไว้ได้ ซึ่งก็จะช่วยทำให้ค่าเงินมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้นโยบายรุนแรงอะไรเลย
(หมายเหตุ: เรื่องนี้ท่านแม่ทัพสุมาอี้กรุณาอธิบายให้ผมฟังจนเข้าใจ)

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าคิดคือ ที่ผ่านมาเงินของเราอ่อนเกินไปหรือไม ตอนแข็งค่าขึ้นมาก็ขึ้นมาเท่าๆกับชาวบ้านนั่นแหละแต่เราอ่อนเกินจึงขึ้นมากกว่า แต่ประเด็นนี้หาข้อมูลมายันไม่ได้เลยตกไป

------------------------------------------------------------------------------------

ประชาชนคนไทยก็คิดกันเอาเองละกันว่า ผู้ที่กำหนดนโยบายนั้น ผิดพลาดมาแต่ต้นหรือเปล่า จนต้องมาหาทางกลบปัญหากันเมื่อมันกำลังจะเข้าตัว หรือเขาทำถูกแล้ว แก้ถูกแล้ว และทำเพื่อชาติ

ที่บอกอย่างนี้เพราะมันคิดได้ทั้งสองทาง เราไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะฟันธง แต่มีสิทธิ์จะคิด
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 17

โพสต์

คุณเฟยหงวิเคราะห์ได้ดีครับ เห็นด้วย :bow:
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ส่วนเรื่องลดดอกเบี้ยผมเห็นด้วยกับคุณมนครับ

ค่าเงินตราเนี่ยขึ้นอยู่กับ อัตราดอกเบี้ยแท้จริง คือ ดอกเบี้ย Norminal ลบ กับเงินเฟ้อ ส่วนใหญ่ monetary policy ก็ขึ้นอยู่กับ ลดๆขึ้นๆดอกเบี้ยนี่แหละครับ นานๆผมจะเห็นมาตรการอย่างนี้ซักที จริงๆน่าจะลองปรับดอกเบี้ยดูก่อนนะ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
ภาพประจำตัวสมาชิก
Wvix
Verified User
โพสต์: 124
ผู้ติดตาม: 0

ผมคิดว่าต้นตอของปั้ญหา คือ inflation targeting ของ ธปท.

โพสต์ที่ 19

โพสต์

จะโทษ Inflation Targeting ก็ไม่ถูกเสมอไปนะครับ ผมว่านโยบายเนี้ยจะดีไม่ดีก็ขึ้นกับคนใช้เองด้วย
ก็รู้ๆ กันอยู่นี่ครับว่า Inflation ที่สูงขึ้นมันเกิดจากตัวแปรที่เรากำหนดไม่ได้ ทำไมเราไม่ตัดตัวแปรที่เรากำหนดไม่ได้นี้ออกไป
หรือทำไมไม่ยอมปล่อยให้ Target ของ Inflation มันสูงขึ้นมาจากระดับปกติล่ะ
ทำไมต้องทำตัวเป็นหุ่นยนต์ (roBOT) ที่พอตั้งโปรแกรมไว้อย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้น ของอย่างนี้มันประยุกต์กันได้นี่

เรื่องอัตราดอกเบี้ยแปลกใจเช่นกันครับว่าทำไมไม่ยอมลด (เกรงใจ ธพ. หรือ)
การลดอัตราดอกเบี้ยใช้วิธีแยปๆ ค่อยๆ ลด หรือบางทีเพียงแค่การส่งซิกส่งสัญญาณก็น่าจะทำให้รู้ทิศรู้ทางของกระแสเงินลงทุนระยะสั้นได้แล้ว
ว่าจะดำเนินไปในทิศทางไหน ทำไมถึงได้เลือกใช้วิธีเหวี่ยงแหรุนแรงด้วย
โพสต์โพสต์