ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 1
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยครับ พูดถึงเรื่องมาตรการแบงก์ชาติ
ข้อมูลนี้ มาจาก eFinanceThai ครับ
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท … จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามาตรการสำรองเงินนำเข้าระยะ
สั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน
(Capital Control Measures) ที่ได้ประกาศในเย็นในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 นั้น โดยได้ทำ
ให้ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ร่วงลงถึง 108.71 จุดในวันที่ 19 ธันวาคม ทั้งนี้ แม้ว่าทาง
การไทยจะยอมผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวในเย็นวันดังกล่าว หลังจากพบว่าผลกระทบต่อตลาด
นั้นมีมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งได้ช่วยให้ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม แต่ดัชนี
หุ้นก็ยังกลับมาปรับตัวลดลงอีกในวันถัดมา ในขณะที่สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้น ก็ยังคงมีคำถาม
คาใจว่าทางการไทยจะกลับมาใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Control) อีกหรือ
ไม่ ถ้าหากเหตุการณ์แปรเปลี่ยนไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อน
ค่าลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินบาทรวมทั้งเงินใน
ภูมิภาคเอเซีย กลับมามีแนวโน้มปรับค่าขึ้นได้อีก
ย้อนระลึกเหตุการณ์ปี 2539-2540
การที่ทางการไทยออกมาต่อสู้กับนักเก็งกำไรเพื่อรักษาระดับค่าเงินบาทดังกล่าว ทำให้
ย้อนระลึกไปถึงเหตุการณ์เมื่อ 10 ปีที่แล้วในช่วงปี 2539-2540 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในที่สุด
แล้วก็ตามมาด้วยการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 โดยในครั้งนั้น ธปท.
ได้ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อที่จะรักษาระดับเงินบาทที่เกือบจะผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯที่ระดับ
ประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยเกรงว่าหากปล่อยให้เงินบาทลอยตัวตามคำแนะนำของ IMF ก็
จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเอกชนไทยที่ได้ทำการก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมากใน
ระหว่างช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ 2530-2539 (โดยยอดหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นปี 2539 สูง
กว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับทุนสำรองที่ในขณะนั้นอยู่มีต่ำกว่า 4 หมื่นล้าน
ดอลลาร์ฯ) แต่ในที่สุดแล้ว ทุนสำรองของประเทศที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็วจากการถูกนำไปทุ่มสู้
เพื่อรักษาค่าเงินบาทดังกล่าว ทำให้ธปท.ต้องยอมปล่อยให้เงินบาทลอยตัวในวันที่ 2 ก.ค. 40 ซึ่ง
ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในปี 2540-2541
แม้ว่าการดำเนินการในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา จะเป็นการดำเนินการเพื่อ
รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทเหมือนกัน แต่เหตุการณ์ในปี 2539-2540 นั้นก็มีความแตกต่าง
กับเหตุการณ์ในปัจจุบันหลายประการ ดังนี้
เป้าหมายของการแทรกแซงค่าเงินบาทของธปท.ในช่วงปี 2539-2540 นั้น เป็นไป
เพื่อพยายามรักษาระดับค่าเงินบาทที่เกือบจะผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์ฯที่ระดับ 25 บาท/
ดอลลลาร์ฯไว้มิให้ต้องอ่อนค่าลงจนกระทบภาคเอกชนไทยที่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็นจำนวน
มากถึงกว่าแสนล้านดอลลาร์ฯ ในขณะที่การแทรกแซงในปี 2549 ที่ผ่านมานั้น เป็นไปเพื่อมิให้
เงินบาทแข็งค่ามากและเร็วเกินไป เพื่อที่จะช่วยผู้ส่งออกเนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนกว่าร้อยละ
60 ของ GDP ของประเทศ เทียบกับเพียงร้อยละ 30 ในปี 2539 โดยดูเหมือนว่าทางการไทยไม่
ต้องการให้เงินบาทแข็งค่าเกินระดับ 35.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ซึ่งถูกมองว่าเป็นระดับทางจิตวิทยาที่
สำคัญของตลาดค้าเงิน
ทั้งนี้ การก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากของภาคเอกชนไทยในช่วงฟองสบู่ก่อนปี 2539
นั้น เป็นผลจากภาวะการลงทุนที่เกินตัว และการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในภาคอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งสะท้อนโดยภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศในช่วงนั้น (ขาดดุลมากถึง -8.1%
ของ GDP ในปี 2539) ในขณะที่ในปัจจุบันนี้ทางการไทยต้องการให้ความสำคัญต่อการส่งออก
เนื่องจากภาวะการใช้จ่ายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุน ไม่ได้ขยายตัวมากอย่างที่ควรจะเป็น
อันเป็นผลจากปัจจัยลบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นภาวะราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
ความแตกต่างระหว่างการป้องกันค่าเงินในของ ธปท. เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และในปัจจุบัน
2539-2540
1. ประเด็นปัญหา
เงินทุนไหลออก : เงินบาทที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯ ถูกโจมตีอย่างหนักในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2539 ต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2540 จากที่นักลงทุนมีความกังวลต่อความไม่
สมดุลระหว่างฐานะหนี้ต่างประเทศและระดับทุนสำรองของไทย รวมทั้งปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด
(-8.1% ของ GDP) ท่ามกลางการชะลอตัวของการส่งออกในปี 2539 (การส่งออกติดลบ 1.9%
ในปี 2539)
2549
เงินทุนไหลเข้า : เงินบาทแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่าค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยก่อนการ
ประกาศมาตรการในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เงินบาทแข็งค่าไปกว่า 16% จากปลายปี 2548
เทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่แข็งค่าไม่เกิน 7% ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาท
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักค้าเงินมองว่าหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา เงินบาท
แข็งค่าขึ้นน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับเงินวอนของเกาหลีใต้และเงินสิงค์โปร์ดอลลาร์
2. สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในขณะนั้น
2539-2540
การลงทุนเกินตัว โดยมีการก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากของภาคเอกชนไทย ซึ่งเป็นผล
มาจากภาวะการลงทุนที่เกินตัวและการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่
ระหว่างปี 2530-2539 โดยในปี 2539 เศรษฐกิจไทยมีสัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ
GDP สูงถึง -8.1%
2549
การลงทุนต่ำระดับ การที่เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นเพราะการลงทุนและการ
บริโภคถูกกระทบจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย และปัญหาการเมืองในประเทศ โดยไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดตั้งแต่ปี
2541 และเพิ่งจะกลับมาขาดดุลในปี 2548 ในสัดส่วน 4.4% ของ GDP
3. เป้าหมายของการป้องกันค่าเงินบาทของธปท.
เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและช่วยภาคเอกชนไทยที่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็น
จำนวนมาก (ทั้งโดยตรงและผ่าน BIBF) โดยพยายามที่จะรักษาระดับเงินบาทที่เกือบจะผูกติด
กับเงินดอลลาร์ฯไว้ที่ประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ
เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและช่วยผู้ส่งออก โดยป้องกันมิให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไป
เกินระดับ 35.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ที่ถูกมองว่าเป็นแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา
4. ผลการเข้าแทรกแซงของธปท.ต่อฐานะทุนสำรองของประเทศ
ทุนสำรองลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหมดไปกับการที่นักเก็งกำไรและนักลงทุนต่าง
ชาติ พากันถอนเงินออกโดยนำไปซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ระดับที่ผูกติดไว้แน่นดังกล่าว ในขณะที่
ธปท.ต้องเป็นฝ่ายขายดอลลาร์ฯ ซึ่งส่งผลให้จากกลางปี 2539 จนถึงปลายปี 2540 ทุนสำรองสุทธิ
ที่หักการกู้ยืมผ่านธุรกรรม Swap ของธปท.ได้ลดลงไปรวมประมาณ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
ทุนสำรองเพิ่มขึ้น จากการที่ ธปท. ต้องรับซื้อเงินดอลลาร์ฯและขายเงินบาทให้แก่ผู้นำ
เงินเข้ามา โดยจากปลายปี 2548 จนถึงวันที่ 8 ธ.ค. 2549 ทุนสำรองที่นับรวมฐานะการให้กู้ของ
ธปท.ผ่านธุรกรรม Swap ได้เพิ่มขึ้นรวมแล้วประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
5. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
2539-2540
การปรับลดอย่างมากของระดับทุนสำรองฯทำให้ธปท.ต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทใน
วันที่ 2 ก.ค. 40 และขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ในเดือนถัดมา ในขณะที่ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น
ของภาคเอกชน และการหดตัวของการลงทุนได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี
2540 และ 2541 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ได้ทยอยฟื้นตัว หลังจากที่ความเชื่อมั่นของนัก
ลงทุนเริ่มกลับคืนมา และจากการขยายตัวของการส่งออก
2549
การใช้มาตรการควบคุมเงินทุน (Capital Control) ของ ธปท.อาจส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้นบ้าง และกระทบต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่าง
ประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ฐานะทุนสำรองของประเทศอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และการที่ระบบ
สถาบันการเงินไทยยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไม่น่าจะมี
มากนัก โดยเฉพาะหากทางการไทยสามารถเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กลับคืนมาได้
โดยเร็ว
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
แม้ว่าการดำเนินการแทรกแซงค่าเงินของธปท.ในปัจจุบัน กับในช่วงปี 2539-2540 จะ
มีความแตกต่างกันหลายประการ แต่ผลที่ตามมาหลังการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ก็คือ
ความชัดเจนของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และการทยอยกลับมาของความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ในขณะที่ประเด็นปัญหาในขณะนี้ก็คือ นักลงทุนต่างชาติบางส่วนก็อาจจะยังคงมีความกังวลว่าทาง
การไทยจะกลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนอีกหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากเงินดอลลาร์ฯตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 ซึ่ง
อาจจะส่งผลให้เงินบาทและเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคกลับมาแข็งค่าขึ้นได้อีก
สำหรับประเด็นทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ประเด็น
หลัก ณ ขณะนี้ น่าจะอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกในสัดส่วนที่สูงเกินไปถึงกว่าร้อยละ 60
ของ GDP ซึ่งย่อมจะสร้างแรงกดดันให้ทางการไทยจำต้องดำเนินการรักษาความสามารถในการ
แข่งขันของค่าเงินบาท เพื่อมิให้กระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินนั้นมิใช่ปัจจัยสำคัญเพียงประการเดียวในการกำหนดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ผู้ส่งออกไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่สินค้าส่งออกให้มากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้
ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของไทยยืนหยัดในเวทีการค้าโลกได้ โดยตัวอย่างที่ดีน่าจะ
เป็นกรณีของญี่ปุ่นที่สามารถเอาตัวรอดได้หลังจากการแข็งค่าอย่างมากของเงินเยนจากข้อตกลง
Plaza Accord ในปี 1985 ซึ่งสหรัฐฯได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อนตัว
ลง เพื่อที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ แม้การรักษาความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกยังคงเป็นสิ่งที่จำ
เป็น แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาระยะกลางถึงระยะยาว น่าจะ
อยู่ที่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการลงทุนในประเทศ และการทยอยลดการพึ่งพิงการส่ง
ออกลง เพื่อมิให้กลับมาสร้างแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนกับที่ได้
เกิดขึ้นในขณะนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ในเชิงนโยบายแล้ว การสร้างความแข็งแกร่ง
ของการลงทุนในประเทศสามารถดำเนินการได้ในหลายด้าน เช่น การวางกรอบกฎหมายที่เป็น
ธรรมและเกื้อหนุนการลงทุนทั้งแก่นักลงทุนในและต่างประเทศ การเร่งพัฒนาโครงสร้าง
สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะระบบการคมนาคมขนส่ง การบริหารทรัพยากรน้ำ และ
การจัดการด้านพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังแรงงานในประเทศ โดยการ
เพิ่มระดับคุณภาพของการศึกษาของไทย ในขณะที่มาตรการเฉพาะหน้าอาจจะได้แก่ การเร่ง
ฟื้นฟูความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติว่า ทางการไทยยังคงมองว่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็น
สิ่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเงินลงทุนโดยตรงระยะยาว และยังคงให้ความสำคัญที่จะ
ดึงดูดเงินลงทุนดังกล่าว ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นในสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
โดยการเร่งยกร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ข้อมูลนี้ มาจาก eFinanceThai ครับ
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท … จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามาตรการสำรองเงินนำเข้าระยะ
สั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน
(Capital Control Measures) ที่ได้ประกาศในเย็นในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 นั้น โดยได้ทำ
ให้ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ร่วงลงถึง 108.71 จุดในวันที่ 19 ธันวาคม ทั้งนี้ แม้ว่าทาง
การไทยจะยอมผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวในเย็นวันดังกล่าว หลังจากพบว่าผลกระทบต่อตลาด
นั้นมีมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งได้ช่วยให้ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม แต่ดัชนี
หุ้นก็ยังกลับมาปรับตัวลดลงอีกในวันถัดมา ในขณะที่สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้น ก็ยังคงมีคำถาม
คาใจว่าทางการไทยจะกลับมาใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Control) อีกหรือ
ไม่ ถ้าหากเหตุการณ์แปรเปลี่ยนไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อน
ค่าลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินบาทรวมทั้งเงินใน
ภูมิภาคเอเซีย กลับมามีแนวโน้มปรับค่าขึ้นได้อีก
ย้อนระลึกเหตุการณ์ปี 2539-2540
การที่ทางการไทยออกมาต่อสู้กับนักเก็งกำไรเพื่อรักษาระดับค่าเงินบาทดังกล่าว ทำให้
ย้อนระลึกไปถึงเหตุการณ์เมื่อ 10 ปีที่แล้วในช่วงปี 2539-2540 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในที่สุด
แล้วก็ตามมาด้วยการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 โดยในครั้งนั้น ธปท.
ได้ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อที่จะรักษาระดับเงินบาทที่เกือบจะผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯที่ระดับ
ประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยเกรงว่าหากปล่อยให้เงินบาทลอยตัวตามคำแนะนำของ IMF ก็
จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเอกชนไทยที่ได้ทำการก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมากใน
ระหว่างช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ 2530-2539 (โดยยอดหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นปี 2539 สูง
กว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับทุนสำรองที่ในขณะนั้นอยู่มีต่ำกว่า 4 หมื่นล้าน
ดอลลาร์ฯ) แต่ในที่สุดแล้ว ทุนสำรองของประเทศที่ลดระดับลงอย่างรวดเร็วจากการถูกนำไปทุ่มสู้
เพื่อรักษาค่าเงินบาทดังกล่าว ทำให้ธปท.ต้องยอมปล่อยให้เงินบาทลอยตัวในวันที่ 2 ก.ค. 40 ซึ่ง
ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในปี 2540-2541
แม้ว่าการดำเนินการในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา จะเป็นการดำเนินการเพื่อ
รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทเหมือนกัน แต่เหตุการณ์ในปี 2539-2540 นั้นก็มีความแตกต่าง
กับเหตุการณ์ในปัจจุบันหลายประการ ดังนี้
เป้าหมายของการแทรกแซงค่าเงินบาทของธปท.ในช่วงปี 2539-2540 นั้น เป็นไป
เพื่อพยายามรักษาระดับค่าเงินบาทที่เกือบจะผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์ฯที่ระดับ 25 บาท/
ดอลลลาร์ฯไว้มิให้ต้องอ่อนค่าลงจนกระทบภาคเอกชนไทยที่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็นจำนวน
มากถึงกว่าแสนล้านดอลลาร์ฯ ในขณะที่การแทรกแซงในปี 2549 ที่ผ่านมานั้น เป็นไปเพื่อมิให้
เงินบาทแข็งค่ามากและเร็วเกินไป เพื่อที่จะช่วยผู้ส่งออกเนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนกว่าร้อยละ
60 ของ GDP ของประเทศ เทียบกับเพียงร้อยละ 30 ในปี 2539 โดยดูเหมือนว่าทางการไทยไม่
ต้องการให้เงินบาทแข็งค่าเกินระดับ 35.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ซึ่งถูกมองว่าเป็นระดับทางจิตวิทยาที่
สำคัญของตลาดค้าเงิน
ทั้งนี้ การก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากของภาคเอกชนไทยในช่วงฟองสบู่ก่อนปี 2539
นั้น เป็นผลจากภาวะการลงทุนที่เกินตัว และการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในภาคอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งสะท้อนโดยภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศในช่วงนั้น (ขาดดุลมากถึง -8.1%
ของ GDP ในปี 2539) ในขณะที่ในปัจจุบันนี้ทางการไทยต้องการให้ความสำคัญต่อการส่งออก
เนื่องจากภาวะการใช้จ่ายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุน ไม่ได้ขยายตัวมากอย่างที่ควรจะเป็น
อันเป็นผลจากปัจจัยลบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นภาวะราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
ความแตกต่างระหว่างการป้องกันค่าเงินในของ ธปท. เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และในปัจจุบัน
2539-2540
1. ประเด็นปัญหา
เงินทุนไหลออก : เงินบาทที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯ ถูกโจมตีอย่างหนักในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2539 ต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2540 จากที่นักลงทุนมีความกังวลต่อความไม่
สมดุลระหว่างฐานะหนี้ต่างประเทศและระดับทุนสำรองของไทย รวมทั้งปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด
(-8.1% ของ GDP) ท่ามกลางการชะลอตัวของการส่งออกในปี 2539 (การส่งออกติดลบ 1.9%
ในปี 2539)
2549
เงินทุนไหลเข้า : เงินบาทแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่าค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยก่อนการ
ประกาศมาตรการในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เงินบาทแข็งค่าไปกว่า 16% จากปลายปี 2548
เทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่แข็งค่าไม่เกิน 7% ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาท
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักค้าเงินมองว่าหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา เงินบาท
แข็งค่าขึ้นน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับเงินวอนของเกาหลีใต้และเงินสิงค์โปร์ดอลลาร์
2. สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในขณะนั้น
2539-2540
การลงทุนเกินตัว โดยมีการก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากของภาคเอกชนไทย ซึ่งเป็นผล
มาจากภาวะการลงทุนที่เกินตัวและการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่
ระหว่างปี 2530-2539 โดยในปี 2539 เศรษฐกิจไทยมีสัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ
GDP สูงถึง -8.1%
2549
การลงทุนต่ำระดับ การที่เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นเพราะการลงทุนและการ
บริโภคถูกกระทบจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย และปัญหาการเมืองในประเทศ โดยไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดตั้งแต่ปี
2541 และเพิ่งจะกลับมาขาดดุลในปี 2548 ในสัดส่วน 4.4% ของ GDP
3. เป้าหมายของการป้องกันค่าเงินบาทของธปท.
เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและช่วยภาคเอกชนไทยที่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศไว้เป็น
จำนวนมาก (ทั้งโดยตรงและผ่าน BIBF) โดยพยายามที่จะรักษาระดับเงินบาทที่เกือบจะผูกติด
กับเงินดอลลาร์ฯไว้ที่ประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ฯ
เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและช่วยผู้ส่งออก โดยป้องกันมิให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไป
เกินระดับ 35.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ที่ถูกมองว่าเป็นแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา
4. ผลการเข้าแทรกแซงของธปท.ต่อฐานะทุนสำรองของประเทศ
ทุนสำรองลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหมดไปกับการที่นักเก็งกำไรและนักลงทุนต่าง
ชาติ พากันถอนเงินออกโดยนำไปซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ระดับที่ผูกติดไว้แน่นดังกล่าว ในขณะที่
ธปท.ต้องเป็นฝ่ายขายดอลลาร์ฯ ซึ่งส่งผลให้จากกลางปี 2539 จนถึงปลายปี 2540 ทุนสำรองสุทธิ
ที่หักการกู้ยืมผ่านธุรกรรม Swap ของธปท.ได้ลดลงไปรวมประมาณ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
ทุนสำรองเพิ่มขึ้น จากการที่ ธปท. ต้องรับซื้อเงินดอลลาร์ฯและขายเงินบาทให้แก่ผู้นำ
เงินเข้ามา โดยจากปลายปี 2548 จนถึงวันที่ 8 ธ.ค. 2549 ทุนสำรองที่นับรวมฐานะการให้กู้ของ
ธปท.ผ่านธุรกรรม Swap ได้เพิ่มขึ้นรวมแล้วประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
5. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
2539-2540
การปรับลดอย่างมากของระดับทุนสำรองฯทำให้ธปท.ต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทใน
วันที่ 2 ก.ค. 40 และขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ในเดือนถัดมา ในขณะที่ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น
ของภาคเอกชน และการหดตัวของการลงทุนได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี
2540 และ 2541 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ได้ทยอยฟื้นตัว หลังจากที่ความเชื่อมั่นของนัก
ลงทุนเริ่มกลับคืนมา และจากการขยายตัวของการส่งออก
2549
การใช้มาตรการควบคุมเงินทุน (Capital Control) ของ ธปท.อาจส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้นบ้าง และกระทบต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่าง
ประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ฐานะทุนสำรองของประเทศอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และการที่ระบบ
สถาบันการเงินไทยยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไม่น่าจะมี
มากนัก โดยเฉพาะหากทางการไทยสามารถเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กลับคืนมาได้
โดยเร็ว
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
แม้ว่าการดำเนินการแทรกแซงค่าเงินของธปท.ในปัจจุบัน กับในช่วงปี 2539-2540 จะ
มีความแตกต่างกันหลายประการ แต่ผลที่ตามมาหลังการลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ก็คือ
ความชัดเจนของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และการทยอยกลับมาของความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ในขณะที่ประเด็นปัญหาในขณะนี้ก็คือ นักลงทุนต่างชาติบางส่วนก็อาจจะยังคงมีความกังวลว่าทาง
การไทยจะกลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนอีกหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากเงินดอลลาร์ฯตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2550 ซึ่ง
อาจจะส่งผลให้เงินบาทและเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคกลับมาแข็งค่าขึ้นได้อีก
สำหรับประเด็นทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ประเด็น
หลัก ณ ขณะนี้ น่าจะอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกในสัดส่วนที่สูงเกินไปถึงกว่าร้อยละ 60
ของ GDP ซึ่งย่อมจะสร้างแรงกดดันให้ทางการไทยจำต้องดำเนินการรักษาความสามารถในการ
แข่งขันของค่าเงินบาท เพื่อมิให้กระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินนั้นมิใช่ปัจจัยสำคัญเพียงประการเดียวในการกำหนดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ผู้ส่งออกไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่สินค้าส่งออกให้มากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้
ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของไทยยืนหยัดในเวทีการค้าโลกได้ โดยตัวอย่างที่ดีน่าจะ
เป็นกรณีของญี่ปุ่นที่สามารถเอาตัวรอดได้หลังจากการแข็งค่าอย่างมากของเงินเยนจากข้อตกลง
Plaza Accord ในปี 1985 ซึ่งสหรัฐฯได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อนตัว
ลง เพื่อที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ แม้การรักษาความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกยังคงเป็นสิ่งที่จำ
เป็น แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาระยะกลางถึงระยะยาว น่าจะ
อยู่ที่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการลงทุนในประเทศ และการทยอยลดการพึ่งพิงการส่ง
ออกลง เพื่อมิให้กลับมาสร้างแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนกับที่ได้
เกิดขึ้นในขณะนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ในเชิงนโยบายแล้ว การสร้างความแข็งแกร่ง
ของการลงทุนในประเทศสามารถดำเนินการได้ในหลายด้าน เช่น การวางกรอบกฎหมายที่เป็น
ธรรมและเกื้อหนุนการลงทุนทั้งแก่นักลงทุนในและต่างประเทศ การเร่งพัฒนาโครงสร้าง
สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะระบบการคมนาคมขนส่ง การบริหารทรัพยากรน้ำ และ
การจัดการด้านพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังแรงงานในประเทศ โดยการ
เพิ่มระดับคุณภาพของการศึกษาของไทย ในขณะที่มาตรการเฉพาะหน้าอาจจะได้แก่ การเร่ง
ฟื้นฟูความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติว่า ทางการไทยยังคงมองว่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็น
สิ่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเงินลงทุนโดยตรงระยะยาว และยังคงให้ความสำคัญที่จะ
ดึงดูดเงินลงทุนดังกล่าว ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นในสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
โดยการเร่งยกร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 2
สำหรับประเด็นทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ประเด็น
หลัก ณ ขณะนี้ น่าจะอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกในสัดส่วนที่สูงเกินไปถึงกว่าร้อยละ 60
ของ GDP ซึ่งย่อมจะสร้างแรงกดดันให้ทางการไทยจำต้องดำเนินการรักษาความสามารถในการ
แข่งขันของค่าเงินบาท เพื่อมิให้กระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจของ
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินนั้นมิใช่ปัจจัยสำคัญเพียงประการเดียวในการกำหนดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ผู้ส่งออกไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่สินค้าส่งออกให้มากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้
ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของไทยยืนหยัดในเวทีการค้าโลกได้ โดยตัวอย่างที่ดีน่าจะ
เป็นกรณีของญี่ปุ่นที่สามารถเอาตัวรอดได้หลังจากการแข็งค่าอย่างมากของเงินเยนจากข้อตกลง
Plaza Accord ในปี 1985 ซึ่งสหรัฐฯได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อนตัว
ลง เพื่อที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 3
งานนี้เลี่ยงไม่ได้เลยว่าธปท.ถูกกดดันจากผู้ส่งออกจนทำให้ต้องคิดสั้นอย่างนี้
การฝืนตลาด มักจะนำมาซึ่งความเสียหายในระยะยาว อย่างกรณีนี้ ผู้ประกอบการจะไม่ยอมปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยตัวเองในระยะยาว แค่รอกดดัน ธปท.ก็ได้ การทำอย่างนี้คล้ายการบีบลูกโป่ง ยุบด้านหนึ่งไปโผล่อีกด้านหนึ่ง สุดท้ายปัญหาก็ยังอยู่ในลูกโป่งนั่นแหละ ไม่ไปไหน การแทรกแซงตลาดทำให้เกิดการบิดเบี้ยว วิเคราะห์ไม่ได้ เช่นการพยุงราคาน้ำมันที่ผ่านมา ทุกคนค้าน เพราะเห็นโทษ แต่งานนี้มีทั้งคนค้าน และเห็นด้วย เพราะมีผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์
ผู้กำหนดนโยบายช่างน้ำหนักหรือยัง แล้วชั่งอย่างไง ช่วยบอกประชาชนหน่อยครับ
การเก็งกำไร ย่อมต้องมีเหตุและปัจจัยให้เห็นช่องในการที่จะเก็งกำไรได้ และโอกาสนั้นคืออะไร อยากให้ ธปท. ออกมาชี้แจงให้ประชาชนรู้สักหน่อย เห็นพูดกันแต่ผลที่เกิด เหตุยังอยู่ในความมืดอยู่เลย
การฝืนตลาด มักจะนำมาซึ่งความเสียหายในระยะยาว อย่างกรณีนี้ ผู้ประกอบการจะไม่ยอมปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยตัวเองในระยะยาว แค่รอกดดัน ธปท.ก็ได้ การทำอย่างนี้คล้ายการบีบลูกโป่ง ยุบด้านหนึ่งไปโผล่อีกด้านหนึ่ง สุดท้ายปัญหาก็ยังอยู่ในลูกโป่งนั่นแหละ ไม่ไปไหน การแทรกแซงตลาดทำให้เกิดการบิดเบี้ยว วิเคราะห์ไม่ได้ เช่นการพยุงราคาน้ำมันที่ผ่านมา ทุกคนค้าน เพราะเห็นโทษ แต่งานนี้มีทั้งคนค้าน และเห็นด้วย เพราะมีผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์
ผู้กำหนดนโยบายช่างน้ำหนักหรือยัง แล้วชั่งอย่างไง ช่วยบอกประชาชนหน่อยครับ
การเก็งกำไร ย่อมต้องมีเหตุและปัจจัยให้เห็นช่องในการที่จะเก็งกำไรได้ และโอกาสนั้นคืออะไร อยากให้ ธปท. ออกมาชี้แจงให้ประชาชนรู้สักหน่อย เห็นพูดกันแต่ผลที่เกิด เหตุยังอยู่ในความมืดอยู่เลย
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 4
ผมสงสัยแค่ว่า ความรุนแรงของภาคส่งออกที่เป็น 60% ของ GDP ไทย
ถ้ามันต้องฮวบๆๆ ลงในปีหน้าเพราะเงินบาทแข็งแล้วปรับตัวไม่ได้ (สาเหตุอะไรมะรู้)
เศรษฐกิจไทยจะกระทบอย่าไงรมั่ง อยากรู้เหมือนกัน ใครทราบช่วยประเมินให้ดูหน่อยครับ
คนไทยบอกว่า ทำไมบริษัทไทยรู้จักแต่ขายของถูกกว่าหรือไง ผมก็คิดว่า สงสัยจะรู้จักแค่นั้นครับ
เวลาไปเปิดฟอร์ม 56-1 ในหน้า "การวิจัยและพัฒนา" ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย 90% หรือมากกว่ามั้งที่ผมเห็นว่าหน้านั้น เขียนว่า
- ไม่มี -
เขียนสั้นๆ กระชับ ได้ควา่มหมาย :lol:
ผมก็ยังคิดเลยถ้าไม่มี แล้วจะขายแพงกว่า มันมีวิธียังไงมั่งบอกที
ถ้ามันต้องฮวบๆๆ ลงในปีหน้าเพราะเงินบาทแข็งแล้วปรับตัวไม่ได้ (สาเหตุอะไรมะรู้)
เศรษฐกิจไทยจะกระทบอย่าไงรมั่ง อยากรู้เหมือนกัน ใครทราบช่วยประเมินให้ดูหน่อยครับ
คนไทยบอกว่า ทำไมบริษัทไทยรู้จักแต่ขายของถูกกว่าหรือไง ผมก็คิดว่า สงสัยจะรู้จักแค่นั้นครับ
เวลาไปเปิดฟอร์ม 56-1 ในหน้า "การวิจัยและพัฒนา" ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย 90% หรือมากกว่ามั้งที่ผมเห็นว่าหน้านั้น เขียนว่า
- ไม่มี -
เขียนสั้นๆ กระชับ ได้ควา่มหมาย :lol:
ผมก็ยังคิดเลยถ้าไม่มี แล้วจะขายแพงกว่า มันมีวิธียังไงมั่งบอกที
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 5
อืม เจโช บอกผมว่า การวิจัยและพัฒนา เค้าจะปิดเป็นความลับคัดท้าย เขียน:ผมสงสัยแค่ว่า ความรุนแรงของภาคส่งออกที่เป็น 60% ของ GDP ไทย
ถ้ามันต้องฮวบๆๆ ลงในปีหน้าเพราะเงินบาทแข็งแล้วปรับตัวไม่ได้ (สาเหตุอะไรมะรู้)
เศรษฐกิจไทยจะกระทบอย่าไงรมั่ง อยากรู้เหมือนกัน ใครทราบช่วยประเมินให้ดูหน่อยครับ
คนไทยบอกว่า ทำไมบริษัทไทยรู้จักแต่ขายของถูกกว่าหรือไง ผมก็คิดว่า สงสัยจะรู้จักแค่นั้นครับ
เวลาไปเปิดฟอร์ม 56-1 ในหน้า "การวิจัยและพัฒนา" ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย 90% หรือมากกว่ามั้งที่ผมเห็นว่าหน้านั้น เขียนว่า
- ไม่มี -
เขียนสั้นๆ กระชับ ได้ควา่มหมาย :lol:
ผมก็ยังคิดเลยถ้าไม่มี แล้วจะขายแพงกว่า มันมีวิธียังไงมั่งบอกที
หวังว่าหลายบริษัทจะปิดเป็นความลับนะครับ อย่า -- ไม่มี -- จริงๆแล้วกัน
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 6
ถ้าเป็นความลับก็บอกว่า "อยู่ในขบวนการพัฒนา ยังไม่สามารถเปิดเผยได้" ไม่ใช่มีแล้วบอกว่า "ไม่มี"
จากสภาพแวดล้อม ส่งให้สติปัญญาอันน้อยนิดของผม วิเคราะห์ว่า มัน"ไม่มี" จริงๆครับ
จากสภาพแวดล้อม ส่งให้สติปัญญาอันน้อยนิดของผม วิเคราะห์ว่า มัน"ไม่มี" จริงๆครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 7
หรืออีกแง่หนึ่ง บริษัทที่ทำ R&D เป็นหลักก็อาจจะไม่อยากเข้ามาจดทะเบียนในตลาด ถ้าไม่จำเป็น
อย่าไปมองพวกสินค้าไฮเทคนะครับ ดูพวกเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร พวกนี้แหละ R&D เยอะ อย่างฟาร์มโชคชัย เค้ามีเครื่องสำอางทำจากนมออกมาขายแล้วนะครับ วันก่อนดูทีวีก็มีคนทำซุปกวางสกัดเป็นขวด เหมือนซุปไก่สกัด อะไรทำนองนั้น แต่บอกว่าปึ๋งปั๋งกว่ากันเยอะ :lol:
ไวน์กระชายดำ ยาน้ำกระชายดำ พวกนี้ก็เป็นผลผลิตของ R&D ไทยๆครับ
อย่าไปมองพวกสินค้าไฮเทคนะครับ ดูพวกเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร พวกนี้แหละ R&D เยอะ อย่างฟาร์มโชคชัย เค้ามีเครื่องสำอางทำจากนมออกมาขายแล้วนะครับ วันก่อนดูทีวีก็มีคนทำซุปกวางสกัดเป็นขวด เหมือนซุปไก่สกัด อะไรทำนองนั้น แต่บอกว่าปึ๋งปั๋งกว่ากันเยอะ :lol:
ไวน์กระชายดำ ยาน้ำกระชายดำ พวกนี้ก็เป็นผลผลิตของ R&D ไทยๆครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 8
[quote="jaychou"]หรืออีกแง่หนึ่ง บริษัทที่ทำ R&D เป็นหลักก็อาจจะไม่อยากเข้ามาจดทะเบียนในตลาด ถ้าไม่จำเป็น
อย่าไปมองพวกสินค้าไฮเทคนะครับ ดูพวกเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร พวกนี้แหละ R&D เยอะ อย่างฟาร์มโชคชัย เค้ามีเครื่องสำอางทำจากนมออกมาขายแล้วนะครับ วันก่อนดูทีวีก็มีคนทำซุปกวางสกัดเป็นขวด เหมือนซุปไก่สกัด อะไรทำนองนั้น แต่บอกว่าปึ๋งปั๋งกว่ากันเยอะ
อย่าไปมองพวกสินค้าไฮเทคนะครับ ดูพวกเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร พวกนี้แหละ R&D เยอะ อย่างฟาร์มโชคชัย เค้ามีเครื่องสำอางทำจากนมออกมาขายแล้วนะครับ วันก่อนดูทีวีก็มีคนทำซุปกวางสกัดเป็นขวด เหมือนซุปไก่สกัด อะไรทำนองนั้น แต่บอกว่าปึ๋งปั๋งกว่ากันเยอะ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 9
วันก่อน ผมฟังรายการวิทยุ สัมภาษณ์ผู้ส่งออกอัญมณีไทย
เขาบอกว่าอุตสาหกรรมอัญมณีไทยมีศักยภาพมาก มีจุดแข็งอย่างนั้นอย่างนี้
แต่ผมก็สงสัยว่า มีศักยภาพยังไง ค่าเงินแข็งขึ้นมาสิบเปอร์เซ็นต์กว่าๆ ก็บ่นว่าขายแล้วขาดทุนซะแล้ว Margin ช่างน้อยจริงๆ นี่หรืออุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ
เขาบอกว่าอุตสาหกรรมอัญมณีไทยมีศักยภาพมาก มีจุดแข็งอย่างนั้นอย่างนี้
แต่ผมก็สงสัยว่า มีศักยภาพยังไง ค่าเงินแข็งขึ้นมาสิบเปอร์เซ็นต์กว่าๆ ก็บ่นว่าขายแล้วขาดทุนซะแล้ว Margin ช่างน้อยจริงๆ นี่หรืออุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอยวิกฤติเงินบาท จาก 2 กรกฎาคม 2540 ถึง 19 ธันวาคม 2549
โพสต์ที่ 10
นั่นสิครับ 8)Mon money เขียน:ถ้าเป็นความลับก็บอกว่า "อยู่ในขบวนการพัฒนา ยังไม่สามารถเปิดเผยได้" ไม่ใช่มีแล้วบอกว่า "ไม่มี"
จากสภาพแวดล้อม ส่งให้สติปัญญาอันน้อยนิดของผม วิเคราะห์ว่า มัน"ไม่มี" จริงๆครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan