เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 1
พี่ธันวาเขียนไว้ดีมากครับ
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์ [email protected]
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจกับเรื่องการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก บริษัทที่ทำงานประจำได้คำนวณภาษีจากฐานเงินได้สุทธิและนำภาษีที่หัก ณ. ที่จ่าย ส่งกรมสรรพกรเป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่ทำก็คือการกรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและยื่นแบบการเสียภาษีให้ทันช่วงปลายเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ value investor นั้น นอกจากการลงทุนในกิจการที่เห็นว่าต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานเพื่อหวังส่วนต่างของราคาหุ้นในระยะยาวแล้ว เงินปันผลก็เป็นผลตอบแทนที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้ความสำคัญอย่างมาก ช่วงเดือนเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่นักลงทุนมีความสุขกันทั่วหน้า เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ได้ทยอยส่งเช็คเงินปันผลมาให้ผู้ถือหุ้นทุกคนถึงบ้าน ทั้งนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการและนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทนั้น ๆ ทั้งนี้มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนหนึ่งที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน
นักลงทุนจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องภาษี เพราะการจ่ายภาษีอากรให้ถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายกำหนดเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนจะต้องถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ความเข้าใจเรื่องภาษียังอาจช่วยประหยัดรายจ่ายภาษีได้ด้วย สำหรับนักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาจะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับ กำไรจากการขายหลักทรัพย์ หรือ กำไรส่วนต่างราคาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (capital gain) ขณะที่ เงินปันผล นั้นบริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 นักลงทุนมีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี กรณีนี้จะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล
เพื่อจะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นผมจะยกตัวอย่างการคำนวณภาษี และ การขอเครดิตภาษีเงินปันผล การคำนวณดังกล่าวเป็นการคำนวณในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่มีรายได้อื่น ดังนั้นฐานภาษีจะอยู่ในระดับต่ำสุด หากผู้ลงทุนมีรายได้ประจำหรือรายได้อื่น ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวมกันแล้วจึงคำนวณการเสียภาษีในอัตราที่กำหนด ขอยกตัวอย่างดังนี้
เงินปันผลที่ได้รับ 70,000 บาท (1)
หักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% 70,000 x 10% = 7,000 บาท (2)
เงินปันผลรับจริง (1) (2) 70,000 7,000 = 63,000 บาท (3)
ขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ 70,000 x 3 / 7 = 30,000 บาท (4) *, **
ภาษีที่ถูกหักไว้ทั้งสิ้น (2) + (4) 7,000 + 30,000 = 37,000 บาท (5)
หากไม่มีรายได้อื่น จะมีรายได้ (1)+(4) 70,000 + 30,000 = 100,000 บาท (6)
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 30,000 บาท
รายได้เหลือหลังค่าลดหย่อน = 70,000 บาท
เงินได้พึงประเมินต่ำกว่า 80,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ***, ****
แต่เนื่องจากเงินได้จากเงินปันผลนี้ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และมียอดตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป
จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 0.5 ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
ในกรณีนี้คือ 100,000 x 0.5% = 500 บาท (7)
ขอเงินภาษีคืนส่วนชำระเกิน (5) (7) 37,000 500 = 36,500 บาท (8)
เงินปันผลได้รับจริง (3)+(8) 63,000 + 36,500 = 99,500 บาท (9)
หมายเหตุ
* บริษัทจดทะเบียนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7 ดังนั้นผู้ที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 จะไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการของเครดิตภาษีปันผล
** ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและให้ถือเป็นภาษีเงินได้ถูกหัก ณ. ที่จ่ายด้วย
*** เงินได้สุทธิ 80,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ปีภาษี 2546 เป็นต้นไป
ในตัวอย่างดังข้างต้น เงินปันผลจริงที่ได้รับคือ 99,500 บาท ไม่ใช่ 63,000 บาทอย่างที่เข้าใจ หรือสามารถขอเครดิตภาษีปันผลคืนได้ 36,500 บาท นับว่าไม่น้อยเลย ตัวอย่างดังกล่าวเป็นการคำนวณสำหรับบริษัทที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7 หากบริษัทเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 25 ก็จะสามารถขอเครดิตภาษีคืนในอัตราลดลงมาคือ 1/5 หรือมาจาก 25 / ( 100-25) นั่นเอง อนึ่งสำหรับบริษัทที่ได้สิทธิยกเว้นในการเสียภาษี เราไม่สามารถนำมาขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ สำหรับผู้ถือหุ้น PTTEP จะได้ประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลอย่างมากเพราะ PTTEP เป็นธุรกิจที่ได้รับจากกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตเลียม พ.ศ. 2541 ซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติลบุคคลในอัตราร้อย 50 นั่นหมายความว่า ผู้ถือหุ้นของ PTTEP สามารถขอเครดิตเงินภาษีเงินปันผลได้ทั้งจำนวนนั่นเอง
หากจะอธิบายง่าย ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ มีการเสียภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจาก บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรได้ชำระภาษีนิติบุคคลแล้ว ขณะที่ผู้ลงทุนนั้นนำเงินปันผลมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง ทางการจึงอนุญาตให้นักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดามีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีปลายปีเพื่อขอเครดิตภาษีปันผล ทั้งนี้นักลงทุนที่มีฐานภาษีอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำจะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น การขอเครดิตภาษีเงินปันผลนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ประจำหรือวัยหลังเกษียณเนื่องจากไม่มีฐานภาษีดังตัวอย่างข้างต้น
สำหรับผมนั้น มองข้ามการขอเครดิตภาษีเงินปันผลมาหลายนาน นับจากนี้อัตราภาษีที่จ่ายของแต่ละบริษัทถือเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนเนื่องจากผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลดังกล่าว คำถามก็คงอยู่ที่ว่า ท่านพร้อมที่จะให้ความสนใจกับผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับนี้ หรือยังคงละเลยผลประโยชน์ส่วนนี้ต่อไปอีก
July 31, 2003
----------------------
ข้อมูลจาก ThaiVI
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์ [email protected]
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจกับเรื่องการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก บริษัทที่ทำงานประจำได้คำนวณภาษีจากฐานเงินได้สุทธิและนำภาษีที่หัก ณ. ที่จ่าย ส่งกรมสรรพกรเป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่ทำก็คือการกรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและยื่นแบบการเสียภาษีให้ทันช่วงปลายเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ value investor นั้น นอกจากการลงทุนในกิจการที่เห็นว่าต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานเพื่อหวังส่วนต่างของราคาหุ้นในระยะยาวแล้ว เงินปันผลก็เป็นผลตอบแทนที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้ความสำคัญอย่างมาก ช่วงเดือนเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่นักลงทุนมีความสุขกันทั่วหน้า เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ได้ทยอยส่งเช็คเงินปันผลมาให้ผู้ถือหุ้นทุกคนถึงบ้าน ทั้งนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการและนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทนั้น ๆ ทั้งนี้มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนหนึ่งที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน
นักลงทุนจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องภาษี เพราะการจ่ายภาษีอากรให้ถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายกำหนดเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนจะต้องถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ความเข้าใจเรื่องภาษียังอาจช่วยประหยัดรายจ่ายภาษีได้ด้วย สำหรับนักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาจะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับ กำไรจากการขายหลักทรัพย์ หรือ กำไรส่วนต่างราคาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (capital gain) ขณะที่ เงินปันผล นั้นบริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 นักลงทุนมีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี กรณีนี้จะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล
เพื่อจะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นผมจะยกตัวอย่างการคำนวณภาษี และ การขอเครดิตภาษีเงินปันผล การคำนวณดังกล่าวเป็นการคำนวณในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่มีรายได้อื่น ดังนั้นฐานภาษีจะอยู่ในระดับต่ำสุด หากผู้ลงทุนมีรายได้ประจำหรือรายได้อื่น ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวมกันแล้วจึงคำนวณการเสียภาษีในอัตราที่กำหนด ขอยกตัวอย่างดังนี้
เงินปันผลที่ได้รับ 70,000 บาท (1)
หักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% 70,000 x 10% = 7,000 บาท (2)
เงินปันผลรับจริง (1) (2) 70,000 7,000 = 63,000 บาท (3)
ขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ 70,000 x 3 / 7 = 30,000 บาท (4) *, **
ภาษีที่ถูกหักไว้ทั้งสิ้น (2) + (4) 7,000 + 30,000 = 37,000 บาท (5)
หากไม่มีรายได้อื่น จะมีรายได้ (1)+(4) 70,000 + 30,000 = 100,000 บาท (6)
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว = 30,000 บาท
รายได้เหลือหลังค่าลดหย่อน = 70,000 บาท
เงินได้พึงประเมินต่ำกว่า 80,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ***, ****
แต่เนื่องจากเงินได้จากเงินปันผลนี้ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และมียอดตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป
จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 0.5 ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
ในกรณีนี้คือ 100,000 x 0.5% = 500 บาท (7)
ขอเงินภาษีคืนส่วนชำระเกิน (5) (7) 37,000 500 = 36,500 บาท (8)
เงินปันผลได้รับจริง (3)+(8) 63,000 + 36,500 = 99,500 บาท (9)
หมายเหตุ
* บริษัทจดทะเบียนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7 ดังนั้นผู้ที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 จะไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการของเครดิตภาษีปันผล
** ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและให้ถือเป็นภาษีเงินได้ถูกหัก ณ. ที่จ่ายด้วย
*** เงินได้สุทธิ 80,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ปีภาษี 2546 เป็นต้นไป
ในตัวอย่างดังข้างต้น เงินปันผลจริงที่ได้รับคือ 99,500 บาท ไม่ใช่ 63,000 บาทอย่างที่เข้าใจ หรือสามารถขอเครดิตภาษีปันผลคืนได้ 36,500 บาท นับว่าไม่น้อยเลย ตัวอย่างดังกล่าวเป็นการคำนวณสำหรับบริษัทที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7 หากบริษัทเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 25 ก็จะสามารถขอเครดิตภาษีคืนในอัตราลดลงมาคือ 1/5 หรือมาจาก 25 / ( 100-25) นั่นเอง อนึ่งสำหรับบริษัทที่ได้สิทธิยกเว้นในการเสียภาษี เราไม่สามารถนำมาขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ สำหรับผู้ถือหุ้น PTTEP จะได้ประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลอย่างมากเพราะ PTTEP เป็นธุรกิจที่ได้รับจากกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตเลียม พ.ศ. 2541 ซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติลบุคคลในอัตราร้อย 50 นั่นหมายความว่า ผู้ถือหุ้นของ PTTEP สามารถขอเครดิตเงินภาษีเงินปันผลได้ทั้งจำนวนนั่นเอง
หากจะอธิบายง่าย ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ มีการเสียภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจาก บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรได้ชำระภาษีนิติบุคคลแล้ว ขณะที่ผู้ลงทุนนั้นนำเงินปันผลมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง ทางการจึงอนุญาตให้นักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดามีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีปลายปีเพื่อขอเครดิตภาษีปันผล ทั้งนี้นักลงทุนที่มีฐานภาษีอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำจะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น การขอเครดิตภาษีเงินปันผลนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ประจำหรือวัยหลังเกษียณเนื่องจากไม่มีฐานภาษีดังตัวอย่างข้างต้น
สำหรับผมนั้น มองข้ามการขอเครดิตภาษีเงินปันผลมาหลายนาน นับจากนี้อัตราภาษีที่จ่ายของแต่ละบริษัทถือเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนเนื่องจากผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลดังกล่าว คำถามก็คงอยู่ที่ว่า ท่านพร้อมที่จะให้ความสนใจกับผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับนี้ หรือยังคงละเลยผลประโยชน์ส่วนนี้ต่อไปอีก
July 31, 2003
----------------------
ข้อมูลจาก ThaiVI
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 2
[quote=]หมายเหตุ
* บริษัทจดทะเบียนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7 ดังนั้นผู้ที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 จะไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการของเครดิตภาษีปันผล
[/color][/quote]
ผมเคยลองคำนวณดู พบว่าหากได้เครดิตภาษีเงินปันผลตั้งแต่ 3/7ขึ้นไป แม้ว่าผู้มีเงินได้จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 ก็ยังคงได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีปันผลอยู่ครับ เนื่องจาก 3/7 = 42.86% ยังเหลือส่วนต่างอยู่ 5.86%
* บริษัทจดทะเบียนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จึงสามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ในอัตรา 3/7 ดังนั้นผู้ที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 จะไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการของเครดิตภาษีปันผล
[/color][/quote]
ผมเคยลองคำนวณดู พบว่าหากได้เครดิตภาษีเงินปันผลตั้งแต่ 3/7ขึ้นไป แม้ว่าผู้มีเงินได้จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 ก็ยังคงได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีปันผลอยู่ครับ เนื่องจาก 3/7 = 42.86% ยังเหลือส่วนต่างอยู่ 5.86%
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 4
ใช่ครับBlueblood เขียน:บริษัทที่เสียภาษี 25% เครดิตได้ 1/3 ไม่ใช่เหรอครับ ? [25/(100-25)]
3/7 เป็นเครดิตภาษีจากเงินปันผลของบริษัทที่เสียภาษี30%ครับ [30/(100-30)]
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณพี่เก๋า ที่ขุดบทความเก่าแก่นี้มาให้อ่านครับ
ขอย้ายมาห้องนี้นะครับ
ขอย้ายมาห้องนี้นะครับ
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณมากครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 8
คือผมเห็นในบทความบอกไว้ว่าถ้าเสียภาษี 25% จะขอเครดิตได้ 1/5 น่ะครับ คิดว่าคงจะเขียนผิดครับKao เขียน: ใช่ครับ
3/7 เป็นเครดิตภาษีจากเงินปันผลของบริษัทที่เสียภาษี30%ครับ [30/(100-30)]
It's earnings that count
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 9
ผมลองไปคำนวณสนุกๆ..
หากเรามีฐานภาษีสูงสุดที่ 37%
จะได้รับประโยชน์จากการเครดิตภาษี
เมื่อได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลสูงกว่า 23% ครับ
ดังนั้นหากเป็น ดร.นิเวศน์ที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาในอัตราสูงสุด ก็ยังคุ้มค่าที่จะเครดิตภาษีครับ เพราะส่วนใหญ่บริษัทที่ ดร.ถือหุ้น เสียภาษีนิติบุคคลมากกว่า 23% ทั้งนั้น
หากเรามีฐานภาษีสูงสุดที่ 37%
จะได้รับประโยชน์จากการเครดิตภาษี
เมื่อได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลสูงกว่า 23% ครับ
ดังนั้นหากเป็น ดร.นิเวศน์ที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาในอัตราสูงสุด ก็ยังคุ้มค่าที่จะเครดิตภาษีครับ เพราะส่วนใหญ่บริษัทที่ ดร.ถือหุ้น เสียภาษีนิติบุคคลมากกว่า 23% ทั้งนั้น
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 593
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 10
พี่ขาวครับ ผมคุ้น ๆ ว่า ถ้าเสีย 37 % แล้วKao เขียน:ผมเคยลองคำนวณดู พบว่าหากได้เครดิตภาษีเงินปันผลตั้งแต่ 3/7ขึ้นไป แม้ว่าผู้มีเงินได้จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37 ก็ยังคงได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีปันผลอยู่ครับ เนื่องจาก 3/7 = 42.86% ยังเหลือส่วนต่างอยู่ 5.86%
ยื่นหรือไม่ยื่น จะมีผลเท่า ๆ กันนะครับ
(หรือไม่ยื่น เลยยังจะดีกว่า)
เพราะเครคิตภาษี + หัก ณ ที่จ่ายแล้ว
จะเท่า ๆ กับ 37 % พอดี ๆ
ปันผลมา 100 บาท ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10 บาท
เครดิตได้ 100*3/7 = 42.86
เสียภาษีที่ 37 % ของ 100+42.86 = 52.86
ครับ
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Li .. Zhi .. Ren
- birdflu
- Verified User
- โพสต์: 628
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 11
โห ขอบคุณมากๆเลยครับสำหรับความรู้อันนี้
โง่มาเสียตั้งนาน
ว่าแต่ตอนที่เราไปยื่นนี่เราต้องคำนวนไปให้เจ้าหน้าที่ หรือ ว่าเขาจะคำนวนให้เราเองครับ
แล้วเจ้าหน้าที่เขาจะมีข้อมูลของ อัตตราภาษีที่แต่ละ บมจ. จ่ายอยู่ไหมครับ
อีกอย่างนึงก็คือ เมื่อไหร่เราถึงจะได้เงินตรงนี้คืนมา แล้วมันจะมาในรูปแบบไหนครับ
ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ
I am a tax virgin!!
โง่มาเสียตั้งนาน
ว่าแต่ตอนที่เราไปยื่นนี่เราต้องคำนวนไปให้เจ้าหน้าที่ หรือ ว่าเขาจะคำนวนให้เราเองครับ
แล้วเจ้าหน้าที่เขาจะมีข้อมูลของ อัตตราภาษีที่แต่ละ บมจ. จ่ายอยู่ไหมครับ
อีกอย่างนึงก็คือ เมื่อไหร่เราถึงจะได้เงินตรงนี้คืนมา แล้วมันจะมาในรูปแบบไหนครับ
ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ
I am a tax virgin!!
Keep Calm And Chive On
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 12
มายืนยันตามคุณ tiger ครับ
กรณีฐานภาษี 37% เงินได้ส่วนที่เกิน 4 ล้าน มี pttep ตัวเดียวครับที่ยื่นแล้วได้คืน
สำหรับคนที่รายได้เกิน 4 ล้าน ถ้าเกินไม่มากยื่นอาจจะคุ้มกว่าไม่ยื่นต้องลองคำนวณดูครับ
แต่กรณี port พันล้านของ ดร. ถ้ายื่นขอเครดิตภาษี ได้เสียภาษีเพิ่มแน่ครับ
คุณลูกอีสานคงลืมคำนวณไปว่า เครดิตภาษีที่ได้ก็ต้องถูกนำมาคำนวณภาษีด้วยเหมือนกัน
กรณีฐานภาษี 37% เงินได้ส่วนที่เกิน 4 ล้าน มี pttep ตัวเดียวครับที่ยื่นแล้วได้คืน
สำหรับคนที่รายได้เกิน 4 ล้าน ถ้าเกินไม่มากยื่นอาจจะคุ้มกว่าไม่ยื่นต้องลองคำนวณดูครับ
แต่กรณี port พันล้านของ ดร. ถ้ายื่นขอเครดิตภาษี ได้เสียภาษีเพิ่มแน่ครับ
คุณลูกอีสานคงลืมคำนวณไปว่า เครดิตภาษีที่ได้ก็ต้องถูกนำมาคำนวณภาษีด้วยเหมือนกัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 136
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 13
แต่เนื่องจากเงินได้จากเงินปันผลนี้ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และมียอดตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 0.5 ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
และถ้าเงินปันผลไม่ถึง 60,000 บาท ต้องทำตามข้อนี้ด้วยรึเปล่าครับ
รบกวนหน่อยนะครับ
และถ้าเงินปันผลไม่ถึง 60,000 บาท ต้องทำตามข้อนี้ด้วยรึเปล่าครับ
รบกวนหน่อยนะครับ
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 14
ถ้ายอดเงินปันผลไม่เกิน 60,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ครับ ได้เงินเต็มๆPythoon เขียน:แต่เนื่องจากเงินได้จากเงินปันผลนี้ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และมียอดตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ร้อยละ 0.5 ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
และถ้าเงินปันผลไม่ถึง 60,000 บาท ต้องทำตามข้อนี้ด้วยรึเปล่าครับ
รบกวนหน่อยนะครับ
แต่ถ้าเกิน 60,000 บาท ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา ร้อยละ 0.5 ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือ อัตราภาษีก้าวหน้าครับ ว่าอันไหนมากกว่ากัน
พอดีผมก็ไม่รู้นะครับว่าการคิดแบบอัตราภาษีก้าวหน้านี้คิดยังไง ต้องให้คนอื่นมาบอกอีกที
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณครับ คุณ fantasia น้องเสือ
ผมคำนวณผิดจริงๆครับ
ลบไปแล้ว ไม่รู้ผิดตรงไหน
คำนวณใหม่ได้ดังนี้ครับ..
อันแรกไม่ยื่นปันผล อันหลังรวมปันผล
ผลที่ได้แตกต่างกันมาก สรุปว่าไม่ยื่นดีกว่าแน่นอนครับ ยอมโดนหัก 10% ดีอยู่แล้วครับ ถ้าฐานภาษีเราสูง แต่ถ้าไม่สูงก็ต้องคำนวณดูครับว่าคุ้มหรือเปล่า
สรุปว่าจะรวมปันผลเป็นเงินได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของเรา และอัตราเครดิตภาษีเงินปันผลที่เราได้รับ
ผมคำนวณผิดจริงๆครับ
ลบไปแล้ว ไม่รู้ผิดตรงไหน
คำนวณใหม่ได้ดังนี้ครับ..
กำไร 100
ภาษีนิติบุคคล 0.3
ปันผล 70
ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย 0.1
รับสุทธิ 63
เครดิตภาษี 30% 30
เงินได้ 100
ภาษี 37% 37
ภาษีที่จ่ายไปแล้ว 7
จ่ายเพิ่ม 30
รับสุทธิ 33
อันแรกไม่ยื่นปันผล อันหลังรวมปันผล
ผลที่ได้แตกต่างกันมาก สรุปว่าไม่ยื่นดีกว่าแน่นอนครับ ยอมโดนหัก 10% ดีอยู่แล้วครับ ถ้าฐานภาษีเราสูง แต่ถ้าไม่สูงก็ต้องคำนวณดูครับว่าคุ้มหรือเปล่า
สรุปว่าจะรวมปันผลเป็นเงินได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของเรา และอัตราเครดิตภาษีเงินปันผลที่เราได้รับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 16
เห็นด้วยครับ คนที่เสียภาษี 37% ไม่มีประโยชน์ที่จะทำเครดิตภาษี ถ้าภาษีนิติบุคคลของบริษัท ไม่สูงกว่า 30% สมมุติว่าบริษัทเสียภาษีนิติบุคคล 30% เงินรายได้บริษัท 100 บาท โดนภาษีนิติบุคคลไป 30% และ ตอนจ่ายปันผลโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 10% ของที่เหลือ รวมเป็น 37% พอดี ตามที่คุณ Tiger เขียนไว้Tiger เขียน: พี่ขาวครับ ผมคุ้น ๆ ว่า ถ้าเสีย 37 % แล้ว
ยื่นหรือไม่ยื่น จะมีผลเท่า ๆ กันนะครับ
(หรือไม่ยื่น เลยยังจะดีกว่า)
เพราะเครคิตภาษี + หัก ณ ที่จ่ายแล้ว
จะเท่า ๆ กับ 37 % พอดี ๆ
ปันผลมา 100 บาท ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10 บาท
เครดิตได้ 100*3/7 = 42.86
เสียภาษีที่ 37 % ของ 100+42.86 = 52.86
ครับ
ในกรณีที่ภาษีนิติบุคคลสูงกว่า 30% (เช่น PTTEP) คนที่เสียภาษี 37% ก็จะได้รับประโยชน์
หลักการของเครดิตภาษีคือ เอาเงินรายได้ของบริษัทในส่วนที่เราควรจะได้รับ (ก่อนที่จะเสียภาษีใดๆ) มาเสียภาษีในอัตราของเรา ดังนั้น ถ้าภาษีที่ถูกหัีกไว้ก่อน (ภาษีนิติบุคคล + ภาษีัหัก ณ ที่จ่าย) อยู่ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีบุคคลธรรมดาที่เราเสียอยู่ การทำเครดิตภาษีก็จะมีประโยชน์
Everything I do, I do it for you.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 19
ผมยังจ่ายในเรตต่ำ ยังขอคือได้ 5555 เมื่อปีที่แล้วก็ขอครับ ได้นิดหน่อยก็ยังดี
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 18
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 20
ขอเรียนถามผู้รู้ว่าการขอเครดิตภาษี ในกรณีที่เงินปันผลจากบางบริษัทไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เลยเนื่องจากเป็นกิจการที่ได้รับ BOI ตามวงเล็บ (2.1) ของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเราจะขอเครดิตภาษีจากเงินปันผลของบริษัทอื่นๆ เราจะต้องยื่นรายได้ส่วนของบริษัทที่ได้รับ BOI นี้ด้วยหรือไม่ครับ
ขอยกตัวอย่างครับ
เงินปันผลจากบริษัท A จำนวน 70,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 7000 บาท
เงินปันผลจากบริษัท B จำนวน 50,000 บาท ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย (เพราะได้รับ BOI)
เมื่อเราจะยื่นขอเครดิตภาษี เราจะต้องยื่นรายได้ของทั้งสองบริษัทไปด้วยกัน หรือว่ายื่นเฉพาะบริษัท A ก็ได้ครับ
อีกประเด็นครับ รายได้จากเงินปันผลเป็นรายได้ที่นำไปรวมกับรายได้อื่นได้การคำนวณรายได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณหายอดเงิน 15% เพื่อไปซื้อ LTF และ RMF ได้ไหมครับ
ขอบคุณครับ
ขอยกตัวอย่างครับ
เงินปันผลจากบริษัท A จำนวน 70,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 7000 บาท
เงินปันผลจากบริษัท B จำนวน 50,000 บาท ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย (เพราะได้รับ BOI)
เมื่อเราจะยื่นขอเครดิตภาษี เราจะต้องยื่นรายได้ของทั้งสองบริษัทไปด้วยกัน หรือว่ายื่นเฉพาะบริษัท A ก็ได้ครับ
อีกประเด็นครับ รายได้จากเงินปันผลเป็นรายได้ที่นำไปรวมกับรายได้อื่นได้การคำนวณรายได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณหายอดเงิน 15% เพื่อไปซื้อ LTF และ RMF ได้ไหมครับ
ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 21
ผมขอยกตัวอย่างดังนี้นะครับTiger เขียน: พี่ขาวครับ ผมคุ้น ๆ ว่า ถ้าเสีย 37 % แล้ว
ยื่นหรือไม่ยื่น จะมีผลเท่า ๆ กันนะครับ
(หรือไม่ยื่น เลยยังจะดีกว่า)
เพราะเครคิตภาษี + หัก ณ ที่จ่ายแล้ว
จะเท่า ๆ กับ 37 % พอดี ๆ
ปันผลมา 100 บาท ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10 บาท
เครดิตได้ 100*3/7 = 42.86
เสียภาษีที่ 37 % ของ 100+42.86 = 52.86
ครับ
ได้เงินปันผล70ล้านบาท จากบริษัทที่เสียภาษี30%(ได้เครดิตภาษี3/7)
เงินได้สุทธิ = เงินปันผล70ล้าน + เครดิตภาษี30ล้าน - ลดหย่อนส่วนตัว30,000 = 99,970,000
ภาษีเงินได้ = (100,000 x 0%) + (400,000 x 10%) + (500,000 x 20%) + (3,000,000 x 30%) + (95,970,000 x 37%) = 36,548,900
ภาษีที่ต้องเสีย(ได้คืน) = ภาษีเงินได้36,548,900 - เครดิตภาษี30,000,000 - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย7,000,000 = (451,000)
สรุปว่าได้เงินคืน 451,000บาท ครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 22
ทุกปีผมจะคำนวณแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากร เพื่อจะได้ตรวจสอบง่ายได้ครับbirdflu เขียน: ว่าแต่ตอนที่เราไปยื่นนี่เราต้องคำนวนไปให้เจ้าหน้าที่ หรือ ว่าเขาจะคำนวนให้เราเองครับ
แล้วเจ้าหน้าที่เขาจะมีข้อมูลของ อัตตราภาษีที่แต่ละ บมจ. จ่ายอยู่ไหมครับ
อีกอย่างนึงก็คือ เมื่อไหร่เราถึงจะได้เงินตรงนี้คืนมา แล้วมันจะมาในรูปแบบไหนครับ
ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ
อัตราภาษีที่แต่ละ บมจ. จ่าย สามารถดูได้จาก หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่แนบมาพร้อมกับเช็คปันผลหรือใบแจ้งเงินปันผลเข้าบัญชี ครับ
จะได้ภาษีคืนต่อเมื่อ ยื่นเสียภาษีแล้วปรากฎว่าเสียภาษีไว้เกิน+แจ้งความประสงค์ว่าจะขอภาษีคืน โดยจะได้คืนเป็นเช็คจากสรรพากรครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 23
ชัดเจนมากครับคุณขาว
ผมคำนวณผิดซ้ำซาก
ลืมเครดิตเงินปันผลที่โดนหักไปแล้ว
มิน่าได้ตัวเลขคืนต่ำพิกล
อย่างนี้ถ้ารับปันผลเฉลี่ยจากกำไรที่เสียภาษีต่ำกว่า 30% ไม่ควรรวมปันผลเลยครับ เพราะต้องจ่ายเพิ่มแน่ๆ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 24
ตอนแรกผมก็คิดอย่างนั้นครับ แต่พอลองคำนวณดูแล้ว ปรากฎว่าหากได้เงินปันผลจากบริษัทที่เสียภาษี30% ไม่ว่าจะมากแค่ไหน ก็จะได้เงินคืนครับfantasia เขียน:มายืนยันตามคุณ tiger ครับ
กรณีฐานภาษี 37% เงินได้ส่วนที่เกิน 4 ล้าน มี pttep ตัวเดียวครับที่ยื่นแล้วได้คืน
สำหรับคนที่รายได้เกิน 4 ล้าน ถ้าเกินไม่มากยื่นอาจจะคุ้มกว่าไม่ยื่นต้องลองคำนวณดูครับ
เหตุที่ดร.ต้องเสียภาษีเพิ่ม หากยื่นปันผลเป็นเงินได้ เนื่องจากว่าโดยเฉลี่ยแล้ว เงินปันผลที่ดร.ได้รับ มาจากกำไรที่เสียภาษีอยู่ในช่วง25%-30%(หรือไม่ถึง30%นั่นเอง) ครับfantasia เขียน: แต่กรณี port พันล้านของ ดร. ถ้ายื่นขอเครดิตภาษี ได้เสียภาษีเพิ่มแน่ครับ
คุณลูกอีสานคงลืมคำนวณไปว่า เครดิตภาษีที่ได้ก็ต้องถูกนำมาคำนวณภาษีด้วยเหมือนกัน
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 25
100,000บาทแรก ไม่เสียภาษีSaran เขียน: พอดีผมก็ไม่รู้นะครับว่าการคิดแบบอัตราภาษีก้าวหน้านี้คิดยังไง ต้องให้คนอื่นมาบอกอีกที
400,000บาทถัดมา เสีย10%
500,000บาทต่อมา เสีย20%
3,000,000ต่อมา เสีย30%
หลังจากนั้นจะเสีย37%ครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 26
เงินปันผลจากบริษัทที่ได้BOI เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี [ตามข้อ105 (1)ตามLinkนี้ครับ] จึงไม่ต้องยื่นเป็นเงินได้ครับdrpoo เขียน:ขอเรียนถามผู้รู้ว่าการขอเครดิตภาษี ในกรณีที่เงินปันผลจากบางบริษัทไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เลยเนื่องจากเป็นกิจการที่ได้รับ BOI ตามวงเล็บ (2.1) ของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเราจะขอเครดิตภาษีจากเงินปันผลของบริษัทอื่นๆ เราจะต้องยื่นรายได้ส่วนของบริษัทที่ได้รับ BOI นี้ด้วยหรือไม่ครับ
ขอยกตัวอย่างครับ
เงินปันผลจากบริษัท A จำนวน 70,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 7000 บาท
เงินปันผลจากบริษัท B จำนวน 50,000 บาท ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย (เพราะได้รับ BOI)
เมื่อเราจะยื่นขอเครดิตภาษี เราจะต้องยื่นรายได้ของทั้งสองบริษัทไปด้วยกัน หรือว่ายื่นเฉพาะบริษัท A ก็ได้ครับ
http://www.rd.go.th/publish/554.0.html
105. เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่นในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ ดังต่อไปนี้
(1) เงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
ได้ครับdrpoo เขียน: อีกประเด็นครับ รายได้จากเงินปันผลเป็นรายได้ที่นำไปรวมกับรายได้อื่นได้การคำนวณรายได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณหายอดเงิน 15% เพื่อไปซื้อ LTF และ RMF ได้ไหมครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 28
เห็นแล้วครับว่าทำไมถึงเข้าใจไม่เหมือนกันKao เขียน: ผมขอยกตัวอย่างดังนี้นะครับ
ได้เงินปันผล70ล้านบาท จากบริษัทที่เสียภาษี30%(ได้เครดิตภาษี3/7)
เงินได้สุทธิ = เงินปันผล70ล้าน + เครดิตภาษี30ล้าน - ลดหย่อนส่วนตัว30,000 = 99,970,000
ภาษีเงินได้ = (100,000 x 0%) + (400,000 x 10%) + (500,000 x 20%) + (3,000,000 x 30%) + (95,970,000 x 37%) = 36,548,900
ภาษีที่ต้องเสีย(ได้คืน) = ภาษีเงินได้36,548,900 - เครดิตภาษี30,000,000 - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย7,000,000 = (451,000)
สรุปว่าได้เงินคืน 451,000บาท ครับ
ในกรณีที่คุณ Kao ยกมา รายได้ทั้งหมดเป็นเงินปันผล ดังนั้น เมื่อทำเครดิตภาษี อัตราภาษีบุคคลธรรมดาจริงๆี้สำหรับเงินจากปันผลจะต่ำกว่า 37% เนื่องจากเม็ดเงินจำนวนต่ำๆจ่ายภาษีในอัตราต่ำกว่า 37% (นอกจากนี้ ในตัวอย่างยังมีการหักลดหย่อนด้วย) เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ทำเครดิตภาษีซึ่งเสียภาษี 37% ทำเครดิตภาษีย่อมดีกว่า
ผมนึกว่าที่คุยกันหมายถึงกรณีที่ เงินส่วนที่เกี่ยวกับปันผลทั้งก้อนตกอยู่ในอัตราภาษี 37% ครับ โดยรายได้อื่นๆ (หักลดหย่อนทั้งหมดแล้ว) ดันให้เงินส่วนที่เกี่ยวกับปันผลทั้งก้อนตกอยู่ในอัตราภาษี 37% ในกรณีนี้จะไม่มีประโยชน์ครับ
สุดท้าย กลายเป็นว่าผมคิดคนละโจทย์กับคุณ Kao ครับ :D
Everything I do, I do it for you.
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
เครดิตภาษีเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ถูกมองข้าม
โพสต์ที่ 30
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com