วันนี้มีอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 341
- ผู้ติดตาม: 0
วันนี้มีอะไร
โพสต์ที่ 4
อาจเกี่ยวกับการที่อดีตนายกฯ ทักษิณออกมาประกาศยืนยันยุติบทบาททางการเมืองทุกรูปแบบ ทำให้นักลงทุนมองว่าการเมืองน่าจะนิ่งและมีเสถียรภาพมากขึ้นครับ :?
-
- Verified User
- โพสต์: 1976
- ผู้ติดตาม: 0
วันนี้มีอะไร
โพสต์ที่ 9
รู้แล้วครับว่าเพราะอะไร
ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น
ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น
แบงก์ชี้แห่ปรับพอร์ตลงทุนอุตลุด-อาศัยช่องโหว่ให้เวลาวันที่12มกราคม
โพสต์ทูเดย์ นักลงทุนต่างชาติขนเงินออกจิ๊บจ๊อยแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือโยกเงินจากตลาดตราสารหนี้ไปตลาดหุ้นกันสนั่นเมือง หลังมาตรการสำรอง 30% มีผลเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยในวันที่ 5 มกราคม 2550 อยู่ที่ 6.60 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ที่มีอยู่ 6.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ภาระจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ หรือฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิอยู่ที่ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 29 ธันวาคม 2549
ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ถึงตอนนี้ทุนนอกยังไม่หนีไปมากนัก แต่มีการปรับพอร์ตการลงทุนกันหนัก เพราะผลจากมาตรการผ่อนผันการหักกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในหุ้นนั้น ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดระบบอยู่ 5 วัน ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าปรับตัวและโยกเงินจากเงินฝาก และเงินลงทุนในตลาด ตราสารหนี้ พันธบัตรทะลักเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นแทน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นถึง 5.86 พันล้านบาท โดยในวันที่ 11 มกราคม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.06 พันล้านบาท ขณะที่ในวันที่ 12 มกราคม ซื้อสุทธิถึง 3.8 พันล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ปั่นป่วน พอสมควรอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ระดับ 4.86% ในวันที่ 12 มกราคม ร่วงลงจาก 5.04% เมื่อวันที่ 5 มกราคม ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรไทยปรับลงอย่างมาก โดยเฉพาะประเภทอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะมีการเทขายทิ้งออกไปเพื่อขนเงินออกและขยับไปลงทุนในตลาดหุ้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่มีการปรับตัวกันอย่างหนัก เพราะมาตรการหักกันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นและไม่มีธุรกรรมการค้าการลงทุนรองรับต้องถูกหักไว้ 30% ที่เว้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศที่นำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นสามารถนำเงินมาพักไว้ที่บัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (NRBA) ได้ ไม่เกิน 300 ล้านบาทนั้นมีช่องว่างอยู่
ช่องว่างที่ว่าเกิดจากประกาศเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ประกาศให้โบรกเกอร์และ นักลงทุนต้องแยกบัญชีลงทุนในหุ้นเฉพาะออกบัญชี NRBA ที่เอาไว้ใช้เพื่อการค้า ตราสารหนี้ หรือการณ์อื่น โดยกำหนดให้ ผู้มีบัญชี NRBA อยู่แล้วและก่อนหน้านี้ไม่ได้จำกัดว่าจะมีวงเงินเพียงแค่ 300 ล้านบาท เลือกว่าจะใช้บัญชี NRBA เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น หรือจะเปิดบัญชีใหม่ เป็นบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Non-resident Baht Account for Equity Securities: SNS) เพื่อลงทุนในหุ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ นักลงทุนต่างชาติที่เปิดบัญชี NRBA ไว้เดิมและมีเงินสูงกว่า 300 ล้านบาท ต้องปรับให้มียอดคงค้างในบัญชีไม่เกิน 300 ล้านบาท หลังวันที่ 8 มกราคม ด้วยการโยกเงินทุนส่วนที่เหลือไปเปิดบัญชี SNS ที่เปิดใหม่เพื่อเข้าลงทุนในตลาดหุ้น เพราะจะเริ่มรายงานในวันที่ 12 มกราคม เป็นต้นไป
ระยะเวลา 5 วัน จึงเป็นช่วงทำเงิน และย้ายการลงทุนของต่างชาติ อีกส่วนหนึ่งก็ขายบาทออกไปทำให้ค่าเงินบาทจึงยืนที่ระดับ 36.06 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีนักลงทุนบางกลุ่มต้องรับภาระในเรื่องดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินในตลาดเงินทั้งข้ามคืนและตลาดส่งมอบทันทีในอัตราที่สูงอยู่ เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างชาติกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูงมาก เพราะอิงกับอินเตอร์แบงก์ที่สูงถึง 4.95-4.97% เพราะรู้ว่ามีความต้องการใช้เงินบาทสูง แหล่งข่าวกล่าว
ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น
ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น
แบงก์ชี้แห่ปรับพอร์ตลงทุนอุตลุด-อาศัยช่องโหว่ให้เวลาวันที่12มกราคม
โพสต์ทูเดย์ นักลงทุนต่างชาติขนเงินออกจิ๊บจ๊อยแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือโยกเงินจากตลาดตราสารหนี้ไปตลาดหุ้นกันสนั่นเมือง หลังมาตรการสำรอง 30% มีผลเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยในวันที่ 5 มกราคม 2550 อยู่ที่ 6.60 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ที่มีอยู่ 6.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ภาระจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ หรือฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิอยู่ที่ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 29 ธันวาคม 2549
ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ถึงตอนนี้ทุนนอกยังไม่หนีไปมากนัก แต่มีการปรับพอร์ตการลงทุนกันหนัก เพราะผลจากมาตรการผ่อนผันการหักกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในหุ้นนั้น ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดระบบอยู่ 5 วัน ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าปรับตัวและโยกเงินจากเงินฝาก และเงินลงทุนในตลาด ตราสารหนี้ พันธบัตรทะลักเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นแทน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นถึง 5.86 พันล้านบาท โดยในวันที่ 11 มกราคม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.06 พันล้านบาท ขณะที่ในวันที่ 12 มกราคม ซื้อสุทธิถึง 3.8 พันล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ปั่นป่วน พอสมควรอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ระดับ 4.86% ในวันที่ 12 มกราคม ร่วงลงจาก 5.04% เมื่อวันที่ 5 มกราคม ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรไทยปรับลงอย่างมาก โดยเฉพาะประเภทอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะมีการเทขายทิ้งออกไปเพื่อขนเงินออกและขยับไปลงทุนในตลาดหุ้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่มีการปรับตัวกันอย่างหนัก เพราะมาตรการหักกันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นและไม่มีธุรกรรมการค้าการลงทุนรองรับต้องถูกหักไว้ 30% ที่เว้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศที่นำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นสามารถนำเงินมาพักไว้ที่บัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (NRBA) ได้ ไม่เกิน 300 ล้านบาทนั้นมีช่องว่างอยู่
ช่องว่างที่ว่าเกิดจากประกาศเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ประกาศให้โบรกเกอร์และ นักลงทุนต้องแยกบัญชีลงทุนในหุ้นเฉพาะออกบัญชี NRBA ที่เอาไว้ใช้เพื่อการค้า ตราสารหนี้ หรือการณ์อื่น โดยกำหนดให้ ผู้มีบัญชี NRBA อยู่แล้วและก่อนหน้านี้ไม่ได้จำกัดว่าจะมีวงเงินเพียงแค่ 300 ล้านบาท เลือกว่าจะใช้บัญชี NRBA เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น หรือจะเปิดบัญชีใหม่ เป็นบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Non-resident Baht Account for Equity Securities: SNS) เพื่อลงทุนในหุ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ นักลงทุนต่างชาติที่เปิดบัญชี NRBA ไว้เดิมและมีเงินสูงกว่า 300 ล้านบาท ต้องปรับให้มียอดคงค้างในบัญชีไม่เกิน 300 ล้านบาท หลังวันที่ 8 มกราคม ด้วยการโยกเงินทุนส่วนที่เหลือไปเปิดบัญชี SNS ที่เปิดใหม่เพื่อเข้าลงทุนในตลาดหุ้น เพราะจะเริ่มรายงานในวันที่ 12 มกราคม เป็นต้นไป
ระยะเวลา 5 วัน จึงเป็นช่วงทำเงิน และย้ายการลงทุนของต่างชาติ อีกส่วนหนึ่งก็ขายบาทออกไปทำให้ค่าเงินบาทจึงยืนที่ระดับ 36.06 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีนักลงทุนบางกลุ่มต้องรับภาระในเรื่องดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินในตลาดเงินทั้งข้ามคืนและตลาดส่งมอบทันทีในอัตราที่สูงอยู่ เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างชาติกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูงมาก เพราะอิงกับอินเตอร์แบงก์ที่สูงถึง 4.95-4.97% เพราะรู้ว่ามีความต้องการใช้เงินบาทสูง แหล่งข่าวกล่าว
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
วันนี้มีอะไร
โพสต์ที่ 10
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ปั่นป่วน พอสมควรอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ระดับ 4.86% ในวันที่ 12 มกราคม ร่วงลงจาก 5.04% เมื่อวันที่ 5 มกราคม ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรไทยปรับลงอย่างมาก โดยเฉพาะประเภทอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะมีการเทขายทิ้งออกไปเพื่อขนเงินออกและขยับไปลงทุนในตลาดหุ้น
แปลกๆแฮะ ... ปกติถ้าขายพันธบัตรทิ้งกันเยอะๆ จะทำให้ราคาลดต่ำลง yield มันก็ควรจะสูงขึ้นนี่ครับ ... นี่ทำไม yield มันลดลงละ ... ไม่รู้ว่าพิมพ์ผิดหรือว่าวิเคราะห์ผิดกันแน่
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
วันนี้มีอะไร
โพสต์ที่ 13
โค้ด: เลือกทั้งหมด
แปลกๆแฮะ ... ปกติถ้าขายพันธบัตรทิ้งกันเยอะๆ จะทำให้ราคาลดต่ำลง yield มันก็ควรจะสูงขึ้นนี่ครับ ... นี่ทำไม yield มันลดลงละ ... ไม่รู้ว่าพิมพ์ผิดหรือว่าวิเคราะห์ผิดกันแน่
แปลก
- Minesweeper
- Verified User
- โพสต์: 472
- ผู้ติดตาม: 0
วันนี้มีอะไร
โพสต์ที่ 14
yoyo เขียน:
คือหลังมี 70/30 yield มันกระตุกขึ้นไปพอควรครับ เนื่องจากแห่ขายกัน
ผ่านไปสักพัก พอไปดูราคาน้ำมันลง ทำท่าเงินเฟ้อ คงลงแน่ๆ แล้ว
ระยะยาวเศรษฐกิจก็ดูคลุมเคลือ เลย ปรับ yield ลงเหมือนเดิมดีกว่า
ไม่เกี่ยวกับ โยกไปตลาดทุนหรอกกับ คนเขียนดันเอามาเป็นเรื่องเดียวกัน