เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 31
[quote="คัดท้าย"][quote="ด๊กดิงด่าง"]คนไทยไม่ว่ารวยว่าจนช่วยๆกัน ไปเที่ยวต่างประเทศ
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 33
แหมท่านคัดท้าย ผมก็ประชดนิดหน่อย แต่ว่าที่จริงมันก็น่าจะดีนะ เรามีเงินมากขึ้นก็หาความสุขดิ
เวลามีเงินมีทองคนก็เข้าหา ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำไงจะแก้ได้ ก็กลับไปจนเหมือนเดิมนั่นแหละ
เวลามีเงินมีทองคนก็เข้าหา ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำไงจะแก้ได้ ก็กลับไปจนเหมือนเดิมนั่นแหละ
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 35
คิดดูอีกที แทนที่แบ็งค์ชาติจะเอาเงินไปต่อสู้ค่าเงิน ก็เอามาปล่อยกู้ให้ประชาชนทำแบบผมว่าดีกว่า เป็นผลดีกับreal sector ด้วยแม้จะไม่ใช่ในประเทศเดี๋ยวก็ย้อนกลับมาคืนอยู่ดี แทนที่จะเอากระดาษไปแลกกระดาษ
เงินตั้งสองสามแสนล้าน กู้ได้กี่คนน่ะ
เงินตั้งสองสามแสนล้าน กู้ได้กี่คนน่ะ
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 36
ดอกเบี้ยถือว่าเป็นต้นทุนทางธุรกิจ
สำหรับเหตุการณ์ปกติ
ดอกเบี้ยสูงขึ้น ==>>> ต้นทุนมากขึ้น ===>>> กำไรลดลง ===>> ราคาหุ้นมีทิศทางลดลง
ดอกเบี้ยต่ำลง ==>>> ต้นทุนต่ำลง ===>>> กำไรสูงขึ้น ===>> ราคาหุ้นมีทิศทางสูงขึ้น
หรือกลายเป็นไปได้ว่า มีการส่งสัญญาณที่ผิด จริงๆ ในการลดอัตราดอกเบี้ย
มันแปลกจริงๆ ไม่เป็นไปตามทฤษฎี ตอนนี้ค่าเงินอยู่ที่ 35.20 ต่ำกว่าตอนใช้มาตราการ 30% เสียอีก
รอฟังเพื่อนคนอื่นมาเคลียร์ปมดีกว่า :D
สำหรับเหตุการณ์ปกติ
ดอกเบี้ยสูงขึ้น ==>>> ต้นทุนมากขึ้น ===>>> กำไรลดลง ===>> ราคาหุ้นมีทิศทางลดลง
ดอกเบี้ยต่ำลง ==>>> ต้นทุนต่ำลง ===>>> กำไรสูงขึ้น ===>> ราคาหุ้นมีทิศทางสูงขึ้น
หรือกลายเป็นไปได้ว่า มีการส่งสัญญาณที่ผิด จริงๆ ในการลดอัตราดอกเบี้ย
มันแปลกจริงๆ ไม่เป็นไปตามทฤษฎี ตอนนี้ค่าเงินอยู่ที่ 35.20 ต่ำกว่าตอนใช้มาตราการ 30% เสียอีก
รอฟังเพื่อนคนอื่นมาเคลียร์ปมดีกว่า :D
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 37
เป็นไปได้ทั้งนั้นแหละครับCEO เขียน:มีใครคิดแบบว่า
ก่อนนี้แค่พักตัวไหมครับ แล้วไปต่อ ถ้าเป็นหุ้นก็ แบบว่า เจ้ามือทุบเก็บของ
ผมคิดง่ายๆนะ ถ้าจะแก้ปัญหา มันต้องรู้ก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
แต่เคสนี้ ผมเห็นคนพูดกันไปเรื่อย พูดโน่นพูดนี่ แต่พอถามจริงๆ เงินบาทแข็งเพราะอะไร ไม่เห็นมีใครตอบแบบเป็นรูปธรรมได้เลย
ถ้าไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร มันจะแก้ปัญหาได้ยังไงครับ :lol:
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 38
มีใครคิดบ้างว่า เงินจากการส่งออกที่ขยายตัวสุดๆตอนคิดเป็น กี่เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เอามาแลกบาท
มันแข็งเพราะเงินจากพวกส่งออกเอามาด้วยหรือเปล่า
มันแข็งเพราะเงินจากพวกส่งออกเอามาด้วยหรือเปล่า
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
-
- Verified User
- โพสต์: 942
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 40
ทำงบประมาณแบบขาดดุลเยอะๆ เลยครับ
ถ้าไม่รู้เอาตังค์แบบขาดดุลไปทำอะไร
แจกโบนัส เพิ่มเงินเดือนราชการก็ได้ครับ
เงินบาทจะได้อ่อน ช่วยเหลือผู้ส่งออก
ตกลงมาตรการ30%
พี่อุ๋ยไม่ต้องรับผิด รับชอบอย่างเดียว
ผมช่วยพยุงค่าเงินแล้วนะ
ไอ้ที่เอาไปเล่นเจ๊งไม่ต้องนับ
ไอ้คนเสนอลดดอกเบี้ยมันผิด
ผมทำตามวันสองวันไม่ลด
ต้องจับไปยิงเป้าให้หมด
ถ้าไม่รู้เอาตังค์แบบขาดดุลไปทำอะไร
แจกโบนัส เพิ่มเงินเดือนราชการก็ได้ครับ
เงินบาทจะได้อ่อน ช่วยเหลือผู้ส่งออก
ตกลงมาตรการ30%
พี่อุ๋ยไม่ต้องรับผิด รับชอบอย่างเดียว
ผมช่วยพยุงค่าเงินแล้วนะ
ไอ้ที่เอาไปเล่นเจ๊งไม่ต้องนับ
ไอ้คนเสนอลดดอกเบี้ยมันผิด
ผมทำตามวันสองวันไม่ลด
ต้องจับไปยิงเป้าให้หมด
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 42
เห็นด้วยครับ ตอนนี้เหมือนเรายังไม่รู้ปัญหาจริงๆ ของเรื่องบาทแข็งตัว
คงต้องรอดูอีก ซักสัปดาห์หนึ่ง ว่าบาทยังยื่นแข็งอยู่ในระดับนี้หรือเปล่า
คงต้องรอดูอีก ซักสัปดาห์หนึ่ง ว่าบาทยังยื่นแข็งอยู่ในระดับนี้หรือเปล่า
เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 17 มกราคม 2550
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง การบริโภคและลงทุนใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3แม้การส่งออกยังขยายตัวได้ดี แต่ยังมีความไม่แน่นอนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะราคาน้ำมัน โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะ 2 ปีข้างหน้าจะสูงเกินเป้าหมายมีน้อยลงชัดเจน
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีน้อยลงแต่ความเสี่ยงด้านการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายลงเพื่อเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1วันลงจากอัตราปิดในวันก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9375 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี และกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย
17 มกราคม 2550
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 43
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เป็นไปได้ทั้งนั้นแหละครับ
ผมคิดง่ายๆนะ ถ้าจะแก้ปัญหา มันต้องรู้ก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
แต่เคสนี้ ผมเห็นคนพูดกันไปเรื่อย พูดโน่นพูดนี่ แต่พอถามจริงๆ เงินบาทแข็งเพราะอะไร ไม่เห็นมีใครตอบแบบเป็นรูปธรรมได้เลย
ถ้าไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร มันจะแก้ปัญหาได้ยังไงครับ
ก็ไม่เห็นคัดท้ายสนใจอะไร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 44
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ประเมินมาตรการควบคุมเงินทุนของแบงก์ชาติ
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์
[email protected]
มาตรการควบคุมเงินทุนจากต่างประเทศของแบงก์ชาติ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและต้นทุนอย่างมาก ซึ่งผมเชื่อว่า มาตรการนี้คงเป็นมาตรการชั่วคราว ไม่เกิน 13 อาทิตย์ก็คงยกเลิก (หากไม่คิดว่าเสียหน้า) เพราะมีผลเสียมากกว่าได้ ทั้งก่อให้เกิดความเสียหายชัดเจนและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าแบงก์ชาติคงกำลังรอประเมินผลและศึกษาหามาตรการทางเลือกอื่นๆ
มาตรการควบคุมเงินทุนดังกล่าว ทำไปเพราะต้องการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก โดยที่ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมถึงมีการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประเทศไทย สาเหตุอันหนึ่งน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่สูงมาเป็นเวลาพอสมควร แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด สาเหตุอีกประการหนึ่งน่าจะมาจาก นักเก็งกำไรเคยได้รับผลกำไรอย่างมหาศาลจากการต่อสู้ค่าเงินในช่วงวิกฤตการเงินปี 2539-2540 โดยแบงก์ชาติมีประวัติชอบต่อสู้ค่าเงินและอุปนิสัยที่ชอบเอาชนะ ซึ่งเข้าทางของนักเก็งกำไรในการวางกับดักเก็งกำไร (Speculation Trap) ทำให้ท้ายที่สุดถูกสถานการณ์จำนนให้ต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุน ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า ทำเพื่อลดการขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและปรับปรุงฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปีให้ดีขึ้น
เราสามารถเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการของแบงก์ชาติ (Action Consequence) กับหลักไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ที่มีกฎว่า ประธาน+กริยา+กรรม โดยเฉพาะภาษาเยอรมันจะมีหลักไวยากรณ์ที่แน่นอนตายตัว นั่นคือ Dative และ Akkusative ที่ตามด้วยกรรมตรงและกรรมรอง (ทำให้ต้องผันคำคุณศัพท์ บุพบทและคำนำหน้านาม) เปรียบเทียบกับการกระทำของแบงก์ชาติ ทำให้เกิดกรรมตรงและกรรมรอง กรรมตรงก็คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ในขณะที่กรรมรองคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตลอดจนนักลงทุน ผู้กู้เงิน ผู้นำเข้า และผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ
อาจเปรียบเทียบผลได้ผลเสียของมาตรการการแทรกแซงค่าเงินและควบคุมเงินทุน ได้ดังนี้
ผลได้ ผู้ส่งออกได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่ไม่แข็งค่าไปกว่าเดิมและอ่อนค่าลงจาก 35 บาทเป็น 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price-Sensitive) แต่จากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก กล่าวคือเงินบาทแข็งขึ้น 1% มีผลต่อ GDP เพียง 0.01% ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกมากที่สุดคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1% ของประเทศคู่ค้าของไทย 11 ประเทศ มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยถึง 1% เช่นกัน
ผลเสียที่ 1 (กรรมตรงและผลจากกรรมเก่า) ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ประการแรก แบงก์ชาติขาดทุนจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไปแล้ว 7.5 หมื่นล้านบาท และยังมีผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายเงินต่างประเทศที่มีสัญญาจะขายคืนเป็นยอดคงค้าง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2549 อีก 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในส่วนนี้ไม่แน่ชัดว่าขาดทุนเท่าไหร่ แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ต้องมีการส่งมอบ แต่หากคิดง่ายๆ ว่าเงินบาทแข็งค่าจาก 41 บาท เมื่อตอนต้นปี มาถึงในขณะนี้ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แบงก์ชาติน่าจะขาดทุนดอลลาร์ละ 5 บาท ทำให้ขาดทุนเพิ่มในส่วนนี้อีก 4.35 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดทุนที่แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาด Spot ที่มีการส่งมอบทันที ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 อีก 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีผลขาดทุนเกิดขึ้นแล้วเกือบ 140,000 ล้านบาท ประการที่สอง เนื่องจากแบงก์ชาติต้องออกพันธบัตร เพื่อมาดูดซับสภาพคล่องเงินบาท เป็นจำนวนเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้าคิดถัวเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยที่เพียงแค่ 5% ต่อปี แบงก์ชาติจะเกิดต้นทุนเป็นภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดต้นทุนที่เกิดกับแบงก์ชาติใน 2 ส่วนนี้เกือบ 2 แสนล้านบาท (140,000+50,000) เพื่อทำให้โปร่งใส งบกำไรขาดทุนและงบดุลของแบงก์ชาติ (ณ สิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม 2549) ควรจะแสดงให้เห็นถึงผลขาดทุนอันเกิดจากการแทรกแซงค่าเงินและต้นทุนจากการออกพันธบัตร อย่าเพียงสะท้อนคร่าวๆ ในงบย่อยหรือในธุรกรรมนอกงบดุล (Off-Balance Sheet Items)
ผลเสียที่ 2 (กรรมรอง) มาจากผลของมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้มูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ลดลง คิดเป็นความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นตลาดพันธบัตรก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้มูลค่าพันธบัตรทั้งหมดลดลงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รวมถึงความเสียหายที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้แน่นอน อันเนื่องมาจากการขายของนักลงทุนและการถูกบังคับขาย (Forced Sale) ในราคาที่ต่ำกว่าเดิมมาก อีกทั้งภาวะซบเซาในตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อันเกิดจากการถอนการลงทุน และขาดเงินทุนใหม่เข้ามา ผลกระทบในทางลบต่อผู้นำเข้าและผู้ที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขความเสียหายได้ชัดเจน
ผลเสียที่ 3 (กรรมรอง) มาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีหน้าทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนต้องกู้เงินด้วยการออกขายพันธบัตร โดยในส่วนของรัฐบาลคิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ Re-Finance หนี้เดิม แต่ผลจากมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1% ถ้าคิดง่ายๆ ว่าเป็นพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นถึง 3 หมื่นล้านบาท
ที่น่าเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือ ภาวะเงินทุนไหลออก จนทำให้เกิดวิกฤต ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาแทนที่การควบคุมเงินทุน ก็คือ
ทางเลือกที่ 1) ช่วยผู้ส่งออกโดยตรง โดยสนับสนุนทางการเงินกับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
ทางเลือกที่ 2) เปลี่ยนเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงิน US ดอลลาร์ ในระดับที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว ดังเช่น ประเทศจีนและฮ่องกง หรือหากไม่ต้องการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทั้งหมด ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Two-Tier Exchange Rate System โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่นำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นอัตราคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนำเงินเข้าและตอนนำเงินออก
ทางเลือกที่ 3) เก็บภาษีจากกำไรของนักลงทุนต่างประเทศ มาตรการนี้จะต่างจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ต้องวางเงินสำรอง เพราะจะเก็บภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นของนักลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้ลดการเก็งกำไรค่าเงินลง โดยที่มีผลกระทบและผลข้างเคียงน้อยกว่าการต้องให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต้องตั้งสำรอง 30% ซึ่งผมจะได้กล่าวในรายละเอียดในตอนต่อไป
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 45
ที่พี่เจ๋ง เอามาโพสต์ ผมได้อ่านแล้วครับ
แต่ยังไม่เห็นว่ามันบอกว่าปัญหาจริงๆคืออะไร ????
เห็นอ่านแต่บอกว่า เสียหายเท่าไหร่ และอยากให้ช่วยผู้ส่งออกแบบอื่นๆได้อย่างไร แค่นั้นเองครับ
แต่ที่อ่านแล้วผมก็คิดอยู่นิดคือ **** เราโดนโจมตี **** แค่นั้นเอง
แต่ยังไม่เห็นว่ามันบอกว่าปัญหาจริงๆคืออะไร ????
เห็นอ่านแต่บอกว่า เสียหายเท่าไหร่ และอยากให้ช่วยผู้ส่งออกแบบอื่นๆได้อย่างไร แค่นั้นเองครับ
แต่ที่อ่านแล้วผมก็คิดอยู่นิดคือ **** เราโดนโจมตี **** แค่นั้นเอง
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 46
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เป็นไปได้ทั้งนั้นแหละครับ
ผมคิดง่ายๆนะ ถ้าจะแก้ปัญหา มันต้องรู้ก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
แต่เคสนี้ ผมเห็นคนพูดกันไปเรื่อย พูดโน่นพูดนี่ แต่พอถามจริงๆ เงินบาทแข็งเพราะอะไร ไม่เห็นมีใครตอบแบบเป็นรูปธรรมได้เลย
ถ้าไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร มันจะแก้ปัญหาได้ยังไงครับ
อย่าว่าแต่คนที่คัดท้ายคุยด้วยเลยว่าจะรู้เรื่องอะไรเรื่องนี้ พวกเราไม่มีข้อมูลอยู่ในมือครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 47
ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเป็นบวกอยู่ก็คิดว่ายังคงมีเงินไหลเข้ามาอยู่ดี เอาเงินมาเก็บในรูปเงินบาทไม่ด้อยค่าตามเงินเฟ้อ
เป็นผม ผมก็ทำ
เป็นผม ผมก็ทำ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- jody4003
- Verified User
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 48
เอ ถ้าเป็นแบบที่คุณมนว่า มันก็ไม่ใช่ปัญหาสิครับ รึเปล่า :roll:Mon money เขียน:ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเป็นบวกอยู่ก็คิดว่ายังคงมีเงินไหลเข้ามาอยู่ดี เอาเงินมาเก็บในรูปเงินบาทไม่ด้อยค่าตามเงินเฟ้อ
เป็นผม ผมก็ทำ
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 49
Just a game
ผมเองถ้าเล่นหุ้นตัวไหนกำไรเยอะๆก็จะจ้องหาจังหวะกลับไปเล่นหุ้นตัวเดิมอีกอยู่บ่อยๆ
เกมส์นี้เค้าอ่านแล้วว่าหน้าตักเค้ามีมากกว่าหลายเท่า แกล้งหมอบมั่ง แกล้งอ่อยบ้าง พอหมูหลงกลทุ่มหมดตัวก็ได้เวลาเชือดหมูอีกครั้ง
รอบก่อนทุบค่าเงินลงได้ไปตั้งเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ รสหวานทานง่าย
รอบนี้คิดแล้วว่าหมูต้องระวังโดนทุบอีก เลยเล่นปั้นขึ้นซะเลย เอาอีกสักห้าสิบเปอร์เซ็นต์ก็แล้วกัน
หมายเหตุ : หมูคนละตัวกับของ ดร.นะครับ
ผมเองถ้าเล่นหุ้นตัวไหนกำไรเยอะๆก็จะจ้องหาจังหวะกลับไปเล่นหุ้นตัวเดิมอีกอยู่บ่อยๆ
เกมส์นี้เค้าอ่านแล้วว่าหน้าตักเค้ามีมากกว่าหลายเท่า แกล้งหมอบมั่ง แกล้งอ่อยบ้าง พอหมูหลงกลทุ่มหมดตัวก็ได้เวลาเชือดหมูอีกครั้ง
รอบก่อนทุบค่าเงินลงได้ไปตั้งเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ รสหวานทานง่าย
รอบนี้คิดแล้วว่าหมูต้องระวังโดนทุบอีก เลยเล่นปั้นขึ้นซะเลย เอาอีกสักห้าสิบเปอร์เซ็นต์ก็แล้วกัน
หมายเหตุ : หมูคนละตัวกับของ ดร.นะครับ
ที่สุดสำคัญที่ใจ
- Golden Stock
- Verified User
- โพสต์: 615
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 51
เหตุมาจาก การต้องการเห็นดอลลาร์อ่อน ของมะกัน เพราะอะไรนั้น
หากไม่ขนาดปิดหู ตา สมอง ตัวเองไม่ไห้รับรู้ ก็น่าจะทราบเรื่อง
นโยบายดอลลาร์อ่อน และทิศทางค่าเงินสกุลต่างๆ ในโลกเมื่อเทียบ
กับดอลลาร์มะกัน
ในเมื่อมันเป็นกระแสหลัก สิ่งที่สมควรทำ หรือน่าจะทำ คือทำอย่างไร
เงินบาทถึงจะแข็งค่าในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ไม่ใช่มากำหนด
เป้าหมายว่าควรจะเป็นเท่าไหร่
ถามว่าอัตราดอกเบี้ยลดแล้วทำไมค่าเงินบาทยังแข็ง ? นอกจากกระแสหลัก
คือดอลลาร์อ่อนแล้ว การลดแค่ 0.25 % มันไม่ถือว่ามาก ตามความเห็น
หลายๆ คนที่ตอบไว้ ลองดอกเบี้ยเท่าญี่ปุ่นซิครับ แต่ว่าคงเป็นไปไม่ได้
เห็นพูดกันจัง เรื่องส่งออก ซึ่งคิดเป็น 60% ของ GDP ถามหน่อยเถอะว่า
ใน100 % ของส่งออกเป็นของคนไทยจริงๆ กี่เปอร์เซนต์กัน ?
มาตรการต่างๆ ที่ออกมานั้น โดยแท้จริงเป็นการช่วยคนไทยกี่เปอร์เซนต์กันครับ
ทั้งหมดทั้งปวงของรัฐบาลเผด็จการ ถือว่ามาถูกทางแล้วเหรอ ?
หากไม่ขนาดปิดหู ตา สมอง ตัวเองไม่ไห้รับรู้ ก็น่าจะทราบเรื่อง
นโยบายดอลลาร์อ่อน และทิศทางค่าเงินสกุลต่างๆ ในโลกเมื่อเทียบ
กับดอลลาร์มะกัน
ในเมื่อมันเป็นกระแสหลัก สิ่งที่สมควรทำ หรือน่าจะทำ คือทำอย่างไร
เงินบาทถึงจะแข็งค่าในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ไม่ใช่มากำหนด
เป้าหมายว่าควรจะเป็นเท่าไหร่
ถามว่าอัตราดอกเบี้ยลดแล้วทำไมค่าเงินบาทยังแข็ง ? นอกจากกระแสหลัก
คือดอลลาร์อ่อนแล้ว การลดแค่ 0.25 % มันไม่ถือว่ามาก ตามความเห็น
หลายๆ คนที่ตอบไว้ ลองดอกเบี้ยเท่าญี่ปุ่นซิครับ แต่ว่าคงเป็นไปไม่ได้
เห็นพูดกันจัง เรื่องส่งออก ซึ่งคิดเป็น 60% ของ GDP ถามหน่อยเถอะว่า
ใน100 % ของส่งออกเป็นของคนไทยจริงๆ กี่เปอร์เซนต์กัน ?
มาตรการต่างๆ ที่ออกมานั้น โดยแท้จริงเป็นการช่วยคนไทยกี่เปอร์เซนต์กันครับ
ทั้งหมดทั้งปวงของรัฐบาลเผด็จการ ถือว่ามาถูกทางแล้วเหรอ ?
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 52
ดอลล่าร์ 34.xx แล้ว ผมตาฝาดไปหรือเปล่า :roll:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 53
นี่คือ ปัญหาที่แท้จริง หรือเปล่าครับ?นักเก็งกำไรเคยได้รับผลกำไรอย่างมหาศาลจากการต่อสู้ค่าเงินในช่วงวิกฤตการเงินปี 2539-2540 โดยแบงก์ชาติมีประวัติชอบต่อสู้ค่าเงินและอุปนิสัยที่ชอบเอาชนะ
USD จะแข็งหรืออ่อนก็มีคนได้มีคนเสียทั้งนั้น ไม่รู้จะกำหนดทิศทาง Baht ได้ยังไง ถ้าเป็น USA ยังพอเล่นค่าเงินตัวเองได้ แต่ Baht เล็กจิ๋ว จะไปสู้กะยักษ์ได้ไงเนี่ย -_-'
I do not sleep. I dream.
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 54
เมื่อเช้าฟัง Bloomberg ที่ใต้ตึก แต่เสียงมันดังไปหน่อยพอจับใจความได้ว่า นักวิเคราะห์สิงค์โปร์ (ไม่รู้บริษัทไรจำไม่ได้)
มองว่าตลาดหุ้นของไทยถึงแม้จะมีปัญหาและผลกระทบมากจากมาตรการต่างๆที่ผ่านมา แต่ในแง่ของValue investment แล้วdownside rissk น่าจะยังมีอยู่ไม่มาก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่น่ามีผลร้ายกับแบงค์ต่างๆ และมองว่าตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจอยู่ ยิ่งการเอาเงินมาลงทุนในขณะที่ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อ
จบข่าว
น่าจะประมาณว่าเฮ้ยที่ผ่านๆมามันลงมาเยอะแล้วหุ้นมันถูกนะเฟ้ย ยังน่าลงทุนต่อวะ ว่าไงดีครับ
มองว่าตลาดหุ้นของไทยถึงแม้จะมีปัญหาและผลกระทบมากจากมาตรการต่างๆที่ผ่านมา แต่ในแง่ของValue investment แล้วdownside rissk น่าจะยังมีอยู่ไม่มาก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่น่ามีผลร้ายกับแบงค์ต่างๆ และมองว่าตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจอยู่ ยิ่งการเอาเงินมาลงทุนในขณะที่ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อ
จบข่าว
น่าจะประมาณว่าเฮ้ยที่ผ่านๆมามันลงมาเยอะแล้วหุ้นมันถูกนะเฟ้ย ยังน่าลงทุนต่อวะ ว่าไงดีครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 55
ถ้ามองว่าหุ้นไทยน่าซื้อเพราะ PE ต่ำกว่าประเทศอื่น ตอน 800 จุดก็ยังน่าซื้อได้เลยครับ แต่ตอนนี้ไม่ได้ยินนักวิเคราะห์คนไหนกล้าพูดคำนี้อีกแล้ว
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 56
ในแง่ Valuation ตอนนี้หลายตัวมันถูกจริงๆ นั่นแหละ ถ้าถือไว้นานๆ น่าจะดีหลายตัวทีเดียว เพียงแต่ว่าในช่วงสั้นมันมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจทำให้ลงไปได้อีกเลยทำให้น่ากลัว
ผมซื้อกลับไปเยอะแล้ว แต่ยังไงก็ยังขอเหลือเอาไว้ก้อนนึ่งนิดหน่อยเป็นก๊อกสุดท้าย เขาชนช้างกันเมื่อไร รอให้สะเด็ดน้ำ คงได้เอาออกมาใช้ เผื่อจะทำให้รวยแบบพี่ฉัตรชัยได้บ้าง แต่ถ้าไม่มีการชนข้างก็ไม่เป็นไร ค่อยซื้อตามน้ำยังทัน ยังไงหุ้นไทยก็ยังไม่แพง ยังไม่แพง ยังไม่แพง ..... :lovl:
ผมซื้อกลับไปเยอะแล้ว แต่ยังไงก็ยังขอเหลือเอาไว้ก้อนนึ่งนิดหน่อยเป็นก๊อกสุดท้าย เขาชนช้างกันเมื่อไร รอให้สะเด็ดน้ำ คงได้เอาออกมาใช้ เผื่อจะทำให้รวยแบบพี่ฉัตรชัยได้บ้าง แต่ถ้าไม่มีการชนข้างก็ไม่เป็นไร ค่อยซื้อตามน้ำยังทัน ยังไงหุ้นไทยก็ยังไม่แพง ยังไม่แพง ยังไม่แพง ..... :lovl:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 57
ท่านแม่ทัพซื้อไว้แล้วมากระซิบบอกกันมั่งซิ เพราะว่าบน ยอดดอยมันเหงานะ ไม่หาเพื่อนไว้บ้างเหรอ :lol:สุมาอี้ เขียน:ในแง่ Valuation ตอนนี้หลายตัวมันถูกจริงๆ นั่นแหละ ถ้าถือไว้นานๆ น่าจะดีหลายตัวทีเดียว เพียงแต่ว่าในช่วงสั้นมันมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจทำให้ลงไปได้อีกเลยทำให้น่ากลัว
ผมซื้อกลับไปเยอะแล้ว แต่ยังไงก็ยังขอเหลือเอาไว้ก้อนนึ่งนิดหน่อยเป็นก๊อกสุดท้าย เขาชนช้างกันเมื่อไร รอให้สะเด็ดน้ำ คงได้เอาออกมาใช้ เผื่อจะทำให้รวยแบบพี่ฉัตรชัยได้บ้าง แต่ถ้าไม่มีการชนข้างก็ไม่เป็นไร ค่อยซื้อตามน้ำยังทัน ยังไงหุ้นไทยก็ยังไม่แพง ยังไม่แพง ยังไม่แพง ..... :lovl:
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 58
คิดเหมือนกันเลยครับสุมาอี้ เขียน:ในแง่ Valuation ตอนนี้หลายตัวมันถูกจริงๆ นั่นแหละ ถ้าถือไว้นานๆ น่าจะดีหลายตัวทีเดียว เพียงแต่ว่าในช่วงสั้นมันมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจทำให้ลงไปได้อีกเลยทำให้น่ากลัว
ผมซื้อกลับไปเยอะแล้ว แต่ยังไงก็ยังขอเหลือเอาไว้ก้อนนึ่งนิดหน่อยเป็นก๊อกสุดท้าย เขาชนช้างกันเมื่อไร รอให้สะเด็ดน้ำ คงได้เอาออกมาใช้ เผื่อจะทำให้รวยแบบพี่ฉัตรชัยได้บ้าง แต่ถ้าไม่มีการชนข้างก็ไม่เป็นไร ค่อยซื้อตามน้ำยังทัน ยังไงหุ้นไทยก็ยังไม่แพง ยังไม่แพง ยังไม่แพง ..... :lovl:
แต่กลัวว่าคนส่วนใหญ่ก็คิดเหมือนกัน
บาทอ่อนบาทแข็ง ทำไมเพราะอะไร แรกๆก็อยากรู้
ตอนนี้ไม่อยากรู้แล้ว
รอแค่ว่าเมื่อไหร่ ราคาหุ้นที่อยากได้ลงมาถึงจุดที่น่าซื้อ :lol:
- tachikoma
- Verified User
- โพสต์: 140
- ผู้ติดตาม: 0
เอ ... ทำไมดอกลดปุ๊บ เงินแข็งปั๊บ เลยละครับ ????
โพสต์ที่ 60
ผมเข้าใจอย่างนี้นะครับ ไม่รู้ถูกเปล่า
ถ้าลดดอกลง แล้วบาทน่าจะอ่อนตัวลง เพราะต่างชาติเอาเงินเข้ามาน้อยลงครับ แต่ก็ต้องดูว่าที่ลดลงไป ลดแล้วยังสูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารต่างประเทศหรือเปล่า ถ้ายังสูงกว่า ต่างชาติก็ยังเอาเงินเข้ามาอยู่ดี บาทก็แข็งเหมือนกัน
อันนี้ต้องรบกวนผู้ที่รู้ที่ตรวจสอบอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้และดอกเบี้ยเงินฝากในต่างประเทศครับ
เมื่อดอกเบี้ยลดลงทำให้ ตราสารหนี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปัจจุบันมีมูลค่าสูงขึ้น หากผู้ถือรายใหญ่เทขายตราสารหนี้ออกมาเพื่อเอาค่า Premium แล้วมีต่างชาติมาช้อนซื้อ ก็เป็นไปได้ว่าบาทจะแข็งขึ้นอ่ะครับ ซึ่งผมไม่แน่ใจเรื่องข้อกำหนดของแบงค์ชาติที่ออกมาว่า การที่ห้ามต่างชาติลงทุนในตราสารหนี้ คลอบคลุมแค่ไหน มีช่องโหว่หรือไม่?
ข้อกำหนดที่ออกมาครอบคลุมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ในตลาดรองหรือไม่? และหากบริษัทหรือธนาคารในไทย เสนอชำระหนี้ด้วยตราสารหนี้ หรือ ไปกู้เงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้ค้ำประกัน จะเป็นการผิดข้อกำหนดหรือเปล่า?
ถ้าลดดอกลง แล้วบาทน่าจะอ่อนตัวลง เพราะต่างชาติเอาเงินเข้ามาน้อยลงครับ แต่ก็ต้องดูว่าที่ลดลงไป ลดแล้วยังสูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารต่างประเทศหรือเปล่า ถ้ายังสูงกว่า ต่างชาติก็ยังเอาเงินเข้ามาอยู่ดี บาทก็แข็งเหมือนกัน
อันนี้ต้องรบกวนผู้ที่รู้ที่ตรวจสอบอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้และดอกเบี้ยเงินฝากในต่างประเทศครับ
เมื่อดอกเบี้ยลดลงทำให้ ตราสารหนี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปัจจุบันมีมูลค่าสูงขึ้น หากผู้ถือรายใหญ่เทขายตราสารหนี้ออกมาเพื่อเอาค่า Premium แล้วมีต่างชาติมาช้อนซื้อ ก็เป็นไปได้ว่าบาทจะแข็งขึ้นอ่ะครับ ซึ่งผมไม่แน่ใจเรื่องข้อกำหนดของแบงค์ชาติที่ออกมาว่า การที่ห้ามต่างชาติลงทุนในตราสารหนี้ คลอบคลุมแค่ไหน มีช่องโหว่หรือไม่?
ข้อกำหนดที่ออกมาครอบคลุมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ในตลาดรองหรือไม่? และหากบริษัทหรือธนาคารในไทย เสนอชำระหนี้ด้วยตราสารหนี้ หรือ ไปกู้เงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้ค้ำประกัน จะเป็นการผิดข้อกำหนดหรือเปล่า?