สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 4
สงสัยคุณ phobenius จะเรียน finance
เรื่อง Util Graph นี่ ผมสอบเสร็จเอาคืนอจไปเลย :oops:
เรื่อง Util Graph นี่ ผมสอบเสร็จเอาคืนอจไปเลย :oops:
I do not sleep. I dream.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 6
คุณ probenius
ผมว่าคนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก :lol:
ต้องเรียน finance หรือ mba
ส่วนผมตอบไปแล้ว
concave then convex
ผมว่าคนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก :lol:
ต้องเรียน finance หรือ mba
ส่วนผมตอบไปแล้ว
concave then convex
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 7
[quote="sunrise"]คุณ probenius
ผมว่าคนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก
ผมว่าคนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก
รักในหลวงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 9
[quote="Raphin Phraiwal"][quote="sunrise"]คุณ probenius
ผมว่าคนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก
ผมว่าคนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรอก
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 10
ทางไฟแนนซ์ที่ผมทราบ จะมีกราฟอยู่ 2 แบบที่เกี่ยงข้องกับลักษณะ กราฟ concave และ convexthansome เขียน:อธิบายความหมายให้ฟังหน่อยสิครับ อยากได้ความรู้
เพิ่ม
คือ Utility curve กับ risk preference curve
กราฟความพึงพอใจ Utility curve
โดยแกนตั้ง หรือ แกน Y เป็นแกน บ่งบอกถึงความพึงพอใจ
แกน นอน หรือ แกนX เป็นแกนบ่งบอกถึงความร่ำรวย
การทำ utlity curve เพื่อเป็นการบอกว่าคนเรา ประเมินมูลค่าทรัพย์สินไม่เท่ากัน ณ ที่ความรวยไม่เท่ากัน
เช่น Ulitity curve จะมีลํกษณะ ที่เป็น Concave คือ
กราฟออกมาในลักษณะ กรวย ตะแคงโดยที่จุดที่เป็นเป็นปลายกรวย อยู่ที่จุด (0,0 ) หรือจุด ที่ ทั้ง x,y เท่ากับ 0
ลักษณะ เหมือนถ้ำ ที่มีปลายเปิดทางขวา
ยกตัวอย่างได้ว่า
คนที่มีเงิน 1 ล้านบาท การได้เงินเพิ่มขึ้นมา 10,000 บาท จะไม่พึงพอใจเท่าคนที่มีเงิน 10,000 บาท ได้เงินเพิ่มขึ้นมา 10,000 บาทครับ
อีกกราฟนึงคือ risk preference curve
โดยแกนตั้ง หรือ แกน Y เป็นแกน บ่งบอกถึงผลตอบแทน
แกน นอน หรือ แกนX เป็นแกนบ่งบอกถึงความเสี่ยง (Beta )
โดยทางไฟแนนซ์ แบ่งคนโดยใช้นิสัยเกี่ยวกับความเสี่ยง เป็นหลัก
โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. Risk lover ชอบเสียง
2. Risk neteural ไม่สนใจเรื่องความเสียง
3. Risk Aversion ไม่ชอบเสี่ยง
คนส่วนใหญ่เป็นพวก ไม่ชอบเสี่ยง risk aversion
คนที่เป็น risk lover ( convex ) ก็จะชอบที่จะเสียงมากๆ โดยยอมที่จะเสี่ยงมากขึ้นมากแม้รู้ว่าผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
กราฟ risk preference มีลักษณะเรียกว่า convex โดยที่
กราฟออกมาในลักษณะ กรวย หงายโดยที่จุดที่เป็นเป็นปลายกรวย อยู่ที่จุด (0,0 ) หรือจุด ที่ ทั้ง x,y เท่ากับ 0
โดยปลายเปิด อยู่ด้านบน
คนที่เป็น risk netuaral กราฟจะเป็นทะแยง 45% หมายความว่าถ้าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนิดหน่อย ก็ต้องการผลตอบแทนเพิ่มขึ้นนิดหน่อย
ถ้าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก ก็ต้องการผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก
คนที่ เป็นคนไม่ชอบเสี่ยง เราเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า risk aversion โดยมีลักษณะกราฟเป็น concave เหมือน Utility curve
คือ ยิ่งเสียงมากขึ้น ยิ่งต้องการผลตอบแทนมากขึ้นมากๆ
แปะกราฟไม่เป็นก็ใช้อธิบายเอาละกันครับ
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 1976
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 11
ไม่แน่ใจนะครับ
utility function คือ ขั้นตอนในการตัดสินใจของมนุษย์ครับผมเพื่อที่จะบริโภคสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว สินค้าที่เราจะบริโภคนั้นจะเป็นสินค้าที่เรียกว่า ชอบมาก ดีกว่าน้อยครับ
อย่างเช่น มีเงินล้านบาท ย่อมดีกว่ามีเงินสิบบาท แต่เมื่อฟังชันของเราไปถึงจุดหนึ่งซึ่งไกลมากๆ อย่างเช่น มีเงิน ศูนย์ บาท กับ สิบบาท ถามว่าต่างกันไหม ส่วนใหญ่จะตอบว่าต่าง แต่ถ้าถามว่า หนึ่งล้านกับหนึ่งล้านกับสิบบาท ต่างกันไหม ส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่ต่าง
ซึ่งทำให้เห็นว่าเกิด diminishing of return โดยจุดต้นๆ จะมีผลต่อการตัดสินใจมากกว่า ในขณะที่จุดปลายๆจะมีผลตอบแทนทางจิตใจเริ่มลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆครับในขณะที่เพิ่มในอัตราที่เท่ากัน
ส่วนนิยามอันอื่นเดี่ยวค่อยมาอธิบายต่อไปครับ
utility function คือ ขั้นตอนในการตัดสินใจของมนุษย์ครับผมเพื่อที่จะบริโภคสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว สินค้าที่เราจะบริโภคนั้นจะเป็นสินค้าที่เรียกว่า ชอบมาก ดีกว่าน้อยครับ
อย่างเช่น มีเงินล้านบาท ย่อมดีกว่ามีเงินสิบบาท แต่เมื่อฟังชันของเราไปถึงจุดหนึ่งซึ่งไกลมากๆ อย่างเช่น มีเงิน ศูนย์ บาท กับ สิบบาท ถามว่าต่างกันไหม ส่วนใหญ่จะตอบว่าต่าง แต่ถ้าถามว่า หนึ่งล้านกับหนึ่งล้านกับสิบบาท ต่างกันไหม ส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่ต่าง
ซึ่งทำให้เห็นว่าเกิด diminishing of return โดยจุดต้นๆ จะมีผลต่อการตัดสินใจมากกว่า ในขณะที่จุดปลายๆจะมีผลตอบแทนทางจิตใจเริ่มลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆครับในขณะที่เพิ่มในอัตราที่เท่ากัน
ส่วนนิยามอันอื่นเดี่ยวค่อยมาอธิบายต่อไปครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 12
ถ้าผมมีเงิน 10 ล้านกับ 11 ล้าน คงไม่ได้ต่างกันมาก
แต่ถ้ามีเงิน 1 แสน กับ 1 ล้าน อันนี้ระดับความพึงพอใจ คงต่างกันมาก
ทำให้ลักษณะกราฟจะชันในช่วงเริ่มต้นและค่อยๆลดลงๆ
สรุปว่าของผมเป็นพวก Risk Averse และมี utility fn. เป็น convex
อยากปวดหัว ตามมาดูวิธีคิดทฤษฎีครับ ... :lol:
http://cepa.newschool.edu/het/essays/un ... ersion.htm
แต่ถ้ามีเงิน 1 แสน กับ 1 ล้าน อันนี้ระดับความพึงพอใจ คงต่างกันมาก
ทำให้ลักษณะกราฟจะชันในช่วงเริ่มต้นและค่อยๆลดลงๆ
สรุปว่าของผมเป็นพวก Risk Averse และมี utility fn. เป็น convex
อยากปวดหัว ตามมาดูวิธีคิดทฤษฎีครับ ... :lol:
http://cepa.newschool.edu/het/essays/un ... ersion.htm
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 13
เอ๊ะ...ผิดๆ ... ต้องเป็น concave สิ :oops:
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 3345
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 15
ผมไม่ค่อยเข้าใจศัพท์แสงทางด้านการเงินพวกนี้มากนักครับ
รู้แต่ว่า สไตล์การลงทุนของผมนับตั้งแต่วันที่ผมล้างพอร์ตไปแล้วนั้น
เป็นแบบ A little Risk & Fast Growth ครับ
ดูหุ้นที่ผมถือแต่ละตัวสิ แบบนี้ทั้งนั้นเลยครับ :lol: :lol: :lol: ...
รู้แต่ว่า สไตล์การลงทุนของผมนับตั้งแต่วันที่ผมล้างพอร์ตไปแล้วนั้น
เป็นแบบ A little Risk & Fast Growth ครับ
ดูหุ้นที่ผมถือแต่ละตัวสิ แบบนี้ทั้งนั้นเลยครับ :lol: :lol: :lol: ...
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 19
ดูรูปของคุณ fantasia แล้วแปลกๆ.... เข้าใจว่าน่าจะสลับกันมากกว่าครับ
รูปข้างล่างเป็น utility function ของพวก risk-averse ซึ่งเป็น concave (เว้า)
รูปข้างล่างเป็น utility function ของพวก risk-averse ซึ่งเป็น concave (เว้า)
This utility function is concave - it increases quickly initially and then flattens out. This implies that money, initially, is more valuable than additional sums of money once we are already rich (why we don't scream twice as loud when we win twice as much). The utility function represents a person who is risk-averse or prefers not to take risks.
"Winners never quit, and quitters never win."
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามสไตล์การลงทุนเพื่อนๆ
โพสต์ที่ 22
ข้างล่างนี่ คือ note ของผมตอนต้อง present เรื่อง irrational exuberance ว่ามันเกิดได้อย่างไร เพราะตามทฤษฎีทางการเงินทั่วไปมันอธิบายไม่ได้ เพราะมันอยู่บน assumption ว่า คนเรามีเหตุผลในการตัดสินใจ ผมต้องโน้มน้าวให้เขาเชื่อว่าคนเรามันไม่มีเหตุผลมากนักหรอก ไม่งั้นมันก็ไม่มีฟองสบู่ หรือ เหตุการณ์ขายหนีตาย เห็นว่ามีส่วนที่เกี่ยวกับ utility function เลยขอแปะมาทั้งดุ้นครับ
(ในตลาดหุ้น มีนักลงทุนหลายประเภท หลายขนาด บางทีมันป่วยการที่จะไปคาดเดาครับ ผมว่ามันยาก ด้วยการเป็น VI แล้ว เราแค่ยอมรับว่าตลาดมันไม่มีเหตุผลครับ แล้วก็พยายามลงทุนอย่างมีเหตุผล (เชิงธุรกิจ) มันก็เท่านั้น)
แต่ถ้าใครสามารถคาดเดาพฤติกรรมเจ้ามือ(ผู้มีหุ้นมาก) หรือ ตลาดได้ ก็ไม่ต้องเสียเวลามานั่งอ่านงบครับ
Are we rational or irrational?
ทฤษฏีทางการเงินโดยทั่วไปแล้ว จะมีสมมุติฐานว่า คนเรานั้น ตัดสินใจในเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุผล โดยมีลักษณะนิสัยที่เป็น risk averse พูดง่ายๆคือ เราจะตัดสินใจเลือก optimal payoffs เสมอ เช่น
ถ้าผมเสนอให้คุณเล่นเกมส์ หัว ก้อย ถ้าทายถูก เอาไป 10 บาท ถ้าทายผิดไม่เสียอะไร แต่ถ้าบอกไม่เอาอ่ะขี้เกียจทาย ขอ 4 บาท เลยได้ไหม ผมก็โอเค ผมให้เล่นได้เรื่อยๆไม่จำกัดจำนวนเกมส์ ถามว่าคุณเสี่ยงที่จะทายหัวหรือก้อยไหม หรือว่าจะเอา 4 บาททุกเกมส์
คิดว่าแน่นอน ทุกคนคงเลือกที่จะเสี่ยงทาย เพราะ โดยความน่าจะเเป็นแล้ว คุณจะได้ 5 บาทต่อเกมส์ ซึ่งมากกว่า
นี่เป็น ทฤษฎี rational expectation hypothesis (ทฤษฎีความคาดหวังตรรกยะ แปลเป็นไทยแล้วไม่เห็นเพราะเลย)
ที่บอกว่า เวลาเราจะเลือกอะไรนั้น เราจะประเมิณความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ แล้วเลือกกลยุทธ์ ที่ให้ผลตอบแทนที่ optimal
โดยที่ ข้อมูลทุกย่างเราทราบหมดแล้ว
ตอนนี้เราจะเห็นว่ามีประเด็นหลักอยู่ 2 ประด็น
1. เรื่องของการประเมิณความน่าจะเป็น
2. เรื่องข้อมูลทุกอย่างเรารู้หมดแล้ว (complete information)
สำหรับประเด็นแรก ในโจทย์ง่ายๆนี้ เราทราบดีอยู่แล้วว่า ความน่าจะเป็นในการออก หัว หรือ ก้อย คือ 0.5 อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่เราอาจะสงสัยได้ว่า เอ แล้วเวลาเล่นจริงๆ มันก็อาจไม่ได้ออกอย่างละครึ่งนี่นา ตรงนี้เรามั่นใจได้ว่ามันจะเกิดอย่างละครึ่งๆเท่ากัน ถ้าเราสามารถ enlarge sample size ไปได้เรื่อยๆ อย่างในเกมส์นี้
ทีนี้ลองเปลี่ยนเกติกาดู ผมให้เล่นค่ 10 ตา คุณจะเลือกที่จะเสี่ยงทายไหม หรือขอกิน 4 บาทนิ่มๆ
แล้วถ้าให้เล่น 9 ตา ล่ะ
ผมมั่นใจว่า ถึงตรงนี้ ความคิดเริ่มจะไม่เหมือนกันสักเท่าไร่แล้ว ใช่ไหมครับ
แล้วถ้าผมเปลี่ยนเป็นไม่บอกว่าให้เล่นกี่ตาล่ะ อาจจะเป็นตาเดียวเลิกหรือเล่นเรื่อยๆก็ไม่รู้ (Incomplete information)
ตรงนี้หลายคนอาจจะบอกว่า ยังไงก็ขอเสี่ยงทาย เพราะ จะได้ 10 บาท 4 บาท หรือไม่ได้อะไรเลยก็ไม่เห็นจะแตกต่างนี่หว่า
งั้นถ้าเพิ่ม ขนาดของรางวัล ล่ะ เป็น ทายถูก ได้ 1000 ไม่ทายได้ 400
แล้ว 1แสน กับ 4 หมื่นล่ะ แผนการของคุณเปลี่ยนไปไหม
Does size matter to you? ลองคิดดูครับ ความน่าจะเป็น ระหว่าง เกมส์ที่ให้ payoff 10 บาทกับ 1 แสนบาทก็เท่ากัน
แต่คุณอาจจะเลือกที่จะเสี่ยงทายในเวลาหนึ่ง และเลือกที่จะ minimax หรือ กินของชัวร์ในอีกเวลาหนึ่ง
ตรงนี้ ผมพยายามจะสื่อว่า แม้แต่ pattern ของคุณ (degree of risk lover or risk averse) ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย ลองเพิ่มขนาดของรางวัลไปอีกนิดซิ สัก 1 ล้านบาท ถ้าทายถูก กับไม่ทายได้ 4 แสน สำหรับผมแล้ว ไม่ต้องให้ถึง 4 แสนหรอก แสนเดียวก็พอแล้ว
ถึงตรงนี้ทุกคนคงเห็นด้วยแล้วว่าจริงๆแล้ว คนเราน่ะ ไม่ได้ มีเหตุผลตลอดเวลาหรอก เราไม่สามารถ และ ไม่ได้ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ อย่าง optimal ตาม rational hypothesis หรอก
จริงๆแล้ว เรา somewhat irrational (inconsistent in choosing choices) depend on our own utility function
แต่ละคนก็จะมี utility function ที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่นิสัย ความมั่งคั่ง การศึกษา รสนิยม ขนาดและลักษณะของเหตุการณ์ และ factor อื่นๆอีกมาก
ความไม่มีเหตุผล และการตัดสินใจของคนเรานั้นจะยิ่ง complicated มากขึ้นอีกเมื่อมีจำนวนผู้เล่นมากกว่า 1 คน
ลองนึกถึงเกมส์ที่มีผู้เล่น 2 คน อย่างเช่นหมากรุก
หากเคยเล่นหมากรุก เราอาจเคยเห็นสถานการณืเช่น คู่ต่อสู้เราเลือกที่จะเอาหมากแพงๆมาแลก หมากที่ถูกกว่า ซึ่งดูเผินๆแล้วอาจไม่สมเหตุสมผล แต่กลับทำให้รูปเกมส์ของเขาดีมากและเป็นต่อเราและเอาชนะเราได้ในที่สุด
หรือในบางสถานการณืที่คู่ต่อสู้เลือกที่จะเสียหมากอื่นๆมากกว่าหมากที่เขาถนัด เช่นเขาอาจยอมเสียม้าเพื่อรักษาโคน เพราะเขาถนัดมันมากกว่า
หรือในเกมส์ที่ต้อง cooperative กันอย่าง prisoner dilemma เกมส์
หรือลองนึกถึงเกมส์ที่มีผู้เล่นหลายคน เช่น การเมืองบ้านเราสมัยก่อน ที่เป็นรัฐบาลผสม
ถ้าพรรคของคุณได้คะแนนเสียงมากสุด แต่ไม่พอที่จะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว คุณจะผสมอย่างไร
ถ้าคุณรวมกับพรรคที่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่ง่าย แต่ถ้าเขาไม่ยกมือให้ คุณก็จบ
คุณเลยอาจต้องมองหาพรรคที่ได้คะแนนไม่มากหลายๆพรรค เพื่อว่า มันจะได้ฮั้วกันยากหน่อย เรียกว่าไม่รวมหัวกันจริงๆก็ล้มเรายากหน่อย
ถ้าคิดอย่างนี้ แล้วถ้าเราคิดว่าพรรคของเราจะไม่ได้คะแนนอันดับหนึ่งล่ะ เราอยากจะเป็นที่สองหรือ ที่สามดี?
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะอธิบายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว มันบอกว่า how one should behave แต่ในความเป็นจริงแล้วมันสำคัญกว่ามากที่จะต้องรู้ว่า how one actually behave เพื่อที่จะวางแผนได้ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นการศึกษาจิตวิทยาของคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง หลักๆแล้วก็จะมีดังข้างล่างนี้ (overcon, disposition, herding, excessive opt, heuristic, control illus)
(ในตลาดหุ้น มีนักลงทุนหลายประเภท หลายขนาด บางทีมันป่วยการที่จะไปคาดเดาครับ ผมว่ามันยาก ด้วยการเป็น VI แล้ว เราแค่ยอมรับว่าตลาดมันไม่มีเหตุผลครับ แล้วก็พยายามลงทุนอย่างมีเหตุผล (เชิงธุรกิจ) มันก็เท่านั้น)
แต่ถ้าใครสามารถคาดเดาพฤติกรรมเจ้ามือ(ผู้มีหุ้นมาก) หรือ ตลาดได้ ก็ไม่ต้องเสียเวลามานั่งอ่านงบครับ
Are we rational or irrational?
ทฤษฏีทางการเงินโดยทั่วไปแล้ว จะมีสมมุติฐานว่า คนเรานั้น ตัดสินใจในเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุผล โดยมีลักษณะนิสัยที่เป็น risk averse พูดง่ายๆคือ เราจะตัดสินใจเลือก optimal payoffs เสมอ เช่น
ถ้าผมเสนอให้คุณเล่นเกมส์ หัว ก้อย ถ้าทายถูก เอาไป 10 บาท ถ้าทายผิดไม่เสียอะไร แต่ถ้าบอกไม่เอาอ่ะขี้เกียจทาย ขอ 4 บาท เลยได้ไหม ผมก็โอเค ผมให้เล่นได้เรื่อยๆไม่จำกัดจำนวนเกมส์ ถามว่าคุณเสี่ยงที่จะทายหัวหรือก้อยไหม หรือว่าจะเอา 4 บาททุกเกมส์
คิดว่าแน่นอน ทุกคนคงเลือกที่จะเสี่ยงทาย เพราะ โดยความน่าจะเเป็นแล้ว คุณจะได้ 5 บาทต่อเกมส์ ซึ่งมากกว่า
นี่เป็น ทฤษฎี rational expectation hypothesis (ทฤษฎีความคาดหวังตรรกยะ แปลเป็นไทยแล้วไม่เห็นเพราะเลย)
ที่บอกว่า เวลาเราจะเลือกอะไรนั้น เราจะประเมิณความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ แล้วเลือกกลยุทธ์ ที่ให้ผลตอบแทนที่ optimal
โดยที่ ข้อมูลทุกย่างเราทราบหมดแล้ว
ตอนนี้เราจะเห็นว่ามีประเด็นหลักอยู่ 2 ประด็น
1. เรื่องของการประเมิณความน่าจะเป็น
2. เรื่องข้อมูลทุกอย่างเรารู้หมดแล้ว (complete information)
สำหรับประเด็นแรก ในโจทย์ง่ายๆนี้ เราทราบดีอยู่แล้วว่า ความน่าจะเป็นในการออก หัว หรือ ก้อย คือ 0.5 อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่เราอาจะสงสัยได้ว่า เอ แล้วเวลาเล่นจริงๆ มันก็อาจไม่ได้ออกอย่างละครึ่งนี่นา ตรงนี้เรามั่นใจได้ว่ามันจะเกิดอย่างละครึ่งๆเท่ากัน ถ้าเราสามารถ enlarge sample size ไปได้เรื่อยๆ อย่างในเกมส์นี้
ทีนี้ลองเปลี่ยนเกติกาดู ผมให้เล่นค่ 10 ตา คุณจะเลือกที่จะเสี่ยงทายไหม หรือขอกิน 4 บาทนิ่มๆ
แล้วถ้าให้เล่น 9 ตา ล่ะ
ผมมั่นใจว่า ถึงตรงนี้ ความคิดเริ่มจะไม่เหมือนกันสักเท่าไร่แล้ว ใช่ไหมครับ
แล้วถ้าผมเปลี่ยนเป็นไม่บอกว่าให้เล่นกี่ตาล่ะ อาจจะเป็นตาเดียวเลิกหรือเล่นเรื่อยๆก็ไม่รู้ (Incomplete information)
ตรงนี้หลายคนอาจจะบอกว่า ยังไงก็ขอเสี่ยงทาย เพราะ จะได้ 10 บาท 4 บาท หรือไม่ได้อะไรเลยก็ไม่เห็นจะแตกต่างนี่หว่า
งั้นถ้าเพิ่ม ขนาดของรางวัล ล่ะ เป็น ทายถูก ได้ 1000 ไม่ทายได้ 400
แล้ว 1แสน กับ 4 หมื่นล่ะ แผนการของคุณเปลี่ยนไปไหม
Does size matter to you? ลองคิดดูครับ ความน่าจะเป็น ระหว่าง เกมส์ที่ให้ payoff 10 บาทกับ 1 แสนบาทก็เท่ากัน
แต่คุณอาจจะเลือกที่จะเสี่ยงทายในเวลาหนึ่ง และเลือกที่จะ minimax หรือ กินของชัวร์ในอีกเวลาหนึ่ง
ตรงนี้ ผมพยายามจะสื่อว่า แม้แต่ pattern ของคุณ (degree of risk lover or risk averse) ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย ลองเพิ่มขนาดของรางวัลไปอีกนิดซิ สัก 1 ล้านบาท ถ้าทายถูก กับไม่ทายได้ 4 แสน สำหรับผมแล้ว ไม่ต้องให้ถึง 4 แสนหรอก แสนเดียวก็พอแล้ว
ถึงตรงนี้ทุกคนคงเห็นด้วยแล้วว่าจริงๆแล้ว คนเราน่ะ ไม่ได้ มีเหตุผลตลอดเวลาหรอก เราไม่สามารถ และ ไม่ได้ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ อย่าง optimal ตาม rational hypothesis หรอก
จริงๆแล้ว เรา somewhat irrational (inconsistent in choosing choices) depend on our own utility function
แต่ละคนก็จะมี utility function ที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่นิสัย ความมั่งคั่ง การศึกษา รสนิยม ขนาดและลักษณะของเหตุการณ์ และ factor อื่นๆอีกมาก
ความไม่มีเหตุผล และการตัดสินใจของคนเรานั้นจะยิ่ง complicated มากขึ้นอีกเมื่อมีจำนวนผู้เล่นมากกว่า 1 คน
ลองนึกถึงเกมส์ที่มีผู้เล่น 2 คน อย่างเช่นหมากรุก
หากเคยเล่นหมากรุก เราอาจเคยเห็นสถานการณืเช่น คู่ต่อสู้เราเลือกที่จะเอาหมากแพงๆมาแลก หมากที่ถูกกว่า ซึ่งดูเผินๆแล้วอาจไม่สมเหตุสมผล แต่กลับทำให้รูปเกมส์ของเขาดีมากและเป็นต่อเราและเอาชนะเราได้ในที่สุด
หรือในบางสถานการณืที่คู่ต่อสู้เลือกที่จะเสียหมากอื่นๆมากกว่าหมากที่เขาถนัด เช่นเขาอาจยอมเสียม้าเพื่อรักษาโคน เพราะเขาถนัดมันมากกว่า
หรือในเกมส์ที่ต้อง cooperative กันอย่าง prisoner dilemma เกมส์
หรือลองนึกถึงเกมส์ที่มีผู้เล่นหลายคน เช่น การเมืองบ้านเราสมัยก่อน ที่เป็นรัฐบาลผสม
ถ้าพรรคของคุณได้คะแนนเสียงมากสุด แต่ไม่พอที่จะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว คุณจะผสมอย่างไร
ถ้าคุณรวมกับพรรคที่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่ง่าย แต่ถ้าเขาไม่ยกมือให้ คุณก็จบ
คุณเลยอาจต้องมองหาพรรคที่ได้คะแนนไม่มากหลายๆพรรค เพื่อว่า มันจะได้ฮั้วกันยากหน่อย เรียกว่าไม่รวมหัวกันจริงๆก็ล้มเรายากหน่อย
ถ้าคิดอย่างนี้ แล้วถ้าเราคิดว่าพรรคของเราจะไม่ได้คะแนนอันดับหนึ่งล่ะ เราอยากจะเป็นที่สองหรือ ที่สามดี?
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะอธิบายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว มันบอกว่า how one should behave แต่ในความเป็นจริงแล้วมันสำคัญกว่ามากที่จะต้องรู้ว่า how one actually behave เพื่อที่จะวางแผนได้ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นการศึกษาจิตวิทยาของคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง หลักๆแล้วก็จะมีดังข้างล่างนี้ (overcon, disposition, herding, excessive opt, heuristic, control illus)