ค่าเงินบาทต่อดอลล์ ทำไมต่างกันตั้งบาทนึง ? ระหว่างตลาดใน/นอก
-
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเงินบาทต่อดอลล์ ทำไมต่างกันตั้งบาทนึง ? ระหว่างตลาดใน/นอก
โพสต์ที่ 1
ตลาดในราวๆ 36 กว่าๆ ทุกวัน เสถียร
แต่ตลาดนอกสวิงระหว่าง 34 กับ 35 กว่า เลยทีเดียว
เพราะอะไรครับ ?
ก่อนนี้ 2 ตลาดมันแทบจะเท่ากันใช่ไหมครับ ?
ถ้าเป็นงี้ไปนานๆจะเกิดไรขึ้นครับ ?
แล้วมันกระทบตลาดหุ้นไหม ? ยังไง ?
แบงค์ชาติกำลังใช้เงินเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ทุกวันๆป่าวครับ ?
แต่ตลาดนอกสวิงระหว่าง 34 กับ 35 กว่า เลยทีเดียว
เพราะอะไรครับ ?
ก่อนนี้ 2 ตลาดมันแทบจะเท่ากันใช่ไหมครับ ?
ถ้าเป็นงี้ไปนานๆจะเกิดไรขึ้นครับ ?
แล้วมันกระทบตลาดหุ้นไหม ? ยังไง ?
แบงค์ชาติกำลังใช้เงินเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ทุกวันๆป่าวครับ ?
- kspnwwn
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเงินบาทต่อดอลล์ ทำไมต่างกันตั้งบาทนึง ? ระหว่างตลาดใน/นอก
โพสต์ที่ 2
- Lady
- Verified User
- โพสต์: 45
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเงินบาทต่อดอลล์ ทำไมต่างกันตั้งบาทนึง ? ระหว่างตลาดใน/นอก
โพสต์ที่ 4
ที่ต่างกัน เพราะช่วงเวลาไงคะ
อย่างเช่นตอนเช้า และ บ่าย
จะเป็น ตลาดยุโรป กับ ตลาดนิวยอร์ค
เพราะฉนั้น ธนาคารที่โหวตราคาเข้ามา
ก็คือธนาคาร ของสองสกุลเงินนั้น ๆ
ถัดมา ช่วงบ่ายจะเป็น ตลาดอเมริกา กับ ตลาดโตเกียว
ราคาก็จะเปลี่ยนไปอีกเรทนึง ( งง มั้ยอ่ะ )
อย่างเช่นตอนเช้า และ บ่าย
จะเป็น ตลาดยุโรป กับ ตลาดนิวยอร์ค
เพราะฉนั้น ธนาคารที่โหวตราคาเข้ามา
ก็คือธนาคาร ของสองสกุลเงินนั้น ๆ
ถัดมา ช่วงบ่ายจะเป็น ตลาดอเมริกา กับ ตลาดโตเกียว
ราคาก็จะเปลี่ยนไปอีกเรทนึง ( งง มั้ยอ่ะ )
:+:__ ไม่มีเงิน ก้อมีความสุขได้
-
- Verified User
- โพสต์: 103
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเงินบาทต่อดอลล์ ทำไมต่างกันตั้งบาทนึง ? ระหว่างตลาดใน/นอก
โพสต์ที่ 5
น่าจะเป็นอันนี้นะครับ
มาตรการแบงก์ชาติสัมฤทธิผล น็อนเรซิเดนต์เต้นหาเงินบาทคืนตามสัญญาไม่ได้ เหตุซัพพลายในตลาด offshore เหือดแห้ง เงินบาทในประเทศไม่สามารถออกไปชดเชยความต้องการเงินบาทในตลาดต่างประเทศได้ ส่งผลเงินบาทหายากขึ้น แย่งกันอุตลุด ดันค่าบาทตลาด offshore ทะลุ 34 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ตลาด onshore นิ่ง เคลื่อนไหว 35-36 ธปท.ชี้ NR จนแต้ม ต้อง rollover ธุรกรรมเก่าครบดีลที่ไป hedge ก่อนหน้านี้ ยอมเสียค่าฟี-ดอกเบี้ยเพิ่ม
ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มทางเลือกให้แก่ตลาดเงิน***้ให้สามารถเลือก ระหว่างการประกันความเสี่ยง (hedge) กับการกันสำรอง 30% ตามเดิมของมาตรการ ซึ่งแม้แนวโน้มจะเริ่มเห็นการผ่อนคลายมาตรการลงทีละขั้นของ ธปท. แต่ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ โดยเงินบาทปิดตลาดเย็นวันที่ 30 ม.ค.2550 ที่ 35.80/82 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับการปิดตลาดท้ายสัปดาห์หน้า ที่ 35.86/88 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระยะที่ตลาดเริ่มรับข่าวการเพิ่มทางเลือกให้กับมาตรการ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การที่ ธปท.เพิ่มทางเลือกให้กับตลาดมากขึ้น คงไม่กระทบต่อการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะตลาดในประเทศ ทั้งนี้ ต้องชม ธปท.ที่ออกมาตรการกันสำรอง 30% แสดงให้เห็นว่ามองทิศทางได้ถูกต้อง เพราะช่วยการส่งออกอย่างเห็นได้ชัด จาก 1 เดือนที่ผ่านมาที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในประเทศ (onshore) และตลาดต่างประเทศ (offshore) ต่างกันถึง 2 บาท กล่าวคือ ตลาด offshore อยู่ที่ประมาณ 34 บาท/ดอลลาร์ ขณะตลาด onshore อยู่ที่ 35.80 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหากไม่มีมาตรการดังกล่าว เงินบาทของทั้งสองตลาดจะแข็งค่าไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธปท. กล่าวว่า ปัจจุบันตลาด offshore และ onshore แยกกันชัดเจน สาเหตุที่เงินบาทในตลาด offshore แข็งค่าขึ้นมากกว่าตลาด onshore มาจากสภาพคล่องเงินบาทในประเทศไม่สามารถไหลออกไปชดเชยความต้องการเงินบาทในตลาด offshore จากผลของมาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งเป็นปกติที่เมื่อเงินบาทออกไปไม่ได้ จะทำให้เกิดการแย่งซื้อเงินบาทและเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นในที่สุด
"ตอนนี้ offshore ต้องการเงินบาทไป rollover ธุรกรรมเก่าที่ไป hedge ก่อนหน้านี้ ที่ครบดีลแล้วต้องหาเงินบาทไปคืน แต่เงินบาทใน offshore หายากขึ้นจึงแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นผู้ส่งออกบางคนก็ไปดูค่าเงินในตลาด offshore และคิดว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเยอะ แล้วก็เทขายดอลลาร์ออกมาทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ ตอนนี้ธุรกรรมของผู้นำเข้าส่งออกขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน onshore ทั้งหมด"
นายสุชาติกล่าวว่า ขณะนี้ไม่มีความน่าเป็นห่วงว่าจะมีเงินจากในประเทศไหลออกไปหากำไรในตลาดต่างประเทศ เพราะมาตรการป้องปรามที่ ธปท.ใช้อยู่ขณะนี้ควบคุมการไหลออกของเงินบาทในประเทศไว้พอสมควรว่า หากต้องนำเงินออกนั้นต้องมีธุรกรรมรองรับที่ชัดเจน
ล่าสุด ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจทุกแห่ง เรื่องขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท เนื่องจาก ธปท.พบว่าสถาบันการเงินในต่างประเทศมีความพยายามทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศแลกบาท โดยชำระเฉพาะส่วนต่างการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศแลกบาทตามสัญญา (non-deliverable forward : NDF) ซึ่งเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการกันเงินสำรองตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเงินบาทได้
ธปท.จึงย้ำว่าไม่สนับสนุนธุรกรรม NDF ขอให้สถาบันการเงินกำกับดูแลไม่ให้มีธุรกรรม NDF และปฏิบัติตามข้อ 6 ของมาตรการดูแล NDF ตามหนังสือเวียนลงวันที่ 3 พ.ย.2549 เรื่องขอความร่วมมือปฏิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งขอให้สถาบันการเงินระงับทำธุรกรรม NDF อ้างอิงเงินบาทกับบุคคลที่มีถิ่นอยู่นอกประเทศ (NR) ยกเว้น rollover สัญญาเดิมหรือกรณีจำเป็นต้องยกเลิกสัญญาที่ทำไว้ (unwind) เนื่องจากเกิดความผิดพลาดของลูกค้าคู่สัญญาที่ไม่สามารถนำเงินมาชำระเต็มมูลค่าสัญญาได้
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า วันที่ 30 ม.ค. ธปท.ได้เชิญธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเข้าฟังการสรุปมาตรการทั้งหมดที่ออกมา และชี้แจงถึงแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าว
นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่าการนำมาตรการกันสำรอง 30% มาใช้ ได้สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมในตลาด offshore เป็นอย่างไร ซึ่งก็ส่งผลด้านจิตวิทยาต่อตลาด onshore ให้มีการเคลื่อนไหวตาม ซึ่งอย่างไรแล้วส่วนต่างระหว่างทั้งสองตลาดนี้จะยังมีอยู่ตราบใดที่มาตรการยังคงอยู่ หากจะให้อัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาใกล้กันเหมือนก่อนหน้านี้ จะต้องมีมาตรการที่สามารถปล่อยสภาพคล่องออกไปชดเชยตลาดต่างประเทศ
ส่วนแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทในช่วงนี้ว่า คงจะทำได้ยาก เพราะผู้เล่นในตลาดทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของทางการ ทั้งธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจขนาดใหญ่ และนักลงทุนประเภทต่างๆ ขณะที่กลุ่มเฮดจ์ฟันด์ที่พยายามทำธุรกรรม NDF ธปท.ก็ได้ออกประกาศขอความร่วมมือไม่ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมดังกล่าวกับ NR เพราะหากไม่ทำก็จะกระทบต่อเสถียรภาพของค่าเงินที่ ธปท.ต้องการดูแล
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหาร สายงานตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า หากในตลาด offshore เก็งกำไร นักลงทุนจะต้องรับความเสี่ยงจากที่มีสภาพคล่องเงินบาทในตลาดสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะตลาดในประเทศซื้อขายได้ตามปกต เพราะผู้เล่นในตลาดอยู่ภายใต้การควบคุมของ ธปท.
อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนตลาดในประเทศและ ต่างประเทศจะแคบลง ไม่ได้มาจากการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% แต่เกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยบาทใน offshore ต่ำลงกว่าปัจจุบัน ซึ่งดอกเบี้ย 1 เดือน อยู่ประมาณ 20% ทำให้เกิดการขายดอลลาร์เพื่อซื้อบาทมากขึ้น แต่เมื่อใดดอกเบี้ยปรับลงมาอยู่ระดับปกติ คือประมาณ 5% อัตราแลกเปลี่ยนทั้งสองตลาดก็จะไม่ต่างกันมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 348
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเงินบาทต่อดอลล์ ทำไมต่างกันตั้งบาทนึง ? ระหว่างตลาดใน/นอก
โพสต์ที่ 6
ผมว่าง่ายๆครับ
ตลาดเงินในประเทศ demandของเงินบาทค่อนข้างจะเป็นไปตามรูป ธุรกรรมเช่น ผู้ส่งออก-ต้องนำเงินดอลล์มาขายเมื่อจำเป็นต้องใช้เงินบาท,
นักลงทุน-ต้องนำเงินดอลล์มาแลกเพื่อลงทุน ทั้งในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ,การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
บริษัทในเมืองไทยที่ไปออกตราสารสกุลเงินอื่นๆ หรือกู้เงินจากต่างประเทศต้องการเปลี่ยนเงินเหล่านั้นเป็นเงินบาท เป็นต้น
ส่วน supply ของเงินบาทก็ต้องมาจาก
ผู้นำเข้าที่นำเงินบาทมาแลกเงินดอลล์
นักลงทุนไทยที่ต้องการไปลงทุนต่างประเทศ
บริษัทไทยที่ต้องจ่ายคืนเงินกู้ต่างประเทศจ่ายดอกเบี้ยให้ตราสารที่ไปออกที่ต่างประเทศ หรือนักลงทุนต่างประเทศที่ขนกำไรหรือเงินต้นกลับประเทศ
ส่วนตลาดเงินนอกประเทศผมว่าเป็นเรื่องการเก็งกำไรเงินบาทมากกว่าครับเนื่องจากมาตราการของแบงค์ชาติก็เลยทำให้ธุรกรรมเหล่านี้ติดขัด ช่วงห่างของเงินบาทในตลาดเงินนอกประเทศก็เลยบิดเบือนครับ เรื่องเหล่านี้ผมว่าถ้าเป็นช่วงสั้นไม่เกิน2 สัปดาห์ยังไม่น่าต้องกังวล แต่ถ้านานกว่านั้นผมว่าคนโจมตีค่าเงินบาทเราก็ยังคงเล่นไม่เลิกครับ(การโจมตีไม่จำเป็นต้องทำให้เงินบาทอ่อนแต่อย่างเดียวก็ได้ครับ การโจมตีค่าเงินในนิยามผมก็คือการพยายามทำให้ค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผิดปกติโดยปริมาณการซื้อขายเงินที่ตลาดเงินนอกประเทศที่ผิดปกติต่อเนื่องเป็นเวลานาน)
ตลาดเงินในประเทศ demandของเงินบาทค่อนข้างจะเป็นไปตามรูป ธุรกรรมเช่น ผู้ส่งออก-ต้องนำเงินดอลล์มาขายเมื่อจำเป็นต้องใช้เงินบาท,
นักลงทุน-ต้องนำเงินดอลล์มาแลกเพื่อลงทุน ทั้งในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ,การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
บริษัทในเมืองไทยที่ไปออกตราสารสกุลเงินอื่นๆ หรือกู้เงินจากต่างประเทศต้องการเปลี่ยนเงินเหล่านั้นเป็นเงินบาท เป็นต้น
ส่วน supply ของเงินบาทก็ต้องมาจาก
ผู้นำเข้าที่นำเงินบาทมาแลกเงินดอลล์
นักลงทุนไทยที่ต้องการไปลงทุนต่างประเทศ
บริษัทไทยที่ต้องจ่ายคืนเงินกู้ต่างประเทศจ่ายดอกเบี้ยให้ตราสารที่ไปออกที่ต่างประเทศ หรือนักลงทุนต่างประเทศที่ขนกำไรหรือเงินต้นกลับประเทศ
ส่วนตลาดเงินนอกประเทศผมว่าเป็นเรื่องการเก็งกำไรเงินบาทมากกว่าครับเนื่องจากมาตราการของแบงค์ชาติก็เลยทำให้ธุรกรรมเหล่านี้ติดขัด ช่วงห่างของเงินบาทในตลาดเงินนอกประเทศก็เลยบิดเบือนครับ เรื่องเหล่านี้ผมว่าถ้าเป็นช่วงสั้นไม่เกิน2 สัปดาห์ยังไม่น่าต้องกังวล แต่ถ้านานกว่านั้นผมว่าคนโจมตีค่าเงินบาทเราก็ยังคงเล่นไม่เลิกครับ(การโจมตีไม่จำเป็นต้องทำให้เงินบาทอ่อนแต่อย่างเดียวก็ได้ครับ การโจมตีค่าเงินในนิยามผมก็คือการพยายามทำให้ค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผิดปกติโดยปริมาณการซื้อขายเงินที่ตลาดเงินนอกประเทศที่ผิดปกติต่อเนื่องเป็นเวลานาน)