การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
-
สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏานเตรียมนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ
17:32 น.
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งภูฏานทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า ภูฏานมีโอกาสที่ไม่เหมือนประเทศใดในการเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และมีอนาคตของประเทศที่มั่นคง หลังการปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยมานาน 1 ศตวรรษ
กษัตริย์นัมเกลทรงมีพระราชดำรัสว่า ประชาธิปไตยถือเป็น "ความมานะบากบั่นร่วมกัน" ของพลเมือง 700,000 คนของภูฏาน
ทั้งนี้ พระองค์ทรงเสร็จขึ้นครองราชย์ในเดือนธ.ค.หลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระราชบิดา ทรงสละพระราชบัลลังก์
"วันนี้ ภูฏานกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงมีพระราชดำรัสขณะพระราชดำเนินเยือนกรุงนิวเดลีอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์
"ชาวภูฏานมีโอกาสที่ไม่เหมือนใครในการสร้างระบบการเมืองที่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเราเอง และเป็นระบบที่รับรองถึงประชาธิปไตยที่ใช้งานได้อย่างแท้จริง"
ภูฏาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีแต่ภูเขาและเป็นที่รู้จักในเรื่องการใช้แนวคิด "ความสุขมวลรวมของประเทศ" มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประชาชาติเพื่อวัดคุณภาพชีวิตของประชาชนนั้น จะจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในปี 2008 โดยมีชาวภูฏานที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ราว 400,000 คน
"ถ้าภูฏานสามารถสร้างระบบประชาธิปไตยได้ อนาคตของเราก็จะมีความมั่นคงตลอดไป" กษัตริย์นัมเกลทรงตรัส
ในช่วงทศวรรษ 1990 องค์กรสิทธิมนุษยชนได้วิพากษ์วิจารณ์พระราชบิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีเนื่องจากทรงใช้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติกับชาวเนปาล ส่งผลให้ชาวเนปาลนับพันคนต้องอพยพหนีไปกลับประเทศหลังการประท้วงส่งเสริมประชาธิปไตยประสบความล้มเหลว
อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของภูฏานที่มีดินแดนล้อมรอบถึง 3 ด้าน กำลังให้การช่วยเหลือภูฏานในการจัดการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นก่อนเดือนก.ค.ปีหน้า
เมื่อวานนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีนัมเกลทรงลงพระปรมาภิไธยในสัญญาฉบับใหม่กับนายกรัฐมนตรีมานโมฮาน ซิงห์ ของอินเดียซึ่งระบุว่า ภูฏานจะมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและการป้องกันประเทศ หลังจากที่เคยถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยอินเดียอันเนื่องจากสนธิสัญญามิตรภาพอินเดีย-ภูฏานปี 1949
เจ้าหน้าที่ของภูฏานกล่าวว่า ข้อตกลงฉบับใหม่เป็นฉบับที่แก้ไขมาจากฉบับเดิมและปรับให้สอดคล้องกับภูฏานในปัจจุบันมากขึ้น
"จากบทบาทการชี้นำสำหรับย่างก้าวแรกของภูฏานเพื่อเข้าสู่ความทันสมัย บัดนี้ ภูฏานและอินเดียยืนหยัดในฐานะเพื่อนสนิทและหุ้นส่วนที่เท่าเทียมในเวทีโลก" กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงตรัส
ข้อตกลงใหม่จะทำให้ภูฏานสามารถนำเข้าอุปกรณ์ทางทหารที่ไม่ร้ายแรงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอินเดีย ตราบใดที่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่กระทบผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของอินเดีย และอินเดียจะฝึกกองทัพขนาดเล็กของภูฏาน
ภูฏานเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงทศวรรษ 1990 โดยอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี 1999 และเพิ่งอนุญาตให้มีอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ในปีต่อมา
อูยส์ส์ส์ส์ มิน่าล่ะ..........
ที่ภูฏานสามารถอยู่กันอย่างนั้นได้(เน้น GNH มากกว่า GDP)เพราะโดนปิดหูปิดตานี่เอง
มิน่าล่ะ อัตราการตายของแม่ถึงสูงมากๆ จนคนชั้นสูงต้องพาแม่มาคลอดลูกที่เมืองไทยกันโครมๆ เพราะความล้าหลังทางการแพทย์นี่เอง
แต่ ณ.วันนี้ก็ถือว่าภูฏานก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เริ่มมีโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และล่าสุด ประชาธิปไตย........
ดีใจด้วยครับ.....
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
freemindd
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
นี่คือ role model ของไทยเรายุคนี้เชียวนะครับ
-
OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1242
- ผู้ติดตาม: 0
สมัยก่อน เมืองไทย บ้านไหนจะมีทีวี ก็ต้องของอนุญาติเหมือนกันครับ
ก่อนที่จะแพร่หลายและปล่อยให้เป็นอิสระเหมือนทุกวันนี้
ดีใจที่ภูฏานเขยิบเข้ามาใกล้เราแล้ว
.... เอ หรือว่าเราเอาแต่หยุดรอหว่า
-
lekmak333
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ผมถึงคิดว่า เราเน้นเศษรฐกิจพอเพียงแบบสุดขั่ว ทำให้ล้าหลัง
ไม่ดิ้นรน ไม่ไขว่ขว้า
อยู่แบบพอมีพอกิน ไม่ดิ้นรน
-
freemindd
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
และที่รวยโคตรก็รวยกันต่อไป
ที่จนโคตรก็จนกันต่อไป
แต่มีความสุขเพราะพอเพียงแล้วเยเย
-
Viewtiful Investor
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
แสดงว่า Marketing เค้าดีครับ ทำให้คนเห็นแต่ด้านดีของประเทศ
เรื่องห่วยๆทุกประเทศก็มีทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเราจะมองด้านไหน
การมอง game ให้ออกว่า ข่าวที่ นสพ หรือ รบ ออกมา จุดมุ่งหมายคืออะไร เป็นเรื่องที่ท้าทายดีนะ
I do not sleep. I dream.
-
lekmak333
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ไม่มีทีวีดูก็ไม่ทำให้อดตาย แต่ทำไมต้องมี
ในที่สุดก็ทนกระแสกิเลสไม่ได้มากกว่า
ปล่อยไปตามกระแสตลาดดีกว่า
เราน่าจะสอนคนในประเทศ การอยู่ การกินแบบพอเพียง เหมือน buffet
แต่แนวคิด เศษรฐกิจเป็นแบบทุนนิยม
-
สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
อีกมุมมองหนึ่งต่อภูฏาน
http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... guage=Thai
ภูฏานและผู้ลี้ภัยการเมืองที่โลกลืม (ขออภัยที่อาจทำให้ใครอกหัก)
โดย มูรารี อาร์ ชาร์มา
ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปลจาก
ในเดือนธันวาคม ค.ศ.2006 กษัตริย์จิกมี สิงเย วังชุก แห่งประเทศภูฏาน กลายเป็นข่าวพาดหัวด้วยการสละราชบัลลังก์กะทันหัน และสืบทอดราชสมบัติแก่เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด พระเจ้าจิกมี สิงเย ยังพระราชทานคำมั่นสัญญาว่าจะประทานระบอบประชาธิปไตยบางส่วนแก่ประชาราษฎร โดยจะจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยใน ค.ศ.2008 อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ภูฎานไม่ได้ทรงอธิบายถึงแรงจูงใจเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างปัจจุบันทันด่วนนี้
เป็นไปตามคาด ข่าวนี้ทำให้ชุมชนนานาประเทศตื่นเต้นเคลิ้มตาม ทว่าสำหรับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพที่ประเทศเนปาล พวกเขาคงไม่รู้สึกเป็นรสชาติสักเท่าไร ในทัศนะของ ราฏาน กัจเมอร์ ผู้นำคนหนึ่งของกลุ่มผู้ลี้ภัย พระราชโองการของกษัตริย์เป็น เพียงการดึงม่านขนสัตว์บังตาชุมชนนานาประเทศ ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อว่าจะมีระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
แรงกดดันเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงก่อตัวสะสมขึ้นมาทั้งภายในและภายนอกประเทศภูฏาน ประชาชนชาวภูฏานร่ำร้องหาระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพมานานแล้ว ประเทศเนปาลที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียงก็กำลังใคร่ครวญถึงอนาคตของระบอบกษัตริย์ และอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน ดังนั้น กษัตริย์ภูฏานจึงดูเหมือนต้องการประทานระบอบประชาธิปไตยแบบจำกัดให้แก่ประชาชนเสียก่อน ก่อนที่ชาวภูฏานจะลงมาเรียกร้องบนท้องถนนตามอย่างชาวเนปาล แผนการของพระองค์คือการนำระบอบประชาธิปไตยแบบชี้นำและมีสองพรรคมาใช้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการร่างมาเนิ่นนานแล้ว
แต่กษัตริย์จิกมี สิงเย ไม่ได้มีดำรัสอะไรเลยถึงการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย ซึ่งขัดแย้งกับการโฆษณาภาพพจน์ของภูฏานว่าเป็นราชอาณาจักรที่สงบและสันติสุข
สถานการณ์ของผู้ลี้ภัย
ราชอาณาจักรมังกรของประเทศภูฏานอวดโอ่ถึงการมี ความสุขมวลรวมประชาชาติ ในอัตราสูง แต่ชาวภูฏานจำนวนมากคงไม่เห็นด้วย พวกเขาโต้แย้งด้วยเหตุผลว่า ประเทศที่ประชากรถึง 1 ใน 6 ต้องอพยพไปอาศัยนอกประเทศในฐานะผู้ลี้ภัย คงไม่ใช่ประเทศที่มีความสุขในระดับสูงเป็นแน่
เต็ก นาธ รียัล เคยเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์จิกมี สิงเย เขาถูกจำคุกและถูกทรมานถึง 9 ปี เพราะการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน รียัลเขียนลำดับความไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติ Nirvasan (ลี้ภัย) ถึงการที่กษัตริย์ทรงบดขยี้ขบวนการด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งก่อตัวขึ้นเพื่อยึดอำนาจให้อยู่มือ ขั้นแรก รัฐบาลในนครหลวงธิมปูจำกัดสิทธิของชุมชนชาวเนปาลในการเคลื่อนย้ายและถือครองทรัพย์สิน จากนั้น รัฐบาลยัดเยียดภาษา, การแต่งกายและวัฒนธรรมของชาวทิเบตที่เป็นชนชั้นปกครองแก่ชุมชนเชื้อชาติอื่นซึ่งมีอยู่ถึงเกือบสองในสามของประชากรภูฏาน
การประท้วงปะทุขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 และรัฐบาลใช้มาตรการปราบปรามอย่างรุนแรง รัฐบาลเปลี่ยนกฎหมายสัญชาติใน ค.ศ.1988 ถอนสัญชาติของผู้ประท้วงและเนรเทศออกนอกประเทศ เนื่องจากผู้ถูกเนรเทศส่วนใหญ่มีเชื้อสายเนปาล พวกเขาจึงรอนแรมมาอาศัยอยู่ในเนปาล และมีประชาชนอพยพตามออกมาอีกเพราะถูกคุกคามหรือเพราะความกลัว
ทุกวันนี้ มีผู้อพยพลี้ภัยเกือบ 120,000 คน อาศัยอยู่ในประเทศเนปาล นั่นเป็นจำนวนเกือบหนึ่งในหกของประชากรภูฏาน ผู้อพยพส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในค่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยต้องอาศัยอยู่ในค่ายอพยพมาถึง 16 ปีแล้ว ชาวเนปาลท้องถิ่นกล่าวโทษผู้อพยพเหล่านี้ว่าเป็นตัวการทำให้ค่าจ้างแรงงานตกต่ำลง ทำลายสิ่งแวดล้อม และสร้างปัญหาสังคมรอบบริเวณค่าย ชุมชนนานาประเทศเริ่มมีอาการเบื่อหน่ายที่จะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือเลี้ยงดูผู้ลี้ภัยเหล่านี้
ตอนนี้ยังมองไม่เห็นเลยว่า จะมีหนทางคลี่คลายแก้ไขปัญหาอย่างไร ภูฏานบอกกล่าวแก่หุ้นส่วนทางด้านการพัฒนาของตนว่า เพื่อรักษาเอกลักษณ์ทางด้านชาติพันธุ์ไว้ ภูฏานจึงไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยกลับเข้าประเทศ ภูฏานยังบอกเนปาลว่า ควรมีการวางหลักเกณฑ์ในการส่งผู้อพยพกลับถิ่นเดิม และจัดประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 15 รอบในประเด็นนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1993
ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมเพียงประการเดียวของกระบวนการทวิภาคีนี้ก็คือ การร่วมมือระหว่างสองประเทศเพื่อพิสูจน์สัญชาติของผู้อพยพในค่ายหนึ่งจากที่มีอยู่ทั้งหมด 12 ค่าย การพิสูจน์พบว่า กว่า 76% ของผู้ลี้ภัยสามารถกลับถิ่นเดิมได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยเอกสารยืนยันหรือการสอบสวนเพิ่มเติมอะไรอีก นับแต่นั้นมา ภูฏานก็หลีกเลี่ยงการเจรจาระดับรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
ส่งไปอเมริกาดีไหม?
สหรัฐอเมริกาประกาศในเดือนตุลาคมปีที่แล้วว่า สหรัฐฯ จะรับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานจำนวน 60,000 คน จากค่ายของ UNHCR ในช่วง 3-4 ปีต่อจากนี้ ผู้อพยพชาวภูฏานพอใจกับท่าทีในเชิงมนุษยธรรม รัฐบาลที่ธิมปูก็ถอนใจโล่งอกด้วยความเชื่อผิดว่า ผู้ลี้ภัยคงคว้าข้อเสนอของรัฐบาลอเมริกันไว้โดยไม่ก่อเรื่องเดือดร้อนต่อไปอีก แต่รัฐบาลภูฏานดูเหมือนลืมไปว่า ผู้ลี้ภัยที่เลือกไปตั้งหลักแหล่งในอเมริกาอาจส่งเงินกลับมาสนับสนุนขบวนการต่อต้านระบอบกษัตริย์ในภูฏานให้เติบใหญ่ขึ้น เพื่อที่เพื่อนร่วมชาติในประเทศบ้านเกิดจะได้ลิ้มรสเสรีภาพแบบเดียวกับที่พวกตนได้รับในประเทศอุปถัมภ์
การผสมกลมกลืนไปกับประชากรท้องถิ่นในประเทศที่สองและย้ายไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สาม อาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เพราะพวกเขามองไม่เห็นวี่แววจะได้กลับบ้านในอนาคตอันยาวไกล หรือไม่ก็อาจต้องเผชิญกับอันตรายอุกฤษฏ์หากเสี่ยงกลับถิ่นเกิด แต่การผสมกลมกลืนหรือการย้ายไปตั้งหลักแหล่งไม่ควรใช้วิธีคัดสรร การคัดสรรมักสร้างผลร้ายต่อผลประโยชน์ส่วนรวมในชุมชนผู้ลี้ภัย เพราะวิธีการนี้เท่ากับปล้นบุคลากรที่ดีที่สุดและเก่งที่สุด ทั้งที่คนเหล่านี้สามารถโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อสร้างหลักประกันให้ผู้อพยพทั้งหมดได้กลับบ้าน และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเทศบ้านเกิด
นอกจากนั้น การส่งผู้ลี้ภัยกลับถิ่นเดิมควรเป็นแนวนโยบายหลักในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยในเกือบทุกกรณี เพราะทั่วโลกทุกวันนี้มีผู้ลี้ภัยเกือบ 21 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถรองรับผู้ลี้ภัยไว้โดยไม่ต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและต้นทุนทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง ส่วนประเทศที่สามก็สนใจเพียงแค่ให้หลักแหล่งแก่ผู้อพยพจำนวนหยิบมือเดียว และมักคัดสรรเฉพาะคนที่ดีที่สุดไปเสียด้วย ดังนั้น ไม่ว่าการผสมกลมกลืนในประเทศที่สองหรือย้ายไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สาม ย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่พึงปรารถนาทั้งสิ้น
บทบาทของโลกภายนอก
ตามสนธิสัญญาทวิภาคี ค.ศ.1949 อินเดียเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายต่างประเทศและการป้องกันประเทศของภูฏาน อินเดียยังเป็นประเทศที่ให้การพักพิงประเทศแรกแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เนื่องจากเนปาลกับภูฏานไม่มีพรมแดนประชิดกัน แต่อินเดียไม่ยอมช่วยหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น บางทีอาจเพราะกริ่งเกรงจะเป็นการผลักไสรัฐบาลภูฏานให้ไปซบอกประเทศจีนแทน ผู้ลี้ภัยแสดงความไม่พอใจที่อินเดียอนุญาตให้ชาวภูฏานเดินทางจากประเทศไปค่ายผู้อพยพในเนปาล แต่ไม่ยอมเปิดเส้นทางให้เดินทางกลับ
ความสงบสันติในเอเชียใต้เป็นความปรารถนาของสหรัฐอเมริกา แต่ภูมิภาคนี้ก็ห่างไกลจากคำว่าสงบสุข ประเทศต่างๆ ตั้งแต่อัฟกานิสถานไปจนถึงศรีลังกาล้วนตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง การเผชิญหน้าระหว่างอินเดียกับปากีสถานยังคงทอดเงาทะมื่นเหนือภูมิภาค อีกทั้งการงัดข้อในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งต่างฝ่ายต่างกำลังก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจ เป็นอีกต้นเหตุใหญ่ของความไม่สบายใจ ที่ผ่านมา วอชิงตันพยายามวางตัวอยู่ห่างจากปัญหาในเอเชียใต้ หรือไม่ก็ยังพยายามไม่มากพอที่จะหาทางคลี่คลายให้ดีขึ้น แต่ตอนนี้ดูเหมือนทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป ความคลั่งไคล้สุดขั้วในลัทธิต่างๆ, การก่อการร้าย และความหัวรุนแรงของผู้ลี้ภัยที่กำลังขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคนี้ ชักจะทำให้อเมริกาหันมาจับตาดูอนุทวีปนี้อย่างใกล้ชิด
ข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ผสมปนเป ในด้านหนึ่ง ผู้ลี้ภัยกลุ่มที่มีการศึกษาและมีฝีมือรู้สึกดีใจที่จะได้มีโอกาสไล่ตามความฝันแบบอเมริกัน ส่วนอีกด้านหนึ่ง ผู้ลี้ภัยกลุ่มใหญ่วิตกว่า การคัดสรรผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามจะทำลายความหวังอันแท้จริงที่จะได้กลับบ้านและสร้างสังคมประชาธิปไตยขึ้นในภูฏาน
นอกจากนี้ เนปาลยังถูกทิ้งให้จัดการปัญหาที่เหลือต่อไป เนปาลจะต้องรับมือกับผู้อพยพที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจนกว่าจะมีประเทศไหนก้าวออกมารับพวกเขาไปอีก รวมทั้งยังต้องต่อกรกับคลื่นผู้อพยพระลอกใหม่ที่จะหลั่งไหลเข้ามา โดยมีโอกาสในการได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นสิ่งล่อใจ
กษัตริย์จิกมี สิงเย ก้าวลงจากคอนบัลลังก์สูงลิบโดยไม่แก้ไขวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยที่พระองค์ทรงก่อให้เกิดขึ้น ในเมื่อนิวเดลีมีความสำคัญเพิ่มขึ้นหลังจากข้อตกลงนิวเคลียร์สหรัฐฯ-อินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ วอชิงตันน่าจะอาศัยอินเดียให้ใช้อิทธิพลกดดันภูฏาน เพื่อกรุยทางไปสู่การรับผู้ลี้ภัยคืนถิ่น ก่อนที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะสิ้นหวังจนตรอก จนกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค การคลี่คลายปัญหาจะเปิดช่องให้ผู้ลี้ภัยกลับบ้านได้อย่างมีศักดิ์ศรี กระตุ้นให้ระบอบกษัตริย์คลายมือจากอำนาจ รวมทั้งผลักดันค่านิยมและสถาบันประชาธิปไตยในประเทศภูฏาน
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
freemindd
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
"เบื้องหลังความร่ำรวยมหาศาล
มีอาชญากรรม"
Mario Puzo
ผู้ประพันธ์ Godfather
-
lekmak333
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
1. ความจงรักภักดี ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ผู้เป็นนาย แต่บ่าวไม่ได้รับประโยชน์
2. ระบบประชาธิปไตย คือระบบ ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญย่อมเป็นใหญ่
ไม่ควรมีอำนาจ ฝ่ายไหน ด้านไหน อยู่เหนือรัฐธรรมนูญได้ หากรัฐธรรมนูญนั้นยังตั้งดำรงอยู่
3. การสรรเสริญ ควรยกย่องเป็นตัวบุคคล ไม่ควรนำเงาความดีของคนรุ่นหนึ่ง ถ่ายทอดเป็นเงาตามตัวไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง เช่น รุ่นพ่อทำดี ควรสรรเสริญ เคารพในรุ่นพ่อ แต่ไม่ควรนำเงาความดี ไปใส่ไว้เคารพบูชายังรุ่นลูก
-
Demigod
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
ดูโฆษณาตัวใหม่ของเศษฐกิจพอเพียงยังครับ ที่ใช้ภูฏานเป็นฉากอ่ะ คนละเรื่องกะที่เราพูดกันในกระทู้นี้เลยอ่ะ