ถ้า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% และอื่นๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% และอื่นๆ
โพสต์ที่ 5
เอาความเห็นที่ รมต.คลังท่านนี้เคยให้ความเห็นไว้ แล้วมาติดตามกันดูว่า ท่านจะทำตามแนวทางที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้หรือไม่ครับ
ดร.ฉลองภพ เชื่อกนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปีหน้า พร้อมเสนอสูตรกันสำรอง X%
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, December 29, 2006
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า ปี 2549 ประเทศไทยมีความผันผวนหลายเรื่อง ทั้งราคาสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2548 ก่อนที่จะลดลงในช่วงกลางปี 2549 ขณะที่การส่งออกเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯพบว่า มีการขยายตัว 16% แต่เมื่อเทียบเป็นเงินบาทกลับมีการขยายตัวค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ อย่างการลงทุนของภาครัฐ การขอสินเชื่อ การบริโภค และการลงทุน ต่างก็มีแนวโน้มลดลงทั้งหมด ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเริ่มชะลอลง
ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้ดูแลเรื่องค่าเงิน โดยการออกมาตรการต่าง ๆ กำกับดูแล โดยเฉพาะ การทำธุรกรรมทางการเงินของกับผู้มีถิ่นฐานนอกราชอาณาจักร (Non-Resident:NR) ล่าสุดคือมาตรการกันสำรอง 30%
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผ่อนผันให้กับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังมีผลกระทบกับตลาดพันธบัตรค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดพันธบัตรที่เริ่มมีบทบาทต่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาว ตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เริ่มหยุดชะงัก
ดร.ฉลองภพ เห็นว่า นโยบายการกันเงินสำรอง 30% เป็นเรื่องใหม่และรุนแรงมาก อย่างไรก็ตามยังเชื่อมั่นว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่ไม่ควรกันสำรองถึง 30% แต่ควรกำหนดอัตราการกันสำรองตามความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น ค่า X%โดยให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณา เมื่อเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ก็สามารถกำหนดค่า X ขึ้นใหม่ได้ โดยควรเริ่มใช้ทีละน้อย เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ที่จะเข้ามาเก็งกำไรรับทราบ นอกจากนี้ยังไม่ควรกำหนดระยะเวลาการใช้มาตรการกันสำรองด้วย เนื่องจากถือเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน รวมทั้งให้บังคับใช้ทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้
ปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้า เกิดจากสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามาก แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเกินดุลการค้า รวมทั้งยังไม่ได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความสมดุล โดยเฉพาะจีนที่ไม่ยอมลดค่าเงินหยวน ซึ่งมีผลทำให้ปัญหาเรื่องการขาดดุลของสหรัฐฯ ยังมีต่อไปเรื่อย ๆ และในอนาคตถ้าประเทศในเอเชียยังไม่รวมกลุ่มแก้ไขเรื่องนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง
ประธาน TDRI เสริมว่า ที่ผ่านมา กนง. ไม่ลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเป็นห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก ธปท. มีหน้าที่ดูแลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้นโยบายเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศโดยการเข้าไปซื้อขาย ไม่เพียงพอต่อการดูแลเรื่องเหล่านี้ จึงเห็นว่า ธปท. ควรมีมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการบริหารนโยบายการเงินเป็นเรื่องของการบริหารจิตวิทยาของตลาด ส่วนการปรับดอกเบี้ยเป็นเรื่องของเทคนิค ซึ่งมีผลต่อต้นทุนและรายได้ ผู้ที่บริหารนโยบายการเงินต้องเข้าใจจิตวิทยาของตลาดด้วย ถ้าปรับอัตราดอกเบี้ยโดยไม่คำนึงถึงจิตวิทยา ก็จะไม่ได้ผลที่หวังไว้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ดร.ฉลองภพ กล่าวว่า ขณะนี้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลงมาก เพราะไม่มีแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากต่างประเทศ แต่เชื่อว่าเมื่อมีการเบิกจ่ายงบประมาณก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนเงินบาทแม้จะอ่อนค่าลงบ้างแล้ว แต่ก็นับว่ายังแข็งอยู่มาก จึงมีโอกาสสูงมากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งนายฉลองภพเชื่อว่าจะมีการลดลงมากกว่า 1 ครั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังควรทบทวนมาตรการกันสำรอง 30% ว่าจะยังคงใช้ต่อไปหรือไป และยังควรคิดค้นเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ ออกมาให้ กนง. นำไปใช้ ในการดูแลอัตราดอกเบี้ย เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนไทยและต่างประเทศ
ดร.ฉลองภพยังกล่าวอีกว่า ในอดีตก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไทยดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดถึง 3 ประการด้วยกันคือ การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ การเปิดให้เงินทุนไหลเข้าออกโดยง่าย และการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เป็นอิสระจากภายนอก ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว อัตราดอกเบี้ยของไทยควรต้องใกล้เคียงและเป็นไปในทิศทางเดียวกับสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่า อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนโดยเฉลี่ยของไทยสูงกว่าสหรัฐฯประมาณ 4% และในบางช่วงสูงกว่าถึง 10% จึงมีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีความผิดพลาด ในปัจจุบันจึงควรต้องใช้นโยบายการเงินเป็นพระเอก หรือเป็นแกนหลักมากกว่าการใช้นโยบายการคลัง และสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเป็นอิสระ ไม่จำเป็นต้องไปผูกติดไว้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ข้อมูลจาก Money Channel
ดร.ฉลองภพ เชื่อกนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปีหน้า พร้อมเสนอสูตรกันสำรอง X%
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, December 29, 2006
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า ปี 2549 ประเทศไทยมีความผันผวนหลายเรื่อง ทั้งราคาสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2548 ก่อนที่จะลดลงในช่วงกลางปี 2549 ขณะที่การส่งออกเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯพบว่า มีการขยายตัว 16% แต่เมื่อเทียบเป็นเงินบาทกลับมีการขยายตัวค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ อย่างการลงทุนของภาครัฐ การขอสินเชื่อ การบริโภค และการลงทุน ต่างก็มีแนวโน้มลดลงทั้งหมด ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเริ่มชะลอลง
ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้ดูแลเรื่องค่าเงิน โดยการออกมาตรการต่าง ๆ กำกับดูแล โดยเฉพาะ การทำธุรกรรมทางการเงินของกับผู้มีถิ่นฐานนอกราชอาณาจักร (Non-Resident:NR) ล่าสุดคือมาตรการกันสำรอง 30%
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผ่อนผันให้กับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังมีผลกระทบกับตลาดพันธบัตรค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดพันธบัตรที่เริ่มมีบทบาทต่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาว ตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เริ่มหยุดชะงัก
ดร.ฉลองภพ เห็นว่า นโยบายการกันเงินสำรอง 30% เป็นเรื่องใหม่และรุนแรงมาก อย่างไรก็ตามยังเชื่อมั่นว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่ไม่ควรกันสำรองถึง 30% แต่ควรกำหนดอัตราการกันสำรองตามความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น ค่า X%โดยให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณา เมื่อเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ก็สามารถกำหนดค่า X ขึ้นใหม่ได้ โดยควรเริ่มใช้ทีละน้อย เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ที่จะเข้ามาเก็งกำไรรับทราบ นอกจากนี้ยังไม่ควรกำหนดระยะเวลาการใช้มาตรการกันสำรองด้วย เนื่องจากถือเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน รวมทั้งให้บังคับใช้ทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้
ปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้า เกิดจากสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามาก แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเกินดุลการค้า รวมทั้งยังไม่ได้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความสมดุล โดยเฉพาะจีนที่ไม่ยอมลดค่าเงินหยวน ซึ่งมีผลทำให้ปัญหาเรื่องการขาดดุลของสหรัฐฯ ยังมีต่อไปเรื่อย ๆ และในอนาคตถ้าประเทศในเอเชียยังไม่รวมกลุ่มแก้ไขเรื่องนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง
ประธาน TDRI เสริมว่า ที่ผ่านมา กนง. ไม่ลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเป็นห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก ธปท. มีหน้าที่ดูแลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้นโยบายเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศโดยการเข้าไปซื้อขาย ไม่เพียงพอต่อการดูแลเรื่องเหล่านี้ จึงเห็นว่า ธปท. ควรมีมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการบริหารนโยบายการเงินเป็นเรื่องของการบริหารจิตวิทยาของตลาด ส่วนการปรับดอกเบี้ยเป็นเรื่องของเทคนิค ซึ่งมีผลต่อต้นทุนและรายได้ ผู้ที่บริหารนโยบายการเงินต้องเข้าใจจิตวิทยาของตลาดด้วย ถ้าปรับอัตราดอกเบี้ยโดยไม่คำนึงถึงจิตวิทยา ก็จะไม่ได้ผลที่หวังไว้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ดร.ฉลองภพ กล่าวว่า ขณะนี้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลงมาก เพราะไม่มีแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากต่างประเทศ แต่เชื่อว่าเมื่อมีการเบิกจ่ายงบประมาณก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนเงินบาทแม้จะอ่อนค่าลงบ้างแล้ว แต่ก็นับว่ายังแข็งอยู่มาก จึงมีโอกาสสูงมากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งนายฉลองภพเชื่อว่าจะมีการลดลงมากกว่า 1 ครั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังควรทบทวนมาตรการกันสำรอง 30% ว่าจะยังคงใช้ต่อไปหรือไป และยังควรคิดค้นเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ ออกมาให้ กนง. นำไปใช้ ในการดูแลอัตราดอกเบี้ย เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนไทยและต่างประเทศ
ดร.ฉลองภพยังกล่าวอีกว่า ในอดีตก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไทยดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดถึง 3 ประการด้วยกันคือ การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ การเปิดให้เงินทุนไหลเข้าออกโดยง่าย และการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เป็นอิสระจากภายนอก ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว อัตราดอกเบี้ยของไทยควรต้องใกล้เคียงและเป็นไปในทิศทางเดียวกับสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่า อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนโดยเฉลี่ยของไทยสูงกว่าสหรัฐฯประมาณ 4% และในบางช่วงสูงกว่าถึง 10% จึงมีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีความผิดพลาด ในปัจจุบันจึงควรต้องใช้นโยบายการเงินเป็นพระเอก หรือเป็นแกนหลักมากกว่าการใช้นโยบายการคลัง และสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเป็นอิสระ ไม่จำเป็นต้องไปผูกติดไว้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ข้อมูลจาก Money Channel
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% และอื่นๆ
โพสต์ที่ 7
บทสัมภาษณ์ในอดีต แต่หลายเรื่องจะทำให้เราได้เห็นมุมมองแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจบางเรื่อง โดยเฉพาะมุมมองในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน การบริหารเงินทุนสำรอง ด้วยครับ ลองมาดูมุมมองของเท่านดูครับ
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจ" จึงถือโอกาสนี้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ถ่ายทอดประเด็นที่หลายคนสงสัย ภาพเศรษฐกิจไทยขาลงหรือขาขึ้นกันแน่ และเป็นปัจจัยเสี่ยงของประเทศในปี 2548
ดร.ฉลองภพ :
โดยรวมเศรษฐกิจไทยผมว่ามีความหลากหลาย มีส่วนที่มีศักยภาพอยู่หลายด้าน โอกาสที่ไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องยังมี
แต่ในเวลาเดียวกันก็มีหลายปัจจัยต้องติดตาม ปัจจัยแรกคือ ปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะมากระทบเราอย่างไร เช่น การที่จีนมีบทบาทสูงมากในภูมิภาคนี้ จีนน่าจะเป็นตัวรับสินค้าจากไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคช่วยให้การขยายตัวดีขึ้น อินเดียก็เช่น เดียวกัน ตรงนั้นเป็นโอกาส ในเวลาเดียวกันความเสี่ยงก็มี เพราะจะพบว่าการแข่งขันระหว่างเรากับจีนในตลาดที่สาม ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐหรือยุโรปเราก็มีปัญหา จึงมีทั้งโอกาสและสิ่งท้าทาย
ระบบการเงินของโลก เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อ 20 ปีที่แล้วสิ่งที่ช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินของโลก โดยเฉพาะเมื่อเงินเยนปรับแข็งขึ้นหลังจากเหตุการณ์ "พลาซ่า แอคคอร์ด" ฐานการผลิตย้ายมาสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน ตอนนี้มีความไม่สมดุลในระบบการเงินของโลกโดยเฉพาะสหรัฐที่ ขาดดุลมาก เงินสหรัฐออกมาสู่ตลาด โลกเยอะ เมื่อเงินออกมาเยอะเกินไปคนก็เริ่มขาดความเชื่อมั่นว่าค่าเงินของสหรัฐจะแข็งได้อยู่นานแค่ไหน ดังนั้นในอนาคตก็คงจะต้องมีการปรับความไม่สมดุลในตลาดการเงินของโลก
คำถามคือ จะปรับในทิศทางใด และกระทบเราอย่างไร เมื่อ 20 ปีที่แล้ว การปรับช่วยให้ฐานการผลิตมาสู่ไทยมากขึ้น ในอนาคตไม่แน่เป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป อีกอันที่หลายคนยกขึ้นมาคือ เศรษฐกิจไทยพัฒนามา 20 ปี ความห่างระหว่างคนกลุ่มต่างๆ มีมากขึ้นการกระจายรายได้แย่ลง
จน ณ วันนี้เราใกล้กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ในอีก 20 ปีข้างหน้าอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแรงงานกับทุน เพราะฉะนั้นเป้าหมายคือการกระจายรายได้ต้องดีกว่าวันนี้ ส่วนวิธีการก็เป็นไปได้หลายอย่าง เช่น รัฐอาจจะต้องเข้าไปช่วยดูแลในเรื่องภาษีที่จะช่วยให้คนจนมีสิทธิมากขึ้นหรือปรับโครงสร้างที่เป็นปัญหาทางกฎหมาย ส่วนมาตรการระยะสั้น เช่น เอื้ออาทรต่างๆ มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้อย่างยั่งยืน ในที่สุดก็จะต้องหามาตรการที่จะสามารถช่วยได้อย่างยั่งยืน
อีกประเด็นคือ ใน 20 ปีข้างหน้า มีบางช่วงที่เราจะเสี่ยงต่อวิกฤติ ซึ่งเป็นวัฏจักรปกติ ย้อนหลังกลับไป 25 ปีที่แล้วมี 2 ช่วง ช่วงแรกคือต้นทศวรรษ 1980 หลังวิกฤติการน้ำมันครั้งที่สอง ช่วงนั้นเรารอดพ้นมาได้ด้วยการบริหารเศรษฐกิจมหภาค มีการลดค่าเงินบาท 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 คือช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ครั้งนั้นระบบการบริหารทางการเมืองเราไม่สามารถบริหารได้ คำถามคือ ใน 20 ปีข้างหน้าเมื่อเกิดช่วงที่จะท้าทายต่อการบริหารของประเทศ ฝ่ายการเมืองสามารถบริหารได้อย่างถูกต้องหรือไม่ อันนี้ทิ้งไว้เป็นคำถามดีกว่า
ดร.ฉลองภพ :
ในปีหน้ายังมีบางปัจจัยที่มีความเสี่ยงในระยะสั้น โดยเฉพาะความไม่สมดุลทางการเงิน คือเมื่อ ภูมิภาคนี้ยังไม่ยอมปรับอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง โดยเฉพาะจีนผลที่ตามมาคือว่า ภูมิภาคที่ปรับโดยกลไกตลาด คือ ยุโรป เพราะในที่สุดเมื่อธนาคารกลางทั้งหลายมีเงินทุนสำรองเยอะ ก็จะเก็บเป็นยูโร ยูโรก็แข็ง ยุโรปเองก็มีปัญหาเพราะเศรษฐกิจก็ไม่ใช่ว่าจะแข็งแกร่งอะไร ที่เห็นคือ ทุกคนเริ่มไม่มั่นใจว่าดอลลาร์จะยืนหยัดอยู่ได้ในระดับใด อันนี้น่าจะเป็นประเด็นใน 1-2 ปี ว่ามีความไม่แน่นอนสูงมาก และคงวางใจไม่ได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เมื่อ 1984 หรือ 20 ปีที่แล้วก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีพลาซ่า แอคคอร์ด อยู่ดีๆ เงินเยนจะเปลี่ยนจาก 240 เยนมาเป็น 150 เยนภายในเวลาไม่กี่เดือน เพราะเมื่อความไม่สมดุลเริ่มใหญ่เหมือนหนังสติ๊ก เราดึงมันถึงจุดหนึ่งก็จะขาด ส่วนเรื่องการศึกษานั้นเป็นปัจจัยระยะยาว
จริงๆ เอเชียหลังวิกฤติได้คุยกันว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยซึ่งกันและกัน ในเรื่องทุนสำรองมากขึ้น โดยมีการเจรจาที่จังหวัดเชียงใหม่ ไทยเราเป็นภูมิภาคที่มีเงินออมสุทธิ จะทำอย่างไรให้การออมสุทธิสามารถจะใช้ประโยชน์จากประเทศที่ต้องการกู้เป็นระยะยาว อย่าไปพึ่งเงินระยะสั้น คงต้องทำกันต่อไป นอกจากนี้เราเป็นประเทศที่มีทุนสำรองส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในกำมือ 60% ของโลก สิ่งที่เราตัดสินว่าจะทำอะไรกับทุนสำรองเหล่านี้มันกระทบระบบการเงินของโลกอย่างรุนแรง เช่น ย้ายเป็นเงินยูโรหมด เงินยูโรกลายเป็น 2 เหรียญ โลกก็พัง ฯลฯ ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ภูมิภาคอาเซียนบวก 3 (จีน-อินเดีย-รัสเซีย) จะต้องมานั่งคุยกัน ว่าจะทำอย่างไร ทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและการบริหารทุนสำรองด้วย ถ้าคุยกันเราก็ต้องมีบทบาทสู่ตลาดการเงินโลก เพราะเราต้องเป็นคนชี้ว่าตลาดการเงินของโลกจะพัฒนาไปทางด้านไหน ไม่ใช่นั่งอยู่เฉยๆ แล้วให้ยุโรปกับอเมริกาเขาตัดสิน
การปรับค่าเงินของหยวนนั้น จีนมีแรงกดดันเพราะเงินเฟ้อเขาเพิ่มขึ้น จริงๆ เรื่องปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนถ้าจะปรับก็ไม่มีการบอกล่วงหน้าก่อน ตอนนี้จีนพยายามลดความร้อนแรง เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น การที่เขาจะมัวนั่งซื้อดอลลาร์เก็บไว้มันสวนทาง เมื่อซื้อดอลลาร์ก็ต้องปล่อยหยวนออกมาก แต่ก็มีข้อจำกัดที่จะดูดกลับเงินหยวนที่ปล่อยออกมา เขาก็มองว่าอาจจะไม่เลวร้ายนักหากจะต้องปรับค่าของเงินขึ้น เพราะเมื่อจีนแข็งแกร่งขนาดนี้การที่จีนจะปรับค่าเงินขึ้น 15-20% ก็คงไม่มีผลอะไร ประเด็นคือ ไม่ใช่จีนร้อนแรงหรือไม่ร้อนแรง แต่จีนเกินดุลกับสหรัฐและที่อื่นๆ ตราบ ใดที่ยังไม่มีการปรับดอลลาร์กับหยวน จีนก็ยังเกินดุลต่อไป เพราะจีนมีความได้เปรียบมาก สิ่งที่ต้องแก้ไขคือตรงนั้น เป็นการบังคับให้สหรัฐเริ่มมีวินัยทางการคลังมากขึ้น เพราะตอนนี้ สหรัฐ ขาดดุลเขาก็พิมพ์ธนบัตรออกมาแจก พวกเราก็ชอบใจกันเก็บใส่กระเป๋า เราเป็นคน ไฟแนนซ์เขา
ในเรื่องค่าเงินนั้น
ค่าเงินมีความสลับซับซ้อนอยู่พอควร เมื่อสหรัฐขาดดุล แต่ประเทศอื่นเกินดุลการค้า ประเทศส่วนใหญ่ก็อยากจะถือส่วนเกินในสกุลเงินที่เขาใช้กันในโลก คือดอลลาร์ อย่างญี่ปุ่น จีน ที่มีการเกินดุล ก็เอาเงินที่เกินดุลไปลงทุนในตราสารของสหรัฐ ส่วนใหญ่คือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ดังนั้นเงินที่เราได้เกินดุลเขามาก็กลับไปเป็นตัวซื้อหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ
ถามว่าจะเป็นอย่างนี้นานแค่ไหน เป็นคำถามหลักที่หลายฝ่ายเชื่อว่า จะอยู่อย่างนี้ไปได้ไม่นาน เพราะเมื่อสหรัฐ ยิ่งขาดดุลก็หมายความว่าพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเยอะ คำถามคือมีคนพร้อมเก็บดอลลาร์ไว้ในกระเป๋าได้นานแค่ไหน มีปัจจัยอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคือ คนที่เกินดุลสหรัฐมากคือประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ซึ่งประเทศเอเชียตะวันออกโดยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งตลาดสหรัฐในการขายของ ไม่ว่าไทย จีน ญี่ปุ่น ประเทศในแถบนี้จึงไม่ต้องการให้เงินสหรัฐอ่อน เพราะจะขายของให้เขายาก ก็ใช้ 2 วิธีคือ หนึ่งให้เงินตัวเองผูกกับดอลลาร์ให้มาก ที่สุด สอง เมื่อได้เกินดุลแล้วก็ไปซื้อพันธบัตรที่เป็นดอลลาร์ เมื่อเป็นอย่างนี้ก็คือเราเป็นคนพยุง แต่โดยทั่วไปเข้าใจว่าอันนี้ไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน เพราะยิ่งมีเงินดอลลาร์ปั๊มออกมาเท่าไร ก็เหมือนกับมีอุปทานมาก ราคาหรือค่าของเงินดอลลาร์ก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์อุปทาน
สิ่งที่คนกลัวคือ ถึงเวลาปรับตัวแล้วจะปรับตัวอย่างรุนแรงและเร็ว คือ ถ้าประเทศเริ่มเห็นเงินดอลลาร์ตก อย่างตอนนี้ประเทศต่างๆ ถือดอลลาร์ไว้มาก ไทยเราก็สำรองดอลลาร์ส่วนใหญ่ พอดอลลาร์เริ่มตกพวกนี้เห็นว่าเก็บไว้ยิ่งขาดทุน ถ้าทุกคนแห่ทิ้งดอลลาร์ก็ตกฮวบ เกิดการโกลาหลในโลก เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนถึงวิธีการจัดการ ที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่ามันจะต้องจัดการ แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ที่ชัดคือ ถ้าจะจัดการ ต้องเป็นการจัดการร่วมกันของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก เพราะโดยรวมเราถือเงินสำรองระหว่างประเทศไว้ประมาณ 60% ของโลก ประเทศเอเชียเป็นกลุ่มที่มีการเกินดุล กลุ่มประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ขาดดุลหรือใกล้สมดุล
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจ" จึงถือโอกาสนี้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ถ่ายทอดประเด็นที่หลายคนสงสัย ภาพเศรษฐกิจไทยขาลงหรือขาขึ้นกันแน่ และเป็นปัจจัยเสี่ยงของประเทศในปี 2548
ดร.ฉลองภพ :
โดยรวมเศรษฐกิจไทยผมว่ามีความหลากหลาย มีส่วนที่มีศักยภาพอยู่หลายด้าน โอกาสที่ไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องยังมี
แต่ในเวลาเดียวกันก็มีหลายปัจจัยต้องติดตาม ปัจจัยแรกคือ ปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะมากระทบเราอย่างไร เช่น การที่จีนมีบทบาทสูงมากในภูมิภาคนี้ จีนน่าจะเป็นตัวรับสินค้าจากไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคช่วยให้การขยายตัวดีขึ้น อินเดียก็เช่น เดียวกัน ตรงนั้นเป็นโอกาส ในเวลาเดียวกันความเสี่ยงก็มี เพราะจะพบว่าการแข่งขันระหว่างเรากับจีนในตลาดที่สาม ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐหรือยุโรปเราก็มีปัญหา จึงมีทั้งโอกาสและสิ่งท้าทาย
ระบบการเงินของโลก เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อ 20 ปีที่แล้วสิ่งที่ช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินของโลก โดยเฉพาะเมื่อเงินเยนปรับแข็งขึ้นหลังจากเหตุการณ์ "พลาซ่า แอคคอร์ด" ฐานการผลิตย้ายมาสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน ตอนนี้มีความไม่สมดุลในระบบการเงินของโลกโดยเฉพาะสหรัฐที่ ขาดดุลมาก เงินสหรัฐออกมาสู่ตลาด โลกเยอะ เมื่อเงินออกมาเยอะเกินไปคนก็เริ่มขาดความเชื่อมั่นว่าค่าเงินของสหรัฐจะแข็งได้อยู่นานแค่ไหน ดังนั้นในอนาคตก็คงจะต้องมีการปรับความไม่สมดุลในตลาดการเงินของโลก
คำถามคือ จะปรับในทิศทางใด และกระทบเราอย่างไร เมื่อ 20 ปีที่แล้ว การปรับช่วยให้ฐานการผลิตมาสู่ไทยมากขึ้น ในอนาคตไม่แน่เป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป อีกอันที่หลายคนยกขึ้นมาคือ เศรษฐกิจไทยพัฒนามา 20 ปี ความห่างระหว่างคนกลุ่มต่างๆ มีมากขึ้นการกระจายรายได้แย่ลง
จน ณ วันนี้เราใกล้กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ในอีก 20 ปีข้างหน้าอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแรงงานกับทุน เพราะฉะนั้นเป้าหมายคือการกระจายรายได้ต้องดีกว่าวันนี้ ส่วนวิธีการก็เป็นไปได้หลายอย่าง เช่น รัฐอาจจะต้องเข้าไปช่วยดูแลในเรื่องภาษีที่จะช่วยให้คนจนมีสิทธิมากขึ้นหรือปรับโครงสร้างที่เป็นปัญหาทางกฎหมาย ส่วนมาตรการระยะสั้น เช่น เอื้ออาทรต่างๆ มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้อย่างยั่งยืน ในที่สุดก็จะต้องหามาตรการที่จะสามารถช่วยได้อย่างยั่งยืน
อีกประเด็นคือ ใน 20 ปีข้างหน้า มีบางช่วงที่เราจะเสี่ยงต่อวิกฤติ ซึ่งเป็นวัฏจักรปกติ ย้อนหลังกลับไป 25 ปีที่แล้วมี 2 ช่วง ช่วงแรกคือต้นทศวรรษ 1980 หลังวิกฤติการน้ำมันครั้งที่สอง ช่วงนั้นเรารอดพ้นมาได้ด้วยการบริหารเศรษฐกิจมหภาค มีการลดค่าเงินบาท 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 คือช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ครั้งนั้นระบบการบริหารทางการเมืองเราไม่สามารถบริหารได้ คำถามคือ ใน 20 ปีข้างหน้าเมื่อเกิดช่วงที่จะท้าทายต่อการบริหารของประเทศ ฝ่ายการเมืองสามารถบริหารได้อย่างถูกต้องหรือไม่ อันนี้ทิ้งไว้เป็นคำถามดีกว่า
ดร.ฉลองภพ :
ในปีหน้ายังมีบางปัจจัยที่มีความเสี่ยงในระยะสั้น โดยเฉพาะความไม่สมดุลทางการเงิน คือเมื่อ ภูมิภาคนี้ยังไม่ยอมปรับอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง โดยเฉพาะจีนผลที่ตามมาคือว่า ภูมิภาคที่ปรับโดยกลไกตลาด คือ ยุโรป เพราะในที่สุดเมื่อธนาคารกลางทั้งหลายมีเงินทุนสำรองเยอะ ก็จะเก็บเป็นยูโร ยูโรก็แข็ง ยุโรปเองก็มีปัญหาเพราะเศรษฐกิจก็ไม่ใช่ว่าจะแข็งแกร่งอะไร ที่เห็นคือ ทุกคนเริ่มไม่มั่นใจว่าดอลลาร์จะยืนหยัดอยู่ได้ในระดับใด อันนี้น่าจะเป็นประเด็นใน 1-2 ปี ว่ามีความไม่แน่นอนสูงมาก และคงวางใจไม่ได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เมื่อ 1984 หรือ 20 ปีที่แล้วก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีพลาซ่า แอคคอร์ด อยู่ดีๆ เงินเยนจะเปลี่ยนจาก 240 เยนมาเป็น 150 เยนภายในเวลาไม่กี่เดือน เพราะเมื่อความไม่สมดุลเริ่มใหญ่เหมือนหนังสติ๊ก เราดึงมันถึงจุดหนึ่งก็จะขาด ส่วนเรื่องการศึกษานั้นเป็นปัจจัยระยะยาว
จริงๆ เอเชียหลังวิกฤติได้คุยกันว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยซึ่งกันและกัน ในเรื่องทุนสำรองมากขึ้น โดยมีการเจรจาที่จังหวัดเชียงใหม่ ไทยเราเป็นภูมิภาคที่มีเงินออมสุทธิ จะทำอย่างไรให้การออมสุทธิสามารถจะใช้ประโยชน์จากประเทศที่ต้องการกู้เป็นระยะยาว อย่าไปพึ่งเงินระยะสั้น คงต้องทำกันต่อไป นอกจากนี้เราเป็นประเทศที่มีทุนสำรองส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในกำมือ 60% ของโลก สิ่งที่เราตัดสินว่าจะทำอะไรกับทุนสำรองเหล่านี้มันกระทบระบบการเงินของโลกอย่างรุนแรง เช่น ย้ายเป็นเงินยูโรหมด เงินยูโรกลายเป็น 2 เหรียญ โลกก็พัง ฯลฯ ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ภูมิภาคอาเซียนบวก 3 (จีน-อินเดีย-รัสเซีย) จะต้องมานั่งคุยกัน ว่าจะทำอย่างไร ทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและการบริหารทุนสำรองด้วย ถ้าคุยกันเราก็ต้องมีบทบาทสู่ตลาดการเงินโลก เพราะเราต้องเป็นคนชี้ว่าตลาดการเงินของโลกจะพัฒนาไปทางด้านไหน ไม่ใช่นั่งอยู่เฉยๆ แล้วให้ยุโรปกับอเมริกาเขาตัดสิน
การปรับค่าเงินของหยวนนั้น จีนมีแรงกดดันเพราะเงินเฟ้อเขาเพิ่มขึ้น จริงๆ เรื่องปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนถ้าจะปรับก็ไม่มีการบอกล่วงหน้าก่อน ตอนนี้จีนพยายามลดความร้อนแรง เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น การที่เขาจะมัวนั่งซื้อดอลลาร์เก็บไว้มันสวนทาง เมื่อซื้อดอลลาร์ก็ต้องปล่อยหยวนออกมาก แต่ก็มีข้อจำกัดที่จะดูดกลับเงินหยวนที่ปล่อยออกมา เขาก็มองว่าอาจจะไม่เลวร้ายนักหากจะต้องปรับค่าของเงินขึ้น เพราะเมื่อจีนแข็งแกร่งขนาดนี้การที่จีนจะปรับค่าเงินขึ้น 15-20% ก็คงไม่มีผลอะไร ประเด็นคือ ไม่ใช่จีนร้อนแรงหรือไม่ร้อนแรง แต่จีนเกินดุลกับสหรัฐและที่อื่นๆ ตราบ ใดที่ยังไม่มีการปรับดอลลาร์กับหยวน จีนก็ยังเกินดุลต่อไป เพราะจีนมีความได้เปรียบมาก สิ่งที่ต้องแก้ไขคือตรงนั้น เป็นการบังคับให้สหรัฐเริ่มมีวินัยทางการคลังมากขึ้น เพราะตอนนี้ สหรัฐ ขาดดุลเขาก็พิมพ์ธนบัตรออกมาแจก พวกเราก็ชอบใจกันเก็บใส่กระเป๋า เราเป็นคน ไฟแนนซ์เขา
ในเรื่องค่าเงินนั้น
ค่าเงินมีความสลับซับซ้อนอยู่พอควร เมื่อสหรัฐขาดดุล แต่ประเทศอื่นเกินดุลการค้า ประเทศส่วนใหญ่ก็อยากจะถือส่วนเกินในสกุลเงินที่เขาใช้กันในโลก คือดอลลาร์ อย่างญี่ปุ่น จีน ที่มีการเกินดุล ก็เอาเงินที่เกินดุลไปลงทุนในตราสารของสหรัฐ ส่วนใหญ่คือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ดังนั้นเงินที่เราได้เกินดุลเขามาก็กลับไปเป็นตัวซื้อหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ
ถามว่าจะเป็นอย่างนี้นานแค่ไหน เป็นคำถามหลักที่หลายฝ่ายเชื่อว่า จะอยู่อย่างนี้ไปได้ไม่นาน เพราะเมื่อสหรัฐ ยิ่งขาดดุลก็หมายความว่าพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเยอะ คำถามคือมีคนพร้อมเก็บดอลลาร์ไว้ในกระเป๋าได้นานแค่ไหน มีปัจจัยอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคือ คนที่เกินดุลสหรัฐมากคือประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ซึ่งประเทศเอเชียตะวันออกโดยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งตลาดสหรัฐในการขายของ ไม่ว่าไทย จีน ญี่ปุ่น ประเทศในแถบนี้จึงไม่ต้องการให้เงินสหรัฐอ่อน เพราะจะขายของให้เขายาก ก็ใช้ 2 วิธีคือ หนึ่งให้เงินตัวเองผูกกับดอลลาร์ให้มาก ที่สุด สอง เมื่อได้เกินดุลแล้วก็ไปซื้อพันธบัตรที่เป็นดอลลาร์ เมื่อเป็นอย่างนี้ก็คือเราเป็นคนพยุง แต่โดยทั่วไปเข้าใจว่าอันนี้ไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน เพราะยิ่งมีเงินดอลลาร์ปั๊มออกมาเท่าไร ก็เหมือนกับมีอุปทานมาก ราคาหรือค่าของเงินดอลลาร์ก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์อุปทาน
สิ่งที่คนกลัวคือ ถึงเวลาปรับตัวแล้วจะปรับตัวอย่างรุนแรงและเร็ว คือ ถ้าประเทศเริ่มเห็นเงินดอลลาร์ตก อย่างตอนนี้ประเทศต่างๆ ถือดอลลาร์ไว้มาก ไทยเราก็สำรองดอลลาร์ส่วนใหญ่ พอดอลลาร์เริ่มตกพวกนี้เห็นว่าเก็บไว้ยิ่งขาดทุน ถ้าทุกคนแห่ทิ้งดอลลาร์ก็ตกฮวบ เกิดการโกลาหลในโลก เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนถึงวิธีการจัดการ ที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่ามันจะต้องจัดการ แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ที่ชัดคือ ถ้าจะจัดการ ต้องเป็นการจัดการร่วมกันของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก เพราะโดยรวมเราถือเงินสำรองระหว่างประเทศไว้ประมาณ 60% ของโลก ประเทศเอเชียเป็นกลุ่มที่มีการเกินดุล กลุ่มประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ขาดดุลหรือใกล้สมดุล
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% และอื่นๆ
โพสต์ที่ 8
ส่วนทัศนะมุมองมองในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร ลองอ่านกันดูครับ แล้วลองคาดการณ์นโยบายในอนาคตว่าท่านจะผลักดันในเรื่องนี้อย่างไร เมื่อท่านมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริหารบ้านเมืองแล้ว ผ่านกระทรวงการคลังครับ
บิ๊ก 'ทีดีอาร์ไอ' มองรัฐบาลทักษิณ ด้วยกรอบ 'พอเพียง'
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, 10/12/2006-13/12/2006
ทุกๆปี มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จะเปิดเวทีสัมมนาใหญ่ส่งท้ายปี โดยหยิบยกวาระทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่อยู่ในกระแสสังคม มาเป็นประเด็นหลักของการสัมมนา
สำหรับกับการสัมมนาปีนี้ มีขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 ธันวาคม ทีดีอาร์ไอ ใช้หัวข้อชื่อยาวเหยียดว่า "สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤติเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง" โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หมวดหลักคือ หนึ่ง การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค สอง การเปลี่ยนแปลงในภาคการเงินและในการอภิบาลบริษัท สาม ธรรมภิบาลทางการเมืองกับนโยบายทางเศรษฐกิจ และสี่ การสร้างความเข็มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น
โดยในหมวดที่หนึ่งที่มีนั้น ดร.ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานทีดีอาร์ไอ เป็นประธานกลุ่มนั้น ดร.ฉลองภาพได้เสนองานวิจัยเรื่อง "การบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่ง "ฐานเศรษฐกิจ"เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ สังคมที่กำลังเรียนรู้ วิธีการเข้าสู่ความหมายและการนำปรัชญาดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ จึงนำมาย่อยเสนอไว้ที่นี้
งานวิจัยของ ดร.ฉลองภพแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลักคือ หนึ่ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจมหภาค สอง ความไม่พอเพียงกับวิกฤติเศรษฐกิจ สาม การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สี่ ประเด็นในการบริหารโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และห้า ประเด็นในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ถ้าย่อยลงไปในรายละเอียดแล้วมี 3 ประเด็นหลักๆ ที่ ดร.ฉลองภพ ทำการศึกษาและวิพากษ์คือ ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้กับกรอบเศรษฐกิจมหาภาคของประเทศ ความไม่พอเพียงในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และการบริหารประเทศที่ไม่มีความไม่พอเพียงของรัฐบาลทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี )ที่เอกสารวิจัยใช่คำว่า"รัฐบาลที่ผ่านมา"
ในประเด็นเกี่ยวกับความไม่พอเพียงกับวิกฤติเศรษฐกิจนั้น!!
ดร.ฉลองภพแบ่งความไม่พอเพียงออกเป็นหัวข้อรองดังนี้คือ
การบริโภคอย่างไม่พอเพียง การลงทุนอย่างไม่พอเพียง การก่อหนี้อย่างไม่พอเพียง การประเมินศักยภาพของเศรษฐกิจไทยสูงเกินจริง และการบริหารเศรษฐกิจที่ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี การแข่งขันอย่างเกินพอ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และ การขาดธรรมาภิบาลที่ดี เนื้อหาในส่วนนี้ ดร.ฉลองภาพ ยกกรณีศึกษาต้อตอของวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นหลัก อาทิเช่น กล่าวถึงการบริโภคอย่างไม่พอเพียงว่า
"จากการพิจารณาข้อมูลการบริโภคของครัวเรือในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ เห็นได้ว่า
สัดส่วนการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนการออมของครัวเรือนลดลงอย่างรวดเร็ว จากประมาณร้อยละ 20 ในปี 1989 ( พ.ศ.2532) ลงมาเหลือร้อยละ 9 ในปี 1996 ( พ.ศ. 2539 ) "
เช่นเดียวกับ การลงทุนอย่างไม่พอเพียง ที่ดร.ฉลองภพ มองว่าระหว่างปี พ.ศ. 2529-2539 การลงทุนโดยตรงขยายตัวถึง 14.9 %หากการขยายตัวเหล่านั้น ประสิทธิภาพการผลิตรวม ต่ำลง หรือการก่อหนี้อย่างไม่พอเพียงที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้นมีมูลค่ามากกว่าเงินทุนสำรองทางการไทย และเป็นเหตุให้ประเทศไทยล้มละลายทางด้านเงินตราต่างประเทศไทย หลัง แบงก์ชาติ แพ้ในสงครามเงินบาท
นอกจากนี้ ดร.ฉลองภพยังระบุว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดเพราะคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่เกินจริง การแข่งขันอย่างเกินพอดี และ การขาดธรรมาภิบาลทีดี ล้วนเป็นอาการของความไม่พอเพียงที่เป็นต้นตอที่นำไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 ทั้งสิ้น
สำหรับการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการบริหารเศรษฐกิจมหภาคนั้น ดร.ฉลองภพ สกัดคำหลักจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกมา 9 คำ เป็นแกนหลักซึ่งประกอบด้วย 1. ทางสายกลาง 2.ความพอประมาณ 3. ความมีเหตุผล 4.การมีภูมิคุ้มกันที่ดี 5.ความรอบรู้ และความรอบคอบ 6.ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ (ที่ยังไม่ทดสอดอย่างละเอียด) 7. คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจรติ 8. คาวมอดทด และ 9. ความเพียง
จากนั้นดร.ฉลองภพ กล่าวถึง การบริหารงานโดยยึดแนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้โดยยึดกรอบ 5 ประการคือ 1. ความต้องการที่พอประมาณ 2.การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณและมีเหตุมีผล 3.การมีภูมิคุ้นกันที่ดี 4.การใช้ความรอบรู้และความรอบคอบ และ 5. คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต
การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณและมีเหตุมีผล ดร.ฉลองภพ ขยายความว่า " ถ้าผู้บริหารมีพื้นฐานจิตใจที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็มีโอกาสเป็นไปได้ ในขั้นต้น การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ทะเยอทะยานจนเกินไป และในทางตรงกันข้าม เป้าหมายที่ พอประมาณก็ไม่ได้หมายความเป็นเป้าหมายที่ต่ำ แต่เป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับศักยภาพของตนเองหรือหน่วยงาน "
สรุปตรงนี้แล้วดูเหมือน ดร.ฉลองภพต้องการสื่อสารถึงใครเป็นพิเศษโดยระบุว่า" บางครั้งผู้บริหารอาจจะอยากสร้างผลงานมากไป ก็จะเน้นเป้าที่สูงและดำเนินการอย่างรวดเร็ว การทำเช่นนี้ต้องควรระวัง เพราะจะไม่รอบครอบ และไม่สอดคล้องกับศักยภาพที่แท้จริงของตน "
"สาร"ยังไม่จบเท่านั้น ในหัวข้อ การใช้ความรอบรู้และความรอบคอบว่า ดร.ฉลองภาพ สรุปหนักแน่นว่า " ผู้บริหารที่ดีต้องไม่อวดรู้ แต่ต้องพยายามเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ถ้าผู้บริหารคิดว่าตนเองรู้ไปหมด และไม่เคารพแนวคิดที่แตกต่างของผู้อื่น ผลสุดท้ายการตัดสินใจก็จะพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขาดการกรอบที่รอบคอบ" ปิดท้ายที่หัวข้อการบริหารโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ดร.ฉลองภาพระบุว่า
" คุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตนั้น ไม่ใช่เพียงการดำเนินการตามหนังสือของกฎกติกา กฎระเบียบ หรือกฎหมายต่างๆ ไม่ว่าของประเทศหรือขององค์กรต่างๆ การดำเนินการตาม เจตนารมย์ของกฎกติกา หรือกฎหมายต่างๆ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน และในบางครั้งมีความสำคัญมากกว่า " พร้อมกับเน้นย้ำด้วยว่า " ถ้าเพียงทำตามตัวอักษรของกฎกติกา แต่มีการบิดเบือนกฎกติกา หรือตีความกฎกติกาในแนวทางที่ขัดกับเจตนารมย์ของกฎกจิกาต่างๆเพื่อประโยชน์ของตน ก็จะหมดความชอบธรรม และสวนทางกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสิ้นเชิง"
อย่างไรก็ตามในมุมของ ดร.ฉลองภพ มองว่า การบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะต้องประกอบด้วย
1. กรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่สร้างความพอประมาณในระบบเศรษฐกิจ
2. การประเมินศักยภาพของเศรษฐกิจไทยและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจาอย่างพอประมาณ
3. การลงทุนที่พอประมาณและมีเหตุผล
4. การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
ในประเด็นนี้ดร.ฉลองภพฟันธงฉับว่าการบริหารเศรษฐกิจของ"รัฐบาลที่ผ่านมา"ยังห่างไกลจากคำว่า"พอเพียง"ดังข้อความตอนหนึ่งที่ระบุว่า "ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ การประเมินศักยภาพของไทยในการที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคที่สูงเกินจริง มีส่วนนำประเทศไปสู่วิกฤติ ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ก็ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีความมั่นใจในความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีความพยายามที่จะเดินไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ โดยการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อย่างหลากหลายและรวดเร็ว ซึ่งก็คงสามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่าไทยมีความแข็งแกร่งและความพร้อมเพียงใด"
พร้อมระบุด้วยว่า "ในเรื่องนี้หากรัฐบาลที่ผ่านมามีการทำการศึกษาถึงศักยภาพของประเทศอย่างละเอียดไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มการเจรจา รวมทั้งผลกระทบต่อกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งไทยและกลุ่มธุรกิจข้ามชาติที่มีฐานการผลิตอยู่ในไทย กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมามักจะมีนโยบายที่เน้นการ" ทำมากและทำเร็ว" ดังนั้นจึงไม่มีเวลาที่จะวิเคราะห์ข้อมูลและประเด็นต่างอย่างรอบคอบ สำหรับอนาคตควรหาสายกลาง โดยทำการศึกษาอย่างรอบคอบ และแทนที่จะทำมากและทำเร็วให้เปลี่ยนเป็นการทำอย่างพอประมาณและมีเหตุผล"
ตัวอย่างความไม่พอเพียงของรัฐบาลที่ผ่านมาในมุมของดร.ฉลองภาพยังไม่จบแค่นั้นหากยังกล่าวถึง การลงทุนโครงการ เมกะโปรเจ็กตต์ ที่ไม่ได้ทำอย่างรัดกุม จากตัวอย่างความไม่พอเพียงเหล่านั้น ดร.ฉลองภพ เสนอว่าการบริหารเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังต้องสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งภูมิคุ้นกันที่ดี สำหรับการบริหารเศรษฐกิจในสายตาของ ประธานทีดีอารร์ไอ ประกอบด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศและระบบข้อมูลที่ดี
พร้อมกันนั้นยังยกตัวอย่างถึงระบบข้อมูลที่ไม่ดีของรัฐบาลที่ผ่านมาตอนหนึ่งว่า" การบริหารงานของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาทำให้เห็นช่องว่างทางด้านข้อมูลเกี่ยวกับภาระทางการเงินของโครงการประชานิยมต่างๆของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน (รัฐบาลสุรยุทธ์) ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อรับภาระทางด้านนี้ (ภาระจากโครงการประชานิยม) หลายหมื่นล้าน โครงการหลายๆโครงการของรัฐบาลที่แล้วมักจะเป็นการใช้จ่ายนอกงบประมาณ หรือเป็นโครงการผ่าน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ดังนั้นข้อมูลที่จะติดตามภาระทางการเงินที่แท้จริงของโครงการเหล่านี้ยังขาดความสมบูรณ์อย่างมาก"
สุดท้าย ดร.ฉลองภพ ฟันธงฉับว่า !! ประชานิยมจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกต่อไปสำหรับการเมืองไทย ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมี "ระบบข้อมูลเตือนภัยทางการคลังที่ครบถ้วน"
ทั้งหมดคือ มุมมอง สิ่งที่ พอเพียง และไม่พอเพียง ในสายตาของประธานทีดีอาร์ไอ!!!
บิ๊ก 'ทีดีอาร์ไอ' มองรัฐบาลทักษิณ ด้วยกรอบ 'พอเพียง'
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, 10/12/2006-13/12/2006
ทุกๆปี มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จะเปิดเวทีสัมมนาใหญ่ส่งท้ายปี โดยหยิบยกวาระทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่อยู่ในกระแสสังคม มาเป็นประเด็นหลักของการสัมมนา
สำหรับกับการสัมมนาปีนี้ มีขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 ธันวาคม ทีดีอาร์ไอ ใช้หัวข้อชื่อยาวเหยียดว่า "สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤติเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง" โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หมวดหลักคือ หนึ่ง การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค สอง การเปลี่ยนแปลงในภาคการเงินและในการอภิบาลบริษัท สาม ธรรมภิบาลทางการเมืองกับนโยบายทางเศรษฐกิจ และสี่ การสร้างความเข็มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น
โดยในหมวดที่หนึ่งที่มีนั้น ดร.ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานทีดีอาร์ไอ เป็นประธานกลุ่มนั้น ดร.ฉลองภาพได้เสนองานวิจัยเรื่อง "การบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่ง "ฐานเศรษฐกิจ"เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ สังคมที่กำลังเรียนรู้ วิธีการเข้าสู่ความหมายและการนำปรัชญาดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ จึงนำมาย่อยเสนอไว้ที่นี้
งานวิจัยของ ดร.ฉลองภพแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลักคือ หนึ่ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจมหภาค สอง ความไม่พอเพียงกับวิกฤติเศรษฐกิจ สาม การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สี่ ประเด็นในการบริหารโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และห้า ประเด็นในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ถ้าย่อยลงไปในรายละเอียดแล้วมี 3 ประเด็นหลักๆ ที่ ดร.ฉลองภพ ทำการศึกษาและวิพากษ์คือ ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้กับกรอบเศรษฐกิจมหาภาคของประเทศ ความไม่พอเพียงในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และการบริหารประเทศที่ไม่มีความไม่พอเพียงของรัฐบาลทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี )ที่เอกสารวิจัยใช่คำว่า"รัฐบาลที่ผ่านมา"
ในประเด็นเกี่ยวกับความไม่พอเพียงกับวิกฤติเศรษฐกิจนั้น!!
ดร.ฉลองภพแบ่งความไม่พอเพียงออกเป็นหัวข้อรองดังนี้คือ
การบริโภคอย่างไม่พอเพียง การลงทุนอย่างไม่พอเพียง การก่อหนี้อย่างไม่พอเพียง การประเมินศักยภาพของเศรษฐกิจไทยสูงเกินจริง และการบริหารเศรษฐกิจที่ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี การแข่งขันอย่างเกินพอ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และ การขาดธรรมาภิบาลที่ดี เนื้อหาในส่วนนี้ ดร.ฉลองภาพ ยกกรณีศึกษาต้อตอของวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นหลัก อาทิเช่น กล่าวถึงการบริโภคอย่างไม่พอเพียงว่า
"จากการพิจารณาข้อมูลการบริโภคของครัวเรือในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ เห็นได้ว่า
สัดส่วนการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนการออมของครัวเรือนลดลงอย่างรวดเร็ว จากประมาณร้อยละ 20 ในปี 1989 ( พ.ศ.2532) ลงมาเหลือร้อยละ 9 ในปี 1996 ( พ.ศ. 2539 ) "
เช่นเดียวกับ การลงทุนอย่างไม่พอเพียง ที่ดร.ฉลองภพ มองว่าระหว่างปี พ.ศ. 2529-2539 การลงทุนโดยตรงขยายตัวถึง 14.9 %หากการขยายตัวเหล่านั้น ประสิทธิภาพการผลิตรวม ต่ำลง หรือการก่อหนี้อย่างไม่พอเพียงที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้นมีมูลค่ามากกว่าเงินทุนสำรองทางการไทย และเป็นเหตุให้ประเทศไทยล้มละลายทางด้านเงินตราต่างประเทศไทย หลัง แบงก์ชาติ แพ้ในสงครามเงินบาท
นอกจากนี้ ดร.ฉลองภพยังระบุว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดเพราะคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่เกินจริง การแข่งขันอย่างเกินพอดี และ การขาดธรรมาภิบาลทีดี ล้วนเป็นอาการของความไม่พอเพียงที่เป็นต้นตอที่นำไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 ทั้งสิ้น
สำหรับการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการบริหารเศรษฐกิจมหภาคนั้น ดร.ฉลองภพ สกัดคำหลักจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกมา 9 คำ เป็นแกนหลักซึ่งประกอบด้วย 1. ทางสายกลาง 2.ความพอประมาณ 3. ความมีเหตุผล 4.การมีภูมิคุ้มกันที่ดี 5.ความรอบรู้ และความรอบคอบ 6.ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ (ที่ยังไม่ทดสอดอย่างละเอียด) 7. คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจรติ 8. คาวมอดทด และ 9. ความเพียง
จากนั้นดร.ฉลองภพ กล่าวถึง การบริหารงานโดยยึดแนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้โดยยึดกรอบ 5 ประการคือ 1. ความต้องการที่พอประมาณ 2.การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณและมีเหตุมีผล 3.การมีภูมิคุ้นกันที่ดี 4.การใช้ความรอบรู้และความรอบคอบ และ 5. คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต
การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณและมีเหตุมีผล ดร.ฉลองภพ ขยายความว่า " ถ้าผู้บริหารมีพื้นฐานจิตใจที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็มีโอกาสเป็นไปได้ ในขั้นต้น การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ทะเยอทะยานจนเกินไป และในทางตรงกันข้าม เป้าหมายที่ พอประมาณก็ไม่ได้หมายความเป็นเป้าหมายที่ต่ำ แต่เป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับศักยภาพของตนเองหรือหน่วยงาน "
สรุปตรงนี้แล้วดูเหมือน ดร.ฉลองภพต้องการสื่อสารถึงใครเป็นพิเศษโดยระบุว่า" บางครั้งผู้บริหารอาจจะอยากสร้างผลงานมากไป ก็จะเน้นเป้าที่สูงและดำเนินการอย่างรวดเร็ว การทำเช่นนี้ต้องควรระวัง เพราะจะไม่รอบครอบ และไม่สอดคล้องกับศักยภาพที่แท้จริงของตน "
"สาร"ยังไม่จบเท่านั้น ในหัวข้อ การใช้ความรอบรู้และความรอบคอบว่า ดร.ฉลองภาพ สรุปหนักแน่นว่า " ผู้บริหารที่ดีต้องไม่อวดรู้ แต่ต้องพยายามเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ถ้าผู้บริหารคิดว่าตนเองรู้ไปหมด และไม่เคารพแนวคิดที่แตกต่างของผู้อื่น ผลสุดท้ายการตัดสินใจก็จะพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขาดการกรอบที่รอบคอบ" ปิดท้ายที่หัวข้อการบริหารโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ดร.ฉลองภาพระบุว่า
" คุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตนั้น ไม่ใช่เพียงการดำเนินการตามหนังสือของกฎกติกา กฎระเบียบ หรือกฎหมายต่างๆ ไม่ว่าของประเทศหรือขององค์กรต่างๆ การดำเนินการตาม เจตนารมย์ของกฎกติกา หรือกฎหมายต่างๆ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน และในบางครั้งมีความสำคัญมากกว่า " พร้อมกับเน้นย้ำด้วยว่า " ถ้าเพียงทำตามตัวอักษรของกฎกติกา แต่มีการบิดเบือนกฎกติกา หรือตีความกฎกติกาในแนวทางที่ขัดกับเจตนารมย์ของกฎกจิกาต่างๆเพื่อประโยชน์ของตน ก็จะหมดความชอบธรรม และสวนทางกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสิ้นเชิง"
อย่างไรก็ตามในมุมของ ดร.ฉลองภพ มองว่า การบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะต้องประกอบด้วย
1. กรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่สร้างความพอประมาณในระบบเศรษฐกิจ
2. การประเมินศักยภาพของเศรษฐกิจไทยและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจาอย่างพอประมาณ
3. การลงทุนที่พอประมาณและมีเหตุผล
4. การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
ในประเด็นนี้ดร.ฉลองภพฟันธงฉับว่าการบริหารเศรษฐกิจของ"รัฐบาลที่ผ่านมา"ยังห่างไกลจากคำว่า"พอเพียง"ดังข้อความตอนหนึ่งที่ระบุว่า "ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ การประเมินศักยภาพของไทยในการที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคที่สูงเกินจริง มีส่วนนำประเทศไปสู่วิกฤติ ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ก็ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีความมั่นใจในความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีความพยายามที่จะเดินไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ โดยการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อย่างหลากหลายและรวดเร็ว ซึ่งก็คงสามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่าไทยมีความแข็งแกร่งและความพร้อมเพียงใด"
พร้อมระบุด้วยว่า "ในเรื่องนี้หากรัฐบาลที่ผ่านมามีการทำการศึกษาถึงศักยภาพของประเทศอย่างละเอียดไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มการเจรจา รวมทั้งผลกระทบต่อกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งไทยและกลุ่มธุรกิจข้ามชาติที่มีฐานการผลิตอยู่ในไทย กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมามักจะมีนโยบายที่เน้นการ" ทำมากและทำเร็ว" ดังนั้นจึงไม่มีเวลาที่จะวิเคราะห์ข้อมูลและประเด็นต่างอย่างรอบคอบ สำหรับอนาคตควรหาสายกลาง โดยทำการศึกษาอย่างรอบคอบ และแทนที่จะทำมากและทำเร็วให้เปลี่ยนเป็นการทำอย่างพอประมาณและมีเหตุผล"
ตัวอย่างความไม่พอเพียงของรัฐบาลที่ผ่านมาในมุมของดร.ฉลองภาพยังไม่จบแค่นั้นหากยังกล่าวถึง การลงทุนโครงการ เมกะโปรเจ็กตต์ ที่ไม่ได้ทำอย่างรัดกุม จากตัวอย่างความไม่พอเพียงเหล่านั้น ดร.ฉลองภพ เสนอว่าการบริหารเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังต้องสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งภูมิคุ้นกันที่ดี สำหรับการบริหารเศรษฐกิจในสายตาของ ประธานทีดีอารร์ไอ ประกอบด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศและระบบข้อมูลที่ดี
พร้อมกันนั้นยังยกตัวอย่างถึงระบบข้อมูลที่ไม่ดีของรัฐบาลที่ผ่านมาตอนหนึ่งว่า" การบริหารงานของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาทำให้เห็นช่องว่างทางด้านข้อมูลเกี่ยวกับภาระทางการเงินของโครงการประชานิยมต่างๆของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน (รัฐบาลสุรยุทธ์) ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อรับภาระทางด้านนี้ (ภาระจากโครงการประชานิยม) หลายหมื่นล้าน โครงการหลายๆโครงการของรัฐบาลที่แล้วมักจะเป็นการใช้จ่ายนอกงบประมาณ หรือเป็นโครงการผ่าน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ดังนั้นข้อมูลที่จะติดตามภาระทางการเงินที่แท้จริงของโครงการเหล่านี้ยังขาดความสมบูรณ์อย่างมาก"
สุดท้าย ดร.ฉลองภพ ฟันธงฉับว่า !! ประชานิยมจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกต่อไปสำหรับการเมืองไทย ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมี "ระบบข้อมูลเตือนภัยทางการคลังที่ครบถ้วน"
ทั้งหมดคือ มุมมอง สิ่งที่ พอเพียง และไม่พอเพียง ในสายตาของประธานทีดีอาร์ไอ!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% และอื่นๆ
โพสต์ที่ 9
ส่วนข้อมูลตรงนี้ได้จากการสัมมนาล่าสุดช่วงปลายปี 49 ที่ผ่านมาในหัวข้อ
สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?
(Toward a Decade after the Economic Crisis: Lessons and Reforms)
วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 9-10 ธันวาคม 2549
โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี
โดยในวันดังกล่าว ในห้องสัมมนาที่มี ดร.ฉลองภาพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นประธานรายละเอียดตามนี้คือ
กลุ่มที่ 1 การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค (slide presentation) (ห้องจันทบุรี)
ประธานกลุ่ม: ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
สำหรับเอกสารสรุปผลการประชุมเป็นรายละเอียดเอกสารที่แนบมานี้ครับ
http://www.tdri.or.th/ye_06/slides%20an ... group1.pdf
แต่ถ้าใครสนใจเอกสารประกอบการสัมมนาเพิ่มเติม ก็สามารถ Download เอกสารได้ตามนี้ครับ หัวข้อหลายหัวข้อที่จัดน่าสนใจมาก ๆ ครับ
http://www.tdri.or.th/ye_06/load_ye06_t.htm#download
การอ่านข้อมูลล่าสุดตรงนี้ จะทำให้เราสามารถคาดแนวทางนโยบายได้ดีขึ้นครับ ลองไปอ่านกันดูแล้วมาวิจารณ์กันนะครับ เพื่อเป็นประโยชน์กับชาว Thaivi ทุกท่านครับ :lol:
สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?
(Toward a Decade after the Economic Crisis: Lessons and Reforms)
วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 9-10 ธันวาคม 2549
โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี
โดยในวันดังกล่าว ในห้องสัมมนาที่มี ดร.ฉลองภาพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นประธานรายละเอียดตามนี้คือ
กลุ่มที่ 1 การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค (slide presentation) (ห้องจันทบุรี)
ประธานกลุ่ม: ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
สำหรับเอกสารสรุปผลการประชุมเป็นรายละเอียดเอกสารที่แนบมานี้ครับ
http://www.tdri.or.th/ye_06/slides%20an ... group1.pdf
แต่ถ้าใครสนใจเอกสารประกอบการสัมมนาเพิ่มเติม ก็สามารถ Download เอกสารได้ตามนี้ครับ หัวข้อหลายหัวข้อที่จัดน่าสนใจมาก ๆ ครับ
http://www.tdri.or.th/ye_06/load_ye06_t.htm#download
การอ่านข้อมูลล่าสุดตรงนี้ จะทำให้เราสามารถคาดแนวทางนโยบายได้ดีขึ้นครับ ลองไปอ่านกันดูแล้วมาวิจารณ์กันนะครับ เพื่อเป็นประโยชน์กับชาว Thaivi ทุกท่านครับ :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้า รัฐมนตรีคลังคนใหม่ผ่อนปรนมาตรการ 30% และอื่นๆ
โพสต์ที่ 10
ก็รอดูมาตรการณ์ต่อไปครับ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า น่าจะมีการยกเลิกมาตรการณ์เกณฑ์สำรอง 30% และ เรื่องการทะยอยลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากการบริโภคและการลงทุนเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัว
ตลาดทุน-เงินขานรับขุนคลังใหม่
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2550 08:43 น.
วงการตลาดทุน-ตลาดเงิน ขานรับ "ฉลองภพ" รมว.คลังคนใหม่ เชื่อมั่นเดินหน้าประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แน่ พร้อมมั่นใจในความรู้และความสามารถ รวมทั้งมีทีมงานวิจัยจากทีดีอาร์ไอที่เข้มแข็งช่วยเสริม แต่หวั่นเกิดกระแสความขัดแย้งกับ "ธาริษา" ผู้ว่าการแบงก์ชาติ หลังจากไม่เห็นด้วยกับเกณฑ์กันสำรอง 30% มาตั้งแต่ต้น
หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แทน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นายฉลองภพ มีคุณสมบัติครบถ้วนกับตำแหน่งรมว.คลัง และเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์ มีความเข้าใจทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ทีดีอาร์ไอมีมุมมองต่อมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) รุนแรงเกินไป และเห็นว่าดอกเบี้ยควรที่จะปรับลดลง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันไม่ให้เงินบาทแข็งค่าจนเกินไป ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าว หลังจากเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี กล่าวว่า รมว.คลังคนใหม่น่าจะสามารถประสานงานได้ดีกับภาคเอกชน เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถ รอบรู้ด้านเศรษฐกิจมหภาค รวมทั้งยังมีทีมงานวิจัยจากทีดีอาร์ไอที่เข้มแข็ง
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีฟิท กล่าวว่า นายฉลองภพเป็นที่ยอมรับจากการบริหารงานในสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มาเป็นระยะเวลานาน แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ การประสานงานกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องมาตรการการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการกันสำรอง 30% ที่รมว.คลังคนใหม่คัดค้านมาตั้งแต่ต้น
จากประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว หลังจากนายฉลองภพ เข้ามาดำรงตำแหน่งรมว.แล้วแล้ว จึงมีแนวโน้มสูงที่อาจจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของธปท. ็นแต่ต้องดูเหตุผลว่าจากการบังคับใช้มาตรการมาระยะหนึ่งแล้วประสบผลสำเร็จหรือไม่ และหากมีการยกเลิกจริงจะใช้มาตรการใดมาควบคุมแทน ซึ่งจุดนี้ต้องพิจารณาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทประสบกับปัญหาในอนาคต
นายกิตติ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มที่จะยกเลิกมาตรการสำรองเงิน 30% มากขึ้น หลังจากที่นายฉลองภพเข้ามารับตำแหน่งรมว.คลัง แต่น่าจะใช้วิธีการผ่อนปรนมาตรการที่ละน้อยมากกว่าการประกาศยกเลิกภายในครั้งเดียว เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงเกินไป
ทั้งนี้ ถ้าประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาในจำนวนมาก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่อ่อนลง ทั้งนี้ตนมองว่าถ้ามีการยกเลิกจริง ทางภาครัฐน่าจะมีมาตรการด้านดอกเบี้ยเพื่อรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับเดิมแทน
**แบงก์ลุ้นขุนคลังเร่งลดดอกเบี้ย**
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้คงจะยังไม่มีใครทราบถึงนโยบายที่ชัดเจน จนกว่าจะมีการแถลงนโยบายของรมว.คลังคนใหม่ก่อน แต่เท่าที่ประเมินจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เชื่อว่าแนวทางในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องหลักๆ คือ การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยที่จะปรับลดลงอย่างเข้มข้นขึ้น จากในช่วงก่อนที่เป็นการปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อนไป รวมถึงในส่วนของมาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งท่านก็แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่งเดิมอยู่
"การดำเนินนโยบายต่างๆคงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเฉพาะในเรื่อของดอกเบี้ยจะมีความเข้มข้นขึ้น เพราเป็นแนวทางที่เห็นชัดเจนตั้งแต่ยังเป็นประธานทีดีอาร์ไอแล้ว ส่วนมาตรการกันสำรอง 30%นั้น เป็นมาตรการชั่วคราวที่ใกล้จะจบแล้ว คือถึงท่านไม่มา ก็ใกล้จะยกเลิกอยู่แล้ว"นายบันลือศักดิ์กล่าว
นายบันลือศักดิ์ กล่าวอีกว่า ด้านการยอมรับนั้น สำหรับในประเทศแล้วอาจจะยังมีคนรู้จักน้อยไปบ้าง แต่ในต่างประเทศแล้วก็ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว ตามประวัติการศึกษาและประวัติทำงานที่ออกมานั้น ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องของคุณภาพ
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า นายฉลองภาพถือว่าเป็นบุคคลที่เป็นนักวิชาการเต็มตัว การตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งนั้นเชื่อว่าจะต้องพิจารณามาก่อนเป็นอย่างดี ส่วนหลังเข้ามารับตำแหน่งแล้วจะสามารถสานต่อนโยบายของรับมนตรีคนที่ผ่านมาได้หรือไม่นั้นมองว่าบางเรื่องก็คงได้รับการสานต่อ แต่บางเรื่องก็อาจจะไม่ได้รับการสานต่อ โดยเฉพาะเรื่องการออกมาตรการกันสำรอง 30%ของธปท. เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าบาท ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะก่อนหน้านี้ ทีดีอาร์ไอ เคยออกมาแสดงความคิดเห็นไม่สนับสนุนการออกมาตรการดังกล่าว
ตลาดทุน-เงินขานรับขุนคลังใหม่
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2550 08:43 น.
วงการตลาดทุน-ตลาดเงิน ขานรับ "ฉลองภพ" รมว.คลังคนใหม่ เชื่อมั่นเดินหน้าประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แน่ พร้อมมั่นใจในความรู้และความสามารถ รวมทั้งมีทีมงานวิจัยจากทีดีอาร์ไอที่เข้มแข็งช่วยเสริม แต่หวั่นเกิดกระแสความขัดแย้งกับ "ธาริษา" ผู้ว่าการแบงก์ชาติ หลังจากไม่เห็นด้วยกับเกณฑ์กันสำรอง 30% มาตั้งแต่ต้น
หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แทน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นายฉลองภพ มีคุณสมบัติครบถ้วนกับตำแหน่งรมว.คลัง และเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์ มีความเข้าใจทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ทีดีอาร์ไอมีมุมมองต่อมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) รุนแรงเกินไป และเห็นว่าดอกเบี้ยควรที่จะปรับลดลง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันไม่ให้เงินบาทแข็งค่าจนเกินไป ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าว หลังจากเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี กล่าวว่า รมว.คลังคนใหม่น่าจะสามารถประสานงานได้ดีกับภาคเอกชน เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถ รอบรู้ด้านเศรษฐกิจมหภาค รวมทั้งยังมีทีมงานวิจัยจากทีดีอาร์ไอที่เข้มแข็ง
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีฟิท กล่าวว่า นายฉลองภพเป็นที่ยอมรับจากการบริหารงานในสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มาเป็นระยะเวลานาน แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ การประสานงานกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องมาตรการการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการกันสำรอง 30% ที่รมว.คลังคนใหม่คัดค้านมาตั้งแต่ต้น
จากประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว หลังจากนายฉลองภพ เข้ามาดำรงตำแหน่งรมว.แล้วแล้ว จึงมีแนวโน้มสูงที่อาจจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของธปท. ็นแต่ต้องดูเหตุผลว่าจากการบังคับใช้มาตรการมาระยะหนึ่งแล้วประสบผลสำเร็จหรือไม่ และหากมีการยกเลิกจริงจะใช้มาตรการใดมาควบคุมแทน ซึ่งจุดนี้ต้องพิจารณาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทประสบกับปัญหาในอนาคต
นายกิตติ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มที่จะยกเลิกมาตรการสำรองเงิน 30% มากขึ้น หลังจากที่นายฉลองภพเข้ามารับตำแหน่งรมว.คลัง แต่น่าจะใช้วิธีการผ่อนปรนมาตรการที่ละน้อยมากกว่าการประกาศยกเลิกภายในครั้งเดียว เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงเกินไป
ทั้งนี้ ถ้าประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาในจำนวนมาก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่อ่อนลง ทั้งนี้ตนมองว่าถ้ามีการยกเลิกจริง ทางภาครัฐน่าจะมีมาตรการด้านดอกเบี้ยเพื่อรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับเดิมแทน
**แบงก์ลุ้นขุนคลังเร่งลดดอกเบี้ย**
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้คงจะยังไม่มีใครทราบถึงนโยบายที่ชัดเจน จนกว่าจะมีการแถลงนโยบายของรมว.คลังคนใหม่ก่อน แต่เท่าที่ประเมินจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เชื่อว่าแนวทางในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องหลักๆ คือ การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยที่จะปรับลดลงอย่างเข้มข้นขึ้น จากในช่วงก่อนที่เป็นการปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อนไป รวมถึงในส่วนของมาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งท่านก็แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่งเดิมอยู่
"การดำเนินนโยบายต่างๆคงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเฉพาะในเรื่อของดอกเบี้ยจะมีความเข้มข้นขึ้น เพราเป็นแนวทางที่เห็นชัดเจนตั้งแต่ยังเป็นประธานทีดีอาร์ไอแล้ว ส่วนมาตรการกันสำรอง 30%นั้น เป็นมาตรการชั่วคราวที่ใกล้จะจบแล้ว คือถึงท่านไม่มา ก็ใกล้จะยกเลิกอยู่แล้ว"นายบันลือศักดิ์กล่าว
นายบันลือศักดิ์ กล่าวอีกว่า ด้านการยอมรับนั้น สำหรับในประเทศแล้วอาจจะยังมีคนรู้จักน้อยไปบ้าง แต่ในต่างประเทศแล้วก็ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว ตามประวัติการศึกษาและประวัติทำงานที่ออกมานั้น ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องของคุณภาพ
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า นายฉลองภาพถือว่าเป็นบุคคลที่เป็นนักวิชาการเต็มตัว การตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งนั้นเชื่อว่าจะต้องพิจารณามาก่อนเป็นอย่างดี ส่วนหลังเข้ามารับตำแหน่งแล้วจะสามารถสานต่อนโยบายของรับมนตรีคนที่ผ่านมาได้หรือไม่นั้นมองว่าบางเรื่องก็คงได้รับการสานต่อ แต่บางเรื่องก็อาจจะไม่ได้รับการสานต่อ โดยเฉพาะเรื่องการออกมาตรการกันสำรอง 30%ของธปท. เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าบาท ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะก่อนหน้านี้ ทีดีอาร์ไอ เคยออกมาแสดงความคิดเห็นไม่สนับสนุนการออกมาตรการดังกล่าว