SAMART and SIM
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 1
กลุ่มนี้เจ้าของเป็นยังไงครับ เคยมีประวัติไม่ดีบ้างหรือไม่ ใครรู้จักตัวนี้ช่วยให้ข้อมูลหน่อยครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 2
ทำผมงงเลย :ohno: มันไม่ช้าไปเหรอครับ อยู่ดีๆ ก็สนใจขึ้นมา น่าจะมีเหตุอะไรสักอย่าง หรือไปได้ยินพรายกระซิบเข้า :mrgreen:
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 3
จะว่าไป กลุ่มนี้เขาก็ปั้นหุ้นเก่ง เมื่อก่อนผมเคยวิจารณ์เสียๆ หายๆ ตอนกันยา 48 ที่ samart เขาใช้วิธีอัฐยายซื้อขนมยายขายสามารถคอมเทคให้ samtel ก็คิดว่าคง make กำไรให้ดูดีขึ้นได้สัก 4 ไตรมาส ปรากฏว่าสมพรปากอยู่เหมือนกัน เพราะงบปีออกมา Q4/49 นิ่งสนิททั้งๆ ที่มีโอนกลับค่าเผื่อการด้อยค่าของสิทธิการใช้อุปกรณ์สื่อสารรอตัดบัญชี 70 ล้าน ราคาหุ้น samtel วิ่งกระฉูดไปแล้วตลอดทาง
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 4
ไม่ได้รู้อะไรดีๆ มา ลองคัดขึ้นมาศึกษาเล่นๆ นะครับ ศึกษาแล้วไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้แค่รู้จักไว้
แต่ฟังๆ ดูแล้ว ขอผ่านตัวนี้ไปก่อนดีกว่า เอาตัวอื่นมาลองดูแทน
ขอบคุณมากครับ :D
แต่ฟังๆ ดูแล้ว ขอผ่านตัวนี้ไปก่อนดีกว่า เอาตัวอื่นมาลองดูแทน
ขอบคุณมากครับ :D
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 5
โค้ด: เลือกทั้งหมด
จะว่าไป กลุ่มนี้เขาก็ปั้นหุ้นเก่ง เมื่อก่อนผมเคยวิจารณ์เสียๆ หายๆ ตอนกันยา 48 ที่ samart เขาใช้วิธีอัฐยายซื้อขนมยายขายสามารถคอมเทคให้ samtel ก็คิดว่าคง make กำไรให้ดูดีขึ้นได้สัก 4 ไตรมาส ปรากฏว่าสมพรปากอยู่เหมือนกัน เพราะงบปีออกมา Q4/49 นิ่งสนิททั้งๆ ที่มีโอนกลับค่าเผื่อการด้อยค่าของสิทธิการใช้อุปกรณ์สื่อสารรอตัดบัญชี 70 ล้าน ราคาหุ้น samtel วิ่งกระฉูดไปแล้วตลอดทาง
ว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร จะได้เป็น case study
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 7
มันไม่มีใน 100 คน 100 หุ้น ละมั้งน้อ :lol:
ขยายความครับ ป้องกันการงง
samart ขายสามารถคอมเทคให้ samtel ในราคา 875.7 ล้าน โดย samtel ออกหุ้นเพิ่มทุนให้ samart 80 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5 บาท (dilution เต็มๆ) ที่เหลือก็กู้เอา ราคาซื้อคิดเป็น 5.7 เท่าของ book และ samtel ต้องบันทึกส่วนเกินของเงินลงทุนในบริษัทย่อยสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีติดลบ 675.7 ล้าน ผลดีจากการกระทำเช่นนี้คือ
1. samart ได้กำไรแน่นอนจากการขายกิจการราคาแพง
2. samtel จะมีกำไรเพิ่มขึ้นเพราะรวมงบ
3. ผู้ถือหุ้นก็ happy เพราะกำไรวิ่งหุ้นก็วิ่ง (แต่ไม่รู้ว่ารายใหญ่กับรายย่อยใคร happy กว่ากัน)
สิ่งที่ต้องแลกมาคืองบดุลที่เน่าขึ้นของ samtel (งบรวม) ปกติการซื้อกิจการย่อมเร่งกำไรบริษัทให้สูงขึ้นได้ 4 ไตรมาสติดๆ กัน แต่ของจริงนั้นจะออกในไตรมาสที่ 5 (555555.............)
ขยายความครับ ป้องกันการงง
samart ขายสามารถคอมเทคให้ samtel ในราคา 875.7 ล้าน โดย samtel ออกหุ้นเพิ่มทุนให้ samart 80 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5 บาท (dilution เต็มๆ) ที่เหลือก็กู้เอา ราคาซื้อคิดเป็น 5.7 เท่าของ book และ samtel ต้องบันทึกส่วนเกินของเงินลงทุนในบริษัทย่อยสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีติดลบ 675.7 ล้าน ผลดีจากการกระทำเช่นนี้คือ
1. samart ได้กำไรแน่นอนจากการขายกิจการราคาแพง
2. samtel จะมีกำไรเพิ่มขึ้นเพราะรวมงบ
3. ผู้ถือหุ้นก็ happy เพราะกำไรวิ่งหุ้นก็วิ่ง (แต่ไม่รู้ว่ารายใหญ่กับรายย่อยใคร happy กว่ากัน)
สิ่งที่ต้องแลกมาคืองบดุลที่เน่าขึ้นของ samtel (งบรวม) ปกติการซื้อกิจการย่อมเร่งกำไรบริษัทให้สูงขึ้นได้ 4 ไตรมาสติดๆ กัน แต่ของจริงนั้นจะออกในไตรมาสที่ 5 (555555.............)
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 8
หัวข้อเป็น SAMART & SIM ก็ไหลไป SAMTEL ซะได้ ถ้าสนใจธุรกิจขายมือถือ ลองพิจารณา TWZ ดูมั้ยครับ ผมยังขำอยู่เลยตอน IPO ที่ผู้บริหารบอก มั่นใจ เหนือจอง (3.80 บาท) เข้าตลาดก็หลุดจองทันทีจนต่ำกว่า 3 บาทอยู่พักนึง แต่แพลบเดียวก็วิ่งปรู๊ดเหมือนมีผีมาฉุด เข้าใจว่าอาจเป็นผีกระสือเพราะเป็นผีไทยๆ ชนิดเดียวที่มีกลไกต้านแรงโน้มถ่วงบริเวณขดลำไส้ ตอนนี้อยู่แถวๆ 17 บาท ตอนนี้รอดูอยู่ว่าครบ silent แล้วจะมีผีมาผลักหรือไม่ :mrgreen:
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 9
นับถือๆ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 10
Ryuga เขียน:มันไม่มีใน 100 คน 100 หุ้น ละมั้งน้อ :lol:
ขยายความครับ ป้องกันการงง
samart ขายสามารถคอมเทคให้ samtel ในราคา 875.7 ล้าน โดย samtel ออกหุ้นเพิ่มทุนให้ samart 80 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5 บาท (dilution เต็มๆ) ที่เหลือก็กู้เอา ราคาซื้อคิดเป็น 5.7 เท่าของ book และ samtel ต้องบันทึกส่วนเกินของเงินลงทุนในบริษัทย่อยสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีติดลบ 675.7 ล้าน ผลดีจากการกระทำเช่นนี้คือ
1. samart ได้กำไรแน่นอนจากการขายกิจการราคาแพง
2. samtel จะมีกำไรเพิ่มขึ้นเพราะรวมงบ
3. ผู้ถือหุ้นก็ happy เพราะกำไรวิ่งหุ้นก็วิ่ง (แต่ไม่รู้ว่ารายใหญ่กับรายย่อยใคร happy กว่ากัน)
สิ่งที่ต้องแลกมาคืองบดุลที่เน่าขึ้นของ samtel (งบรวม) ปกติการซื้อกิจการย่อมเร่งกำไรบริษัทให้สูงขึ้นได้ 4 ไตรมาสติดๆ กัน แต่ของจริงนั้นจะออกในไตรมาสที่ 5 (555555.............)
เสกกำไรขึ้นมาเฉยๆ เลยนิ non-cash transaction ยกเว้นเงินกู้ซึ่งเป็น other people's cash :shock:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 11
samart รับรู้กำไรของสามารถคอมเทคในฐานะบริษัทย่อยตัวเอง กับรับรู้ผ่าน samtel ซึ่งเป็นบริษัทย่อยตัวเองเหมือนกัน มันจะต่างกันตรงไหน เพียงแต่ทำแบบนี้เป็นการสร้างกำไรหลายชั้นเพื่อผลสุดท้ายคือ market cap ของหุ้นเขา ผมถึงบอกว่าผมวิจารณ์เขาเสียๆ หายๆ ไง
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลุ่ม samart ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ Q3/46 กำไรทั้งกลุ่มก็ดีขึ้นตลอด เพราะสามารถขยับขยายการลงทุนใหม่ๆ ได้ แต่ผมก็ไม่ค่อยไว้ใจเท่าไหร่ ใครถือหุ้นเขาอยู่ก็พิจารณาให้รอบคอบนะครับ มันอาจจะน่าลงทุนก็ได้เพียงแต่ผมฝอยไปตามประสาเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลุ่ม samart ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ Q3/46 กำไรทั้งกลุ่มก็ดีขึ้นตลอด เพราะสามารถขยับขยายการลงทุนใหม่ๆ ได้ แต่ผมก็ไม่ค่อยไว้ใจเท่าไหร่ ใครถือหุ้นเขาอยู่ก็พิจารณาให้รอบคอบนะครับ มันอาจจะน่าลงทุนก็ได้เพียงแต่ผมฝอยไปตามประสาเท่านั้นเอง
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 13
ชอบครับชอบ :lol:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 99
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 15
อันนี้ก๊อปเค้ามาให้อ่านเผื่อจะเป็นประโยชน์ครับ
http://www.telewizmall.com/board/news/n ... 8/238.html
เจาะยุทธศาสตร์วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ สยายปีกสามารถคอร์ป
หลังมั่นใจว่าปีนี้กลุ่มสามารถจะทำรายได้เกินกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เปิดยุทธศาสตร์การเติบโตที่ยั่งยืนเริ่มตั้งแต่ปลายปีนี้ต่อต้นปีหน้า ประเดิมปรับแผนธุรกิจรุกบริการเซอร์วิสโพรวายเดอร์ ด้วยการขอไลเซนส์กทช. แตกไลน์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร ให้ไร้รอยต่อด้านแนวคิดระหว่างระดับบนกับระดับล่าง
ครึ่งปีหลังกลุ่มสามารถ?
หลังจากดูแนวโน้มหลายๆอย่างจะมีการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ใหม่เพื่อเตรียมสำหรับต้นปีหน้า ครึ่งปีหลังกิจกรรมการตลาดคงไม่เปลี่ยนมาก ถ้าเป็นไอ-โมบายก็เน้นเรื่องโทรศัพท์มือถือที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ จะออกหลายรุ่นช่วงปลายปีนี้ ไตรมาส4จะมีมือถือที่ไม่เหมือนใคร
แต่สิ่งสำคัญที่เตรียมไว้คือจะรุกหนักการเป็นเซอร์วิส โพรวายเดอร์ เพราะกทช.เปิดกว้างมากขึ้นในการเช่าโครงข่าย มี VoIP แล้ว แต่เราจะไม่เข้าไปลงทุนเน็ตเวิร์กใหญ่ๆ คงอาศัยแอปพลิเคชั่น ที่มีอยู่ในเครือมาใช้ประโยชน์ ปลายปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากเพื่อเอาไปใช้ต้นปีหน้า ตอนนี้เตรียมแผนสำหรับปีหน้าแล้ว
ส่วนผลประกอบการรวมๆแล้วปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะไม่ค่อยซัพพอร์ตเท่าไหร่ แต่จากการที่ไปขยายการลงทุนต่างประเทศซึ่งมีการเติบโตที่ค่อนข้างดีกว่าที่คิด ถ้าแยกพูดแต่ละกลุ่ม โดยที่ไอ-โมบายเน้นมือถือและจะไปขยายตัวสามารถมัลติมีเดียมากขึ้น จะเห็นชัด 1-2เดือน มีเว็บไซต์ใหม่ๆ เป็นการอินทริเกตแอปพลิเคชั่นแล้ว แต่ก่อนขายมือถือก็มีคอนเทนต์ใส่เข้าไป แต่ตอนนี้จะมีแอปพลิเคชั่นใหม่ๆใส่เข้าไป ไม่ใช่แค่มือถือฟังเพลง กระตุ้นให้คนอยากเปลี่ยนมือถือ และต่อไปเน้นบริการที่จะทำให้มีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น
ไอ-โมบาย ขาหนึ่งเป็นมือถือ ขาหนึ่งเป็นคอนเทนต์ อีกขาเป็นการลงทุนต่างประเทศ ต่อไปจะมีขาที่ 4 คือการเป็นเซอร์วิสโพรวายเดอร์ หารายได้ประจำ อย่างไทยโมบายที่มีรายได้เข้ามา ต่อไปจะมีมากขึ้นรูปแบบใกล้ลงตัวแล้ว อยู่ระหว่าง Approach หาพันธมิตร จะชัดเจนในไตรมาสสี่ถือเป็นนโยบายของกลุ่มสามารถที่ต้องหารายได้ลักษณะประจำ ระยะยาวไม่ใช่แค่เทรดดิ้งหรือประมูลงาน เพราะถึงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ผลประกอบการดี ก็ทำให้เราตุนความได้เปรียบตรงนี้เพื่อรอโอกาสสำหรับการก้าวกระโดดอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
เราไม่ได้มองแค่ก้าวกระโดดในประเทศ แต่มองก้าวกระโดดในต่างประเทศ วิชั่นสามารถไม่ได้มองแค่ Domesticอีกต่อไปแล้ว แต่จะมอง Global มากขึ้น มอง Regional มากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ว่าเราทำได้ ธุรกิจต่างประเทศกลับฟื้นตัวได้เร็วกว่า อย่างมาเลเซียไปลงทุน 2 ปี ปีแรกขาดทุนแต่ปีสองกำไรแล้วถึงจุดคุ้มทุนแล้ว ตอนนี้มีกำไรทุกเดือน หรืออินโดนีเซียเพิ่งเริ่มมิถุนายน แต่ปีหน้าจะเริ่มมีกำไร หรือแอร์ทราฟิกคอนโทรล ปีแรกก็มีกำไรเลย
ผลประกอบการของไอ-โมบายก็ดี เติบโตเรื่อยๆ แต่เราระมัดระวังในการทำตลาดพอสมควร ควบคุมค่าใช้จ่าย พยายามสร้างแบรนด์ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น ปัจจุบันลงทุนอีก 20 กว่าล้านบาทเปิดศูนย์บริการในต่างจังหวัดมากขึ้น ขายเดือนละแสนกว่าเครื่องต้องดูเรื่องบริการให้ดี ตอนนี้ไอ-โมบาย มีช่องทางการจัดจำหน่ายกว่า 359 แห่งทั่วประเทศ i-mobile shop 74 สาขา consignment outlet (ฝากขาย) 137 แห่ง ไอ-โมบาย แฟรนไชส์ ช็อป 46 สาขา ไอ-โมบาย แฟรนไชส์ คิออส 102 จุด
สำหรับ i-mobile shop (74 สาขา) มีศูนย์ซ่อม/บริการลูกค้า (Service center) จำนวน 18 สาขาส่วนสาขาอื่นๆ ลูกค้าสามารถส่งเครื่องซ่อมได้ (Drop-off point) โดยสาขานั้นๆ จะส่งต่อไปยังศูนย์ซ่อม
มือถือไอ-โมบายขายดีมากตอนนี้?
คอนเซ็ปต์ไอ-โมบายช่วงหลัง จากที่เราอยู่กับผู้บริโภค ไม่ใช่เป็นการที่ผู้ผลิตเอาสินค้ามาติดยี่ห้อเราเหมือน OEM แต่จะบอกโรงงานต่างๆว่าเราต้องการอะไร แล้วให้ผลิตตามสเปก อย่างตอนนี้ออกรุ่น 8 ล้านพิกเซล ซึ่งแนวทางนี้ถือว่าประสบความสำเร็จพอควรเหมือนบอกผู้ผลิตว่าอยากได้โทรศัพท์มือถือแต่เท่าเอ็มพี 3 เราใกล้ชิดตลาด ต้องเอาความต้องการผู้บริโภคเป็นตัวนำ ไม่ใช่เอ็นจิเนียร์มานำ ซึ่งปลายปีนี้จะออกอีก 10 กว่ารุ่น จับตลาดแมส ระดับราคา 3 พันบาทมากขึ้นต่อไปจะมองตลาดต่างประเทศพวกตลาดเกิดใหม่ไม่ยึดติดกับแบรนด์ และไม่ใช่ในภูมิภาคนี้อย่างอัฟริกา อินเดีย
สายธุรกิจอื่น มีแผนอย่างไรบ้าง?
แซมเทล ทำด้านไอทีเทเลคอม งานประมูลก็ทำไปเรื่อยๆ ในครึ่งปีหลังก็มีงานประมูลรัฐวิสาหกิจ 2-3 พันล้านบาท แต่ต้องมองหารายได้ที่จะเป็นระยะยาว อีก 1-2 เดือนจะเห็นบริการใหม่ๆส่วนด้านด้านโทรคม จะเข้าไปขอไลเซนส์กทช.หลายอันเหมือนกันอย่าง VoIP กำลังศึกษารูปแบบอยู่เพราะต้องไปอาศัยเครือข่ายกสท ในช่วงต้น แต่รูปแบบบริการต้องฉีกออกไป ต้องประสานงานกับไอ-โมบายที่มีมือถือ มีคอนเทนต์ มีอะไรใหม่ๆ มาใช้ตรงนั้น
ส่วนสามารถคอร์ป ครึ่งปีหลังจะมีงานด้าน Waste Management หรือ Waste to Energy 2-3 โครงการน่าจะเสร็จ โครงการที่สุวรรณภูมิก็ดังไปแล้ว แต่ไม่ได้มีอะไร จริงๆแล้ว เราพูดมาตั้งปีหนึ่งแล้วว่าสามารถจะเข้าสู่ธุรกิจพวกนี้ ไม่ใช่อยู่ดีๆกระโดดจากโทรคมไป อย่างเราทำแอร์ทราฟิกคอนโทรล หรือทำโรงไฟฟ้าที่เขมรก็ทำแล้ว ลงทุนตั้งพันล้าน และการที่เข้าประมูลที่สุวรรณภูมิเราก็ไม่ได้เข้าคนเดียว เป็นคอนซอร์เตี้ยมมีบริษัท โปรเวสต์ มีธรรมสรณ์ ที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว ซึ่งมองว่าธุรกิจนี้มีอนาคตแล้วคู่แข่งขันไม่เยอะ ต่อไปบ้านเมืองมันต้องมีพวกนี้เยอะ ไม่ใช่กำจัดขยะอย่างเดียว ต่อไปขยะอิเล็กทรอนิกส์อีก พวกมือถือเละ ๆ จะทำอย่างไร จอมอนิเตอร์จะเอาไปทำอะไร เกิดอะไรกับมลภาวะซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของเราว่าต่อไปจะทำอะไร ไม่ใช่หยุดแค่ตรงนี้ แต่จะเป็นสิ่งที่ให้ทำธุรกิจต่อเนื่องอีกหลายอย่าง หรือแม้กระทั่งโรงไฟฟ้า ไม่ได้มองแค่พลังงานน้ำมันหรือถ่านหิน แต่มองถึงพลังงานทดแทน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์แต่ระบบไม่ใช่แบบโซล่าตรอน
อีกอันที่ทำต่อเนื่องคือเรื่องบรอดคาสติ้ง ซึ่งสามารถวิศวกรรมทำจาน ต้องหาทางทำอย่างไรให้ทีวีเมืองไทยมีช่องดูเยอะๆ มีอีกหลายหน่วยงานอยากมีทีวีของตัวเอง ซึ่งจะทำให้จานขายได้ ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของสามารถต้องทำต่อไป แต่ต้องให้มีการเติบโตต่อไป อีกไม่กี่เดือนจะเห็นเป็นรูปเป็นร่าง
สามารถคอร์ปแตกตัวไปมาก?
เป็นนโยบายที่สามารถต้องไปหาธุรกิจใหม่ทำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่ไอ-โมบาย หรือแซมเทล ต้องเลี้ยงตัวเองได้ หาเงินทุนเอง ต่อไปเมื่อเราจัด Waste กับ Energy พ่วง Utilities ได้แล้ว ก็ต้องไปเลี้ยงตัวเอง ต่อไปธุรกิจอื่นๆอย่างคอลเซ็นเตอร์ ปัจจุบันอยู่ใต้สามารถ 100% ตอนนี้ดีขึ้นมากมีรายได้ปีละ 500 ล้านบาท ต่อไปเป็นพันๆล้าน ทำให้เป็นอันดับหนึ่งได้หรือไม่ ต้องแยกออกไป หาทุนเอง เป็นการกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนธุรกิจของสามารถ
แต่เราไม่ได้แตกตัวไปโดยไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี อย่างอุตสาหกรรมอาหารหรือเกษตร แต่ไม่ได้ลิมิตตัวเองเฉพาะโทรคมอีกต่อไป ซึ่งต้องดูว่ามีการใช้เทคโนโลยีเป็นเมนหลักหรือไม่
ทีมบริหารสามารถแข็งแรงขนาดไหน?
ต้องเติมอีกเยอะ บุคลากรเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงคน วัฒนธรรม เพราะแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกันเลย โดยเฉพาะการบริหารคน แต่สามารถดีอย่างหนึ่งเพราะมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวได้เร็ว ไม่ได้เป็นองค์กรที่เชื่องช้า ผสมผสานองค์กรที่เป็นแบบแฟมิลี่ กับมืออาชีพ ไม่ได้อิงแบบใดแบบหนึ่งเกินไป ข้อดีอีกอย่างคือคนส่วนใหญ่อยู่มานาน รักองค์กร พร้อมที่จะต่อสู้ เพื่อความก้าวหน้า ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผมว่าคนยังอยู่มากกว่าครึ่ง ที่อยู่กันมาเป็นสิบๆปี
แต่เราต้องปรับปรุงคุณภาพผู้บริหารเราอีกเยอะเช่นความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างคุณสมชายที่อยู่เขมร ตอนนี้ต้องไปเรียนรู้เรื่อง Waste เรื่องโรงไฟฟ้า ต้องหูตากว้างไกลพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ได้ยึดติดอยู่ในกรอบ ต้องสร้างความคิดใหม่ๆให้พนักงานและผู้บริหาร
ลงทุนเรื่องเทรนนิ่งเรื่องระบบไปมากแล้ว ซึ่งถือว่าสามารถแข็งแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ก็ยังไม่พอใจน่าจะทำอะไรได้ดีกว่านี้อีกเยอะ เพราะองค์กรเราใหญ่ขึ้นมากมีพนักงาน 4 พันคนแล้ว ต้องทำโมเดลใหม่ ท้าทายผู้บริหารมากขึ้นไม่ได้มีแบบโบนัสปกติ ต้องมี intensive อะไรอีกหลายอย่าง ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนองค์กรมาก ในการเข้าสู่ธุรกิจอีกหลายแบบ บุคลากรเป็นส่วนที่สำคัญ ตอนนี้เงินทุนเป็นส่วนที่สำคัญรองลงมาแล้ว เพราะสามารถเน้นเรื่องอินโนเวชั่น จะทำอย่างไรให้พนักงานมีความคิดอ่านของตัวเอง สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆออกมา ไม่ใช่อยู่แต่เดิมๆรอเจ้านายสั่ง ต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ
ปีหน้าเน้นเรื่อง Synergy แต่ละอันก็มีข้อดี ทำอย่างไรให้มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ได้มากที่สุดทั้งแง่ธุรกิจและภายในองค์กรด้วยกันเอง พยายามไม่ให้นึกว่าเป็นซิม หรือเป็นแซมเทล ทุกคนเป็นพี่น้องกันนามสกุลเดียวกัน
ตอนนี้มีอะไรหนักใจบ้าง?
ทำไม่ทัน เพราะตอนนี้มีช่องห่างระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับระดับล่าง ซึ่งต้องเติมในส่วนของผู้บริหารระดับกลางให้มากขึ้น ไม่อย่างนั้นมันจะตามไม่ทัน ในความคิดอ่านผู้บริหาร เพราะต้องทำให้คนระดับกลางเข้าใจทิศทางบริษัท ต้องปรับตัวเองอย่างไร เพราะองค์กรโตเร็ว ต้องให้เวลาพูดคุยกับผู้บริหารมากขึ้น ถึงแม้ผลประกอบการจะดีขนาดเกิน 2.5 หมื่นล้านบาท ที่ต้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนตั้งแต่วิกฤตหรือตั้งแต่ก่อตั้ง แต่จะทำอย่างไรให้รักษาได้นานที่สุด ครึ่งปีหลังทุกคนต้องทำงานหนักกว่าครึ่งปีแรก
ในแง่ความสัมพันธ์การเมืองกับงานประมูล?
เราทำงานประมูลมาเป็นสิบๆปี ไม่ว่าจะประมูลจานดาวเทียม ประมูลสนามบิน ถ้าพูดตรงๆก็ด้วยความสามารถ ด้วยราคา แต่ในเมืองไทยก็มีเรื่องพูดกันไปหลายอย่าง แต่เราพยายามทำให้ถูกต้อง เรื่องคอนเน็กชั่นที่พูดกัน ไม่ได้เฉพาะงานประมูล เมืองไทยส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้นกัน ใครทำอะไร ไม่ใช่รู้จักแค่นักการเมืองกลุ่มนั้นกลุ่มนี้คนเดียว ความที่อยู่ในงานประมูล ก็จะถูกมองว่ามีคอนเน็กชั่นบ้าง อะไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่ เราก็ไม่เคยประมูลแล้วราคาแพงกว่า รัฐก็ได้ประโยชน์ ไม่เคยถูกต่อว่าแพงกว่าเอาเปรียบ ไทยโมบายได้มาแต่ขาดทุนด้วย
ถ้ามีคอนเน็กชั่นดี รู้จักเจ๊โน้น เจ๊นี้ ทำไมผมตกหัวเหว่ย งานซีดีเอ็มเอ ผิดสเปกเลย ตกคนแรกเลย เรายังจะไปฟ้องศาลปกครองขอความยุติธรรม แต่พอเปิดราคามาแล้ว ถูกกว่าที่คิดตั้งเยอะแยะ ก็ไม่จำเป็นต้องไปฟ้อง เพราะรัฐได้ประโยชน์ เราก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นให้โครงการล่าช้า ถ้าผมเส้นดีจริงๆ งานนั้นก็ต้องได้แล้วตั้ง 7-8 พันล้าน เราก็อยากได้ การต้องรู้จักคนในวงการนี้ต้องมีแน่นอน เพราะให้ความยุติธรรมกับเราได้ แต่ต้องประมูลงานได้ด้วยความสามารถของเราเองด้วย ไม่ใช่ชนะเพราะคอนเน็กชั่นอย่างเดียว
http://www.telewizmall.com/board/news/n ... 8/238.html
เจาะยุทธศาสตร์วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ สยายปีกสามารถคอร์ป
หลังมั่นใจว่าปีนี้กลุ่มสามารถจะทำรายได้เกินกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เปิดยุทธศาสตร์การเติบโตที่ยั่งยืนเริ่มตั้งแต่ปลายปีนี้ต่อต้นปีหน้า ประเดิมปรับแผนธุรกิจรุกบริการเซอร์วิสโพรวายเดอร์ ด้วยการขอไลเซนส์กทช. แตกไลน์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร ให้ไร้รอยต่อด้านแนวคิดระหว่างระดับบนกับระดับล่าง
ครึ่งปีหลังกลุ่มสามารถ?
หลังจากดูแนวโน้มหลายๆอย่างจะมีการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ใหม่เพื่อเตรียมสำหรับต้นปีหน้า ครึ่งปีหลังกิจกรรมการตลาดคงไม่เปลี่ยนมาก ถ้าเป็นไอ-โมบายก็เน้นเรื่องโทรศัพท์มือถือที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ จะออกหลายรุ่นช่วงปลายปีนี้ ไตรมาส4จะมีมือถือที่ไม่เหมือนใคร
แต่สิ่งสำคัญที่เตรียมไว้คือจะรุกหนักการเป็นเซอร์วิส โพรวายเดอร์ เพราะกทช.เปิดกว้างมากขึ้นในการเช่าโครงข่าย มี VoIP แล้ว แต่เราจะไม่เข้าไปลงทุนเน็ตเวิร์กใหญ่ๆ คงอาศัยแอปพลิเคชั่น ที่มีอยู่ในเครือมาใช้ประโยชน์ ปลายปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากเพื่อเอาไปใช้ต้นปีหน้า ตอนนี้เตรียมแผนสำหรับปีหน้าแล้ว
ส่วนผลประกอบการรวมๆแล้วปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะไม่ค่อยซัพพอร์ตเท่าไหร่ แต่จากการที่ไปขยายการลงทุนต่างประเทศซึ่งมีการเติบโตที่ค่อนข้างดีกว่าที่คิด ถ้าแยกพูดแต่ละกลุ่ม โดยที่ไอ-โมบายเน้นมือถือและจะไปขยายตัวสามารถมัลติมีเดียมากขึ้น จะเห็นชัด 1-2เดือน มีเว็บไซต์ใหม่ๆ เป็นการอินทริเกตแอปพลิเคชั่นแล้ว แต่ก่อนขายมือถือก็มีคอนเทนต์ใส่เข้าไป แต่ตอนนี้จะมีแอปพลิเคชั่นใหม่ๆใส่เข้าไป ไม่ใช่แค่มือถือฟังเพลง กระตุ้นให้คนอยากเปลี่ยนมือถือ และต่อไปเน้นบริการที่จะทำให้มีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น
ไอ-โมบาย ขาหนึ่งเป็นมือถือ ขาหนึ่งเป็นคอนเทนต์ อีกขาเป็นการลงทุนต่างประเทศ ต่อไปจะมีขาที่ 4 คือการเป็นเซอร์วิสโพรวายเดอร์ หารายได้ประจำ อย่างไทยโมบายที่มีรายได้เข้ามา ต่อไปจะมีมากขึ้นรูปแบบใกล้ลงตัวแล้ว อยู่ระหว่าง Approach หาพันธมิตร จะชัดเจนในไตรมาสสี่ถือเป็นนโยบายของกลุ่มสามารถที่ต้องหารายได้ลักษณะประจำ ระยะยาวไม่ใช่แค่เทรดดิ้งหรือประมูลงาน เพราะถึงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ผลประกอบการดี ก็ทำให้เราตุนความได้เปรียบตรงนี้เพื่อรอโอกาสสำหรับการก้าวกระโดดอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
เราไม่ได้มองแค่ก้าวกระโดดในประเทศ แต่มองก้าวกระโดดในต่างประเทศ วิชั่นสามารถไม่ได้มองแค่ Domesticอีกต่อไปแล้ว แต่จะมอง Global มากขึ้น มอง Regional มากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ว่าเราทำได้ ธุรกิจต่างประเทศกลับฟื้นตัวได้เร็วกว่า อย่างมาเลเซียไปลงทุน 2 ปี ปีแรกขาดทุนแต่ปีสองกำไรแล้วถึงจุดคุ้มทุนแล้ว ตอนนี้มีกำไรทุกเดือน หรืออินโดนีเซียเพิ่งเริ่มมิถุนายน แต่ปีหน้าจะเริ่มมีกำไร หรือแอร์ทราฟิกคอนโทรล ปีแรกก็มีกำไรเลย
ผลประกอบการของไอ-โมบายก็ดี เติบโตเรื่อยๆ แต่เราระมัดระวังในการทำตลาดพอสมควร ควบคุมค่าใช้จ่าย พยายามสร้างแบรนด์ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น ปัจจุบันลงทุนอีก 20 กว่าล้านบาทเปิดศูนย์บริการในต่างจังหวัดมากขึ้น ขายเดือนละแสนกว่าเครื่องต้องดูเรื่องบริการให้ดี ตอนนี้ไอ-โมบาย มีช่องทางการจัดจำหน่ายกว่า 359 แห่งทั่วประเทศ i-mobile shop 74 สาขา consignment outlet (ฝากขาย) 137 แห่ง ไอ-โมบาย แฟรนไชส์ ช็อป 46 สาขา ไอ-โมบาย แฟรนไชส์ คิออส 102 จุด
สำหรับ i-mobile shop (74 สาขา) มีศูนย์ซ่อม/บริการลูกค้า (Service center) จำนวน 18 สาขาส่วนสาขาอื่นๆ ลูกค้าสามารถส่งเครื่องซ่อมได้ (Drop-off point) โดยสาขานั้นๆ จะส่งต่อไปยังศูนย์ซ่อม
มือถือไอ-โมบายขายดีมากตอนนี้?
คอนเซ็ปต์ไอ-โมบายช่วงหลัง จากที่เราอยู่กับผู้บริโภค ไม่ใช่เป็นการที่ผู้ผลิตเอาสินค้ามาติดยี่ห้อเราเหมือน OEM แต่จะบอกโรงงานต่างๆว่าเราต้องการอะไร แล้วให้ผลิตตามสเปก อย่างตอนนี้ออกรุ่น 8 ล้านพิกเซล ซึ่งแนวทางนี้ถือว่าประสบความสำเร็จพอควรเหมือนบอกผู้ผลิตว่าอยากได้โทรศัพท์มือถือแต่เท่าเอ็มพี 3 เราใกล้ชิดตลาด ต้องเอาความต้องการผู้บริโภคเป็นตัวนำ ไม่ใช่เอ็นจิเนียร์มานำ ซึ่งปลายปีนี้จะออกอีก 10 กว่ารุ่น จับตลาดแมส ระดับราคา 3 พันบาทมากขึ้นต่อไปจะมองตลาดต่างประเทศพวกตลาดเกิดใหม่ไม่ยึดติดกับแบรนด์ และไม่ใช่ในภูมิภาคนี้อย่างอัฟริกา อินเดีย
สายธุรกิจอื่น มีแผนอย่างไรบ้าง?
แซมเทล ทำด้านไอทีเทเลคอม งานประมูลก็ทำไปเรื่อยๆ ในครึ่งปีหลังก็มีงานประมูลรัฐวิสาหกิจ 2-3 พันล้านบาท แต่ต้องมองหารายได้ที่จะเป็นระยะยาว อีก 1-2 เดือนจะเห็นบริการใหม่ๆส่วนด้านด้านโทรคม จะเข้าไปขอไลเซนส์กทช.หลายอันเหมือนกันอย่าง VoIP กำลังศึกษารูปแบบอยู่เพราะต้องไปอาศัยเครือข่ายกสท ในช่วงต้น แต่รูปแบบบริการต้องฉีกออกไป ต้องประสานงานกับไอ-โมบายที่มีมือถือ มีคอนเทนต์ มีอะไรใหม่ๆ มาใช้ตรงนั้น
ส่วนสามารถคอร์ป ครึ่งปีหลังจะมีงานด้าน Waste Management หรือ Waste to Energy 2-3 โครงการน่าจะเสร็จ โครงการที่สุวรรณภูมิก็ดังไปแล้ว แต่ไม่ได้มีอะไร จริงๆแล้ว เราพูดมาตั้งปีหนึ่งแล้วว่าสามารถจะเข้าสู่ธุรกิจพวกนี้ ไม่ใช่อยู่ดีๆกระโดดจากโทรคมไป อย่างเราทำแอร์ทราฟิกคอนโทรล หรือทำโรงไฟฟ้าที่เขมรก็ทำแล้ว ลงทุนตั้งพันล้าน และการที่เข้าประมูลที่สุวรรณภูมิเราก็ไม่ได้เข้าคนเดียว เป็นคอนซอร์เตี้ยมมีบริษัท โปรเวสต์ มีธรรมสรณ์ ที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว ซึ่งมองว่าธุรกิจนี้มีอนาคตแล้วคู่แข่งขันไม่เยอะ ต่อไปบ้านเมืองมันต้องมีพวกนี้เยอะ ไม่ใช่กำจัดขยะอย่างเดียว ต่อไปขยะอิเล็กทรอนิกส์อีก พวกมือถือเละ ๆ จะทำอย่างไร จอมอนิเตอร์จะเอาไปทำอะไร เกิดอะไรกับมลภาวะซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของเราว่าต่อไปจะทำอะไร ไม่ใช่หยุดแค่ตรงนี้ แต่จะเป็นสิ่งที่ให้ทำธุรกิจต่อเนื่องอีกหลายอย่าง หรือแม้กระทั่งโรงไฟฟ้า ไม่ได้มองแค่พลังงานน้ำมันหรือถ่านหิน แต่มองถึงพลังงานทดแทน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์แต่ระบบไม่ใช่แบบโซล่าตรอน
อีกอันที่ทำต่อเนื่องคือเรื่องบรอดคาสติ้ง ซึ่งสามารถวิศวกรรมทำจาน ต้องหาทางทำอย่างไรให้ทีวีเมืองไทยมีช่องดูเยอะๆ มีอีกหลายหน่วยงานอยากมีทีวีของตัวเอง ซึ่งจะทำให้จานขายได้ ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของสามารถต้องทำต่อไป แต่ต้องให้มีการเติบโตต่อไป อีกไม่กี่เดือนจะเห็นเป็นรูปเป็นร่าง
สามารถคอร์ปแตกตัวไปมาก?
เป็นนโยบายที่สามารถต้องไปหาธุรกิจใหม่ทำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่ไอ-โมบาย หรือแซมเทล ต้องเลี้ยงตัวเองได้ หาเงินทุนเอง ต่อไปเมื่อเราจัด Waste กับ Energy พ่วง Utilities ได้แล้ว ก็ต้องไปเลี้ยงตัวเอง ต่อไปธุรกิจอื่นๆอย่างคอลเซ็นเตอร์ ปัจจุบันอยู่ใต้สามารถ 100% ตอนนี้ดีขึ้นมากมีรายได้ปีละ 500 ล้านบาท ต่อไปเป็นพันๆล้าน ทำให้เป็นอันดับหนึ่งได้หรือไม่ ต้องแยกออกไป หาทุนเอง เป็นการกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนธุรกิจของสามารถ
แต่เราไม่ได้แตกตัวไปโดยไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี อย่างอุตสาหกรรมอาหารหรือเกษตร แต่ไม่ได้ลิมิตตัวเองเฉพาะโทรคมอีกต่อไป ซึ่งต้องดูว่ามีการใช้เทคโนโลยีเป็นเมนหลักหรือไม่
ทีมบริหารสามารถแข็งแรงขนาดไหน?
ต้องเติมอีกเยอะ บุคลากรเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงคน วัฒนธรรม เพราะแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกันเลย โดยเฉพาะการบริหารคน แต่สามารถดีอย่างหนึ่งเพราะมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวได้เร็ว ไม่ได้เป็นองค์กรที่เชื่องช้า ผสมผสานองค์กรที่เป็นแบบแฟมิลี่ กับมืออาชีพ ไม่ได้อิงแบบใดแบบหนึ่งเกินไป ข้อดีอีกอย่างคือคนส่วนใหญ่อยู่มานาน รักองค์กร พร้อมที่จะต่อสู้ เพื่อความก้าวหน้า ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผมว่าคนยังอยู่มากกว่าครึ่ง ที่อยู่กันมาเป็นสิบๆปี
แต่เราต้องปรับปรุงคุณภาพผู้บริหารเราอีกเยอะเช่นความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างคุณสมชายที่อยู่เขมร ตอนนี้ต้องไปเรียนรู้เรื่อง Waste เรื่องโรงไฟฟ้า ต้องหูตากว้างไกลพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ได้ยึดติดอยู่ในกรอบ ต้องสร้างความคิดใหม่ๆให้พนักงานและผู้บริหาร
ลงทุนเรื่องเทรนนิ่งเรื่องระบบไปมากแล้ว ซึ่งถือว่าสามารถแข็งแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ก็ยังไม่พอใจน่าจะทำอะไรได้ดีกว่านี้อีกเยอะ เพราะองค์กรเราใหญ่ขึ้นมากมีพนักงาน 4 พันคนแล้ว ต้องทำโมเดลใหม่ ท้าทายผู้บริหารมากขึ้นไม่ได้มีแบบโบนัสปกติ ต้องมี intensive อะไรอีกหลายอย่าง ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนองค์กรมาก ในการเข้าสู่ธุรกิจอีกหลายแบบ บุคลากรเป็นส่วนที่สำคัญ ตอนนี้เงินทุนเป็นส่วนที่สำคัญรองลงมาแล้ว เพราะสามารถเน้นเรื่องอินโนเวชั่น จะทำอย่างไรให้พนักงานมีความคิดอ่านของตัวเอง สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆออกมา ไม่ใช่อยู่แต่เดิมๆรอเจ้านายสั่ง ต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ
ปีหน้าเน้นเรื่อง Synergy แต่ละอันก็มีข้อดี ทำอย่างไรให้มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ได้มากที่สุดทั้งแง่ธุรกิจและภายในองค์กรด้วยกันเอง พยายามไม่ให้นึกว่าเป็นซิม หรือเป็นแซมเทล ทุกคนเป็นพี่น้องกันนามสกุลเดียวกัน
ตอนนี้มีอะไรหนักใจบ้าง?
ทำไม่ทัน เพราะตอนนี้มีช่องห่างระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับระดับล่าง ซึ่งต้องเติมในส่วนของผู้บริหารระดับกลางให้มากขึ้น ไม่อย่างนั้นมันจะตามไม่ทัน ในความคิดอ่านผู้บริหาร เพราะต้องทำให้คนระดับกลางเข้าใจทิศทางบริษัท ต้องปรับตัวเองอย่างไร เพราะองค์กรโตเร็ว ต้องให้เวลาพูดคุยกับผู้บริหารมากขึ้น ถึงแม้ผลประกอบการจะดีขนาดเกิน 2.5 หมื่นล้านบาท ที่ต้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนตั้งแต่วิกฤตหรือตั้งแต่ก่อตั้ง แต่จะทำอย่างไรให้รักษาได้นานที่สุด ครึ่งปีหลังทุกคนต้องทำงานหนักกว่าครึ่งปีแรก
ในแง่ความสัมพันธ์การเมืองกับงานประมูล?
เราทำงานประมูลมาเป็นสิบๆปี ไม่ว่าจะประมูลจานดาวเทียม ประมูลสนามบิน ถ้าพูดตรงๆก็ด้วยความสามารถ ด้วยราคา แต่ในเมืองไทยก็มีเรื่องพูดกันไปหลายอย่าง แต่เราพยายามทำให้ถูกต้อง เรื่องคอนเน็กชั่นที่พูดกัน ไม่ได้เฉพาะงานประมูล เมืองไทยส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้นกัน ใครทำอะไร ไม่ใช่รู้จักแค่นักการเมืองกลุ่มนั้นกลุ่มนี้คนเดียว ความที่อยู่ในงานประมูล ก็จะถูกมองว่ามีคอนเน็กชั่นบ้าง อะไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่ เราก็ไม่เคยประมูลแล้วราคาแพงกว่า รัฐก็ได้ประโยชน์ ไม่เคยถูกต่อว่าแพงกว่าเอาเปรียบ ไทยโมบายได้มาแต่ขาดทุนด้วย
ถ้ามีคอนเน็กชั่นดี รู้จักเจ๊โน้น เจ๊นี้ ทำไมผมตกหัวเหว่ย งานซีดีเอ็มเอ ผิดสเปกเลย ตกคนแรกเลย เรายังจะไปฟ้องศาลปกครองขอความยุติธรรม แต่พอเปิดราคามาแล้ว ถูกกว่าที่คิดตั้งเยอะแยะ ก็ไม่จำเป็นต้องไปฟ้อง เพราะรัฐได้ประโยชน์ เราก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นให้โครงการล่าช้า ถ้าผมเส้นดีจริงๆ งานนั้นก็ต้องได้แล้วตั้ง 7-8 พันล้าน เราก็อยากได้ การต้องรู้จักคนในวงการนี้ต้องมีแน่นอน เพราะให้ความยุติธรรมกับเราได้ แต่ต้องประมูลงานได้ด้วยความสามารถของเราเองด้วย ไม่ใช่ชนะเพราะคอนเน็กชั่นอย่างเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 99
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 16
อันนี้แหล่งที่มาจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2197 04 มี.ค. - 07 มี.ค. 2550
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2197
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น รับเซ็งลี้ ธุรกิจ ตระกูลชินวัตร
เป็นเพราะครอบครัว "วิไลลักษณ์" กับ ครอบครัว "ชินวัตร" มีสายสัมพันธ์กันมายาวนานไล่เรียงตั้งแต่ เชิดชัย วิไลลักษณ์ ผู้พ่อของ "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์" กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งสองคนช่วยเหลือเกื้อกูลกันตั้งแต่สมัยที่ เชิดชัย บุกเบิกธุรกิจจานดาวเทียม ครั้งนั้นอดีตนายกทักษิณ ลงทุนในกิจการดาวเทียมได้เข้ามาถือหุ้นในธุรกิจจานดาวเทียมของกลุ่มสามารถ
หากแต่มาถึงรุ่นลูกคือ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เข้ามาบริหารธุรกิจแทน เชิดชัย วิไลลักษณ์ พร้อมกับลงทุนก้อนโตในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ให้บริการภายใต้ชื่อ "Hello 1800" มีอันต้องประสบปัญหาการลงทุนและตัดใจขายธุรกิจ ซึ่งบุคคลที่เข้ามาซื้อกิจการ ดีพีซี ก็ไม่ใช่ใครอื่นนั้นคือครอบครัว "ชินวัตร" ซึ่งก่อนหน้านั้นยังถือครองหุ้นในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ครั้นครอบครัว "ชินวัตร" ประสบปัญหาชีวิตกรณีขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้งจากประเทศสิงคโปร์ จุดชนวนให้กองทัพพันธมิตรยกพลขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จนต้องกระเด็นจากอำนาจ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจของครอบครัวอดีตนายกฯทักษิณ ตลอดจนเครือญาติ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าครอบครัว "วิไลลักษณ์" เป็นครอบครัวลำดับต้น ๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนกรณีที่ บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ในเครือคอมลิงค์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทของน้องสาวอดีตนายกฯทักษิณ กลุ่มสามารถก็เข้าไปซื้อกิจการทั้งหมด หรือก่อนนั้นก็เคยยื่นมือเข้าไป
รับซื้อหุ้นบริษัท ทราฟฟิก คอนเนอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ของ"เจ๊แดง" เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ กลุ่มสามารถมีรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกัน
ที่สำคัญไปกว่านั้นกรณีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ออกมาทวงคืน "ดาวเทียมไทยคม" ปัจจุบันตกไปเป็นสมบัติของกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้ง จากประเทศสิงคโปร์ ชื่อของกลุ่มสามารถก็ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาทันทีว่าสนใจที่จะเข้าไปร่วมทุน
ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งตัวเลข และ ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ลงตัวเชื่อได้เลยว่า "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์" บิ๊กบอสกลุ่มสามารถคอร์ปฯ ยอมควักกระเป๋าเข้าไปถือหุ้นใน บมจ.ชินแซทเทิลไลท์ จากกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้งก็ได้
อย่างนี้เขาเรียกว่าบุญคุณต้องทดแทน
ไม่ขอวิจารณ์เกี่ยวกับ Hello 1800 แต่อยากให้ดูบทวิเคราะห์ของโบรกต่างๆที่พูดถึงกรณีบริษัทเข้าไปเจรจาซื้อบริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ในเครือคอมลิงค์ฯ น่าจะพิมพ์ผิดเป็น MLINK มากกว่าว่าบริษัทจะมี synergy อะไรบ้าง หรือ Shin Sat ทีสามารถเป็นลูกค้ารายใหญ่รวมถึง Shin Sat ที่ถือบริษัท CSL ทางอ้อมที่ทำธุรกิจสมุดหน้าเหลืองซึ่งอาจจะมาเสริมธุรกิจของ Bug 1113 หรือ ธุรกิจ internet ความเร็วสูง ซึ่งก็เป็นธุรกิจเดียวกันกับที่ SAMART ทำอยู่
ส่วนตัวไม่ค่อยสนใจเรื่องรายการระหว่างกันที่ดูแล้วไม่มีความผิดปรกติเรื่องราคา (บริษัทหนึ่งได้ประโยชน์และอีกหนึ่งบริษัทหรือรายย่อยเสียประโยชน์)
ASCON เห็นว่ามีการสร้างโรงไฟฟ้าที่เขมรและธุรกิจอื่นๆมีการก่อสร้างพอสมควรก็น่าที่จะมี Synergy
TRAF อาจจะเรื่องลิขสิทธิ football ช่วงนั้นที่มีการร่วมมือกับ Siam sport
ผิด ถูก อย่างไรขออภัยด้วย (อาจจะมี BIAS เพราะถือในเครือนี้เกือบทุกตัวเพราะคิดว่า ศึกษาและติดตามมาพอสมควร)
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2197
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น รับเซ็งลี้ ธุรกิจ ตระกูลชินวัตร
เป็นเพราะครอบครัว "วิไลลักษณ์" กับ ครอบครัว "ชินวัตร" มีสายสัมพันธ์กันมายาวนานไล่เรียงตั้งแต่ เชิดชัย วิไลลักษณ์ ผู้พ่อของ "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์" กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งสองคนช่วยเหลือเกื้อกูลกันตั้งแต่สมัยที่ เชิดชัย บุกเบิกธุรกิจจานดาวเทียม ครั้งนั้นอดีตนายกทักษิณ ลงทุนในกิจการดาวเทียมได้เข้ามาถือหุ้นในธุรกิจจานดาวเทียมของกลุ่มสามารถ
หากแต่มาถึงรุ่นลูกคือ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เข้ามาบริหารธุรกิจแทน เชิดชัย วิไลลักษณ์ พร้อมกับลงทุนก้อนโตในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ให้บริการภายใต้ชื่อ "Hello 1800" มีอันต้องประสบปัญหาการลงทุนและตัดใจขายธุรกิจ ซึ่งบุคคลที่เข้ามาซื้อกิจการ ดีพีซี ก็ไม่ใช่ใครอื่นนั้นคือครอบครัว "ชินวัตร" ซึ่งก่อนหน้านั้นยังถือครองหุ้นในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ครั้นครอบครัว "ชินวัตร" ประสบปัญหาชีวิตกรณีขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้งจากประเทศสิงคโปร์ จุดชนวนให้กองทัพพันธมิตรยกพลขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จนต้องกระเด็นจากอำนาจ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจของครอบครัวอดีตนายกฯทักษิณ ตลอดจนเครือญาติ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าครอบครัว "วิไลลักษณ์" เป็นครอบครัวลำดับต้น ๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนกรณีที่ บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ในเครือคอมลิงค์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทของน้องสาวอดีตนายกฯทักษิณ กลุ่มสามารถก็เข้าไปซื้อกิจการทั้งหมด หรือก่อนนั้นก็เคยยื่นมือเข้าไป
รับซื้อหุ้นบริษัท ทราฟฟิก คอนเนอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ของ"เจ๊แดง" เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ กลุ่มสามารถมีรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกัน
ที่สำคัญไปกว่านั้นกรณีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ออกมาทวงคืน "ดาวเทียมไทยคม" ปัจจุบันตกไปเป็นสมบัติของกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้ง จากประเทศสิงคโปร์ ชื่อของกลุ่มสามารถก็ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาทันทีว่าสนใจที่จะเข้าไปร่วมทุน
ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งตัวเลข และ ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ลงตัวเชื่อได้เลยว่า "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์" บิ๊กบอสกลุ่มสามารถคอร์ปฯ ยอมควักกระเป๋าเข้าไปถือหุ้นใน บมจ.ชินแซทเทิลไลท์ จากกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้งก็ได้
อย่างนี้เขาเรียกว่าบุญคุณต้องทดแทน
ไม่ขอวิจารณ์เกี่ยวกับ Hello 1800 แต่อยากให้ดูบทวิเคราะห์ของโบรกต่างๆที่พูดถึงกรณีบริษัทเข้าไปเจรจาซื้อบริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ในเครือคอมลิงค์ฯ น่าจะพิมพ์ผิดเป็น MLINK มากกว่าว่าบริษัทจะมี synergy อะไรบ้าง หรือ Shin Sat ทีสามารถเป็นลูกค้ารายใหญ่รวมถึง Shin Sat ที่ถือบริษัท CSL ทางอ้อมที่ทำธุรกิจสมุดหน้าเหลืองซึ่งอาจจะมาเสริมธุรกิจของ Bug 1113 หรือ ธุรกิจ internet ความเร็วสูง ซึ่งก็เป็นธุรกิจเดียวกันกับที่ SAMART ทำอยู่
ส่วนตัวไม่ค่อยสนใจเรื่องรายการระหว่างกันที่ดูแล้วไม่มีความผิดปรกติเรื่องราคา (บริษัทหนึ่งได้ประโยชน์และอีกหนึ่งบริษัทหรือรายย่อยเสียประโยชน์)
ASCON เห็นว่ามีการสร้างโรงไฟฟ้าที่เขมรและธุรกิจอื่นๆมีการก่อสร้างพอสมควรก็น่าที่จะมี Synergy
TRAF อาจจะเรื่องลิขสิทธิ football ช่วงนั้นที่มีการร่วมมือกับ Siam sport
ผิด ถูก อย่างไรขออภัยด้วย (อาจจะมี BIAS เพราะถือในเครือนี้เกือบทุกตัวเพราะคิดว่า ศึกษาและติดตามมาพอสมควร)
-
- Verified User
- โพสต์: 99
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 17
เป็นการร่วมลงทุนกันครับ คุณFrankieFrankie เขียน:คำว่ากลุ่มสามารถ ตอนนี้น่าจะรวมไปถึง samtel ascon และล่าสุด pro ด้วยมั้ยครับ
http://www.settrade.com/simsImg/news/2006/06029822.t06
เรื่อง ร่วมลงทุนในสัญญาจ้างบริหารจัดการขยะ ในบริเวณท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ / ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งให้
ทราบว่า เอสพีเอส คอนซอร์เตียม (SPS Consortium) ("SPS") มีทุนจดทะเบียน 50
ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท
โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยาม
เวสท์แมเนจเม้นท์ คอนซัลแทนท์ จำกัด โดยมีสัดส่วนการลงทุนร่วมทำงานในอัตราร้อยละ
60 30 และ 10 ตามลำดับ และทั้ง 2 รายที่ร่วมทุน ไม่ได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันตาม
ประกาศของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
SPS ได้ลงนามในสัญญาการจ้างบริหารจัดการขยะในบริเวณท่าอากาศสุวรรณภูมิ กับ
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ("ทอท") เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2549 โดยมี
รายละเอียดของสัญญาสรุปได้ดังนี้
1. SPS เป็นผู้บริหารจัดการขยะในพื้นที่บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
("ทสภ") ในลักษณะครบวงจรตั้งแต่การก่อสร้าง จัดหาระบบอุปกรณ์ พัฒนาระบบการจัดการ
ขยะ การเก็บขน การคัดแยก และการกำจัดขยะ เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ ทอท
แจ้งให้เริ่มดำเนินงาน
2. มูลค่าโครงการทั้งสิ้นประมาณ 607 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะใน
แต่ละวัน โดยมีปริมาณขั้นต่ำตามสัญญา 40 ตัน ต่อวัน ในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับ
ขยะทั่วไป และ 3,400 บาท สำหรับขยะมีอันตรายและขยะติดเชื้อ ในระยะเวลา 3 ปีแรก
และอัตราค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 10 เมื่อต้นปีที่ 4 และปีที่ 8
3. ทอท เป็นผู้จัดหาและอนุญาตให้ SPS ใช้พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ในพื้นที่
บริเวณ ทสภ และ อาคารสถานีรับขยะ พร้อมเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในอาคารดังกล่าว
เพื่อใช้เป็นสถานที่บริหารจัดการขยะ โดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่ และค่าเช่าอาคาร
4. อาคารสิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการขยะทั้งหมด จะ
ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ทอท เมื่อสัญญาสิ้นสุด
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกรียงไกร เลิศศิริสัมพันธ์)
รองกรรมการผู้จัดการสายบัญชีการเงินและบริหารสำนักงาน
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 18
ดีเลยครับ เพราะผมมี Bias ในเชิงไม่ค่อยชอบเขาอยู่ก่อนเหมือนกัน :lol: ถึงได้ฟื้นฝอยเอาเรื่องตั้งปีกว่าๆ ที่ตลาดก็รับรู้ไปตั้งนานแล้วมาพูด ทีนี้ข้อมูลจะได้เป็นกลาง
จะว่าไป samart แม่ ถ้าหักกำไรขายเงินลงทุนออกก็ยังถูกกว่าลูกๆ ของเขาเยอะอยู่ ตอนปี 46 ของมันยังร้อน แต่ถ้ามาเก็บตอนเขาขายกันหนักๆ กลางปี 47 หรือ 48 ถึงตอนนี้คงกำไรตู้มๆ กันหมด
น่าจะเพิ่มเข้าไปในร้อยคนร้อยหุ้นนะครับ
จะว่าไป samart แม่ ถ้าหักกำไรขายเงินลงทุนออกก็ยังถูกกว่าลูกๆ ของเขาเยอะอยู่ ตอนปี 46 ของมันยังร้อน แต่ถ้ามาเก็บตอนเขาขายกันหนักๆ กลางปี 47 หรือ 48 ถึงตอนนี้คงกำไรตู้มๆ กันหมด
น่าจะเพิ่มเข้าไปในร้อยคนร้อยหุ้นนะครับ
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
-
- Verified User
- โพสต์: 57
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 20
ได้ยินมาจากเพื่อนที่เคยดีลงานกับทาง SIM มาก่อน คือเป็นซัพพลายเออร์ที่ขายมือถือให้กับทาง SIM นำไปจำหน่ายต่อ บอกว่าทาง SIM ทำงานแบบไม่มีสัจจะ คือรับปากตกลงกันแล้วว่าถ้าได้รับงบสนับสนุนการตลาดจำนวนเท่านี้ แล้วก็จะสั่งสินค้าเท่านี้ แต่พอได้รับงบไปแล้วก็เบี้ยว ไม่ยอมสั่งซื้อสินค้าตามสัญญา เป็นแบบนี้หลายครั้งเหมือนกัน ส่วนสินค้ามือถือแบรนด์ของเค้าเองที่ขายดี ก็มีปัญหามากๆๆๆๆ ส่งซ่อมทีต้องรอนานหลายๆเดือน (2-3 เดือน ขึ้นไป) ถ้าเค้าไม่สามารถแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ต่อไปก็คงขายยากขึ้น
อาจตอบได้ไม่ตรงคำถามเท่าไร แต่เห็นว่าอาจเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ
อาจตอบได้ไม่ตรงคำถามเท่าไร แต่เห็นว่าอาจเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 83
- ผู้ติดตาม: 0
SAMART and SIM
โพสต์ที่ 21
ข้อมูลจาก GFK เดือน Jan Imobile มี market share เป็นอันดับ 2 รองจาก nokia แบรนด์เดียว ส่วนปัญหาที่พูดถึงน่าจะค่อย ๆ รับรู้กันในวงกล้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่อเทียบ feature กับราคาแล้วก็ถือว่าถูกกว่า เนื่องจาก oem จากเมืองจีนมาใส่แบรนด์เอง เครื่องพวกนี้ถ้าเสียไม่ซ่อมครับ เปลี่ยน board อย่างเดียว ที่พูดถึง market share แค่อยากจะ share ข้อมูลให้ฟังครับ ไม่ได้แปลว่า SIM ดีหรือไม่ดีนะครับ
Car pe dium-- Seize the day (Profit)