Trend ของโลกอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 421
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 1
ไม่อยากให้เป็นแบบบริษัทกล้องโกดักที่ต้องโละพนักงานออกไป แล้วก็ขาดทุนอย่างมากหลังจากที่ความเป็น Digital เข้ามาแล้วตัวเองยังมัวแต่ทำกล้องฟิลม์
ผมกำลังคิดว่า เทรนด์อันหนึ่งที่สำคัญในตอนนี้ก็คือ อินเตอร์เน็ต ไม่รู้ว่าจะให้ผลประโยชน์ต่อบริษัทไหนบ้าง อย่างอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็มาแรงนะครับ หลายๆบ้าน(แม้แต่บ้านผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องติด ADSL)
เจ้าดังๆของ ADSL มีใครบ้างครับ อย่างผมติดของ TT&T แต่ว่าไปผลประกอบการของ TT&T ก็ยังไม่ค่อยดีนัก , เจ้าอื่นไม่รู้เป็นไงบ้าง เห็นว่ามี TRUE (เห็นว่าไวกว่าด้วย ตั้ง 2 Mb แล้วก็แค่ประมาณ ห้าร้อยบาทเอง)
แล้วผู้เกี่ยวข้องอื่นๆที่เป็นพวกบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญมีใครอีกบ้างหรือเปล่า เช่น พวกผลิตคอนเทนท์ , พวก Infrastructure etc
(ตอนนี้อยากเปลี่ยนไปใช้บริการของ TRUE แล้วดิ อิๆ ใครใช้อยู่บ้างครับ แล้วไวจริงไหมครับ ไหลลื่นดีเปล่าครับ)
ผมกำลังคิดว่า เทรนด์อันหนึ่งที่สำคัญในตอนนี้ก็คือ อินเตอร์เน็ต ไม่รู้ว่าจะให้ผลประโยชน์ต่อบริษัทไหนบ้าง อย่างอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็มาแรงนะครับ หลายๆบ้าน(แม้แต่บ้านผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องติด ADSL)
เจ้าดังๆของ ADSL มีใครบ้างครับ อย่างผมติดของ TT&T แต่ว่าไปผลประกอบการของ TT&T ก็ยังไม่ค่อยดีนัก , เจ้าอื่นไม่รู้เป็นไงบ้าง เห็นว่ามี TRUE (เห็นว่าไวกว่าด้วย ตั้ง 2 Mb แล้วก็แค่ประมาณ ห้าร้อยบาทเอง)
แล้วผู้เกี่ยวข้องอื่นๆที่เป็นพวกบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญมีใครอีกบ้างหรือเปล่า เช่น พวกผลิตคอนเทนท์ , พวก Infrastructure etc
(ตอนนี้อยากเปลี่ยนไปใช้บริการของ TRUE แล้วดิ อิๆ ใครใช้อยู่บ้างครับ แล้วไวจริงไหมครับ ไหลลื่นดีเปล่าครับ)
รู้สึกดีๆ
- ZeerGoed
- Verified User
- โพสต์: 9
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 2
I am now living in the Netherlands. Here there are big company named 'UPC', and also other service providers. Telephone+Internet+Digital TV (local TV+channels like UBC in Thailand+on demand) are combined. It is very difficult to avoid/ignore their services.
I also believe this trend will happen in Thailand in the future. But I don't know how soon. Now it looks like we have to invest to negative profit company (e.g. True). Seem no value to invest today.
But for me, I already invested for this trend. (Hurt myself sometimes )
I also believe this trend will happen in Thailand in the future. But I don't know how soon. Now it looks like we have to invest to negative profit company (e.g. True). Seem no value to invest today.
But for me, I already invested for this trend. (Hurt myself sometimes )
-
- Verified User
- โพสต์: 898
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 3
ห้องผมก็ติด Times Warner Cable+Internet แต่ไม่เอาโทรศัพท์บ้านนะ
มือถือแยกไปใช้ T-Mobile
แต่ไม่แน่ใจว่า Verizon มีโปรโมชั่น มือถือ+cable+internet หรือเปล่า
หรือทำแต่โปรโมชั่น โทรบ้าน+cable+internet
สาเหตุที่มือถือแยกตัวต่างหากเพราะการเปิดแต่ละครั้งต้องใช้
verified ID ในการเปิด แต่ cable+internet จะเป็นใครขอให้มาติดก็ได้
ไม่ strict เท่าการเปิดมือถือ
มือถือแยกไปใช้ T-Mobile
แต่ไม่แน่ใจว่า Verizon มีโปรโมชั่น มือถือ+cable+internet หรือเปล่า
หรือทำแต่โปรโมชั่น โทรบ้าน+cable+internet
สาเหตุที่มือถือแยกตัวต่างหากเพราะการเปิดแต่ละครั้งต้องใช้
verified ID ในการเปิด แต่ cable+internet จะเป็นใครขอให้มาติดก็ได้
ไม่ strict เท่าการเปิดมือถือ
bid please!!
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 4
ทรู น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย ระบบเคเบิ้ลลูกไม่ท้อ เขียน:ไม่อยากให้เป็นแบบบริษัทกล้องโกดักที่ต้องโละพนักงานออกไป แล้วก็ขาดทุนอย่างมากหลังจากที่ความเป็น Digital เข้ามาแล้วตัวเองยังมัวแต่ทำกล้องฟิลม์
ผมกำลังคิดว่า เทรนด์อันหนึ่งที่สำคัญในตอนนี้ก็คือ อินเตอร์เน็ต ไม่รู้ว่าจะให้ผลประโยชน์ต่อบริษัทไหนบ้าง อย่างอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็มาแรงนะครับ หลายๆบ้าน(แม้แต่บ้านผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องติด ADSL)
เจ้าดังๆของ ADSL มีใครบ้างครับ อย่างผมติดของ TT&T แต่ว่าไปผลประกอบการของ TT&T ก็ยังไม่ค่อยดีนัก , เจ้าอื่นไม่รู้เป็นไงบ้าง เห็นว่ามี TRUE (เห็นว่าไวกว่าด้วย ตั้ง 2 Mb แล้วก็แค่ประมาณ ห้าร้อยบาทเอง)
แล้วผู้เกี่ยวข้องอื่นๆที่เป็นพวกบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญมีใครอีกบ้างหรือเปล่า เช่น พวกผลิตคอนเทนท์ , พวก Infrastructure etc
(ตอนนี้อยากเปลี่ยนไปใช้บริการของ TRUE แล้วดิ อิๆ ใครใช้อยู่บ้างครับ แล้วไวจริงไหมครับ ไหลลื่นดีเปล่าครับ)
สำหรับผู้ใช้ เพราะไม่ต้องหมุน เหมือน3ที
ส่วนความเร็วก็แล้วแต่โปรโมชั่น
เ็ร็วๆก็ต้องจ่ายเพิ่ม
- ply33
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 5
Trend Telecom ทั่วโลกหรืออาจจะเรียกว่าหลายๆแห่งก็ได้นะครับ คือใช้ Cable (TV+High Speed Internet 100MBpS) + Cell Phone (มือถือ) ส่วนโทรศัพท์บ้านไม่มี สำหรับ Office อาจจะมี 1-2 เบอร์ + FAX
ที่เป็นเช่นนี้เพราะค่ามือถือถูกขึ้นทุกทีๆครับ ส่วนคนเรายังต้องการ ดู TV และ หาข้อมูลใน Internet หรืออาจจะดู TV ผ่าน Internet ด้วยซ้ำไป (IPTV) คับ
บ้านเราเท่าที่เห็นมี TRUE ที่พยายามทำ Convergence กัน True Vision (UBC) + True Move (มือถือ) + True (โทรศัพท์บ้าน) + Internet (ADSL เท่าที่เห็น ราคา Cable Internet ยังแพงมาก)
ส่วนความคุ้มค่าทางการลงทุนเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยครับ ... เพราะว่าการลงทุนใช้เงินเยอะมากและกว่าจะคุ้มทุนใช้เวลานานคับ ฯลฯ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะค่ามือถือถูกขึ้นทุกทีๆครับ ส่วนคนเรายังต้องการ ดู TV และ หาข้อมูลใน Internet หรืออาจจะดู TV ผ่าน Internet ด้วยซ้ำไป (IPTV) คับ
บ้านเราเท่าที่เห็นมี TRUE ที่พยายามทำ Convergence กัน True Vision (UBC) + True Move (มือถือ) + True (โทรศัพท์บ้าน) + Internet (ADSL เท่าที่เห็น ราคา Cable Internet ยังแพงมาก)
ส่วนความคุ้มค่าทางการลงทุนเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยครับ ... เพราะว่าการลงทุนใช้เงินเยอะมากและกว่าจะคุ้มทุนใช้เวลานานคับ ฯลฯ
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 6
Trend ของโลกในอนาคต กับผลตอบแทนทางธุรกิจอาจจะ Divergence กันก็ได้ครับ
โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสัมปทานเข้ามาเกี่ยวข้อง ...
โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสัมปทานเข้ามาเกี่ยวข้อง ...
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 1817
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 7
Trend ของโลกอนาคต
Everything is on Internet
ไม่มีโทรศัพท์มือถืออีกต่อไป แต่จะถูกแทนที่ด้วย Smart PDA นั่นคือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ online ตลอดเวลา สามารถโทรศัพท์(ไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก)ผ่านระบบ Voice over IP ซึ่งนั่นก็เป็นเพียง 1 ในหลายๆความสามารถของมัน
อัตราค่าบริการคิดจากปริมาณการส่งผ่านข้อมูล อาจมีทั้งแบบเติมเงินและเหมาจ่าย
ไม่มีทีวี(เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์)อีกต่อไป เพราะรายการโทรทัศน์จะถูกถ่ายทอดผ่านทาง Internet โดยที่ใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของรายการได้ จำนวนช่องจะมีเป็นล้านๆและเราอาจต้องหารายการที่สนใจผ่านทาง google
Everything is in Digital
การกระจายเสียงผ่านทางวิทยุจะอยู่ในรูปแบบ Digital ทั้งหมด No more analog
No more silicon
จะไม่มีการใช้ซิลิโคนในการทำศัลยกรรมหรือการรักษาผู้ป่วยอีกต่อไป แต่จะใช้ Stem cell ของผู้ป่วยนั้นๆแทน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมหน้าอก จมูก ฯลฯ
วันนี้คิดได้เท่านี้ วันหลังค่อยมาฝันต่อ
Everything is on Internet
ไม่มีโทรศัพท์มือถืออีกต่อไป แต่จะถูกแทนที่ด้วย Smart PDA นั่นคือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ online ตลอดเวลา สามารถโทรศัพท์(ไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก)ผ่านระบบ Voice over IP ซึ่งนั่นก็เป็นเพียง 1 ในหลายๆความสามารถของมัน
อัตราค่าบริการคิดจากปริมาณการส่งผ่านข้อมูล อาจมีทั้งแบบเติมเงินและเหมาจ่าย
ไม่มีทีวี(เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์)อีกต่อไป เพราะรายการโทรทัศน์จะถูกถ่ายทอดผ่านทาง Internet โดยที่ใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของรายการได้ จำนวนช่องจะมีเป็นล้านๆและเราอาจต้องหารายการที่สนใจผ่านทาง google
Everything is in Digital
การกระจายเสียงผ่านทางวิทยุจะอยู่ในรูปแบบ Digital ทั้งหมด No more analog
No more silicon
จะไม่มีการใช้ซิลิโคนในการทำศัลยกรรมหรือการรักษาผู้ป่วยอีกต่อไป แต่จะใช้ Stem cell ของผู้ป่วยนั้นๆแทน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมหน้าอก จมูก ฯลฯ
วันนี้คิดได้เท่านี้ วันหลังค่อยมาฝันต่อ
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
-
- ผู้ติดตาม: 0
Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 8
ฟันธงสวนกระแสครับ
วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอนาลอก ทั้งหลายยังใช้กันอีกนานครับ เพราะเป็นการสื่อที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเทียบต่อจำนวนผู้ใช้ แต่ก็ทำให้ความถี่วิทยุ กลายเป็นเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความขาดแคลนสูง ทำให้มีกรณีของการจัดสรรคลื่นความถี่ดังเป็นข่าวมากมาย
แม้ในมุมมองผู้รับสื่อ ลงทุนต่ำสุดซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์ถูกๆ 100 บาท คุณฟังวิทยุได้นาน แต่เงิน 100 บาท เล่นเน็ตได้แป๊บเดียวครับ
วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอนาลอก ทั้งหลายยังใช้กันอีกนานครับ เพราะเป็นการสื่อที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเทียบต่อจำนวนผู้ใช้ แต่ก็ทำให้ความถี่วิทยุ กลายเป็นเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความขาดแคลนสูง ทำให้มีกรณีของการจัดสรรคลื่นความถี่ดังเป็นข่าวมากมาย
แม้ในมุมมองผู้รับสื่อ ลงทุนต่ำสุดซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์ถูกๆ 100 บาท คุณฟังวิทยุได้นาน แต่เงิน 100 บาท เล่นเน็ตได้แป๊บเดียวครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 10
จับกระแสโลกร้อน-สังคมคนแก่ชี้เทรนด์เทคโนโลยีน่าลงทุน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2554 17:02 น.
สวทช.เผย 10 เทคโนโลยีน่าลงทุนแก่นักธุรกิจ จับกระแสโลกร้อนและอนาคตสังคมคนแก่ พร้อมคาดหวังจะผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน และยกระดับกระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ที่เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลักดันให้เกิดการวิจัยในภาคเอกชน
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยถึง 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจภายในงาน NSTDA Investors’ Day 2011 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ก.ย.54 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน”
สำหรับเทคโนโลยีที่น่าจับตามองที่โลกกำลังจะไปในทิศทางใดนั้น ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า เป็นการรวบรวมและคัดสรรจากทีมงาน สวทช. ซึ่งพบว่าคนเรามีอายุขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พบปัญหาเรื่องความเสื่อมตามมา และยังมีภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่กระทบต่อการดำรงชีวิต
เทคโนโลยีซึ่งถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 10 ที่น่าจับตาสำหรับนักลงทุนคือเทคโนโลยีเกี่ยวกับอวัยวะซ่อมเสริมหรืออวัยวะเทียม (Artificial Organ) ที่จะช่วยสนับสนุนและเพื่อคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย ผู้สุงอายุ หรือผู้พิการที่มีร่างกายเสื่อมถอย จึงต้องสร้างเสริมอวัยวะเพื่อมาซ่อมแซม
แนวทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ สร้างอวัยวะเทียม เช่น หัวใจเทียม มือเทียมที่อาศัยสัญญาณจากกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ใช้สเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งมีตัวอย่างการสร้าง “ท่อลมขั้วปอด” จากสเต็มเซลล์ได้สำเร็จ และการสร้างอุปกรณ์ไฮเทค เช่น ชุดทางการทหารที่ช่วยให้ยกของหนักๆ ได้
“อันดับ 9 เป็นเทคโนโลยีระบบน้ำส่งยาด้วยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งโอกาสที่เราจะค้นพบยาใหม่ๆ มียากขึ้น อนาคตต่อไปผู้ผลิตต้องหาวิธีนำส่งยาน้อยๆ แต่ไปได้ตรงเป้าหมาย ซึ่งไทยเองก็มีการพัฒนาระบบน้ำส่งยา เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง และระบบเพิ่มการละลายของยา เป็นต้น” ผอ.สวทช.กล่าว
เทคโนโลยีน่าจับตาสำหรับนักลงทุนอันดับ 8 คือ การวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ที่ใช้จีโนมส่วนบุคคล ด้วยการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรม ซึ่งทุกคนมีสารพันธุกรรมที่เหมือนกัน 99.9% และมี 0.1% ที่แตกต่างกันซึ่งจะบอกได้เราจะเป็นโรคอะไร และจะเกิดอะไรกับเราบ้าง โดยเทคโนโลยีการวินิจฉัยด้วยการวิเคราะห์จีโนมเฉพาะบุคคลนี้จะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ จากเดิมเป็นแสนเป็นล้านบาท เหลือเพียงไม่กี่หมื่นบาท
ส่วนพลังงานชีวภาพจัดเป็นเทคโนโลยีลำดับ 7 ที่น่าลงทุน ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่าปัจจุบันมีความพยายามพัฒนาพลังงานชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร อาทิ ฟาง ใบไม้ กิ่งก้านพืชเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการแย่งแหล่งอาหาร
“หากแต่เศษเหลือทิ้งเหล่านั้นเป็นเซลลูโลสที่กระบวนการหมักยังสลับซับซ้อน และยังมีใครไปถึงดวงดาว จึงมีการทุ่มพัฒนาจุลินทรีย์ และมีการทำจีเอ็มโอเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลสออกมาเป็นเชื้อเพลิงให้ได้ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีโรงงานต้นแบบแล้ว และของไทยก็มีโรงงานผลิตเอทานอลจากชานอ้อยอยู่ที่สระบุรี” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว
มาถึงเทคโนโลยีอันดับ 6 คือเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า เราสามารถเปลี่ยนพลังงานตรงจากแสงอาทิตย์มาเป็นความร้อนได้เยอะ แต่เรายังเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นไฟฟ้าได้น้อย ซึ่งเ)นเรื่องน่าสนใจหากเราสามารถทำได้ เพราะจะทำให้เรามีแหล่งพลังงานใหม่ สำหรับเซลล์แสงาอทตย์ที่น่าลงทุนสำหรับประเทศไทยนั้นควรเป็นเซลล์ที่ไม่กลัวร้อน เซลล์แสงอาทิตย์หลายชนิดประสิทธิภาพลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
“ที่น่าสนใจคือเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงชนิดรอยต่อแบบเฮเทอโร (High efficiency heterojunction solar cells) ซึ่งดูดกลือนแสงได้ดีเหมือนเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิกอนทั่วไป แต่ใช้พลังงานความร้อนในการผลิตน้อยกว่า ทั้งนี้มีบริษัทเอกชนที่พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้มานาน 20 ปี และเป็นโอกาสที่เราจะได้ต่อยอดวิจัยเพื่อผลิตจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ” ดร.ทวีศักดิ์
สำหรับเทคโนโลยีอันดับ 5 คือพลาสติกชีวภาพ โดย ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า เม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดพีบีเอส (PBS) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่น่าลงทุน โดยลักษณะของพลาสติกจะมีลักษณะเป็นเรซินขาวขุ่น ขึ้นรูปได้ดีและย่อยสลายง่ายกว่าพลาสติกชีวภาพแบบพีแอลเอ (PLA: Polylacticacid)
มาถึงเทคโนโลยีน่าลงทุนเป็นอันดับ 4 คือ จีโอพอลิเมอร์ (Geopolymer) เป็นวัสดุจำพวกอะลูมิโนซิลิเกต ที่มีสมบัติทางกลดีมาก ทนไฟ ทนสารเคมี มีการค้นพบจากการสังเกตการเปลียนแปลงของหินภูเขาไฟ และนำมาสู่การพัฒนาวัสดุชนิดนี้ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้กับวัสดุก่อสร้างให้ทนไฟและมีน้ำหนักเบา และต่อไปในอนาคตจะพัฒนาเป็นเซรามิกส์ที่ไม่ต้องเผา ณ อุณหภูมิสูงๆ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนต่ำ
ส่วนเทคโนโลยี 3 อันดับแรกที่น่าลงทุน ได้แก่ อันดับ 3 กราฟีน (Graphene) วัสดุชนิดใหม่ที่เกิดจากการเรียงตัวของโมเลกุลคาร์บอนเป็นรูป 6 เหลี่ยม แต่มีความบางเพียง 1 โมเลกุล ซึ่งทำให้นำไฟฟ้าได้ดีตามคุณสมบัติเชิงควอนตัม มีความโปร่งใสและแข็งแรงมาก ดร.ทวีศักดิ์คาดว่าจะมีเทคโนโลยีที่นำวัสดุชนิดนี้ไปใช้อย่างหลากหลายในอนาคต อาทิ ทรานซิสเซอร์ที่เล็กเพียง 240 นาโนเมตร และมีความเร็วถึง 100 กิกะเฮิรตซ์ หรือจอที่สามารถโค้งงอและม้วนเก็บได้ เป็นต้น
อันดับที่ 2 คือเทคโนโลยีจอภาพ 3 มิติ ซึ่งมีหลากหลายแบบ ซึ่งหลักการคือทำให้ตาซ้ายและตาขวาเห็นภาพเดียวกันในมุมต่างกัน เมื่อสมองประมวลผลจะทำให้เห็นเหมือนภาพ 3 มิติ ในตอนนี้เราเห็นเทคโนโลยีจอภาพ 3 มิติจายในราคาสูง แต่อนาคตเราจะได้เห็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบ 3 มิติ และจะได้เห็นจอภาพที่มีราคาถูกลงเรื่อยๆ
สำหรับเทคโนโลยีที่น่าลงทุนอันดับ 1 คือ เทคโนโลยีเว็บ 3.0 หรือเว็บเชิงความหมาย (Semanic Web) ซึ่งจะเข้ามีบทบาทสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเว็บในรุ่นนี้จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน โดยสิ่งสำคัญของเว็บคือการเชื่อมโยงเนื้อหา ไม่ใช่การเชื่อมโยงลิงค์อย่างที่ผ่านมา โดยมี “ออนโทโลยี” (Ontology) เป็นแนวคิดเบื้องหลังเทคโนโลยีนี้ และมีการแสดงผลบนมาตรฐาน RDF (Resource Definition Framework) OWL (Ontology Web Language)
สำหรับงาน NSTDA Investors’ Day นี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยปี 2554 นี้มีนักลงทุนตอบรับเข้าร่วมงานประมาณ 400 คน และมีการนำเสนอ 5 ผลงานเด่นของ สวทช.เพื่อการเจรจาธุรกิจโดยมีนักลงทุนให้ความสนใจในผลงานเด่นดังกล่าว 28 ราย นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้พบปะนักลงทุนเพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
“หวังว่างาน NSTDA Investors’ Day จะกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชนมากขึ้น และจะยกระดับกระทรวงวิทยาศาสตร์ให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ จากการเพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2554 17:02 น.
สวทช.เผย 10 เทคโนโลยีน่าลงทุนแก่นักธุรกิจ จับกระแสโลกร้อนและอนาคตสังคมคนแก่ พร้อมคาดหวังจะผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน และยกระดับกระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ที่เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลักดันให้เกิดการวิจัยในภาคเอกชน
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยถึง 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจภายในงาน NSTDA Investors’ Day 2011 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ก.ย.54 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน”
สำหรับเทคโนโลยีที่น่าจับตามองที่โลกกำลังจะไปในทิศทางใดนั้น ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า เป็นการรวบรวมและคัดสรรจากทีมงาน สวทช. ซึ่งพบว่าคนเรามีอายุขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พบปัญหาเรื่องความเสื่อมตามมา และยังมีภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่กระทบต่อการดำรงชีวิต
เทคโนโลยีซึ่งถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 10 ที่น่าจับตาสำหรับนักลงทุนคือเทคโนโลยีเกี่ยวกับอวัยวะซ่อมเสริมหรืออวัยวะเทียม (Artificial Organ) ที่จะช่วยสนับสนุนและเพื่อคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย ผู้สุงอายุ หรือผู้พิการที่มีร่างกายเสื่อมถอย จึงต้องสร้างเสริมอวัยวะเพื่อมาซ่อมแซม
แนวทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ สร้างอวัยวะเทียม เช่น หัวใจเทียม มือเทียมที่อาศัยสัญญาณจากกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ใช้สเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งมีตัวอย่างการสร้าง “ท่อลมขั้วปอด” จากสเต็มเซลล์ได้สำเร็จ และการสร้างอุปกรณ์ไฮเทค เช่น ชุดทางการทหารที่ช่วยให้ยกของหนักๆ ได้
“อันดับ 9 เป็นเทคโนโลยีระบบน้ำส่งยาด้วยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งโอกาสที่เราจะค้นพบยาใหม่ๆ มียากขึ้น อนาคตต่อไปผู้ผลิตต้องหาวิธีนำส่งยาน้อยๆ แต่ไปได้ตรงเป้าหมาย ซึ่งไทยเองก็มีการพัฒนาระบบน้ำส่งยา เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง และระบบเพิ่มการละลายของยา เป็นต้น” ผอ.สวทช.กล่าว
เทคโนโลยีน่าจับตาสำหรับนักลงทุนอันดับ 8 คือ การวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ที่ใช้จีโนมส่วนบุคคล ด้วยการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรม ซึ่งทุกคนมีสารพันธุกรรมที่เหมือนกัน 99.9% และมี 0.1% ที่แตกต่างกันซึ่งจะบอกได้เราจะเป็นโรคอะไร และจะเกิดอะไรกับเราบ้าง โดยเทคโนโลยีการวินิจฉัยด้วยการวิเคราะห์จีโนมเฉพาะบุคคลนี้จะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ จากเดิมเป็นแสนเป็นล้านบาท เหลือเพียงไม่กี่หมื่นบาท
ส่วนพลังงานชีวภาพจัดเป็นเทคโนโลยีลำดับ 7 ที่น่าลงทุน ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่าปัจจุบันมีความพยายามพัฒนาพลังงานชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร อาทิ ฟาง ใบไม้ กิ่งก้านพืชเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการแย่งแหล่งอาหาร
“หากแต่เศษเหลือทิ้งเหล่านั้นเป็นเซลลูโลสที่กระบวนการหมักยังสลับซับซ้อน และยังมีใครไปถึงดวงดาว จึงมีการทุ่มพัฒนาจุลินทรีย์ และมีการทำจีเอ็มโอเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลสออกมาเป็นเชื้อเพลิงให้ได้ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีโรงงานต้นแบบแล้ว และของไทยก็มีโรงงานผลิตเอทานอลจากชานอ้อยอยู่ที่สระบุรี” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว
มาถึงเทคโนโลยีอันดับ 6 คือเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า เราสามารถเปลี่ยนพลังงานตรงจากแสงอาทิตย์มาเป็นความร้อนได้เยอะ แต่เรายังเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นไฟฟ้าได้น้อย ซึ่งเ)นเรื่องน่าสนใจหากเราสามารถทำได้ เพราะจะทำให้เรามีแหล่งพลังงานใหม่ สำหรับเซลล์แสงาอทตย์ที่น่าลงทุนสำหรับประเทศไทยนั้นควรเป็นเซลล์ที่ไม่กลัวร้อน เซลล์แสงอาทิตย์หลายชนิดประสิทธิภาพลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
“ที่น่าสนใจคือเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงชนิดรอยต่อแบบเฮเทอโร (High efficiency heterojunction solar cells) ซึ่งดูดกลือนแสงได้ดีเหมือนเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิกอนทั่วไป แต่ใช้พลังงานความร้อนในการผลิตน้อยกว่า ทั้งนี้มีบริษัทเอกชนที่พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้มานาน 20 ปี และเป็นโอกาสที่เราจะได้ต่อยอดวิจัยเพื่อผลิตจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ” ดร.ทวีศักดิ์
สำหรับเทคโนโลยีอันดับ 5 คือพลาสติกชีวภาพ โดย ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า เม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดพีบีเอส (PBS) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่น่าลงทุน โดยลักษณะของพลาสติกจะมีลักษณะเป็นเรซินขาวขุ่น ขึ้นรูปได้ดีและย่อยสลายง่ายกว่าพลาสติกชีวภาพแบบพีแอลเอ (PLA: Polylacticacid)
มาถึงเทคโนโลยีน่าลงทุนเป็นอันดับ 4 คือ จีโอพอลิเมอร์ (Geopolymer) เป็นวัสดุจำพวกอะลูมิโนซิลิเกต ที่มีสมบัติทางกลดีมาก ทนไฟ ทนสารเคมี มีการค้นพบจากการสังเกตการเปลียนแปลงของหินภูเขาไฟ และนำมาสู่การพัฒนาวัสดุชนิดนี้ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้กับวัสดุก่อสร้างให้ทนไฟและมีน้ำหนักเบา และต่อไปในอนาคตจะพัฒนาเป็นเซรามิกส์ที่ไม่ต้องเผา ณ อุณหภูมิสูงๆ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนต่ำ
ส่วนเทคโนโลยี 3 อันดับแรกที่น่าลงทุน ได้แก่ อันดับ 3 กราฟีน (Graphene) วัสดุชนิดใหม่ที่เกิดจากการเรียงตัวของโมเลกุลคาร์บอนเป็นรูป 6 เหลี่ยม แต่มีความบางเพียง 1 โมเลกุล ซึ่งทำให้นำไฟฟ้าได้ดีตามคุณสมบัติเชิงควอนตัม มีความโปร่งใสและแข็งแรงมาก ดร.ทวีศักดิ์คาดว่าจะมีเทคโนโลยีที่นำวัสดุชนิดนี้ไปใช้อย่างหลากหลายในอนาคต อาทิ ทรานซิสเซอร์ที่เล็กเพียง 240 นาโนเมตร และมีความเร็วถึง 100 กิกะเฮิรตซ์ หรือจอที่สามารถโค้งงอและม้วนเก็บได้ เป็นต้น
อันดับที่ 2 คือเทคโนโลยีจอภาพ 3 มิติ ซึ่งมีหลากหลายแบบ ซึ่งหลักการคือทำให้ตาซ้ายและตาขวาเห็นภาพเดียวกันในมุมต่างกัน เมื่อสมองประมวลผลจะทำให้เห็นเหมือนภาพ 3 มิติ ในตอนนี้เราเห็นเทคโนโลยีจอภาพ 3 มิติจายในราคาสูง แต่อนาคตเราจะได้เห็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบ 3 มิติ และจะได้เห็นจอภาพที่มีราคาถูกลงเรื่อยๆ
สำหรับเทคโนโลยีที่น่าลงทุนอันดับ 1 คือ เทคโนโลยีเว็บ 3.0 หรือเว็บเชิงความหมาย (Semanic Web) ซึ่งจะเข้ามีบทบาทสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเว็บในรุ่นนี้จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน โดยสิ่งสำคัญของเว็บคือการเชื่อมโยงเนื้อหา ไม่ใช่การเชื่อมโยงลิงค์อย่างที่ผ่านมา โดยมี “ออนโทโลยี” (Ontology) เป็นแนวคิดเบื้องหลังเทคโนโลยีนี้ และมีการแสดงผลบนมาตรฐาน RDF (Resource Definition Framework) OWL (Ontology Web Language)
สำหรับงาน NSTDA Investors’ Day นี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยปี 2554 นี้มีนักลงทุนตอบรับเข้าร่วมงานประมาณ 400 คน และมีการนำเสนอ 5 ผลงานเด่นของ สวทช.เพื่อการเจรจาธุรกิจโดยมีนักลงทุนให้ความสนใจในผลงานเด่นดังกล่าว 28 ราย นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้พบปะนักลงทุนเพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
“หวังว่างาน NSTDA Investors’ Day จะกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชนมากขึ้น และจะยกระดับกระทรวงวิทยาศาสตร์ให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ จากการเพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Hisoka
- Verified User
- โพสต์: 175
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 11
จากที่เคยรู้นะครับ เวลาส่งคลื่นออกอากาศจะต้องเป็นสัญญาณอนาล็อค
จริงอยู่ที่เวลาเข้ารหัสถอดรหัส หรือประมวลผลจะมีแนวโน้มไปที่ดิจิตอล เพราะจัดการได้ง่ายและดีกว่า
แต่เวลาส่งสัญญาณออกอากาศจะต้องเป็นอนาล็อค เพราะมันกินทรัพยากรความถี่น้อยกว่า
ดังนั้น อนาล็อคไม่ตายหรอกครับ เพราะมันเป็นข้อจำกัดทางเทคนิค
จริงอยู่ที่เวลาเข้ารหัสถอดรหัส หรือประมวลผลจะมีแนวโน้มไปที่ดิจิตอล เพราะจัดการได้ง่ายและดีกว่า
แต่เวลาส่งสัญญาณออกอากาศจะต้องเป็นอนาล็อค เพราะมันกินทรัพยากรความถี่น้อยกว่า
ดังนั้น อนาล็อคไม่ตายหรอกครับ เพราะมันเป็นข้อจำกัดทางเทคนิค
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 12
แต่ผมขอแย้งว่าอนาล็อค แม้ไม่ถึงกับตายทันที แต่จะค่อยๆ ลดความสำคัญและเลือนไป
และเริ่มเกิดขึ้นจริงแล้ว ไม่ใช่อนาคตไกล ไม่ใช่แค่เป็น idea เหมือนเมื่อ 2-3 ปีก่อน
อย่างทีวี มี 2 แนว แนวหนึ่ง digital ขึ้นดาวเทียม
แนวหนึ่งมาทาง online คือ web TV
เพราะความสามารถของท่อส่งสัญญานจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ แต่ประสิทธิภาพวิธีการส่งประหยัด bandwidth ก็กำลังได้รับการวิจัยพัฒนาแข่งกันออกมาทุกระยะ ใครครอบครองมาตรฐานและกลุ่มผู้ใช้งานให้คนนิยม เป็น mass ได้ก่อน คนนั้นรวย
จะเห็นว่าคนที่คิดไกลไปก่อน ก็คือกูเกิ้ลและที่จริง steve jobs ก็มองไกลด้วยเหมือนกัน แต่ยังไม่ถึงยุค เลยยังไม่โต
แต่ในไทย TV ดาวเทียมน่้าจะแพร่หลายไปไกลก่อนเพราะ infrastructure ต่างจังหวัด ยังไม่พร้อม market player ทั้งหลาย ตอนนี้วางแผนตั้งบริษัทย่อยกันแล้วหลังมีกสทช. ทำให้มองเห็นอนาคตกันมากขึ้น
แล้วต่อไปที่เสริมทีวี ก็คือ Smart Phone อย่างที่ว่า
ความสามารถทางการส่งข้อมูลทั้ง media และ data ทั่วไป มันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแบบ tablet ตอนแรกมันอาจจะไม่เร็ว แต่สุดท้าย ค่าบริการจะถูกลงเรื่อยๆ แต่ความเร็วจะเพิ่มเรื่อยๆ จนเหมือนนั่ง online internet อยู่กับบ้าน
ไม่เกิน 5 ปี เราได้เห็นความเร็ว 100-500Mbps บนมือถือแน่ๆ ตอนนี้ทำได้ในห้องทดลองแล้ว แต่ยังไม่เข็นออกมาง่ายๆ รอให้ 3G ขายหมดรุ่นก่อน
แต่ในที่สุด ในกทม.และเมืองใหญ่ internet บ้านที่สุด ก็จะ smooth เหมือนทีวีอนาล็อค ซึ่งหลายคนก็เห็นแล้วว่า ตอนนี้ไม่ใช่แค่ฝัน ก็ broadband นั่นไง อีกหน่อย Gbps จะเกลื่อน จนเป็นของธรรมดา เกิดขึ้นแล้วในเกาหลีกับเนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์กำลังจะทำให้เป็นจริงถึงกับทำเป็นวาระแห่งชาติ วางแผนกันมา 4-5 ปีแล้ว ทั่วโลกก็จะตามๆ กันไป เพราะอีกหน่อย สาย optic จะพบได้ในทุกบ้านเหมือนสายไฟฟ้าของทุกวันนี้ ตอนนั้น web TV ที่บอกข้างบน ก้เป็นช่องทางที่รวมทุกอย่างไว้
อีกหน่อยก็เป็นไปได้ว่า content บน ฟรีทีวี จะเริ่มออกอากาศบนทีวีดางเทียม และ content เดียวกันนี้ ก็จะถูกจับลงบางช่องของ internet ด้วย คนเมืองก็จะได้รับครบก่อนใคร ในช่วงที่ fiber optic ต่างจังหวัดยังกระจายไปไม่ทั่ว
ตัวเร่งทำให้เกิด คือผลประโยชน์จากการขายโฆษณา ขายบันเทิง และขายของ e-catalog
ต่อไปเราจะสั่งของได้ง่ายกว่าเดิม ถ้าขี้เกียจออกจากบ้าน e-commerce จะเกิดขึ้นเองแพร่หลาย เมื่อกระแสเป็นเช่นนั้น
ส่วนทางด้าน web จะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และมีอุปกรณ์สนับสนุนออกมาตาม
โลกของ virtual จะใกล้ชิดคนมากขึ้นทุกที interactive และ service บน web จะมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น เกมแบบ Wii ก็อาจมี online ด้วย ใครที่อยากใกล้ชิดหมอ อาจถึงขั้นต่อเครื่องวัดหัวใจที่ตัวเอง แล้วหมอนั่งอยู่่โรงพยาบาลหรือคลินิควินิจฉัยเลยก็ได้ หรือให้คำแนะนำก็ได้ถ้าไม่หนัก (คงไม่ถึงขั้นแนะนำให้คนไข้ผ่าตัดตัวเอง )
...ไม่ได้พูดเล่น อีกหน่อย สาว sideline จะมาหากินด้วยวิธี e-catalog แบบนี้ จนปราบไม่ไหวเหมือนเด็กแว๊นซ์หรือปราบ CD เถื่อน เพราะสังกัดเธอจะรวบรวม specification พร้อมมีวีดีโอประกอบ rate X เป็น video ตัวอย่างเลย แต่ถ้าเป็น freelance ไร้สังกัด ก็อาจมี web board รับเป็นศูนย์กลางมี template กรอกข้อมูล และ upload สีดีโอโชว์ยั่วน้ำลายได้ เพราะตอนนั้นกล้องมือถือคงไปไกลถึง 50 Mpix .....
ใครมีลูกหลานยุคหน้าเตรียมรับมือได้ เพราะมีอะไรยั่วยุกว่า่ยุคนี้อีกมาก
อาจมีขาย virtual sex โดยมีเครื่องมืออยู่ปลายทางโดยที่คู่ทั้งสองคนไม่ได้สัมผัสกันจริง เป็นพัฒนาการต่อจาก sex phone ที่ใช้แต่เสียง หรือ camfrog ที่มีภาพประกอบ
ถ้านึกภาพไม่ออก อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างการวิจัย (แต่คงไม่ rate x เพราะแค่การ virtual kiss)
อนาคตมันคงไปไกล และขายหนักกว่านี้
เรืิ่อง ID digital จะไม่ใช่ trend อีกต่อไป บัตรประชาชน smart card ของเราจะได้ใช้เต็มที่ link เข้ากับธนาคารและข้อมูลประวัติในโรงพยาบาลได้
ไปซื้อเครื่องดื่มก็ไม่ต้องหยอดเหรียญ แต่ยื่นการ์ดหรืออาจเป็น SIM ไปใกล้ๆ
อย่างตัวอย่างคล้ายๆ กัน ที่ทดลองเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังมีคนเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย และแค่ mobile ยังไม่ได้ใช้ ID card
อนาคตอาจเพิ่มความปลอดภัยด้วยการให้เจ้าของการ์ดกดรหัส ระบบจะเช็คได้ ว่าเรามีเครดิตอยู่เท่าไหร่ คล้ายๆ บัตรเติมเงินของ BTS ตอนนี้ แต่ online กับบัญชีของเราที่เราทำไว้กับ Bank เลย
ซึ่งก็เป็นแบบ debit หรือไม่ก็ credit ที่เพิ่มคุณสมบัตร NFC (near field communication) ลงไป
แต่การโจรกรรมบนโลก digital ก็จะหนักตาม เพราะทุกอย่าง แทบจะอยู่บน online หมด
ดังนั้น จากยุคนี้ IT ที่รุ่ง จากแค่หากินกับต้านไวรัส บริษัทที่จะรุ่งกว่าต้องยืด scope และติดตามความก้าวหน้า ไปหากินกับระบบความปลอดภัยกับเทคโนโลยีที่จะตามมา
แต่ trend ที่น่ากลัวด้านตรงข้ามกับความเจริญคือการถดถอย
เป็นพิบัติภัย และความขาดแคลนด้านอาหาร
โลกเราจะเกิดพิบัติภัยจากความวิปริตของธรรมชาติรุนแรงขึ้น เพราะืำทำลายเร็วกว่าสร้าง ทุกวันนี้ก็ออกมาเตือนกัน ทำ CSR กัน แต่ส่วนใหญ่ทำแบบมือถือสากปากถือศีลทำตามกระแสแค่บังหน้าแบบนักบุญใจบาป คนที่ทำจริงมี แต่มีไม่มากเท่า
น้ำมันหมดแน่ๆ ใครที่อายุเลข 3x-4x อาจเห็นตอนแก่ แค่ราวเลข 2x ได้เจอแน่นอน ตอนนั้นถ้าไม่มีรถยนต์ใช้น้ำมันก็จะหมดความหมาย จึงต้องค้นคว้าอะไรใหม่ๆ มาแทนให้ได้
แค่น้ำมันปาล์ม ก็ไม่พอการใช้แบบถลุงของมนุษย์และไม่พอต่ออุตสาหกรรมการผลิต ระบบเปลี่ยนแสงอาิทิตย์เป็นไฟฟ้าอาจได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ ดังนั้นใครถือลิขสิทธิ์การวิจัยพลังงานทดแทนสะอาดที่ให้บริการมวลชนได้จำนวนมากได้โดยอันตรายไม่รุนแรงแบบนิวเคลียร์ก็จะรวยล้นเหลือ
ถ้ายังไม่เจอ โครงการนิวเคลียร์ก็อาจถูกรื้อขึ้นมาอีกรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรที่ดีกว่า
แล้วมนุษย์ล้านโลก แล้วแย่งทรัพยากรกัน อาหารยากจะผลิตทัน ในความเป็นจริงที่ทำกินเริ่มลดลงเรื่อยๆ ที่เมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สักวันเมื่อหมดสมดุลย์หนักๆ มนุษย์จะเริ่มเห็นว่าข้าวปลา (และขนมปัง) เป็นของจริงจำเป็นต่อชีวิตมากกว่าตัวเลในรายงานประจำปี ใน SET และ Wall Street สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเพื่ออุตสาหกรรมและเมือง (ที่เผาทรัพยากรมากกว่าให้กำเนิดทรัพยากรเพื่อการดำรงชีวิตตามธรรมชาติ)
ตอนนั้น อุตสาหกรรมอาหารจะรุ่งแบบก้าวกระโดดเพราะ supply ลดลงด้วยภัยธรรมชาติและแหล่งผลิต ขณะที่ demand เพิ่มสวนทางกัน แต่น่าเป็นห่วงว่าถ้ายังไม่มีการปรับปรุงหรือเตรียมการรับมือ สักวันอาจทลายแบบทำนบกั้นน้ำ ที่อั้นไว้นานไม่ได้ระบาย
(ที่รองลงมาต่อการดำรงชีพก็คือทรัพยากรน้ำ เพราะน้ำจืดจะร่อยหรอไม่พอ แต่ก็ไม่หนักเท่าอาหาร เพราะยังพอมีทางออกก็คือ จะมีอุตสาหกรรมเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืดในบางพื้นที่ที่ไกลจากแหล่งน้ำมากๆ)
ข้างบนไม่ใช่การทำนายแบบหมอดูหรือมีตาทิพย์ เพราะเราได้เริ่มเห็นหลายอย่างเกิดขึ้นเปิดเส้นทางที่ว่าบ้างแล้ว
และเริ่มเกิดขึ้นจริงแล้ว ไม่ใช่อนาคตไกล ไม่ใช่แค่เป็น idea เหมือนเมื่อ 2-3 ปีก่อน
อย่างทีวี มี 2 แนว แนวหนึ่ง digital ขึ้นดาวเทียม
แนวหนึ่งมาทาง online คือ web TV
เพราะความสามารถของท่อส่งสัญญานจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ แต่ประสิทธิภาพวิธีการส่งประหยัด bandwidth ก็กำลังได้รับการวิจัยพัฒนาแข่งกันออกมาทุกระยะ ใครครอบครองมาตรฐานและกลุ่มผู้ใช้งานให้คนนิยม เป็น mass ได้ก่อน คนนั้นรวย
จะเห็นว่าคนที่คิดไกลไปก่อน ก็คือกูเกิ้ลและที่จริง steve jobs ก็มองไกลด้วยเหมือนกัน แต่ยังไม่ถึงยุค เลยยังไม่โต
แต่ในไทย TV ดาวเทียมน่้าจะแพร่หลายไปไกลก่อนเพราะ infrastructure ต่างจังหวัด ยังไม่พร้อม market player ทั้งหลาย ตอนนี้วางแผนตั้งบริษัทย่อยกันแล้วหลังมีกสทช. ทำให้มองเห็นอนาคตกันมากขึ้น
แล้วต่อไปที่เสริมทีวี ก็คือ Smart Phone อย่างที่ว่า
ความสามารถทางการส่งข้อมูลทั้ง media และ data ทั่วไป มันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแบบ tablet ตอนแรกมันอาจจะไม่เร็ว แต่สุดท้าย ค่าบริการจะถูกลงเรื่อยๆ แต่ความเร็วจะเพิ่มเรื่อยๆ จนเหมือนนั่ง online internet อยู่กับบ้าน
ไม่เกิน 5 ปี เราได้เห็นความเร็ว 100-500Mbps บนมือถือแน่ๆ ตอนนี้ทำได้ในห้องทดลองแล้ว แต่ยังไม่เข็นออกมาง่ายๆ รอให้ 3G ขายหมดรุ่นก่อน
แต่ในที่สุด ในกทม.และเมืองใหญ่ internet บ้านที่สุด ก็จะ smooth เหมือนทีวีอนาล็อค ซึ่งหลายคนก็เห็นแล้วว่า ตอนนี้ไม่ใช่แค่ฝัน ก็ broadband นั่นไง อีกหน่อย Gbps จะเกลื่อน จนเป็นของธรรมดา เกิดขึ้นแล้วในเกาหลีกับเนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์กำลังจะทำให้เป็นจริงถึงกับทำเป็นวาระแห่งชาติ วางแผนกันมา 4-5 ปีแล้ว ทั่วโลกก็จะตามๆ กันไป เพราะอีกหน่อย สาย optic จะพบได้ในทุกบ้านเหมือนสายไฟฟ้าของทุกวันนี้ ตอนนั้น web TV ที่บอกข้างบน ก้เป็นช่องทางที่รวมทุกอย่างไว้
อีกหน่อยก็เป็นไปได้ว่า content บน ฟรีทีวี จะเริ่มออกอากาศบนทีวีดางเทียม และ content เดียวกันนี้ ก็จะถูกจับลงบางช่องของ internet ด้วย คนเมืองก็จะได้รับครบก่อนใคร ในช่วงที่ fiber optic ต่างจังหวัดยังกระจายไปไม่ทั่ว
ตัวเร่งทำให้เกิด คือผลประโยชน์จากการขายโฆษณา ขายบันเทิง และขายของ e-catalog
ต่อไปเราจะสั่งของได้ง่ายกว่าเดิม ถ้าขี้เกียจออกจากบ้าน e-commerce จะเกิดขึ้นเองแพร่หลาย เมื่อกระแสเป็นเช่นนั้น
ส่วนทางด้าน web จะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และมีอุปกรณ์สนับสนุนออกมาตาม
โลกของ virtual จะใกล้ชิดคนมากขึ้นทุกที interactive และ service บน web จะมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น เกมแบบ Wii ก็อาจมี online ด้วย ใครที่อยากใกล้ชิดหมอ อาจถึงขั้นต่อเครื่องวัดหัวใจที่ตัวเอง แล้วหมอนั่งอยู่่โรงพยาบาลหรือคลินิควินิจฉัยเลยก็ได้ หรือให้คำแนะนำก็ได้ถ้าไม่หนัก (คงไม่ถึงขั้นแนะนำให้คนไข้ผ่าตัดตัวเอง )
...ไม่ได้พูดเล่น อีกหน่อย สาว sideline จะมาหากินด้วยวิธี e-catalog แบบนี้ จนปราบไม่ไหวเหมือนเด็กแว๊นซ์หรือปราบ CD เถื่อน เพราะสังกัดเธอจะรวบรวม specification พร้อมมีวีดีโอประกอบ rate X เป็น video ตัวอย่างเลย แต่ถ้าเป็น freelance ไร้สังกัด ก็อาจมี web board รับเป็นศูนย์กลางมี template กรอกข้อมูล และ upload สีดีโอโชว์ยั่วน้ำลายได้ เพราะตอนนั้นกล้องมือถือคงไปไกลถึง 50 Mpix .....
ใครมีลูกหลานยุคหน้าเตรียมรับมือได้ เพราะมีอะไรยั่วยุกว่า่ยุคนี้อีกมาก
อาจมีขาย virtual sex โดยมีเครื่องมืออยู่ปลายทางโดยที่คู่ทั้งสองคนไม่ได้สัมผัสกันจริง เป็นพัฒนาการต่อจาก sex phone ที่ใช้แต่เสียง หรือ camfrog ที่มีภาพประกอบ
ถ้านึกภาพไม่ออก อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างการวิจัย (แต่คงไม่ rate x เพราะแค่การ virtual kiss)
อนาคตมันคงไปไกล และขายหนักกว่านี้
เรืิ่อง ID digital จะไม่ใช่ trend อีกต่อไป บัตรประชาชน smart card ของเราจะได้ใช้เต็มที่ link เข้ากับธนาคารและข้อมูลประวัติในโรงพยาบาลได้
ไปซื้อเครื่องดื่มก็ไม่ต้องหยอดเหรียญ แต่ยื่นการ์ดหรืออาจเป็น SIM ไปใกล้ๆ
อย่างตัวอย่างคล้ายๆ กัน ที่ทดลองเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังมีคนเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย และแค่ mobile ยังไม่ได้ใช้ ID card
อนาคตอาจเพิ่มความปลอดภัยด้วยการให้เจ้าของการ์ดกดรหัส ระบบจะเช็คได้ ว่าเรามีเครดิตอยู่เท่าไหร่ คล้ายๆ บัตรเติมเงินของ BTS ตอนนี้ แต่ online กับบัญชีของเราที่เราทำไว้กับ Bank เลย
ซึ่งก็เป็นแบบ debit หรือไม่ก็ credit ที่เพิ่มคุณสมบัตร NFC (near field communication) ลงไป
แต่การโจรกรรมบนโลก digital ก็จะหนักตาม เพราะทุกอย่าง แทบจะอยู่บน online หมด
ดังนั้น จากยุคนี้ IT ที่รุ่ง จากแค่หากินกับต้านไวรัส บริษัทที่จะรุ่งกว่าต้องยืด scope และติดตามความก้าวหน้า ไปหากินกับระบบความปลอดภัยกับเทคโนโลยีที่จะตามมา
แต่ trend ที่น่ากลัวด้านตรงข้ามกับความเจริญคือการถดถอย
เป็นพิบัติภัย และความขาดแคลนด้านอาหาร
โลกเราจะเกิดพิบัติภัยจากความวิปริตของธรรมชาติรุนแรงขึ้น เพราะืำทำลายเร็วกว่าสร้าง ทุกวันนี้ก็ออกมาเตือนกัน ทำ CSR กัน แต่ส่วนใหญ่ทำแบบมือถือสากปากถือศีลทำตามกระแสแค่บังหน้าแบบนักบุญใจบาป คนที่ทำจริงมี แต่มีไม่มากเท่า
น้ำมันหมดแน่ๆ ใครที่อายุเลข 3x-4x อาจเห็นตอนแก่ แค่ราวเลข 2x ได้เจอแน่นอน ตอนนั้นถ้าไม่มีรถยนต์ใช้น้ำมันก็จะหมดความหมาย จึงต้องค้นคว้าอะไรใหม่ๆ มาแทนให้ได้
แค่น้ำมันปาล์ม ก็ไม่พอการใช้แบบถลุงของมนุษย์และไม่พอต่ออุตสาหกรรมการผลิต ระบบเปลี่ยนแสงอาิทิตย์เป็นไฟฟ้าอาจได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ ดังนั้นใครถือลิขสิทธิ์การวิจัยพลังงานทดแทนสะอาดที่ให้บริการมวลชนได้จำนวนมากได้โดยอันตรายไม่รุนแรงแบบนิวเคลียร์ก็จะรวยล้นเหลือ
ถ้ายังไม่เจอ โครงการนิวเคลียร์ก็อาจถูกรื้อขึ้นมาอีกรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรที่ดีกว่า
แล้วมนุษย์ล้านโลก แล้วแย่งทรัพยากรกัน อาหารยากจะผลิตทัน ในความเป็นจริงที่ทำกินเริ่มลดลงเรื่อยๆ ที่เมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สักวันเมื่อหมดสมดุลย์หนักๆ มนุษย์จะเริ่มเห็นว่าข้าวปลา (และขนมปัง) เป็นของจริงจำเป็นต่อชีวิตมากกว่าตัวเลในรายงานประจำปี ใน SET และ Wall Street สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเพื่ออุตสาหกรรมและเมือง (ที่เผาทรัพยากรมากกว่าให้กำเนิดทรัพยากรเพื่อการดำรงชีวิตตามธรรมชาติ)
ตอนนั้น อุตสาหกรรมอาหารจะรุ่งแบบก้าวกระโดดเพราะ supply ลดลงด้วยภัยธรรมชาติและแหล่งผลิต ขณะที่ demand เพิ่มสวนทางกัน แต่น่าเป็นห่วงว่าถ้ายังไม่มีการปรับปรุงหรือเตรียมการรับมือ สักวันอาจทลายแบบทำนบกั้นน้ำ ที่อั้นไว้นานไม่ได้ระบาย
(ที่รองลงมาต่อการดำรงชีพก็คือทรัพยากรน้ำ เพราะน้ำจืดจะร่อยหรอไม่พอ แต่ก็ไม่หนักเท่าอาหาร เพราะยังพอมีทางออกก็คือ จะมีอุตสาหกรรมเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืดในบางพื้นที่ที่ไกลจากแหล่งน้ำมากๆ)
ข้างบนไม่ใช่การทำนายแบบหมอดูหรือมีตาทิพย์ เพราะเราได้เริ่มเห็นหลายอย่างเกิดขึ้นเปิดเส้นทางที่ว่าบ้างแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 14
ผมมองต่างนะครับเรื่องอาหาร
อีกหน่อยจะมีอาหารสังเคราะห์ที่ผลิตไม่ยากต้นทุนต่ำ ผลิตได้มากมาย มีคุณค่าอาหารครบทุกหมุ่ ทานง่ายสะดวก ปัญหาเรื่องอาหารจะหมดไป ในอนาคตไม่ต้องมาเลี้ยงสัตว์อะไรกันมากมาย แต่จะกลายเป็นสังเคราะห์อาหารจากเซลล์แทน
อีกหน่อยจะมีอาหารสังเคราะห์ที่ผลิตไม่ยากต้นทุนต่ำ ผลิตได้มากมาย มีคุณค่าอาหารครบทุกหมุ่ ทานง่ายสะดวก ปัญหาเรื่องอาหารจะหมดไป ในอนาคตไม่ต้องมาเลี้ยงสัตว์อะไรกันมากมาย แต่จะกลายเป็นสังเคราะห์อาหารจากเซลล์แทน
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 15
beaeaebe เขียน:ผมมองต่างนะครับเรื่องอาหาร
อีกหน่อยจะมีอาหารสังเคราะห์ที่ผลิตไม่ยากต้นทุนต่ำ ผลิตได้มากมาย มีคุณค่าอาหารครบทุกหมุ่ ทานง่ายสะดวก ปัญหาเรื่องอาหารจะหมดไป ในอนาคตไม่ต้องมาเลี้ยงสัตว์อะไรกันมากมาย แต่จะกลายเป็นสังเคราะห์อาหารจากเซลล์แทน
+1 มองข้ามช๊อตดีครับ
ผมชอบคน หัวคิดทันสมัย อาหารน่าจะทานน้อยลง แต่มีประโยชน์มากขึ้น
คนน่าจะทำงานน้อยลง แต่ใช้เครื่องจักรมากขึ้น
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 16
เรื่องเทรนด์ ผมคิดว่าการมองว่าเทรนด์ไหนจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญส่วนหนึ่ง
แต่ที่สำคัญกว่าคือ หลายครั้งเทรนด์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่ใครๆก็ทำได้
หรือเป็นเรื่องที่หลายๆเจ้าสามารถกระโดดเข้ามาทำได้ การที่เรามองได้ว่าเทรนด์ไหนจะเกิดขึ้นนั้น
ก็ไม่ค่อยเกิดประโยชน์ในการลงทุน เพราะทุกรายสามารถทำได้เหมือนๆกัน ไม่มีใครได้เปรียบมากมายนัก
เมื่อหลายๆคนมองเห็นก็กระโดดลงมาทำ กลายเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงไปแล้ว ถึงจะอยู่ในเทรนด์ก็ไม่มีประโยชน์
ยกตัวอย่างเช่น พลังงานทดแทน ตอนนี้คนทำเพียบ เพราะเทคโนโลยีก็เหมือนๆกันใครก็ทำได้ ทุกคนก็มองเห็น
ว่าอนาคตพลังงานทดแทนจะสำคัญ หลายคนก็ลงมาทำ ผลก็คือไม่มีใครได้เปรียบ หรือเป็นผู้ผูกขาดได้
ตอนนี้ธุรกิจนี้ก็ต้องพึ่งนโยบายรัฐอยู่ คนที่ลงทุนไปตอนแรกๆ เจ้งไปมากเพราะต้นทุนสูง เป็นต้น
เทรนด์ที่จะมีประโยชน์สำหรับการลงทุน ผมคิดว่า ต้องมีบริษัทที่มีความได้เปรียบมากกว่าคนอื่น
หรือสามารถกันท่าคนอื่นไม่ให้เข้ามาแข่งขันได้ จะด้วยข้อได้เปรียบอะไรก็แล้วแต่ หรืออาจจะมองเห็นก่อนมานาน
เทรนด์นั้นๆ จึงจะมีประโยชน์สำหรับบริษัทในการที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่
เช่น กรณีคลาสสิค 7-11 ที่ตอนเริ่มนั้นคู่แข่งน้อยมาก สอดรับกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นว่า modern trade กำลังมา
คนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการซื้อ 7-11เร่งขยายสาขาก่อนคู่แข่งจะเกิดซะอีก
ตอนนี้ใครก็มองออกว่า modern trade เป็นกระแสหลัก ถามว่าใครจะโดดมาแข่งกับ 7-11 ไหว
แต่ที่สำคัญกว่าคือ หลายครั้งเทรนด์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่ใครๆก็ทำได้
หรือเป็นเรื่องที่หลายๆเจ้าสามารถกระโดดเข้ามาทำได้ การที่เรามองได้ว่าเทรนด์ไหนจะเกิดขึ้นนั้น
ก็ไม่ค่อยเกิดประโยชน์ในการลงทุน เพราะทุกรายสามารถทำได้เหมือนๆกัน ไม่มีใครได้เปรียบมากมายนัก
เมื่อหลายๆคนมองเห็นก็กระโดดลงมาทำ กลายเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงไปแล้ว ถึงจะอยู่ในเทรนด์ก็ไม่มีประโยชน์
ยกตัวอย่างเช่น พลังงานทดแทน ตอนนี้คนทำเพียบ เพราะเทคโนโลยีก็เหมือนๆกันใครก็ทำได้ ทุกคนก็มองเห็น
ว่าอนาคตพลังงานทดแทนจะสำคัญ หลายคนก็ลงมาทำ ผลก็คือไม่มีใครได้เปรียบ หรือเป็นผู้ผูกขาดได้
ตอนนี้ธุรกิจนี้ก็ต้องพึ่งนโยบายรัฐอยู่ คนที่ลงทุนไปตอนแรกๆ เจ้งไปมากเพราะต้นทุนสูง เป็นต้น
เทรนด์ที่จะมีประโยชน์สำหรับการลงทุน ผมคิดว่า ต้องมีบริษัทที่มีความได้เปรียบมากกว่าคนอื่น
หรือสามารถกันท่าคนอื่นไม่ให้เข้ามาแข่งขันได้ จะด้วยข้อได้เปรียบอะไรก็แล้วแต่ หรืออาจจะมองเห็นก่อนมานาน
เทรนด์นั้นๆ จึงจะมีประโยชน์สำหรับบริษัทในการที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่
เช่น กรณีคลาสสิค 7-11 ที่ตอนเริ่มนั้นคู่แข่งน้อยมาก สอดรับกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นว่า modern trade กำลังมา
คนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการซื้อ 7-11เร่งขยายสาขาก่อนคู่แข่งจะเกิดซะอีก
ตอนนี้ใครก็มองออกว่า modern trade เป็นกระแสหลัก ถามว่าใครจะโดดมาแข่งกับ 7-11 ไหว
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 17
Maga Trends ครับ
Internet คือ หนึ่งในนั้น
Internet คือ หนึ่งในนั้น
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 18
เกี่ยวกับ Maga trends ?
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=49062
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=49062
LA-Z-BOY เขียน:เผื่อมีประโยชน์ครับ
-เสียงสัมนา Money Talk หัวข้อ Megatrends เมื่อกลางปีที่แล้ว ช่วงที่พี่นรินทร์(สุมาอี้)บรรยาย
http://bit.ly/n3bPCS
-บทความล่าสุดของพี่สุมาอี้ กล่าวถึง sectors ที่น่าจะได้รับผลดีจากกำลังซื้อและจำนวนของชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น
http://dekisugi.net/archives/13774
-หนังสือ Microtrends ผมยืนพลิกๆดูสารบัญและอ่านไปสองบทที่ร้าน Kinokuniya ที่ Paragon ก็รู้สึกเข้าท่าดี (เล่นดักตั้งแต่เป็น micro กันเลย แต่บาง trends อาจแป๊กได้ แหะๆ)
http://bit.ly/1yQpVJ
http://bit.ly/oNnXOn
-สุดท้ายเป็นบทความยังใหม่อยู่ เพิ่ง search เจอ เข้าใจว่าผู้แต่งไม่ได้เป็นนักลงทุน เป็นผู้ประสานงานทางการค้าของหน่วยงานรัฐ
http://bit.ly/mQcNIA link ที่สองไล่จากบนครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 20
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewN ... 0000147409
แอลจี-กูเกิล-โซนี่-แอปเปิล ออกตัวแรง"ทีวีไฮเทค"! (Cyber Weekend)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 20:39 น.
Share29
ทีวีอินเทอร์เน็ต เปิดศึกดวลเดือดแน่นอนปีหน้า
ถือเป็นสัญญาณตอกย้ำว่ายักษ์ใหญ่พยายามปั้น"ทีวีพันธุ์ใหม่"ออกสู่ตลาดอย่างไม่มีใครยอมใคร ไล่ตั้งแต่แอลจี (LG) ที่มีข่าวว่ากำลังจะเปิดตัว "Google TV" หรือทีวีต่ออินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการและนานาบริการของกูเกิล (Google) ขณะที่ยักษ์ใหญ่โซนี (Sony) ประกาศชัดเจนว่ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาทีวีชนิดใหม่ซึ่งยังไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆ
หรือแม้แต่หนังสือชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ยังเผยความต้องการของผู้ก่อตั้งแอปเปิลผู้ล่วงลับ ว่าต้องการพลิกโฉมทีวีให้เป็น iPad จอยักษ์ 40 หรือ 50 นิ้วให้ได้
ทั้งหมดขีดเส้นพร้อมรบเต็มตัวในปี 2555 ที่จะถึงนี้
ถามว่าทำไมทีวีจึงกลายเป็นขุมทรัพย์ที่ใครๆก็อยากค้นหา คำตอบนั้นแสนง่ายก็คือเพราะทีวีเป็นของใกล้ตัวของคนทุกวัยทั่วโลก และในวันที่เทคโนโลยีก้าวไกลพร้อมกับอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ผู้ผลิตทีวีย่อมรู้ดีว่าไม่สามารถอยู่นิ่งแล้วดื่มด่ำอยู่กับความสำเร็จเดิมๆที่มีอยู่ ขณะเดียวกันค่ายผู้ผลิตสินค้าและบริการเทคโนโลยีก็เล็งเห็นว่ายังมีช่องทางทำธุรกิจที่เข้าถึงประชากรโลก 6 พันล้านคนได้ผ่านการพัฒนาทีวีที่ไม่ใช่แค่จอตู้หรือจอแก้วอีกต่อไป
แอลจีจะเป็นผู้ที่ประเดิมโหมไฟในสังเวียนทีวีไฮเทคช่วงปีหน้า แหล่งข่าววงในระบุว่าแอลจีกำลังจะเปิดตัว Google TV รุ่นใหม่ล่าสุดในงานเทรดโชว์ Consumer Electronics Show หรือ CES ที่จะจัดในลาสเวกัส เดือนมกราคม 2555 ความสำคัญของทีวีรุ่นนี้คือการเป็น Google TV รุ่นแรกในแบรนด์แอลจี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายทีวีอันดับ 2 ของโลก
แม้ประชาสัมพันธ์ทั้งแอลจีและกูเกิลจะปฏิเสธไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวที่เกิดขึ้น แต่ทุกฝ่ายเชื่อว่าข่าวดังกล่าวมีมูลเพราะกูเกิลต้องพยายามสร้าง Google TV พันธุ์ใหม่ที่สามารถสู้กับคู่แข่งทั้งแอปเปิล และไมโครซอฟท์ เช่นเดียวกับแอลจีที่ต้องเร่งมือสร้างจุดต่างให้เหนือกว่าคู่แข่งชาติเดียวกันอย่างซัมซุง (Samsung) และชาติอื่นซึ่งแข่งขันดุเดือดเหลือเกินในตลาดทีวีจอบาง 3 มิติ
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ Google TV รุ่นแรก เพราะ Google TV นั้นเริ่มวางจำหน่ายแล้วตั้งแต่กลางปี 2010 ที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์รับสัญญาณในรูปแบบกล่องเซ็ตท็อบบ็อกซ์ฝีมือการผลิตซอฟต์แวร์ของกูเกิล และฮาร์ดแวร์ของลอจิเทคในชื่อ Logitech Revue (300 เหรียญ), รีโมทคอนโทรลไร้สาย Mini Controller สำหรับควบคุม (130 เหรียญ), อุปกรณ์ทีวีคาเมราหรือชุดกล้องดิจิตอลเพื่อการทำวิดีโอคอนเฟอร์เรนซิงบนทีวี (150 เหรียญ) และคีย์บอร์ดที่จะถูกพ่วงไปกับ Revue จะวางจำหน่ายแยกต่างหากในราคา 100 เหรียญ กระทั่งเดือนตุลาคม 2010 โซนี่จึงเริ่มเปิดตัวทีวีที่รองรับแพลตฟอร์ม Google TV และจำหน่ายต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
อุปกรณ์รับสัญญาณในรูปแบบกล่องเซ็ตท็อบบ็อกซ์ฝีมือการผลิตซอฟต์แวร์ของกูเกิล และฮาร์ดแวร์ของลอจิเทคในชื่อ Logitech Revue
แต่ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้างใครเลย ทำให้โซนี่ยังประสบภาวะขาดทุนในไตรมาสล่าสุด และลอจิเทคต้องประกาศเลิกกิจการ Revue อย่างถาวรเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2011 ที่ผ่านมา
ลอจิเทคให้เหตุผลว่าเพราะปัญหาใน Revue และการบริหารงานที่ผิดพลาด บริษัทจึงสูญรายได้ไปมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทจะชะลอแผนการพัฒนาอุปกรณ์เสริมสำหรับทีวีทุกประเภทออกไป และ Revue จะยังวางจำหน่ายจนกว่าสินค้าจะหมด
กูเกิลกลับไม่ยอมแพ้ง่ายๆ โดยดึงดันเริ่มต้นทดสอบซอฟต์แวร์ Google TV 2.0 ช่วงเดือนสิงหาคม ก่อนจะอัปเกรดอย่างเป็นทางการในผลิตภัณฑ์ตระกูล Revue ใน 1 เดือนถัดมา ทั้งหมดกูเกิลยืนยันว่า Google TV 2.0 ซึ่งเปลี่ยนมาพัฒนาให้อยู่บนฐานของแอนดรอยด์เวอร์ชัน 3.1 หรือ Android Honeycomb นั้นถูกพัฒนาให้ผู้ใช้สามารถควบคุมเครื่องได้ง่ายขึ้น เพราะใช้หน้าจอรายการแอปพลิเคชันแบบ Android Honeycomb ซึ่งผู้ใช้คุ้นเคยมาจากแท็บเล็ตอยู่แล้ว
กูเกิลระบุว่าได้เพิ่มความสามารถให้ Google TV จัดการงานด้านการค้นหาได้ดีขึ้น ทั้งการค้นหาข้อมูลออนไลน์และการค้นหารายการทีวี โดยผู้ใช้จะสามารถลงแอปพลิเคชันจาก Android Market ได้ (เบื้องต้นมีแอปพลิเคชันที่เหมาะกับการแสดงผลบนทีวีราว 50 แอป) แอปพลิเคชันที่จะติดตั้งมาให้จากโรงงานคือ "TV & Movies" เพื่อแสดงรายการทีวี-ภาพยนตร์จากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ทั้งผู้ให้บริการเคเบิลทีวี, Netflix, Amazon และ YouTube จุดนี้กูเกิลการันตีว่าได้ปรับปรุงความสามารถของการดูวิดีโอบน YouTube โดยเฉพาะการเพิ่มความเร็วในการโหลดวิดีโอบน YouTube ซึ่งการทดสอบของบางสำนักพบว่ามีความเร็วเทียบเท่าการเปลี่ยนช่องทีวี คุณสมบัติทั้งหมดคาดว่าจะได้เห็นใน Google TV ฝีมือการผลิตของแอลจีแน่นอน
กลับมาที่โซนี่ ในเวลาที่ลอจิเทคแสดงจุดยืนชัดเจนว่ายอมแพ้ และกูเกิลยืนยันว่าไม่ท้อถอยเช่นนี้ โซนี่ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกูเกิลกลับไม่ยอมพูดถึง Google TV แต่ผ่าไปประกาศว่าพร้อมเปิดตัว "ทีวีชนิดใหม่" ซึ่งโซนี่ระบุว่าใช้เวลาพัฒนามานานถึง 5 ปีแทน
Google TV ฝีมือการผลิตของโซนี่
สำนักข่าววอลสตรีทเจอร์นอลรายงานว่าโฮเวิร์ด สตริงเจอร์ ซีอีโอโซนี่ยอมรับจริงจังว่าโซนี่ไม่สามารถจำหน่ายชุดทีวีแบบเดิมอีกต่อไป เพราะผลิตภัณฑ์ทีวีที่โซนี่ผลิตในขณะนี้อยู่ในภาวะขาดทุน สิ่งที่โซนี่กำลังจะทำคือการสร้างชุดอุปกรณ์เสริมทีวีที่โซนี่จะจำหน่ายแยกต่างหากซึ่งซีอีโอโซนี่ระบุชัดเจนว่ากำลังวิจัยและพัฒนาให้อุปกรณ์ เสริมดังกล่าวเป็น "different kind of TV set" หรือเป็นชุดอุปกรณ์สำหรับโทรทัศน์ที่ยังไม่เคยมีขายในท้องตลาด
โซนี่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆของแผนดังกล่าว เบื้องต้น โซนี่ประเมินว่าบริษัทขาดทุนราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปีการเงินนี้ (สิ้นสุดเดือนมีนาคม) สาเหตุสำคัญอยู่ที่ธุรกิจจำหน่ายทีวีที่ถูกสงครามราคาคุกคามตลอดเวลา และภัยธรรมชาติทั้งสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นและอุทกภัยที่เกิดกับโรงงานผลิตของโซนี่ในประเทศไทย
ที่สำคัญ สังเวียนทีวีในปีหน้ายังมีแนวโน้มดุเดือดเต็มที่เมื่อสตีฟ จ็อบส์ เจ้าพ่อวงการไอทีผู้ล่วงลับได้กล่าวกับผู้เขียนชีวประวัติของเขาอย่างวอลเตอร์ ไอแซคสัน (Walter Isaacson) ว่าสิ่งต่อไปที่เขาตั้งใจจะปฏิวัตินั้นคือทีวีของทุกคน คำประกาศนี้ได้รับความสนใจมากเพราะจ็อบส์และแอปเปิล สามารถปฏิวัติโลกแห่งโทรศัพท์มือถือได้ รวมถึงโลกแห่งการฟังเพลง การ์ตูนแอนิเมชัน คอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ได้แล้วในขณะนี้
เนื้อความในหนังสือระบุว่า เป้าหมายของจ็อบส์คือการทำให้ทีวีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด ทีวีจะต้องเชื่อมต่อกับบริการของแอปเปิลได้แบบไร้รอยต่อ ผู้ใช้จะไม่ต้องวุ่นวายกับการสลับรีโมทเครื่องเล่นดีวีดีและรีโมทเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อเปลี่ยนช่องให้วุ่นวายต่อไป ทั้งหมดจะมาในรูปอินเทอร์เฟสที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายมากชนิดที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน ซึ่งจ็อบส์ระบุว่าสามารถ"แครก"หรือสามารถคิดค้นวิธีก้าวผ่านข้อจำกัดมาได้สำเร็จแล้ว
เรื่องนี้นักวิเคราะห์เชื่อว่า ผลงานสุดท้ายของจ็อบส์จะสามารถเปิดตลาดได้ในช่วงปลายปีหน้าหรือต้นปี 2013 ซึ่งถึงเวลานั้น ผู้เล่นทุกรายในตลาดทีวีจะต้องระวังตัวให้ดี
ไม่อย่างนั้นจะตกกระป๋องแน่นอน.
แอลจี-กูเกิล-โซนี่-แอปเปิล ออกตัวแรง"ทีวีไฮเทค"! (Cyber Weekend)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 20:39 น.
Share29
ทีวีอินเทอร์เน็ต เปิดศึกดวลเดือดแน่นอนปีหน้า
ถือเป็นสัญญาณตอกย้ำว่ายักษ์ใหญ่พยายามปั้น"ทีวีพันธุ์ใหม่"ออกสู่ตลาดอย่างไม่มีใครยอมใคร ไล่ตั้งแต่แอลจี (LG) ที่มีข่าวว่ากำลังจะเปิดตัว "Google TV" หรือทีวีต่ออินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการและนานาบริการของกูเกิล (Google) ขณะที่ยักษ์ใหญ่โซนี (Sony) ประกาศชัดเจนว่ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาทีวีชนิดใหม่ซึ่งยังไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆ
หรือแม้แต่หนังสือชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ยังเผยความต้องการของผู้ก่อตั้งแอปเปิลผู้ล่วงลับ ว่าต้องการพลิกโฉมทีวีให้เป็น iPad จอยักษ์ 40 หรือ 50 นิ้วให้ได้
ทั้งหมดขีดเส้นพร้อมรบเต็มตัวในปี 2555 ที่จะถึงนี้
ถามว่าทำไมทีวีจึงกลายเป็นขุมทรัพย์ที่ใครๆก็อยากค้นหา คำตอบนั้นแสนง่ายก็คือเพราะทีวีเป็นของใกล้ตัวของคนทุกวัยทั่วโลก และในวันที่เทคโนโลยีก้าวไกลพร้อมกับอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ผู้ผลิตทีวีย่อมรู้ดีว่าไม่สามารถอยู่นิ่งแล้วดื่มด่ำอยู่กับความสำเร็จเดิมๆที่มีอยู่ ขณะเดียวกันค่ายผู้ผลิตสินค้าและบริการเทคโนโลยีก็เล็งเห็นว่ายังมีช่องทางทำธุรกิจที่เข้าถึงประชากรโลก 6 พันล้านคนได้ผ่านการพัฒนาทีวีที่ไม่ใช่แค่จอตู้หรือจอแก้วอีกต่อไป
แอลจีจะเป็นผู้ที่ประเดิมโหมไฟในสังเวียนทีวีไฮเทคช่วงปีหน้า แหล่งข่าววงในระบุว่าแอลจีกำลังจะเปิดตัว Google TV รุ่นใหม่ล่าสุดในงานเทรดโชว์ Consumer Electronics Show หรือ CES ที่จะจัดในลาสเวกัส เดือนมกราคม 2555 ความสำคัญของทีวีรุ่นนี้คือการเป็น Google TV รุ่นแรกในแบรนด์แอลจี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายทีวีอันดับ 2 ของโลก
แม้ประชาสัมพันธ์ทั้งแอลจีและกูเกิลจะปฏิเสธไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวที่เกิดขึ้น แต่ทุกฝ่ายเชื่อว่าข่าวดังกล่าวมีมูลเพราะกูเกิลต้องพยายามสร้าง Google TV พันธุ์ใหม่ที่สามารถสู้กับคู่แข่งทั้งแอปเปิล และไมโครซอฟท์ เช่นเดียวกับแอลจีที่ต้องเร่งมือสร้างจุดต่างให้เหนือกว่าคู่แข่งชาติเดียวกันอย่างซัมซุง (Samsung) และชาติอื่นซึ่งแข่งขันดุเดือดเหลือเกินในตลาดทีวีจอบาง 3 มิติ
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ Google TV รุ่นแรก เพราะ Google TV นั้นเริ่มวางจำหน่ายแล้วตั้งแต่กลางปี 2010 ที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์รับสัญญาณในรูปแบบกล่องเซ็ตท็อบบ็อกซ์ฝีมือการผลิตซอฟต์แวร์ของกูเกิล และฮาร์ดแวร์ของลอจิเทคในชื่อ Logitech Revue (300 เหรียญ), รีโมทคอนโทรลไร้สาย Mini Controller สำหรับควบคุม (130 เหรียญ), อุปกรณ์ทีวีคาเมราหรือชุดกล้องดิจิตอลเพื่อการทำวิดีโอคอนเฟอร์เรนซิงบนทีวี (150 เหรียญ) และคีย์บอร์ดที่จะถูกพ่วงไปกับ Revue จะวางจำหน่ายแยกต่างหากในราคา 100 เหรียญ กระทั่งเดือนตุลาคม 2010 โซนี่จึงเริ่มเปิดตัวทีวีที่รองรับแพลตฟอร์ม Google TV และจำหน่ายต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
อุปกรณ์รับสัญญาณในรูปแบบกล่องเซ็ตท็อบบ็อกซ์ฝีมือการผลิตซอฟต์แวร์ของกูเกิล และฮาร์ดแวร์ของลอจิเทคในชื่อ Logitech Revue
แต่ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้างใครเลย ทำให้โซนี่ยังประสบภาวะขาดทุนในไตรมาสล่าสุด และลอจิเทคต้องประกาศเลิกกิจการ Revue อย่างถาวรเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2011 ที่ผ่านมา
ลอจิเทคให้เหตุผลว่าเพราะปัญหาใน Revue และการบริหารงานที่ผิดพลาด บริษัทจึงสูญรายได้ไปมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทจะชะลอแผนการพัฒนาอุปกรณ์เสริมสำหรับทีวีทุกประเภทออกไป และ Revue จะยังวางจำหน่ายจนกว่าสินค้าจะหมด
กูเกิลกลับไม่ยอมแพ้ง่ายๆ โดยดึงดันเริ่มต้นทดสอบซอฟต์แวร์ Google TV 2.0 ช่วงเดือนสิงหาคม ก่อนจะอัปเกรดอย่างเป็นทางการในผลิตภัณฑ์ตระกูล Revue ใน 1 เดือนถัดมา ทั้งหมดกูเกิลยืนยันว่า Google TV 2.0 ซึ่งเปลี่ยนมาพัฒนาให้อยู่บนฐานของแอนดรอยด์เวอร์ชัน 3.1 หรือ Android Honeycomb นั้นถูกพัฒนาให้ผู้ใช้สามารถควบคุมเครื่องได้ง่ายขึ้น เพราะใช้หน้าจอรายการแอปพลิเคชันแบบ Android Honeycomb ซึ่งผู้ใช้คุ้นเคยมาจากแท็บเล็ตอยู่แล้ว
กูเกิลระบุว่าได้เพิ่มความสามารถให้ Google TV จัดการงานด้านการค้นหาได้ดีขึ้น ทั้งการค้นหาข้อมูลออนไลน์และการค้นหารายการทีวี โดยผู้ใช้จะสามารถลงแอปพลิเคชันจาก Android Market ได้ (เบื้องต้นมีแอปพลิเคชันที่เหมาะกับการแสดงผลบนทีวีราว 50 แอป) แอปพลิเคชันที่จะติดตั้งมาให้จากโรงงานคือ "TV & Movies" เพื่อแสดงรายการทีวี-ภาพยนตร์จากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ทั้งผู้ให้บริการเคเบิลทีวี, Netflix, Amazon และ YouTube จุดนี้กูเกิลการันตีว่าได้ปรับปรุงความสามารถของการดูวิดีโอบน YouTube โดยเฉพาะการเพิ่มความเร็วในการโหลดวิดีโอบน YouTube ซึ่งการทดสอบของบางสำนักพบว่ามีความเร็วเทียบเท่าการเปลี่ยนช่องทีวี คุณสมบัติทั้งหมดคาดว่าจะได้เห็นใน Google TV ฝีมือการผลิตของแอลจีแน่นอน
กลับมาที่โซนี่ ในเวลาที่ลอจิเทคแสดงจุดยืนชัดเจนว่ายอมแพ้ และกูเกิลยืนยันว่าไม่ท้อถอยเช่นนี้ โซนี่ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกูเกิลกลับไม่ยอมพูดถึง Google TV แต่ผ่าไปประกาศว่าพร้อมเปิดตัว "ทีวีชนิดใหม่" ซึ่งโซนี่ระบุว่าใช้เวลาพัฒนามานานถึง 5 ปีแทน
Google TV ฝีมือการผลิตของโซนี่
สำนักข่าววอลสตรีทเจอร์นอลรายงานว่าโฮเวิร์ด สตริงเจอร์ ซีอีโอโซนี่ยอมรับจริงจังว่าโซนี่ไม่สามารถจำหน่ายชุดทีวีแบบเดิมอีกต่อไป เพราะผลิตภัณฑ์ทีวีที่โซนี่ผลิตในขณะนี้อยู่ในภาวะขาดทุน สิ่งที่โซนี่กำลังจะทำคือการสร้างชุดอุปกรณ์เสริมทีวีที่โซนี่จะจำหน่ายแยกต่างหากซึ่งซีอีโอโซนี่ระบุชัดเจนว่ากำลังวิจัยและพัฒนาให้อุปกรณ์ เสริมดังกล่าวเป็น "different kind of TV set" หรือเป็นชุดอุปกรณ์สำหรับโทรทัศน์ที่ยังไม่เคยมีขายในท้องตลาด
โซนี่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆของแผนดังกล่าว เบื้องต้น โซนี่ประเมินว่าบริษัทขาดทุนราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปีการเงินนี้ (สิ้นสุดเดือนมีนาคม) สาเหตุสำคัญอยู่ที่ธุรกิจจำหน่ายทีวีที่ถูกสงครามราคาคุกคามตลอดเวลา และภัยธรรมชาติทั้งสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นและอุทกภัยที่เกิดกับโรงงานผลิตของโซนี่ในประเทศไทย
ที่สำคัญ สังเวียนทีวีในปีหน้ายังมีแนวโน้มดุเดือดเต็มที่เมื่อสตีฟ จ็อบส์ เจ้าพ่อวงการไอทีผู้ล่วงลับได้กล่าวกับผู้เขียนชีวประวัติของเขาอย่างวอลเตอร์ ไอแซคสัน (Walter Isaacson) ว่าสิ่งต่อไปที่เขาตั้งใจจะปฏิวัตินั้นคือทีวีของทุกคน คำประกาศนี้ได้รับความสนใจมากเพราะจ็อบส์และแอปเปิล สามารถปฏิวัติโลกแห่งโทรศัพท์มือถือได้ รวมถึงโลกแห่งการฟังเพลง การ์ตูนแอนิเมชัน คอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ได้แล้วในขณะนี้
เนื้อความในหนังสือระบุว่า เป้าหมายของจ็อบส์คือการทำให้ทีวีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด ทีวีจะต้องเชื่อมต่อกับบริการของแอปเปิลได้แบบไร้รอยต่อ ผู้ใช้จะไม่ต้องวุ่นวายกับการสลับรีโมทเครื่องเล่นดีวีดีและรีโมทเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อเปลี่ยนช่องให้วุ่นวายต่อไป ทั้งหมดจะมาในรูปอินเทอร์เฟสที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายมากชนิดที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน ซึ่งจ็อบส์ระบุว่าสามารถ"แครก"หรือสามารถคิดค้นวิธีก้าวผ่านข้อจำกัดมาได้สำเร็จแล้ว
เรื่องนี้นักวิเคราะห์เชื่อว่า ผลงานสุดท้ายของจ็อบส์จะสามารถเปิดตลาดได้ในช่วงปลายปีหน้าหรือต้นปี 2013 ซึ่งถึงเวลานั้น ผู้เล่นทุกรายในตลาดทีวีจะต้องระวังตัวให้ดี
ไม่อย่างนั้นจะตกกระป๋องแน่นอน.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 21
ไม่แน่ใจ ว่าคนสืบทอดจาก jobs จะทำได้ดีแค่ไหน
jobs ยึดครองวงการเพลง และ smart phone สำเร็จไปแล้ว (ผมเห็นรูป Nokia ฝันถึง smart phone ก่อนมานาน แต่กั๊กไว้หรือทำไม่สำเร็จก็ไม่รู้ จนกลายเป็นผู้ตาม)
ตามในบทความ ก็คือกำลังคิดจะปฏิวัตยึดครองทีวีต่อ พอๆ กับกูเกิ้ล....ซึ่งผลประโยชน์มหาศาลกว่า...เพราะเป็นหนึ่งใน 4-5 จอ* ที่คนจ้องมองทุกวัน และใช้เวลามากที่สุด แถมเป็นการเพ่งมองใช้เวลานานที่สุดอย่างเต็มใจ ของมนุษย์ยุคนี้
*แบ่งกันในวงการโฆษณา
จอที่ 1 จอเงิน (จอหนังโรงใหญ่)
จอที่ 2 จอแก้ว/ทีวี
จอที่ 3 จอคอมพ์ต่อมาผสมโรงด้วย WWW
จอที่ 4 จอมือถือ อุปกรณ์พกพา ลามมาถึงเทคโนโลยีตอนนี้ ที่ความเร็วสูง อย่าง Tablet
จอที่ 5 จออุปกรณ์ดิจิตอลนอกบ้าน ตอนแรกก็หมายถึงจอให้ข้อมูลแบบดิจิตอล อย่างป้ายบอกเวลาตารางบิน ตอนหลังผสมผสานกับ Internet หมายถึง Public Information Board หรือของ Outlet ต่างๆ
http://en.wikipedia.org/wiki/Fourth_screen
Fourth screen
From Wikipedia, the free encyclopedia
"Fourth screen" is a generally accepted term used in a number of advertising and technology industries, to refer to a small portable video screen such as those found in mobile (cellular) phones or other portable electronic devices such as a video iPod player. Sometimes referred to as the "Third Screen."
While the term is gaining acceptance into popular usage, it is not as well known as “Cell “PDA” and “mobile” which are other terms used in the English-speaking world to refer to these very popular electronic devices.
Today, people use mobile devices in ways that open new possibilities for Documentary Practice.
[edit] History
The term fourth screen originates in reference to the actual historical sequence in the development of video screens.
The first three video screens:
1) The movie screen, also known as the Silver Screen.
2) Television (TV)
3) Personal Computer (PC)
http://en.wikipedia.org/wiki/Fifth_screen
Fifth screen
From Wikipedia, the free encyclopedia
The Fifth screen is the most recent in a historic line of communication screens. It is commonly called Digital signage or Digital Out Of Home. The Fifth Screen represents the combination of the World Wide Web and mobile 2G, 3G and 4G technologies, Internet, displays and data/media uploaded and streamed to displays placed in various public environments.
The Fifth screen is typically found in three main categories; Point of Sale, Point of Wait and Point of Transit. It is expected that millions of these screens will be deployed over the next five years in places like retail outlets, while waiting in line, and in transit (e.g. digital billboards).
The Fifth Screen represents an unprecedented new medium that requires three main elements to support it, Technology, Media and an Audience to see it. On the technology side there are three main categories that support the Fifth Screen:software, Connectivity networks and Harware including hardware, displays and cameras. One the Media Side of the equation there are a number of elements that need to be considered to play proper media that is relevant in a venue that include type of network (Point of Wait, Point of Transit or Point of Sale). The audience tha views the Fifth Screen is also a measured and quantifiable using AVA (anonymous video analytics)and physical counts.
Contents
[hide]
1 History
1.1 Historic review
1.2 Digital signage
2 See also
3 References
4 External links
[edit] History
The history of screens may be summarized as follows:
First screen, the Silver Screen (movies)
Second screen, television
The Third screen really came about after the advent of two technologies melding together - the personal computer and the publicly available World Wide Web in 1995
Arguably the Fourth screen is related to mobile hand held devices.[1] It followed in 2002 with the advent of hand held technologies and Wi-Fi, 2G and 3G mobile services.
The Fifth screen, screens in public areas.
The Fifth screen is the digital screen that is seen outside the home in many different venues. Screens are installed in elevators, malls, airports, train stations, on a subway platform, in retail stores, banks and are used in back office corporate communications. The Fifth screen is seen as a new and separate medium.
[edit] Historic review
For the past 120 years or so, rapid advances in technology have transformed human communication faster and to a greater degree than in all the time before. Since the development of the motion picture in about 1890 with the advent of Dickson and Edison’s Kinetoscope, the silver screen, with moving images and text, became a dominant form of communication. At first a source of novelty, then entertainment, it also became a source of news, information, propaganda, and advertising within its first decades.
From this First screen, it was another half century before the first electronic screen, television, entered daily life. Although movies had been a very public form of communication, experienced en masse, this Second screen was one that spoke to people in a much more intimate setting, their living rooms. Because of that, it was able to deliver different kinds of messages that were perceived differently by viewers.
Another 40 years passed before the Third screen, the personal computer, came to market, and it wasn’t until the early 1990s, with the advent of the internet, that its potential as a communications medium became clear. For the first time, individuals had a personalized, on-demand screen for viewing the information they wanted at any time and in (almost) any place that suited them.
When PDAs met cellular technology, the mobile phone came into its own and took its place as the Fourth screen, the most intensely private and controlled screen yet. This revolutionary handheld screen accompanied people into the real world and let them access information wherever they were at any moment.
All of these screens enable people to communicate with one another, whether providing information or stimulating purchases. Each screen has unique characteristics, and each of them reach people in different places, offering different degrees of viewer control. Yet, as a whole, they do not fill the gaps in the communications grid. There are myriad places people go every day where none of these screens can deliver messages from a marketer, employer, or other entity to inform a recipient and guide decision making.
[edit] Digital signage
Today, a combination of technical advances, low-cost flat panel screens in a range of sizes and projectors, Inernet, cellular, and Wi-Fi networks and web-based control software make it possible to create a Fifth screen in places where the presence of the other four screens is diminished. From miniature screens on a retail shelf that inform consumers about products and shape their decisions to buy, to bright, ever-changing highway billboards that convey the right messages at the right time, and even screens in public toilets which exploit downtime, digital signage offers a new medium for communications in education, marketing, retail, and employee communications environments. This Fifth screen creates a crucial visual connection with messages delivered on the other screens we encounter daily, intercepting our inquisitive nature at our points of decision.
jobs ยึดครองวงการเพลง และ smart phone สำเร็จไปแล้ว (ผมเห็นรูป Nokia ฝันถึง smart phone ก่อนมานาน แต่กั๊กไว้หรือทำไม่สำเร็จก็ไม่รู้ จนกลายเป็นผู้ตาม)
ตามในบทความ ก็คือกำลังคิดจะปฏิวัตยึดครองทีวีต่อ พอๆ กับกูเกิ้ล....ซึ่งผลประโยชน์มหาศาลกว่า...เพราะเป็นหนึ่งใน 4-5 จอ* ที่คนจ้องมองทุกวัน และใช้เวลามากที่สุด แถมเป็นการเพ่งมองใช้เวลานานที่สุดอย่างเต็มใจ ของมนุษย์ยุคนี้
*แบ่งกันในวงการโฆษณา
จอที่ 1 จอเงิน (จอหนังโรงใหญ่)
จอที่ 2 จอแก้ว/ทีวี
จอที่ 3 จอคอมพ์ต่อมาผสมโรงด้วย WWW
จอที่ 4 จอมือถือ อุปกรณ์พกพา ลามมาถึงเทคโนโลยีตอนนี้ ที่ความเร็วสูง อย่าง Tablet
จอที่ 5 จออุปกรณ์ดิจิตอลนอกบ้าน ตอนแรกก็หมายถึงจอให้ข้อมูลแบบดิจิตอล อย่างป้ายบอกเวลาตารางบิน ตอนหลังผสมผสานกับ Internet หมายถึง Public Information Board หรือของ Outlet ต่างๆ
http://en.wikipedia.org/wiki/Fourth_screen
Fourth screen
From Wikipedia, the free encyclopedia
"Fourth screen" is a generally accepted term used in a number of advertising and technology industries, to refer to a small portable video screen such as those found in mobile (cellular) phones or other portable electronic devices such as a video iPod player. Sometimes referred to as the "Third Screen."
While the term is gaining acceptance into popular usage, it is not as well known as “Cell “PDA” and “mobile” which are other terms used in the English-speaking world to refer to these very popular electronic devices.
Today, people use mobile devices in ways that open new possibilities for Documentary Practice.
[edit] History
The term fourth screen originates in reference to the actual historical sequence in the development of video screens.
The first three video screens:
1) The movie screen, also known as the Silver Screen.
2) Television (TV)
3) Personal Computer (PC)
http://en.wikipedia.org/wiki/Fifth_screen
Fifth screen
From Wikipedia, the free encyclopedia
The Fifth screen is the most recent in a historic line of communication screens. It is commonly called Digital signage or Digital Out Of Home. The Fifth Screen represents the combination of the World Wide Web and mobile 2G, 3G and 4G technologies, Internet, displays and data/media uploaded and streamed to displays placed in various public environments.
The Fifth screen is typically found in three main categories; Point of Sale, Point of Wait and Point of Transit. It is expected that millions of these screens will be deployed over the next five years in places like retail outlets, while waiting in line, and in transit (e.g. digital billboards).
The Fifth Screen represents an unprecedented new medium that requires three main elements to support it, Technology, Media and an Audience to see it. On the technology side there are three main categories that support the Fifth Screen:software, Connectivity networks and Harware including hardware, displays and cameras. One the Media Side of the equation there are a number of elements that need to be considered to play proper media that is relevant in a venue that include type of network (Point of Wait, Point of Transit or Point of Sale). The audience tha views the Fifth Screen is also a measured and quantifiable using AVA (anonymous video analytics)and physical counts.
Contents
[hide]
1 History
1.1 Historic review
1.2 Digital signage
2 See also
3 References
4 External links
[edit] History
The history of screens may be summarized as follows:
First screen, the Silver Screen (movies)
Second screen, television
The Third screen really came about after the advent of two technologies melding together - the personal computer and the publicly available World Wide Web in 1995
Arguably the Fourth screen is related to mobile hand held devices.[1] It followed in 2002 with the advent of hand held technologies and Wi-Fi, 2G and 3G mobile services.
The Fifth screen, screens in public areas.
The Fifth screen is the digital screen that is seen outside the home in many different venues. Screens are installed in elevators, malls, airports, train stations, on a subway platform, in retail stores, banks and are used in back office corporate communications. The Fifth screen is seen as a new and separate medium.
[edit] Historic review
For the past 120 years or so, rapid advances in technology have transformed human communication faster and to a greater degree than in all the time before. Since the development of the motion picture in about 1890 with the advent of Dickson and Edison’s Kinetoscope, the silver screen, with moving images and text, became a dominant form of communication. At first a source of novelty, then entertainment, it also became a source of news, information, propaganda, and advertising within its first decades.
From this First screen, it was another half century before the first electronic screen, television, entered daily life. Although movies had been a very public form of communication, experienced en masse, this Second screen was one that spoke to people in a much more intimate setting, their living rooms. Because of that, it was able to deliver different kinds of messages that were perceived differently by viewers.
Another 40 years passed before the Third screen, the personal computer, came to market, and it wasn’t until the early 1990s, with the advent of the internet, that its potential as a communications medium became clear. For the first time, individuals had a personalized, on-demand screen for viewing the information they wanted at any time and in (almost) any place that suited them.
When PDAs met cellular technology, the mobile phone came into its own and took its place as the Fourth screen, the most intensely private and controlled screen yet. This revolutionary handheld screen accompanied people into the real world and let them access information wherever they were at any moment.
All of these screens enable people to communicate with one another, whether providing information or stimulating purchases. Each screen has unique characteristics, and each of them reach people in different places, offering different degrees of viewer control. Yet, as a whole, they do not fill the gaps in the communications grid. There are myriad places people go every day where none of these screens can deliver messages from a marketer, employer, or other entity to inform a recipient and guide decision making.
[edit] Digital signage
Today, a combination of technical advances, low-cost flat panel screens in a range of sizes and projectors, Inernet, cellular, and Wi-Fi networks and web-based control software make it possible to create a Fifth screen in places where the presence of the other four screens is diminished. From miniature screens on a retail shelf that inform consumers about products and shape their decisions to buy, to bright, ever-changing highway billboards that convey the right messages at the right time, and even screens in public toilets which exploit downtime, digital signage offers a new medium for communications in education, marketing, retail, and employee communications environments. This Fifth screen creates a crucial visual connection with messages delivered on the other screens we encounter daily, intercepting our inquisitive nature at our points of decision.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 22
ที่บอกว่าวิสัยทัศน์ Nokia รูปนี้ครับ ผมเห็นในเอกสาร Nokia ทุกอย่างIi'8N เขียน:ไม่แน่ใจ ว่าคนสืบทอดจาก jobs จะทำได้ดีแค่ไหน
jobs ยึดครองวงการเพลง และ smart phone สำเร็จไปแล้ว (ผมเห็นรูป Nokia ฝันถึง smart phone ก่อนมานาน แต่กั๊กไว้หรือทำไม่สำเร็จก็ไม่รู้ จนกลายเป็นผู้ตาม)
ข่าวนี้ใน BBC ตั้งแต่ มกรา2001
ถึงบอกว่าไม่รู้กั๊กไว้ หรือทำไม่สำเร็จเอง
ที่มา
http://news.bbc.co.uk/2/hi/business/1144033.stm
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 23
มุมมองผม เทรนด์internet ผ่านช่วง growth ไปแล้ว เข้าสู่ช่วงmaturity ซึ่งก็คงอยู่ในช่วงนี้อีกนาน
สำหรับผม ไม่รู้ผมอ่าน national geographic มากไปหรือเปล่า ฮ่าๆๆๆ แต่ที่แน่ๆคือ ประชากรในโลกยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อัตราการบริโภคสูงขึ้นตาม ในขณะที่ทรัพยากรต่างๆที่เราสูบใช้ เช่น น้ำมั้น ไม่รู้ว่าจะอยู่ได้ถึงเมื่อไร รวมถึงเรื่องอาหารที่่มีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องโลกร้อน รู้หรือไม่ครับว่า ปะการังฟอกขาว(สัญญาณว่าน้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้นจากโลกร้อน) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดขึ้นทั่วโลก ในไทยทางภาคใต้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่ออกข่าวในทีวีอยู่พักนึง
สรุป เทรน
- พลังงานทดแทน
- ลดโลกร้อน
- อาหาร
สำหรับผม ไม่รู้ผมอ่าน national geographic มากไปหรือเปล่า ฮ่าๆๆๆ แต่ที่แน่ๆคือ ประชากรในโลกยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อัตราการบริโภคสูงขึ้นตาม ในขณะที่ทรัพยากรต่างๆที่เราสูบใช้ เช่น น้ำมั้น ไม่รู้ว่าจะอยู่ได้ถึงเมื่อไร รวมถึงเรื่องอาหารที่่มีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องโลกร้อน รู้หรือไม่ครับว่า ปะการังฟอกขาว(สัญญาณว่าน้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้นจากโลกร้อน) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดขึ้นทั่วโลก ในไทยทางภาคใต้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่ออกข่าวในทีวีอยู่พักนึง
สรุป เทรน
- พลังงานทดแทน
- ลดโลกร้อน
- อาหาร
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 170
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 25
jaychou เขียน:ฟันธงสวนกระแสครับ
วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอนาลอก ทั้งหลายยังใช้กันอีกนานครับ เพราะเป็นการสื่อที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเทียบต่อจำนวนผู้ใช้ แต่ก็ทำให้ความถี่วิทยุ กลายเป็นเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความขาดแคลนสูง ทำให้มีกรณีของการจัดสรรคลื่นความถี่ดังเป็นข่าวมากมาย
แม้ในมุมมองผู้รับสื่อ ลงทุนต่ำสุดซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์ถูกๆ 100 บาท คุณฟังวิทยุได้นาน แต่เงิน 100 บาท เล่นเน็ตได้แป๊บเดียวครับ
ผมก็ขอเสนอนิดนึงครับ
ผมว่าโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตคุ้มค่ากว่านะครับ (ลงทุนน้อยกว่าแต่กระจายถึงคนได้ทั้งโลก)
หากคุณจะเปิดร้านขายของทำเลดีๆค่าเช่าเดือนนึงอาจเป็นหมื่น แต่เช่า HOSTING เปิดเว็บขายของเอง ปีละไม่เกิน 5000 บาท ขายได้ทั้งโลก (แต่แข่งกันทั้งโลกเช่นกัล)
คุณสามารถขาย Niche product ได้ เนื่องจากตลาดของคุณคือทั้งโลก
หากเป็น 7-11 คุณสามารถวางของที่ไม่นิยมขายได้หรือไม่ แต่อินเตอร์เน็ตทำได้คับ เพราะต้นทุนต่ำกว่ามาก
ผมมองอีกว่าอนาคต โรงภาพยนต์ รายการทีวี ค่ายเพลง ส่วนแบ่งการตลาดลดลงครับ (และการเติบโตลดลงอย่างเห้นได้ชัดเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร)
แนะนำ amazon.com กับหนังสือ the long tail คับ ทำให้มองโลกอินเตอร์เน็ตเห็นภาพดีครับ
- Croyoty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3658
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 26
สรุปสั้นๆเลยนะครับ
1. ONLINE TECHNOLOGY
2. MODERN TRADE & Convenience Shopping / E- Commerce
3. ADVANCED & NEW - ERA OF HEALTH CARE
4. FOOD & FOOD INDUSTRY
5. Energy Plants & Renewable Energy Industy
ลองไปนึกๆเดาๆเอานะครับว่า พอเป็นตัวใดในตลาดได้บ้าง
1. ONLINE TECHNOLOGY
2. MODERN TRADE & Convenience Shopping / E- Commerce
3. ADVANCED & NEW - ERA OF HEALTH CARE
4. FOOD & FOOD INDUSTRY
5. Energy Plants & Renewable Energy Industy
ลองไปนึกๆเดาๆเอานะครับว่า พอเป็นตัวใดในตลาดได้บ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Trend ของโลกอนาคต
โพสต์ที่ 29
ผมขอเริ่มจากประชากรศาสตร์ก่อนเลยนะครับ ว่าในอนาคตสัดส่วนคนแก่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนในยุค baby boom จะเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก และคนพวกนี้จะมี purchasing power เยอะมาก เพราะมีเงินเก็บเยอะ เพราะฉะนั้น อะไรที่เกี่ยวกับสุขภาพ และความงาม การท่องเที่ยว บ้านพักตากอากาศสำหรับคนชราต่างชาติ หรือธุรกิจที่ทำให้พวกเขานึกถึงอดีตช่วงหนุ่มสาวก็น่าจะ work หรือธุรกิจที่ทำให้ชีวิตพวกเขาสะดวกสบายขึ้น เพราะลูกๆคงทำงานหนักไม่มีเวลาดูแล
ส่วนอีกเรื่องคือภัยธรรมชาติ จะเกิดบ่อยขึ้น และหนักขึ้น ความไม่แน่นอนทางผลผลิตทางการเกษตรมีสูงขึ้น ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรต้องสูงขึ้นอย่างแน่นอน ผมคิดว่าธุรกิจทางการเกษตรที่เป็นต้นน้ำจะมีความสำคัญต่อประเทศนั้นๆเป็นอย่างมาก
อีกเรื่องคือพลังงาน พลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือกจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแต่คงยังไม่มากพอที่จะแซงพลังงานหลักได้ เพราะต้นทุนพลังงานหลักยังคงต่ำกว่ามาก คงจะยังอีกนาน
แต่ผมจะเน้นเรื่องพฤติกรรมการบริโภคของคนมากกว่า เพราะคนจะเป็นตัวกำหนด trend ของโลกในอนาคต
ส่วนอีกเรื่องคือภัยธรรมชาติ จะเกิดบ่อยขึ้น และหนักขึ้น ความไม่แน่นอนทางผลผลิตทางการเกษตรมีสูงขึ้น ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรต้องสูงขึ้นอย่างแน่นอน ผมคิดว่าธุรกิจทางการเกษตรที่เป็นต้นน้ำจะมีความสำคัญต่อประเทศนั้นๆเป็นอย่างมาก
อีกเรื่องคือพลังงาน พลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือกจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแต่คงยังไม่มากพอที่จะแซงพลังงานหลักได้ เพราะต้นทุนพลังงานหลักยังคงต่ำกว่ามาก คงจะยังอีกนาน
แต่ผมจะเน้นเรื่องพฤติกรรมการบริโภคของคนมากกว่า เพราะคนจะเป็นตัวกำหนด trend ของโลกในอนาคต