ขอความรู้สินทรัพย์ (ที่ดิน) ของ CP7-11 ครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
boonlued
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้สินทรัพย์ (ที่ดิน) ของ CP7-11 ครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีใครทราบมั้ยครับว่า CP7-11 มีทั้งหมดกี่สาขาแล้ว และร้านค้า รวมที่ดิน เป็นของ CP7-11 เองกี่เปอร์เซ็นต์ มีที่เช่ามั้ยกี่เปอร์เซ็นต์ ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 1

ขอความรู้สินทรัพย์ (ที่ดิน) ของ CP7-11 ครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เท่าที่รู้เป็นการเช่าทั้งหมดครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
alexx
Verified User
โพสต์: 332
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้สินทรัพย์ (ที่ดิน) ของ CP7-11 ครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รอฟังด้วยคนครับ
kongkang
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1085
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้สินทรัพย์ (ที่ดิน) ของ CP7-11 ครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อบริษัท ซี.พี. คอนวีเนียนสโตร์ จำกัด) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้เป็นบริษัทของคนไทยที่ประกอบธุรกิจหลักด้านค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven โดยบริษัทได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา และได้เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 2532
ณ สิ้นปี 2548 บริษัทมีร้านสาขา 7-Eleven ทั่วประเทศรวม 3,311 สาขา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีสาขา  7-Eleven มากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐไต้หวัน ทั้งนี้แบ่งเป็นร้านในกรุงเทพฯ 1,276 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 39) เป็นร้านในปริมณฑลและต่างจังหวัด 2,035 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 61) เมื่อแบ่งตามประเภทของร้านพบว่า มีร้านสาขาบริษัท 1,931 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 58) ส่วนที่เหลือเป็นร้านแฟรนไชส์ 1,191 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 36) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 189 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 6) ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร้าน 7-Eleven เฉลี่ยวันละ 3.4 ล้านคน
ทั้งนี้ในปี 2549 ทางบริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาร้าน 7-Eleven อย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 400-450 สาขา ทั้งในรูปแบบของร้านในทำเลปกติ และร้านในสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดย ณ สิ้นปี 2548 บริษัทมีร้านในทำเลปกติ 2,915 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 88) และร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 396 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 12)
นอกจากนั้น บริษัทได้ขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2537 เริ่มลงทุนในบริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด (CS) เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ในปี 2539 ลงทุนในบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (CPRAM) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่ ในปี 2542 ลงทุนในบริษัท รีเทลลิงค์ (ประเทศไทย) จำกัด (RTL) เพื่อประกอบธุรกิจการจำหน่ายและซ่อมแซมอุปกรณ์ค้าปลีก
บริษัทยังได้มีการขยายการลงทุนในธุรกิจเสริมอื่นๆ อีก เช่น ในปี 2544 ได้จัดตั้งบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC) ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเติมเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Purse) และในปี 2546 ได้จัดตั้ง บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (GOSOFT) เพื่อให้บริการออกแบบและพัฒนาระบบงานด้านสารสนเทศ จัดตั้งบริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด (MAM) เพื่อให้บริการปรึกษาวางแผนกิจกรรมทางการตลาด และบริษัท ไดนามิค แมนเนจเม้นท์ จำกัด (DM) เพื่อให้บริการบริหารงานกิจการขนส่งสินค้าและกระจายสินค้า  ในปี 2547 บริษัทได้จัดตั้งบริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด  เพื่อให้บริการด้านการศึกษาโดยดำเนินโครงการสถาบันการศึกษาในชื่อว่า ปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาของภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนของการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจค้าปลีกเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคต
โพสต์โพสต์