บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 1
นิติบุคคลสาธารณะดูแลโครงข่าย [27 มี.ค. 50 - 04:39] จาก ไทยรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมผนึกโครงข่ายโทรคมนาคม ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกรรมการบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมร่วมกันโดยภายหลังการประชุม นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด ขึ้น มีสถานะเป็นนิติบุคคลสาธารณะโดยรัฐบาลถือหุ้น 100% ขณะเดียวกันบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติจะถือหุ้นในทีโอทีและ กสท 100% โดยหลังจากนี้จะทำหนังแจ้งให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นายสิทธิชัย โภไคยอุดมรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) และ พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานบอร์ดทีโอทีและ พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ ประธานบอร์ด กสท เพื่อพิจารณาเห็นชอบแนวทางการจัดตั้งบริษัทเพื่อนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ทีโอทีและ กสท ไปเจรจากับผู้รับสัมปทาน โดยทีโอทีไปเจรจากับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขณะที่ กสท ไปเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด เพื่อให้จ่ายค่าเช่าแทนการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในปัจจุบัน รวมถึงการเจรจากับการ 3 ไฟฟ้าคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อขอซื้อทรัพย์สินและสิทธิในโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว เพื่อนำมารวมเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ (เทเลคอมพูล)
นายวุฒิพงษ์กล่าวว่า ส่วนการให้บริการของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถใช้บริการเช่าโครงข่ายได้ โดยอาจจะจ่ายเท่ากับส่วนแบ่งรายได้เดิม หรือน้อยกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่การกำหนดอัตราค่าเช่า การดำเนินการดังกล่าวเปรียบเสมือนการยกเลิกสัมปทาน เพราะจะต้องมีการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ให้เป็นค่าเช่าโครงข่าย และมีการปรับเปลี่ยนเรื่องของสิทธิ์การใช้โครงข่าย ซึ่งจะส่งผลให้ ทีโอทีและ กสท มีรายได้ลดลง แต่ก็ต้องดำเนินการเพราะถือเป็นการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมอีกรูปแบบหนึ่ง.
ก.ไอซีทีเสนอ ครม.ตั้งบริษัทโทรคมฯแห่งชาติให้เสร็จในรัฐบาลนี้
วันที่ 27 มี.ค. 2550 จาก ประชาชาติ
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที เปิดเผยถึงการจัดตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติว่า มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งเพื่อให้เป็นโครงข่ายของรัฐอย่างน้อย 1 โครงข่าย เพราะหากบริษัท ทีโอทีและ กสท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯจะทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นของภาคเอกชน เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้ธุรกิจดังกล่าวประสบปัญหาด้านการดำเนินงานและการให้บริการแก่ประชาชน ดังนั้นจึงควรมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่อยู่ในความดูแลของรัฐด้วย
คาดว่าจะเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้ภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในส่วนของทุนจดทะเบียนบริษัท กำลังอยู่ระหว่างร้องขอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เห็นข่าวมาหลายวัน ยังไม่เห็นที่นี่พูดถึงซะที
ผมว่าเรื่องใหญ่นะนี่
แล้วมันดี ไม่ดีอย่างไรแน่เนี่ย
ส่วนตัวรู้สึก แหม่งๆ เราจะย้อยยุคเกินไปปะ
แล้วต่อไปคงจะมี บ.พลังงานแห่งชาติ...การก่อสร้างแห่งชาติ
การเงินแห่งชาติ.....แห่งชาติ... และแห่งชาติไทยจงเจริญ..ไชโย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมผนึกโครงข่ายโทรคมนาคม ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกรรมการบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมร่วมกันโดยภายหลังการประชุม นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด ขึ้น มีสถานะเป็นนิติบุคคลสาธารณะโดยรัฐบาลถือหุ้น 100% ขณะเดียวกันบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติจะถือหุ้นในทีโอทีและ กสท 100% โดยหลังจากนี้จะทำหนังแจ้งให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นายสิทธิชัย โภไคยอุดมรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) และ พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานบอร์ดทีโอทีและ พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ ประธานบอร์ด กสท เพื่อพิจารณาเห็นชอบแนวทางการจัดตั้งบริษัทเพื่อนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ทีโอทีและ กสท ไปเจรจากับผู้รับสัมปทาน โดยทีโอทีไปเจรจากับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขณะที่ กสท ไปเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด เพื่อให้จ่ายค่าเช่าแทนการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในปัจจุบัน รวมถึงการเจรจากับการ 3 ไฟฟ้าคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อขอซื้อทรัพย์สินและสิทธิในโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว เพื่อนำมารวมเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ (เทเลคอมพูล)
นายวุฒิพงษ์กล่าวว่า ส่วนการให้บริการของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถใช้บริการเช่าโครงข่ายได้ โดยอาจจะจ่ายเท่ากับส่วนแบ่งรายได้เดิม หรือน้อยกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่การกำหนดอัตราค่าเช่า การดำเนินการดังกล่าวเปรียบเสมือนการยกเลิกสัมปทาน เพราะจะต้องมีการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ให้เป็นค่าเช่าโครงข่าย และมีการปรับเปลี่ยนเรื่องของสิทธิ์การใช้โครงข่าย ซึ่งจะส่งผลให้ ทีโอทีและ กสท มีรายได้ลดลง แต่ก็ต้องดำเนินการเพราะถือเป็นการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมอีกรูปแบบหนึ่ง.
ก.ไอซีทีเสนอ ครม.ตั้งบริษัทโทรคมฯแห่งชาติให้เสร็จในรัฐบาลนี้
วันที่ 27 มี.ค. 2550 จาก ประชาชาติ
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที เปิดเผยถึงการจัดตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติว่า มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งเพื่อให้เป็นโครงข่ายของรัฐอย่างน้อย 1 โครงข่าย เพราะหากบริษัท ทีโอทีและ กสท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯจะทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นของภาคเอกชน เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้ธุรกิจดังกล่าวประสบปัญหาด้านการดำเนินงานและการให้บริการแก่ประชาชน ดังนั้นจึงควรมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่อยู่ในความดูแลของรัฐด้วย
คาดว่าจะเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้ภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในส่วนของทุนจดทะเบียนบริษัท กำลังอยู่ระหว่างร้องขอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เห็นข่าวมาหลายวัน ยังไม่เห็นที่นี่พูดถึงซะที
ผมว่าเรื่องใหญ่นะนี่
แล้วมันดี ไม่ดีอย่างไรแน่เนี่ย
ส่วนตัวรู้สึก แหม่งๆ เราจะย้อยยุคเกินไปปะ
แล้วต่อไปคงจะมี บ.พลังงานแห่งชาติ...การก่อสร้างแห่งชาติ
การเงินแห่งชาติ.....แห่งชาติ... และแห่งชาติไทยจงเจริญ..ไชโย
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 2
แนวคิด"เทเลคอมพูล"คิดง่ายทำยาก "ไอซีที"ฝากรัฐบาลใหม่สานต่อโปรเจ็กต์
ชำแหละแนวคิด "เทเลคอมพูล" รัฐมนตรีไอซีทีแจงแค่เห็นด้วยในหลักการ ชี้คณะกรรมการร่วมทีโอที-กสทฯต้องศึกษาความเป็นไปได้ ยอมรับใช้เวลานานอาจต้องฝากเป็นการบ้านรัฐบาลใหม่ ด้านบอร์ด "ทีโอที" แข็งขันลุยแน่นอน พร้อมเจรจาขอซื้อสิทธิเป็นเจ้าของโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งรวมเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ
จากการประชุมร่วมกันระหว่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ประธานคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที พลเอกมนตรี สังขทรัพย์ เลขาธิการทหารบก ประธานคณะกรรมการ บมจ. กสท โทรคมนาคม และนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยที่นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที ชี้แจงว่าจะมีการจัดตั้ง "เทเลคอมพลู" รวมโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัทคู่สัญญาสัมปทาน ของทีโอทีและ กสทฯ รวมถึงโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
ล่าสุด นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวไม่ได้มีมติที่จะจัดตั้งบริษัท เทเลคอม พูล เพื่อขึ้นมาบริหารจัดการโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดแต่อย่างใดกรณีดังกล่าวเป็นเพียงแนวความคิดของคนบางคนเท่านั้น ที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการที่จะให้นำโครงข่ายโทรศัพท์ของเอกชนที่เป็นคู่สัญญาทั้งหมด ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด กลับไปให้ทีโอที และ กสทฯ บริหารจัดการเอง
โดยได้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากบอร์ดทีโอทีและ กสท มาร่วมศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งในวันที่ 26 มีนาคมนี้จะประชุมอีกครั้งเพื่อพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน และไม่แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ จึงจำเป็นต้องจัดทำเป็นนโยบายเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปสานต่อด้วย
นายสิทธิชัยกล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่าทีโอทีและ กสทฯควรนำโครงข่ายมาบริหารจัดการเอง เพราะถือว่าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ส่วนเรื่องการแปรสภาพทีโอทีและ กสทฯ กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิมนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการไม่ให้ทั้ง 2 องค์กรถูกขายทอดตลาดเท่านั้น แต่ก็ยอมรับว่าการดำเนินการดังกล่าวทำได้ยาก อาจจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ
"การที่ทหารเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นเรื่องของความมั่นคง ซึ่งเกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว และหากในอนาคตบริษัทโทรคมนาคมเป็นบริษัทมหาชนทั้งหมดก็คงจะไม่มีบริษัทไหนเป็นของคนไทยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีบริษัทที่เป็นของรัฐบาล ซึ่งในที่นี้อาจจะจัดตั้งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง หรือรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที เพื่อเขามาดำเนินการในเรื่องโครงข่ายต่อไป" นายสิทธิชัยกล่าว
ด้านนายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการ บมจ. ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยบอร์ดจะนำเรื่องการนำโครงข่ายของบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาของทีโอที ไปหารือร่วมกับฝ่ายบริหารของทีโอที และคณะกรรมการร่วม การนำโครงข่ายโทรศัพท์กลับมาเป็นของประชาชนชาวไทย แทนที่จะเป็นของต่างชาตินั้นเป็นเรื่องที่ดีกว่าอยู่แล้ว และเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทานประเภท สร้าง-โอน-ให้บริการ หรือ ฺBTO ซึ่งทีโอทีมีสิทธิอยู่แล้ว
โฆษกบอร์ดทีโอทีกล่าวว่า นอกจากโครงข่ายโทรคมนาคมของทีโอทีและ กสทฯ แล้ว จะมีการหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อขอซื้อสินทรัพย์และสิทธิเป็นเจ้าของเครือข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์และที่จะมีการวางพาดสายเพิ่มในอนาคตมาดูแล ซึ่งหากรวมแล้วจะเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมเดียวที่มีขนาดใหญ่มาก
ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการโทรคมนาคม ให้ความเห็นว่า การนำโครงข่ายมาบริการจัดเองทำเพื่ออะไร ซึ่งหากตอบว่า เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก็ต้องมองว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะการเอาโครงข่ายกลับคืนไปบริหารเองนั้นต้องมีการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ นั่นหมายถึงว่าถ้ารัฐจะเอาคืนก็ต้องเสนอผลประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งรัฐก็จะเสียผลประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารและการให้บริการด้วย
"แต่ถ้าตอบว่าเพื่อความมั่นคงของชาติ นั่นหมายความว่าต่อไปจะไม่ให้ใครสร้างโครงข่ายเพิ่มเติมใช่หรือไม่ แต่หากไม่ปล่อยให้ใครสร้างโครงข่ายในอนาคตจะเหมาะสมหรือไม่ในการพัฒนาโทรคมนาคมของชาติ กิจการโทรคมนาคมของไทยก็คงจะต้องย้อนกลับไปสู่ยุคเดิม และถ้าหากไม่มีการเอาโครงข่ายกลับคืนมาประเทศชาติจะเสียความมั่นคงอย่างไร ในเรื่องนี้ก็ต้องมีการชี้แจงให้ชัดเจนด้วย นายอานุภาพกล่าว และว่า
การที่ประเทศไทยจะมีโครงข่ายเดียวเพื่อพัฒนาประเทศชาตินั้นก็ต้องพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องถามถึงประสิทธิภาพการให้บริการด้วยว่าดีแค่ไหน การดำเนินการในลักษณะดังกล่าว หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องแข็งแรงมากจึงจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ เพราะหากยังดำเนินการเหมือนในปัจจุบัน ก็อาจจะมีปัญหาตามมาได้
ด้านนายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า หากจะดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ดีแทค พร้อมให้ความร่วมมือ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่คณะทำงานของทีโอที และ กสทฯควรพิจารณาอย่างรอบด้านและมีข้อสรุปออกมาอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน ไม่ควรยืดเยื้อออกไป เพราะหากปล่อยไปจนหมดเวลาการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ขั้นตอนแก้ไขต่างๆ อาจจะต้องกลับไปเริ่มใหม่ เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ อาจจะไม่เห็นด้วย หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกได้
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า เห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว แต่ต้องพิจารณาวิธีปฏิบัติก่อนว่าจะออกมาในรูปแบบใด และจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง จึงจะสามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการทั้งหมด แต่ถ้าการเช่าคือ การให้สิทธิในการใช้โครงข่ายของตัวเองอย่างเต็มที่ ก็คงจะไม่มีปัญหาในการคิดค่าอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ (ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) แต่การบำรุงรักษาโครงข่ายก็ถือว่าสำคัญ เพราะหากปล่อยให้เช่าแล้วเกิดการชำรุด หรือขาดหายไป ใครจะเป็นผู้ดูแลหากไม่มีการซ่อมหรือบำรุงรักษาผู้ใช้บริการก็จะเดือดร้อน ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน
หน้า 39
ชำแหละแนวคิด "เทเลคอมพูล" รัฐมนตรีไอซีทีแจงแค่เห็นด้วยในหลักการ ชี้คณะกรรมการร่วมทีโอที-กสทฯต้องศึกษาความเป็นไปได้ ยอมรับใช้เวลานานอาจต้องฝากเป็นการบ้านรัฐบาลใหม่ ด้านบอร์ด "ทีโอที" แข็งขันลุยแน่นอน พร้อมเจรจาขอซื้อสิทธิเป็นเจ้าของโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งรวมเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติ
จากการประชุมร่วมกันระหว่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ประธานคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที พลเอกมนตรี สังขทรัพย์ เลขาธิการทหารบก ประธานคณะกรรมการ บมจ. กสท โทรคมนาคม และนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยที่นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที ชี้แจงว่าจะมีการจัดตั้ง "เทเลคอมพลู" รวมโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัทคู่สัญญาสัมปทาน ของทีโอทีและ กสทฯ รวมถึงโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
ล่าสุด นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวไม่ได้มีมติที่จะจัดตั้งบริษัท เทเลคอม พูล เพื่อขึ้นมาบริหารจัดการโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดแต่อย่างใดกรณีดังกล่าวเป็นเพียงแนวความคิดของคนบางคนเท่านั้น ที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการที่จะให้นำโครงข่ายโทรศัพท์ของเอกชนที่เป็นคู่สัญญาทั้งหมด ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด กลับไปให้ทีโอที และ กสทฯ บริหารจัดการเอง
โดยได้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากบอร์ดทีโอทีและ กสท มาร่วมศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งในวันที่ 26 มีนาคมนี้จะประชุมอีกครั้งเพื่อพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน และไม่แล้วเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ จึงจำเป็นต้องจัดทำเป็นนโยบายเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปสานต่อด้วย
นายสิทธิชัยกล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่าทีโอทีและ กสทฯควรนำโครงข่ายมาบริหารจัดการเอง เพราะถือว่าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ส่วนเรื่องการแปรสภาพทีโอทีและ กสทฯ กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิมนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการไม่ให้ทั้ง 2 องค์กรถูกขายทอดตลาดเท่านั้น แต่ก็ยอมรับว่าการดำเนินการดังกล่าวทำได้ยาก อาจจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ
"การที่ทหารเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นเรื่องของความมั่นคง ซึ่งเกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว และหากในอนาคตบริษัทโทรคมนาคมเป็นบริษัทมหาชนทั้งหมดก็คงจะไม่มีบริษัทไหนเป็นของคนไทยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีบริษัทที่เป็นของรัฐบาล ซึ่งในที่นี้อาจจะจัดตั้งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง หรือรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที เพื่อเขามาดำเนินการในเรื่องโครงข่ายต่อไป" นายสิทธิชัยกล่าว
ด้านนายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการ บมจ. ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยบอร์ดจะนำเรื่องการนำโครงข่ายของบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาของทีโอที ไปหารือร่วมกับฝ่ายบริหารของทีโอที และคณะกรรมการร่วม การนำโครงข่ายโทรศัพท์กลับมาเป็นของประชาชนชาวไทย แทนที่จะเป็นของต่างชาตินั้นเป็นเรื่องที่ดีกว่าอยู่แล้ว และเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทานประเภท สร้าง-โอน-ให้บริการ หรือ ฺBTO ซึ่งทีโอทีมีสิทธิอยู่แล้ว
โฆษกบอร์ดทีโอทีกล่าวว่า นอกจากโครงข่ายโทรคมนาคมของทีโอทีและ กสทฯ แล้ว จะมีการหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อขอซื้อสินทรัพย์และสิทธิเป็นเจ้าของเครือข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์และที่จะมีการวางพาดสายเพิ่มในอนาคตมาดูแล ซึ่งหากรวมแล้วจะเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมเดียวที่มีขนาดใหญ่มาก
ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการโทรคมนาคม ให้ความเห็นว่า การนำโครงข่ายมาบริการจัดเองทำเพื่ออะไร ซึ่งหากตอบว่า เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก็ต้องมองว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะการเอาโครงข่ายกลับคืนไปบริหารเองนั้นต้องมีการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ นั่นหมายถึงว่าถ้ารัฐจะเอาคืนก็ต้องเสนอผลประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งรัฐก็จะเสียผลประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารและการให้บริการด้วย
"แต่ถ้าตอบว่าเพื่อความมั่นคงของชาติ นั่นหมายความว่าต่อไปจะไม่ให้ใครสร้างโครงข่ายเพิ่มเติมใช่หรือไม่ แต่หากไม่ปล่อยให้ใครสร้างโครงข่ายในอนาคตจะเหมาะสมหรือไม่ในการพัฒนาโทรคมนาคมของชาติ กิจการโทรคมนาคมของไทยก็คงจะต้องย้อนกลับไปสู่ยุคเดิม และถ้าหากไม่มีการเอาโครงข่ายกลับคืนมาประเทศชาติจะเสียความมั่นคงอย่างไร ในเรื่องนี้ก็ต้องมีการชี้แจงให้ชัดเจนด้วย นายอานุภาพกล่าว และว่า
การที่ประเทศไทยจะมีโครงข่ายเดียวเพื่อพัฒนาประเทศชาตินั้นก็ต้องพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องถามถึงประสิทธิภาพการให้บริการด้วยว่าดีแค่ไหน การดำเนินการในลักษณะดังกล่าว หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องแข็งแรงมากจึงจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ เพราะหากยังดำเนินการเหมือนในปัจจุบัน ก็อาจจะมีปัญหาตามมาได้
ด้านนายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า หากจะดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ดีแทค พร้อมให้ความร่วมมือ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่คณะทำงานของทีโอที และ กสทฯควรพิจารณาอย่างรอบด้านและมีข้อสรุปออกมาอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน ไม่ควรยืดเยื้อออกไป เพราะหากปล่อยไปจนหมดเวลาการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ขั้นตอนแก้ไขต่างๆ อาจจะต้องกลับไปเริ่มใหม่ เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ อาจจะไม่เห็นด้วย หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกได้
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า เห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว แต่ต้องพิจารณาวิธีปฏิบัติก่อนว่าจะออกมาในรูปแบบใด และจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง จึงจะสามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการทั้งหมด แต่ถ้าการเช่าคือ การให้สิทธิในการใช้โครงข่ายของตัวเองอย่างเต็มที่ ก็คงจะไม่มีปัญหาในการคิดค่าอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ (ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) แต่การบำรุงรักษาโครงข่ายก็ถือว่าสำคัญ เพราะหากปล่อยให้เช่าแล้วเกิดการชำรุด หรือขาดหายไป ใครจะเป็นผู้ดูแลหากไม่มีการซ่อมหรือบำรุงรักษาผู้ใช้บริการก็จะเดือดร้อน ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน
หน้า 39
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 3
รัฐบาลจะรวมเครือข่ายซะเองอย่างนี้มิดับฝันของ True หรือครับ :twisted:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- jody4003
- Verified User
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 5
โดยหลักการแล้วดีมากครับ แต่ปฎิบัติจะเป็นยังไงไม่ค่อยแน่ใจ
ปัจุบัน ais, dtac, truemove วางเครือข่ายกันเอง วางแผนกันเอง แล้วโอนให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ แล้วเก็บรายได้และแบ่งให้รัฐถือเป็นค่าสัมปธาน จึงทำให้เกิดการใช้resourceไม่เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม ยกตัวอย่าง ais จะวางระบบย่านลาดพร้าวเพิ่มเพราะประชากรหนาแน่นขึ้น ของเดิมไม่พอ ก็ต้องนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศมาเพิ่ม แต่หากรู้ว่า capacity ของ dtac ย่านลาดพร้าวเหลือ การshare resource กันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและทุกฝ่ายมากกว่าครับ
เชื่อมั้ยครับ ทุกวันนี้บริเวณหนึ่งๆ จะมีเสา gsm ทั้ง 3 เจ้าวางใกล้ๆกันทำให้เกิดความรกและไม่สวยงามเกิดขึ้น ทั้งๆที่ในแง่ทางเทคนิคแล้ว ทั้ง3เจ้าสามารถ share เสาใช้ร่วมกันได้
บางประเทศมีนโยบายแบบนี้เกิดขึ้นนานแล้วครับ น่าจะเป็นแถบ scandinavia เพื่อการ share resource ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คราวนี้ถ้าเปลี่ยนเป็น pool resource อย่างที่ว่า ผมยังสงสัยประสิทธิภาพการบริหารจัดการ resource และการ operate&maintainance เพราะ อย่างที่รู้ๆกันอยู่ครับ ราชการกับเอกชน การทำงานและบริหารจัดการก็ต่างกัน
ปัจุบัน ais, dtac, truemove วางเครือข่ายกันเอง วางแผนกันเอง แล้วโอนให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ แล้วเก็บรายได้และแบ่งให้รัฐถือเป็นค่าสัมปธาน จึงทำให้เกิดการใช้resourceไม่เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม ยกตัวอย่าง ais จะวางระบบย่านลาดพร้าวเพิ่มเพราะประชากรหนาแน่นขึ้น ของเดิมไม่พอ ก็ต้องนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศมาเพิ่ม แต่หากรู้ว่า capacity ของ dtac ย่านลาดพร้าวเหลือ การshare resource กันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและทุกฝ่ายมากกว่าครับ
เชื่อมั้ยครับ ทุกวันนี้บริเวณหนึ่งๆ จะมีเสา gsm ทั้ง 3 เจ้าวางใกล้ๆกันทำให้เกิดความรกและไม่สวยงามเกิดขึ้น ทั้งๆที่ในแง่ทางเทคนิคแล้ว ทั้ง3เจ้าสามารถ share เสาใช้ร่วมกันได้
บางประเทศมีนโยบายแบบนี้เกิดขึ้นนานแล้วครับ น่าจะเป็นแถบ scandinavia เพื่อการ share resource ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คราวนี้ถ้าเปลี่ยนเป็น pool resource อย่างที่ว่า ผมยังสงสัยประสิทธิภาพการบริหารจัดการ resource และการ operate&maintainance เพราะ อย่างที่รู้ๆกันอยู่ครับ ราชการกับเอกชน การทำงานและบริหารจัดการก็ต่างกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 6
ส่วนนี้ช่วยยืนยันครับjody4003 เขียน:
เชื่อมั้ยครับ ทุกวันนี้บริเวณหนึ่งๆ จะมีเสา gsm ทั้ง 3 เจ้าวางใกล้ๆกันทำให้เกิดความรกและไม่สวยงามเกิดขึ้น ทั้งๆที่ในแง่ทางเทคนิคแล้ว ทั้ง3เจ้าสามารถ share เสาใช้ร่วมกันได้
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 7
ตรงลง กทช. องค์กรที่จะให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คงเป็นหมัน
ดูเขามั่นใจเนอะ ควบรวมเป็นของรัฐแล้วจะไปรอด
ถ้าไม่ออกกฎหมายอะไร น่าเกลียดมาก เช่น ยึด gateway แบบเบ็ดเสร็จทุกเส้นทางออกนอกประเทศ ยึดสัมปทาน VoIP ฯลฯ
ผมกล้าฟันธง หน่วยงานนี้ขาดทุนแน่นอนครับ :lol: :lol: :lol:
ดูเขามั่นใจเนอะ ควบรวมเป็นของรัฐแล้วจะไปรอด
ถ้าไม่ออกกฎหมายอะไร น่าเกลียดมาก เช่น ยึด gateway แบบเบ็ดเสร็จทุกเส้นทางออกนอกประเทศ ยึดสัมปทาน VoIP ฯลฯ
ผมกล้าฟันธง หน่วยงานนี้ขาดทุนแน่นอนครับ :lol: :lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 8
บ่ายนี้ ADSL ของผมที่ใช้บริการของ TOT มีปัญหาอีกแล้ว สัญญาณอ่อนตามเคย
เลยโทรไปแจ้งปัญหาพนักงานTOT พอมีวิธีแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จได้หรือไม่ เพราะปัญหานี้เป็นนานมาก
รู้ไหมครับพนักงานตอบผมว่าไง "ตรงส่วนนี้นะครับ เราต้องประเมิณ ความเสียหายของชุมสายบริเวณนั้น ว่ามีปัญหาเยอะแค่ไหน ถ้ามีปัญหาเยอะ เราจะต้องส่งเรืองไปยังบอร์ดใหญ่ ให้ทำการอนุมัติงบประมาณเปลี่ยนอุปกรณ์"
ผมเลยถามว่า ใช้เวลาเท่าไหร่ครับ
"ต้องรอการอนุมัติจากบอร์ดใหญ่ก่อนครับ ถ้าอนุมัติแล้วจึงจะจัดซื้อแล้วเปลี่ยนได้ ก็หลายเดือนอ่ะครับ"
ถ้าที่บ้าน มี true ล่ะ เปลี่ยนมันไปนานแล้ว นี่แหละครับข้อเสียของสัมปทานผูกขาด ประชาชนผู้ต่ำต้อย ไร้โอกาสทางเลือก
ถ้าบริษัทโทรคมฯแห่งชาติ ตั้งขึ้นได้จริง แล้วก็ผูกขาดสัมปทาน ไม่อยากคิดว่าต้องเจอการบริการ ของพนักงานรัฐ หาเช้ากินค่ำ ไปอีกนานแค่ไหน
:evil: :evil: :evil: :evil: :evil:
เลยโทรไปแจ้งปัญหาพนักงานTOT พอมีวิธีแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จได้หรือไม่ เพราะปัญหานี้เป็นนานมาก
รู้ไหมครับพนักงานตอบผมว่าไง "ตรงส่วนนี้นะครับ เราต้องประเมิณ ความเสียหายของชุมสายบริเวณนั้น ว่ามีปัญหาเยอะแค่ไหน ถ้ามีปัญหาเยอะ เราจะต้องส่งเรืองไปยังบอร์ดใหญ่ ให้ทำการอนุมัติงบประมาณเปลี่ยนอุปกรณ์"
ผมเลยถามว่า ใช้เวลาเท่าไหร่ครับ
"ต้องรอการอนุมัติจากบอร์ดใหญ่ก่อนครับ ถ้าอนุมัติแล้วจึงจะจัดซื้อแล้วเปลี่ยนได้ ก็หลายเดือนอ่ะครับ"
ถ้าที่บ้าน มี true ล่ะ เปลี่ยนมันไปนานแล้ว นี่แหละครับข้อเสียของสัมปทานผูกขาด ประชาชนผู้ต่ำต้อย ไร้โอกาสทางเลือก
ถ้าบริษัทโทรคมฯแห่งชาติ ตั้งขึ้นได้จริง แล้วก็ผูกขาดสัมปทาน ไม่อยากคิดว่าต้องเจอการบริการ ของพนักงานรัฐ หาเช้ากินค่ำ ไปอีกนานแค่ไหน
:evil: :evil: :evil: :evil: :evil:
- tummeng
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 10
จำได้สมัยก่อน ตอนสมัยคุณพ่อเปิด Office ใหม่ๆๆ เห็นเขาเคยบอกว่าเบอร์โทรศัพท์นี่จะขอที ต้องขอกันเป็นหลายเดือน แถมต้องจ่ายเงินพิเศษซะอีก แต่สมัยนี้เดินไป True Shop แจ้งขอเบอร์ วันรุ่งขึ้นเจ้าหน้าที่มาต่อโทรศัพท์ให้เลย
กลัวจังว่าจะย้อนกลับไปเหมือนเดิมอีกนี่
กลัวจังว่าจะย้อนกลับไปเหมือนเดิมอีกนี่
-
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 11
การละลายเงินลงไปในความไร้ประสิทธิภาพของการบริหารรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนเกินพอดี ทั้งที่รู้ว่าไร้ความสามารถในการบริหาร ไม่ถือเป็นการทำลายความมั่นคงหรอกหรือ
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 12
รู้สึกตัวเมื่อสายครับบบ
เเต่ก่อน TOT CAT มัวเเต่เป็นเสือนอนกิน ค่าสัมปทาน ไม่รู้จักปรับองค์กรให้ดี พอตอนนี้หมดหนทางทำมาหากิน เพราะสู้เอกชนไม่ได้ซักอย่าง เลยจะขอเป็นผู้บริการโครงข่ายเอง
ถ้าดูในเเง่ asset management น่าจะดีนะ เเต่ อะไรที่บริหารโดยรัฐ มักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
ต้องลองดู Model ของ ประเทศอื่นเขาจัดการอย่างไร
8)
เเต่ก่อน TOT CAT มัวเเต่เป็นเสือนอนกิน ค่าสัมปทาน ไม่รู้จักปรับองค์กรให้ดี พอตอนนี้หมดหนทางทำมาหากิน เพราะสู้เอกชนไม่ได้ซักอย่าง เลยจะขอเป็นผู้บริการโครงข่ายเอง
ถ้าดูในเเง่ asset management น่าจะดีนะ เเต่ อะไรที่บริหารโดยรัฐ มักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
ต้องลองดู Model ของ ประเทศอื่นเขาจัดการอย่างไร
8)
- jody4003
- Verified User
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 14
เดาเล่นๆครับ ใช้หลักการ 80:20
ประชากร60ล้านคน คนที่มีส่วนขับเคลื่อน GDP 80%ของชาติ = 20%ของประชากรทั้งหมด =60x20% = 16ล้านคน
คน 16ล้านคนนี้คงมีโทรศัพท์มือถือใช้ทุกคน กลุ่มนี้การใช้โทรศัพท์มือถือไม่มากก็น้อย คุณภาพnetworkสำคัญมาก เพราะเป็นการโทรเพื่อทำธุรกิจหรืองานสำคัญ
หากคุณภาพ network แย่ลงเพราะ ... อะไรก็ตาม คงส่งผลเสียไม่น้อย ไม่รู้ว่ามาตราการที่ว่านี้ ถ้าทำได้จริง จะเป็นเช่นนั้นรึเปล่าน้อ
ผมคนนึงล่ะ ไม่อยากใช้โทรศัพท์มือถือที่เจ้าของnetwork และให้บริการเป็นราชการแน่ๆ คงเสียอารมณ์&เวลาพิลึก
ประชากร60ล้านคน คนที่มีส่วนขับเคลื่อน GDP 80%ของชาติ = 20%ของประชากรทั้งหมด =60x20% = 16ล้านคน
คน 16ล้านคนนี้คงมีโทรศัพท์มือถือใช้ทุกคน กลุ่มนี้การใช้โทรศัพท์มือถือไม่มากก็น้อย คุณภาพnetworkสำคัญมาก เพราะเป็นการโทรเพื่อทำธุรกิจหรืองานสำคัญ
หากคุณภาพ network แย่ลงเพราะ ... อะไรก็ตาม คงส่งผลเสียไม่น้อย ไม่รู้ว่ามาตราการที่ว่านี้ ถ้าทำได้จริง จะเป็นเช่นนั้นรึเปล่าน้อ
ผมคนนึงล่ะ ไม่อยากใช้โทรศัพท์มือถือที่เจ้าของnetwork และให้บริการเป็นราชการแน่ๆ คงเสียอารมณ์&เวลาพิลึก
- chaiyos
- Verified User
- โพสต์: 177
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
โพสต์ที่ 15
เห็นสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินแห่งชาติ แล้วก็เศร้าใจ
ห้องน้ำยังไม่พอจะให้ฉี่เลย
จะเอา กสท ทศท กลับเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อจะได้ไม่เป็นของต่างชาติ
แล้ว ทอท ไม่กลัวเป็นของต่างชาติเหรอ ก็เห็นเป็น มหาชน เหมือนกัน
เดี๋ยวก็โดนต่างชาติยึดสนามบินหรอก จะบินมากรุงเทพต้องไปลงสนามบินทหารอากาศ ^.^
จะทำบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อความมั่นคง T.T
มั่งคงตรงไหนเนี่ย ...
ถ้าคลังกลัวรายได้หาย เพราะ กสท ทศท สู้เอกชนไม่ได้ก็ไปเรียกเก็บภาษีเพิ่มก็ได้ จะได้เงินเท่าเดิม ไม่เห็นต้องเอามาควบรวมให้ยุ่งยาก
ห้องน้ำยังไม่พอจะให้ฉี่เลย
จะเอา กสท ทศท กลับเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อจะได้ไม่เป็นของต่างชาติ
แล้ว ทอท ไม่กลัวเป็นของต่างชาติเหรอ ก็เห็นเป็น มหาชน เหมือนกัน
เดี๋ยวก็โดนต่างชาติยึดสนามบินหรอก จะบินมากรุงเทพต้องไปลงสนามบินทหารอากาศ ^.^
จะทำบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อความมั่นคง T.T
มั่งคงตรงไหนเนี่ย ...
ถ้าคลังกลัวรายได้หาย เพราะ กสท ทศท สู้เอกชนไม่ได้ก็ไปเรียกเก็บภาษีเพิ่มก็ได้ จะได้เงินเท่าเดิม ไม่เห็นต้องเอามาควบรวมให้ยุ่งยาก
^.^
Tick...Tick...Tick...Tick...Tick
Tick...Tick...Tick...Tick...Tick