ความผิดพลาดที่ไม่น่าผิดพลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ความผิดพลาดที่ไม่น่าผิดพลาด
โพสต์ที่ 1
ผมได้แนวคิดจากหนังสือเล่มหนึ่งคือ ซีอีโอ ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์
มีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือหน้า 112-113 ที่พูดว่า
" สิ่งที่ท้าทายที่สุด ก็คือ หลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้น คุณจะทำผิดพลาดได้ง่ายในความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้นนี้ เพราะหากคุณทำผิดพลาดเพียงรายเดียว ทุกอย่างที่ทำมาอาจจะขาดทุนหมด มันเหมือนคุณกำลังดูแลปกป้องแอปเปิ้ลที่มีหนอนอยู่ภายใน"
ความผิดพลาดที่แท้จริงของความผิดพลาดที่ไม่ควรพลาด หมายถึง สิ่งที่คุณคิดไม่ถึง หรือ มองไม่ทะลุที่คุณออกกรมธรรม์ประกันภัย และในภายหลังสิ่งเหล่านั้นก็ย้อนกลับมาทำความเสียหายได้ โดยคุณไม่สามารถขยับเขยื้อนหรือแก้ไขอะไรได้ เหมือนคุณรู้สึกว่าอยากจะโดดออกนอกหน้าต่าง"
ดังนั้นการวัดความสำเร็จของตัวเองนั้นอยู่ที่ " การหลีกเลี่ยงที่จะทำผิดพลาดในสิ่งที่ไม่น่าพลาดได้มากน้อยเพียงใด"
เป็นการให้คำสัมภาษณ์ของ อาจิต เซน ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายประกันภัยอุบัติเหตุ แผนกประกันภัยต่อแห่งเบิร์กไซร์ฮาธาเวย์ครับ
ผมมานึกถึงธุรกิจ Modern Trade ครับ ว่ามีอะไรเป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรผิดพลาดบ้าง
ได้มีโอกาสใช้บริการ Modern Trade และร้านค้าปลีกน้ำมัน ได้เห็นความผิดพลาดบางอย่าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ เพราะเป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าพลาด
1. ไปซื้ออาหารที่ร้าน แม็คดอนอล ซื้อ Package Happy Meal 1 ชุด ปรากฏว่าพนักงานกดเป็น 2 ชุด ผิดพลาดครั้งที่ 1 ไม่เสียหายอะไร แต่ทำให้ Rework แก้ไข 1 ครั้ง ต่อมา ผิดพลาดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 เพราะพนักงานใส่ อาหารผิดพลาด เอา แม็คนัทเกท มาใส่เพิ่มเข้ามาใน Package ด้วย อู้หู ได้กำไรจมเลยครับ ไปเจอเข้าจึงตัดสินใจเอาไปคืนครับ เพราะไม่ต้องการกำไรที่ไม่ใช่ของเราครับ อิ อิ แต่แล้วก็เกิดความผิดพลาดครั้งที่ 3 เพราะใน Package ผมต้องมีมันฝรั่งทอด ปรากฏว่าขาดมันฝรั่งทอดไป จึงต้องไปตามเอาของเราที่เราสั่งครับ
ความผิดพลาดแบบนี้ เป็นแบบที่ลูกค้าได้เปรียบและเสียเปรียบครับ แต่ก็ไม่ดีทั้งคู่ เพราะทำให้ลูกค้าไม่ได้สินค้าตามที่ต้องการ หากเอาของผิดใส่ซึ่งแพงกว่า บริษัทที่ขายก็อาจขาดทุนจากการขายในรายการนั้น หรือหากไม่ได้ใส่สินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ ก็ทำให้บริษัทได้กำไรเกินควร แต่ลูกค้าไม่พึงพอใจครับ
2. ไปซื้อของที่ร้าน 7-11 ซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์ PCT ปรากฏว่า บริษัทใจดีแถมให้อีก 1 ใบ กลับมาถึงที่บ้านถึงได้รู้ว่า ได้รับเกินมา 1 ใบ จึงเอาไปคืน บัตรใบนั้นราคาเกือบ 300 บาท ถ้าไม่คืน บริษัทก็คงขาดทุนจำนวนไม่น้อยครับ
3. ไปซื้อของที่ Lotus ชั่งปีกไก่ 1 กก. ปรากฏว่า พนักงานไปกดบาร์โค้ดผิด เป็น เนื้อหมูแทน 1 กก. หุหุ งานนี้เปิดดูใบเสร็จ ก็ตกใจ เอาไป Claim พนักงานจึงแก้ไขปัญหาโดยการใส่เนื้อไก่เพิ่มให้ตามจำนวนที่ควรจะเป็น แต่ไม่แก้ไขใบเสร็จ หุ หุ ไม่รู้ว่าการลงบัญชีต่อไปจะเป็นอย่างไร
4. ไปเติมน้ำมัน ปรากฏว่าเติมที่ราคา 1210 บาท แต่พนักงานกดบัตรเครดิตของเราไปที่ 1260 บาท ดีว่าทักทัน ก็เลยแก้ไขครับ
5. ไปซื้อของที่คาร์ฟู ซื้อเฟอร์นิเจอร์ราคา 950 บาท ป้ายก็บอกไว้ชัดเจน แต่พอไปกดบาร์โค้ด ราคาปรากฏเป็น 1150 บาท หุหุ โชคดีดูใบเสร็จจึงต้องไปแจ้งที่เคาน์เตอร์ พนักงานบอกว่า เป็นราคาเดิมในอดีต ตอนนี้ปรับราคาขึ้นไปแล้ว ดังนั้นถ้าต้องการซื้อต้องจ่าย 1150 บาท แม้ป้ายจะติดราคาชัดเจนที่ 950 บาทก็ตาม เราก็เลยต้องคืนของตามระเบียบครับ
ความผิดพลาดเหล่านี้หละครับ เป็นจุดรั่วไหล หรือจุดที่สร้างความไม่พึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างมาก
ทำอย่างไรที่ ธุรกิจ Modern Trade ทั้งหลายจึงให้ความสำคัญและฝึกการขายให้พนักงานซื้อสัตย์กับลูกค้า และใส่ใจกับความถูกต้องดังกล่าว เพราะการให้ประโยชน์ลูกค้าเกินควรที่เกิดจากความผิดพลาด หรือการขายสินค้าที่ไม่ถูกต้องและเงินเข้าบริษัทมากเกินควร (เข้ามากไปอยู่ที่ใครก็ไม่รู้) ก็ไม่ได้ทั้งคู่ครับ
ก็มาเล่าให้ฟังว่า ข้อผิดพลาดในธุรกิจ Modern Trade ที่พูดถึงนี้ ถ้าเปรียบในการลงทุนหุ้นก็เช่นกัน เราก็คงต้องระมัดระวังข้อผิดพลาดในการลงทุนในส่วนที่ไม่ควรผิดพลาดครับ ถ้าหากทำได้มากเท่าไร ผลตอบแทนจากการลงทุนก็จะยิ่งสม่ำเสมอมากเท่านั้น อาจไม่ได้กำไรที่เติบโตเป็นสถิติจำนวนมาก แต่ก็ทำให้เรามีโอกาสขาดทุนจำนวนสูง ๆ น้อยลง การลงทุนจึงต้องรอบคอบ วิเคราะห์ความเสี่ยงที่สำคัญให้ครบถ้วน ไม่ให้ผิดพลาดในส่วนที่ไม่ควรผิดพลาดครับ
มีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือหน้า 112-113 ที่พูดว่า
" สิ่งที่ท้าทายที่สุด ก็คือ หลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้น คุณจะทำผิดพลาดได้ง่ายในความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้นนี้ เพราะหากคุณทำผิดพลาดเพียงรายเดียว ทุกอย่างที่ทำมาอาจจะขาดทุนหมด มันเหมือนคุณกำลังดูแลปกป้องแอปเปิ้ลที่มีหนอนอยู่ภายใน"
ความผิดพลาดที่แท้จริงของความผิดพลาดที่ไม่ควรพลาด หมายถึง สิ่งที่คุณคิดไม่ถึง หรือ มองไม่ทะลุที่คุณออกกรมธรรม์ประกันภัย และในภายหลังสิ่งเหล่านั้นก็ย้อนกลับมาทำความเสียหายได้ โดยคุณไม่สามารถขยับเขยื้อนหรือแก้ไขอะไรได้ เหมือนคุณรู้สึกว่าอยากจะโดดออกนอกหน้าต่าง"
ดังนั้นการวัดความสำเร็จของตัวเองนั้นอยู่ที่ " การหลีกเลี่ยงที่จะทำผิดพลาดในสิ่งที่ไม่น่าพลาดได้มากน้อยเพียงใด"
เป็นการให้คำสัมภาษณ์ของ อาจิต เซน ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายประกันภัยอุบัติเหตุ แผนกประกันภัยต่อแห่งเบิร์กไซร์ฮาธาเวย์ครับ
ผมมานึกถึงธุรกิจ Modern Trade ครับ ว่ามีอะไรเป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรผิดพลาดบ้าง
ได้มีโอกาสใช้บริการ Modern Trade และร้านค้าปลีกน้ำมัน ได้เห็นความผิดพลาดบางอย่าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ เพราะเป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าพลาด
1. ไปซื้ออาหารที่ร้าน แม็คดอนอล ซื้อ Package Happy Meal 1 ชุด ปรากฏว่าพนักงานกดเป็น 2 ชุด ผิดพลาดครั้งที่ 1 ไม่เสียหายอะไร แต่ทำให้ Rework แก้ไข 1 ครั้ง ต่อมา ผิดพลาดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 เพราะพนักงานใส่ อาหารผิดพลาด เอา แม็คนัทเกท มาใส่เพิ่มเข้ามาใน Package ด้วย อู้หู ได้กำไรจมเลยครับ ไปเจอเข้าจึงตัดสินใจเอาไปคืนครับ เพราะไม่ต้องการกำไรที่ไม่ใช่ของเราครับ อิ อิ แต่แล้วก็เกิดความผิดพลาดครั้งที่ 3 เพราะใน Package ผมต้องมีมันฝรั่งทอด ปรากฏว่าขาดมันฝรั่งทอดไป จึงต้องไปตามเอาของเราที่เราสั่งครับ
ความผิดพลาดแบบนี้ เป็นแบบที่ลูกค้าได้เปรียบและเสียเปรียบครับ แต่ก็ไม่ดีทั้งคู่ เพราะทำให้ลูกค้าไม่ได้สินค้าตามที่ต้องการ หากเอาของผิดใส่ซึ่งแพงกว่า บริษัทที่ขายก็อาจขาดทุนจากการขายในรายการนั้น หรือหากไม่ได้ใส่สินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ ก็ทำให้บริษัทได้กำไรเกินควร แต่ลูกค้าไม่พึงพอใจครับ
2. ไปซื้อของที่ร้าน 7-11 ซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์ PCT ปรากฏว่า บริษัทใจดีแถมให้อีก 1 ใบ กลับมาถึงที่บ้านถึงได้รู้ว่า ได้รับเกินมา 1 ใบ จึงเอาไปคืน บัตรใบนั้นราคาเกือบ 300 บาท ถ้าไม่คืน บริษัทก็คงขาดทุนจำนวนไม่น้อยครับ
3. ไปซื้อของที่ Lotus ชั่งปีกไก่ 1 กก. ปรากฏว่า พนักงานไปกดบาร์โค้ดผิด เป็น เนื้อหมูแทน 1 กก. หุหุ งานนี้เปิดดูใบเสร็จ ก็ตกใจ เอาไป Claim พนักงานจึงแก้ไขปัญหาโดยการใส่เนื้อไก่เพิ่มให้ตามจำนวนที่ควรจะเป็น แต่ไม่แก้ไขใบเสร็จ หุ หุ ไม่รู้ว่าการลงบัญชีต่อไปจะเป็นอย่างไร
4. ไปเติมน้ำมัน ปรากฏว่าเติมที่ราคา 1210 บาท แต่พนักงานกดบัตรเครดิตของเราไปที่ 1260 บาท ดีว่าทักทัน ก็เลยแก้ไขครับ
5. ไปซื้อของที่คาร์ฟู ซื้อเฟอร์นิเจอร์ราคา 950 บาท ป้ายก็บอกไว้ชัดเจน แต่พอไปกดบาร์โค้ด ราคาปรากฏเป็น 1150 บาท หุหุ โชคดีดูใบเสร็จจึงต้องไปแจ้งที่เคาน์เตอร์ พนักงานบอกว่า เป็นราคาเดิมในอดีต ตอนนี้ปรับราคาขึ้นไปแล้ว ดังนั้นถ้าต้องการซื้อต้องจ่าย 1150 บาท แม้ป้ายจะติดราคาชัดเจนที่ 950 บาทก็ตาม เราก็เลยต้องคืนของตามระเบียบครับ
ความผิดพลาดเหล่านี้หละครับ เป็นจุดรั่วไหล หรือจุดที่สร้างความไม่พึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างมาก
ทำอย่างไรที่ ธุรกิจ Modern Trade ทั้งหลายจึงให้ความสำคัญและฝึกการขายให้พนักงานซื้อสัตย์กับลูกค้า และใส่ใจกับความถูกต้องดังกล่าว เพราะการให้ประโยชน์ลูกค้าเกินควรที่เกิดจากความผิดพลาด หรือการขายสินค้าที่ไม่ถูกต้องและเงินเข้าบริษัทมากเกินควร (เข้ามากไปอยู่ที่ใครก็ไม่รู้) ก็ไม่ได้ทั้งคู่ครับ
ก็มาเล่าให้ฟังว่า ข้อผิดพลาดในธุรกิจ Modern Trade ที่พูดถึงนี้ ถ้าเปรียบในการลงทุนหุ้นก็เช่นกัน เราก็คงต้องระมัดระวังข้อผิดพลาดในการลงทุนในส่วนที่ไม่ควรผิดพลาดครับ ถ้าหากทำได้มากเท่าไร ผลตอบแทนจากการลงทุนก็จะยิ่งสม่ำเสมอมากเท่านั้น อาจไม่ได้กำไรที่เติบโตเป็นสถิติจำนวนมาก แต่ก็ทำให้เรามีโอกาสขาดทุนจำนวนสูง ๆ น้อยลง การลงทุนจึงต้องรอบคอบ วิเคราะห์ความเสี่ยงที่สำคัญให้ครบถ้วน ไม่ให้ผิดพลาดในส่วนที่ไม่ควรผิดพลาดครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
ความผิดพลาดที่ไม่น่าผิดพลาด
โพสต์ที่ 2
ข้อคิดเห็นดีๆแบบนี้
เหมาะที่จะอยู่ห้องบทความครับ
ขออนุญาตย้ายไปไว้ห้องบทความนะครับ ... :D
เหมาะที่จะอยู่ห้องบทความครับ
ขออนุญาตย้ายไปไว้ห้องบทความนะครับ ... :D
"Winners never quit, and quitters never win."
- thumbman2001
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 8116
- ผู้ติดตาม: 1
ความผิดพลาดที่ไม่น่าผิดพลาด
โพสต์ที่ 4
"หลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้น"
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 511
- ผู้ติดตาม: 0
ความผิดพลาดที่ไม่น่าผิดพลาด
โพสต์ที่ 5
เป็นบทความที่ดีมากๆ ครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
VI ฝึกหัด
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
ความผิดพลาดที่ไม่น่าผิดพลาด
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ
ความผิดพลาดอย่างหนึ่งในการซื้อขายหุ้นเองผ่านอินเตอร์เน็ทคือ คีย์ซื้อเป็นขาย หรือขายเป็นซื้อ หรือคีย์หุ้นผิดตัว โดยเฉพาะพวกที่มีชื่อย่อคล้ายๆกัน
ความผิดพลาดอย่างหนึ่งในการซื้อขายหุ้นเองผ่านอินเตอร์เน็ทคือ คีย์ซื้อเป็นขาย หรือขายเป็นซื้อ หรือคีย์หุ้นผิดตัว โดยเฉพาะพวกที่มีชื่อย่อคล้ายๆกัน
รักในหลวงครับ