8) วันนี้ได้ไปอ่านข้อเขียนล่าสุดของวิบูลย์
พอดีตรงกับประสบการณ์
มาเล่าสู่กันฟัง
เรื่อง อย่าโทษคนอื่น
http://www.thaivi.com/article/value-way/426-.html
การยอมรับความผิดพลาดนั้น
ถือว่าเป็นสิ่งที่ฝืนความรู้สึกของมนุษย์อยู่มากพอสมควรทีเดียว
เพราะกลไกป้องกันตนเองในการไม่ยอมรับความผิดนั้น
ถูกฝังรากลึกในจิตใจของเราตั้งแต่วัยเด็ก
เมื่อเป็นเด็กถ้าเราทำผิด เรามักจะถูกทำโทษ
ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่โรงเรียน
ดังนั้นหนทางเดียวที่จะไม่ถูกทำโทษก็คือการไม่ยอมรับความผิด
โดยการโยนความผิดให้กับสิ่งอื่นๆแทน
เพื่อที่เราจะรอดพ้นจากการถูกทำโทษได้
ผมเห็นด้วยเลย ขอเสริมนิดนึงคือ
มนุษย์นี้มีสัญชาติญาณเอาตัวรอดสูง
ซึ่งเป็นกลไกทางจิตวิทยา
เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม ในระดับนึง
ทีนี้พอมีอะไรมากระทบที่จะทำให้เรารู้สึกว่า
เอ็งผิดหรือข้าผิด
ก็สรุปไว้ก่อนว่าเอ็งผิด ดีกว่า
ข้าจะได้อยู่รอดในสังคมนี้ได้
ผมยกตัวอย่างเรื่องเล่นแบด ก็ได้เห็นได้ชัดมาก
เพราะแบดที่เล่นเป็นแบดคู่ เล่นข้างละ2คน
ทีนี้มันก็ต้องมีฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะ
ฝ่ายชนะไม่เท่าไหร่
ผ่ายแพ้นี่สิ
โทษเพื่อนวุ่นวายไปหมด
ว่าเวลาข้าตบ เอ็งไม่ขึ้นไปป้องกันหน้าเน็ต
หรือเขาโยนโด่งมา ทำไมไม่ตบ ไปโยนกลับให้เขาตบ
โอ๊ย ร้อยแปดพันเก้าครับที่จะโทษกัน
สุดท้ายก็ผิดใจกัน มองหน้ากันไม่ค่อยดิด
แล้วที่แย่ที่สุดคือฝีมือ ไม่พัฒนาครับ
ก็เล่นไปพัฒนาฝีปาก นี่ครับ ฝีมือจะดีขึ้นอย่างไร
เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ผมไม่เป็นนะ
แต่พอนานๆเข้า ดวงตาเห็นธรรมครับ
พอคิดได้ว่า จะโทษคนอื่นไปทำไม
เราเองแหละที่ห่วย เล่นไม่ดี ไม่เล่นเป็นทีม
คิดอย่างนี้กลับพัฒนาได้ครับ
เล่นก็สนุกขึ้นมาก
พัฒนาจาก ว่าเพื่อน กลับคอยให้กำลังใจ พูดชมเวลาเพื่อนเล่นดี
เกมกลับพัฒนาขึ้นมาก
คงจิตใจที่พัฒนาขึ้นนั่นแหละ......