คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 1
เขียนโดยคุณ Inivisible Hand ครับ
การลงทุนแบบ VI นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อหุ้นที่ดูเหมือนเป็นหุ้น VI ตามที่เค้าแนะนำมาตามแหล่งต่างๆ เช่น ห้องกระทิงคุณค่าแห่งนี้ หรือ www.thaivi.com นะครับ
ดังนั้นจะต้องแยกให้ออกว่าเราจะเป็น VI หรือ จะซื้อหุ้น VI ซึ่งอย่างหลังนั้นไม่ยากเพราะสามารถสอบถามจาก web ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ VI แต่การที่จะเป็น VI คือสามารถเลือกหาหุ้นที่มีคุณภาพสูงในราคาไม่แพงเกินไปนักเป็นสิ่งที่ยากกว่ามาก ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมจะทำหรือไม่นะครับ
หากต้องการเป็น VI ผมมีคำแนะนั้นต้นให้ได้ครับ
1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น
- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ
3 จะต้องอ่านหนังสือธุรกิจรายเดือน เช่น ผู้จัดการรายเดือน Brandage Thaicoon Marketeer การเงินการธนาคาร อย่างน้อยเดือนละ 1-2 เล่ม
4 จะต้องหา Pocket book ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ( ซึ่งหลายๆ เล่มมีฉบับแปล ) มาอ่านให้ได้อย่างน้อยปีละ 4-5 เล่ม เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก และสามารถวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ได้ ยกตัวอย่างหนังสือดีๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว เช่น Blue ocean strategy หรือ ใครว่าโลกกลม ( The world is flat )
5 หากสนใจหุ้นตัวใดแล้ว จะต้องอ่านข้อมูลอย่างน้อยคือ 56-1 รายงานประจำปี งบการเงิน รวมไปถึงการ search หาข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ชื่อบริษัท หรือชื่อ นามสกุล กรรมการผู้จัดการ ลงใน www.google.com ครับ
6 ฝึกเป็นคนสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน เช่น การขับรถ การเดินห้าง การดู TV ฟังวิทยุ ไปต่างประเทศ หรือการพูดคุยกับคนต่างๆ อาชีพ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกและวิเคราะห์หุ้นได้เป็นอย่างดี
7 ฝึกการคิดต่างจากคนอื่นๆ เพราะถ้ามีเรื่องแบบเดียวกันและเราคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป โอกาสประสบความสำเร็จจะมียากกว่าคนที่ฝึกการคิดแตกต่าง เปรียบเหมือนกับการหาที่จอดรถในห้าง หากเราขับตามๆ กันไปเราก็ต้องได้ที่จอดรถหลังคันหน้าเราอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะเลือกขับไปในจุดที่เราเป็นคันแรกจะมีโอกาสได้ที่จอดรถมากกว่า
8 หาโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือ งาน Opportunity day เพื่อทำความรู้จักผู้บริหารและซักถามข้อสงสัยต่างๆ
9 จะต้องเป็นคนรู้กว้าง อ่านและฟังมากๆ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นเท่านั้น แต่ควรจะรู้ความเป็นไปในโลกให้มากที่สุด เพราะบางครั้งความรู้ต่างๆ ที่เรามีนั้นจะถูกเชื่อมโยงเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของเราได้ เพราะผมเองยังได้กำไรจากหุ้นตัวหนึ่งจากการอ่านหนังสือบันเทิงอย่าง Maya Channel เลยครับ ดังนั้นผมจะอ่านนิตยสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อหาความรู้ทั่วไปและการผ่อนคลาย เช่น แพรว ยานยนต์ สารคดี ฯลฯ VI ที่ดีควรเข้าร้านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งครับ
ฯลฯ มีอีกหลายข้อแต่ยังนึกไม่ออกครับ
ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนทำได้ยาก แต่เมื่อลองทำจริงๆ แล้วมันจะเป็นนิสัยและจะอยู่ในชีวิตเราเองแบบไม่ตั้งใจ แล้วเราจะสามารถมีชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไปครับ สามารถเดินห้าง ดูหนัง ซื้อของ สังสรรค์ ท่องเที่ยว ได้ตามปกติครับ และก็ไม่ได้เป็นการทำงานหนักมากด้วย เพราะเราจะเป็น VI ที่คอยสังเกตสิ่งต่างๆ และหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
จะเห็นว่าการเป็นนักลงทุนแบบที่เค้าเรียกกันว่า VI นั้น ไม่ได้มาด้วยความฟลุ๊กแน่นอนครับ
ท่านใดทำได้ครบแล้วบ้างครับ
ส่วนผมยังทำไม่ครบเลยครับ
การลงทุนแบบ VI นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อหุ้นที่ดูเหมือนเป็นหุ้น VI ตามที่เค้าแนะนำมาตามแหล่งต่างๆ เช่น ห้องกระทิงคุณค่าแห่งนี้ หรือ www.thaivi.com นะครับ
ดังนั้นจะต้องแยกให้ออกว่าเราจะเป็น VI หรือ จะซื้อหุ้น VI ซึ่งอย่างหลังนั้นไม่ยากเพราะสามารถสอบถามจาก web ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ VI แต่การที่จะเป็น VI คือสามารถเลือกหาหุ้นที่มีคุณภาพสูงในราคาไม่แพงเกินไปนักเป็นสิ่งที่ยากกว่ามาก ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมจะทำหรือไม่นะครับ
หากต้องการเป็น VI ผมมีคำแนะนั้นต้นให้ได้ครับ
1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น
- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ
3 จะต้องอ่านหนังสือธุรกิจรายเดือน เช่น ผู้จัดการรายเดือน Brandage Thaicoon Marketeer การเงินการธนาคาร อย่างน้อยเดือนละ 1-2 เล่ม
4 จะต้องหา Pocket book ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ( ซึ่งหลายๆ เล่มมีฉบับแปล ) มาอ่านให้ได้อย่างน้อยปีละ 4-5 เล่ม เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก และสามารถวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ได้ ยกตัวอย่างหนังสือดีๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว เช่น Blue ocean strategy หรือ ใครว่าโลกกลม ( The world is flat )
5 หากสนใจหุ้นตัวใดแล้ว จะต้องอ่านข้อมูลอย่างน้อยคือ 56-1 รายงานประจำปี งบการเงิน รวมไปถึงการ search หาข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ชื่อบริษัท หรือชื่อ นามสกุล กรรมการผู้จัดการ ลงใน www.google.com ครับ
6 ฝึกเป็นคนสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน เช่น การขับรถ การเดินห้าง การดู TV ฟังวิทยุ ไปต่างประเทศ หรือการพูดคุยกับคนต่างๆ อาชีพ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกและวิเคราะห์หุ้นได้เป็นอย่างดี
7 ฝึกการคิดต่างจากคนอื่นๆ เพราะถ้ามีเรื่องแบบเดียวกันและเราคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป โอกาสประสบความสำเร็จจะมียากกว่าคนที่ฝึกการคิดแตกต่าง เปรียบเหมือนกับการหาที่จอดรถในห้าง หากเราขับตามๆ กันไปเราก็ต้องได้ที่จอดรถหลังคันหน้าเราอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะเลือกขับไปในจุดที่เราเป็นคันแรกจะมีโอกาสได้ที่จอดรถมากกว่า
8 หาโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือ งาน Opportunity day เพื่อทำความรู้จักผู้บริหารและซักถามข้อสงสัยต่างๆ
9 จะต้องเป็นคนรู้กว้าง อ่านและฟังมากๆ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นเท่านั้น แต่ควรจะรู้ความเป็นไปในโลกให้มากที่สุด เพราะบางครั้งความรู้ต่างๆ ที่เรามีนั้นจะถูกเชื่อมโยงเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของเราได้ เพราะผมเองยังได้กำไรจากหุ้นตัวหนึ่งจากการอ่านหนังสือบันเทิงอย่าง Maya Channel เลยครับ ดังนั้นผมจะอ่านนิตยสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อหาความรู้ทั่วไปและการผ่อนคลาย เช่น แพรว ยานยนต์ สารคดี ฯลฯ VI ที่ดีควรเข้าร้านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งครับ
ฯลฯ มีอีกหลายข้อแต่ยังนึกไม่ออกครับ
ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนทำได้ยาก แต่เมื่อลองทำจริงๆ แล้วมันจะเป็นนิสัยและจะอยู่ในชีวิตเราเองแบบไม่ตั้งใจ แล้วเราจะสามารถมีชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไปครับ สามารถเดินห้าง ดูหนัง ซื้อของ สังสรรค์ ท่องเที่ยว ได้ตามปกติครับ และก็ไม่ได้เป็นการทำงานหนักมากด้วย เพราะเราจะเป็น VI ที่คอยสังเกตสิ่งต่างๆ และหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
จะเห็นว่าการเป็นนักลงทุนแบบที่เค้าเรียกกันว่า VI นั้น ไม่ได้มาด้วยความฟลุ๊กแน่นอนครับ
ท่านใดทำได้ครบแล้วบ้างครับ
ส่วนผมยังทำไม่ครบเลยครับ
แก้ไขล่าสุดโดย Kao เมื่อ พฤหัสฯ. พ.ค. 31, 2007 12:41 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- Verified User
- โพสต์: 487
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 2
สงสัยจะเป็น VI ไม่ได้
1 2 3 4 ไม่อ่านเลย
5 พอดูบ้าง รู้เรื่องไม่รู้เรื่องก็พยายามพลิกดู
6 7 เหมือนจะใช่ แต่ไม่แน่ใจ
8 ขี้เกียจเข้าเมือง เพื่อไปประชุม
9 เหมือนสนใจทุกๆเรื่องอยู่เหมือนกัน
1 2 3 4 ไม่อ่านเลย
5 พอดูบ้าง รู้เรื่องไม่รู้เรื่องก็พยายามพลิกดู
6 7 เหมือนจะใช่ แต่ไม่แน่ใจ
8 ขี้เกียจเข้าเมือง เพื่อไปประชุม
9 เหมือนสนใจทุกๆเรื่องอยู่เหมือนกัน
对不起,请问一下.
存货是什么意思 ?
存货是什么意思 ?
-
- Verified User
- โพสต์: 383
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 3
ผมว่า อ่านหลายฉบับมากไปครับ2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2
โดยความเห็นส่วตัวนะครับ
การอ่านหนังสือพิม์ให้ดีก็เหมือนกับการอ่านทั้วไป คือ คล้ายกับการ screen (หนังสือที่ดีเราไม่อ่านเเบบรอบเดียว โดยทั่วไปรอบเเรกในการอ่านหนังสือเราได้เเบบคร่าวๆ แบบ outline อ่านรอบสอง รอบสามถึงจะได้อะไรลึกๆตามมา เเละจะรู้สึกว่านหนังสือเป็นสิ่งมหัศจรรย์)
เเต่ในส่วนหัวข้อที่เราสนใจ เราสงสัย เราควรอ่านเเบบเจาะ เเบบเชิงลึก เชิงวิเคราะห์ ถามหาเหตุและผล คือ อ่านเเบบเน้นคุณภาพน่ะครับ ไม่ได้เน้นตรงปริมาณอย่างเดียว
เพราะว่าเราต้องยอมรับครับ เวลาอ่านอะไรเยอะตาเราจะล้า โดยเฉพาะอ่านผ่านจอคอมพิวเตอร์ พอตา (ยายไม่เกี่ยว) เราล้า คุณภาพหรือการอ่านเเบบใช้หัวสมอง (กึน) ก็จะลดลง ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 5
ผมว่าคุณ IH ตกไปนะครับ
ที่ตกไปก็คือ หนังสือวิชาการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ การตลาด การบริหาร
อ่านแต่ นสพ. บทวิเคราะห์ แต่ถ้าเราไม่มีความรู้พื้นฐาน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะนำมาใช้อย่างไร จะย่อยข่าวอย่างไร
ที่ตกไปก็คือ หนังสือวิชาการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ การตลาด การบริหาร
อ่านแต่ นสพ. บทวิเคราะห์ แต่ถ้าเราไม่มีความรู้พื้นฐาน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะนำมาใช้อย่างไร จะย่อยข่าวอย่างไร
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ
โพสต์ที่ 6
ที่พี่ฉัตรชัยพูดผมว่าพี่ IH เค้าน่าจะรวมอยู่ในอีกหลายข้อแต่ยังนึกไม่ออกนะครับKao เขียน:
ฯลฯ มีอีกหลายข้อแต่ยังนึกไม่ออกครับ
ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนทำได้ยาก แต่เมื่อลองทำจริงๆ แล้วมันจะเป็นนิสัยและจะอยู่ในชีวิตเราเองแบบไม่ตั้งใจ แล้วเราจะสามารถมีชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไปครับ สามารถเดินห้าง ดูหนัง ซื้อของ สังสรรค์ ท่องเที่ยว ได้ตามปกติครับ และก็ไม่ได้เป็นการทำงานหนักมากด้วย เพราะเราจะเป็น VI ที่คอยสังเกตสิ่งต่างๆ และหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
ท่านใดทำได้ครบแล้วบ้างครับ
ส่วนผมยังทำไม่ครบเลยครับ
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 7
เห็นด้วยหมดยกเว้นข้อสอง นสพ.ไม่ต้องอ่านก็ได้ ถ้าอยากอ่านอ่านของฝรั่ง WSJ ดีกว่า
imho, อ่านนสพ.มีประโยชน์ แต่โดยรวมแล้วน่าจะมีผลเสียมากกว่าในการลงทุนระยะยาว ข่าวรายวันไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับความสามารถของกิจการเท่าไหร่
imho, อ่านนสพ.มีประโยชน์ แต่โดยรวมแล้วน่าจะมีผลเสียมากกว่าในการลงทุนระยะยาว ข่าวรายวันไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับความสามารถของกิจการเท่าไหร่
-
- Verified User
- โพสต์: 1250
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 8
ถ้าจะมีเข้าเค้าผมก็น่าจะมีแค่ 1- 6 - 7 ข้อ 5 นี่เหมือนว่าจะอ่านบ้าง
นอกนั้นตกหมด ครับ :lovl: :lovl: :lovl:
ได้ 3 คะแนนครึ่งจาก 9 :oops: :oops: :oops:
จริงๆแล้วผม ข้อ 6 กับ 7 บวกกันได้ 1 คะแนนก็พอ เหลืออยู่ 2.5 จาก 9 น่าอายจัง
ของคนอื่นเป็นยังไงบ้างครับ ผมตก มีน ไปเยอะรึปล่าวนี่
นอกนั้นตกหมด ครับ :lovl: :lovl: :lovl:
ได้ 3 คะแนนครึ่งจาก 9 :oops: :oops: :oops:
จริงๆแล้วผม ข้อ 6 กับ 7 บวกกันได้ 1 คะแนนก็พอ เหลืออยู่ 2.5 จาก 9 น่าอายจัง
ของคนอื่นเป็นยังไงบ้างครับ ผมตก มีน ไปเยอะรึปล่าวนี่
-
- Verified User
- โพสต์: 1250
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 9
ข้อ 5 1 คะแนนqingwen เขียน:สงสัยจะเป็น VI ไม่ได้
1 2 3 4 ไม่อ่านเลย
5 พอดูบ้าง รู้เรื่องไม่รู้เรื่องก็พยายามพลิกดู
6 7 เหมือนจะใช่ แต่ไม่แน่ใจ
8 ขี้เกียจเข้าเมือง เพื่อไปประชุม
9 เหมือนสนใจทุกๆเรื่องอยู่เหมือนกัน
ข้อ 6 + 7 1 คะแนน
ข้อ 9 1 คะแนน
พี่ qingwen ยังมีความเป็น วีไอมากกว่าผม อยู่ ครึ่งคะแนน :lovl:
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ
โพสต์ที่ 10
หากต้องการเป็น VI ผมมีคำแนะนั้นต้นให้ได้ครับ
1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น
- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
8) ข้อนี้ไม่รู้จะเรียกว่าผ่านหรือเปล่า แต่ได้แค่ ครึ่งคะแนน
2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ
8) ข้อนี้ตกชัดเจน
3 จะต้องอ่านหนังสือธุรกิจรายเดือน เช่น ผู้จัดการรายเดือน Brandage Thaicoon Marketeer การเงินการธนาคาร อย่างน้อยเดือนละ 1-2 เล่ม
8) ข้อนี้ก็ตกอีก
4 จะต้องหา Pocket book ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ( ซึ่งหลายๆ เล่มมีฉบับแปล ) มาอ่านให้ได้อย่างน้อยปีละ 4-5 เล่ม เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก และสามารถวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ได้ ยกตัวอย่างหนังสือดีๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว เช่น Blue ocean strategy หรือ ใครว่าโลกกลม ( The world is flat )
8) ข้อนี้ได้ครึ่งคะแนนอีกแล้ว
5 หากสนใจหุ้นตัวใดแล้ว จะต้องอ่านข้อมูลอย่างน้อยคือ 56-1 รายงานประจำปี งบการเงิน รวมไปถึงการ search หาข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ชื่อบริษัท หรือชื่อ นามสกุล กรรมการผู้จัดการ ลงใน www.google.com ครับ
8) ตกอีกแล้วครับ
6 ฝึกเป็นคนสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน เช่น การขับรถ การเดินห้าง การดู TV ฟังวิทยุ ไปต่างประเทศ หรือการพูดคุยกับคนต่างๆ อาชีพ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกและวิเคราะห์หุ้นได้เป็นอย่างดี
8) ข้อนี้น่าจะผ่านครับ เรื่องสังเกตุหรือพูดคุยนี่ผ่านแน่ๆครับ
7 ฝึกการคิดต่างจากคนอื่นๆ เพราะถ้ามีเรื่องแบบเดียวกันและเราคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป โอกาสประสบความสำเร็จจะมียากกว่าคนที่ฝึกการคิดแตกต่าง เปรียบเหมือนกับการหาที่จอดรถในห้าง หากเราขับตามๆ กันไปเราก็ต้องได้ที่จอดรถหลังคันหน้าเราอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะเลือกขับไปในจุดที่เราเป็นคันแรกจะมีโอกาสได้ที่จอดรถมากกว่า
8) ไม่ต้องฝึกก็คิดไม่ค่อยเหมือนใครเขาอยู่แล้วครับ
8 หาโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือ งาน Opportunity day เพื่อทำความรู้จักผู้บริหารและซักถามข้อสงสัยต่างๆ
8) ผ่านแน่ๆครับ
9 จะต้องเป็นคนรู้กว้าง อ่านและฟังมากๆ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นเท่านั้น แต่ควรจะรู้ความเป็นไปในโลกให้มากที่สุด เพราะบางครั้งความรู้ต่างๆ ที่เรามีนั้นจะถูกเชื่อมโยงเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของเราได้ เพราะผมเองยังได้กำไรจากหุ้นตัวหนึ่งจากการอ่านหนังสือบันเทิงอย่าง Maya Channel เลยครับ ดังนั้นผมจะอ่านนิตยสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อหาความรู้ทั่วไปและการผ่อนคลาย เช่น แพรว ยานยนต์ สารคดี ฯลฯ VI ที่ดีควรเข้าร้านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งครับ
8) เข้าแต่ร้านดีวีดีนะสิครับเดือนนึงมากกว่า2ครั้งแน่
ไม่ผ่านครับ
8) รวมๆแล้วได้4คะแนนจาก9 ตกเหมือนกันถ้าวัดเป็น%
แต่ถ้าตัดเกรด ยังไม่แน่ครับ
ต้องรอของเพื่อนๆอีกหลายคนมาตอบก่อน
1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น
- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
8) ข้อนี้ไม่รู้จะเรียกว่าผ่านหรือเปล่า แต่ได้แค่ ครึ่งคะแนน
2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ
8) ข้อนี้ตกชัดเจน
3 จะต้องอ่านหนังสือธุรกิจรายเดือน เช่น ผู้จัดการรายเดือน Brandage Thaicoon Marketeer การเงินการธนาคาร อย่างน้อยเดือนละ 1-2 เล่ม
8) ข้อนี้ก็ตกอีก
4 จะต้องหา Pocket book ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ( ซึ่งหลายๆ เล่มมีฉบับแปล ) มาอ่านให้ได้อย่างน้อยปีละ 4-5 เล่ม เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก และสามารถวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ได้ ยกตัวอย่างหนังสือดีๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว เช่น Blue ocean strategy หรือ ใครว่าโลกกลม ( The world is flat )
8) ข้อนี้ได้ครึ่งคะแนนอีกแล้ว
5 หากสนใจหุ้นตัวใดแล้ว จะต้องอ่านข้อมูลอย่างน้อยคือ 56-1 รายงานประจำปี งบการเงิน รวมไปถึงการ search หาข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ชื่อบริษัท หรือชื่อ นามสกุล กรรมการผู้จัดการ ลงใน www.google.com ครับ
8) ตกอีกแล้วครับ
6 ฝึกเป็นคนสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน เช่น การขับรถ การเดินห้าง การดู TV ฟังวิทยุ ไปต่างประเทศ หรือการพูดคุยกับคนต่างๆ อาชีพ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกและวิเคราะห์หุ้นได้เป็นอย่างดี
8) ข้อนี้น่าจะผ่านครับ เรื่องสังเกตุหรือพูดคุยนี่ผ่านแน่ๆครับ
7 ฝึกการคิดต่างจากคนอื่นๆ เพราะถ้ามีเรื่องแบบเดียวกันและเราคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป โอกาสประสบความสำเร็จจะมียากกว่าคนที่ฝึกการคิดแตกต่าง เปรียบเหมือนกับการหาที่จอดรถในห้าง หากเราขับตามๆ กันไปเราก็ต้องได้ที่จอดรถหลังคันหน้าเราอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะเลือกขับไปในจุดที่เราเป็นคันแรกจะมีโอกาสได้ที่จอดรถมากกว่า
8) ไม่ต้องฝึกก็คิดไม่ค่อยเหมือนใครเขาอยู่แล้วครับ
8 หาโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือ งาน Opportunity day เพื่อทำความรู้จักผู้บริหารและซักถามข้อสงสัยต่างๆ
8) ผ่านแน่ๆครับ
9 จะต้องเป็นคนรู้กว้าง อ่านและฟังมากๆ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นเท่านั้น แต่ควรจะรู้ความเป็นไปในโลกให้มากที่สุด เพราะบางครั้งความรู้ต่างๆ ที่เรามีนั้นจะถูกเชื่อมโยงเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของเราได้ เพราะผมเองยังได้กำไรจากหุ้นตัวหนึ่งจากการอ่านหนังสือบันเทิงอย่าง Maya Channel เลยครับ ดังนั้นผมจะอ่านนิตยสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อหาความรู้ทั่วไปและการผ่อนคลาย เช่น แพรว ยานยนต์ สารคดี ฯลฯ VI ที่ดีควรเข้าร้านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งครับ
8) เข้าแต่ร้านดีวีดีนะสิครับเดือนนึงมากกว่า2ครั้งแน่
ไม่ผ่านครับ
8) รวมๆแล้วได้4คะแนนจาก9 ตกเหมือนกันถ้าวัดเป็น%
แต่ถ้าตัดเกรด ยังไม่แน่ครับ
ต้องรอของเพื่อนๆอีกหลายคนมาตอบก่อน
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 11
1) 0.5
2) 0.5
3) 0
4) 0.5
5) 1
6) 0.5
7) 1
8) 0.5
9) 0.5
มีเกือบทุกอย่างครับ
แต่ทำไม่ครบซักอย่าง :lol:
มักทำแล้วขาดๆ อ่านหนังสือก็อ่านเยอะศึกษาเยอะ
แต่ทำได้ไม่เข้าเกณฑ์
รวมแล้ว 5 คะแนนครับ :lol:
2) 0.5
3) 0
4) 0.5
5) 1
6) 0.5
7) 1
8) 0.5
9) 0.5
มีเกือบทุกอย่างครับ
แต่ทำไม่ครบซักอย่าง :lol:
มักทำแล้วขาดๆ อ่านหนังสือก็อ่านเยอะศึกษาเยอะ
แต่ทำได้ไม่เข้าเกณฑ์
รวมแล้ว 5 คะแนนครับ :lol:
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 12
ข้อ 1. ผ่านชัวร์
ข้อ 2. ตกครับ อ่านอย่างมากเดือนละฉบับ
ข้อ 3. ไม่ผ่านครับ แล้วแต่อารมณ์ บางทีก็อ่าน บางทีก็ไม่อ่าน
ข้อ 4. ตก 100% ครับ
ข้อ 5. ครึ่งคะแนนครับ
ข้อ 6. ผ่าน
ข้อ 7. ผ่านอีก
ข้อ 8. ไปบ้างครับ น่าจะได้ครึ่งคะแนน
ข้อ 9. ไม่ผ่านครับ
4 แต้มครับ :?
ข้อ 2. ตกครับ อ่านอย่างมากเดือนละฉบับ
ข้อ 3. ไม่ผ่านครับ แล้วแต่อารมณ์ บางทีก็อ่าน บางทีก็ไม่อ่าน
ข้อ 4. ตก 100% ครับ
ข้อ 5. ครึ่งคะแนนครับ
ข้อ 6. ผ่าน
ข้อ 7. ผ่านอีก
ข้อ 8. ไปบ้างครับ น่าจะได้ครึ่งคะแนน
ข้อ 9. ไม่ผ่านครับ
4 แต้มครับ :?
-
- Verified User
- โพสต์: 526
- ผู้ติดตาม: 0
กำลังหัดเดินตามรอยครับ
โพสต์ที่ 15
ผมคงผ่านแค่แค่ 3 ข้อยังต้องฝึกวิทยายุทธอีกเยอะ เพื่อกลายเป็นจอมยุทธผู้ยิ่งใหญ่ ในอนาคต ฝากเนื้อ ฝากตัว กับปรมาจารย์ พี่ๆ ทั้งหลายด้วยครับเพื่อรับข้าน้อยเป็นศิษย์ ด้วยครับ
When I believe in concept of Benjamin Graham.
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 16
1. ไล่อ่านอยู่ครับ ไม่ถึงครึ่ง ตกครับ
2. ไม่ต้องคิดครับ ตก
3. 100% ตก
เฮ้อ 3 ข้อแรก ยังไม่ได้แต้มเลย สู้ต่อไปนะ ทาเคชิ
4. ครึ่งคะแนน ละกัน
เริ่มได้แล้ว
5. ตกชัวร์ ไม่มั่นนิ่ม จะเริ่มแล้วครับ
ุ6. ครึ่งนึงละกัน
7. พอได้ครับ ครึ่งนึงนะ
8. ไม่เคยครับ :( เพิ่งเริ่มสนใจได้สามเดือนเอง
9. ข้อสุดท้ายละ ขอครึ่งนึง
สรุป 2 แต้มครับ เศร้าสุด
แต่จะพยายามต่อไปครับ
น้องใหม่ หัดคลานครับ โตขึ้นจะเป็น VI แบบพี่ ๆ ครับ
2. ไม่ต้องคิดครับ ตก
3. 100% ตก
เฮ้อ 3 ข้อแรก ยังไม่ได้แต้มเลย สู้ต่อไปนะ ทาเคชิ
4. ครึ่งคะแนน ละกัน
เริ่มได้แล้ว
5. ตกชัวร์ ไม่มั่นนิ่ม จะเริ่มแล้วครับ
ุ6. ครึ่งนึงละกัน
7. พอได้ครับ ครึ่งนึงนะ
8. ไม่เคยครับ :( เพิ่งเริ่มสนใจได้สามเดือนเอง
9. ข้อสุดท้ายละ ขอครึ่งนึง
สรุป 2 แต้มครับ เศร้าสุด
แต่จะพยายามต่อไปครับ
น้องใหม่ หัดคลานครับ โตขึ้นจะเป็น VI แบบพี่ ๆ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
จะพยายาม
โพสต์ที่ 17
จะพยายามครับ
น้องใหม่ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
น้องใหม่ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 22
ผมกำลังเริ่มหัดคลานครับผม(ยังเดินไม่ได้เลย) ขอบคุณมากๆสำหรับคำแนะนำนะครับ
มาเก็บความรู้ใน thaivi ทุกๆวันเลยครับน้อง A เขาแนะนำwebนี้มาน่ะครับ (ถ้าพี่หมอสามัญชนมาอ่านเจอน่ะครับ) อ่านแล้วรู้สึกดีจัง อย่างน้อยก็สามารถนำแนวคิดของ VI ไปใช้กับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันได้ด้วย
มาเก็บความรู้ใน thaivi ทุกๆวันเลยครับน้อง A เขาแนะนำwebนี้มาน่ะครับ (ถ้าพี่หมอสามัญชนมาอ่านเจอน่ะครับ) อ่านแล้วรู้สึกดีจัง อย่างน้อยก็สามารถนำแนวคิดของ VI ไปใช้กับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันได้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 13
- ผู้ติดตาม: 0
ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 24
จะพยายามครับผม .......
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1841
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 28
สเต็ปบริหารเงินเส้นทางเศรษฐี
30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 05:00:00
ก่อนที่จะเข้าสู่สนามการลงทุน เพื่อผันตัวเองไปเป็น ..."เศรษฐีเงินล้าน" หรือ "เศรษฐีสิบล้าน" ในอนาคต... "ต้องเริ่มจากสำรวจ เป้าหมายชีวิต ให้ชัดเจนก่อนว่าคืออะไร
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากนั้นจึงตรวจสอบฐานะทางการเงินว่า อยู่ในข่ายใด จะได้ปรับจัดการใช้จ่าย ลงทุน ให้ถูกต้องขึ้น
เพื่อจะทำให้เป้าหมายเป็นจริง ต้องหาทางบริหารเงินดังกล่าวอย่างชาญฉลาด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินการลงทุนให้แนวทางคล้ายคลึงกันว่า ต้องเริ่มด้วยการกำหนด "เป้าหมาย" ว่า มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินเพื่อวัตถุประสงค์ใด จำนวนเท่าไร และเมื่อไรในอีกกี่ปีข้างหน้า
การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของเป้าหมายจะ "ตอบโจทย์" การวางแผนทางการเงิน ช่วยสร้าง กำลังทรัพย์ ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ไม่ยาก
เป้าหมายการเงิน อย่างเช่น...ในวัยหนุ่มสาว อาจจะต้องการวางแผนจะซื้อบ้าน รถยนต์ ในอีก 4 ปีข้างหน้า หรือวัยกลางคน อาจต้องการวางแผนส่งลูกเรียนปริญญาตรีหรือโทต่างประเทศในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
กระทั่ง...ในวัยเกษียณอายุ ก็จะถึงเวลาวางแผนการเงินเกษียณอายุว่า ตัวเองจะต้องมีเงินเท่าไรไว้ใช้หลังเกษียณ เป็นต้น
เมื่อรู้เป้าหมายของตัวเองชัดเจนว่า ต้องการเงินจำนวนเท่าไร ไว้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใด และต้องการใช้เมื่อไรในอนาคต...
ขั้นตอนต่อมา...ก็ต้อง "เช็คสุขภาพ" การเงิน เพื่อตรวจสอบว่า ฐานะการเงินมีความแข็งแรงหรือยังอ่อนแอ ควรจะได้รับการเยียวยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแนะนำว่า ต้องสำรวจ "ฐานะสุทธิ" เพื่อให้ทราบว่า มีทุนรอนที่จะทำเป้าหมายให้เป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน ด้วยการคำนวณหาภาพรวมฐานะการเงิน โดยเอา ทรัพย์สิน ทางการเงินที่มีอยู่ทุกรายการ "หักลบ" ด้วย หนี้สิน ทางการเงินทุกรายการ ก็จะได้ตัวเลข "ฐานะสุทธิการเงิน" ส่วนตัวออกมา
หากผลที่ได้ออกมา มีฐานะ "ติดลบ" ก็ต้องหาหนทางที่จะเปลี่ยนให้เป็น "บวก" โดยเริ่มทบทวนพฤติกรรมการใช้จ่าย และเรียนรู้แนวทาง "ออมให้มากขึ้น แต่ใช้จ่ายให้น้อยลง"
รวมทั้งหาทาง เพิ่ม รายได้อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยให้เงินที่มีอยู่เพิ่มพูนมากขึ้น ด้วยการนำไปลงทุน ให้เกิดดอกออกผล
หลักเบื้องต้นในการลงทุน ควรจะเริ่มจากการ "กันเงิน" ส่วนหนึ่งจากรายได้ หรือเงินเก็บออมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน กระทั่งรายได้ที่จะตามมาในอนาคต เช่น จากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น กำไรจากการค้าขาย หรือได้รับมรดกตกทอด
จากนั้นนำเงินที่ได้มาไปหา "ช่องทางลงทุน" ต่างๆ เพื่อก่อดอก "ออกผล" ให้ได้เงินก้อนโต เพียงพอสำหรับความจำเป็นในอนาคต
แต่ก่อนที่จะไปถึงการจัดสรรเงินไปลงทุนในช่องทางต่างๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากๆ ก็คือ ทำอย่างไรรายได้ที่หามาได้ จะไม่ "ลดค่า" ลงไปตามกาลเวลาในอนาคต
สิ่งที่ต้องระวังอย่างมากก็คือ ปัจจัยเรื่อง "เงินเฟ้อ" ซึ่งจะเป็นตัววายร้ายที่จะกัดกินเงิน จนทำให้มูลค่าเงินหดหายจนไปไม่ถึงฝั่ง
การเลือกฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างเดียว เพื่อหวังกินดอกเบี้ย อาจไม่ใช่การลงทุนที่ดีและถูกต้องอีกต่อไป หากดอกเบี้ยแท้จริงยังต่ำกว่าเงินเฟ้อ จะทำให้เม็ดเงินลงทุนโตไม่ทันกับราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นจากเงินเฟ้อ
ยุทธวิธีที่จะบรรลุแผนทางการเงินอย่าง "ชาญฉลาด" จึงจำเป็นต้องใช้วิธีลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ดอกผลที่ดีกว่าการฝากเงินกินดอกเบี้ย
การบริหารเงินที่ดีต้องทำให้ "รายได้" ที่มีอยู่ถูกนำไปต่อยอด เกิดดอกผลมากที่สุด ด้วยวิธีการลงทุนที่ชาญฉลาด และเหมาะกับสถานการณ์ลงทุนแต่ละช่วงเวลา
แต่ก่อนเข้าสู่ สนามการลงทุน ก็ต้องตรวจสอบก่อนว่า ในภาคสนามลงทุนมีสินค้าอะไรให้เลือกลงทุน ความเสี่ยง ผลตอบแทนเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความต้องการที่เราคาดหวังหรือไม่...
คำตอบ หรือความคาดหวังจากการลงทุนของคนส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นความต้องการ 3 ข้อ ไม่ว่า...ต้องการแสวงหาผลตอบแทนให้เงินงอกเงยขึ้นมาก ๆ เพราะอยากเป็นเศรษฐี
อยากมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนทรัพย์สินให้เป็นเงินสดได้ เมื่อยามฉุกเฉิน หรือสุดท้าย อยากมีความมั่นคง ปลอดภัยในเงินต้นที่ลงทุนไป
เมื่อรู้คำตอบ ขอบข่ายความต้องการลงทุนของตัวเองแล้ว ก็จะประเมินได้ว่า ตัวเองเป็นคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน จะสามารถเลือกลงทุนได้เหมาะสมกับตัวเอง เช่น
หากอยู่ในพวก อนุรักษนิยม ก็จะเน้นความปลอดภัยของเงินลงทุนหรือผลตอบแทนที่แน่นอน คงต้องเลือกลงทุนในเครื่องมือที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก หรือ พันธบัตรรัฐบาล
ถ้า เดินสายกลาง ที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง แต่ยังยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง ก็ต้องเลือกลงทุนในเครื่องมือที่มีความเสี่ยงปานกลาง อย่าง หุ้นกู้
พวกที่ชื่นชอบ ความเสี่ยง หรือความท้าทาย เพราะต้องการผลตอบแทนสูง ก็สามารถเลือกเครื่องมือที่มีความเสี่ยงสูงได้ เช่น หุ้น
สไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ได้ต่างออกไปขึ้นอยู่กับใครว่าจะชื่นชอบแนวลงทุนแบบไหน
"สมจินต์ ศรไพศาล" กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ ได้เปรียบเทียบการจัดสรรเงินลงทุนหรือ จัดพอร์ตลงทุน (ทัพลงทุน) เสมือนกับ "ทีมฟุตบอล"
เขาเทียบการลงทุนใน "หุ้นทุน" เป็นเช่น "กองหน้า" เพราะสามารถสร้างโอกาสทำกำไรได้มากที่สุด ขณะเดียวกัน หากพลาดท่าก็มีโอกาสเสียประตูมากที่สุดเช่นกัน
"อย่างบางปีตลาดหุ้นสามารถสร้างกำไรได้สูงมาก แต่บางปีก็อาจขาดทุนได้เช่นกัน"
ส่วน กองกลาง เสมือนกับการลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ ผลตอบแทนก็จะอยู่ระดับกลางๆ ความเสี่ยงมีบ้าง แต่ก็น้อยกว่าหุ้น
"กองหลัง" จะเปรียบได้กับการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น
ในขณะที่การ ถือเงินสด เปรียบได้กับ "ผู้รักษาประตู" ต้องมีไว้เป็นเงินทุนสำรองยามฉุกเฉิน
"ทุกครั้งที่เรามีโอกาสลงทุนและตัดสินใจจัดกองทัพของเรานั้น เราควรจะดูว่าในแต่ละขณะมีเครื่องมือ หรือตลาดไหนที่มีราคาเหมาะสม เมื่อเราได้เปรียบเทียบอย่างนั้นแล้ว จะสามารถช่วยให้ตัวเองไม่ถลำลงไปในสถานการณ์ที่เลวร้ายได้" สมจินต์ กล่าว
30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 05:00:00
ก่อนที่จะเข้าสู่สนามการลงทุน เพื่อผันตัวเองไปเป็น ..."เศรษฐีเงินล้าน" หรือ "เศรษฐีสิบล้าน" ในอนาคต... "ต้องเริ่มจากสำรวจ เป้าหมายชีวิต ให้ชัดเจนก่อนว่าคืออะไร
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากนั้นจึงตรวจสอบฐานะทางการเงินว่า อยู่ในข่ายใด จะได้ปรับจัดการใช้จ่าย ลงทุน ให้ถูกต้องขึ้น
เพื่อจะทำให้เป้าหมายเป็นจริง ต้องหาทางบริหารเงินดังกล่าวอย่างชาญฉลาด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินการลงทุนให้แนวทางคล้ายคลึงกันว่า ต้องเริ่มด้วยการกำหนด "เป้าหมาย" ว่า มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินเพื่อวัตถุประสงค์ใด จำนวนเท่าไร และเมื่อไรในอีกกี่ปีข้างหน้า
การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของเป้าหมายจะ "ตอบโจทย์" การวางแผนทางการเงิน ช่วยสร้าง กำลังทรัพย์ ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ไม่ยาก
เป้าหมายการเงิน อย่างเช่น...ในวัยหนุ่มสาว อาจจะต้องการวางแผนจะซื้อบ้าน รถยนต์ ในอีก 4 ปีข้างหน้า หรือวัยกลางคน อาจต้องการวางแผนส่งลูกเรียนปริญญาตรีหรือโทต่างประเทศในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
กระทั่ง...ในวัยเกษียณอายุ ก็จะถึงเวลาวางแผนการเงินเกษียณอายุว่า ตัวเองจะต้องมีเงินเท่าไรไว้ใช้หลังเกษียณ เป็นต้น
เมื่อรู้เป้าหมายของตัวเองชัดเจนว่า ต้องการเงินจำนวนเท่าไร ไว้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใด และต้องการใช้เมื่อไรในอนาคต...
ขั้นตอนต่อมา...ก็ต้อง "เช็คสุขภาพ" การเงิน เพื่อตรวจสอบว่า ฐานะการเงินมีความแข็งแรงหรือยังอ่อนแอ ควรจะได้รับการเยียวยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแนะนำว่า ต้องสำรวจ "ฐานะสุทธิ" เพื่อให้ทราบว่า มีทุนรอนที่จะทำเป้าหมายให้เป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน ด้วยการคำนวณหาภาพรวมฐานะการเงิน โดยเอา ทรัพย์สิน ทางการเงินที่มีอยู่ทุกรายการ "หักลบ" ด้วย หนี้สิน ทางการเงินทุกรายการ ก็จะได้ตัวเลข "ฐานะสุทธิการเงิน" ส่วนตัวออกมา
หากผลที่ได้ออกมา มีฐานะ "ติดลบ" ก็ต้องหาหนทางที่จะเปลี่ยนให้เป็น "บวก" โดยเริ่มทบทวนพฤติกรรมการใช้จ่าย และเรียนรู้แนวทาง "ออมให้มากขึ้น แต่ใช้จ่ายให้น้อยลง"
รวมทั้งหาทาง เพิ่ม รายได้อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยให้เงินที่มีอยู่เพิ่มพูนมากขึ้น ด้วยการนำไปลงทุน ให้เกิดดอกออกผล
หลักเบื้องต้นในการลงทุน ควรจะเริ่มจากการ "กันเงิน" ส่วนหนึ่งจากรายได้ หรือเงินเก็บออมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน กระทั่งรายได้ที่จะตามมาในอนาคต เช่น จากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น กำไรจากการค้าขาย หรือได้รับมรดกตกทอด
จากนั้นนำเงินที่ได้มาไปหา "ช่องทางลงทุน" ต่างๆ เพื่อก่อดอก "ออกผล" ให้ได้เงินก้อนโต เพียงพอสำหรับความจำเป็นในอนาคต
แต่ก่อนที่จะไปถึงการจัดสรรเงินไปลงทุนในช่องทางต่างๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากๆ ก็คือ ทำอย่างไรรายได้ที่หามาได้ จะไม่ "ลดค่า" ลงไปตามกาลเวลาในอนาคต
สิ่งที่ต้องระวังอย่างมากก็คือ ปัจจัยเรื่อง "เงินเฟ้อ" ซึ่งจะเป็นตัววายร้ายที่จะกัดกินเงิน จนทำให้มูลค่าเงินหดหายจนไปไม่ถึงฝั่ง
การเลือกฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างเดียว เพื่อหวังกินดอกเบี้ย อาจไม่ใช่การลงทุนที่ดีและถูกต้องอีกต่อไป หากดอกเบี้ยแท้จริงยังต่ำกว่าเงินเฟ้อ จะทำให้เม็ดเงินลงทุนโตไม่ทันกับราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นจากเงินเฟ้อ
ยุทธวิธีที่จะบรรลุแผนทางการเงินอย่าง "ชาญฉลาด" จึงจำเป็นต้องใช้วิธีลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ดอกผลที่ดีกว่าการฝากเงินกินดอกเบี้ย
การบริหารเงินที่ดีต้องทำให้ "รายได้" ที่มีอยู่ถูกนำไปต่อยอด เกิดดอกผลมากที่สุด ด้วยวิธีการลงทุนที่ชาญฉลาด และเหมาะกับสถานการณ์ลงทุนแต่ละช่วงเวลา
แต่ก่อนเข้าสู่ สนามการลงทุน ก็ต้องตรวจสอบก่อนว่า ในภาคสนามลงทุนมีสินค้าอะไรให้เลือกลงทุน ความเสี่ยง ผลตอบแทนเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความต้องการที่เราคาดหวังหรือไม่...
คำตอบ หรือความคาดหวังจากการลงทุนของคนส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นความต้องการ 3 ข้อ ไม่ว่า...ต้องการแสวงหาผลตอบแทนให้เงินงอกเงยขึ้นมาก ๆ เพราะอยากเป็นเศรษฐี
อยากมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนทรัพย์สินให้เป็นเงินสดได้ เมื่อยามฉุกเฉิน หรือสุดท้าย อยากมีความมั่นคง ปลอดภัยในเงินต้นที่ลงทุนไป
เมื่อรู้คำตอบ ขอบข่ายความต้องการลงทุนของตัวเองแล้ว ก็จะประเมินได้ว่า ตัวเองเป็นคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน จะสามารถเลือกลงทุนได้เหมาะสมกับตัวเอง เช่น
หากอยู่ในพวก อนุรักษนิยม ก็จะเน้นความปลอดภัยของเงินลงทุนหรือผลตอบแทนที่แน่นอน คงต้องเลือกลงทุนในเครื่องมือที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก หรือ พันธบัตรรัฐบาล
ถ้า เดินสายกลาง ที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง แต่ยังยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง ก็ต้องเลือกลงทุนในเครื่องมือที่มีความเสี่ยงปานกลาง อย่าง หุ้นกู้
พวกที่ชื่นชอบ ความเสี่ยง หรือความท้าทาย เพราะต้องการผลตอบแทนสูง ก็สามารถเลือกเครื่องมือที่มีความเสี่ยงสูงได้ เช่น หุ้น
สไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ได้ต่างออกไปขึ้นอยู่กับใครว่าจะชื่นชอบแนวลงทุนแบบไหน
"สมจินต์ ศรไพศาล" กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ ได้เปรียบเทียบการจัดสรรเงินลงทุนหรือ จัดพอร์ตลงทุน (ทัพลงทุน) เสมือนกับ "ทีมฟุตบอล"
เขาเทียบการลงทุนใน "หุ้นทุน" เป็นเช่น "กองหน้า" เพราะสามารถสร้างโอกาสทำกำไรได้มากที่สุด ขณะเดียวกัน หากพลาดท่าก็มีโอกาสเสียประตูมากที่สุดเช่นกัน
"อย่างบางปีตลาดหุ้นสามารถสร้างกำไรได้สูงมาก แต่บางปีก็อาจขาดทุนได้เช่นกัน"
ส่วน กองกลาง เสมือนกับการลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ ผลตอบแทนก็จะอยู่ระดับกลางๆ ความเสี่ยงมีบ้าง แต่ก็น้อยกว่าหุ้น
"กองหลัง" จะเปรียบได้กับการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น
ในขณะที่การ ถือเงินสด เปรียบได้กับ "ผู้รักษาประตู" ต้องมีไว้เป็นเงินทุนสำรองยามฉุกเฉิน
"ทุกครั้งที่เรามีโอกาสลงทุนและตัดสินใจจัดกองทัพของเรานั้น เราควรจะดูว่าในแต่ละขณะมีเครื่องมือ หรือตลาดไหนที่มีราคาเหมาะสม เมื่อเราได้เปรียบเทียบอย่างนั้นแล้ว จะสามารถช่วยให้ตัวเองไม่ถลำลงไปในสถานการณ์ที่เลวร้ายได้" สมจินต์ กล่าว
Rabbit VS. Turtle
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1841
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 29
เทคนิคลงทุน "ไม่ติดหุ้น"
31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 13:30:00
จัดพอร์ตลงทุนผสมผสานหุ้นหลายประเภทอย่างลงตัว โอกาสประสบความสำเร็จ ไม่ติดหุ้น ยังมีเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้นสไตล์ "ลงทุน" หรือ "เก็งกำไร"..
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เทคนิคที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการปกป้องตัวเองให้รอดพ้นจากการ "ขาดทุน" หรือไม่ติดหุ้นท่ามกลางความเสี่ยงของกระแสเม็ดเงินทุนไหลออก (Funds Flow) อาจใช้หลักลงทุนผสมระหว่างหุ้นเพื่อ "ถือลงทุน" และหุ้น "เก็งกำไร" ไว้บริหารพอร์ตลงทุนช่วงนี้..
"สิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ" ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส ให้แนวทางลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวนว่า นักลงทุนควรลงทุนในหุ้นแบบมี "ระบบ" ด้วยการจัดสรรแบ่งสัดส่วนการลงทุนอย่างชัดเจน กำหนดเวลาลงทุนแน่นอน ระหว่างการลงทุนเพื่อ "ถือยาว" ในหุ้นพื้นฐานดี มีการเติบโตต่อเนื่อง และแบบ "เล่นสั้น" เก็งกำไรรายวัน ซึ่งจะทำให้พอร์ตลงทุนไม่ติดหุ้น
แต่ผู้ลงทุนจะต้องตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล เมื่อมีข้อมูลและมั่นใจเพียงพอ ตลอดจนไม่หวั่นไหวกับความผันผวนรายวัน หากเหตุผลหรือพื้นฐานของหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญคือจะต้องมีวินัยในการลงทุน
ส่วนการให้น้ำหนักเงินลงทุนในหุ้นแต่ละประเภทนั้น จะขึ้นอยู่กับตัวผู้ลงทุนเองว่ารับ "ความเสี่ยง" ได้มากน้อยแค่ไหน
"ถ้าชอบเผชิญโชค ก็อาจแบ่งเงินไปในหุ้นเก็งกำไรรายวันในสัดส่วนที่มากหน่อยได้ แต่ผู้ลงทุนต้องมีข้อมูลเพียงพอและต้องไม่หวั่นไหวกับราคาผันผวนของหุ้นรายวัน ให้มองพื้นฐานของหุ้นเป็นเรื่องรอง
ที่สำคัญที่สุด ผู้ลงทุนจะต้องมีวินัยลงทุน เมื่อขาดทุนก็ต้องมีจุดคัตลอส (Cut Loss) ที่ชัดเจน"
สิริณัฎฐาบอกว่า คุณสมบัติหุ้นลงทุนที่ดีและควรซื้อลงทุนนั้น มีหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหุ้นที่กำไรจะพลิกฟื้น (Turnaround Stocks) กลุ่มหุ้นกำไรมีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง (Growth Stocks) กำไรเติบโตไม่มาก แต่มีกำไรสม่ำเสมอ (Valued Stocks)
"หุ้นเทิร์นอะราวด์เดิมจะเป็นหุ้นที่ขาดทุน แต่กลับมามีกำไรหรือมีกำไรเติบโตมากๆ หากใครค้นหาได้ก่อนจะทำให้ผู้ลงทุนได้กำไรสูงสุด ได้เปรียบคนอื่นอย่างมาก ต่างจากหุ้นเติบโตสูง เดิมจะเติบโตสูงอยู่แล้ว แต่ในอนาคตจะโตสูงต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงตัวธุรกิจหรือมีธุรกิจใหม่
ส่วนหุ้นมูลค่า จะมีกำไรโตไม่มาก แต่มีกำไรสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เช่น ปูนใหญ่ แอดวานซ์ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคง และจ่ายปันผลดี แต่ต้องดูด้วยว่าบริษัทมีกำไรโตจากการดำเนินงานของธุรกิจจริงๆ ไม่ใช่โตจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยน"
นอกเหนือจากกลุ่มหุ้นดังกล่าว หุ้นที่น่าซื้อลงทุนที่มี "กระแสเงินสด" จากการดำเนินงานที่ดี หรือบริษัทที่มีหนี้ไม่สูงเกินไป และบริษัทที่จ่ายปันผลดี ก็จัดเป็นหุ้นซื้อเพื่อลงทุนได้ด้วย
สิริณัฎฐาชี้ว่า โดยปกติบริษัทที่ดีต้องไม่มีหนี้สูงเกิน 2 เท่าของทุน ยกเว้นบริษัทที่มีธุรกิจขยายตัวและมีรายได้ กำไรกลับมาเร็ว ก็อาจจะมีสัดส่วนหนี้เพิ่มขึ้นบ้าง ขณะที่หุ้นปันผลที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง เพราะหากบริษัทมีการลงทุนเพิ่ม ก็จะทำให้การจ่ายปันผลลดลงได้เช่นกัน
เมื่อเลือกซื้อหุ้นเพื่อลงทุนที่ดีได้แล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ จะต้องเป็นหุ้นที่มีราคา "ไม่แพง" ด้วย..
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ไซรัส ให้เกณฑ์ในการพิจารณาว่าหุ้นใดราคาถูก หรือแพง โดยดูจาก "มูลค่าหุ้น"
หลักในการพิจารณามูลค่าหุ้นนั้น จะนิยมประเมินจากค่า P/E หรือราคาหุ้นเทียบกับกำไร, P/GCF หรือราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้นหรือรายได้ที่ไม่ใช่เงินสดต่อหุ้น, P/BV ราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าบัญชีต่อหุ้น รวมถึงการพิจารณาอัตราการจ่ายปันผล เป็นต้น
นี่คือหลักในการคัดเลือกหุ้นพื้นฐานดี เพื่อการลงทุน "ถือยาว"
แต่อีกฝั่งหนึ่งของพอร์ตการลงทุน ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ไซรัส ได้แนะนำให้แบ่งสัดส่วนเงินลงทุนไปซื้อขายหุ้นแบบ "เก็งกำไร" รายวัน
สิริณัฎฐาบอกว่า การซื้อขายแบบ "เก็งกำไร" ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำกำไรกันได้ง่ายๆ อย่าหวังที่จะได้กำไร 10-20% กำไร 4-5% ถือว่ามากแล้ว แต่ผู้ลงทุนต้องมีวินัยในการซื้อขายอย่างมากจึงจะประสบความสำเร็จได้ "กำไร" ที่ดี
แนวทางการเล่นหุ้นเก็งกำไร จะใช้วิธีดู Flow Trade หรือดูการเสนอซื้อและเสนอขาย เพื่อรู้ว่า ตลาดกำลังเล่นหุ้นอะไรอยู่ และต้องใช้วิธีการซื้อและขายด้วยเครื่องมือทางเทคนิค
แต่..ไม่ใช่ว่า ใครๆ ก็เล่นหุ้นเก็งกำไรได้..
คุณสมบัติพิเศษของคนที่จะลงทุนแบบนี้ได้ จะต้องมีเวลาดู "จอซื้อขาย" เพราะเป็นการเล่นสั้น ขณะเดียวกันผู้ลงทุนจะต้องมีประสบการณ์ต่อลักษณะราคา มูลค่าการซื้อขาย และการตั้งราคาซื้อขาย ตัดสินใจส่งคำสั่งซื้อและขายรวดเร็ว และต้องมีวินัยลงทุน เมื่อขาดทุนต้องตัดขาดทุน
"เมื่อใดที่เก็งกำไรในหุ้นผิดพลาด ราคาหุ้นลงมามาก ต้องตัดขาดทุน เพราะถ้าไม่ขายจะทำให้ต้องถือหุ้นเพื่อการลงทุน จะยิ่งทำให้พอร์ตลงทุนเราแย่ไปใหญ่ เนื่องจากเอาหุ้นเก็งกำไร พื้นฐานไม่ดี มาถือเพื่อลงทุน ซึ่งผิดหลักการลงทุน จะทำให้ยิ่งขาดทุนมากขึ้นไปอีก"
การจัดพอร์ตลงทุนที่ดีและประสบความสำเร็จมีกำไร จึงควร "แยก" เม็ดเงินลงทุนระหว่างการถือลงทุนระยะยาวกับการเล่นเก็งกำไรออกจากกันให้ชัดเจน
และต้องกำหนด "เวลาลงทุน" ในหุ้นแต่ละประเภท เพราะเมื่อใดที่เกิดปัญหาพอร์ตขาดทุน จะทำให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ที่สำคัญ ไม่ "ติดหุ้น" ให้ปวดหัวใจอีกด้วย..
นาฎยา ปานเฟือง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 13:30:00
จัดพอร์ตลงทุนผสมผสานหุ้นหลายประเภทอย่างลงตัว โอกาสประสบความสำเร็จ ไม่ติดหุ้น ยังมีเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้นสไตล์ "ลงทุน" หรือ "เก็งกำไร"..
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เทคนิคที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการปกป้องตัวเองให้รอดพ้นจากการ "ขาดทุน" หรือไม่ติดหุ้นท่ามกลางความเสี่ยงของกระแสเม็ดเงินทุนไหลออก (Funds Flow) อาจใช้หลักลงทุนผสมระหว่างหุ้นเพื่อ "ถือลงทุน" และหุ้น "เก็งกำไร" ไว้บริหารพอร์ตลงทุนช่วงนี้..
"สิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ" ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส ให้แนวทางลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวนว่า นักลงทุนควรลงทุนในหุ้นแบบมี "ระบบ" ด้วยการจัดสรรแบ่งสัดส่วนการลงทุนอย่างชัดเจน กำหนดเวลาลงทุนแน่นอน ระหว่างการลงทุนเพื่อ "ถือยาว" ในหุ้นพื้นฐานดี มีการเติบโตต่อเนื่อง และแบบ "เล่นสั้น" เก็งกำไรรายวัน ซึ่งจะทำให้พอร์ตลงทุนไม่ติดหุ้น
แต่ผู้ลงทุนจะต้องตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล เมื่อมีข้อมูลและมั่นใจเพียงพอ ตลอดจนไม่หวั่นไหวกับความผันผวนรายวัน หากเหตุผลหรือพื้นฐานของหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญคือจะต้องมีวินัยในการลงทุน
ส่วนการให้น้ำหนักเงินลงทุนในหุ้นแต่ละประเภทนั้น จะขึ้นอยู่กับตัวผู้ลงทุนเองว่ารับ "ความเสี่ยง" ได้มากน้อยแค่ไหน
"ถ้าชอบเผชิญโชค ก็อาจแบ่งเงินไปในหุ้นเก็งกำไรรายวันในสัดส่วนที่มากหน่อยได้ แต่ผู้ลงทุนต้องมีข้อมูลเพียงพอและต้องไม่หวั่นไหวกับราคาผันผวนของหุ้นรายวัน ให้มองพื้นฐานของหุ้นเป็นเรื่องรอง
ที่สำคัญที่สุด ผู้ลงทุนจะต้องมีวินัยลงทุน เมื่อขาดทุนก็ต้องมีจุดคัตลอส (Cut Loss) ที่ชัดเจน"
สิริณัฎฐาบอกว่า คุณสมบัติหุ้นลงทุนที่ดีและควรซื้อลงทุนนั้น มีหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหุ้นที่กำไรจะพลิกฟื้น (Turnaround Stocks) กลุ่มหุ้นกำไรมีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง (Growth Stocks) กำไรเติบโตไม่มาก แต่มีกำไรสม่ำเสมอ (Valued Stocks)
"หุ้นเทิร์นอะราวด์เดิมจะเป็นหุ้นที่ขาดทุน แต่กลับมามีกำไรหรือมีกำไรเติบโตมากๆ หากใครค้นหาได้ก่อนจะทำให้ผู้ลงทุนได้กำไรสูงสุด ได้เปรียบคนอื่นอย่างมาก ต่างจากหุ้นเติบโตสูง เดิมจะเติบโตสูงอยู่แล้ว แต่ในอนาคตจะโตสูงต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงตัวธุรกิจหรือมีธุรกิจใหม่
ส่วนหุ้นมูลค่า จะมีกำไรโตไม่มาก แต่มีกำไรสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เช่น ปูนใหญ่ แอดวานซ์ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคง และจ่ายปันผลดี แต่ต้องดูด้วยว่าบริษัทมีกำไรโตจากการดำเนินงานของธุรกิจจริงๆ ไม่ใช่โตจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยน"
นอกเหนือจากกลุ่มหุ้นดังกล่าว หุ้นที่น่าซื้อลงทุนที่มี "กระแสเงินสด" จากการดำเนินงานที่ดี หรือบริษัทที่มีหนี้ไม่สูงเกินไป และบริษัทที่จ่ายปันผลดี ก็จัดเป็นหุ้นซื้อเพื่อลงทุนได้ด้วย
สิริณัฎฐาชี้ว่า โดยปกติบริษัทที่ดีต้องไม่มีหนี้สูงเกิน 2 เท่าของทุน ยกเว้นบริษัทที่มีธุรกิจขยายตัวและมีรายได้ กำไรกลับมาเร็ว ก็อาจจะมีสัดส่วนหนี้เพิ่มขึ้นบ้าง ขณะที่หุ้นปันผลที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง เพราะหากบริษัทมีการลงทุนเพิ่ม ก็จะทำให้การจ่ายปันผลลดลงได้เช่นกัน
เมื่อเลือกซื้อหุ้นเพื่อลงทุนที่ดีได้แล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ จะต้องเป็นหุ้นที่มีราคา "ไม่แพง" ด้วย..
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ไซรัส ให้เกณฑ์ในการพิจารณาว่าหุ้นใดราคาถูก หรือแพง โดยดูจาก "มูลค่าหุ้น"
หลักในการพิจารณามูลค่าหุ้นนั้น จะนิยมประเมินจากค่า P/E หรือราคาหุ้นเทียบกับกำไร, P/GCF หรือราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้นหรือรายได้ที่ไม่ใช่เงินสดต่อหุ้น, P/BV ราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าบัญชีต่อหุ้น รวมถึงการพิจารณาอัตราการจ่ายปันผล เป็นต้น
นี่คือหลักในการคัดเลือกหุ้นพื้นฐานดี เพื่อการลงทุน "ถือยาว"
แต่อีกฝั่งหนึ่งของพอร์ตการลงทุน ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ไซรัส ได้แนะนำให้แบ่งสัดส่วนเงินลงทุนไปซื้อขายหุ้นแบบ "เก็งกำไร" รายวัน
สิริณัฎฐาบอกว่า การซื้อขายแบบ "เก็งกำไร" ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำกำไรกันได้ง่ายๆ อย่าหวังที่จะได้กำไร 10-20% กำไร 4-5% ถือว่ามากแล้ว แต่ผู้ลงทุนต้องมีวินัยในการซื้อขายอย่างมากจึงจะประสบความสำเร็จได้ "กำไร" ที่ดี
แนวทางการเล่นหุ้นเก็งกำไร จะใช้วิธีดู Flow Trade หรือดูการเสนอซื้อและเสนอขาย เพื่อรู้ว่า ตลาดกำลังเล่นหุ้นอะไรอยู่ และต้องใช้วิธีการซื้อและขายด้วยเครื่องมือทางเทคนิค
แต่..ไม่ใช่ว่า ใครๆ ก็เล่นหุ้นเก็งกำไรได้..
คุณสมบัติพิเศษของคนที่จะลงทุนแบบนี้ได้ จะต้องมีเวลาดู "จอซื้อขาย" เพราะเป็นการเล่นสั้น ขณะเดียวกันผู้ลงทุนจะต้องมีประสบการณ์ต่อลักษณะราคา มูลค่าการซื้อขาย และการตั้งราคาซื้อขาย ตัดสินใจส่งคำสั่งซื้อและขายรวดเร็ว และต้องมีวินัยลงทุน เมื่อขาดทุนต้องตัดขาดทุน
"เมื่อใดที่เก็งกำไรในหุ้นผิดพลาด ราคาหุ้นลงมามาก ต้องตัดขาดทุน เพราะถ้าไม่ขายจะทำให้ต้องถือหุ้นเพื่อการลงทุน จะยิ่งทำให้พอร์ตลงทุนเราแย่ไปใหญ่ เนื่องจากเอาหุ้นเก็งกำไร พื้นฐานไม่ดี มาถือเพื่อลงทุน ซึ่งผิดหลักการลงทุน จะทำให้ยิ่งขาดทุนมากขึ้นไปอีก"
การจัดพอร์ตลงทุนที่ดีและประสบความสำเร็จมีกำไร จึงควร "แยก" เม็ดเงินลงทุนระหว่างการถือลงทุนระยะยาวกับการเล่นเก็งกำไรออกจากกันให้ชัดเจน
และต้องกำหนด "เวลาลงทุน" ในหุ้นแต่ละประเภท เพราะเมื่อใดที่เกิดปัญหาพอร์ตขาดทุน จะทำให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ที่สำคัญ ไม่ "ติดหุ้น" ให้ปวดหัวใจอีกด้วย..
นาฎยา ปานเฟือง
Rabbit VS. Turtle
-
- Verified User
- โพสต์: 65
- ผู้ติดตาม: 0
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand)
โพสต์ที่ 30
:lol: เเนะนำดีจริงๆครับ
"Go for a business that any idiot can run - because sooner or later, any idiot probably is going to run it."
"เลือกธุรกิจที่แม้แต่คนโง่ยังสามารถดำเนินงานได้ เพราะไม่ช้าก็เร็ว ไม่แน่ว่าจะมีไอ้โง่ที่ไหนมาดำเนินธุรกิจให้กับบริษัทนั้น"
"เลือกธุรกิจที่แม้แต่คนโง่ยังสามารถดำเนินงานได้ เพราะไม่ช้าก็เร็ว ไม่แน่ว่าจะมีไอ้โง่ที่ไหนมาดำเนินธุรกิจให้กับบริษัทนั้น"