จุดเปลี่ยน(จริงๆนะ)...โทรคมนาคมไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
จุดเปลี่ยน(จริงๆนะ)...โทรคมนาคมไทย
โพสต์ที่ 1
จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมฯไทย เดินหน้าอย่างไร? เมื่อขัดกม.ร่วมทุน
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนาเรื่อง "จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย" โดยผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมเข้าร่วมการอภิปราย พร้อมทั้งเชิญนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปาฐกถาพิเศษ โดยตอนหนึ่งของการสัมมนาได้หยิบยกผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่าสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบทุกฉบับไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ขึ้นมาอภิปราย
สิทธิชัย โภไคยอุดม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที
ในการดำเนินการให้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เห็นว่าจะต้องมีการเจรจากัน และจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น คาดว่าประมาณ 2-3 เดือนจะสามารถเจรจาได้สำเร็จ แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ก็อาจจะต้องเจรจาไปเรื่อยๆ และหากสามารถแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ ทุกอย่างจะดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องห่วงว่าการดำเนินการในรัฐบาลชุดหน้าจะมีเรื่องของผลตอบแทนหรือเงินใต้โต๊ะ ที่ผู้ให้บริการจะต้องจ่ายให้กับใครบางคน เพราะทุกอย่างที่ทำภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด
"ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ใหม่จะเป็นเท่าไร จะใช้อัตราเดิม หรืออัตราใหม่ แต่เข้าใจว่าผู้ที่ลงทุนย่อมต้องการกำไร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป ถ้าได้กำไรสูงมาก ก็ต้องยอมที่จะลดลงบ้าง"
มีเอกชนหลายรายระบุว่าการที่กฤษฎีกาตีความออกมาในลักษณะดังกล่าว จะส่งผลให้ธุรกิจเสียหาย และยังทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เห็นว่าการที่บริษัทเอกชนทำสัญญาทั้งที่รู้ว่าสัญญาไม่ถูกต้อง ทางผู้บริหารของบริษัทเอกชนก็ต้องพิจารณาตัวเองด้วย ไม่ใช่จะอ้างว่าฝ่ายรัฐให้จึงรับไว้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ให้ดี หากอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ต้องทำให้ถูกต้อง หากบริษัทเอกชนจะอ้างว่าไม่ทราบ แล้วทำไมการทำสัญญาของโทรศัพท์พื้นฐานทุกรายถูกต้องหมด ไม่มีฉบับไหนผิดเลย ขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำสัญญาผิดทุกราย
อย่างไรก็ตามก็ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่สามารถดำเนินงานต่างๆ ไปได้ด้วยดี เพราะมีการเดินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนั้นเชื่อว่าการดำเนินการของกระทรวงไอซีทีจะส่งผลดีในอนาคต และไม่เชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมขาดความน่าเชื่อถือกับนักลงทุน
งานนโยบายที่ถือเป็นเรื่องสำคัญ คือ ต้องทำให้เป็นตัวอย่าง เช่น ถ้าเป็นนักการเมืองก็ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ซึ่งจะทำให้การโกงกินในระดับนโยบายไม่เกิด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปลูกฝังข้าราชการว่า ถ้าใครสั่งอะไรที่ไม่ชอบธรรม ไม่ต้องดำเนินการ ก็จะเกิดความโปร่งใสในทุกโครงการ และเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการด้วย
สำหรับเวลาที่เหลืออยู่ 7 เดือน จะเร่งแก้ไขเรื่องของสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และสัมปทานดาวเทียมให้แล้วเสร็จ แต่ในส่วนของดาวเทียมมีปัญหาน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากดำเนินการได้เร็วก็จะเป็นผลดี โดยให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่มีการกลั่นแกล้ง หรือขอเงินใต้โต๊ะเด็ดขาด
วิเชียร เมฆตระการ
กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส
เรื่องที่จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนอีกเรื่องหนึ่ง คือ อะไรไม่ถูกก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง อะไรผิดก็ต้องแก้ไข เช่น การตีความของกฤษฎีกาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เมื่อเป็นแบบนี้ก็ต้องดำเนินการต่างๆ ตามที่กฤษฎีกาตีความ แต่การดำเนินการให้ถูกต้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดให้รัฐเอาเปรียบบริษัทเอกชนไว้ก่อน เพราะหากบริษัทเอกชนมีการแข่งขันจนไม่สามารถอยู่รอดได้ก็ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาส่งผลให้เรื่องดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาร่วมกันอีกว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
ธนา เธียรอัจฉริยะ
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาณิชย์ ดีแทค
การที่รัฐบาลรื้อสัญญา และกล่าวหาว่าบริษัทเอกชนผิด กอบโกยกำไรเพียงอย่างเดียวนั้น ถือว่าไม่ถูกต้องนัก เพราะในอดีตดีแทคและเอไอเอสซึ่งได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพียง 2 ราย ในสมัยนั้นเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือราคาเครื่องละ 2-3 แสนบาท กว่าจะสามารถสร้างฐานลูกค้าและสร้างกำไรได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน จนกระทั่งมีการเปิดเสรีให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้าสู่ตลาดได้ และมีการลงทุนขยายบริการอย่างครอบคลุม แต่เมื่อผู้ประกอบการทุกรายก้าวหน้า ก็บอกว่าเซ็นสัญญาไม่ครบ กระทำผิด ทั้งที่ในรายละเอียดมีที่มาที่ไปอยู่ บางทีการฟังคนพูดเพียง 2-3 คน คงไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาที่มาที่ไปของการทำสัญญาประกอบด้วย
ขณะเดียวกันก็เห็นว่าการดำเนินงานของ 3 เสาหลัก คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงส่งให้ผู้ประกอบการเอกชนไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน เช่น กระทรวงไอซีที ซึ่งไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ชอบออกมาพูดในเรื่องต่างๆ ในขณะที่ กทช.ซึ่งมีอำนาจเต็มที่แต่กลับไม่ยอมออกมาพูดอะไร ซึ่งจะเห็นได้จากเรื่องของการจัดตั้งเทเลคอมพูล
นอกจากการตรวจสอบสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังต้องการให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาสัญญาอื่นๆ ที่ภาครัฐทำร่วมกับบริษัทเอกชนด้วย เพราะจากการพิจารณาในเบื้องต้น ยังมีสัญญาที่เข้าข่ายในลักษณะเดียวกันกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกประมาณ 70 ราย เช่น สัญญาระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด หรือฮัทช์ กับ กสท เป็นต้น
ศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู คอร์ปอเรชั่น
บริษัทยินดีที่จะเจรจาเพื่อให้สัญญาสัมปทานเป็นไปอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และหวังว่าการแก้ไขในครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้ ทรูมูฟ จะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากไปกว่าเดิม เพราะหากเป็นแบบนั้นก็จะสามารถแข่งขันได้ลำบาก ขณะเดียวกันก็เห็นว่าหากเรื่องดังกล่าวไม่ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จะมีผลกระทบกับบริษัทแน่นอน แต่ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเป็นในรูปแบบใด แต่ยืนยันว่าการให้บริการจะไม่หยุดชะงัก เพราะสามารถดำเนินการในสิ่งที่ทำอยู่แล้วต่อไปได้ แต่ที่เป็นปัญหา คือเรื่องใหม่ ซึ่งอาจจะต้องหยุดดำเนินการจนกว่าจะได้ข้อสรุป และต้องการฝากผู้ที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะการดำเนินงานในขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการผ่าตัด เมื่อผ่าออกแล้วก็ต้องรีบรักษา และเย็บกลับคืน หากไม่รีบก็อาจจะป่วยหนักมากกว่าเดิมก็ได้
ทั้งนี้ เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาไม่ใช่การตัดสินว่าขาวหรือดำ แต่เป็นเรื่องที่รัฐมีอำนาจที่จะสามารถเข้าไปพิจารณาตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่กิจการที่แตะต้องไม่ได้อย่างที่หลายคนคิด แต่ก็ต้องพิจารณาถึงการดำเนินการด้วยว่าเป็นในรูปแบบใด หากดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเป็นการหักร้างก็จะเกิดผลเสียขึ้นในกิจการโทรคมนาคมในประเทศอย่างแน่นอน
มติชนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 106
ais เล่นกันมาเมื่อสัปดาห์ก่อน inside ข่าวนี้ป่าวเนี่ย ...ฮึฮึ
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนาเรื่อง "จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย" โดยผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมเข้าร่วมการอภิปราย พร้อมทั้งเชิญนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปาฐกถาพิเศษ โดยตอนหนึ่งของการสัมมนาได้หยิบยกผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่าสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบทุกฉบับไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ขึ้นมาอภิปราย
สิทธิชัย โภไคยอุดม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที
ในการดำเนินการให้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เห็นว่าจะต้องมีการเจรจากัน และจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น คาดว่าประมาณ 2-3 เดือนจะสามารถเจรจาได้สำเร็จ แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ก็อาจจะต้องเจรจาไปเรื่อยๆ และหากสามารถแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ ทุกอย่างจะดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องห่วงว่าการดำเนินการในรัฐบาลชุดหน้าจะมีเรื่องของผลตอบแทนหรือเงินใต้โต๊ะ ที่ผู้ให้บริการจะต้องจ่ายให้กับใครบางคน เพราะทุกอย่างที่ทำภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด
"ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ใหม่จะเป็นเท่าไร จะใช้อัตราเดิม หรืออัตราใหม่ แต่เข้าใจว่าผู้ที่ลงทุนย่อมต้องการกำไร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป ถ้าได้กำไรสูงมาก ก็ต้องยอมที่จะลดลงบ้าง"
มีเอกชนหลายรายระบุว่าการที่กฤษฎีกาตีความออกมาในลักษณะดังกล่าว จะส่งผลให้ธุรกิจเสียหาย และยังทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เห็นว่าการที่บริษัทเอกชนทำสัญญาทั้งที่รู้ว่าสัญญาไม่ถูกต้อง ทางผู้บริหารของบริษัทเอกชนก็ต้องพิจารณาตัวเองด้วย ไม่ใช่จะอ้างว่าฝ่ายรัฐให้จึงรับไว้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ให้ดี หากอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ต้องทำให้ถูกต้อง หากบริษัทเอกชนจะอ้างว่าไม่ทราบ แล้วทำไมการทำสัญญาของโทรศัพท์พื้นฐานทุกรายถูกต้องหมด ไม่มีฉบับไหนผิดเลย ขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำสัญญาผิดทุกราย
อย่างไรก็ตามก็ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่สามารถดำเนินงานต่างๆ ไปได้ด้วยดี เพราะมีการเดินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนั้นเชื่อว่าการดำเนินการของกระทรวงไอซีทีจะส่งผลดีในอนาคต และไม่เชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมขาดความน่าเชื่อถือกับนักลงทุน
งานนโยบายที่ถือเป็นเรื่องสำคัญ คือ ต้องทำให้เป็นตัวอย่าง เช่น ถ้าเป็นนักการเมืองก็ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ซึ่งจะทำให้การโกงกินในระดับนโยบายไม่เกิด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปลูกฝังข้าราชการว่า ถ้าใครสั่งอะไรที่ไม่ชอบธรรม ไม่ต้องดำเนินการ ก็จะเกิดความโปร่งใสในทุกโครงการ และเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการด้วย
สำหรับเวลาที่เหลืออยู่ 7 เดือน จะเร่งแก้ไขเรื่องของสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และสัมปทานดาวเทียมให้แล้วเสร็จ แต่ในส่วนของดาวเทียมมีปัญหาน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากดำเนินการได้เร็วก็จะเป็นผลดี โดยให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่มีการกลั่นแกล้ง หรือขอเงินใต้โต๊ะเด็ดขาด
วิเชียร เมฆตระการ
กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส
เรื่องที่จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนอีกเรื่องหนึ่ง คือ อะไรไม่ถูกก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง อะไรผิดก็ต้องแก้ไข เช่น การตีความของกฤษฎีกาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เมื่อเป็นแบบนี้ก็ต้องดำเนินการต่างๆ ตามที่กฤษฎีกาตีความ แต่การดำเนินการให้ถูกต้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดให้รัฐเอาเปรียบบริษัทเอกชนไว้ก่อน เพราะหากบริษัทเอกชนมีการแข่งขันจนไม่สามารถอยู่รอดได้ก็ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาส่งผลให้เรื่องดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาร่วมกันอีกว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
ธนา เธียรอัจฉริยะ
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาณิชย์ ดีแทค
การที่รัฐบาลรื้อสัญญา และกล่าวหาว่าบริษัทเอกชนผิด กอบโกยกำไรเพียงอย่างเดียวนั้น ถือว่าไม่ถูกต้องนัก เพราะในอดีตดีแทคและเอไอเอสซึ่งได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพียง 2 ราย ในสมัยนั้นเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือราคาเครื่องละ 2-3 แสนบาท กว่าจะสามารถสร้างฐานลูกค้าและสร้างกำไรได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน จนกระทั่งมีการเปิดเสรีให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้าสู่ตลาดได้ และมีการลงทุนขยายบริการอย่างครอบคลุม แต่เมื่อผู้ประกอบการทุกรายก้าวหน้า ก็บอกว่าเซ็นสัญญาไม่ครบ กระทำผิด ทั้งที่ในรายละเอียดมีที่มาที่ไปอยู่ บางทีการฟังคนพูดเพียง 2-3 คน คงไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาที่มาที่ไปของการทำสัญญาประกอบด้วย
ขณะเดียวกันก็เห็นว่าการดำเนินงานของ 3 เสาหลัก คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงส่งให้ผู้ประกอบการเอกชนไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน เช่น กระทรวงไอซีที ซึ่งไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ชอบออกมาพูดในเรื่องต่างๆ ในขณะที่ กทช.ซึ่งมีอำนาจเต็มที่แต่กลับไม่ยอมออกมาพูดอะไร ซึ่งจะเห็นได้จากเรื่องของการจัดตั้งเทเลคอมพูล
นอกจากการตรวจสอบสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังต้องการให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาสัญญาอื่นๆ ที่ภาครัฐทำร่วมกับบริษัทเอกชนด้วย เพราะจากการพิจารณาในเบื้องต้น ยังมีสัญญาที่เข้าข่ายในลักษณะเดียวกันกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกประมาณ 70 ราย เช่น สัญญาระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด หรือฮัทช์ กับ กสท เป็นต้น
ศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู คอร์ปอเรชั่น
บริษัทยินดีที่จะเจรจาเพื่อให้สัญญาสัมปทานเป็นไปอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และหวังว่าการแก้ไขในครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้ ทรูมูฟ จะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากไปกว่าเดิม เพราะหากเป็นแบบนั้นก็จะสามารถแข่งขันได้ลำบาก ขณะเดียวกันก็เห็นว่าหากเรื่องดังกล่าวไม่ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จะมีผลกระทบกับบริษัทแน่นอน แต่ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเป็นในรูปแบบใด แต่ยืนยันว่าการให้บริการจะไม่หยุดชะงัก เพราะสามารถดำเนินการในสิ่งที่ทำอยู่แล้วต่อไปได้ แต่ที่เป็นปัญหา คือเรื่องใหม่ ซึ่งอาจจะต้องหยุดดำเนินการจนกว่าจะได้ข้อสรุป และต้องการฝากผู้ที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะการดำเนินงานในขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการผ่าตัด เมื่อผ่าออกแล้วก็ต้องรีบรักษา และเย็บกลับคืน หากไม่รีบก็อาจจะป่วยหนักมากกว่าเดิมก็ได้
ทั้งนี้ เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาไม่ใช่การตัดสินว่าขาวหรือดำ แต่เป็นเรื่องที่รัฐมีอำนาจที่จะสามารถเข้าไปพิจารณาตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่กิจการที่แตะต้องไม่ได้อย่างที่หลายคนคิด แต่ก็ต้องพิจารณาถึงการดำเนินการด้วยว่าเป็นในรูปแบบใด หากดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเป็นการหักร้างก็จะเกิดผลเสียขึ้นในกิจการโทรคมนาคมในประเทศอย่างแน่นอน
มติชนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 106
ais เล่นกันมาเมื่อสัปดาห์ก่อน inside ข่าวนี้ป่าวเนี่ย ...ฮึฮึ
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
จุดเปลี่ยน(จริงๆนะ)...โทรคมนาคมไทย
โพสต์ที่ 2
ไอเอส"อ่วมจ่ายย้อนหลังเฉียด7หมื่นล.
โบรกฯแนะนำขาย/ความเสี่ยงยาว2ปี
"เอไอเอส"อ่วมสุดอาจถูกเรียกเก็บย้อนหลังพร้อมกับบริษัทในเครือ เกือบ 7 หมื่นล้าน หลังการแก้สัญญาผิด พ.ร.บ.ร่วมการงาน โบรกเกอร์ออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ขาย ส่วน"ยูคอม-ทรู"แนะนำให้รอความชัดเจนก่อน ชี้กลุ่มสื่อสารยังเสี่ยงยาว 2 ปี
กรณีคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยกรณีการแก้ไขสัญญาแนบท้ายของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ผิด พ.ร.บ.ร่วมการงาน พ.ศ.2535
บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ออกบทวิเคราะห์โดยคาดว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะถือโอกาสนี้ในการสร้างสภาพการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ซึ่งมีนักวิชาการคาดว่า อัตราส่วนแบ่งรายได้อาจถูกปรับจากปัจจุบัน 20-25% เป็น 30% รวมถึงปรับให้สิ้นสุดสัมปทานพร้อมกันด้วย ซึ่งบริษัทเห็นว่าการแก้ไขนี้จะอยู่บนพื้นฐานการเจรจา เพราะหากแก้ไขส่งผลลบมาก บริษัทเอกชนอาจไม่ยอม อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การยอมให้ปรับเพิ่มส่วนแบ่งรายได้เฉพาะของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ให้มาอยู่ในระดับเดียวกับรายอื่น บริษัทยังคงมุมมองที่เป็นลบต่อกลุ่มสื่อสาร เพราะยังคงมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการปรับเงื่อนไขสัญญา โดยแนะนำให้ขายทำกำไรในหุ้น advanc เพราะราคาหุ้นปัจจุบันสูงกว่าราคาเหมาะสม ขณะที่ราคาหุ้น ucom และ true แนะนำให้รอความชัดเจน
บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์ว่า advanc ยังมีความเสี่ยงของอายุสัญญาสัมปทานและส่วนแบ่งรายได้ prepaid จาก 25% เหลือ 20% ขณะที่ True จะมีความเสี่ยงการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้และค่าเชื่อมต่อเครือข่าย หรือแอ๊คเซสชาร์จ
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขที่ชัดเจนได้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจมือถือจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด หลังการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว เพราะยังไม่มีแนวทางว่าจะเรียกเก็บส่วนนั้นไหนบ้าง แต่คร่าวๆ หากจะต้องจ่ายแต่ละรายน่าจะเป็นหลักพันล้านบาท แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ เพราะเหลืออายุรัฐบาลเพียง 5-6 เดือนเท่านั้น
"กลุ่มสื่อสารยังต้องซื้อขายหุ้นภายใต้ความเสี่ยงจากกฎเกณฑ์การประกอบธุรกิจของรัฐอีกต่อไป อย่างน้อยก็ 2 ปีนับจากนี้ เพราะเรื่องเทมาเส็กเกี่ยวกับการทำผิดสัญญาสัมปทานก็ยังไม่มีข้อสรุป ขณะเดียวกันกฎหมายที่ใหญ่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก็ยังไม่ออกมา ดังนั้นการคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงยังทำไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะไปขัดกับกฎหมายที่ใหญ่กว่าก็ได้"
ผู้สื่อข่าวรายงาน ก่อนหน้านี้ กระทรวงไอซีทีได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว พบว่าบริษัทเอกชนคู่สัญญาของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ประโยชน์จากการแก้ไขสัญญาต่างๆ ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ร่วมการงาน พ.ศ.2535 โดยดีแทค หรือชื่อเดิมคือแทคจะมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 450,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 18,284 ล้านบาท ทรูมูฟมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 115,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 6,653 ล้านบาท ดิจิตอล โฟน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ปมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 37,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 3,582 ล้านบาท และเอไอเอสมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 460,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 65,500 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินรวมที่รัฐต้องเรียกเก็บเป็นค่าเสียหายประมาณ 94,019 ล้านบาท
โบรกฯแนะนำขาย/ความเสี่ยงยาว2ปี
"เอไอเอส"อ่วมสุดอาจถูกเรียกเก็บย้อนหลังพร้อมกับบริษัทในเครือ เกือบ 7 หมื่นล้าน หลังการแก้สัญญาผิด พ.ร.บ.ร่วมการงาน โบรกเกอร์ออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ขาย ส่วน"ยูคอม-ทรู"แนะนำให้รอความชัดเจนก่อน ชี้กลุ่มสื่อสารยังเสี่ยงยาว 2 ปี
กรณีคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยกรณีการแก้ไขสัญญาแนบท้ายของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ผิด พ.ร.บ.ร่วมการงาน พ.ศ.2535
บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ออกบทวิเคราะห์โดยคาดว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะถือโอกาสนี้ในการสร้างสภาพการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ซึ่งมีนักวิชาการคาดว่า อัตราส่วนแบ่งรายได้อาจถูกปรับจากปัจจุบัน 20-25% เป็น 30% รวมถึงปรับให้สิ้นสุดสัมปทานพร้อมกันด้วย ซึ่งบริษัทเห็นว่าการแก้ไขนี้จะอยู่บนพื้นฐานการเจรจา เพราะหากแก้ไขส่งผลลบมาก บริษัทเอกชนอาจไม่ยอม อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การยอมให้ปรับเพิ่มส่วนแบ่งรายได้เฉพาะของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ให้มาอยู่ในระดับเดียวกับรายอื่น บริษัทยังคงมุมมองที่เป็นลบต่อกลุ่มสื่อสาร เพราะยังคงมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการปรับเงื่อนไขสัญญา โดยแนะนำให้ขายทำกำไรในหุ้น advanc เพราะราคาหุ้นปัจจุบันสูงกว่าราคาเหมาะสม ขณะที่ราคาหุ้น ucom และ true แนะนำให้รอความชัดเจน
บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์ว่า advanc ยังมีความเสี่ยงของอายุสัญญาสัมปทานและส่วนแบ่งรายได้ prepaid จาก 25% เหลือ 20% ขณะที่ True จะมีความเสี่ยงการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้และค่าเชื่อมต่อเครือข่าย หรือแอ๊คเซสชาร์จ
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขที่ชัดเจนได้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจมือถือจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด หลังการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว เพราะยังไม่มีแนวทางว่าจะเรียกเก็บส่วนนั้นไหนบ้าง แต่คร่าวๆ หากจะต้องจ่ายแต่ละรายน่าจะเป็นหลักพันล้านบาท แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ เพราะเหลืออายุรัฐบาลเพียง 5-6 เดือนเท่านั้น
"กลุ่มสื่อสารยังต้องซื้อขายหุ้นภายใต้ความเสี่ยงจากกฎเกณฑ์การประกอบธุรกิจของรัฐอีกต่อไป อย่างน้อยก็ 2 ปีนับจากนี้ เพราะเรื่องเทมาเส็กเกี่ยวกับการทำผิดสัญญาสัมปทานก็ยังไม่มีข้อสรุป ขณะเดียวกันกฎหมายที่ใหญ่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก็ยังไม่ออกมา ดังนั้นการคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงยังทำไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะไปขัดกับกฎหมายที่ใหญ่กว่าก็ได้"
ผู้สื่อข่าวรายงาน ก่อนหน้านี้ กระทรวงไอซีทีได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว พบว่าบริษัทเอกชนคู่สัญญาของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ประโยชน์จากการแก้ไขสัญญาต่างๆ ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ร่วมการงาน พ.ศ.2535 โดยดีแทค หรือชื่อเดิมคือแทคจะมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 450,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 18,284 ล้านบาท ทรูมูฟมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 115,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 6,653 ล้านบาท ดิจิตอล โฟน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ปมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 37,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 3,582 ล้านบาท และเอไอเอสมีมูลค่าธุรกิจจากการต่ออายุสัมปทาน รายได้สุทธิประมาณ 460,000 ล้านบาท ได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ คิดเป็น 65,500 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินรวมที่รัฐต้องเรียกเก็บเป็นค่าเสียหายประมาณ 94,019 ล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
จุดเปลี่ยน(จริงๆนะ)...โทรคมนาคมไทย
โพสต์ที่ 3
"เทเลนอร์"หนุนแก้สัญญาโทรคมฯ พร้อมเจรจาแข่งขันเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม สำนักข่าวเอเอฟเอ็กซ์รายงานว่า บริษัท เทเลนอร์ เอเอสเอ แห่งประเทศนอร์เวย์ แถลงที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทยผ่านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หลังจากมีข่าวว่าทางการไทยประกาศให้สัญญาสัมปทานโทรคมนาคมทั้งหมดในประเทศเป็นโมฆะ ทำให้หลายฝ่ายเข้าใจผิดว่าจะส่งผลให้การดำเนินการของเทเลนอร์ในไทยต้องสิ้นสุดลง
ในแถลงการณ์ของเทเลนอร์ระบุว่า รายงานข่าวดังกล่าวเป็นการรายงานข่าวเพียงส่วนเดียวของเรื่องทั้งหมด และยืนยันอย่างชัดเจนว่า สัญญาสัมปทานของบริษัทยังคงมีผลอย่างแน่นอน
โฆษกของบริษัทเทเลนอร์กล่าวว่า กรณีนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับดีแทค เพราะดีแทคต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ 25% เทียบกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้เพียง 20% เท่านั้น "ทางการไทยบอกว่าต้องการให้มีการเจรจาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องโมฆะหรือไม่เป็นโมฆะแต่อย่างใด"
โฆษกของเทเลนอร์ยังกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลของบรรดานักวิเคราะห์ว่า รัฐบาลอาจใช้วิธีกดดันเทเลนอร์ทำนองเดียวกับที่กดดันเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของสิงคโปร์ให้ยกเลิกการครอบครองกิจการดาวเทียมที่ได้มาในการเข้าซื้อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อนหน้านี้ ว่าขอยืนยันว่าสัดส่วนการถือครองหุ้นของเทเลนอร์ในดีแทคไม่มีปัญหา กรณีที่มีการดำเนินการครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัดส่วนการถือหุ้น เป็นเพียงการสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันเท่านั้น
เปิดเบื้องหลังแผนล่าสัญญามือถือ ทวงคืนผลประโยชน์รัฐแสนล้าน
เป็นข่าวฮือฮามาตลอดสัปดาห์กับผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ระบุว่าสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี คู่สัญญาของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) จนอาจทำให้รัฐต้องเสียประโยชน์นับแสนล้านบาท
ที่ผ่านมาหลายคนคงจะยังไม่ทราบที่มาที่ไปว่าก่อนที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะตัดสินใจส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
เบื้องหลังการทำงานในเรื่องนี้ "สันติ โภไคยอุดม" น้องชาย และที่ปรึกษาด้านกฎหมายของนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เล่าให้ฟังสาเหตุของการส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความในครั้งนี้
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้คงมาจากการที่กระทรวงไอซีทีประกาศจะมีการตรวจสอบสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะเห็นว่ามีบางสัญญาที่อาจดำเนินการโดยไม่ถูกต้อง
ทันทีที่ประกาศออกไป บริษัทเอกชนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายรายต่างก็ทยอยเข้าชี้แจงเพื่อให้ข้อมูลกับกระทรวงไอซีทีในการตรวจสอบสัญญาสัมปทาน โดยหวังว่าจะสามารถสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันได้ เนื่องจากการดำเนินงานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับหน่วยงานของรัฐไม่เท่าเทียมกัน จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละรายมีภาระต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น เอไอเอสไม่ต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อเครือข่าย (แอ็คเซ็สชาร์จ) จำนวน 200 บาท/เลขหมาย/เดือน ให้ทีโอที ในขณะที่ดีแทค และทรูมูฟจะต้องจ่าย เป็นต้น ในขณะนั้นได้มีการถกเถียง และนำข้อมูล เพื่อหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีอย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดกระทรวงไอซีทีได้ตรวจสอบในเอกสารสัญญา และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม และสัญญาหลักของผู้ให้บริการทุกรายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงได้พยายามชี้แจงกับผู้ให้บริการทุกรายทราบว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมที่ทำไว้กับทีโอที และ กสท บางฉบับไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จะต้องมีการแก้ไข แต่ทางนักกฎหมายของผู้ประกอบการบางรายกลับยืนยันว่าทุกอย่างถูกต้อง ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535
ที่สำคัญยังมีการหัวเราะเยาะ และทำสีหน้าดูถูกเหยียดหยามว่าไม่รู้แล้วยังมาพูดอีก จึงเป็นที่มาที่ไปของการเริ่มต้นที่จะหาข้อมูลความจริงเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ให้ข้อเท็จจริงปรากฏอย่างชัดเจน
หลังจากที่บริษัทเอกชนรวมทั้งคู่สัญญาคือ ทีโอที และ กสท ไม่เชื่อว่าสัญญาไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จริง ในช่วงเดือนธันวาคม 2549 จึงได้เริ่มตั้งหน้าตั้งตาศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถืออย่างจริงจัง โดยข้อมูลที่ได้ส่วนหนึ่งจะเป็นการขอจากทีโอที และ กสท แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ต้องค้นหา และศึกษาด้วยตัวเอง โดยจะใช้เวลาในช่วงเช้าวันละประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการศึกษา คือเวลาประมาณ 06.00-08.00 น. เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับเวลาในงานหลัก
การศึกษาในรายละเอียดยอมรับว่ายากมาก เพราะนอกจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ภาษาที่ใช้ในสัญญา และเอกสารแต่ละฉบับก็ต้องมีการตีความเพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังนั้น วิธีศึกษาเอกสารที่กองเป็นภูเขาทั้งที่โต๊ะทำงาน และชั้นวางหนังสือ จึงใช้วิธีการอ่านแบบคร่าวๆ ก่อนในครั้งแรก พอครั้งที่ 2 ก็ดูเฉพาะที่เป็นเนื้อหาสำคัญ ก่อนที่จะแยกประเด็นที่เป็นปัญหาออกมาไว้ก่อน หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่าข้อไหนเป็นเรื่องที่น่าจะไม่ถูกต้องจริง แล้วจึงหาข้อมูลอ้างอิงในเรื่องนั้นๆ ต่อไป
ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นก็สามารถหาสัญญาข้อที่น่าจะเข้าข่ายไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 ได้ พบว่าในส่วนของเอไอเอสมีทั้งหมด 6 สัญญา จากที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด 7 สัญญา ดีแทค 5 สัญญา ทรูมูฟ และดีพีซี ผิดตั้งแต่ขั้นตอนการลงนามในสัญญาให้บริการ
เมื่อได้ผลเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการทำสัญญาของผู้ให้บริการทั้ง 4 ราย ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จึงเริ่มลงในรายละเอียด เพื่อทำเอกสารส่งไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ตีความ การส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความก็ได้มีการพิจารณาในรายละเอียดคำถามอย่างรอบคอบ เพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากมีการกำหนดไว้ว่าหากไม่มีการถามในประเด็นไหน ทางกฤษฎีกาก็จะไม่ตอบในประเด็นนั้น เพราะหากตอบมาก็จะเข้าข่ายเป็นการชี้นำ คณะกรรมการกฤษฎีกาก็จะมีความผิดเช่นเดียวกัน
ดังนั้น เรื่องที่ส่งให้กฤษฎีกาพิจารณาจึงมีทั้งการถามว่าสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติมถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะแก้ไขอย่างไร และเมื่อสามารถร่างเอกสารเรียบร้อยแล้วในช่วงต้นเดือนมกราคม 2550 ก็ได้ส่งให้กฤษฎีกาตีความได้
จนกระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้ตีความออกมาว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จริง พร้อมกันนี้ก็ได้แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาตามที่กระทรวงไอซีทีถามไปครบทุกข้อ จึงทำให้ทราบแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร แตกต่างจากการตีความของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่ไม่ได้ขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาไปด้วย จึงมีผลสรุปออกมาในรูปแบบนั้น
ถึงแม้เรื่องนี้จะได้ผลสรุปออกมาตามความคาดหมาย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าสะใจ หรือถือเป็นการเอาชนะผู้ที่เคยหัวเราะเยาะ หรือเยาะเย้ยว่าจะทำไม่ได้ เพราะการที่ทำให้เรื่องนี้เกิดความชัดเจนได้ ก็จะส่งผลดีต่อกิจการโทรคมนาคมให้สามารถเดินหน้าได้อย่างถูกต้อง และมั่นคงมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต พนักงานหรือบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด คือทีโอที และ กสท ควรจะปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรให้มากกว่านี้ เพราะเท่าที่เห็น การดำเนินโครงการต่างๆ ทีโอที และ กสท จะมองว่าเอกชนจะได้อะไร และเสียอะไร มากกว่ามองว่าองค์กรของตัวเองจะเสียผลประโยชน์อะไร หากสามารถแก้ไขในเรื่องนี้ได้ ก็จะทำให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแน่นอน
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม สำนักข่าวเอเอฟเอ็กซ์รายงานว่า บริษัท เทเลนอร์ เอเอสเอ แห่งประเทศนอร์เวย์ แถลงที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทยผ่านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หลังจากมีข่าวว่าทางการไทยประกาศให้สัญญาสัมปทานโทรคมนาคมทั้งหมดในประเทศเป็นโมฆะ ทำให้หลายฝ่ายเข้าใจผิดว่าจะส่งผลให้การดำเนินการของเทเลนอร์ในไทยต้องสิ้นสุดลง
ในแถลงการณ์ของเทเลนอร์ระบุว่า รายงานข่าวดังกล่าวเป็นการรายงานข่าวเพียงส่วนเดียวของเรื่องทั้งหมด และยืนยันอย่างชัดเจนว่า สัญญาสัมปทานของบริษัทยังคงมีผลอย่างแน่นอน
โฆษกของบริษัทเทเลนอร์กล่าวว่า กรณีนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับดีแทค เพราะดีแทคต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ 25% เทียบกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้เพียง 20% เท่านั้น "ทางการไทยบอกว่าต้องการให้มีการเจรจาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องโมฆะหรือไม่เป็นโมฆะแต่อย่างใด"
โฆษกของเทเลนอร์ยังกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลของบรรดานักวิเคราะห์ว่า รัฐบาลอาจใช้วิธีกดดันเทเลนอร์ทำนองเดียวกับที่กดดันเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของสิงคโปร์ให้ยกเลิกการครอบครองกิจการดาวเทียมที่ได้มาในการเข้าซื้อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อนหน้านี้ ว่าขอยืนยันว่าสัดส่วนการถือครองหุ้นของเทเลนอร์ในดีแทคไม่มีปัญหา กรณีที่มีการดำเนินการครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัดส่วนการถือหุ้น เป็นเพียงการสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันเท่านั้น
เปิดเบื้องหลังแผนล่าสัญญามือถือ ทวงคืนผลประโยชน์รัฐแสนล้าน
เป็นข่าวฮือฮามาตลอดสัปดาห์กับผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ระบุว่าสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี คู่สัญญาของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) จนอาจทำให้รัฐต้องเสียประโยชน์นับแสนล้านบาท
ที่ผ่านมาหลายคนคงจะยังไม่ทราบที่มาที่ไปว่าก่อนที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะตัดสินใจส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
เบื้องหลังการทำงานในเรื่องนี้ "สันติ โภไคยอุดม" น้องชาย และที่ปรึกษาด้านกฎหมายของนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เล่าให้ฟังสาเหตุของการส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความในครั้งนี้
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้คงมาจากการที่กระทรวงไอซีทีประกาศจะมีการตรวจสอบสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะเห็นว่ามีบางสัญญาที่อาจดำเนินการโดยไม่ถูกต้อง
ทันทีที่ประกาศออกไป บริษัทเอกชนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายรายต่างก็ทยอยเข้าชี้แจงเพื่อให้ข้อมูลกับกระทรวงไอซีทีในการตรวจสอบสัญญาสัมปทาน โดยหวังว่าจะสามารถสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันได้ เนื่องจากการดำเนินงานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับหน่วยงานของรัฐไม่เท่าเทียมกัน จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละรายมีภาระต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น เอไอเอสไม่ต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อเครือข่าย (แอ็คเซ็สชาร์จ) จำนวน 200 บาท/เลขหมาย/เดือน ให้ทีโอที ในขณะที่ดีแทค และทรูมูฟจะต้องจ่าย เป็นต้น ในขณะนั้นได้มีการถกเถียง และนำข้อมูล เพื่อหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีอย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดกระทรวงไอซีทีได้ตรวจสอบในเอกสารสัญญา และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม และสัญญาหลักของผู้ให้บริการทุกรายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงได้พยายามชี้แจงกับผู้ให้บริการทุกรายทราบว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมที่ทำไว้กับทีโอที และ กสท บางฉบับไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จะต้องมีการแก้ไข แต่ทางนักกฎหมายของผู้ประกอบการบางรายกลับยืนยันว่าทุกอย่างถูกต้อง ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535
ที่สำคัญยังมีการหัวเราะเยาะ และทำสีหน้าดูถูกเหยียดหยามว่าไม่รู้แล้วยังมาพูดอีก จึงเป็นที่มาที่ไปของการเริ่มต้นที่จะหาข้อมูลความจริงเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ให้ข้อเท็จจริงปรากฏอย่างชัดเจน
หลังจากที่บริษัทเอกชนรวมทั้งคู่สัญญาคือ ทีโอที และ กสท ไม่เชื่อว่าสัญญาไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จริง ในช่วงเดือนธันวาคม 2549 จึงได้เริ่มตั้งหน้าตั้งตาศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถืออย่างจริงจัง โดยข้อมูลที่ได้ส่วนหนึ่งจะเป็นการขอจากทีโอที และ กสท แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ต้องค้นหา และศึกษาด้วยตัวเอง โดยจะใช้เวลาในช่วงเช้าวันละประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการศึกษา คือเวลาประมาณ 06.00-08.00 น. เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับเวลาในงานหลัก
การศึกษาในรายละเอียดยอมรับว่ายากมาก เพราะนอกจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ภาษาที่ใช้ในสัญญา และเอกสารแต่ละฉบับก็ต้องมีการตีความเพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังนั้น วิธีศึกษาเอกสารที่กองเป็นภูเขาทั้งที่โต๊ะทำงาน และชั้นวางหนังสือ จึงใช้วิธีการอ่านแบบคร่าวๆ ก่อนในครั้งแรก พอครั้งที่ 2 ก็ดูเฉพาะที่เป็นเนื้อหาสำคัญ ก่อนที่จะแยกประเด็นที่เป็นปัญหาออกมาไว้ก่อน หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่าข้อไหนเป็นเรื่องที่น่าจะไม่ถูกต้องจริง แล้วจึงหาข้อมูลอ้างอิงในเรื่องนั้นๆ ต่อไป
ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นก็สามารถหาสัญญาข้อที่น่าจะเข้าข่ายไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 ได้ พบว่าในส่วนของเอไอเอสมีทั้งหมด 6 สัญญา จากที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด 7 สัญญา ดีแทค 5 สัญญา ทรูมูฟ และดีพีซี ผิดตั้งแต่ขั้นตอนการลงนามในสัญญาให้บริการ
เมื่อได้ผลเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการทำสัญญาของผู้ให้บริการทั้ง 4 ราย ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จึงเริ่มลงในรายละเอียด เพื่อทำเอกสารส่งไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ตีความ การส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความก็ได้มีการพิจารณาในรายละเอียดคำถามอย่างรอบคอบ เพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากมีการกำหนดไว้ว่าหากไม่มีการถามในประเด็นไหน ทางกฤษฎีกาก็จะไม่ตอบในประเด็นนั้น เพราะหากตอบมาก็จะเข้าข่ายเป็นการชี้นำ คณะกรรมการกฤษฎีกาก็จะมีความผิดเช่นเดียวกัน
ดังนั้น เรื่องที่ส่งให้กฤษฎีกาพิจารณาจึงมีทั้งการถามว่าสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติมถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะแก้ไขอย่างไร และเมื่อสามารถร่างเอกสารเรียบร้อยแล้วในช่วงต้นเดือนมกราคม 2550 ก็ได้ส่งให้กฤษฎีกาตีความได้
จนกระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้ตีความออกมาว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 จริง พร้อมกันนี้ก็ได้แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาตามที่กระทรวงไอซีทีถามไปครบทุกข้อ จึงทำให้ทราบแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร แตกต่างจากการตีความของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่ไม่ได้ขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาไปด้วย จึงมีผลสรุปออกมาในรูปแบบนั้น
ถึงแม้เรื่องนี้จะได้ผลสรุปออกมาตามความคาดหมาย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าสะใจ หรือถือเป็นการเอาชนะผู้ที่เคยหัวเราะเยาะ หรือเยาะเย้ยว่าจะทำไม่ได้ เพราะการที่ทำให้เรื่องนี้เกิดความชัดเจนได้ ก็จะส่งผลดีต่อกิจการโทรคมนาคมให้สามารถเดินหน้าได้อย่างถูกต้อง และมั่นคงมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต พนักงานหรือบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด คือทีโอที และ กสท ควรจะปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรให้มากกว่านี้ เพราะเท่าที่เห็น การดำเนินโครงการต่างๆ ทีโอที และ กสท จะมองว่าเอกชนจะได้อะไร และเสียอะไร มากกว่ามองว่าองค์กรของตัวเองจะเสียผลประโยชน์อะไร หากสามารถแก้ไขในเรื่องนี้ได้ ก็จะทำให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแน่นอน
- tachikoma
- Verified User
- โพสต์: 140
- ผู้ติดตาม: 0
จุดเปลี่ยน(จริงๆนะ)...โทรคมนาคมไทย
โพสต์ที่ 4
สันดานคนเห็นแก่ตัวครับ
ตัวเองจะได้หรือเสียไม่สน ขอให้คนอื่นไม่ได้หรือเสียเหมือนกัน
ประมาณว่าถ้าคนเอาผลประโยชน์มากองไว้ตรงหน้าให้ คนที่เอาผลประโยชน์มาให้ ต้องทำให้ฟรีๆ เป็นการกุศล
เรื่อง Win Win Strategy ไม่ค่อยอยู่ในหัวหรอครับ ถึงไม่เจริญกันซักที ทำธุรกิจกับชาวบ้านไม่ค่อยได้ ได้แต่รอคนอื่นทำทานให้อย่างเดียว
แล้วก็ขี้อิจฉาด้วยครับ
มีของดีกับตัว ไม่เคยใช้หากำไรได้ พอคนอื่นเอาไปหากำไรได้ก็อิจฉา จะทวงคืนอ้างว่ามีความชอบธรรม หรือไม่ก็คนที่ซื้อสัมประทาน (ลิขสิทธิ์ หรื่อ อื่นๆ) ไป ได้กำไรมากเกินไป
ตัวเองจะได้หรือเสียไม่สน ขอให้คนอื่นไม่ได้หรือเสียเหมือนกัน
ประมาณว่าถ้าคนเอาผลประโยชน์มากองไว้ตรงหน้าให้ คนที่เอาผลประโยชน์มาให้ ต้องทำให้ฟรีๆ เป็นการกุศล
เรื่อง Win Win Strategy ไม่ค่อยอยู่ในหัวหรอครับ ถึงไม่เจริญกันซักที ทำธุรกิจกับชาวบ้านไม่ค่อยได้ ได้แต่รอคนอื่นทำทานให้อย่างเดียว
แล้วก็ขี้อิจฉาด้วยครับ
มีของดีกับตัว ไม่เคยใช้หากำไรได้ พอคนอื่นเอาไปหากำไรได้ก็อิจฉา จะทวงคืนอ้างว่ามีความชอบธรรม หรือไม่ก็คนที่ซื้อสัมประทาน (ลิขสิทธิ์ หรื่อ อื่นๆ) ไป ได้กำไรมากเกินไป