มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จริงๆผมไม่ดูPEหรอกนะครับ แต่ในระยะสั้นๆมันใช้ดูว่าขณะนี้ใครมีPremiumมากว่ากัน

Raffle@S'Pore                          ~ 28.5
Parkway@S'Pore                      ~ 37.3
Apollo@India                            ~ 36
BH@Thailand                            ~ 31.1
BGH@Thailand                          ~ 31.7


Avg                                         ~ 32.9

ดูแล้ว Raffle ถูกสุด BH กับ BGH อยู่กลางๆ  ว่าไปแล้วโรงพยาบาลบ้านเราก็ไม่ได้มีราคาหุ้นแพงที่สุดในโลกอย่างที่คิดกัน
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
nearly_vi
Verified User
โพสต์: 743
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อืมมม ผมว่า น่าจะระวัง hospital fever จะทำร้ายนาครับ

ทุกโรงพยาบาล ไม่ได้มี barrier to entry อย่างที่คิดกัน

รพ ที่มีศักยภาพสูง มีแนวโน้มที่จะดี ต่อไป แต่โรงพยาบาลอื่นๆ นี่ ถ้ามอง ไกลๆ ออกไปอีก (กว่าที่มองกัน) อาจไม่ดี จนถึงกับให้ PE ได้สูงเหมือนกันนะครับ
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 3

โพสต์

nearly_vi เขียน:อืมมม ผมว่า น่าจะระวัง hospital fever จะทำร้ายนาครับ

ทุกโรงพยาบาล ไม่ได้มี barrier to entry อย่างที่คิดกัน

รพ ที่มีศักยภาพสูง มีแนวโน้มที่จะดี ต่อไป แต่โรงพยาบาลอื่นๆ นี่ ถ้ามอง ไกลๆ ออกไปอีก (กว่าที่มองกัน) อาจไม่ดี จนถึงกับให้ PE ได้สูงเหมือนกันนะครับ
ขอความรู้หน่อยครับ

1.ไม่ได้มี barrier to entry อย่างที่คิดกัน

ยังไงหรือครับจะได้ช่วยเสริมถูก

2.ไกลๆ ออกไปอีก (กว่าที่มองกัน) ที่คิดไกลใช้ time

frame ยังไงเป็นตัวกำหนดครับ

3.อาจไม่ดี จนถึงกับให้ PE ได้สูงเหมือนกันนะครับ

ข้อเสียที่คิดคืออะไรหรือครับ

อยากทราบมุมมองจะได้ช่วยกันถกให้ละเอียดครับ :D
nearly_vi
Verified User
โพสต์: 743
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 4

โพสต์

hansome เขียน: ขอความรู้หน่อยครับ

1.ไม่ได้มี barrier to entry อย่างที่คิดกัน

ยังไงหรือครับจะได้ช่วยเสริมถูก

2.ไกลๆ ออกไปอีก (กว่าที่มองกัน) ที่คิดไกลใช้ time

frame ยังไงเป็นตัวกำหนดครับ

3.อาจไม่ดี จนถึงกับให้ PE ได้สูงเหมือนกันนะครับ

ข้อเสียที่คิดคืออะไรหรือครับ

อยากทราบมุมมองจะได้ช่วยกันถกให้ละเอียดครับ :D
อืมม นี่เป็นความเห็นล้วนๆ นะครับ

ผมคิดว่า (ในตอนนี้) ธุรกิจ รพ ราคาขึ้นมามากพอควร โดยเหตุผลหลักๆ ผมคิดว่าเป็นเรื่องของ การที่มือใหม่จะเข้ามาทำกิจการนี้ก็ยาก และ เป็นธุรกิจที่แข็งแกร่ง แต่ เหตุผลดังกล่าว จริงหรือไม่ และ จะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานแค่ไหน เนื่องจาก PE ที่สูงมากๆ เป็นการวัดกับอนาคต และกลุ่ม ธุรกิจนี้ บางตัวจ่ายปันผลไม่มาก ส่วนมากที่ซื้อคงหวังจากการเพิ่มมูลค่าของหุ้น ซึ่ง ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา มันเพิ่มมามาก เพราะ กำไร โต พอกำไร โต คนก็ให้ PE เพิ่มขึ้นตามไปอีก รวมกับสองเหตุผลหลักๆข้างต้น

ความแข็งแกร่งของ ธุรกิจนี้ sustained หรือไม่ มี barrier หนาหรือไม่ ขึ้นกับเหตุผลหลายๆ อย่าง
ผมคิดว่า หลักๆ คงมีเรื่องของ
1. เศรษฐกิจ มีส่วนไม่มากก็น้อย ถ้าคนไม่มีเงิน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไป รพ ที่ราคาถูกลงมา
2. รพ รัฐบาล มีแนวโน้มการให้บริการที่ดีขึ้น และมีบริการเสริม คล้ายๆ เอกชน ในราคาที่ถูกกว่ามากขึ้น ที่เริ่มๆ มีแล้วก็อย่างเช่น รร แพทย์ เป็นต้น
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ รพ รัฐบาลอื่นๆ จะทำคล้ายๆ กัน
3. ฐานลูกค้า ไม่ได้มีมากอย่างที่คิด (คนไทย) ผมว่าจากนี้ไป ก็คงเพิ่มได้อีก แต่จะกี่ปี อันนี้ผมไม่รู้     ที่เพิ่มมากๆ ช่วงที่ผ่านมา เห็นจะเป็นลูกค้าต่างชาติ อันนี้ก็แล้วแต่ว่า รพ ไหน ดึงได้มากกว่ากัน
4. จากข้อสาม ต่อเนื่องมา หน้าตาของแพทย์ เหมือนหน้าตาของ รพ  เรื่องนี้เหมือนจะเคยคุยกันไปแล้ว แพทย์ที่ดัง ถึงขนาดต้อง ข้ามน้ำข้ามทะเลมารักษาน่ะ มันเยอะแค่ไหน ที่เหลือไป คุณภาพการให้บริการ ก็สู้ไม่ได้ (ในทางชื่อเสียง)
5. เมื่อ รพ ขนาดใหญ่ๆ อย่าง bgh kh ที่ประสบความสำเร็จจากการขยายสาขามาให้เห็นแล้ว และ มี สถานะทางการเงินที่แข็งแรงกว่า ขยาย หรือ เทค รพ อื่นจนหมด เขาจะทำอย่างไร ครับ  8)  แล้วใครเดือดร้อน   เพราะ เรื่องการรักษา ไม่เหมือน เลือกระหว่าง เป๊ปซี่หรือโค้กนะครับ  ชื่อเสียง ความแน่นอน ต้องมาก่อน (ถ้าราคาเท่ากัน)
6. ความเสี่ยงเรื่อง นโยบายของรัฐบาล ใครบอกไม่มีผล ไม่จริง 100% นะครับ  8)

เรื่อง time frame ผมก็ไม่รู้หรอกครับ
ยอมรับครับ ว่าช่วงหลาย ปี อย่างน้อย 3 ปีนี้ น่าจะโตได้อีกเยอะ

แต่ เมื่อไหร่จะเกิดอะไรขึ้น ผมไม่รู้
และผมก็ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ เค้กชิ้นนี้ ถึงจะกินกันหมด (ผมว่าประเมิณยากมาก)

เชื่อว่า ไม่น่าจะมีหลายๆ ตัวที่จะ ค้างที่ PE สูงๆ นานๆ ได้ไปอีกเป็น สิบๆ ปี ยกเว้นว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย

ผมรู้แต่ว่า ขอให้พวกเราทุกๆ คนกำไรก็แล้วกัน
ผมก็ยังสนใจกลุ่มนี้นะ ก็รอราคาอยู่เหมือนกัน
คิดว่าไงกันอ่ะครับ
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="nearly_vi"]อืมม นี่เป็นความเห็นล้วนๆ นะครับ

ผมคิดว่า (ในตอนนี้) ธุรกิจ รพ ราคาขึ้นมามากพอควร โดยเหตุผลหลักๆ ผมคิดว่าเป็นเรื่องของ การที่มือใหม่จะเข้ามาทำกิจการนี้ก็ยาก และ เป็นธุรกิจที่แข็งแกร่ง แต่ เหตุผลดังกล่าว จริงหรือไม่ และ จะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานแค่ไหน เนื่องจาก PE ที่สูงมากๆ เป็นการวัดกับอนาคต และกลุ่ม ธุรกิจนี้ บางตัวจ่ายปันผลไม่มาก ส่วนมากที่ซื้อคงหวังจากการเพิ่มมูลค่าของหุ้น ซึ่ง ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา มันเพิ่มมามาก เพราะ กำไร โต พอกำไร โต คนก็ให้ PE เพิ่มขึ้นตามไปอีก รวมกับสองเหตุผลหลักๆข้างต้น

ความแข็งแกร่งของ ธุรกิจนี้ sustained หรือไม่ มี barrier หนาหรือไม่ ขึ้นกับเหตุผลหลายๆ อย่าง
ผมคิดว่า หลักๆ คงมีเรื่องของ
1. เศรษฐกิจ มีส่วนไม่มากก็น้อย ถ้าคนไม่มีเงิน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไป รพ ที่ราคาถูกลงมา
2. รพ รัฐบาล มีแนวโน้มการให้บริการที่ดีขึ้น และมีบริการเสริม คล้ายๆ เอกชน ในราคาที่ถูกกว่ามากขึ้น ที่เริ่มๆ มีแล้วก็อย่างเช่น รร แพทย์ เป็นต้น
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ รพ รัฐบาลอื่นๆ จะทำคล้ายๆ กัน
3. ฐานลูกค้า ไม่ได้มีมากอย่างที่คิด (คนไทย) ผมว่าจากนี้ไป ก็คงเพิ่มได้อีก แต่จะกี่ปี อันนี้ผมไม่รู้
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 6

โพสต์

รัฐบาลส่งเสริมเรื่อง Medical Hub อย่างไรบ้างหรือครับ?
Impossible is Nothing
nearly_vi
Verified User
โพสต์: 743
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อาจารย์ mprandy อธิบายได้ดีกว่าจริงๆ  :oops:
suwat09
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เยี่ยมครับ คุณ mprandy  :lol:
ssaran
Verified User
โพสต์: 344
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เราจะเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพแห่งเอเชีย
margin of safety
VI พันธุ์ทาง
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอโทษครับพี่   ว่าแต่ข้อมูล P/E   P/BV  DIV yield  ของบริษัทในต่างประเทศ หาได้ที่เวปไหนครับ

ขอบคุณครับ :lol:
Knott
Verified User
โพสต์: 232
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขออนุญาตนำเสนอมุมมองที่ต่างไปเล็กน้อยนะครับ  :oops:
2. threat ที่สำคัญที่สุดของ รพ.เอกชน ไม่ใช่คู่แข่งรพ.เอกชนด้วยกันเอง แต่ผมมองว่าคือ รร.แพทย์ มากกว่า เพราะว่าทุกวันนี้ รพ.เอกชน ขนาดใหญ่ เกือบทุกแห่ง อยู่ได้ด้วยชื่อเสียงบุคลากรจาก รร.แพทย์เป็นหลัก ที่มาทำงาน part time consultant และใช้เรื่องเงินมาเป็นแรงดึงดูด โดยไม่มีนโยบายสร้างหรือหาบุคลากรขึ้นมาทดแทน ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือก็ไม่ได้เปรียบ รร.แพทย์เลย ถ้า รร.แพทย์เริ่มปรับตัวโดยเปิดบริการกึ่งเอกชน (เช่น The Heart by Siriraj ที่เปิดแล้ว แล้วกำลังเริ่มก่อสร้างตึกใหม่เป็น Excellence center in medical care ในที่ดินใหม่ 33 ไร่ด้วย ดำเนินการเหมือน รพ.เอกชน) แล้วประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้อาจารย์แพทย์เลือกจะทำงานที่เดิมมากกว่า
ในอดีตนั้นจริงอยู่ว่าบุคคลากรในโรงพยาบาลเอกชนจะมาจากภาครัฐ ที่มาทำนอกเวลาเป็นหลัก โดยเฉพาะแพทย์ที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดคนไข้มักเป็นอาจารย์แพทย์ที่มีชื่อเสียงจากโรงเรียนแพทย์ แต่สำหรับปัจจุบันในโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆในกรุงเทพหลายแห่ง แพทย์ที่มีคนไข้เยอะจริงๆกลับเป็นแพทย์ประจำของโรงพยาบาลมากกว่า รวมทั้งโรงพยาบาลเองก็มีแนวโน้มที่จะโปรโมทแพทย์ที่ทำงานเต็มเวลาที่โรงพยาบาลมากกว่าแพทย์ที่มาเป็นบางเวลา รวมทั้งมีการดึงแพทย์จากภาครัฐให้มาทำงานเต็มเวลาที่โรงพยาบาลเอกชนมากกว่ามาเป็น parttime ทำให้การพึ่งพาอาจารย์แพทย์จากโรงเรียนแพทย์ลดน้อยลง สำหรับแพทย์ประจำหลายคนก็เป็นแพทย์ที่เคยอยู่ภาครัฐบาลมาก่อน แต่ก็มีแพทย์ที่จบจากต่่างประเทศหลายคนที่เข้ามาทำงานในภาคเอกชนโดยตรงเลย รวมทั้งบางคนก็มาทำงานภาครัฐบาลอยู่สั้นๆแล้วก็ทนกับระบบไม่ได้ สุดท้ายก็ย้ายมาอยู่ภาคเอกชน ดังนั้นการพึ่งพาบุคคลากรทางภาครัฐเป็น parttime consultant ลดลงมากในช่วงหลังสำหรับโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆในกรุงเทพ แต่คงจะยังมีอยู่มากสำหรับโรงพยาบาลที่ขนาดไม่ใหญ่มาก หรือโรงพยาบาลเอกชนในต่างจังหวัด

ในแง่ของเครื่องไม้เครื่องมือ อาจจะดูไม่ต่างกันมากนัก แต่ต้องบอกว่า resource availability ของภาคเอกชนดีกว่าภาครัฐพอสมควร คนที่มาเอกชนหากต้องการทำ CT ก็แทบจะสามารถทำได้เลยทันที หรือภายในวันเดียวกัน ในขณะที่ภาครัฐแม้จะมี CT เช่นกัน ก็ไม่รู้ต้องรอคิวกี่วันกี่สัปดาห์ ไม่นับเรื่องคิวในการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน ซึ่งระยะเวลาในการรอก็แตกต่างกันระหว่างเอกชนกับรัฐบาล

ความกดดันสำหรับบุคคลากรในภาครัฐบาลอย่างหนึ่งก็คืออัตราการฟ้องร้องแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแต่เดิมการฟ้องร้องจะเป็นในภาคเอกชนเป็นหลัก แต่ระยะหลังในภาครัฐเองก็มีการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ รายได้ที่น้อย งานที่หนักกว่า แต่ความเสี่ยงในการฟ้องร้องที่เท่ากัน ทำให้แพทย์หลายๆคนรู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะทนทำงานในภาครัฐต่อไป ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนดีๆหลายคนตัดสินใจที่จะก้าวสู่ภาคเอกชนมากขึ้น

สำหรับโรงพยาบาลของรัฐที่เริ่มเปิดบริการกึ่งเอกชน มีผลกระทบกับเอกชนแน่นอน ที่กระทบมากน่าจะเป็นเอกชนระดับกลางที่มีลูกค้าที่ price-sensitive สูง และกระทบน้อยสุดกับโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นลูกค้าต่่างประเทศ ดังที่ mrprandy กล่าวไว้ในข้อ 3 นั้นผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกัน การเข้าสู่บริการกึ่งเอกชนของภาครัฐก็ยังต้องมีการปรับตัวเป็นระยะ โดยเฉพาะเป็นธรรมชาติมนุษย์ที่เมื่อจ่ายแพงขีึ้นก็ต้องคาดหวังมากขึ้นเป็นธรรมดา อาจารย์แพทย์เองก็คงต้องปรับตัวกับความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของคนไข้ด้วยเช่นกัน
4. รพ.เอกชนที่ผ่านมาโตได้ดีเพราะว่า รัฐบาลเก่าส่งเสริมเรื่อง medical hub แต่ต่อไปไม่รู้
ข้อนี้ต้องขออภัยนะครับที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง รัฐบาลเก่า "สร่้างภาพ" ว่าส่งเสริมเรื่อง medical hub มีการพูดจาคำหวานมากมาย แต่ไม่ได้มีการกระทำอะไรที่เป็นรูปธรรมรองรับมากนัก การที่มีคนไข้ต่่างชาติเข้ามารักษาตัวมากขึ้นในเมืองไทย เกิดจากภาคเอกชนล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ถูกกว่า ฝีมือที่ดีพอๆกับต่่างประเทศ รวมทั้งอุปสรรคในการเดินทางไปทางอเมริกาและยุโรปของชาวตะวันออกกลางหลังเหตุการณ์วินาศกรรมต่างๆ ทำให้คนเหล่านี้หลั่งไหลมาทางเอเชีย ทางภาคเอกชน ทั้ง BH & BGH ต่างก็มีออฟฟิศการตลาดอยู่ในต่างประเทศทั้งในเอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกา ทำตลาดของตัวเองอยู่ โดยไม่ได้พึ่งพาอะไรกับทางภาครัฐเลย สำหรับทางรัฐบาลนั้น แค่ไม่ทำให้อะไรเสียหายต่อธุรกิจ ต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ทางเอกชนก็ซาบซื้งมากแล้วครับ ไม่ได้คาดหวังให้มาช่วยอะไรมากมายเลยครับ

สำหรับการเติบโตในอนาคตสำหรับโรงพยาบาลที่มี PE สูงๆ ขึ้นกับตลาดต่่างประเทศอย่างมาก สัดส่วนรายได้จากชาวต่างชาติสูงขึ้นเรื่อยๆทั้ง BH & BGH หากมีอะไรที่มากระทบทำให้ต่างชาติไม่มารักษาเมืองไทยอย่างถาวร ถึงตอนนั้นก็ตัวใครตัวมันแล้วครับ  :twisted:
"Much success can be attributed to inactivity. Most investors cannot resist the temptation to constantly buy and sell."
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 12

โพสต์

พี่ Knott ตอบข้อ 4 ได้ตรงใจมากเลยครับ
Impossible is Nothing
Buchi
Verified User
โพสต์: 67
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 13

โพสต์

"สร้างภาพ" อ่านปุ๊ป เห็นภาพเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ตอนนี้มีเรื่อง Medical outsourcing มาอีกแล้วครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 1

Re: มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 15

โพสต์

Mon money เขียน:จริงๆผมไม่ดูPEหรอกนะครับ แต่ในระยะสั้นๆมันใช้ดูว่าขณะนี้ใครมีPremiumมากว่ากัน

Raffle@S'Pore                          ~ 28.5
Parkway@S'Pore                      ~ 37.3
Apollo@India                            ~ 36
BH@Thailand                            ~ 31.1
BGH@Thailand                          ~ 31.7


Avg                                         ~ 32.9

ดูแล้ว Raffle ถูกสุด BH กับ BGH อยู่กลางๆ  ว่าไปแล้วโรงพยาบาลบ้านเราก็ไม่ได้มีราคาหุ้นแพงที่สุดในโลกอย่างที่คิดกัน
ช่วงงานมีตติ้ง  ผมเข้าโรงพยาบาลขอนแก่นราม(คนไข้น้อยลง)
ไม่ได้เข้านาน  เลยไม่ได้ดูพีอีเลย
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 16

โพสต์

Mon money เขียน:ตอนนี้มีเรื่อง Medical outsourcing มาอีกแล้วครับ
ที่เขียนใน โลกแบนหรือปล่าวครับ

อ่านแล้วยังงงว่าคนจะเชื่อใจหรือ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanakorn
Verified User
โพสต์: 636
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 17

โพสต์

Knott เขียน: ในอดีตนั้นจริงอยู่ว่าบุคคลากรในโรงพยาบาลเอกชนจะมาจากภาครัฐ ที่มาทำนอกเวลาเป็นหลัก โดยเฉพาะแพทย์ที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดคนไข้มักเป็นอาจารย์แพทย์ที่มีชื่อเสียงจากโรงเรียนแพทย์ แต่สำหรับปัจจุบันในโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆในกรุงเทพหลายแห่ง แพทย์ที่มีคนไข้เยอะจริงๆกลับเป็นแพทย์ประจำของโรงพยาบาลมากกว่า รวมทั้งโรงพยาบาลเองก็มีแนวโน้มที่จะโปรโมทแพทย์ที่ทำงานเต็มเวลาที่โรงพยาบาลมากกว่าแพทย์ที่มาเป็นบางเวลา รวมทั้งมีการดึงแพทย์จากภาครัฐให้มาทำงานเต็มเวลาที่โรงพยาบาลเอกชนมากกว่ามาเป็น parttime ทำให้การพึ่งพาอาจารย์แพทย์จากโรงเรียนแพทย์ลดน้อยลง สำหรับแพทย์ประจำหลายคนก็เป็นแพทย์ที่เคยอยู่ภาครัฐบาลมาก่อน แต่ก็มีแพทย์ที่จบจากต่่างประเทศหลายคนที่เข้ามาทำงานในภาคเอกชนโดยตรงเลย รวมทั้งบางคนก็มาทำงานภาครัฐบาลอยู่สั้นๆแล้วก็ทนกับระบบไม่ได้ สุดท้ายก็ย้ายมาอยู่ภาคเอกชน ดังนั้นการพึ่งพาบุคคลากรทางภาครัฐเป็น parttime consultant ลดลงมากในช่วงหลังสำหรับโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆในกรุงเทพ แต่คงจะยังมีอยู่มากสำหรับโรงพยาบาลที่ขนาดไม่ใหญ่มาก หรือโรงพยาบาลเอกชนในต่างจังหวัด
ผมเข้าใจว่าแพทย์จะต้องเรียนรู้วิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา  ถ้าโรงพยาบาลเอกชนมีอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ (ซึ่งต้องทำการศึกษาวิจัยอยู่ตลอดเวลา) เข้ามาร่วมงานน้อยลง จะเป็นผลให้เกิดความแตกต่างในเรื่องคุณภาพในระยะยาวหรือไม่ครับ  ผมเองเข้าใจว่าโรงพยาบาลเอกชนยังต้องพึ่งอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ก็ด้วยสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง
Everything I do, I do it for you.
pongto
Verified User
โพสต์: 179
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 18

โพสต์

[quote="nanakorn"]
ผมเข้าใจว่าแพทย์จะต้องเรียนรู้วิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
mangmoom
Verified User
โพสต์: 196
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Quote:

4. รพ.เอกชนที่ผ่านมาโตได้ดีเพราะว่า รัฐบาลเก่าส่งเสริมเรื่อง medical hub แต่ต่อไปไม่รู้



ข้อนี้ต้องขออภัยนะครับที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง รัฐบาลเก่า "สร่้างภาพ" ว่าส่งเสริมเรื่อง medical hub มีการพูดจาคำหวานมากมาย แต่ไม่ได้มีการกระทำอะไรที่เป็นรูปธรรมรองรับมากนัก การที่มีคนไข้ต่่างชาติเข้ามารักษาตัวมากขึ้นในเมืองไทย เกิดจากภาคเอกชนล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ถูกกว่า ฝีมือที่ดีพอๆกับต่่างประเทศ รวมทั้งอุปสรรคในการเดินทางไปทางอเมริกาและยุโรปของชาวตะวันออกกลางหลังเหตุการณ์วินาศกรรมต่างๆ ทำให้คนเหล่านี้หลั่งไหลมาทางเอเชีย ทางภาคเอกชน ทั้ง BH & BGH ต่างก็มีออฟฟิศการตลาดอยู่ในต่างประเทศทั้งในเอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกา ทำตลาดของตัวเองอยู่ โดยไม่ได้พึ่งพาอะไรกับทางภาครัฐเลย สำหรับทางรัฐบาลนั้น แค่ไม่ทำให้อะไรเสียหายต่อธุรกิจ ต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ทางเอกชนก็ซาบซื้งมากแล้วครับ ไม่ได้คาดหวังให้มาช่วยอะไรมากมายเลยครับ
ผมว่ารัฐบากชุดก่อนปิ๊งวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รพ เอกชน มา"สร้างภาพ"หาคะแนนนิยมแล้วยังฉวยโอกาสลอกแบบธุรกิจ โดยการกว้านซื้อกิจการ รพ เอกชนเป็นว่าเล่น อาทิ พญาไท พระราม 9 เปาโล  รพ แถวโชคชัย 4 ฯลฯ คงกะจะเบียด BGH ขึ้นแท่น รพ ที่มีเครือข่ายมากสุดด้วยนะครับ
ไม่ทราบว่าป่านนี่พญาไท แต่งตัวเตรียมเทรดในตลาดเสร็จหรือยังเอ่ย?
Knott
Verified User
โพสต์: 232
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ผมเข้าใจว่าแพทย์จะต้องเรียนรู้วิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา  ถ้าโรงพยาบาลเอกชนมีอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ (ซึ่งต้องทำการศึกษาวิจัยอยู่ตลอดเวลา) เข้ามาร่วมงานน้อยลง จะเป็นผลให้เกิดความแตกต่างในเรื่องคุณภาพในระยะยาวหรือไม่ครับ  ผมเองเข้าใจว่าโรงพยาบาลเอกชนยังต้องพึ่งอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ก็ด้วยสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง
ผมต้องขอโทษด้วยครับ หากว่าอ่านที่ผมเขียนแล้วทำให้เข้าใจว่าโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้สนใจอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ หรือลดปริมาณบุคคลากรเหล่านี้ลง จริงๆแล้วที่ผมต้องการสื่อก็คือ สัดส่วนรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนอย่าง BH & BGH ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่มากๆมาจากแพทย์ประจำของโรงพยาบาล มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากแพทย์ที่เป็นอาจารย์โรงเรียนแพทย์ ดังนั้นหากอาจารย์แพทย์ที่มาตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนมีจำนวนลดน้อยลง ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบกับรายได้ของโรงพยาบาลมากนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะตัดขาดความสัมพันธ์กับอาจารย์โรงเรียนแพทย์โดยสิ้นเชิง เพราะนั่นเป็นไปไม่ได้ และไม่ได้เป็นผลดีกับใครเลย

สำหรับคุณภาพของการรักษาพยาบาล เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องมองแยกต่างหาก การที่อาจารย์โรงเรียนแพทย์มาออกตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนนั้น มักจะมาในฐานะแพทย์ที่มาตรวจผู้ป่วย ไม่ได้มาในฐานะอาจารย์ที่จะมาสอนแพทย์อื่นๆในโรงพยาบาล เพราะต่างคนก็ต่างทำงานของตนเอง ดูแลรักษาผู้ป่วยของตนเอง หากเกินขอบข่ายความสามารถ ก็มีแพทย์เฉพาะทางท่านอื่นเป็นที่ปรึกษาร่วมดูแลผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นแพทย์ประจำของโรงพยาบาล หรือเป็นอาจารย์จากทางโรงเรียนแพทย์ก็ได้ ดังนั้นในเชิงนี้ จึงมีบทบาทน้อยมากในการพัฒนาความรู้ความสามารถของแพทย์อื่นๆในโรงพยาบาล

ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆเช่น BH BGH SVH ต่างก็มีระบบการศึกษาต่อเนื่องของตนเอง มีการเชิญแพทย์ที่มีความรู้ในสาขาต่่างๆมาบรรยายทุกอาทิตย์ ทั้งในระดับของโรงพยาบาล หรือในแต่ละแผนกสาขาวิชา ผู้ที่มาบรรยายก็มีทั้งอาจารย์โรงเรียนแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานอื่น แพทย์ประจำในโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเอง หรือแม้แต่วิทยากรจากต่่างประเทศในบางโอกาส หลายๆแห่งมีการจัดประชุมวิชาการประจำปีของตัวเอง สำหรับแพทย์ที่อยู่ประจำในโรงพยาบาลก็มีการไปร่วมประชุมวิชาการของสาขาตนเองที่องค์กรทางวิชาชีพจัด ทั้งในและต่่างประเทศ รวมทั้งมีการส่งแพทย์ประจำบางท่านไปอบรมพิเศษเป็นเวลาครั้งละหลายๆเดือนหรือเป็นปีในเรื่องที่โรงพยาบาลคิดว่ามีความสำคัญต้องพัฒนาในด้านนั้นๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นตัวที่ทำให้แพทย์ที่ทำงานมานานๆ ได้มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาชีพได้ทัน ส่วนสายสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวงการแพทย์เองก็มีส่วนในด้านนี้ ทั้งนี้เพราะอาจารย์โรงเรียนแพทย์และแพทย์ที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ ต่างก็มีความสัมพันธ์ในเชิงวิชาชีพ อาจเป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง หรือเพื่อนร่วมรุ่นกัน ทำให้การเรียนรู้ปรึกษาหารือสามารถทำได้โดยไม่ลำบากเกินไปนักครับ  :)
"Much success can be attributed to inactivity. Most investors cannot resist the temptation to constantly buy and sell."
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanakorn
Verified User
โพสต์: 636
ผู้ติดตาม: 0

มีข้อมูลPEของโรงพยาบาลมาฝาก

โพสต์ที่ 21

โพสต์

[quote="Knott"]ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆเช่น BH BGH SVH ต่างก็มีระบบการศึกษาต่อเนื่องของตนเอง มีการเชิญแพทย์ที่มีความรู้ในสาขาต่่างๆมาบรรยายทุกอาทิตย์ ทั้งในระดับของโรงพยาบาล หรือในแต่ละแผนกสาขาวิชา ผู้ที่มาบรรยายก็มีทั้งอาจารย์โรงเรียนแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานอื่น แพทย์ประจำในโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเอง หรือแม้แต่วิทยากรจากต่่างประเทศในบางโอกาส หลายๆแห่งมีการจัดประชุมวิชาการประจำปีของตัวเอง สำหรับแพทย์ที่อยู่ประจำในโรงพยาบาลก็มีการไปร่วมประชุมวิชาการของสาขาตนเองที่องค์กรทางวิชาชีพจัด ทั้งในและต่่างประเทศ รวมทั้งมีการส่งแพทย์ประจำบางท่านไปอบรมพิเศษเป็นเวลาครั้งละหลายๆเดือนหรือเป็นปีในเรื่องที่โรงพยาบาลคิดว่ามีความสำคัญต้องพัฒนาในด้านนั้นๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นตัวที่ทำให้แพทย์ที่ทำงานมานานๆ ได้มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาชีพได้ทัน ส่วนสายสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวงการแพทย์เองก็มีส่วนในด้านนี้ ทั้งนี้เพราะอาจารย์โรงเรียนแพทย์และแพทย์ที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ ต่างก็มีความสัมพันธ์ในเชิงวิชาชีพ อาจเป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง หรือเพื่อนร่วมรุ่นกัน ทำให้การเรียนรู้ปรึกษาหารือสามารถทำได้โดยไม่ลำบากเกินไปนักครับ
Everything I do, I do it for you.
โพสต์โพสต์