UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 31
ถ้าผมทะลุกลางปล่องว่า
ไม่สนทั้งสองตัวมีอะไรหรือเปล่า
UEC ผมมองว่า ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า ขยายโรงงานไปมีผลดีหรือเปล่า
UMS ต้องพิสูจน์เรื่องการตลาดว่า ตัวเองเล็กกว่าคนอื่นเขา ส่วนแบ่งการตลาดที่ทำไว้ ยังรักษาได้หรือเปล่า
ผม เลือกที่ไม่ซื้อทั้งสองตัว
ไม่สนทั้งสองตัวมีอะไรหรือเปล่า
UEC ผมมองว่า ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า ขยายโรงงานไปมีผลดีหรือเปล่า
UMS ต้องพิสูจน์เรื่องการตลาดว่า ตัวเองเล็กกว่าคนอื่นเขา ส่วนแบ่งการตลาดที่ทำไว้ ยังรักษาได้หรือเปล่า
ผม เลือกที่ไม่ซื้อทั้งสองตัว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 32
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน
มาดูข้อมูลของคู่แข่งบ้างครับ
banpu
lanna
ums
สรุปว่าคู่แข่งรายใหญ่คือบ้านปู ลานนา และรายย่อยอีก 4-5 ราย
มาดูข้อมูลของคู่แข่งบ้างครับ
banpu
คู่แข่งขันที่สำคัญ
ถ่านหินในประเทศ ได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด (บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด ผลิตเพื่อป้อนถ่านหินให้กับกลุ่มซิเมนต์ไทย)
ถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยผู้ผลิตในต่างประเทศและผู้ค้าถ่านหินจำนวนรวมประมาณ 8 ราย นอกจากนี้ จากการที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กเป็นจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันเตาเป็นถ่านหิน อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมากนำเข้าถ่านหินเพื่อส่งมอบให้กับโรงงานดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องความสม่ำเสมอของคุณภาพถ่านหิน
lanna
ภาวะการแข่งขัน : ธุรกิจการจำหน่ายถ่านหินในประเทศเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการน้อยราย (OLIGOPOLY MARKET) โดยลูกค้าที่เป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะมีคู่แข่งขันที่สำคัญคือบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ส่วนลูกค้าที่เป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กจะมีคู่แข่งขัน ที่สำคัญคือ บริษัท ยูนิคไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบการรายย่อยอีก 3-4 ราย โดยบริษัทฯ มีเหมืองถ่านหินที่มีคุณภาพสูงเป็นของตนเองและยังมีปริมาณสำรองในเชิงพาณิชย์อีกหลายปี จึงมีศักยภาพในการแข่งขันและสามารถจะเพิ่มส่วนแบ่งด้านการตลาดในอนาคตได้
ums
ภาวะการแข่งขัน
การจำหน่ายถ่านหินให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการน้อยราย โดยบริษัทฯ มีคู่แข่ง คือ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) โดยบริษัททั้งสองจะแข่งขันกับบริษัทฯ ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กบริษัทฯ มีคู่แข่งเป็นผู้ประกอบการนำเข้าถ่านหินรายย่อย 4-5 ราย บริษัทฯ เน้นเพิ่มลูกค้าในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคา
สรุปว่าคู่แข่งรายใหญ่คือบ้านปู ลานนา และรายย่อยอีก 4-5 ราย
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 33
ผมมีอยู่ทั้ง 2 ตัวครับ .. แต่ uec จะมีเยอะกว่า ums อย่างมาก ...
uec บริษัทมีจุดแข็งดี ตำแหน่งในตลาดยอดเยี่ยม ผู้บริหารไม่ขี้โม้เท่าไหร่ เท่าที่ตามดูออกจะพูดให้ต่ำๆไว้ก่อน แล้วทำได้เกิน แต่มีจุดเสียคืออุตสาหกรรมน่าจะโตไปได้อีกไม่นานมากเท่า ums (แต่ผมว่าซัก 5 ปีมันก็นานพอควรแล้วล่ะครับ)
ums บริษัทมีจุดแข็งแต่ไม่มากนัก คู่แข่งเข้ามาแข็งขันง่าย แต่ข้อดีเด่นๆคืออุตสาหกรรมน่าจะโตได้ดีเป็นระยะเวลานานมาก แต่ผู้บริหารโม้เก่งไปนิดนึง
ถ้ามองแง่ของราคา uec เทียบกับปีนี้ผมคาดว่า eps ประมาณ 2.5 pe ยังไม่ถึง 10 เท่า ประมาณ 9 หน่อยๆ
ส่วน ums นี่ตอนนี้ราคาสูงพอดู .. คนอื่นมองว่า pe 12 กัน แต่ผมคิดต่างออกไป คือฐานะทางการเงินของ ums ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ปลายปีจะมีการออก w 2 ต่อ 1 ราคาใช้สิทธิ 8.5 บาท ... สมมติให้เป็น worse case คือคนใช้สิทธิทันที ราคา 17.5 2 หุ้น เฉลี่ยกับ 8.5 1 หุ้น จะได้เป็นราคาประมาณ 14.5 บาท กำไรทั้งปีผมประมาณว่า 210 ล้านบาท จำนวนหุ้นใหม่ 210 ล้านหุ้นจะได้ eps 1 บาท เพราะฉะนั้นผมมองว่าตอนนี้ pe ของ ums แบบ fully dilute คือ 14.5 เท่า สูงกว่า uec พอสมควร เพราะฉะนั้นผมว่า ums ต่อให้ธุรกิจใน 1-2 ปีโตอย่างไรก็คงโดน w มาฉุดราคาไว้อยู่เรื่อยๆ
สรุปว่าในระยะกลาง 1-3 ปี ผมว่า uec ชนะ ums ขาดอยู่ครับ (พิจารณาทั้งแง่ราคาและคุณภาพ) แต่ถ้าเกิน 3 ปีขึ้นไปต้องมาดูกันใหม่ ว่า
- ums จะพิสูจน์ความสามารถในการแข่งขันได้ดีแค่ไหน
- uec ตลาดถังความดันมันไปได้ไกลแค่ไหน และ uec สามารถที่จะขนาดไปแบ่งเค้กในต่างประเทศได้มากรึเปล่า ถ้าทำได้เค้กจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ uec นั้นยังไปได้ไกลกว่าที่คิดกัน
สรุปแล้วผมเชียร์ uec สุดใจครับ ... 555 เพราะถืออยู่เยอะด้วย :lol:
uec บริษัทมีจุดแข็งดี ตำแหน่งในตลาดยอดเยี่ยม ผู้บริหารไม่ขี้โม้เท่าไหร่ เท่าที่ตามดูออกจะพูดให้ต่ำๆไว้ก่อน แล้วทำได้เกิน แต่มีจุดเสียคืออุตสาหกรรมน่าจะโตไปได้อีกไม่นานมากเท่า ums (แต่ผมว่าซัก 5 ปีมันก็นานพอควรแล้วล่ะครับ)
ums บริษัทมีจุดแข็งแต่ไม่มากนัก คู่แข่งเข้ามาแข็งขันง่าย แต่ข้อดีเด่นๆคืออุตสาหกรรมน่าจะโตได้ดีเป็นระยะเวลานานมาก แต่ผู้บริหารโม้เก่งไปนิดนึง
ถ้ามองแง่ของราคา uec เทียบกับปีนี้ผมคาดว่า eps ประมาณ 2.5 pe ยังไม่ถึง 10 เท่า ประมาณ 9 หน่อยๆ
ส่วน ums นี่ตอนนี้ราคาสูงพอดู .. คนอื่นมองว่า pe 12 กัน แต่ผมคิดต่างออกไป คือฐานะทางการเงินของ ums ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ปลายปีจะมีการออก w 2 ต่อ 1 ราคาใช้สิทธิ 8.5 บาท ... สมมติให้เป็น worse case คือคนใช้สิทธิทันที ราคา 17.5 2 หุ้น เฉลี่ยกับ 8.5 1 หุ้น จะได้เป็นราคาประมาณ 14.5 บาท กำไรทั้งปีผมประมาณว่า 210 ล้านบาท จำนวนหุ้นใหม่ 210 ล้านหุ้นจะได้ eps 1 บาท เพราะฉะนั้นผมมองว่าตอนนี้ pe ของ ums แบบ fully dilute คือ 14.5 เท่า สูงกว่า uec พอสมควร เพราะฉะนั้นผมว่า ums ต่อให้ธุรกิจใน 1-2 ปีโตอย่างไรก็คงโดน w มาฉุดราคาไว้อยู่เรื่อยๆ
สรุปว่าในระยะกลาง 1-3 ปี ผมว่า uec ชนะ ums ขาดอยู่ครับ (พิจารณาทั้งแง่ราคาและคุณภาพ) แต่ถ้าเกิน 3 ปีขึ้นไปต้องมาดูกันใหม่ ว่า
- ums จะพิสูจน์ความสามารถในการแข่งขันได้ดีแค่ไหน
- uec ตลาดถังความดันมันไปได้ไกลแค่ไหน และ uec สามารถที่จะขนาดไปแบ่งเค้กในต่างประเทศได้มากรึเปล่า ถ้าทำได้เค้กจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ uec นั้นยังไปได้ไกลกว่าที่คิดกัน
สรุปแล้วผมเชียร์ uec สุดใจครับ ... 555 เพราะถืออยู่เยอะด้วย :lol:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 34
ต้นทุนสินค้าถ่านหิน
1.ต้นทุนการซื้อถ่านหินจากผู้ผลิต
2.ต้นทุนการขนส่ง
1.ต้นทุนการซื้อถ่านหิน จากผู้ผลิตในอินโดนีเซีย เท่าที่ผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นราคาที่ทำให้ ums แข่งขันได้ หากจะพูดว่าคู่แข่งที่มีเหมืองเองควรจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเช่นลานนา บ้านปู หรือไม่ ถ้ามองประเด็นนี้ ลานนามีเหมืองในอินโดนีเซียประมาณ 2-3 แห่งและมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนบ้านปูมี 4-5 เหมืองมีกำลังการผลิตประมาณ 22-23 ล้านตัน กรณีลานนาผมไม่คิดว่าจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ums ซื้อมากนักเพราะเป็นเหมืองขนาดเล็ก ต้นทุนน่าจะสูง ส่วนบ้านปูเป็นผู้ผลิตจากต่างชาติ เหมืองที่ได้รับสัมปทานไม่น่าจะมีคุณภาพที่ดีมากนักเปรียบเทียบกับผู้ผลิตสัญชาตอินโดนีเซียนด้วยกัน นอกจากนั้นค่าการจัดการน่าจะสูงกว่าผู้ผลิตท้องถิ่น ดังนั้นราคาต้นทุนถ่านหินที่ซื้อจากผู้ผลิตสัญชาติอินโดนีเซียน น่าจะเป็นราคาที่พอจะทำให้แข่งขันได้ในระดับนึง ที่เชื่อเช่นนี้จะเห็นได้ว่าบางไตรมาส ums สามารถประมูลขายถ่านหินให้ลูกค้ารายใหญ่ๆได้ ทั้งที่คู่แข่งรายใหญ่น่าจะเข้าประมูลด้วยเช่นกัน แสดงว่า ums น่าจะพอแข่งขันได้ในระดับนึง
นอกจากนั้นคู่แข่งคือลานนา มีการเน้นการลงทุนในโครงการผลิตเอทานอล ทั้งโรงงานที่ 1 และที่กำลังจะสร้างอีกแห่ง ทำให้ดูเหมือนเข้าใจว่าลานนามุ่งเน้นในเรื่องเอทานอลมากกว่า ส่วนบ้านปูไม่น่าจะลงมาแข่งขันในการขายให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ไปมุ่งเน้นรายใหญ่ๆน่าจะคุ้มกว่า..
(ข้างต้นเป็นความเห็นของผมจากการจินตนการนะครับ จะเห็นได้ว่าโพสต์คำว่า น่าจะ บ่อยๆ :lol:)
1.ต้นทุนการซื้อถ่านหินจากผู้ผลิต
2.ต้นทุนการขนส่ง
1.ต้นทุนการซื้อถ่านหิน จากผู้ผลิตในอินโดนีเซีย เท่าที่ผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นราคาที่ทำให้ ums แข่งขันได้ หากจะพูดว่าคู่แข่งที่มีเหมืองเองควรจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเช่นลานนา บ้านปู หรือไม่ ถ้ามองประเด็นนี้ ลานนามีเหมืองในอินโดนีเซียประมาณ 2-3 แห่งและมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนบ้านปูมี 4-5 เหมืองมีกำลังการผลิตประมาณ 22-23 ล้านตัน กรณีลานนาผมไม่คิดว่าจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ums ซื้อมากนักเพราะเป็นเหมืองขนาดเล็ก ต้นทุนน่าจะสูง ส่วนบ้านปูเป็นผู้ผลิตจากต่างชาติ เหมืองที่ได้รับสัมปทานไม่น่าจะมีคุณภาพที่ดีมากนักเปรียบเทียบกับผู้ผลิตสัญชาตอินโดนีเซียนด้วยกัน นอกจากนั้นค่าการจัดการน่าจะสูงกว่าผู้ผลิตท้องถิ่น ดังนั้นราคาต้นทุนถ่านหินที่ซื้อจากผู้ผลิตสัญชาติอินโดนีเซียน น่าจะเป็นราคาที่พอจะทำให้แข่งขันได้ในระดับนึง ที่เชื่อเช่นนี้จะเห็นได้ว่าบางไตรมาส ums สามารถประมูลขายถ่านหินให้ลูกค้ารายใหญ่ๆได้ ทั้งที่คู่แข่งรายใหญ่น่าจะเข้าประมูลด้วยเช่นกัน แสดงว่า ums น่าจะพอแข่งขันได้ในระดับนึง
นอกจากนั้นคู่แข่งคือลานนา มีการเน้นการลงทุนในโครงการผลิตเอทานอล ทั้งโรงงานที่ 1 และที่กำลังจะสร้างอีกแห่ง ทำให้ดูเหมือนเข้าใจว่าลานนามุ่งเน้นในเรื่องเอทานอลมากกว่า ส่วนบ้านปูไม่น่าจะลงมาแข่งขันในการขายให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ไปมุ่งเน้นรายใหญ่ๆน่าจะคุ้มกว่า..
(ข้างต้นเป็นความเห็นของผมจากการจินตนการนะครับ จะเห็นได้ว่าโพสต์คำว่า น่าจะ บ่อยๆ :lol:)
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 36
ขอบคุณความเห็นโยโย่ครับ
ผมไม่อยากถูกร้อยเปอร์เซนต์ เพราะว่าคิดเองเออเองคนเดียว
แต่อยากจะมีถูกบ้างผิดบ้าง เมื่อได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนๆครับ :lol:
ส่วนประเด็นการออกวอร์แรนต์ ผมมีความเห็นเช่นกัน
แต่ขอพูดเรื่องต้นทุนก่อนครับ
2.ต้นทุนในการขนส่ง
รูปแบบการขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศ ไม่ว่ารายใดน่าจะคล้ายๆกัน คือเช่าเรือขนส่งเทกองจากอินโดนีเซีย จอดที่เกาะสีชังซึ่งมีน้ำลึก ขนส่งโดยเรือโป๊ะ ล่องเข้าไปตามแม่น้ำต่างๆเช่น ท่าจีน เจ้าพระยา แม่กลอง บางปะกง ขนส่งเข้าคลังสินค้า เพื่อรอส่งให้ลูกค้าต่อไป แต่ถ้าเป็นโรงงานแถบตะวันออก เรืออาจจะเทียบท่าเรือมาบตาพุด แหลมฉบัง บางปะกงเทอร์มินอลเลย ไม่ต้องจอดที่เกาะสีชัง แล้วขนส่งเข้าคลัง หรือส่งให้ลูกค้าโดยตรง
การขนส่งถ่านหินให้ลูกค้า มักจ้างบริษัทขนส่งภายนอกให้จัดส่งให้ หรือบางบริษัทอาจจะขนส่งเอง กรณี ums มีรถบรรทุก 14 คัน ที่เหลือต้องจ้างบริษัทให้จัดส่งให้
ดังนั้นต้นทุนการขนส่งส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนักในแต่ละราย
ผมไม่อยากถูกร้อยเปอร์เซนต์ เพราะว่าคิดเองเออเองคนเดียว
แต่อยากจะมีถูกบ้างผิดบ้าง เมื่อได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนๆครับ :lol:
ส่วนประเด็นการออกวอร์แรนต์ ผมมีความเห็นเช่นกัน
แต่ขอพูดเรื่องต้นทุนก่อนครับ
2.ต้นทุนในการขนส่ง
รูปแบบการขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศ ไม่ว่ารายใดน่าจะคล้ายๆกัน คือเช่าเรือขนส่งเทกองจากอินโดนีเซีย จอดที่เกาะสีชังซึ่งมีน้ำลึก ขนส่งโดยเรือโป๊ะ ล่องเข้าไปตามแม่น้ำต่างๆเช่น ท่าจีน เจ้าพระยา แม่กลอง บางปะกง ขนส่งเข้าคลังสินค้า เพื่อรอส่งให้ลูกค้าต่อไป แต่ถ้าเป็นโรงงานแถบตะวันออก เรืออาจจะเทียบท่าเรือมาบตาพุด แหลมฉบัง บางปะกงเทอร์มินอลเลย ไม่ต้องจอดที่เกาะสีชัง แล้วขนส่งเข้าคลัง หรือส่งให้ลูกค้าโดยตรง
การขนส่งถ่านหินให้ลูกค้า มักจ้างบริษัทขนส่งภายนอกให้จัดส่งให้ หรือบางบริษัทอาจจะขนส่งเอง กรณี ums มีรถบรรทุก 14 คัน ที่เหลือต้องจ้างบริษัทให้จัดส่งให้
ดังนั้นต้นทุนการขนส่งส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนักในแต่ละราย
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 37
จากที่โพตส์มาเรื่องต้นทุน ดูเหมือนผมคิดว่าต้นทุนไม่น่าจะต่างกันมากนัก แต่ที่จริงลึกๆ ผมก็ยังคิดว่าผู้ผลิตที่มีเหมืองเอง น่าจะมีความยืดหยุ่นและมีต้นทุนที่ดีกว่า แต่ตราบใดที่ตลาดยังขยายตัวมากๆอย่างตอนนี้ ผมคิดว่าปัญหาการตัดราคากัน ยังไม่น่าจะรุนแรงจนกระทบกำไรมากๆ (อัตรากำไรตอนนี้ประมาณ 11-12%)
แล้ว ums มีแนวทางอะไรหรือเปล่าที่จะลดต้นทุนเพื่อให้แข่งขันได้
1.การสร้างคลังสินค้าที่ติดกับแม่น้ำ กำลังสร้างคาดว่าไตรมาส 4 น่าจะใช้งานได้ คลังนี้จะตัดขั้นตอนการขนส่งจากเรือไปยังคลังเหมือนปัจจุบัน คาดว่าจะลดต้นทุนได้ประมาณ 2-3 % หรือตันละประมาณ 50 บาท (ยอดขายปีนี้ประมาณ 8-9 แสนตัน) นอกจากนั้นยังป้องกันถ่านหินโดนแดดโดนฝนได้ด้วย การคัดขนาด และคุณภาพน่าจะดีขึ้น
2.การผลิตถ่านหินก้อน ปกติถ่านหินแต่ละล็อตจะปนๆกันมาทั้งเป็นก้อนและเป็นเศษๆ กรณีที่เป็นเศษๆเป็นฝุ่น ปกติจะขายไม่ได้ราคาต้องขายปนไปกับถ่านก้อนให้กับลูกค้ารายใหญ่ๆ แต่ต่อไปจะนำเศษผงนี้มาทำการอัดเป็นก้อน ทำให้ขายได้ราคาดีกว่าเดิมมาก สัดส่วนของเศษถ่านหินผมคิดว่าน่าจะมีมากทีเดียวครับ
แล้ว ums มีแนวทางอะไรหรือเปล่าที่จะลดต้นทุนเพื่อให้แข่งขันได้
1.การสร้างคลังสินค้าที่ติดกับแม่น้ำ กำลังสร้างคาดว่าไตรมาส 4 น่าจะใช้งานได้ คลังนี้จะตัดขั้นตอนการขนส่งจากเรือไปยังคลังเหมือนปัจจุบัน คาดว่าจะลดต้นทุนได้ประมาณ 2-3 % หรือตันละประมาณ 50 บาท (ยอดขายปีนี้ประมาณ 8-9 แสนตัน) นอกจากนั้นยังป้องกันถ่านหินโดนแดดโดนฝนได้ด้วย การคัดขนาด และคุณภาพน่าจะดีขึ้น
2.การผลิตถ่านหินก้อน ปกติถ่านหินแต่ละล็อตจะปนๆกันมาทั้งเป็นก้อนและเป็นเศษๆ กรณีที่เป็นเศษๆเป็นฝุ่น ปกติจะขายไม่ได้ราคาต้องขายปนไปกับถ่านก้อนให้กับลูกค้ารายใหญ่ๆ แต่ต่อไปจะนำเศษผงนี้มาทำการอัดเป็นก้อน ทำให้ขายได้ราคาดีกว่าเดิมมาก สัดส่วนของเศษถ่านหินผมคิดว่าน่าจะมีมากทีเดียวครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 39
มาคุยด้วยเช่นกัน
เพราะมีเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นในพอร์ตกระผมเช่นกันและเพิ่งเลือกไป
ผมเลือก uec
เพราะ
1. ในช่วงของธุรกิจวัฏจักร กำไรที่ได้จะเป็นกำไรที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และทุกคนยอมจ่ายแพงเพื่อให้ได้สินค้า และความปลอดภัยมักไม่ค่อยมีคนยอมเสี่ยง เหมือนกับหุ้นอีกตัวของผม :lol:
ขณะที่ growth stock ของums น่าจะมีคู่แข่งใหม่ๆได้ง่ายกว่า
2. ums แพงกว่ามากณ. ราคานี้ ตามเสี่ยโยเลย ในระยะเวลาลงทุนที่ผมคาดหวัง ผมไม่สนใจอะไรแถวๆ 5 ปี ครับ มองไม่ออก โลกเดี่ยวนี้เปลี่ยนแปลงบ่อย
3. ปัจจัยในการขยายตัวของทั้งสองบริษัทเติบโตแน่ แต่การบริหารควบคุมแบบกระจุก uec น่าจะง่ายกว่า เพราะการขยายตัวแบบกระจาย (ลูกค้าหลายรายมากขึ้นมากรายมากเรื่องครับ) เทียบกับกระจุย (ขยายโรงงาน)
ปล.เดี๋ยวนึกอะไรออก เดี๋ยวมาโพสต์ครับ
เพราะมีเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นในพอร์ตกระผมเช่นกันและเพิ่งเลือกไป
ผมเลือก uec
เพราะ
1. ในช่วงของธุรกิจวัฏจักร กำไรที่ได้จะเป็นกำไรที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และทุกคนยอมจ่ายแพงเพื่อให้ได้สินค้า และความปลอดภัยมักไม่ค่อยมีคนยอมเสี่ยง เหมือนกับหุ้นอีกตัวของผม :lol:
ขณะที่ growth stock ของums น่าจะมีคู่แข่งใหม่ๆได้ง่ายกว่า
2. ums แพงกว่ามากณ. ราคานี้ ตามเสี่ยโยเลย ในระยะเวลาลงทุนที่ผมคาดหวัง ผมไม่สนใจอะไรแถวๆ 5 ปี ครับ มองไม่ออก โลกเดี่ยวนี้เปลี่ยนแปลงบ่อย
3. ปัจจัยในการขยายตัวของทั้งสองบริษัทเติบโตแน่ แต่การบริหารควบคุมแบบกระจุก uec น่าจะง่ายกว่า เพราะการขยายตัวแบบกระจาย (ลูกค้าหลายรายมากขึ้นมากรายมากเรื่องครับ) เทียบกับกระจุย (ขยายโรงงาน)
ปล.เดี๋ยวนึกอะไรออก เดี๋ยวมาโพสต์ครับ
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 40
UEC ออเดอร์-Backlog หนุน มั่นใจทั้งปีรายได้-กำไรโตเพิ่ม
Source - กระแสหุ้น
Thursday, 12 July 2007 04:06
UEC ครึ่งปีหลังเติบโตเพิ่ม มั่นใจ Backlog หนุนดันทั้งปีโตเพิ่มอีก 20% ผู้บริหารเชื่อกำไรมากกว่าปีก่อน ด้านโรงงานใหม่อีก 1-2 เดือนแล้วเสร็จ เตรียมติดตั้งเครื่องจักรทันที ตามแผนเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนแผนผลิตถังเอ็นจีวีต้องชะลอออกไปก่อนเพราะยังไม่คุ้มค่า
นายไทยลักษณ์ ลี้ถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ UEC เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่ารายได้ในครึ่งปีหลังจะออกมาดีกว่าครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน เนื่องจากบริษัทมีงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบริษัทยังมีงานเก่าที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ประมาณ 2,100 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 1,600 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะรับรู้รายได้ได้ในปี 2551
ขณะเดียวกัน บริษัทอาจจะมีปรับประมาณการรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ตั้งเป้ารายได้ปีนี้อยู่ที่ประมาณ 1,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่า 20% จากปี 2549 ที่มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 1,300 ล้านบาท สาเหตุที่รายได้ในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสาเหตุก็มาจากบริษัทมีงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
เป้ารายได้ในปีนี้นั้นเราอาจจะมีการปรับประมาณการรายได้เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตอนนี้เรามีงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเรามี Backlog ที่รอรับรู้รายได้อยู่ประมาณ 2,100 ล้านบาท โดยคาดว่าจะรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 1.6 พันล้านบาท ซึ่งก็ถือว่าตัวเลขที่เราตั้งไว้นั้นค่อนข้างที่จะแน่นอนแล้ว ดังนั้นเราอาจจะต้องมารีไวส์ตัวเลขรายได้ในปีนี้ใหม่
นายไทยลักษณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเลขกำไรสุทธิในปีนี้นั้น บริษัทคาดว่าน่าจะมากกว่าปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 287 ล้านบาท เนื่องจากในปีนี้บริษัทมีงานที่รอรับรู้รายได้มากกว่าปีก่อนโดนเฉพาะในส่วนของภาชนะความดันซึ่งมีมาร์จิ้นอยู่ในระดับสูง
ส่วนความคืบหน้าเรื่องของการก่อสร้างขยายพื้นที่โรงงานอีกประมาณ 20,000 ตารางเมตร คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จภายในอีก 1-2 เดือนนี้ ซึ่งหลังจากที่โรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จบริษัทจะดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรและดำเนินการผลิตทันที ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีอัตรากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นบริษัทจึงตั้งเป้ารายได้ในปี 2551 เพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากปี 2550 ขณะที่ประเด็นเรื่องของการเพิ่มทุนนั้น ขณะนี้บริษัทยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทยังมีกระแสเงินเพียงพอในการที่จะขยายธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตบริษัทมีโปรเจ็กต์ใหญ่ๆเข้ามาเพิ่ม และจำเป็นที่จะต้องใช้เงินบริษัทอาจจะนำเรื่องการเพิ่มทุนมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง แต่ ณ เวลานี้ยังไม่มีความจำเป็น
สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในครึ่งปีหลังนั้น บริษัทจะเน้นในเรื่องของส่งมอบงานให้เสร็จตรงตามกำหนดเวลา และเน้นในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ
นายไทยลักษณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นเรื่องของการที่บริษัทจะเข้าไปลงทุนในการผลิตถัง NGV นั้น ขณะนี้บริษัทได้ชะลอแผนลงทุนผลิตถัง NGV เนื่องจากบริษัทมองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งถ้าหากบริษัทจะต้องลงทุนในการผลิตนั้น บริษัทคาดว่าจะใช้เม็ดเงินในการลงทุนประมาณ 700-800 ล้านบาท โดยซื้อเครื่องจักรใหม่ซึ่งไม่รวมโรงงานและพื้นที่ ขณะที่แนวโน้มการติดตั้งถัง NGV ในปีนี้ยังคงไม่มากนักอีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนภาษีนำเข้า 0% ทั้งจากประเทศจีนและอินเดียซึ่งได้มีการดำเนินงานมานานแล้ว คงมองว่าไม่คุ้มค่าหากจะต้องลงทุน
หากต้องลงทุน 700-800 ล้านบาท เพื่อมาแข่งกับจีนและอินเดียที่ทำมานานแล้ว หรือได้ออเดอร์ปีละแค่ 1 แสนใบ อย่างไรก็ไม่คุ้มหากจะทำ นายไทยลักษณ์ กล่าว
Source - กระแสหุ้น
Thursday, 12 July 2007 04:06
UEC ครึ่งปีหลังเติบโตเพิ่ม มั่นใจ Backlog หนุนดันทั้งปีโตเพิ่มอีก 20% ผู้บริหารเชื่อกำไรมากกว่าปีก่อน ด้านโรงงานใหม่อีก 1-2 เดือนแล้วเสร็จ เตรียมติดตั้งเครื่องจักรทันที ตามแผนเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนแผนผลิตถังเอ็นจีวีต้องชะลอออกไปก่อนเพราะยังไม่คุ้มค่า
นายไทยลักษณ์ ลี้ถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ UEC เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่ารายได้ในครึ่งปีหลังจะออกมาดีกว่าครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน เนื่องจากบริษัทมีงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบริษัทยังมีงานเก่าที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ประมาณ 2,100 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 1,600 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะรับรู้รายได้ได้ในปี 2551
ขณะเดียวกัน บริษัทอาจจะมีปรับประมาณการรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ตั้งเป้ารายได้ปีนี้อยู่ที่ประมาณ 1,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่า 20% จากปี 2549 ที่มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 1,300 ล้านบาท สาเหตุที่รายได้ในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสาเหตุก็มาจากบริษัทมีงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
เป้ารายได้ในปีนี้นั้นเราอาจจะมีการปรับประมาณการรายได้เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตอนนี้เรามีงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเรามี Backlog ที่รอรับรู้รายได้อยู่ประมาณ 2,100 ล้านบาท โดยคาดว่าจะรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 1.6 พันล้านบาท ซึ่งก็ถือว่าตัวเลขที่เราตั้งไว้นั้นค่อนข้างที่จะแน่นอนแล้ว ดังนั้นเราอาจจะต้องมารีไวส์ตัวเลขรายได้ในปีนี้ใหม่
นายไทยลักษณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเลขกำไรสุทธิในปีนี้นั้น บริษัทคาดว่าน่าจะมากกว่าปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 287 ล้านบาท เนื่องจากในปีนี้บริษัทมีงานที่รอรับรู้รายได้มากกว่าปีก่อนโดนเฉพาะในส่วนของภาชนะความดันซึ่งมีมาร์จิ้นอยู่ในระดับสูง
ส่วนความคืบหน้าเรื่องของการก่อสร้างขยายพื้นที่โรงงานอีกประมาณ 20,000 ตารางเมตร คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จภายในอีก 1-2 เดือนนี้ ซึ่งหลังจากที่โรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จบริษัทจะดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรและดำเนินการผลิตทันที ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีอัตรากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นบริษัทจึงตั้งเป้ารายได้ในปี 2551 เพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากปี 2550 ขณะที่ประเด็นเรื่องของการเพิ่มทุนนั้น ขณะนี้บริษัทยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทยังมีกระแสเงินเพียงพอในการที่จะขยายธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตบริษัทมีโปรเจ็กต์ใหญ่ๆเข้ามาเพิ่ม และจำเป็นที่จะต้องใช้เงินบริษัทอาจจะนำเรื่องการเพิ่มทุนมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง แต่ ณ เวลานี้ยังไม่มีความจำเป็น
สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในครึ่งปีหลังนั้น บริษัทจะเน้นในเรื่องของส่งมอบงานให้เสร็จตรงตามกำหนดเวลา และเน้นในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ
นายไทยลักษณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นเรื่องของการที่บริษัทจะเข้าไปลงทุนในการผลิตถัง NGV นั้น ขณะนี้บริษัทได้ชะลอแผนลงทุนผลิตถัง NGV เนื่องจากบริษัทมองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งถ้าหากบริษัทจะต้องลงทุนในการผลิตนั้น บริษัทคาดว่าจะใช้เม็ดเงินในการลงทุนประมาณ 700-800 ล้านบาท โดยซื้อเครื่องจักรใหม่ซึ่งไม่รวมโรงงานและพื้นที่ ขณะที่แนวโน้มการติดตั้งถัง NGV ในปีนี้ยังคงไม่มากนักอีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนภาษีนำเข้า 0% ทั้งจากประเทศจีนและอินเดียซึ่งได้มีการดำเนินงานมานานแล้ว คงมองว่าไม่คุ้มค่าหากจะต้องลงทุน
หากต้องลงทุน 700-800 ล้านบาท เพื่อมาแข่งกับจีนและอินเดียที่ทำมานานแล้ว หรือได้ออเดอร์ปีละแค่ 1 แสนใบ อย่างไรก็ไม่คุ้มหากจะทำ นายไทยลักษณ์ กล่าว
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 41
UMSจ้องขยับรายได้สิ้นปีเพิ่ม คาดผลงานไตรมาส2แซงโค้งแรก
Source - ทันหุ้น
Friday, 29 June 2007 10:34
ที่มา : ทันหุ้น
ทันหุ้น-ชัยวัฒน์ เครือชะเอมผู้บริหารUMSเตรียมปรับเป้ารายได้ปีนี้เพิ่มกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 1.8 พันล้านบาท หลังพบผลประกอบการไตรมาส1/50 ออกมาประมาณ 500 ล้านบาท และคาดว่าไตรมาส2/ 50 ก็จะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ลูกค้ายังขยายตัวต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 250 ราย มีลุ้นช่วงที่เหลือของปีนี้อาจแตะ 300 ราย เนื่องจากธุรกิจถ่านหินมีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี พร้อมใส่เงินเพิ่มทุน 2 บริษัทย่อยเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น ด้านโบรกมองสัญญาณเทคนิคดี แนะเก็งกำไรให้กรอบการลงทุนที่แนวรับแรก 16.30 บาท แนวรับถัดไป 16.00 บาท ส่วนแนวต้านแรกอยู่ที่ 17.00 บาท ซึ่งหากผ่านแนวต้านแรกได้มองแนวต้านถัดไป 17.30 บาท
นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) หรือ UMS
เปิดเผยว่าจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลประกอบการในไตรมาส1/50 ที่ออกมาอย่างน่าพอใจประมาณ 500 ล้านบาท และคาดว่าผลดำเนินงานไตรมาส2/50 น่าจะออกมาสูงกว่า จากปัจจัยที่ธุรกิจถ่านหินมีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี และมีลูกค้าสนใจเข้ามาซื้อสินค้าของบริษัทฯอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนลูกค้าอยู่ที่ประมาณ 250 ราย ซึ่งได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้มีความเป็นไปได้ลูกค้าจะเพิ่มเป็น 300 รายได้
ดังนั้นบริษัทจึงมีแผนที่จะปรับเป้ารายได้ปีนี้เพิ่ม จากเดิมที่ได้ตั้งไว้ 1,800 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มีรายได้อยู่ที่ 1,379 ล้านบาท แต่จะปรับเพิ่มเป็นเท่าใดนั้นต้องรอดูงบไตรมาส 2/2550 ว่าจะออกมาอยู่ในทิศทางใด ซึ่งคงจะมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมาที่มีรายได้อยู่ที่ 500 ล้านบาท
เชื่อว่าหลังจากบริษัทได้ประกาศงบการเงินไตรมาสที่ 2/2550 ออกมาแล้วคงจะได้ตัวเลข เป้าหมายรายได้ใหม่ในปีนี้ ส่วนสาเหตุที่บริษัทมีแผนปรับรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นนั้น เป็นเพราะแนวโน้มธุรกิจยังมีการขยายตัวได้ดี ผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งการที่ UMS ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าและจัดจำหน่ายถ่านหิน ก็ย่อมได้รับประโยชน์แน่นอนนายชัยวัฒน์ กล่าว
ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ช่วงนี้ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ไม่รู้สึกแปลกใจ เนื่องจากนักลงทุนคงมองเห็นปัจจัยพื้นฐานของบริษัทว่ามีอนาคตที่ดี มีอัตราการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่อง และให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ และรู้สึกดีใจที่นักลงทุนให้ความเชื่อถือในตัวบริษัท
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่าบริษัทได้เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทย่อยเพิ่ม คือบริษัท ยูเอ็มเอส ไลท์เตอร์ จำกัด ประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้าทางน้ำ และ บริษัท ยูเอ็มเอส ขนส่ง จำกัด ประกอบธุรกิจขนส่งและขนส่งและขนถ่ายสินค้าทางบก ในมูลค่าหุ้นละ 10 บาท ตามราคาพาร์และเพิ่มทุนในบริษัทย่อย ทั้งนี้เดิมทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 24 มกราคม 2550 ของบริษัท ยูเอ็มเอส ไลท์เตอร์ จำกัด อยู่ที่ 1 ล้านบาท และภายหลังการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในวันที่
22 มิถุนายน 2550 ทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 15 ล้านบาท
ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส เพิ่มเป็น 1.49 ล้านหุ้น จากเดิมอยู่ที่ 8.9หมื่นหุ้น,นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยาการ สัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 1 หุ้น จากเดิม 5 พันหุ้น,นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม เหลือสัดส่วนการถือหุ้น 1 หุ้น จากเดิม 5 พันหุ้นและอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 4 หุ้น จากเดิมมีสัดส่วนอยู่ที่ 5 พันหุ้น
สำหรับ บริษัท ยูเอ็มเอส ขนส่ง จำกัด ณ วันที่ 24 มกราคม 2550 ทุนจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลงคืออยู่ที่ 1
ล้านบาท ส่วนสัดส่วนการถือหุ้น บริษัทยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส เพิ่มเป็น 9.9 หมื่นหุ้น จากเดิมมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 8.9 หมื่นหุ้น,นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร สัดส่วนการถือหุ้นลดเหลือ 1 หุ้น จากเดิมสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่
5 พันหุ้น,นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม สัดส่วนลดลงเหลือ 1 หุ้น จากเดิมอยู่ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 5 พันหุ้นและบุคคลอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นลดเหลือ 4 หุ้นจากเดิมอยู่ที่ 5 หุ้น
สาเหตุที่ผมและคุณไพบูลย์ต้องขายหุ้นส่วนตัวที่ถือในบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งออกก็เพื่อต้องการให้บริษัททั้ง2 แห่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัท UMS ที่เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 99% นายชัยวัฒน์ กล่าว
นายกมลชัย พลอินทวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ทางเทคนิค บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด กล่าวว่าหากพิจารณาจากกราฟทางเทคนิคของ UMS ถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดีมากๆ ดังนั้นจึงแนะนำเก็งกำไรโดยให้กรอบการลงทุนที่แนวรับแรก 16.30 บาท แนวรับถัดไป 16.00 บาท ส่วนแนวต้านแรกอยู่ที่ 17.00 บาท ซึ่งหากผ่านแนวต้านแรกได้มองแนวต้านถัดไป 17.30 บาท
ราคาหุ้นUMS (28 มิ.ย.50) เปิดที่ระดับ 16.70 บาท และปิดที่ระดับ 16.40 บาท มูลค่าการซื้อขาย 8.06 ล้านบาท
Source - ทันหุ้น
Friday, 29 June 2007 10:34
ที่มา : ทันหุ้น
ทันหุ้น-ชัยวัฒน์ เครือชะเอมผู้บริหารUMSเตรียมปรับเป้ารายได้ปีนี้เพิ่มกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 1.8 พันล้านบาท หลังพบผลประกอบการไตรมาส1/50 ออกมาประมาณ 500 ล้านบาท และคาดว่าไตรมาส2/ 50 ก็จะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ลูกค้ายังขยายตัวต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 250 ราย มีลุ้นช่วงที่เหลือของปีนี้อาจแตะ 300 ราย เนื่องจากธุรกิจถ่านหินมีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี พร้อมใส่เงินเพิ่มทุน 2 บริษัทย่อยเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น ด้านโบรกมองสัญญาณเทคนิคดี แนะเก็งกำไรให้กรอบการลงทุนที่แนวรับแรก 16.30 บาท แนวรับถัดไป 16.00 บาท ส่วนแนวต้านแรกอยู่ที่ 17.00 บาท ซึ่งหากผ่านแนวต้านแรกได้มองแนวต้านถัดไป 17.30 บาท
นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) หรือ UMS
เปิดเผยว่าจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลประกอบการในไตรมาส1/50 ที่ออกมาอย่างน่าพอใจประมาณ 500 ล้านบาท และคาดว่าผลดำเนินงานไตรมาส2/50 น่าจะออกมาสูงกว่า จากปัจจัยที่ธุรกิจถ่านหินมีแนวโน้มเติบโตในทิศทางที่ดี และมีลูกค้าสนใจเข้ามาซื้อสินค้าของบริษัทฯอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนลูกค้าอยู่ที่ประมาณ 250 ราย ซึ่งได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้มีความเป็นไปได้ลูกค้าจะเพิ่มเป็น 300 รายได้
ดังนั้นบริษัทจึงมีแผนที่จะปรับเป้ารายได้ปีนี้เพิ่ม จากเดิมที่ได้ตั้งไว้ 1,800 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มีรายได้อยู่ที่ 1,379 ล้านบาท แต่จะปรับเพิ่มเป็นเท่าใดนั้นต้องรอดูงบไตรมาส 2/2550 ว่าจะออกมาอยู่ในทิศทางใด ซึ่งคงจะมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมาที่มีรายได้อยู่ที่ 500 ล้านบาท
เชื่อว่าหลังจากบริษัทได้ประกาศงบการเงินไตรมาสที่ 2/2550 ออกมาแล้วคงจะได้ตัวเลข เป้าหมายรายได้ใหม่ในปีนี้ ส่วนสาเหตุที่บริษัทมีแผนปรับรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นนั้น เป็นเพราะแนวโน้มธุรกิจยังมีการขยายตัวได้ดี ผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งการที่ UMS ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าและจัดจำหน่ายถ่านหิน ก็ย่อมได้รับประโยชน์แน่นอนนายชัยวัฒน์ กล่าว
ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ช่วงนี้ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ไม่รู้สึกแปลกใจ เนื่องจากนักลงทุนคงมองเห็นปัจจัยพื้นฐานของบริษัทว่ามีอนาคตที่ดี มีอัตราการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่อง และให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ และรู้สึกดีใจที่นักลงทุนให้ความเชื่อถือในตัวบริษัท
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่าบริษัทได้เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทย่อยเพิ่ม คือบริษัท ยูเอ็มเอส ไลท์เตอร์ จำกัด ประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้าทางน้ำ และ บริษัท ยูเอ็มเอส ขนส่ง จำกัด ประกอบธุรกิจขนส่งและขนส่งและขนถ่ายสินค้าทางบก ในมูลค่าหุ้นละ 10 บาท ตามราคาพาร์และเพิ่มทุนในบริษัทย่อย ทั้งนี้เดิมทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 24 มกราคม 2550 ของบริษัท ยูเอ็มเอส ไลท์เตอร์ จำกัด อยู่ที่ 1 ล้านบาท และภายหลังการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในวันที่
22 มิถุนายน 2550 ทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 15 ล้านบาท
ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส เพิ่มเป็น 1.49 ล้านหุ้น จากเดิมอยู่ที่ 8.9หมื่นหุ้น,นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยาการ สัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 1 หุ้น จากเดิม 5 พันหุ้น,นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม เหลือสัดส่วนการถือหุ้น 1 หุ้น จากเดิม 5 พันหุ้นและอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 4 หุ้น จากเดิมมีสัดส่วนอยู่ที่ 5 พันหุ้น
สำหรับ บริษัท ยูเอ็มเอส ขนส่ง จำกัด ณ วันที่ 24 มกราคม 2550 ทุนจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลงคืออยู่ที่ 1
ล้านบาท ส่วนสัดส่วนการถือหุ้น บริษัทยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส เพิ่มเป็น 9.9 หมื่นหุ้น จากเดิมมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 8.9 หมื่นหุ้น,นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร สัดส่วนการถือหุ้นลดเหลือ 1 หุ้น จากเดิมสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่
5 พันหุ้น,นายชัยวัฒน์ เครือชะเอม สัดส่วนลดลงเหลือ 1 หุ้น จากเดิมอยู่ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 5 พันหุ้นและบุคคลอื่นๆ สัดส่วนการถือหุ้นลดเหลือ 4 หุ้นจากเดิมอยู่ที่ 5 หุ้น
สาเหตุที่ผมและคุณไพบูลย์ต้องขายหุ้นส่วนตัวที่ถือในบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งออกก็เพื่อต้องการให้บริษัททั้ง2 แห่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัท UMS ที่เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 99% นายชัยวัฒน์ กล่าว
นายกมลชัย พลอินทวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ทางเทคนิค บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด กล่าวว่าหากพิจารณาจากกราฟทางเทคนิคของ UMS ถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดีมากๆ ดังนั้นจึงแนะนำเก็งกำไรโดยให้กรอบการลงทุนที่แนวรับแรก 16.30 บาท แนวรับถัดไป 16.00 บาท ส่วนแนวต้านแรกอยู่ที่ 17.00 บาท ซึ่งหากผ่านแนวต้านแรกได้มองแนวต้านถัดไป 17.30 บาท
ราคาหุ้นUMS (28 มิ.ย.50) เปิดที่ระดับ 16.70 บาท และปิดที่ระดับ 16.40 บาท มูลค่าการซื้อขาย 8.06 ล้านบาท
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 42
ดีคนละอย่างๆที่คุณลูกอิสานกล่าวไว้ แต่ถ้าระยะสั้นดูจากกราฟ
umsมีโอกาสอ่อนตัวลงสัก0.5บาทต่อหุ้น ถ้าระยะกลางปีนี้ทั้งปีน่าจะเป็นปีที่ดีของumsน่าจะลงทุนได้ ระยะยาวสัก3ปีขึ้นไป ยอดขายไม่น่าห่วงแต่อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะลดลงครับ
uecจากกราฟน่าจะประคองราคาไปอีกระยะ ส่วนปัจจัยพื้นฐานระยะกลาง3-4ปีนี้ น่าจะเติบโตได้ปีละ20%จากการขยายโรงงานกลุ่มปิโตรเคมี โรงกลั่น โรงไฟฟ้า ส่วนถ้าระยะยาวเกิน5ปีต้องดูการปรับตัวของuecที่จะขยายงานไปส่วนอื่นที่ไม่ใช่ถังแรงดันครับ
umsมีโอกาสอ่อนตัวลงสัก0.5บาทต่อหุ้น ถ้าระยะกลางปีนี้ทั้งปีน่าจะเป็นปีที่ดีของumsน่าจะลงทุนได้ ระยะยาวสัก3ปีขึ้นไป ยอดขายไม่น่าห่วงแต่อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะลดลงครับ
uecจากกราฟน่าจะประคองราคาไปอีกระยะ ส่วนปัจจัยพื้นฐานระยะกลาง3-4ปีนี้ น่าจะเติบโตได้ปีละ20%จากการขยายโรงงานกลุ่มปิโตรเคมี โรงกลั่น โรงไฟฟ้า ส่วนถ้าระยะยาวเกิน5ปีต้องดูการปรับตัวของuecที่จะขยายงานไปส่วนอื่นที่ไม่ใช่ถังแรงดันครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 43
โพสต์แล้วราคาหุ้นลดลงนี่ ไม่รู้จะเป็นสัญญานที่ดีหรือเปล่า :lol:
ตอนโพสต์กระทู้นี้ หุ้นตัวนี้น่าสนใจหรือเปล่าครับ ตอนนั้นราคาอยู่ที่ 6 บ. มีแต่แรงขายจนเหนื่อยใจครับ ผ่านไปแค่ ปีครึ่งเอง กลายเป็นหนังคนละตอนเลย
ตอนโพสต์กระทู้นี้ หุ้นตัวนี้น่าสนใจหรือเปล่าครับ ตอนนั้นราคาอยู่ที่ 6 บ. มีแต่แรงขายจนเหนื่อยใจครับ ผ่านไปแค่ ปีครึ่งเอง กลายเป็นหนังคนละตอนเลย
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 44
ส่วนผลกระทบจากการออกวอร์แรนต์ที่ติดเอาไว้..
ถ้าจำไม่ผิดตอนผลประกอบการ 9 เดือนปีที่แล้ว ums มีการจ่ายปันผลพิเศษค่อนข้างมาก ทั้งที่กิจการต้องการใช้เงินทุนสูงเพราะกิจการกำลังเติบโตก้าวกระโดด ผมเป็นคนโพสต์ไม่เห็นด้วยกับการปันผลนั้น แต่ที่ผมไม่รู้คือบริษัทมีแนวทางในการหาเงินมาขยายกิจการแล้ว นั่นคือการประกาศออกวอร์แรนต์ในงวดสิ้นปี
ที่จริงการออกวอร์แรนต์ครั้งนี้ น่าจะเรียกว่าการขายหุ้น ipo รอบ 2 มากกว่า เพราะ ums ขายหุ้น ipo รอบแรก 20 ล้านหุ้นที่ 7.95 บ/หุ้นได้เงิน 159 ล้าน แต่วอร์แรนต์ที่จะออก 70 ล้านหน่วย ราคาใช้สิทธิ์ 8.5 บ. จะได้เงิน 595 ล้านหรือรอบสองได้เงินมากกว่ารอบแรก 2.7 เท่า
เมื่อได้เงินจากการแปลงสภาพวอร์แรนต์ ปัญหาเงินทุนซึ่งเป็นคอขวดปัจจุบันจะหมดไป จะทำให้ ums ขยายตลาดได้เร็วมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะหากตลาดขยายตัว คนที่เข้าไปยึดตลาดตอนแรกๆจะได้เปรียบกว่าคนที่มาทีหลัง นอกจากนั้นเงินส่วนที่เหลือยังนำไปลงทุนต่อยอดในโครงการใหม่ๆ เช่นการสร้างคลังสินค้าเพิ่มเติมในจังหวัดอื่นๆ การทำถ่านหินก้อน การแปลงถ่านหินเป็นแก็สมีเทน การผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก..
แล้วผลกระทบจากวอร์แรนต์ต่อกำไรต่อหุ้นจะเป็นอย่างไร กรณีแย่ที่สุดที่โยโย่โพสต์มาคือมีการแปลงสภาพทันที จะเกิดการไดลูท 50% แต่นั่นหมายความว่าบริษัทจะได้เงินสดถึง 600 ล้านเข้ามาทันที เงินนี้ถ้าคิดว่าไม่ต้องทำอะไร นำไปซื้อพันธบัตรได้ดอกเบี้ย 5% หรือกำไรเพิ่ม 30 ล้านบาททันที สามารถชดเชยการไดลูทได้ 14% จาก 50%
แต่ในความเป็นจริง บริษัทต้องนำเงินเหล่านี้ไปขยายตลาด ลงทุนในโครงการใหม่ๆ เราสามารถเปรียบเทียบได้หรือเปล่าว่า ปัจจุบัน ums มีส่วนทุน 461 ล้าน สร้างกำไรได้ 210 ล้าน ถ้า ums มีส่วนทุนเพิ่มขึ้นอีก 595 ล้าน จะสร้างกำไรได้เพิ่ม xxx ล้าน <<< นี่เป็นการยกตัวอย่างแบบตัวเลขนะครับ ทำได้จริงหรือเปล่าเป็นสิ่งที่ต้องติดตามดู
ถ้าถามต่อไปว่าที่ผ่านๆมาการแปลงวอร์แรนต์จะมีลักษณะอย่างไร ปกติสิ่งที่จะจูงใจให้ผู้ถือวอร์แปลงเป็นหุ้นคือ..
1.อัตราการปันผล หากบริษัทไหนที่ปันผลสูง คนที่ถือวอร์มักจะแปลงเพื่อมารับปันผลเช่น tluxe-w pranda-w
2.พรีเมี่ยม วอร์แรนต์ที่ซื้อขายราคาสูงกว่า ราคาหุ้นแม่-ราคาใช้สิทธิ์ จะไม่จูงให้มีการแปลงสภาพ เพราะสู้ไปซื้อหุ้นแม่เลยดีกว่า ถ้าถามต่อไปว่าแล้ววอร์แรนต์ลักษณะใดที่ควรจะมีพรีเมี่ยม เท่าที่เคยเจอจะเป็นบริษัทที่มีการเติบโตสูง วอร์แรนต์จะเทรดที่ราคามีพรีเมี่ยม ถ้าถามอีกว่า วอร์ของ ums จะมีพรีเมี่ยมหรือเปล่า ความเห็นส่วนตัวจากที่โพสต์มา ผมเชื่อว่าวอร์ของ ums น่าจะมีพรีเมี่ยมในระดับนึงครับ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหุ้นพื้นฐานดี มีอัตรการเติบโตของผลกำไร เมื่อมีการออกวอร์แรนต์ นักลงทุนมักจะได้กำไรครับ เช่น mint-w3 svi-w2 east-w1 ccet-w it-w se-ed-w เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นในระยะสั้นคือปกติเมื่อมีการรับสิทธิ์วอร์แรนต์หรือ xw ราคาหุ้นจะลดลงเสมือนมีการแปลงวอร์ แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตจะไม่มีการแปลงจริงๆ ดังนั้นเมื่อผ่าน xw ไประยะนึ่ง หุ้นจะกลับมาซื้อขายเสมือนไม่มีวอร์อีกครั้ง ดังนั้นนักลงทุนมักจะได้กำไรจากวอร์แรนต์ครับ และยิ่งหาวอร์มีพรีเมี่ยมสูงเท่าไหร่ กำไรจะมากขึ้นตาม <<<< ข้างต้นเป็นประสบการณ์เท่าที่เคยเจอ ไม่รับรองว่าจะเกิดจริงหรือเปล่านะครับ :lol:
ถ้าจำไม่ผิดตอนผลประกอบการ 9 เดือนปีที่แล้ว ums มีการจ่ายปันผลพิเศษค่อนข้างมาก ทั้งที่กิจการต้องการใช้เงินทุนสูงเพราะกิจการกำลังเติบโตก้าวกระโดด ผมเป็นคนโพสต์ไม่เห็นด้วยกับการปันผลนั้น แต่ที่ผมไม่รู้คือบริษัทมีแนวทางในการหาเงินมาขยายกิจการแล้ว นั่นคือการประกาศออกวอร์แรนต์ในงวดสิ้นปี
ที่จริงการออกวอร์แรนต์ครั้งนี้ น่าจะเรียกว่าการขายหุ้น ipo รอบ 2 มากกว่า เพราะ ums ขายหุ้น ipo รอบแรก 20 ล้านหุ้นที่ 7.95 บ/หุ้นได้เงิน 159 ล้าน แต่วอร์แรนต์ที่จะออก 70 ล้านหน่วย ราคาใช้สิทธิ์ 8.5 บ. จะได้เงิน 595 ล้านหรือรอบสองได้เงินมากกว่ารอบแรก 2.7 เท่า
เมื่อได้เงินจากการแปลงสภาพวอร์แรนต์ ปัญหาเงินทุนซึ่งเป็นคอขวดปัจจุบันจะหมดไป จะทำให้ ums ขยายตลาดได้เร็วมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะหากตลาดขยายตัว คนที่เข้าไปยึดตลาดตอนแรกๆจะได้เปรียบกว่าคนที่มาทีหลัง นอกจากนั้นเงินส่วนที่เหลือยังนำไปลงทุนต่อยอดในโครงการใหม่ๆ เช่นการสร้างคลังสินค้าเพิ่มเติมในจังหวัดอื่นๆ การทำถ่านหินก้อน การแปลงถ่านหินเป็นแก็สมีเทน การผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก..
แล้วผลกระทบจากวอร์แรนต์ต่อกำไรต่อหุ้นจะเป็นอย่างไร กรณีแย่ที่สุดที่โยโย่โพสต์มาคือมีการแปลงสภาพทันที จะเกิดการไดลูท 50% แต่นั่นหมายความว่าบริษัทจะได้เงินสดถึง 600 ล้านเข้ามาทันที เงินนี้ถ้าคิดว่าไม่ต้องทำอะไร นำไปซื้อพันธบัตรได้ดอกเบี้ย 5% หรือกำไรเพิ่ม 30 ล้านบาททันที สามารถชดเชยการไดลูทได้ 14% จาก 50%
แต่ในความเป็นจริง บริษัทต้องนำเงินเหล่านี้ไปขยายตลาด ลงทุนในโครงการใหม่ๆ เราสามารถเปรียบเทียบได้หรือเปล่าว่า ปัจจุบัน ums มีส่วนทุน 461 ล้าน สร้างกำไรได้ 210 ล้าน ถ้า ums มีส่วนทุนเพิ่มขึ้นอีก 595 ล้าน จะสร้างกำไรได้เพิ่ม xxx ล้าน <<< นี่เป็นการยกตัวอย่างแบบตัวเลขนะครับ ทำได้จริงหรือเปล่าเป็นสิ่งที่ต้องติดตามดู
ถ้าถามต่อไปว่าที่ผ่านๆมาการแปลงวอร์แรนต์จะมีลักษณะอย่างไร ปกติสิ่งที่จะจูงใจให้ผู้ถือวอร์แปลงเป็นหุ้นคือ..
1.อัตราการปันผล หากบริษัทไหนที่ปันผลสูง คนที่ถือวอร์มักจะแปลงเพื่อมารับปันผลเช่น tluxe-w pranda-w
2.พรีเมี่ยม วอร์แรนต์ที่ซื้อขายราคาสูงกว่า ราคาหุ้นแม่-ราคาใช้สิทธิ์ จะไม่จูงให้มีการแปลงสภาพ เพราะสู้ไปซื้อหุ้นแม่เลยดีกว่า ถ้าถามต่อไปว่าแล้ววอร์แรนต์ลักษณะใดที่ควรจะมีพรีเมี่ยม เท่าที่เคยเจอจะเป็นบริษัทที่มีการเติบโตสูง วอร์แรนต์จะเทรดที่ราคามีพรีเมี่ยม ถ้าถามอีกว่า วอร์ของ ums จะมีพรีเมี่ยมหรือเปล่า ความเห็นส่วนตัวจากที่โพสต์มา ผมเชื่อว่าวอร์ของ ums น่าจะมีพรีเมี่ยมในระดับนึงครับ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหุ้นพื้นฐานดี มีอัตรการเติบโตของผลกำไร เมื่อมีการออกวอร์แรนต์ นักลงทุนมักจะได้กำไรครับ เช่น mint-w3 svi-w2 east-w1 ccet-w it-w se-ed-w เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นในระยะสั้นคือปกติเมื่อมีการรับสิทธิ์วอร์แรนต์หรือ xw ราคาหุ้นจะลดลงเสมือนมีการแปลงวอร์ แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตจะไม่มีการแปลงจริงๆ ดังนั้นเมื่อผ่าน xw ไประยะนึ่ง หุ้นจะกลับมาซื้อขายเสมือนไม่มีวอร์อีกครั้ง ดังนั้นนักลงทุนมักจะได้กำไรจากวอร์แรนต์ครับ และยิ่งหาวอร์มีพรีเมี่ยมสูงเท่าไหร่ กำไรจะมากขึ้นตาม <<<< ข้างต้นเป็นประสบการณ์เท่าที่เคยเจอ ไม่รับรองว่าจะเกิดจริงหรือเปล่านะครับ :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- Luty97
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1552
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 45
ผมมีทั้งสองตัวครับ แต่ถ้าให้เลือกผมเลือก UMS
มีเหตุผลดังนี้ครับ
- ผมว่าชอบอัตราการเติบโตแบบยั่งยืนและความมั่นคงของรายได้และกำไรของธุรกิจถ่านหินมากกว่าเมดทูออร์เดอร์ครับ (อนาคตอัตรากำไรอาจลดลงได้ แต่ของ UEC ผมกลัวมากกว่าดูจากที่โพสเรื่องคู่แข่ง วัฒนไพศาลเอนจิเนียริ่ง ดูข้อมูลเพิ่มเติมในร้อยคนร้อยหุ้นได้ครับ)
- มองภาพรวมเหมือน UMS ควรมี PE มากกว่าและหลายต่อหลายท่านก็คำนวนพีอีในลักษณะอนุรักษ์นิยมโดยรวม W ทำให้พีอีสูง (แต่ถ้าไม่รวมW ซึ่งมีระยะเวลาใช้สิทธิถึง 3 ปี และจะมีผลไดลูทจริงๆน่าจะเป็นปีท้ายๆ) ซึงถ้าไม่รวม W ราคาวันนี้ พีอี ทั้ง UMS UEC น่าจะใกล้เคียงกันที่ประมาณ 10 เท่า
- จากเรื่องการออก W เหมือนที่พี่ลูกอีสานโพส ผมก็มองว่าในระยะกลาง ผลตอบแทนจากการลงทุนใน UMS น่าจะออกมาได้ดีกว่า UEC โดย UMS นับผลตอบแทนทั้งตัวแม่และลูกรวมกัน (แม่ลูกผูกพัน :lol: ) ซึ่งลองได้คุยกับพี่ที่ชื่นชอบการเล่น W หลายท่าน ต่างก็อยากเล่น UMS-W1 กันทีเดียว
- และสุดท้ายผมว่า UMS ดีทั้งในระยะสั้น ปานกลาง และยาว จากข้อดีของ W และการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน :P
ปล. UEC หรือ UMS ถ้าเลือกไม่ได้ก็ซื้อมันทั้งคู่เลย (ผมมีทั้งคู่ อิอิ ) 8) ขออนุญาติขายของ :lol:
มีเหตุผลดังนี้ครับ
- ผมว่าชอบอัตราการเติบโตแบบยั่งยืนและความมั่นคงของรายได้และกำไรของธุรกิจถ่านหินมากกว่าเมดทูออร์เดอร์ครับ (อนาคตอัตรากำไรอาจลดลงได้ แต่ของ UEC ผมกลัวมากกว่าดูจากที่โพสเรื่องคู่แข่ง วัฒนไพศาลเอนจิเนียริ่ง ดูข้อมูลเพิ่มเติมในร้อยคนร้อยหุ้นได้ครับ)
- มองภาพรวมเหมือน UMS ควรมี PE มากกว่าและหลายต่อหลายท่านก็คำนวนพีอีในลักษณะอนุรักษ์นิยมโดยรวม W ทำให้พีอีสูง (แต่ถ้าไม่รวมW ซึ่งมีระยะเวลาใช้สิทธิถึง 3 ปี และจะมีผลไดลูทจริงๆน่าจะเป็นปีท้ายๆ) ซึงถ้าไม่รวม W ราคาวันนี้ พีอี ทั้ง UMS UEC น่าจะใกล้เคียงกันที่ประมาณ 10 เท่า
- จากเรื่องการออก W เหมือนที่พี่ลูกอีสานโพส ผมก็มองว่าในระยะกลาง ผลตอบแทนจากการลงทุนใน UMS น่าจะออกมาได้ดีกว่า UEC โดย UMS นับผลตอบแทนทั้งตัวแม่และลูกรวมกัน (แม่ลูกผูกพัน :lol: ) ซึ่งลองได้คุยกับพี่ที่ชื่นชอบการเล่น W หลายท่าน ต่างก็อยากเล่น UMS-W1 กันทีเดียว
- และสุดท้ายผมว่า UMS ดีทั้งในระยะสั้น ปานกลาง และยาว จากข้อดีของ W และการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน :P
ปล. UEC หรือ UMS ถ้าเลือกไม่ได้ก็ซื้อมันทั้งคู่เลย (ผมมีทั้งคู่ อิอิ ) 8) ขออนุญาติขายของ :lol:
หลักของความสมดุล
- pongo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1075
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 46
ลองมานึกถึงในด้านผลตอบแทนในส่วนของผู้ถือหุ้นดูบ้างไหมครับ
หากในกรณีทั้ง 2 บริษัทต้องการขยายงาน จะใช้เงินลงทุนในด้านใดบ้าง และผลตอบแทนเป็นอย่างไร
UEC ผมเข้าใจว่า ต้องมีการสร้างโรงงาน ขยายพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อสร้างพอสมควร เงินลงทุนในส่วนนี้กว่าจะให้ผลตอบแทนก็คงประมาณ 1 - 1 1/2 ปี และมีค่าใช้จ่ายส่วนค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้นมา แต่ลักษณะงานก็จะให้ margin ที่สูงกว่ามาชดเชย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนี้แล้ว กำไรก็คงเป็นกอบเป็นกำมากขึ้น หากยังมีงานเข้ามาต่อเนื่องเหมือนในปัจจุบัน
๊UMS ลักษณะเป็นเทรดดิ้ง เงินทุนที่ใช้กน่าจะเป็นลักษณะทุนหมุนเวียนมากว่า จะมีการลงทุนในเครื่องจักรก็เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างถ่านหินอัดก้อน
หรือสร้างโกดังใหม่ เหมือนที่กำลังจะเปิดใช้เร็วๆ นี้
ดังนั้น เงินลงทุนเพิ่มก็น่าจะสร้างผลตอบแทนกลับมาได้เร็วกว่ากรณีของ UEC นักลงทุนที่ใจร้อนก็น่าจะชอบมากว่า เพราะเห็นผลตอบแทนกลับมาเร็วกว่า แต่ margin ของสินค้า ก็จะไม่สูงมากเท่า UEC
ตรงนี้จะเป็นเหตุผลได้ไหมว่า ราคาหุ้นของ UMS ขึ้นเร็วกว่า UEC ผมหมายถึง ถ้าดูกราฟราคาของ 2 ตัวนี้ ผมว่า UMS น่าจะชันกว่า UEC (แต่ผมยังไม่ได้ดูกราฟนะครับ แค่ประมาณเอา)
หากในกรณีทั้ง 2 บริษัทต้องการขยายงาน จะใช้เงินลงทุนในด้านใดบ้าง และผลตอบแทนเป็นอย่างไร
UEC ผมเข้าใจว่า ต้องมีการสร้างโรงงาน ขยายพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อสร้างพอสมควร เงินลงทุนในส่วนนี้กว่าจะให้ผลตอบแทนก็คงประมาณ 1 - 1 1/2 ปี และมีค่าใช้จ่ายส่วนค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้นมา แต่ลักษณะงานก็จะให้ margin ที่สูงกว่ามาชดเชย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนี้แล้ว กำไรก็คงเป็นกอบเป็นกำมากขึ้น หากยังมีงานเข้ามาต่อเนื่องเหมือนในปัจจุบัน
๊UMS ลักษณะเป็นเทรดดิ้ง เงินทุนที่ใช้กน่าจะเป็นลักษณะทุนหมุนเวียนมากว่า จะมีการลงทุนในเครื่องจักรก็เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างถ่านหินอัดก้อน
หรือสร้างโกดังใหม่ เหมือนที่กำลังจะเปิดใช้เร็วๆ นี้
ดังนั้น เงินลงทุนเพิ่มก็น่าจะสร้างผลตอบแทนกลับมาได้เร็วกว่ากรณีของ UEC นักลงทุนที่ใจร้อนก็น่าจะชอบมากว่า เพราะเห็นผลตอบแทนกลับมาเร็วกว่า แต่ margin ของสินค้า ก็จะไม่สูงมากเท่า UEC
ตรงนี้จะเป็นเหตุผลได้ไหมว่า ราคาหุ้นของ UMS ขึ้นเร็วกว่า UEC ผมหมายถึง ถ้าดูกราฟราคาของ 2 ตัวนี้ ผมว่า UMS น่าจะชันกว่า UEC (แต่ผมยังไม่ได้ดูกราฟนะครับ แค่ประมาณเอา)
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 48
uec ผมว่าดูรายได้กับการเติบโตง่ายกว่าเพราะUEC ผมเข้าใจว่า ต้องมีการสร้างโรงงาน ขยายพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อสร้างพอสมควร เงินลงทุนในส่วนนี้กว่าจะให้ผลตอบแทนก็คงประมาณ 1 - 1 1/2 ปี และมีค่าใช้จ่ายส่วนค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้นมา แต่ลักษณะงานก็จะให้ margin ที่สูงกว่ามาชดเชย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนี้แล้ว กำไรก็คงเป็นกอบเป็นกำมากขึ้น หากยังมีงานเข้ามาต่อเนื่องเหมือนในปัจจุบัน
๊UMS ลักษณะเป็นเทรดดิ้ง เงินทุนที่ใช้กน่าจะเป็นลักษณะทุนหมุนเวียนมากว่า จะมีการลงทุนในเครื่องจักรก็เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างถ่านหินอัดก้อน
หรือสร้างโกดังใหม่ เหมือนที่กำลังจะเปิดใช้เร็วๆ นี้
ดังนั้น เงินลงทุนเพิ่มก็น่าจะสร้างผลตอบแทนกลับมาได้เร็วกว่ากรณีของ UEC นักลงทุนที่ใจร้อนก็น่าจะชอบมากว่า เพราะเห็นผลตอบแทนกลับมาเร็วกว่า แต่ margin ของสินค้า ก็จะไม่สูงมากเท่า UEC
ตรงนี้จะเป็นเหตุผลได้ไหมว่า ราคาหุ้นของ UMS ขึ้นเร็วกว่า UEC ผมหมายถึง ถ้าดูกราฟราคาของ 2 ตัวนี้ ผมว่า UMS น่าจะชันกว่า UEC (แต่ผมยังไม่ได้ดูกราฟนะครับ แค่ประมาณเอา)
รายได้มากจากงานประมูล ปีหนึ่งมีโครงการแน่นอน
แต่ums
ดูรายได้ลำบากกว่า
เช่นเมื่อ1-2ปีก่อนมีลูกค้า 70ราย
ปีนี้ต้นปีมีลูกค้า200 ราย
ปลายปีหรือปีหน้า
จะมีลูกค้าแค่ไหน
ประมาณรายได้ลำบากคับผมว่า
- Luty97
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1552
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 50
พี่ HOT ครับที่บอกว่า UEC ประมาณการได้ง่ายกว่าผมว่าก็ง่ายแค่ตอนที่มี BACKLOG นะครับ หลังจากนั้นต้องยอมรับว่าไม่รู้จะมีงานเข้ามาอีกเท่าไร อย่างงี้จะประมาณการได้อย่างไรครับ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเลือกที่จะทำงานได้แบบ UEC มีน้อยราย ทำให้โอกาศได้งานของ UEC สูงมาก
ผิดกลับ UMS ผมว่าโรงงานที่เคยซื้อถ่านหินกับ UMS โอกาศเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือเจ้าอื่นไม่น่ามีในระยะเวลา 2-3 ปีนี้ ทำให้การประมาณการของ UMS ไม่น่าจะยาก เพราะสามารถดูจากจำนวนฐานลูกค้าได้ครับ
ผิดกลับ UMS ผมว่าโรงงานที่เคยซื้อถ่านหินกับ UMS โอกาศเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือเจ้าอื่นไม่น่ามีในระยะเวลา 2-3 ปีนี้ ทำให้การประมาณการของ UMS ไม่น่าจะยาก เพราะสามารถดูจากจำนวนฐานลูกค้าได้ครับ
หลักของความสมดุล
- pongo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1075
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 51
ผมกลับมองกลับกันนะครับhot เขียน: uec ผมว่าดูรายได้กับการเติบโตง่ายกว่าเพราะ
รายได้มากจากงานประมูล ปีหนึ่งมีโครงการแน่นอน
แต่ums
ดูรายได้ลำบากกว่า
เช่นเมื่อ1-2ปีก่อนมีลูกค้า 70ราย
ปีนี้ต้นปีมีลูกค้า200 ราย
ปลายปีหรือปีหน้า
จะมีลูกค้าแค่ไหน
ประมาณรายได้ลำบากคับผมว่า
UEC ผมว่าประเมินรายได้ลำบากกว่า UMS เพราะไม่รู้เลยว่าปีหนึ่งๆ เข้าประมูลงานเท่าไร ถ้าไม่ได้ข้อมูลจากบริษัท และยังไม่รู้อีกว่าประมูลแล้วจะได้งานเท่าไร เพียวแต่รู้แน่ๆ ว่ารายได้โตขึ้นจากวัฎจักรของอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี
แต่ UMS ยังประมาณรายได้จากเป้าจำนวนลูกค้าที่่ผู้บริหารแพลมๆ ออกมาบ้าง และจากการประมาณรายได้ต่อหัวลูกค้า ต้นทุนถ่านหินก็พอจะหาตัวเลขได้ รวมๆ ก็น่าจะคาดเดารายได้และกำไรได้ใกล้เคียงกว่า UEC
โดยสรุปแล้ว ผมว่าก็คงแล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคลนะครับ แต่ผมก็มี UEC เป็นสัดส่วนในพอร์ตที่มากกว่า UMS นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 52
นั่นซิคับ
แต่ละคนคงมองต่างกันนิดหน่อย
แต่ไม่ว่าถือuec ums
บริษัทไหน ก็ถือเป็นบริษัทที่ดีทั้ง2 บริษัทนะผมว่า
แต่ระยะ ยาว
ums ตลาดกว้างเพราะลูกค้าที่ได้200ในปัจจุบัน จากฐานลูกค้า7000ราย
ถ้าในภาวะปกติ หาลูกค้าจะใช้เวลานานมาก
เว้นแต่มีแรงกระตุ้น เห็นค่าของการลดต้นทุน พลังงานมากขึ้น
เช่น
1.ภาวะการแข่นขัน ที่มีต้นทุน แพงขึ้นจากปัจจัยรอบข้าง
2.ค่าเงินที่ทำให้กำไร อตุสาหกรรมต่างต่างกำไรลดลงจนต้องมาดูที่
ต้นทุนพลังงาน
3.ราคาถ่านหินในแต่ละช่วงที่ทำให้ลูกค้าถ่านหินขนาดกลางสนใจซื้อมากขึ้น
สิ่งที่ums ต้องทำมากขึ้นเพราะลูกค้ามากขึ้น
1.มีสต๊อกถ่านหินมากขึ้นให้เพียงพอกับลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
2.การจัดส่งสินค้า แบบครบวงจร
ระยะยาวums
ต้องลงทุนในอุตสาหกรรมถ่านหินมากขึ้น
1.เป็นเจ้าของเหมืองเอง
2.เป็นเจ้าของเรือเทกองหรือ เป็นหุ้นส่วนกับกลุ่มเรือเทกองมากขึ้น
3.เป็นเจ้าท่าเทียบเรือ
4.อตุสหกรรมแปรรูปพลังงาน
5.ส่งการขายถ่านหินกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เวียดนามมากขึ้น
สำหรับuec
รายได้มากจากงานประมูล ในอตุสาหกรรมปิโตเคมี
อนาคต รายได้น่าจะมาจากงาน รับเหมา งานเฉพาะทางที่ต้องการ
ความชำนาญเป็นพิเศษ
เห็นคับ
ว่าการดูรายได้uec ง่ายกว่าums
แต่ละคนคงมองต่างกันนิดหน่อย
แต่ไม่ว่าถือuec ums
บริษัทไหน ก็ถือเป็นบริษัทที่ดีทั้ง2 บริษัทนะผมว่า
แต่ระยะ ยาว
ums ตลาดกว้างเพราะลูกค้าที่ได้200ในปัจจุบัน จากฐานลูกค้า7000ราย
ถ้าในภาวะปกติ หาลูกค้าจะใช้เวลานานมาก
เว้นแต่มีแรงกระตุ้น เห็นค่าของการลดต้นทุน พลังงานมากขึ้น
เช่น
1.ภาวะการแข่นขัน ที่มีต้นทุน แพงขึ้นจากปัจจัยรอบข้าง
2.ค่าเงินที่ทำให้กำไร อตุสาหกรรมต่างต่างกำไรลดลงจนต้องมาดูที่
ต้นทุนพลังงาน
3.ราคาถ่านหินในแต่ละช่วงที่ทำให้ลูกค้าถ่านหินขนาดกลางสนใจซื้อมากขึ้น
สิ่งที่ums ต้องทำมากขึ้นเพราะลูกค้ามากขึ้น
1.มีสต๊อกถ่านหินมากขึ้นให้เพียงพอกับลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
2.การจัดส่งสินค้า แบบครบวงจร
ระยะยาวums
ต้องลงทุนในอุตสาหกรรมถ่านหินมากขึ้น
1.เป็นเจ้าของเหมืองเอง
2.เป็นเจ้าของเรือเทกองหรือ เป็นหุ้นส่วนกับกลุ่มเรือเทกองมากขึ้น
3.เป็นเจ้าท่าเทียบเรือ
4.อตุสหกรรมแปรรูปพลังงาน
5.ส่งการขายถ่านหินกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เวียดนามมากขึ้น
สำหรับuec
รายได้มากจากงานประมูล ในอตุสาหกรรมปิโตเคมี
อนาคต รายได้น่าจะมาจากงาน รับเหมา งานเฉพาะทางที่ต้องการ
ความชำนาญเป็นพิเศษ
เห็นคับ
ว่าการดูรายได้uec ง่ายกว่าums
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 55
UEC ก็สู้เช่นกันเพราะปิโตเคมียังขยายต่อไปอีก2-3ปีโดยประมาณ
แต่ยังไงเมื่อเทียบGrowthแล้วUMSมีpotential มากกว่าครับ
ตอนนี้กระแสย้อนยุคกลับมาแล้ว โรงงานมาใช้ถ่านหินมากขึ้นเยอะ
คาดว่าลูกค้า 300 รายไม่น่ายากนะ
แต่ยังไงเมื่อเทียบGrowthแล้วUMSมีpotential มากกว่าครับ
ตอนนี้กระแสย้อนยุคกลับมาแล้ว โรงงานมาใช้ถ่านหินมากขึ้นเยอะ
คาดว่าลูกค้า 300 รายไม่น่ายากนะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 58
ผมอยากได้ลูกน้องถ่านด้วยอ่ะครับnaris เขียน:รักพี่เสียดายน้อง ก็ขอแม่ทั้งคู่เลยดิ. จะไปยากอะไร :lol:
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 59
ไปขอน้องถ่านระวังนะพี่ .. รายนั้นเค้าท้องไปแล้ว อีกไม่นานลูกคงคลอด เอ... หรือกลับกลายเป็นดีกว่า :lol:naris เขียน:รักพี่เสียดายน้อง ก็ขอแม่ทั้งคู่เลยดิ. จะไปยากอะไร :lol:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
UEC & UMS หากถึงคราวจะต้องเลือก
โพสต์ที่ 60
ไปขอน้องถ่านระวังนะพี่ .. รายนั้นเค้าท้องไปแล้ว อีกไม่นานลูกคงคลอด เอ... หรือกลับกลายเป็นดีกว่าyoyo เขียน:
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่