วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
- bankniti
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 627
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 1
อันนี้เอามาจาก http://speculator.diaryclub.com/?date=20070713 ซึ่งผมคาดว่าน่าจะเขียนขึ้นราวๆ ปี 2546 เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการโจมตีค่าเงินบาทในช่วงปี 2539-2540 โดยในเวปไซด์ดังกล่าวบอกว่าเป็นบทความจาก รศ. ดร. ถวิล นิลใบ เนื้อหามีดังนี้
ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนเป็นที่วิตกว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกและต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลให้คำอธิบายว่าเป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุลและภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับสูง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้ามา ค่าเงินบาทจึงแข็ง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งดูแลเงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิดเห็นว่ามีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาสู่ประเทศสูงผิดปกติ และได้เปิดเผยว่ามีการเก็งกาํไรค่าเงินบาทเกิดขึ้น จึงได้มีมาตรการตอบโตบรรดานักเกร็งกำไรดังกล่าว ทำให้นึกถึงเรื่องการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2539 และต้นปี 2540 ซึ่งนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติไทย
การโจมตีค่าเงินบาทในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบหมดประเทศต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากคงที่เป็นลอยตัว สถาบันการเงินและภาคธุรกิจต้องประสบกับปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากต้องล้มละลายและฉุดให้เศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรง การโจมตีค่าเงินถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยและสังคมไทย ในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและอยู่นอกสายตาของนักเก็งกำไรค่าเงิน เราจึงไม่คิดว่าคนกลุ่มนี้จะมาสนใจโจมตีค่าเงินเราแต่ในช่วง 2530 2539 ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันดีในสายตาของชาวโลกในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงในลำดับต้น ๆ ของโลก รวมทั้งได้รับคำชมเชยจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF และ World Bank ในการบริหารจัดการประเทศจนเติบโตในระดับที่สูงและต่อเนื่อง
ความโดดเด่นของประเทศไทยจึงเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร เมื่อโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย กลุ่มนักเก็งกำไรจึงทำการโจมตีค่าเงินบาท โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน บทความนี้จะย้อนกลับไปในอดีตนำเสนอวิธีการที่นักเก็งกำไรใช้โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539 และในช่วงต้นปี 2540 ทั้งนี้เพื่อเป็นบทเรียนและข้อคิดให้กับเรา
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการโจมตีค่าเงินบาท เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงความหมายของการโจมตีค่าเงิน (currency attack) ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแสวงหากำไรจากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่ง
เพื่อทำกำไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย เป็นวิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ ถ้าจะเปรียบเทียบกับ การเก็งกำไรค่าเงิน (currency speculation) จะมีนิยามเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้น ขนาดของการเก็งกำไรจึงมีจำนวนมากและกระทำอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะต่อสู้กับมาตรการที่ธนาคารชาติออกมาตอบโต้ โดยปกติการโจมตีค่าเงินมักจะกระทำกับประเทศที่ใชระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system)
ที่ทางการกำหนดค่าเงินไว้สูงเกินไป (over value) และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำนวย เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรังหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำรอง เป็นต้น ส่วนการเก็งกำไรค่าเงินมักจะกระทำสำหรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ Quantum Fund ซึ่งดูแลโดยนาย George Soros ที่พวกเราคุ้นเคยชื่อนี้ดี และเข้ามาร่วมโจมตีค่าเงินบาทด้วย นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนมากมักจะเป็นรูปแบบของการเก็งกำไร เช่น ล่าสุดที่ทำกับประเทศไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ช่องทางการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539
และต้นปี 2540 มีเป็นดังนี้
ช่องทางแรก เป็นการโจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มจากนักเก็งกำไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แล้วนำไปซื้อดอลลาร์ทันที ธนาคารพาณิชย์จะนำเงินบาทที่นักเก็งกำไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งเมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (เงินบาท) นั่นคือนักเก็งกำไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการโจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้
แต่หวังว่าเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะนำ
ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท แต่ตอนขายคืน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำไร 5 บาทต่อดอลลาร์เมื่อหักดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำไรเหลือ (หลังลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำไรหลายกลุ่มทำพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำรองทางการก็จะเหลือน้อยลง คำถามคือธนาคารชาติทราบหรือไม่ว่าถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำตอบคือ ทราบดี คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมจึงปล่อยให้ทำ
คำตอบคือ มั่นใจว่าจะชนะ กล่าวคือ ถ้าธนาคารชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำไร
ซึ่งมักจะกู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำหนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ การต่อสู้กันระหว่างธนาคารชาติกับนักเก็งกำไรมี 2 ยก
ยกแรก เกิดขึ้นประมาณปลายปี 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายชนะ ยกที่สอง เกิดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้ธนาคารชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ ปิดช่องทางการโจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์
เมื่อธนาคารชาติปิดช่องทางดังกล่าว นักเก็งกำไรต่างชาติเริ่มโจมตีผ่านช่องทางที่สองคือผ่านตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น วิธีนี้ค่อนข้างซับซ้อนกว่าวิธีแรก กล่าวคือ นักเก็งกำไรจะขอกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่สามารถนำไปซื้อดอลลาร์ได้ เพราะธนาคารชาติห้ามนักเก็งกำไรจะนำเงินบาทที่กู้ไปซื้อหุ้นในคราบของนักลงทุนซึ่งทางการไม่ห้าม เมื่อเข้าไปซื้อหุ้นวันนี้พรุ่งนี้ก็จะขายหุ้นทิ้ง จากนั้นนำเงินบาทที่ได้จาการขายหุ้นไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารพาณิชย์ธนาคารพาณิชย์ก็นำไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักลงทุน เป็นผลทำให้ทุนสำรองของทางการลดลงเหมือนกับช่องทางแรก แต่ช่องทางนี้ซับซ้อนและมีต้นทุนในการโจมตีเพิ่มขึ้นจากการซื้อขายหุ้น แต่เป็นวิธีที่มีแนวร่วม กล่าวคือ เมื่อขายหุ้นทิ้งราคาดิ่งลง ทำให้นักลงทุนที่เข้ามีเล่นหุ้นตามปกติ ขายหุ้นตามแล้วนำเงินที่ได้แลกดอลลาร์กลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ทุนสำรองลดลง เมื่อธนาคารชาติทราบการโจมตีด้วยวิธีนี้ จึงห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ให้กู้กับต่างชาติไม่ว่ากรณีใดเท่ากับเป็นการแบ่งตลาดเงินบาทในประเทศ (ON SHORE MARKET) ออกจากตลาดต่างประเทศ(OFF SHORE MARKET)
เดี๋ยวอ่านต่อ...
ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนเป็นที่วิตกว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกและต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลให้คำอธิบายว่าเป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุลและภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับสูง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้ามา ค่าเงินบาทจึงแข็ง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งดูแลเงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิดเห็นว่ามีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาสู่ประเทศสูงผิดปกติ และได้เปิดเผยว่ามีการเก็งกาํไรค่าเงินบาทเกิดขึ้น จึงได้มีมาตรการตอบโตบรรดานักเกร็งกำไรดังกล่าว ทำให้นึกถึงเรื่องการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2539 และต้นปี 2540 ซึ่งนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติไทย
การโจมตีค่าเงินบาทในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบหมดประเทศต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากคงที่เป็นลอยตัว สถาบันการเงินและภาคธุรกิจต้องประสบกับปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากต้องล้มละลายและฉุดให้เศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรง การโจมตีค่าเงินถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยและสังคมไทย ในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและอยู่นอกสายตาของนักเก็งกำไรค่าเงิน เราจึงไม่คิดว่าคนกลุ่มนี้จะมาสนใจโจมตีค่าเงินเราแต่ในช่วง 2530 2539 ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันดีในสายตาของชาวโลกในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงในลำดับต้น ๆ ของโลก รวมทั้งได้รับคำชมเชยจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF และ World Bank ในการบริหารจัดการประเทศจนเติบโตในระดับที่สูงและต่อเนื่อง
ความโดดเด่นของประเทศไทยจึงเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร เมื่อโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย กลุ่มนักเก็งกำไรจึงทำการโจมตีค่าเงินบาท โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน บทความนี้จะย้อนกลับไปในอดีตนำเสนอวิธีการที่นักเก็งกำไรใช้โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539 และในช่วงต้นปี 2540 ทั้งนี้เพื่อเป็นบทเรียนและข้อคิดให้กับเรา
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการโจมตีค่าเงินบาท เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงความหมายของการโจมตีค่าเงิน (currency attack) ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแสวงหากำไรจากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่ง
เพื่อทำกำไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย เป็นวิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ ถ้าจะเปรียบเทียบกับ การเก็งกำไรค่าเงิน (currency speculation) จะมีนิยามเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้น ขนาดของการเก็งกำไรจึงมีจำนวนมากและกระทำอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะต่อสู้กับมาตรการที่ธนาคารชาติออกมาตอบโต้ โดยปกติการโจมตีค่าเงินมักจะกระทำกับประเทศที่ใชระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system)
ที่ทางการกำหนดค่าเงินไว้สูงเกินไป (over value) และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำนวย เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรังหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำรอง เป็นต้น ส่วนการเก็งกำไรค่าเงินมักจะกระทำสำหรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ Quantum Fund ซึ่งดูแลโดยนาย George Soros ที่พวกเราคุ้นเคยชื่อนี้ดี และเข้ามาร่วมโจมตีค่าเงินบาทด้วย นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนมากมักจะเป็นรูปแบบของการเก็งกำไร เช่น ล่าสุดที่ทำกับประเทศไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ช่องทางการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539
และต้นปี 2540 มีเป็นดังนี้
ช่องทางแรก เป็นการโจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มจากนักเก็งกำไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แล้วนำไปซื้อดอลลาร์ทันที ธนาคารพาณิชย์จะนำเงินบาทที่นักเก็งกำไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งเมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (เงินบาท) นั่นคือนักเก็งกำไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการโจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้
แต่หวังว่าเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะนำ
ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท แต่ตอนขายคืน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำไร 5 บาทต่อดอลลาร์เมื่อหักดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำไรเหลือ (หลังลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำไรหลายกลุ่มทำพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำรองทางการก็จะเหลือน้อยลง คำถามคือธนาคารชาติทราบหรือไม่ว่าถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำตอบคือ ทราบดี คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมจึงปล่อยให้ทำ
คำตอบคือ มั่นใจว่าจะชนะ กล่าวคือ ถ้าธนาคารชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำไร
ซึ่งมักจะกู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำหนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ การต่อสู้กันระหว่างธนาคารชาติกับนักเก็งกำไรมี 2 ยก
ยกแรก เกิดขึ้นประมาณปลายปี 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายชนะ ยกที่สอง เกิดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้ธนาคารชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ ปิดช่องทางการโจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์
เมื่อธนาคารชาติปิดช่องทางดังกล่าว นักเก็งกำไรต่างชาติเริ่มโจมตีผ่านช่องทางที่สองคือผ่านตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น วิธีนี้ค่อนข้างซับซ้อนกว่าวิธีแรก กล่าวคือ นักเก็งกำไรจะขอกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่สามารถนำไปซื้อดอลลาร์ได้ เพราะธนาคารชาติห้ามนักเก็งกำไรจะนำเงินบาทที่กู้ไปซื้อหุ้นในคราบของนักลงทุนซึ่งทางการไม่ห้าม เมื่อเข้าไปซื้อหุ้นวันนี้พรุ่งนี้ก็จะขายหุ้นทิ้ง จากนั้นนำเงินบาทที่ได้จาการขายหุ้นไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารพาณิชย์ธนาคารพาณิชย์ก็นำไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักลงทุน เป็นผลทำให้ทุนสำรองของทางการลดลงเหมือนกับช่องทางแรก แต่ช่องทางนี้ซับซ้อนและมีต้นทุนในการโจมตีเพิ่มขึ้นจากการซื้อขายหุ้น แต่เป็นวิธีที่มีแนวร่วม กล่าวคือ เมื่อขายหุ้นทิ้งราคาดิ่งลง ทำให้นักลงทุนที่เข้ามีเล่นหุ้นตามปกติ ขายหุ้นตามแล้วนำเงินที่ได้แลกดอลลาร์กลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ทุนสำรองลดลง เมื่อธนาคารชาติทราบการโจมตีด้วยวิธีนี้ จึงห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ให้กู้กับต่างชาติไม่ว่ากรณีใดเท่ากับเป็นการแบ่งตลาดเงินบาทในประเทศ (ON SHORE MARKET) ออกจากตลาดต่างประเทศ(OFF SHORE MARKET)
เดี๋ยวอ่านต่อ...
- bankniti
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 627
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 2
ต่อครับ...
ช่องทางที่สาม เมื่อธนาคารชาติปิดทั้งสองช่องทาง นักเก็งกำไรค่าเงินก็หันไม่สามารถหาเงินบาทในประเทศไม่ได้ ก็หากู้เงินบาทจากตลาดนอกประเทศ เช่น ในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง ลอนดอนและนิวยอร์ค แล้วโอนเข้ามาขอแลกซื้อดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์นำเงินบาทที่ได้ซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร ปริมาณเงินบาทในตลาดนอกประเทศมีเท่าใดไม่มีตัวเลขยืนยัน แต่เป็นที่ทราบว่ามีขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาท ปริมาณเงินบาทในตลาดนอกประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารชาติเป็นผู้ปล่อยเงินบาทเข้าไปจากการทำธุรกรรม swap ของธนาคารชาติในการต่อสู้กับนักเก็งกำไร (การทำ swap ของธนาคารชาติคือ การขอกู้ดอลลาร์สหรัฐจากตลาดนอกประเทศโดยนำเงินบาทไปแลก จากนั้นมีสัญญาขอซื้อเงินบาทกลับพร้อมส่งมอบดอลลาร์สหรัฐคืน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน รายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ โดย คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ
( ศปร) )
ช่องทางที่สี่ เป็นการโจมตีที่นักเก็งกำไรทำขึ้นในตลาดนอกประเทศโดยการหาเงินบาทในตลาดนอกประเทศแล้วนำมาทุ่มซื้อดอลลาร์ ตลาดเงินนอกประเทศที่ทำกันมากคือตลาดลอนดอนและตลาดนิวยอร์ค ผลก็คือจะทำให้เงินบาทเสื่อมค่าลงสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารชาติกำหนดในประเทศ
ซึ่งมีผลทางจิตวิทยา ทำให้นักลงทุนต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยวิตกว่าค่าเงินบาทจะเสื่อมค่า (นักเก็งกำไรทำพร้อมกับมีการปล่อยข่าว) จึงต้องรีบถอนเงินออก เป็นผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐไหลออก
ว่าที่จริงแล้ว การโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นยังมีช่องทางที่ห้า คือ
การโจมตีค่าเงินบาทด้วยคนไทยกันเอง กล่าวคือ จะมีคนไทย 2 กลุ่มที่รู้ล่วงหน้าว่า (คนทั้งสองกลุ่มนี้ท่านผู้อ่านคงพอเดาได้ว่ากลุ่มไหน) ธนาคารชาติจะต้องปล่อยให้เงินบาทลอยตัว เนื่องจากทุนสำรองทางการสุทธิที่มีอยู่เหลือน้อยมาก ต้องลอยตัวค่าเงินบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงได้นำเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ตุนไว้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน 2540 มีตัวเลขยืนยันว่ามีการโจมตีผ่านช่องทางนี้พอสมควร (อ่านเพิ่มเติมในรายงานของ ศปร.)
ผลจากการโจมตีเงินบาทในช่วงตั่งแต่ปลายปี 2539 ถึงต้นปี 2540 ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวน 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายปี 2539 เหลือสุทธิเพียง 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ทั้งหมดที่เล่ามา เป็นเหตุการณ์โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา
สำหรับวิธีการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดขึ้นจากนักเก็งกำไรค่าเงิน (ส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ) นำเงินดอลลาร์สหรัฐไปซื้อเงินบาทในตลาดนอกประเทศ แล้วนำมาให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและเทศที่อยู่ในประเทศกู้ยืม การทำเช่นนี้จะได้ผลประโยชน์สองทาง
ทางแรกจะได้ผลต่างของดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยเงินบาทสูงกว่าดอกเบี้ยดอลลาร์สหรัฐ) และทางที่สองมุ่งหวังว่าค่าเงิน
มีข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งของการโจมตีค่าเงินบาทและการเก็งกำไรค่าเงิน ดังที่เล่ามาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตลาดเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
ถ้าตลาดนี้มีขนาดใหญ่มากเท่าใด จะทำให้ธนาคารชาติบริหารนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างลำบาก และเป็นช่องทางที่ทำให้นักเก็งกาํไรโจมตีหรือเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ โดยปกติแิล้วประเทศต่า่งๆ มักจะควบคุมไม่ให้เงินของตัวเองออกไปเผ่นพล่านนอกประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดเล็ก ครั้งหนึ่งจำได้ว่า ประเทศไทยมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า พร้อมกับประกาศว่าจะให้เงินบาทเป็นเงินสกุลในภูมิภาคอินโดจีนเพื่อรองรับและกระตุ้นการค้าในภูมิภาค รวมทั้งมีนโยบายผ่อนปรนการปริวรรตเงินตรา อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวตลาดเงินบาทนอกประเทศ
และเมื่อเร็ว ๆ นี้เช่นกัน นายกทักษิณ ประกาศว่าต้องการให้เงินบาทเป็นเงินสกุลที่อ้างอิงในการค้าแถบภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่จะปล่อยให้เงินบาทออกนอกประเทศจะมีมาก (ท่านนายกได้กล่าวชวนให้สิงคโปร์ใช้เงินดอลลาร์สิงคโปร์เข้าร่วมด้วย / หมายเหตุ ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ก็มีการควบคุมเงินตราของตัวเองไม่ให้ออกไปนอกประเทศมากเกินไป) ไม่ทราบว่านโยบายนี้ท่านนายกเอาจริงหรือว่าเป็นเพียงแสดงวิชั่น แต่ผมคาดว่าน่าจะเป็นเหตุผลประการหลังมากกว่า เพราะถ้าเอาจริง ธนาคารชาติคงต้องปวดหัวแน่ ๆ บาทจะเพิ่มค่ามากกว่าปกติ (ตั่งแต่ต้นปีค่าเงินบาทมีแนวโน้มเพิ่มค่า)
และการที่นักเก็งกำไรขายบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศจะมีแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งค่า ซึ่งจะมีผลผลักดันและผลทางจิตวิทยาหวังทำให้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าตามไปด้วย เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่า นักเก็งกำไรต่างประเทศก็จะได้กำไรอีกต่อ คือเมื่อแปลงเงินบาทที่ซื้อมาช่วงแรกกลับไปเป็นดอลลาร์
บทความโดย รศ. ดร. ถวิล นิลใบ
ช่องทางที่สาม เมื่อธนาคารชาติปิดทั้งสองช่องทาง นักเก็งกำไรค่าเงินก็หันไม่สามารถหาเงินบาทในประเทศไม่ได้ ก็หากู้เงินบาทจากตลาดนอกประเทศ เช่น ในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง ลอนดอนและนิวยอร์ค แล้วโอนเข้ามาขอแลกซื้อดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์นำเงินบาทที่ได้ซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร ปริมาณเงินบาทในตลาดนอกประเทศมีเท่าใดไม่มีตัวเลขยืนยัน แต่เป็นที่ทราบว่ามีขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาท ปริมาณเงินบาทในตลาดนอกประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารชาติเป็นผู้ปล่อยเงินบาทเข้าไปจากการทำธุรกรรม swap ของธนาคารชาติในการต่อสู้กับนักเก็งกำไร (การทำ swap ของธนาคารชาติคือ การขอกู้ดอลลาร์สหรัฐจากตลาดนอกประเทศโดยนำเงินบาทไปแลก จากนั้นมีสัญญาขอซื้อเงินบาทกลับพร้อมส่งมอบดอลลาร์สหรัฐคืน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน รายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ โดย คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ
( ศปร) )
ช่องทางที่สี่ เป็นการโจมตีที่นักเก็งกำไรทำขึ้นในตลาดนอกประเทศโดยการหาเงินบาทในตลาดนอกประเทศแล้วนำมาทุ่มซื้อดอลลาร์ ตลาดเงินนอกประเทศที่ทำกันมากคือตลาดลอนดอนและตลาดนิวยอร์ค ผลก็คือจะทำให้เงินบาทเสื่อมค่าลงสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารชาติกำหนดในประเทศ
ซึ่งมีผลทางจิตวิทยา ทำให้นักลงทุนต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยวิตกว่าค่าเงินบาทจะเสื่อมค่า (นักเก็งกำไรทำพร้อมกับมีการปล่อยข่าว) จึงต้องรีบถอนเงินออก เป็นผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐไหลออก
ว่าที่จริงแล้ว การโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นยังมีช่องทางที่ห้า คือ
การโจมตีค่าเงินบาทด้วยคนไทยกันเอง กล่าวคือ จะมีคนไทย 2 กลุ่มที่รู้ล่วงหน้าว่า (คนทั้งสองกลุ่มนี้ท่านผู้อ่านคงพอเดาได้ว่ากลุ่มไหน) ธนาคารชาติจะต้องปล่อยให้เงินบาทลอยตัว เนื่องจากทุนสำรองทางการสุทธิที่มีอยู่เหลือน้อยมาก ต้องลอยตัวค่าเงินบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงได้นำเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ตุนไว้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน 2540 มีตัวเลขยืนยันว่ามีการโจมตีผ่านช่องทางนี้พอสมควร (อ่านเพิ่มเติมในรายงานของ ศปร.)
ผลจากการโจมตีเงินบาทในช่วงตั่งแต่ปลายปี 2539 ถึงต้นปี 2540 ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวน 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายปี 2539 เหลือสุทธิเพียง 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ทั้งหมดที่เล่ามา เป็นเหตุการณ์โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา
สำหรับวิธีการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดขึ้นจากนักเก็งกำไรค่าเงิน (ส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ) นำเงินดอลลาร์สหรัฐไปซื้อเงินบาทในตลาดนอกประเทศ แล้วนำมาให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและเทศที่อยู่ในประเทศกู้ยืม การทำเช่นนี้จะได้ผลประโยชน์สองทาง
ทางแรกจะได้ผลต่างของดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยเงินบาทสูงกว่าดอกเบี้ยดอลลาร์สหรัฐ) และทางที่สองมุ่งหวังว่าค่าเงิน
มีข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งของการโจมตีค่าเงินบาทและการเก็งกำไรค่าเงิน ดังที่เล่ามาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตลาดเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
ถ้าตลาดนี้มีขนาดใหญ่มากเท่าใด จะทำให้ธนาคารชาติบริหารนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างลำบาก และเป็นช่องทางที่ทำให้นักเก็งกาํไรโจมตีหรือเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ โดยปกติแิล้วประเทศต่า่งๆ มักจะควบคุมไม่ให้เงินของตัวเองออกไปเผ่นพล่านนอกประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดเล็ก ครั้งหนึ่งจำได้ว่า ประเทศไทยมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า พร้อมกับประกาศว่าจะให้เงินบาทเป็นเงินสกุลในภูมิภาคอินโดจีนเพื่อรองรับและกระตุ้นการค้าในภูมิภาค รวมทั้งมีนโยบายผ่อนปรนการปริวรรตเงินตรา อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวตลาดเงินบาทนอกประเทศ
และเมื่อเร็ว ๆ นี้เช่นกัน นายกทักษิณ ประกาศว่าต้องการให้เงินบาทเป็นเงินสกุลที่อ้างอิงในการค้าแถบภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่จะปล่อยให้เงินบาทออกนอกประเทศจะมีมาก (ท่านนายกได้กล่าวชวนให้สิงคโปร์ใช้เงินดอลลาร์สิงคโปร์เข้าร่วมด้วย / หมายเหตุ ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ก็มีการควบคุมเงินตราของตัวเองไม่ให้ออกไปนอกประเทศมากเกินไป) ไม่ทราบว่านโยบายนี้ท่านนายกเอาจริงหรือว่าเป็นเพียงแสดงวิชั่น แต่ผมคาดว่าน่าจะเป็นเหตุผลประการหลังมากกว่า เพราะถ้าเอาจริง ธนาคารชาติคงต้องปวดหัวแน่ ๆ บาทจะเพิ่มค่ามากกว่าปกติ (ตั่งแต่ต้นปีค่าเงินบาทมีแนวโน้มเพิ่มค่า)
และการที่นักเก็งกำไรขายบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศจะมีแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งค่า ซึ่งจะมีผลผลักดันและผลทางจิตวิทยาหวังทำให้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าตามไปด้วย เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่า นักเก็งกำไรต่างประเทศก็จะได้กำไรอีกต่อ คือเมื่อแปลงเงินบาทที่ซื้อมาช่วงแรกกลับไปเป็นดอลลาร์
บทความโดย รศ. ดร. ถวิล นิลใบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 3
โค้ด: เลือกทั้งหมด
และการที่นักเก็งกำไรขายบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศจะมีแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งค่า ซึ่งจะมีผลผลักดันและผลทางจิตวิทยาหวังทำให้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าตามไปด้วย เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่า นักเก็งกำไรต่างประเทศก็จะได้กำไรอีกต่อ คือเมื่อแปลงเงินบาทที่ซื้อมาช่วงแรกกลับไปเป็นดอลลาร์
และการที่นักเก็งกำไรซื้อบาทขายดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศจะมีแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งค่า ซึ่งจะมีผลผลักดันและผลทางจิตวิทยาหวังทำให้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าตามไปด้วย เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่า นักเก็งกำไรต่างประเทศก็จะได้กำไรอีกต่อ คือเมื่อแปลงเงินบาทที่ซื้อมาช่วงแรกกลับไปเป็นดอลลาร์
-
- Verified User
- โพสต์: 554
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 4
ผมล่ะกลัวว่าปีนี้จะโดนเล่นค่าเงินอีก เพราะในสิงคโปร์มีเงินบาท ประมาณ สองแสนล้านบาท(ถ้าจำไม่ผิด) ถ้าเค้าเริ่มเมื่อไหร่เงินพวกนี้ก็จะไหลมาในไทย แล้วอย่าลืมว่าแบงค์ขาดทุนจากการนำเงินบาทไปแทรกแซงหมดไปเยอะมาก แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น แถมยังแข็งต่อเนื่องไปอีก แบงค์ชาติอาจจะมีมาตรการที่เหนือความคาดหมายออกมาอีกรอบก็ได้นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 6
เห็นข่าวว่า จะออกพันธบัตรระดมเงินบาท
ไปแลกเป็น ดอลล่าห์
แล้วไปลงทุนฝาก กินดอกใน USA
อ่านจาก นสพ กรุงเทพธุรกิจ
ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดครับ
ไปแลกเป็น ดอลล่าห์
แล้วไปลงทุนฝาก กินดอกใน USA
อ่านจาก นสพ กรุงเทพธุรกิจ
ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดครับ
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 7
ปัญหาหนึ่งก็คือ เงินหยวน ที่ไม่ยอมแข็งค่าขึ้น ทำให้เงินบาทต้องรับบทเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ เพราะฝรั่งมีตัวเลือกจำกัด แล้วด้วยเหตุบางอย่าง ทุกคนมาเลือกให้เงินบาทเป็นตัวแทนสกุลเงินในภูมิภาค
เคยฟังจาก cnbc หลายเดือนก่อน
เคยฟังจาก cnbc หลายเดือนก่อน
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
คิดดีๆๆ..
โพสต์ที่ 8
คิดให้ดีๆ นะครับ ครั้งนี้มันกลับด้านกับของ ปี 40 นะครับ
ครั้งนี้เราพยุงบาทไม่ให้แข็ง
แต่ ปี 40
เราพยุงบาทไม่ให้อ่อน
ผมว่ามันต่างกันนะ ครั้งนี้โอกาสที่เราจะล้มมีอย่างเดียว อเมริกา มันพัง
ครั้งนี้เราพยุงบาทไม่ให้แข็ง
แต่ ปี 40
เราพยุงบาทไม่ให้อ่อน
ผมว่ามันต่างกันนะ ครั้งนี้โอกาสที่เราจะล้มมีอย่างเดียว อเมริกา มันพัง
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 10
ไม่ทราบครับ อาจเป็นเรื่องความยากง่ายในการดำเนินธุรกรรม หรือกฏระเบียบบางอย่างของไทยที่ง่ายกว่าที่อื่น ในรายการไมได้พูดถึง
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 11
เพราะฝรั่ง manipulate เงินบาทได้ง่ายกว่า เนื่องจากเป็นระบบเงินเสรี เข้าออกสะดวก หน้าตักน้อย เงินเข้าออกไม่เท่าไหร่ ก็ทำให้ค่าเงินเปลี่ยนแปลงได้มากBoring Stock Lover เขียน:ปัญหาหนึ่งก็คือ เงินหยวน ที่ไม่ยอมแข็งค่าขึ้น ทำให้เงินบาทต้องรับบทเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ เพราะฝรั่งมีตัวเลือกจำกัด แล้วด้วยเหตุบางอย่าง ทุกคนมาเลือกให้เงินบาทเป็นตัวแทนสกุลเงินในภูมิภาค
เคยฟังจาก cnbc หลายเดือนก่อน
เงินหยวน มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายโดยทางการจีน ทำให้ฝรั่งซื้อสะสมได้ยาก แถมการที่พวก Hedge Fund จะโจมตีค่าเงินหยวน เหมือนเทน้ำเปล่าในแก้ว ลงในทะเล แล้วหวังจะให้มันเค็มน้อยลง
ยากสส์ ครับ ทุนสำรองของจีนมี 1.3 ล้านล้านเหรียญ เอาทรัพย์สินทั้ง Citi + Goldman Sachs + Merrill Lynch มาเทกองรวมกัน ไม่รู้จะสู้ได้หรือเปล่า
หรือถ้าเกิดหน้ามืด ทำขึ้นมาจริง ๆ คมดาบมันจะย้อนคืนตัว เพราะจีนเป็น "เจ้าหนี้" รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ (ถือพันธบัตรรัฐบาลเมกามากที่สุด) แค่เขาขายทิ้งตูมเดียวเพื่อมาสู้กับกองทุนซัก 10%
ระบบเศรษฐกิจสหรัฐก็พินาศแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 375
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 12
ต้องขอความช่วยเหลือจากภูมิภาคครับ รวมทั้งจีนด้วย เช่นมีการออกนโยบายช่วยเหลือฉับพลัน ต้องบอกไว้ว่า คราวนี้ล้ม ก็ล้มเหมือนกันหมดนะ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 13
คราวที่แล้ว เงินบาทอ่อน ประเทศเราก็แย่ เสียเงินเสียทองไปปกป้องเงินบาทจนต้องเปิดท้ายขายของ(บางคนขายเมีย)เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
คราวนี้เงินบาทแข็ง ประเทศเราก็แย่อีก เสียเงินเสียทองไปสองแสนกว่าล้าน สร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้อีกหลายแห่งเลยนะนั่น
ทำไมมันแย่ทั้งขึ้นทั้งล่องหนอ
ทำไมไม่เคยมีโอกาสเลย มีแต่วิกฤติ
ไม่มีวิธีแก้ให้มันดีทั้งขึ้นทั้งล่องบ้างหรือครับ
คราวนี้เงินบาทแข็ง ประเทศเราก็แย่อีก เสียเงินเสียทองไปสองแสนกว่าล้าน สร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้อีกหลายแห่งเลยนะนั่น
ทำไมมันแย่ทั้งขึ้นทั้งล่องหนอ
ทำไมไม่เคยมีโอกาสเลย มีแต่วิกฤติ
ไม่มีวิธีแก้ให้มันดีทั้งขึ้นทั้งล่องบ้างหรือครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 14
ที่จริงมันก็พอจะมีข้อดีอยู่บ้างนะครับ แต่เราไม่ได้เอามาพูดเพราะคงไม่จำเป็นต้องไปแก้ข้อดี ข้อดีที่พอจะมีอยู่บ้างเช่น
บริษัทที่มีหนี้เป็นดอลลาร์ก็เหมือนได้ลดหนี้ลง ถ้าเป็นไปได้ ตอนนี้พยายามแปลงหนี้กลับเป็นสกุลบาท ถ้าทำไม่ได้ทั้งหมด ทำบางส่วนก็ยังดี
คนที่ต้องนำเข้า วัตถุดิบ เครื่องจักรอะไรพวกนี้ ก็น่าจะซื้อได้ถูกลง ช่วงนี้ ควรถือเป็นช่วงช็อปปิ้ง เพราะเหมือนเราเจอเทศกาลลดกระหน่ำสินค้าต่างประเทศ
พวกห้างต่างๆ ก็คงจะมีทางเลือกมากขึ้น เช่นถ้าเปรียบเทียบแล้ว สินค้านำเข้าถูกลง ก็อาจเปลี่ยนจากสินค้าในประเทศ มาเป็นนำเข้า กำไรก็ดีขึ้น
บริษัทที่มีการไปลงทุนในต่างประเทศก็จะได้ลงทุนด้วยต้นทุนที่ถูกลงด้วย
สุดท้ายแล้วพวกบริษัทส่งออกหลายรายขายไม่ออก เราก็จะเกินดุลน้อยลง เงินมันก็น่าจะอ่อนลงได้นะครับ คิดแบบง่ายๆนะครับ
บริษัทที่มีหนี้เป็นดอลลาร์ก็เหมือนได้ลดหนี้ลง ถ้าเป็นไปได้ ตอนนี้พยายามแปลงหนี้กลับเป็นสกุลบาท ถ้าทำไม่ได้ทั้งหมด ทำบางส่วนก็ยังดี
คนที่ต้องนำเข้า วัตถุดิบ เครื่องจักรอะไรพวกนี้ ก็น่าจะซื้อได้ถูกลง ช่วงนี้ ควรถือเป็นช่วงช็อปปิ้ง เพราะเหมือนเราเจอเทศกาลลดกระหน่ำสินค้าต่างประเทศ
พวกห้างต่างๆ ก็คงจะมีทางเลือกมากขึ้น เช่นถ้าเปรียบเทียบแล้ว สินค้านำเข้าถูกลง ก็อาจเปลี่ยนจากสินค้าในประเทศ มาเป็นนำเข้า กำไรก็ดีขึ้น
บริษัทที่มีการไปลงทุนในต่างประเทศก็จะได้ลงทุนด้วยต้นทุนที่ถูกลงด้วย
สุดท้ายแล้วพวกบริษัทส่งออกหลายรายขายไม่ออก เราก็จะเกินดุลน้อยลง เงินมันก็น่าจะอ่อนลงได้นะครับ คิดแบบง่ายๆนะครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 15
ผมเห็นด้วย กับความคิดคุณ worapong จริงๆนะ เราฝืนค่าเงินเราไม่ได้หรอกหรืออยากจะกลับไปเจ๊งอีกworapong เขียน:ที่จริงมันก็พอจะมีข้อดีอยู่บ้างนะครับ แต่เราไม่ได้เอามาพูดเพราะคงไม่จำเป็นต้องไปแก้ข้อดี ข้อดีที่พอจะมีอยู่บ้างเช่น
บริษัทที่มีหนี้เป็นดอลลาร์ก็เหมือนได้ลดหนี้ลง ถ้าเป็นไปได้ ตอนนี้พยายามแปลงหนี้กลับเป็นสกุลบาท ถ้าทำไม่ได้ทั้งหมด ทำบางส่วนก็ยังดี
คนที่ต้องนำเข้า วัตถุดิบ เครื่องจักรอะไรพวกนี้ ก็น่าจะซื้อได้ถูกลง ช่วงนี้ ควรถือเป็นช่วงช็อปปิ้ง เพราะเหมือนเราเจอเทศกาลลดกระหน่ำสินค้าต่างประเทศ
พวกห้างต่างๆ ก็คงจะมีทางเลือกมากขึ้น เช่นถ้าเปรียบเทียบแล้ว สินค้านำเข้าถูกลง ก็อาจเปลี่ยนจากสินค้าในประเทศ มาเป็นนำเข้า กำไรก็ดีขึ้น
บริษัทที่มีการไปลงทุนในต่างประเทศก็จะได้ลงทุนด้วยต้นทุนที่ถูกลงด้วย
สุดท้ายแล้วพวกบริษัทส่งออกหลายรายขายไม่ออก เราก็จะเกินดุลน้อยลง เงินมันก็น่าจะอ่อนลงได้นะครับ คิดแบบง่ายๆนะครับ
ผู้ส่งออกเราต้องปรับตัวแล้วครับ สร้างมูลค่าสินค้าเพิ่มได้แล้ว