OH APRINT
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 792
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 1
น่าจะเป็นข่าวดีนะครับ............
เนื่องจาก บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) (APRINT) ได้นำส่ง มติคณะกรรมการเรื่องการออกหุ้นปันผลและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้
มายังตลาดหลักทรัพย์ แต่บริษัทยังไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนทั่วไปผ่าน
สื่ออิเลกทรอนิคส์ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์อย่างครบถ้วน
ตลาดหลักทรัพย์จึงขึ้นเครื่องหมาย H หลักทรัพย์ของ APRINT สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
รอบบ่ายของวันที่ 24 มีนาคม 2547 จนกว่าบริษัทจะเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวอย่างครบถ้วนและทั่วถึง
เนื่องจาก บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) (APRINT) ได้นำส่ง มติคณะกรรมการเรื่องการออกหุ้นปันผลและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้
มายังตลาดหลักทรัพย์ แต่บริษัทยังไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนทั่วไปผ่าน
สื่ออิเลกทรอนิคส์ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์อย่างครบถ้วน
ตลาดหลักทรัพย์จึงขึ้นเครื่องหมาย H หลักทรัพย์ของ APRINT สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
รอบบ่ายของวันที่ 24 มีนาคม 2547 จนกว่าบริษัทจะเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวอย่างครบถ้วนและทั่วถึง
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 3
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
กำหนดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและการจ่ายเงินปันผล
ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2547 เมื่อ
วันที่ 24 มีนาคม 2547 ได้มีมติดังนี้ :
1. มีมติอนุมัติลดทุนจดทะเบียนจาก 250 ล้านบาท เป็น 190 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 25 ล้านหุ้นเป็น 19
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
2. มีมติอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 190 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาทหรือเทียบเท่า 19 ล้านหุ้น เป็น 20
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อจ่ายหุ้นปันผล โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 1 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10
บาท รวมเป็น 200 ล้านบาท หรือ 20 ล้านหุ้น
3. ให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเรื่องการจ่ายเงินปันผลประจำปี สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 โดยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งมีชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10
พฤษภาคม 2547 เวลา 12.00 น. โดยการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ สำหรับผลประกอบการปี 2546 จำนวน
0.58888 บาทต่อหุ้น โดยแบ่งเป็นสองส่วนดังนี้
3.1 จ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตรา 19 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 หุ้นปันผลในราคา par หุ้น
ละ 10 บาท คิดเป็นอัตราเงินปันผลหุ้นละ 0.53 บาท
3.2 จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดในอัตราหุ้นละ 0.058888 บาท เพื่อรองรับภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดจากการ
จ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญ
กรณีมีเศษของหุ้นเดิมที่มากกว่าหรือเท่ากับ 10 หุ้นขึ้นไป จ่ายเป็นหุ้นสามัญปันผลมูลค่าหุ้นละ 0.53
บาท กรณีมีเศษของหุ้นต่ำกว่า 10 หุ้นลง จะไม่ได้รับหุ้นปันผล4. มีมติอนุมัติลดเงินลงทุนในบริษัทย่อย จาก จำนวน 40,000 หุ้น หรือ 40% เหลือ 19,000 หุ้น หรือ 19%
ของทุนจดทะเบียน โดยขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมในราคามูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2547 หุ้นละ 134.87 บาท
คิดเป็นมูลค่ารวม 2,832,270 บาท ทั้งนี้เมื่อคิดมูลค่าของรายการที่ขายออกไปน้อยกว่า 15% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม
จึงไม่ต้องขอมติจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้น
5. มีมติอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ข้อ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนโดย
ให้ยกเลิกข้อความเดิม และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
- ข้อ 4. ทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท (สองร้อยล้านบาท) แบ่งออกเป็น 20 ล้านหุ้น
(ยี่สิบล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยแยกออกเป็นหุ้นสามัญ 20 ล้านหุ้น
6. กำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2547 ในวันพุธที่ 28 เมษายน 2547 เวลา 14.00 น. ณ ห้อง
Convention Hall อาคารผู้บริหาร เลขที่ 65/101-3 ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
7. กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 7
เมษายน 2547 เวลา 12.00 น. จนกว่าการประชุมจะเสร็จสิ้น
8. กำหนดวันปิดสมุดทะเบียน เพื่อ ประกาศสิทธิในเงินปันผล ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เวลา 12.00 น.
จนกว่าการประชุมจะเสร็จสิ้น
9. กำหนดวันลดมูลค่าหุ้น (Split Par) ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 เวลา 12.00 น. โดยลดมูลค่าที่ตราไว้
จากเดิม 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น10. วาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีดังนี้ :
10.1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2546 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546
10.2 พิจารณารับทราบรายงานประจำปีและรายงานของคณะกรรมการบริษัทประจำปี 2546
10.3 พิจารณาอนุมัติงบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีประจำปี สิ้นสุดวัน
ที่ 31 ธันวาคม 2546 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว
10.4 พิจารณาให้จ่ายเงินปันผลประจำปีสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่วันที่ 1 มกราคม 2546 ถึง
วันที่ 31 ธันวาคม 2546 และจัดสรรกำไรไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมาย
10.5 พิจารณาอนุมัติลดทุนจดทะเบียนจาก 250 ล้านบาท เป็น 190 ล้านบาท
10.6 พิจารณาอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 190 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท
10.7 พิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงลดราคามูลค่าหุ้น ราคา Par จากเดิม 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อ
หุ้น
10.8 พิจารณาอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ข้อ 4
10.9 พิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระและกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน
กรรมการประจำปี 2547
10.10 พิจารณาแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชีประจำปี 2547
10.11 พิจารณาแก้ไข / เพิ่มเติมข้อบังคับฯ ตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเรื่อง รายการที่เกี่ยว
โยงกัน
10.12 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
(นางเมตตา อุทกะพันธุ์)
ประธานกรรมการบริหาร
กำหนดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและการจ่ายเงินปันผล
ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2547 เมื่อ
วันที่ 24 มีนาคม 2547 ได้มีมติดังนี้ :
1. มีมติอนุมัติลดทุนจดทะเบียนจาก 250 ล้านบาท เป็น 190 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 25 ล้านหุ้นเป็น 19
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
2. มีมติอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 190 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาทหรือเทียบเท่า 19 ล้านหุ้น เป็น 20
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อจ่ายหุ้นปันผล โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 1 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10
บาท รวมเป็น 200 ล้านบาท หรือ 20 ล้านหุ้น
3. ให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเรื่องการจ่ายเงินปันผลประจำปี สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 โดยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งมีชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10
พฤษภาคม 2547 เวลา 12.00 น. โดยการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ สำหรับผลประกอบการปี 2546 จำนวน
0.58888 บาทต่อหุ้น โดยแบ่งเป็นสองส่วนดังนี้
3.1 จ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตรา 19 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 หุ้นปันผลในราคา par หุ้น
ละ 10 บาท คิดเป็นอัตราเงินปันผลหุ้นละ 0.53 บาท
3.2 จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดในอัตราหุ้นละ 0.058888 บาท เพื่อรองรับภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดจากการ
จ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญ
กรณีมีเศษของหุ้นเดิมที่มากกว่าหรือเท่ากับ 10 หุ้นขึ้นไป จ่ายเป็นหุ้นสามัญปันผลมูลค่าหุ้นละ 0.53
บาท กรณีมีเศษของหุ้นต่ำกว่า 10 หุ้นลง จะไม่ได้รับหุ้นปันผล4. มีมติอนุมัติลดเงินลงทุนในบริษัทย่อย จาก จำนวน 40,000 หุ้น หรือ 40% เหลือ 19,000 หุ้น หรือ 19%
ของทุนจดทะเบียน โดยขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมในราคามูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2547 หุ้นละ 134.87 บาท
คิดเป็นมูลค่ารวม 2,832,270 บาท ทั้งนี้เมื่อคิดมูลค่าของรายการที่ขายออกไปน้อยกว่า 15% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม
จึงไม่ต้องขอมติจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้น
5. มีมติอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ข้อ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนโดย
ให้ยกเลิกข้อความเดิม และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
- ข้อ 4. ทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท (สองร้อยล้านบาท) แบ่งออกเป็น 20 ล้านหุ้น
(ยี่สิบล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยแยกออกเป็นหุ้นสามัญ 20 ล้านหุ้น
6. กำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2547 ในวันพุธที่ 28 เมษายน 2547 เวลา 14.00 น. ณ ห้อง
Convention Hall อาคารผู้บริหาร เลขที่ 65/101-3 ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
7. กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 7
เมษายน 2547 เวลา 12.00 น. จนกว่าการประชุมจะเสร็จสิ้น
8. กำหนดวันปิดสมุดทะเบียน เพื่อ ประกาศสิทธิในเงินปันผล ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เวลา 12.00 น.
จนกว่าการประชุมจะเสร็จสิ้น
9. กำหนดวันลดมูลค่าหุ้น (Split Par) ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 เวลา 12.00 น. โดยลดมูลค่าที่ตราไว้
จากเดิม 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น10. วาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีดังนี้ :
10.1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2546 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546
10.2 พิจารณารับทราบรายงานประจำปีและรายงานของคณะกรรมการบริษัทประจำปี 2546
10.3 พิจารณาอนุมัติงบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีประจำปี สิ้นสุดวัน
ที่ 31 ธันวาคม 2546 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว
10.4 พิจารณาให้จ่ายเงินปันผลประจำปีสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่วันที่ 1 มกราคม 2546 ถึง
วันที่ 31 ธันวาคม 2546 และจัดสรรกำไรไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมาย
10.5 พิจารณาอนุมัติลดทุนจดทะเบียนจาก 250 ล้านบาท เป็น 190 ล้านบาท
10.6 พิจารณาอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 190 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท
10.7 พิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงลดราคามูลค่าหุ้น ราคา Par จากเดิม 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อ
หุ้น
10.8 พิจารณาอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ข้อ 4
10.9 พิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระและกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน
กรรมการประจำปี 2547
10.10 พิจารณาแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชีประจำปี 2547
10.11 พิจารณาแก้ไข / เพิ่มเติมข้อบังคับฯ ตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเรื่อง รายการที่เกี่ยว
โยงกัน
10.12 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
(นางเมตตา อุทกะพันธุ์)
ประธานกรรมการบริหาร
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 6
อ่านไม่รู้เรื่อง แต่จับใจความว่าแจกหุ้นปันผล 10:1 หุ้น ไม่มีเงินปันผลเป็นเงินสด
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 8
จ่ายหุ้นปันผลไม่มีผลอะไร กับผู้ถือหุ้นเดิมทั้งสิ้น จิงๆ ก็เหมือนไม่ได้จ่ายนั้นแหละ แต่ได้ความรู้สึก
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 10
แตกพาร์ด้วยจ้า 10 ต่อ 1
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 12
ได้ปันผลเป็นมาเป็นเศษหุ้นอีกละ มีไม่ถึง 1900 หุ้น
ก็จะได้เศษ ๆ ไม่ครบ 100
เหมือน BKI เลยอะ
อืมม์ ...
สมมติ ราคาลดลงไป 5% และ มี 1900 หุ้น ที่ 105 บาท = 199,500
ราคา ลดไปที่ 100 บาท
แต่จะมีหุ้นเป็น 2000 หุ้นแทน ก็เท่ากับ 200,000
แทบไม่มี ความแตกต่างเลยครับ
ผมว่า จ่ายเป็นเงินออกมา แล้วให้ผู้ถือหุ้นไปตัดสินใจ เองดีกว่า ว่าจะทำยังไง
ก็จะได้เศษ ๆ ไม่ครบ 100
เหมือน BKI เลยอะ
อืมม์ ...
สมมติ ราคาลดลงไป 5% และ มี 1900 หุ้น ที่ 105 บาท = 199,500
ราคา ลดไปที่ 100 บาท
แต่จะมีหุ้นเป็น 2000 หุ้นแทน ก็เท่ากับ 200,000
แทบไม่มี ความแตกต่างเลยครับ
ผมว่า จ่ายเป็นเงินออกมา แล้วให้ผู้ถือหุ้นไปตัดสินใจ เองดีกว่า ว่าจะทำยังไง
- sirivajj
- Verified User
- โพสต์: 985
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 15
น่าสนใจทีเดียวนะครับว่า ปันผลแบบนี้แล้วนักลงทุนรายย่อย (ผมด้วย) ที่ถือไว้จะทำอย่างไรดี
หุ้นพาร์ 10 บาทปันผล 0.53 ถ้าเทียบที่ราคาตลาดก็ประมาณ 5.XX บาท
แต่ไม่ได้เป็นเงิน แถมถ้าอยากได้เต็มๆ ร้อยต้องซื้อเพิ่มให้ครบ 1,900 หรือทวีคูณ 1,900 อีก
อย่างนี้แล้ว เร้าใจหรือไม่เร้าใจดี ??
อืม ดี เอ รึว่าไม่ดี รึว่าดี ??
อิ อิ
หุ้นพาร์ 10 บาทปันผล 0.53 ถ้าเทียบที่ราคาตลาดก็ประมาณ 5.XX บาท
แต่ไม่ได้เป็นเงิน แถมถ้าอยากได้เต็มๆ ร้อยต้องซื้อเพิ่มให้ครบ 1,900 หรือทวีคูณ 1,900 อีก
อย่างนี้แล้ว เร้าใจหรือไม่เร้าใจดี ??
อืม ดี เอ รึว่าไม่ดี รึว่าดี ??
อิ อิ
What do you mean.?
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 16
ผมว่าเค้าน่าจะประกาศงดจ่ายปันผลให้รู้แล้วรู้เรื่อง
ง่ายกว่า และไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย
ง่ายกว่า และไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- sirivajj
- Verified User
- โพสต์: 985
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 17
ผมว่า ถ้าขืน APRINT ประกาศงดจ่ายปันผลล่ะก้อ
ราคาหุ้นได้วิ่งลงก่อนแถลงอธิบายแน่
รวมทั้ง ผู้ถือหุ้นคงได้รุมซักท่านผู้บริหารให้ตอบกันไม่หวาดไม่ไหว
ตอนนี้ผมว่า เราก็อย่าร้อนใจ ก็รอไปถามผู้บริหารว่า เงินที่จะได้จากการเพิ่มทุนนั้น บริษัทฯ จะเอาไปลงทุนหรือไปทำอะไรกัน
ราคาหุ้นได้วิ่งลงก่อนแถลงอธิบายแน่
รวมทั้ง ผู้ถือหุ้นคงได้รุมซักท่านผู้บริหารให้ตอบกันไม่หวาดไม่ไหว
ตอนนี้ผมว่า เราก็อย่าร้อนใจ ก็รอไปถามผู้บริหารว่า เงินที่จะได้จากการเพิ่มทุนนั้น บริษัทฯ จะเอาไปลงทุนหรือไปทำอะไรกัน
What do you mean.?
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 18
เท่าที่อ่านจากด้านบนครับ
สรุปเรื่องสำคัญทางด้านราคา ดังนี้
1. เรื่องการลดทุนจดทะเบียนไม่มีผลอะไรต่อผู้ถือหุ้นเดิมเพราะว่าเป็นการลดทุนจดทะเบียนจากมูลค่าที่ค้างชำระ
2. XD ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 สมมุติราคาก่อนวัน XD เท่ากับ 105 บาท ราคาหุ้นในวันขึ้น XD ก็จะเป็น (105*19)/20 = 99.75 บาท
3. วันต่อมา วันที่ 11 พฤษภาคม 2547 แตกพาร์ สมมุติถ้าราคาปิดวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เป็น 99.75 บาท ก็จะกลายเป็น 9.975 บาท จำนวนหุ้นในมือก็จะเพิ่มขึ้น 10 เท่า
* คนที่มีเศษหุ้นต่ำกว่า 10 หุ้นไม่ได้รับเงินปันผล
4. วันที่ 1 มกราคม 2546 หุ้นในมือก็จะเพิ่มขึ้นเพราะได้รับหุ้นปันผล ในทุกๆ 19 หุ้นจะเพิ่มขึ้น 1 หุ้น
ใครที่รู้จริงเช็คด้วยนะครับ ผมไม่ชัวว่าจะถูกรึเปล่า คืออ่านเข้าใจยังไงก็คำนวณไปตามนั้นครับ
สถานะการณ์ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรจนต้องตกใจหรอกครับ.
แต่ Cost of Equity เพิ่มขึ้นนะครับพี่ Thebing
สรุปเรื่องสำคัญทางด้านราคา ดังนี้
1. เรื่องการลดทุนจดทะเบียนไม่มีผลอะไรต่อผู้ถือหุ้นเดิมเพราะว่าเป็นการลดทุนจดทะเบียนจากมูลค่าที่ค้างชำระ
2. XD ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 สมมุติราคาก่อนวัน XD เท่ากับ 105 บาท ราคาหุ้นในวันขึ้น XD ก็จะเป็น (105*19)/20 = 99.75 บาท
3. วันต่อมา วันที่ 11 พฤษภาคม 2547 แตกพาร์ สมมุติถ้าราคาปิดวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เป็น 99.75 บาท ก็จะกลายเป็น 9.975 บาท จำนวนหุ้นในมือก็จะเพิ่มขึ้น 10 เท่า
* คนที่มีเศษหุ้นต่ำกว่า 10 หุ้นไม่ได้รับเงินปันผล
4. วันที่ 1 มกราคม 2546 หุ้นในมือก็จะเพิ่มขึ้นเพราะได้รับหุ้นปันผล ในทุกๆ 19 หุ้นจะเพิ่มขึ้น 1 หุ้น
ใครที่รู้จริงเช็คด้วยนะครับ ผมไม่ชัวว่าจะถูกรึเปล่า คืออ่านเข้าใจยังไงก็คำนวณไปตามนั้นครับ
สถานะการณ์ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรจนต้องตกใจหรอกครับ.
แต่ Cost of Equity เพิ่มขึ้นนะครับพี่ Thebing
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 19
การทำรายการอะไรที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดไม่ทำให้มูลค่าของบริษัทเปลี่ยนหรอกครับ
การเพิ่มทุนแบบนี้ไม่มีเงินสดเข้ามาจริง ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลยครับ
การเพิ่มทุนแบบนี้ไม่มีเงินสดเข้ามาจริง ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลยครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 20
พี่ Thebing ครับ ถ้าทุนเพิ่มขึ้น Equity Capital ก็เพิ่มแล้วไม่ใช่เหรอครับ
แล้วพอ Equity Capital ก็จะส่งผมให้ WACC เพิ่มขึ้นตามไปด้วยนาครับ
WACC = Kd * % D * (1 - t )+ Ke * % E
ตัว Ke น่าจะเพิ่มขึ้นนะครับ เช่น
Operating Capital = Debt Capital + Equity Capital
สมมุติเดิม Operating Capital = 100,000
Debt Capital = 50,000; Kd = 6%
Equity Capital = 50,000; Ke = 10%
WACC = 6%* 50,000/100,000 + 10%* 50,000/100,000 = 0.08
ถ้า Equity Capital เพิ่มเป็น 60,000
WACC = 6%* 50,000/110,000 + 10%* 60,000/110,000 = 0.081818182
แล้วพอ Equity Capital ก็จะส่งผมให้ WACC เพิ่มขึ้นตามไปด้วยนาครับ
WACC = Kd * % D * (1 - t )+ Ke * % E
ตัว Ke น่าจะเพิ่มขึ้นนะครับ เช่น
Operating Capital = Debt Capital + Equity Capital
สมมุติเดิม Operating Capital = 100,000
Debt Capital = 50,000; Kd = 6%
Equity Capital = 50,000; Ke = 10%
WACC = 6%* 50,000/100,000 + 10%* 50,000/100,000 = 0.08
ถ้า Equity Capital เพิ่มเป็น 60,000
WACC = 6%* 50,000/110,000 + 10%* 60,000/110,000 = 0.081818182
แก้ไขล่าสุดโดย Wvix เมื่อ พฤหัสฯ. มี.ค. 25, 2004 7:04 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 22
มาแก้ข่าวครับ ผมผู้ถือหุ้นAPRINTตลอดกาล
เมื่อปีที่แล้วบริษัทแจ้งว่ามีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อลงทุนประมาณ200ล้านบาทเพื่อสร้างสถานที่ให้เสร็จ แต่ผมติดตามมาตลอดปรากฎว่าบริษัทกู้ระยะสั้นและใช้กระแสเงินสดบริหารบริหารการลงทุนส่วนนี้มาตลอดไม่ปรากฎว่ามีการกู้ระยะยาว
ในปีที่แล้วผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมเสนอให้ออกหุ้นปันผลแทนดีกว่ากู้เงินครับ เพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือกันยาวๆและอยู่กับบริษัทฯมานานจนจำหน้ากันได้แล้วครับ จะว่าdiluteก็ไม่ใช่เพราะได้ในอัตราส่วนที่เท่าๆกันใครถืออยู่เท่าไรก็ได้ตามส่วน นอกจากเพิ่งมาซื้อเพื่อหวังปันผล ผมถือยาวเลยไม่รู้สึกว่าdiluteเพราะได้หุ้นเพิ่ม
ผมดูในงบกระแสเงินสดตั้งแต่วันที่ออกมาแล้วครับว่ามีเงินสดไม่พอจ่ายปันผลแน่นอน แต่ก็รอดูว่าบริษัทฯจะเอาอย่างไง ถ้ากู้มาจ่ายคงค้านแน่นอน ทางออกมาอย่างนี้ถือว่าเหมาะสมและเชื่อว่าผู้ถือหุ้นยอมรับได้
เมื่อปีที่แล้วบริษัทแจ้งว่ามีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อลงทุนประมาณ200ล้านบาทเพื่อสร้างสถานที่ให้เสร็จ แต่ผมติดตามมาตลอดปรากฎว่าบริษัทกู้ระยะสั้นและใช้กระแสเงินสดบริหารบริหารการลงทุนส่วนนี้มาตลอดไม่ปรากฎว่ามีการกู้ระยะยาว
ในปีที่แล้วผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมเสนอให้ออกหุ้นปันผลแทนดีกว่ากู้เงินครับ เพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือกันยาวๆและอยู่กับบริษัทฯมานานจนจำหน้ากันได้แล้วครับ จะว่าdiluteก็ไม่ใช่เพราะได้ในอัตราส่วนที่เท่าๆกันใครถืออยู่เท่าไรก็ได้ตามส่วน นอกจากเพิ่งมาซื้อเพื่อหวังปันผล ผมถือยาวเลยไม่รู้สึกว่าdiluteเพราะได้หุ้นเพิ่ม
ผมดูในงบกระแสเงินสดตั้งแต่วันที่ออกมาแล้วครับว่ามีเงินสดไม่พอจ่ายปันผลแน่นอน แต่ก็รอดูว่าบริษัทฯจะเอาอย่างไง ถ้ากู้มาจ่ายคงค้านแน่นอน ทางออกมาอย่างนี้ถือว่าเหมาะสมและเชื่อว่าผู้ถือหุ้นยอมรับได้
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
OH APRINT
โพสต์ที่ 23
ผมขอเสริมนิดหนึ่งนะครับ
การจ่ายปันผลเป็นห้น ไม่ใช่ว่าไม่มีผลกระทบต่อผ้ถือห้นและบริษัทนะครับ เพียงแต่อาจจะไม่มากนัก
1. บริษัทต้องเสียเงินสดบางส่วน ประมาณ 10% ของมลค่าทนจดทะเบียนของจำนวนห้นทั้งหมดที่ปันผล (ส่วนใหญ่ก็คือจำนวนเงินสดที่จ่ายให้ผ้ถือห้นเพื่อจ่าย Tax) เงินจำนวนนี้บริษัทต้องจ่ายเงินสดออกจากบริษัทครับ และไม่ถึงมือผ้ถือห้น เพราะผ้รับคือกรมสรรพากรครับ ถ้าไม่จ่ายปันผลเลยบริษัทจะไม่เสียเงินสดส่วนนี้ครับ
2. ผ้ถือห้นถึงแม้จะไม่ได้รับเงินสดเลย แต่ยังสามารถที่จะเครดิต Tax คืนได้จากกรมสรรพากรครับ แต่ถ้าใครมีรายได้มากก็จะเครดิตคืนได้น้อยครับ รายใหญ่รายได้มากอาจจะไม่สามารถเครดิตคืนได้เลยครับ
แต่กรณี APRINT ที่ปันผลเป็นห้นครั้งนี้ สงสัยอย่ว่าทำไมต้อง 19 ห้นเดิมได้ 1 ห้นใหม่ รายย่อยที่ถือ 100 ห้น 500 ห้น 1000 ห้น 5000 ห้น ก็ได้ห้นใหม่เป็นเศษห้นละซิครับ ไม่ครบ Lot
น่าจะให้ 10 ห้นเดิมต่อ 1ห้นใหม่ หรือ 20 ห้นเดิมต่อ 1 ห้นใหม่ไปเลยนะครับ
การจ่ายปันผลเป็นห้น ไม่ใช่ว่าไม่มีผลกระทบต่อผ้ถือห้นและบริษัทนะครับ เพียงแต่อาจจะไม่มากนัก
1. บริษัทต้องเสียเงินสดบางส่วน ประมาณ 10% ของมลค่าทนจดทะเบียนของจำนวนห้นทั้งหมดที่ปันผล (ส่วนใหญ่ก็คือจำนวนเงินสดที่จ่ายให้ผ้ถือห้นเพื่อจ่าย Tax) เงินจำนวนนี้บริษัทต้องจ่ายเงินสดออกจากบริษัทครับ และไม่ถึงมือผ้ถือห้น เพราะผ้รับคือกรมสรรพากรครับ ถ้าไม่จ่ายปันผลเลยบริษัทจะไม่เสียเงินสดส่วนนี้ครับ
2. ผ้ถือห้นถึงแม้จะไม่ได้รับเงินสดเลย แต่ยังสามารถที่จะเครดิต Tax คืนได้จากกรมสรรพากรครับ แต่ถ้าใครมีรายได้มากก็จะเครดิตคืนได้น้อยครับ รายใหญ่รายได้มากอาจจะไม่สามารถเครดิตคืนได้เลยครับ
แต่กรณี APRINT ที่ปันผลเป็นห้นครั้งนี้ สงสัยอย่ว่าทำไมต้อง 19 ห้นเดิมได้ 1 ห้นใหม่ รายย่อยที่ถือ 100 ห้น 500 ห้น 1000 ห้น 5000 ห้น ก็ได้ห้นใหม่เป็นเศษห้นละซิครับ ไม่ครบ Lot
น่าจะให้ 10 ห้นเดิมต่อ 1ห้นใหม่ หรือ 20 ห้นเดิมต่อ 1 ห้นใหม่ไปเลยนะครับ
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 25
เอาความคิดเห็นอาจารย์ใหญ่ Invisible hand มาแปะไว้หน่อย
http://www.bbznet.com/scripts/view.php? ... r=numtopic
http://www.bbznet.com/scripts/view.php? ... r=numtopic
แตกพาร์น่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับ aprint เพราะหุ้นขาดสภาพคล่องนะครับ
ส่วนเรื่องการปันผลเป็นหุ้น หากผมดูงบ Q4 ของ Aprint แล้วก็มีเงินสด 20 กว่าล้าน แต่มีภาษีที่ต้องจ่ายประมาณ 30 กว่าล้าน จริงๆ แล้วเงินสด ณ สิ้นปีในปีก่อนๆ ที่ผ่านมาของบริษัทที่ผ่านมากจะสูงกว่านี้มาก อย่างปลายปี 45 ก็มีร้อยกว่าล้าน แต่ aprint เองเพิ่งมีการลงทุนในเครื่องพิมพ์ครั้งใหญ่เมื่อปีก่อนจึงทำให้เงินสดลดลง บริษัทเองจึงคงไม่ค่อยอยากที่จะกู้ o/d เพื่อมาจ่ายปันผลเป็นเงินสดมั้งครับ
ผมเองก็มองว่าทางที่ดีที่สุดสำหรับ aprint หากไม่ต้องการกู้มาจ่ายปันผลคือ งดจ่ายปันผล แต่ทางดีคงจะยากที่จะอธิบายให้ผู้ถือหุ้นทุกคนเข้าใจได้ ทางเลือกที่ผมเห็นว่ารองมาคือ การกู้ o/d มาจ่ายปันผล เพราะว่า operating cash flow ปีเดียวก็คืนเงินกู้ได้ และดอกเบี้ยช่วงนี้ก็ต่ำ ส่วนการปันผลเป็นหุ้นผมให้เป็นทางเลือกอันดับ 3 ครับ
แต่อัตราการปันผลเป็นหุ้นที่ 19 ต่อ 1 นี่ผมว่าบาดใจผู้ถือหุ้นรายย่อยมากครับ เพราะจะมีเศษหุ้นจำนวนมากสำหรับคนที่ถือหุ้นรายย่อย ดีที่ยังแตกพาร์ หากไม่แตกพาร์ หากผมถือ 1000 หุ้น ผมจะได้หุ้นปันผลประมาณ 52.6 หุ้น่ ดูไม่จืดเชียวครับ เมื่อแตกพาร์แล้ว หุ้นปันผลผมก็จะเพิ่มเป็น 526 หุ้น ผมไม่แน่ใจว่าการปัดเศษเป็นยังไงนะครับ ใครถือ aprint อยู่ลองดูรายละเอียดเพื่อให้จำนวนหุ้นที่ถือได้ประโยชน์มากที่สุดจากการปัดเศษนะครับ
ผมว่าธุรกิจ aprint ในระยะ 2 ปีนี้น่าจะดีอยู่ครับ แต่ในระยะยาวนี่ผมก็ห่วง 2 nd generation ครับ แต่ไม่เป็นไรครับ คนเราก็ไม่ได้เก่งตั้งแต่เกิด ของอย่างนี้มันเรียนรู้พัฒนากันได้ โดยเฉพาะการมองคนให้ออก
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 26
อีกความคิดเห็นของอาจารย์ใหญ่ Invisible hand ครับ
ผลกระทบของการปันผลเป็นหุ้น
http://www.bbznet.com/scripts/view.php? ... r=numtopic
ผลกระทบของการปันผลเป็นหุ้น
http://www.bbznet.com/scripts/view.php? ... r=numtopic
ปันผลเป็นหุ้นมันก็มีข้อดีตรงที่ว่าบริษัทสามารถเก็บเงินสดไว้ใช้ในการขยายกิจการในปีต่อๆ ไปได้ ก็น่าจะเหมาะกับกิจการที่อยู่ในช่วงการขยายตัว นอกจากนี้อาจจะเหมาะกับบริษัทที่ต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพื่อให้เข้าข่ายเกณฑ์อะไรบางอย่าง เช่น TEAM เคยปันผลเป็นหุ้นเพื่อให้มีทุนจดทะเบียนพอที่จะย้ายออกจาก MAI ได้
ข้อเสียของการปันผลเป็นหุ้นก็คือ ต้องแถมเงินนิดหน่อยมาให้ผู้ถือหุ้นทุกครั้งเพราะแม้ว่าผู้ถือหุ้นจะรับปันผลเป็นหุ้นก็ตามแต่ก็ยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้นบริษัทที่ปันผลเป็นหุ้นจะต้องเสียเงินไปจำนวนหนึ่งเป็นค่าภาษีทั้งๆ ที่น่าจะเก็บเงินจำนวนนี้ไปทำอย่างอื่นน่าจะมีประโยชน์กว่า จริงๆ แล้ว best case หากบริษัทอยากจะเก็บเงินไว้จริงๆ เพื่อลงทุนอะไรที่คิดว่าเป็นประโยชน์กว่าก็น่าจะงดจ่ายป้นผลเลยดีกว่าทีจะปันผลเป็นหุ้น
แต่หากไม่ปันผลเลยก็อาจจะทำให้ผู้ถือหุ้นไม่พอใจได้
จริงๆ แล้วหากบริษัทนั้นดำเนินธุรกิจมาอย่างตรงไปตรงมาและคำนึงถึงผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นมาโดยตลอด ก็น่าจะทำความเข้าใจกับผู้ถือหุ้นได้ง่ายกว่าหากต้องการเก็บเงินไว้ทำอย่างอื่น เพราะบางครั้งหุ้นดีๆ เราได้เงินปันผลมาก็มักจะนำเงินไปซื้อหุ้นตัวนั้นเพิ่ม แต่ต้องเสียภาษีเงินปันผลฟรีๆ ซึ่งในเมืองนอกบริษัทที่ไม่ปันผลเลย ที่รู้กันดีก็คือ Berkshire ของ Warrent Buffet แต่สำหรับเมืองไทยเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ที่ไม่จ่ายปันผลทั้งๆ ที่มีกำไรหรือบริษัทที่ปันผลน้อย มักจะมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดีนักเช่น นำเงินไปลงทุนหรือให้กู้กับบริษัทในเครือที่มักจะให้ผลตอบแทนต่ำหรือขาดทุน นักลงทุนเลยติดภาพกับบริษัทที่ไม่จ่ายปันผลหรือจ่ายน้อยว่าไม่ดี เหตุผลนี้คงจะทำให้หลายบริษัทที่อยากเก็บเงินไว้ลงทุนเพิ่ม จึงต้องตัดสินใจจ่ายปันผลเป็นหุ้นแทน
ส่วนหุ้นปันผลที่ได้มาซึ่งเหมือนจะได้มาฟรีๆ นั้นแต่จริงๆ แล้วมันก็เกิด dilution ซึ่งทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง ซึ่งหากจะคิด net wealth หรือพูดง่ายๆ คือเงินในกระเป๋าของผู้ถือหุ้นในทางทฤษฎีก็จะไม่เปลี่ยนเพราะวันที่ xd หุ้นก็ควรจะถูก dilute ลงมา
แต่การปันผลเป็นหุ้นก็มีข้อดีครับหากหุ้นตัวนั้นขาดสภาพคล่อง เพราะการปันผลเป็นหุ้นก็ทำให้ราคาหุ้นลดลงและจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งก็น่าจะทำให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่าหากต้องการเพิ่มสภาพคล่อง การแตกพาร์น่าจะเป็นทางเลือกแรกก่อนครับ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
OH APRINT
โพสต์ที่ 27
คือว่าพอปันผลเป็นหุ้น เงินปันผลจะไปลดส่วนของผู้ถือหุ้น แต่เพิ่มส่วนของทุนจดทะเบียน เรียกว่าย้ายกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา สัดส่วนของผู้ถือหุ้นเลยไม่เปลี่ยนแปลงครับพี่ Thebing ครับ ถ้าทุนเพิ่มขึ้น Equity Capital ก็เพิ่มแล้วไม่ใช่เหรอครับ
แล้วพอ Equity Capital ก็จะส่งผมให้ WACC เพิ่มขึ้นตามไปด้วยนาครับ
WACC = Kd * % D * (1 - t )+ Ke * % E
ตัว Ke น่าจะเพิ่มขึ้นนะครับ
เห็นด้วยกับคุณ chatchai เรื่องภาษีนะ
คุณมนก็ซื้อเพิ่มให้หาร 1900 ลงตัวสิครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ