อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 2
การแตกพาร์ สมมุติ บริษัท A ทุน 1000 ล้านบาท และจดพาร์ไว้ 10 บาท แบ่งเป็น 100 ล้านหุ้น
พอแตกพาร์ เป็น 1 บาท หุ้น 100 หุ้นก็จะกลายเป็น 1000 ล้านหุ้น
หุ้นที่แตกพาร์ จะเพิ่มสภาพคล่อง
เช่นหุ้น A ถ้าพาร์ 10 ราคาตลาด สมมุติ 500 บาทต่อหุ้น
การซื้อขายน้อยสุด 100 หุ้น ก็ต้องใช้เงิน 50000 บาท
ซื้อ 1000 หุ้น ก็ 500000
ทำให้ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง
ถ้าแตกพาร์เหลือ 1 บาท ราคาในตลาดจะเหลือ 500 สภาพคล่องก็จะตามมา
ซื้อ 1000 หุ้น ก็ใช้เงิน 50000
พอแตกพาร์ เป็น 1 บาท หุ้น 100 หุ้นก็จะกลายเป็น 1000 ล้านหุ้น
หุ้นที่แตกพาร์ จะเพิ่มสภาพคล่อง
เช่นหุ้น A ถ้าพาร์ 10 ราคาตลาด สมมุติ 500 บาทต่อหุ้น
การซื้อขายน้อยสุด 100 หุ้น ก็ต้องใช้เงิน 50000 บาท
ซื้อ 1000 หุ้น ก็ 500000
ทำให้ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง
ถ้าแตกพาร์เหลือ 1 บาท ราคาในตลาดจะเหลือ 500 สภาพคล่องก็จะตามมา
ซื้อ 1000 หุ้น ก็ใช้เงิน 50000
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 3
หุ้น พาร์ 10 ท่านมีอยู่ 1000 หุ้น ที่ราคา 15 บาท พอแตกพาร์เหลือพาร์ 1 ท่านก็จะได้หุ้นเพิ่มเป็น 10000 หุ้น แต่ราคาก็เหลือแค่ 1.50 บาท ผลก็คือท่านมีหุ้นเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าเท่าเดิม
ตามความเห็นของผมบริษัทที่แตกพาร์ย่อยเกินไป เพื่อให้"ดู"ว่าต่ำ จะมีคนไปซื้อเพื่อให้มีสภาพคล่องมากขึ้น แต่ "ต่ำ" อาจไม่ "ถูก" ก็ได้นะครับ และราคา "สูง" อาจไม่ "แพง" ก็ได้ครับ ผมอธิบายสองคำนี้ให้พ่อผมตั้ง 6 เดือนกว่าจะเข้าใจ พ่อผมชอบบอกว่ามันแค่ 1.50 เองถูกจะตาย พอเจอ NPC 100 บาทพ่อบอกว่า แพงจังครับ
อีกอย่างแตกพาร์ให้ต่ำ สำหรับนักลงทุนบางท่านอาจมองเห็นเป็นหุ้นต่ำ 5 ต่ำ 10 พาลไม่ชอบอีกดูแล้วมันน้อยๆไม่ค่อยมั่นคงยังงัยชอบกล แต่นี่ก็นาจาจิตตังนะครับ นักลงทุนพยายามดูหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานและมูลค่าเป็นหลักครับ ไม่ใช่ราคา
ตามความเห็นของผมบริษัทที่แตกพาร์ย่อยเกินไป เพื่อให้"ดู"ว่าต่ำ จะมีคนไปซื้อเพื่อให้มีสภาพคล่องมากขึ้น แต่ "ต่ำ" อาจไม่ "ถูก" ก็ได้นะครับ และราคา "สูง" อาจไม่ "แพง" ก็ได้ครับ ผมอธิบายสองคำนี้ให้พ่อผมตั้ง 6 เดือนกว่าจะเข้าใจ พ่อผมชอบบอกว่ามันแค่ 1.50 เองถูกจะตาย พอเจอ NPC 100 บาทพ่อบอกว่า แพงจังครับ
อีกอย่างแตกพาร์ให้ต่ำ สำหรับนักลงทุนบางท่านอาจมองเห็นเป็นหุ้นต่ำ 5 ต่ำ 10 พาลไม่ชอบอีกดูแล้วมันน้อยๆไม่ค่อยมั่นคงยังงัยชอบกล แต่นี่ก็นาจาจิตตังนะครับ นักลงทุนพยายามดูหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานและมูลค่าเป็นหลักครับ ไม่ใช่ราคา
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 4
แล้วมันต่างกับลดพาร์ยังไงครับ???
www.thaihoon.com เข้ามาพูดคุยกันนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 6
การลดพาร์ มูลค่าหุ้นจะถูกลดไปครับ เป็นการลดมูลค่าทางบัญชีของ
บริษัทด้วย มักใช้กับการตัดขาดทุนสะสม หลังจากลดพาร์แล้ว จำนวน
หุ้นทั้งหมดของบริษัทจะยังคงเท่าเดิม จำนวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือก็
เท่าเดิม ราคาก็ไม่เกิด dilution effect แต่อาจจะลงถ้าตลาดมองว่า
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง หรือขึ้นถ้ามองว่าต่อไปสามารถจ่ายปันผลได้แล้ว
ส่วนการแตกพาร์ไม่มีผลต่อมูลค่าทางบัญชีครับ ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น
ราคา "ถูกลง" (ต่อหน่วย)
ส่วนราคาพาร์จะต่ำกว่า 1 บาทนั้นเป็นไปได้ครับ กฎใหม่ของตลาดหลัก
ทรัพย์เข้าใจว่าให้ราคาพาร์ต่ำสุดได้ถึง 1 สตางค์
ถ้าเป็นตลาดที่ US ราคาพาร์อาจจะแปลกๆครับ เช่น 12.5 cent เพราะ
การ split par มักจะทำเป็น 2 เท่าบ้าง 4 เท่าบ้าง ราคาพาร์ก็หารเอาตาม
นั้น (ซึ่งไม่เห็นจะมีคนสนใจเท่าไหร่ว่าตอนนี้หุ้นตัวนั้นราคาพาร์เท่าไหร่)
ส่วนอัตราส่วนทางการเงินและราคาย้อนหลัง รวมถึงกราฟและเครื่องมือ
ทางเทคนิคัลก็จะถูก adjusted ย้อนหลังครับ โปรแกรมอย่าง Apex จะ
มีฟังก์ชั่นปรับข้อมูลย้อนหลังได้ เมื่อมีการแตกพาร์ (ซึ่งปกติบริษัทฯจะ
เป็นคนจัดการให้เสร็จ) ไม่งั้นอาจจะมีน้ำตกเกิดขึ้น
ผมเดาเอาว่า ถ้าตลาดเข้าสู่ยุค bearish เต็มตัวใน cycle หน้า เราจะได้
เห็นการรวมพาร์เป็นครั้งแรก เช่นหุ้นที่ราคาเข้าใกล้ 1 สตางค์อาจจะถูก
บังคับให้รวมพาร์ครับ
บริษัทด้วย มักใช้กับการตัดขาดทุนสะสม หลังจากลดพาร์แล้ว จำนวน
หุ้นทั้งหมดของบริษัทจะยังคงเท่าเดิม จำนวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือก็
เท่าเดิม ราคาก็ไม่เกิด dilution effect แต่อาจจะลงถ้าตลาดมองว่า
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง หรือขึ้นถ้ามองว่าต่อไปสามารถจ่ายปันผลได้แล้ว
ส่วนการแตกพาร์ไม่มีผลต่อมูลค่าทางบัญชีครับ ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น
ราคา "ถูกลง" (ต่อหน่วย)
ส่วนราคาพาร์จะต่ำกว่า 1 บาทนั้นเป็นไปได้ครับ กฎใหม่ของตลาดหลัก
ทรัพย์เข้าใจว่าให้ราคาพาร์ต่ำสุดได้ถึง 1 สตางค์
ถ้าเป็นตลาดที่ US ราคาพาร์อาจจะแปลกๆครับ เช่น 12.5 cent เพราะ
การ split par มักจะทำเป็น 2 เท่าบ้าง 4 เท่าบ้าง ราคาพาร์ก็หารเอาตาม
นั้น (ซึ่งไม่เห็นจะมีคนสนใจเท่าไหร่ว่าตอนนี้หุ้นตัวนั้นราคาพาร์เท่าไหร่)
ส่วนอัตราส่วนทางการเงินและราคาย้อนหลัง รวมถึงกราฟและเครื่องมือ
ทางเทคนิคัลก็จะถูก adjusted ย้อนหลังครับ โปรแกรมอย่าง Apex จะ
มีฟังก์ชั่นปรับข้อมูลย้อนหลังได้ เมื่อมีการแตกพาร์ (ซึ่งปกติบริษัทฯจะ
เป็นคนจัดการให้เสร็จ) ไม่งั้นอาจจะมีน้ำตกเกิดขึ้น
ผมเดาเอาว่า ถ้าตลาดเข้าสู่ยุค bearish เต็มตัวใน cycle หน้า เราจะได้
เห็นการรวมพาร์เป็นครั้งแรก เช่นหุ้นที่ราคาเข้าใกล้ 1 สตางค์อาจจะถูก
บังคับให้รวมพาร์ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 7
ขอแย้งเฮีย CK หน่อยครับ การลดพาร์ไม่มีผลทำให้ BV ลดนะครับ
มันเป็นเรื่องการโยกตัวเลขทางบัญชีเท่านั้นเอง
Assets = Liabilities + Equity
มันเป็นเรื่องการโยกตัวเลขทางบัญชีเท่านั้นเอง
Assets = Liabilities + Equity
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 13
ไม่เข้าใจ การลดพาร์ BV ไม่ลด ที่ CK ว่าไว้
ไม่เข้าใจ ตรงน้อง Wvix มาแย้ง แล้ว CK ยอมรับ
อิอิ คุยเรื่องอะไรกัน
เรื่องการลดทุน เกี่ยวกับการลดพาร์ อย่างไร
ปกติ พี่รู้แต่การแตกพาร์ การลดพาร์ ไม่รู้ครับ ช่วยอธิบายอีกทีครับ
และเหมือน หรือไม่เหมือนกับการลดทุน
การแฮคัด อะไรทำนองนี้ ถ้าอธิบายด้วยก็ดี
ไม่เข้าใจ ตรงน้อง Wvix มาแย้ง แล้ว CK ยอมรับ
อิอิ คุยเรื่องอะไรกัน
เรื่องการลดทุน เกี่ยวกับการลดพาร์ อย่างไร
ปกติ พี่รู้แต่การแตกพาร์ การลดพาร์ ไม่รู้ครับ ช่วยอธิบายอีกทีครับ
และเหมือน หรือไม่เหมือนกับการลดทุน
การแฮคัด อะไรทำนองนี้ ถ้าอธิบายด้วยก็ดี
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 15
การลดพาร์มันเป็นเพียงการ "ย้ายบรรทัด" ทางบัญชีแค่นั้นครับ เพราะว่าตัวเลขในบรรทัดของหุ้นสามัญ/ทุนเรือนหุ้น จะลดลง แต่ตัวเลขที่ลดลงนั้นจะไปเพิ่มในบรรทัดของกำไร(ขาดทุน)สะสมน่ะครับ ด้วยจำนวนที่เท่ากันเป๊ะพอดีJeng เขียน:ไม่เข้าใจ การลดพาร์ BV ไม่ลด ที่ CK ว่าไว้
ไม่เข้าใจ ตรงน้อง Wvix มาแย้ง แล้ว CK ยอมรับ
อิอิ คุยเรื่องอะไรกัน
เรื่องการลดทุน เกี่ยวกับการลดพาร์ อย่างไร
ปกติ พี่รู้แต่การแตกพาร์ การลดพาร์ ไม่รู้ครับ ช่วยอธิบายอีกทีครับ
และเหมือน หรือไม่เหมือนกับการลดทุน
การแฮคัด อะไรทำนองนี้ ถ้าอธิบายด้วยก็ดี
ดังนั้นตัวเลขรวมของส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) จะเท่าเดิม เพราะทั้ง 2 รายการ (รายการหุ้นสามัญ และ กำไรสะสม) มันอยู่ภายในส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งคู่ครับ
ทั้งนี้จะไม่มีผลต่อจำนวนหุ้นด้วยครับ (ยกเว้นจะมีการเพิ่มทุนตามมาในภายหลัง คล้ายกับกรณี tpi ตอนนี้)
-
- Verified User
- โพสต์: 75
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 16
ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกรึป่าวนะครับ เมื่อกี้ลองทำความเข้าใจดู
ปกติมูลค่าการขาดทุนสะสมจะรวมอยู่ในส่วนทุน
การลดพาร์คือการเอามูลค่าในส่วนของราคาพาร์ที่ลดลง
ไปหักล้างกับการขาดทุนสะสม ดังนั้นมูลค่ารวมของส่วนทุนยังคงเท่ากับก่อนทำการลดพาร์
ปกติมูลค่าการขาดทุนสะสมจะรวมอยู่ในส่วนทุน
การลดพาร์คือการเอามูลค่าในส่วนของราคาพาร์ที่ลดลง
ไปหักล้างกับการขาดทุนสะสม ดังนั้นมูลค่ารวมของส่วนทุนยังคงเท่ากับก่อนทำการลดพาร์
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 17
อ้อ.. ทั้งลดพาร์ และลดทุน ทำไปโดยหวังผลเช่นเดียวกันครับ (ที่เห็นๆ มักจะเป็นเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อจ่ายปันผล หรือหาพันธมิตรมาร่วมทุน)
ส่วนใหญ่จะใช้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นก่อน (ลดทุน) แต่หากไม่พอก็จะทำการลดพาร์ลงด้วย
ส่วนใหญ่จะใช้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นก่อน (ลดทุน) แต่หากไม่พอก็จะทำการลดพาร์ลงด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
อยากรู้เกี่ยวกับ การแตกพาร์
โพสต์ที่ 18
ถูกต้องนะคร้าบบบบgreenday เขียน:ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกรึป่าวนะครับ เมื่อกี้ลองทำความเข้าใจดู
ปกติมูลค่าการขาดทุนสะสมจะรวมอยู่ในส่วนทุน
การลดพาร์คือการเอามูลค่าในส่วนของราคาพาร์ที่ลดลง
ไปหักล้างกับการขาดทุนสะสม ดังนั้นมูลค่ารวมของส่วนทุนยังคงเท่ากับก่อนทำการลดพาร์