กลุ่มบริการทางการแพทย์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 242
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 31

โพสต์

มีใครคิดเหมือนผมไหมครับ
ว่าส่วนหนึ่งที่ธุรกิจรพ.เอกชนบูมมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เป็นเพราะหลังวิกฤติปี 40 ใหม่ๆ ไม่มีรพ.ใดลงทุนขยายกิจการหรือสร้างรพ.ใหม่เลยเป็นเวลาหลายปี
พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้น demand เพิ่ม แต่ supply คือรพ.ไม่สามารถขยายได้ในทันที เพราะต้องใช้เวลาสร้าง และต้องใช้เวลาโฆษณาให้ติดตลาด
เมื่อ demand > supply เหมือนช่วงไม่กี่ปีนี้ ทำให้กำไรของรพ.ที่เปิดอยู่และติดตลาดอยู่แล้ว เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ดึงดูดให้ทุกรพ.พยายามที่จะขยายพื้นที่ เปิดศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น

ถ้าไม่นับ BH ที่เน้นลูกค้าต่างชาติอย่างชัดเจน
ในที่สุด รพ.เอกชนรายอื่น จะไปคล้าย commodity ไหมครับ ที่พอเร่งขยายตัวพอสร้างเสร็จ เปิดมาก็จะแย่งตลาดภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดกันเอง จนต้องเริ่มตัดราคากัน และ accept profit margin ที่ลดลง จนทำให้ไม่มีผู้เข้ามาใหม่อีกหลายปี

พี่ชาติชาย คิดว่ายังไงบ้างครับ
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

เห็นด้วย

โพสต์ที่ 32

โพสต์

chut เขียน:มีใครคิดเหมือนผมไหมครับ
ว่าส่วนหนึ่งที่ธุรกิจรพ.เอกชนบูมมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เป็นเพราะหลังวิกฤติปี 40 ใหม่ๆ ไม่มีรพ.ใดลงทุนขยายกิจการหรือสร้างรพ.ใหม่เลยเป็นเวลาหลายปี
พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้น demand เพิ่ม แต่ supply คือรพ.ไม่สามารถขยายได้ในทันที เพราะต้องใช้เวลาสร้าง และต้องใช้เวลาโฆษณาให้ติดตลาด
เมื่อ demand > supply เหมือนช่วงไม่กี่ปีนี้ ทำให้กำไรของรพ.ที่เปิดอยู่และติดตลาดอยู่แล้ว เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ดึงดูดให้ทุกรพ.พยายามที่จะขยายพื้นที่ เปิดศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น

ถ้าไม่นับ BH ที่เน้นลูกค้าต่างชาติอย่างชัดเจน
ในที่สุด รพ.เอกชนรายอื่น จะไปคล้าย commodity ไหมครับ ที่พอเร่งขยายตัวพอสร้างเสร็จ เปิดมาก็จะแย่งตลาดภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดกันเอง จนต้องเริ่มตัดราคากัน และ accept profit margin ที่ลดลง จนทำให้ไม่มีผู้เข้ามาใหม่อีกหลายปี

พี่ชาติชาย คิดว่ายังไงบ้างครับ
เห็นด้วยกับคุณ chut ครับ ผมยังจำได้ว่าก่อนช่วงวิกฤติปี40 นั้น รพ.เอกชนบูมมากๆ วงการแพทย์เกิดปัญหาสมองไหล รพ.เอกชนพากันขยายงาน บางแห่งกู้เงินนอกมาขยายงาน เปิดสาขาใหม่ หรือขยายเตียงจากเดิม พอเกิดวิกฤติ รพ.ที่ขยายงานด้วยเงินกู้จากต่างประเทศ ขาดทุนกันระนาว ยังจำได้ว่าช่วงวิกฤติ อัตราการครองเตียงต่ำมากๆครับ ส่วนใหญ่ไม่ถึง50 % ต้องมีการปรับโครงสร้างกันขนาดใหญ่ หลาย รพ.ต้องปิดตัวเองไป ที่ประครองตัวผ่านวิกฤติได้ ก็พากันรุ่งโรจน์ ที่ผ่านมาจากปี40 แทบไม่ค่อยมีการขยาย รพ.เลย ใช้เตียงเดิมที่ขยายกันก่อนวิกฤติ จึงทำให้กลับมามีกำไร แต่ตอนช่วง2-3ปีนี้บูมสุดๆจาก
1)การเจาะตลาดคนมีกะตังค์จากต่างประเทศ
2)ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการต้องการปัญหาของโครงการ30บาทรักษาทุกโรค
3)การขยายตัวของระบบประกันชีวิต
4)การขยายตัวในโครงการประกันสังคม
ปัจจัยเหล่านี้หนุนให้ รพ.เอกชนกลับมาบูมสุดๆได้อีกครั้ง ทำให้เตียงที่มีอยู่เท่าเดิมเริ่มเต็ม แต่ละ รพ.พากันขยายเตียงและเปิดโรงพยาบาลใหม่ หากการขยายเตียง มากกว่าความต้องการของคนไข้ ปัญหาเดิมๆก็จะกลับมาแบบเดิมๆอีก แต่คงไม่หนักหนาสาหัสเท่าปี40 ครับ แต่คงไม่บูมมากๆเหมือนช่วงที่ผ่านมากครับ อาจพอประครองๆตัวกันไปได้
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 33

โพสต์

chut เขียน:
ถ้าไม่นับ BH ที่เน้นลูกค้าต่างชาติอย่างชัดเจน
ในที่สุด รพ.เอกชนรายอื่น จะไปคล้าย commodity ไหมครับ ที่พอเร่งขยายตัวพอสร้างเสร็จ เปิดมาก็จะแย่งตลาดภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดกันเอง จนต้องเริ่มตัดราคากัน และ accept profit margin ที่ลดลง จนทำให้ไม่มีผู้เข้ามาใหม่อีกหลายปี

พี่ชาติชาย คิดว่ายังไงบ้างครับ

งั้น BH ก็น่าซื้อที่สุดสินะครับ  :lol: (แอบมาปั่นราคาซะหน่อย อิๆ)

...ล้อเล่นนะครับ

ก็น่าจะเป็นแบบนั้นนะครับ .. ไปๆมาๆมันจะกลายเป็น red ocean ไหมเนี่ย
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/09/07

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ร.พ.เอกชนปรับทิศการลงทุน แห่เปิด"คลินิก"กวาดลูกค้าเพิ่ม

ร.พ.เอกชนทยอยปรับตัว แบรนด์ดังทุ่มงบฯเปิด "คลินิก" ชี้เทรนด์ใหม่มาแรง ช่วยขยายฐาน-กลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ "ร.พ.กรุงเทพ" เล็งเจาะบริษัทขนาดใหญ่ ส่วน "บีเอ็นเอช" เล็งยึดแหล่งช็อปปิ้งหรูเพิ่ม "สมิติเวช-นนทเวช" โดดร่วมวง ส่วนเครือ "เกษมราษฎร์" เดินหน้าบุกต่างจังหวัดเป็นหลัก


ขณะนี้ผู้ประกอบการหลายๆ ธุรกิจต่างเร่งปรับตัวเพื่อรองรับพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคกันอย่างยกใหญ่ รวมถึงธุรกิจโรงพยาบาลที่ขณะนี้ผู้ประกอบการแบรนด์ใหญ่ในตลาดที่ได้เริ่มปรับตัวด้วยการเน้นการนำบริการในรูปแบบของคลินิกไปอำนวยความสะดวกชนิดไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกลและนานๆ จากในอดีตที่โรงพยาบาลจะเป็นฝ่ายที่รอให้คนไข้เดินเข้าไปหาเป็นหลัก

งัดโมเดล "คลินิก" ขยายตลาด

ผู้บริหารระดับสูงโรงพยาบาลเอกชนระดับท็อปไฟฟ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่หลายๆ แห่งได้หันมาลงทุนเปิดคลินิกตามย่านชุมชนต่างๆ มากขึ้น ซึ่งการลงทุนในลักษณะนี้แต่ละแห่งจะใช้งบประมาณที่ไม่มากนัก ประมาณ 10-20 ล้านบาท ขณะเดียวกัน หลายๆ ค่ายเริ่มชะลอการลงทุนด้วยงบประมาณจำนวนมากๆ เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่จะหันไปเน้นการเพิ่ม value added กับสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นหลัก

นอกจากการเปิดคลินิกดังกล่าวจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไกลๆ และประหยัดเวลาแล้ว เป็นการขยายกลุ่มลูกค้าอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะเป็นการช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง และหลักๆ ก็เป็นการเน้นในเรื่องของบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนไข้เป็นหลัก รวมถึงเป็นการปรับตัวเพื่อให้รองรับกับพฤติกรรมและสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย

"กรุงเทพ" ผุดโมเดลเจาะบริษัทใหญ่

นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะบริหาร ศูนย์การแพทย์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้ในแง่ของจำนวนโรงพยาบาลเอกชนที่เปิดให้บริการอยู่ตามภาคต่างๆ โดยส่วนตัวมองว่ามีปริมาณที่เพียงพอแล้ว และจะเหลืออยู่ก็เพียงบริการที่จะเจาะลึกลงไปถึงกลุ่มคนระดับรากหญ้า ซึ่งคลินิกก็เป็นรูปแบบที่ถือว่ามีความเหมาะสมทั้งในแง่ของการลงทุนและบริการ โดยภาพที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า หลายๆ แห่งนั้นเริ่มหันมาให้ความสนใจกลุ่มลูกค้าที่เป็นระดับรากหญ้ามากขึ้น และเป็นการขยายฐานลูกค้าออกไปยังกลุ่มใหม่ๆ

สำหรับ ร.พ.กรุงเทพ ที่สนใจการเปิดคลินิกนั้นคงไม่ใช่คลินิกที่เป็นลักษณะของคลินิกทั่วๆ ไป แต่สนใจจะเปิดคลินิกที่เรียกว่า out-reach ตามบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา หากลงตัวก็จะเริ่มเปิดให้บริการในอาคารหรือพื้นที่ของพันธมิตร และคาดว่าจะลงทุนไม่ถึง 10 ล้านบาท

"เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ในส่วนของ โรงพยาบาลกรุงเทพ อินเตอร์ฯ ได้เปิดคลินิกที่ซอยรามบุตรี ย่านบางลำพู ถนนข้าวสาร นอกจากนี้ยังมีแผนจะยกระดับคลินิกที่อำเภอปากช่องให้เป็นโรงพยาบาลด้วย เพื่อรองรับของชุมชนที่ขยายตัวมากขึ้น รวมถึงรองรับกลุ่มคนจากกรุงเทพฯ ที่ไปท่องเที่ยวหรือพำนักอยู่ในย่านดังกล่าวด้วย"

สมิติเวช ชู "เทเล เมดิซีน"

แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า เนื่องจาก ร.พ.มีข้อจำกัดในการขยายตัว เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดและยากต่อการขยับขยาย จากนี้ไปสมิติเวชมีนโยบายจะลงทุนเพื่อเปิดคลินิกนอกสถานที่เพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง และแต่ละแห่งก็จะใช้งบฯที่ไม่มากนัก สาขาละประมาณ 10 ล้านบาท จากที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ได้เปิดคลินิกไปแล้วที่สมิติเวชคลินิก รัตนาธิเบศร์ และสมิติเวชคลินิก ชลบุรี และทั้งนี้ ร.พ.ก็จะพิจารณาจากความต้องการของตลาดเป็นหลัก

นอกจากคลินิกในลักษณะดังกล่าวแล้ว ปัจจุบัน สมิติเวช ยังมีคลินิกที่เรียกว่า เอาท์-รีช อยู่ประมาณ 10 จุด โดยหลักๆ จะเปิดให้บริการอยู่ที่อาคารสำนักงานต่างๆ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทเอสโซ่ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น

"คลินิกดังกล่าวจะมีบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานทั่วๆ ไปในกรณีที่คนไข้มีอาหารป่วยไม่มาก หรือหากกรณีที่ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ เราก็จะมีระบบเทเล เมดิซีน เข้ามายังศูนย์ที่ ร.พ. และจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา" แพทย์หญิงสมสิริกล่าว

"บีเอ็นเอช" เล็งยึดแหล่งช็อปปิ้งหรู

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลบีเอ็นเอชเป็นอีกโรงพยาบาลหนึ่งที่เริ่มขยายบริการออกไปตามอาคารสำนักงาน ด้วยการใช้งบฯ 20 ล้านบาท เปิดคลินิกภายใต้ชื่อ บีเอ็นเอช @ ออล ซีซั่น คลินิก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและเป็นการขยายฐานลูกค้าออกไปยังกลุ่มใหม่ๆ

รายงานข่าวจากโรงพยาบาลบีเอ็นเอชกล่าวว่า ภายในปลายปีนี้ โรงพยาบาลจะลงทุนเปิดคลินิกดังกล่าวเพิ่มอีก 1 แห่ง โดยจะเน้นไปที่ศูนย์การค้าที่เป็นแหล่งช็อปปิ้งในย่านใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งในส่วนนี้จะไม่รวมถึงคลินิกที่เรียกว่า เอาท์-รีช ที่เปิดให้บริการอยู่ในโปโล คลับ และสปอร์ต คลับ

ขณะที่รายงานข่าวจากโรงพยาบาลนนทเวช เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา นอกจาก ร.พ.ขนาดใหญ่จะเน้นการขยายบริการด้วยการเปิดคลินิกนอก ร.พ.ไปตามย่านชุมชนต่างๆ แล้ว สำหรับนนทเวชเองก็มีแผนจะเปิดให้บริการในรูปแบบที่เรียกว่า สหคลีนิก ที่มีบริการด้านอายุรกรรม สูติ-นรีเวช ทันตกรรม โดยใช้ชื่อว่านนทเวช สหคลีนิก โดยจะเริ่มเปิดให้บริการภายในปลายเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ที่ถนนรัตนาธิเบศร์ (ขาเข้า) ข้างเซ็นทรัลทาวน์ รัตนาธิเบศร์

"ตามแผนเราเราจะทยอยเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายใน 2 ปี และจะใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลนนทเวช สาขารัตนาธิเบศร์ในอีก 2 ปีข้างหน้า" รายงานข่าวกล่าว

เกษมราษฎร์ ขอลุย ตจว.

นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกเชน ฮอลปิทอล จำกัด (มหาชน) แสดงความเห็นเกี่ยวเรื่องนี้กับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา กลุ่มเกษมราษฎร์ได้มีการทดลองเปิดให้บริการในรูปแบบคลินิกนอก โรงพยาบาลมาระยะหนึ่งแล้วที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อให้เป็นเครือข่ายในการให้บริการนอกสถานที่ และใช้เป็นเครือข่ายของเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

"นอกจากคลินิกดังกล่าวจะเน้นการรักษาพยาบาลโรคพื้นฐานทั่วๆ ไปแล้วคลินิกนี้ยังจะเป็นเครือข่ายที่ช่วยส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่เป็นแม่ข่ายด้วย"

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์เฉลิมกล่าวว่า เกษมราษฎร์มีแผนจะเปิดคลินิกในอำเภอรอบนอกอีก 1 สาขา ในเชียงราย คาดว่าจะใช้งบประมาณ ราว 10 ล้านบาท และจะขยายคลินิกเดิมให้ใหญ่ขึ้น และในอนาคตมีแผนจะเปิดคลินิกเพิ่มอีกที่จังหวัดสระบุรี
prachachart
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0207
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/09/07

โพสต์ที่ 35

โพสต์

แพทยสภานัดหารือ อย.คุมธุรกิจ 'สเต็มเซลล์'

20 กันยายน พ.ศ. 2550 16:02:00

แพทยสภาเตรียมหารือ อย.หาทางควบคุมธุรกิจเก็บสเต็มเซลล์ 21 ก.ย.นี้ ชี้ปัญหาผู้บริโภคส่วนใหญ่เสียเงินฟรี ยืนยันยังไม่มีการพิสูจน์ว่ารักษาโรค หรือเสริมความงามได้จริง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวภายหลังการอภิปรายเรื่อง Stem cell กับผลิตภัณ์สุขภาพ ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2550 เรื่อง ทิศทางงานคุ้มครองผู้บริโภคกับพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า ในวันที่ 21 กันยายน อย.จะมีการประชุมร่วมกับแพทยสภา และกองประกอบโรคศิลปะ เพื่อหารือแนวทางการควบคุมการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์

โดยประเด็นหนึ่งที่จะหยิบยกมาหารือ คือ เรื่องการเก็บสเต็มเซลล์ หรือสเต็มเซลล์แบงค์ ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการเก็บสเต็มเซลล์จากรกเด็ก เพื่อนำไปใช้รักษาโรคต่างๆ ในอนาคตนั้น เพิ่มขึ้นจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยที่ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่าจะสามารถรักษาโรคได้จริง แต่ความจริงในการใช้สเต็มเซลล์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยมาก หรือไม่มีเลย

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นของภาคเอกชนในการทำธุรกิจเก็บสเต็มเซลล์ได้ เพราะเป็นสิทธิและความเชื่อของแต่ละบุคคล และสิ่งสำคัญคือผู้ใช้บริการควรมีการศึกษาถึงผลได้-ผลเสียก่อนการตัดสินใจเก็บสเต็มเซลล์

การประชุมในวันที่ 21 กันยายนนี้ จะต้องหารือถึงประเด็นนี้ด้วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากที่ผ่านมาการเก็บสเต็มเซลล์พวกนี้ ผู้รับบริการมักไม่มีความรู้ดีพอ ทำให้ต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ขณะที่ต่างประเทศจะมีการควบคุมพวกสเต็มเซลล์แบงค์กันมาก โดยเปลี่ยนจากภาคเอกชนที่เก็บสเต็มเซลล์และเรียกเงินจากผู้รับบริการ ให้เป็นหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่สามารถเก็บสเต็มเซลล์ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเก็บน้อยกว่าภาคเอกชนเยอะ จึงตัดปัญหาเรื่องการแสวงผลประโยชน์จากแนวทางการรักษาในอนาคตได้เลย นพ.สมศักด์ กล่าว

นพ.สมศักด์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ที่สำคัญการเก็บสเต็มเซลล์โดยหน่วยงานภาครัฐ ยังเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพราะหากภาครัฐเก็บจะทำให้ได้สเต็มเซลล์จำนวนมาก ซึ่งหากอนาคตการวิจัยสเต็มเซลล์รักษาได้จริง ใครที่เจ็บป่วยก็สามารถมารับสเต็มเซลล์ที่เข้ากับตัวเองได้ โดยอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายจำนวนน้อย

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ประเทศไทยคงไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ เพราะไม่มีกฎระเบียบใดๆ ควบคุม และเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคหัวใจยังอยู่ระหว่างการวิจัยทั้งสิ้น และในต่างประเทศก็ยังไม่มีรายงานยืนยันชันเจน

สำหรับผู้ที่นิยมฉีดสเต็มเซลล์จากรกหมู รกแกะ เพื่อเสริมสวย ความจริงไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อฉีดสเต็มเซลล์เข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายสเต็มเซลล์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นสิ่งแปลกปลอม นอกจากนี้ ยังมีผลเสียอื่นๆ เพราะบางกรณีฉีดเข้าไปกลับไปอุดตันเส้นเลือด หรือในระยะยาวอาจเป็นมะเร็ง และเสียชีวิตได้ นพ.สมศักดิ์ กล่าว

รศ.ดร.วิไล เทียนรุ่งโรจน์ หนุนภักดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันมีภาคธุรกิจอ้างว่าสามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาความสวยความงามได้ โดยทำให้ผิวหนังที่เหี่ยวย่นกลับมากระชับ เต่งตึง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม

เพราะจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าจริงๆ แล้วสเต็มเซลล์ดังกล่าวสามารถรักษาผิวหนังได้จริงหรือไม่ บ้างก็อ้างงานวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งความจริงแพทย์ไทยก็ไม่ได้ไปร่วมพิสูจน์ เพียงแต่เชื่อว่าน่าจะเป็นเท่านั้น

ที่สำคัญขณะนี้การวิจัยสเต็มเซลล์รักษาผิวหนังเหี่ยวย่นก็ยังกระจัดกระจาย ไม่ชัดเจนว่ารักษาได้จริง ทำให้ผู้บริโภคต้องสูญเสียเงินมหาศาล

ไม่เพียงแต่การนำสเต็มเซลล์มารักษาผิวหนัง พวกสเต็มเซลล์รักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจยังไม่มีงานวิจัยใดมารองรับ หากจะอ้างว่ารักษาได้จริงต้องผ่านการทดลองในห้องทดลอง สัตว์ทดลอง ต้องผ่านการทดลองในระดับคลินิกหลายขั้น และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้สเต็มเซลล์กับไม่ใช้สเต็มเซลล์ ที่สำคัญต้องมีการตีพิมพ์ในรายงานวิชาการทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งเบื้องต้นสิ่งเหล่านี้ยังไม่มี รศ.ดร.วิไล กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/2 ... sid=184426
chut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 242
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เห็นด้วยกับพี่ชาติชายทุกประการครับ

เท่าที่ผมเคยได้ยินมา ปลายปีนี้ จะมีการปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ และกรมบัญชีกลางจะ strict กับการจ่ายยานอกบัญชียาหลักมากขึ้น
แปลง่ายๆว่า ต่อไป ผู้ใช้สิทธิข้าราชการจะเบิกยาที่ราคาแพงหลายๆตัว ไม่ได้
ผมยังไม่แน่ใจ ว่าจะมีผลทำให้ข้าราชการ เปลี่ยนการใช้บริการจากรพ.รัฐ ไปรพ.เอกชนมากน้อยเพียงใด

สำหรับ BH ที่ราคาระดับนี้ ผมคงได้แต่มองตาปริบๆ
วันนี้เพิ่งอ่าน The Five Rules for Successful Stock Investing มีประโยคที่ผมชอบ
The REAL cost of losing money is much worse than the OPPORTUNITY cost of missing out on gains.
ขอแปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า "น้ำลายหก ดีกว่าน้ำตาตก"ครับ
"Many shall be restored that are now fallen and many shall fall that are now in honor."
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news24/09/07

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ฉุนสปส.ลักไก่ปรับค่าหมอ
บอร์ดสั่งงดพิจารณา พิลึกปรับเฉียด50% ภาระเพิ่มปีละ3พันล.

โพสต์ทูเดย์ บอร์ดประกันสังคมปัดข้อเสนอปรับขึ้นอัตราเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลรายหัวปี 2551 สูงปรี๊ดถึง 50% แจงรับไม่ได้ ภาระเพิ่มปีละ 3-4 พันล้าน


แหล่งข่าวจากคณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการประกันในวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยเพื่อปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม หรืออัตราค่าเหมาจ่ายรักษาพยาบาลประจำปี 2551 ได้เสนอผลการศึกษาการคิดค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายที่เพิ่มจากเดิมเกือบ 50% ให้พิจารณา แต่กรรมการมีมติไม่เห็นด้วย

ทั้งนี้ อัตราใหม่นั้นคณะผู้วิจัยเพิ่มจาก 1,284 บาท/คน/ปี เป็น 1.8 พันบาท/คน/ปี ซึ่งทำให้ประกันสังคม ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 3-4 พันล้านบาท

รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจำนวนดังกล่าวจะกระทบกับเสถียรภาพและรายจ่ายรายรับของกองทุนประกันสังคมอย่างแน่นอน แหล่งข่าวเปิดเผย

ทั้งนี้ เมื่อเทียบอัตราการเพิ่มการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาลที่เข้าเครือข่ายประกันสังคมในแต่ละปีนั้นเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เพิ่มขึ้นแค่ปีละ 3%

ที่ประชุมคณะกรรมการไม่สามารถรับผลการวิจัยครั้งนี้ได้ และนายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการประกันสังคมไม่ได้เข้ามาร่วมประชุม แต่ได้เขียนแสดงความคิดเห็น ซึ่งในที่ประชุมเห็นว่าไม่เหมาะสม และเป็นการผูกมัดวิธีการคิดอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัว แหล่งข่าวเปิดเผย

แหล่งข่าวยังเปิดเผยอีกว่า การทำวิจัยครั้งนี้ไม่ได้ตอบคำถามที่บอร์ดต้องการทราบว่าต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่แท้จริงเท่าใด และควรทำวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ทางการเงิน รวมทั้งกรรมการส่วนใหญ่ไม่พอใจที่เห็นว่ากลุ่มโรงพยาบาลเอกชนพยายามกดดันประกันสังคม และขู่ว่าจะยกเลิกการให้บริการกับผู้ประกันตน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นการลักไก่ขอขึ้นค่าหมอจึงได้เลื่อนการพิจารณา

ด้านนายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ขณะนี้สัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ในส่วนของกองทุนประกันสังคม ประจำปี 2551 อยู่ระหว่างการจัดส่งให้ชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม ส่วนอัตราค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติให้ สปส.ทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม

ขณะนี้ผู้วิจัยได้จัดส่งรายงานผลการวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับอัตราค่าบริการทางการแพทย์แล้วและได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการฝ่ายงานวิจัยแล้ว หลังจากนี้จะเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอัตราเหมาจ่ายในปี 2551 ต่อไป

ในปัจจุบันประกันสังคมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม ในอัตรา 1,284 บาท/คน/ปี ค่าบริการทางการแพทย์ตามภาระเสี่ยงในอัตรา 211 บาท และค่าอัตราการใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนเฉลี่ยคนละ 55 บาท ซึ่งเมื่อรวมทุกรายการแล้วในแต่ละปีประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนโดยเฉลี่ยคนละ 2,131 บาท/คน/ปี

ดังนั้น หากนำยอดรายจ่ายต่อหัวที่ระดับ 2,131 บาท/หัว/ปี มาคูณจากจำนวนสมาชิก 9 ล้านคน ที่เก็บเงินสมทบได้ปีละ 5 หมื่นล้านบาท จะพบว่าแต่ละปีต้องจ่ายค่าเหมาจ่ายรักษาให้โรงพยาบาลปีละ 1.9 หมื่นล้านบาท

หากต้องเพิ่มค่ารักษาพยาบาลจาก 1,284 บาท เป็น 1,800 บาท นั้นจะสูงมาก เมื่อรวมค่าอื่นๆ อีกปีละ 800 บาท จะทำให้ต้องมีภาระสูงถึงปีละ 2.34 หมื่นล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193232
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news24/09/07

โพสต์ที่ 38

โพสต์

112 รพ.ชิ่งหนีประกันสังคม  

โดย เดลินิวส์ วัน จันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550 08:51 น.

ลั่นเหลืออด! 112 รพ.เอกชน ขอถอนตัวกองทุนทเดแทน-เบิกตรงนายจ้าง อ้างประกันสังคมผิดสัญญา อ้างแบกภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหวมีผล 1 ม.ค.ปี 51 แถมส่อเค้าถอนตัวจากประกันสังคม จากปัญหาคาราคาซังเรื่องค่ารักษารายหัว ขีดเส้นสิ้นเดือน ก.ย.ต้องได้คำตอบ บุญจันทร์ ไม่หวั่น ยันมี รพ.ต้องการร่วมกองทุนอีกมาก โต้ไม่มีเจตนากดค่าหัว แต่ต้องปกป้องเงินผู้ประกันตน เตรียมนัดเคลียร์ รพ. ต้นเดือน ต.ค.

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงแรงงานว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม ที่มี นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธาน และมีโรงพยาบาลเอกชนเป็นสมาชิกในเครือข่าย 112 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเปิดให้บริการรักษาดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตราย และเจ็บป่วยจากการทำงาน อาทิ รพ.หัวเฉียว รพ.เกษมราษฎร์, รพ.เปาโล, รพ.คามิลเลียน, รพ.ลาดพร้าว, รพ.บางนา 2, รพ.กล้วยน้ำไท, รพ.กรุงธน 1 และ 2, รพ.ยันฮี ฯลฯ ได้มีมติร่วมกันว่าไม่เข้าร่วมเซ็นสัญญากับกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพราะไม่ต้องการปฏิบัติตามข้อบังคับของกองทุนเงินทดแทน เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้ อีกทั้งที่ผ่านมากองทุนเงินทดแทนก็ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ระหว่างสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกับกองทุนที่ได้มีการเซ็นข้อตกลงกันเมื่อเดือน ธ.ค. 2548 ชมรมฯ จึงจำเป็นต้องเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากสถานประกอบการโดยตรงตั้งแต่ 1 ม.ค. 2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ชมรมฯ ได้ทำหนังสือแจ้งไปถึงสถานประกอบการและลูกจ้างที่ใช้บริการกับ รพ.เอกชนทั้ง 112 แห่งให้ทราบแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของหนังสือเวียนดังกล่าว ได้ระบุถึงเหตุผลที่ไม่สามารถเซ็นข้อตกลงกับกองทุนเงินทดแทนในปี 2551 12 ข้อ อาทิ อัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ที่กองทุนเงินทดแทนจ่ายให้กับผู้ประกันตนรายละ 35,000 บาท แต่ถ้าเป็นกรณีบาดเจ็บหลายส่วน เช่น กระดูกหักหลายท่อน หรืออวัยวะภายในแตก แต่ผู้ป่วยยังรอดชีวิต กองทุนก็จะยอมจ่ายค่ารักษารายละ 85,000 บาท รวมทั้งกรณีบาดเจ็บสาหัส อาทิ ผ่าตัดสมอง ลำไส้แตก จ่ายให้ไม่เกินรายละ 2 แสนบาท ซึ่งอัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับการรักษาที่เป็นจริง เพราะเป็นอัตราที่ใช้มากว่า 11 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2539 นอกจากนี้ การที่กองทุนกำหนดให้ค่าบุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลต้องไม่เกิน 30% ของยอดรวมค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ชมรมฯ ย่อมไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะฝืนจากความเป็นจริง ที่สำคัญการกำหนดให้ค่าห้องรวม ค่าอาหาร รวมไม่เกินวันละ 700 บาท นับเป็นอัตราที่ต่ำมาก ที่ผ่านมาปัญหาเหล่านี้ทางกองทุนไม่เคยคิดปรับราคาเลย ขณะที่การปรับค่าแรงขั้นต่ำได้มีการดำเนินการปรับมาแล้ว 9 ครั้ง

นพ.นพดล นพคุณ รองประธานชมรมโรงพยาบาลเอกชนฯ กล่าวว่า การที่ รพ.เอกชน 112 แห่งบอกเลิกการทำสัญญานั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเราเหลืออดแล้ว และทนมานานกับค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับภาระฝ่ายเดียว โดยที่กองทุนฯ ก็ไม่เคยเหลียวแล แม้จะมีหนังสือขอเข้าร้องเรียนกับ รมว.แรงงาน แต่ก็ไม่เคยได้พบ ทุกวันนี้ รพ.จะต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แต่เมื่อถึงเวลาเบิกคืนทำเรื่องไปที่กองทุนก็พบว่าทำได้ยากและใช้เวลานานร่วมปีกว่าจะเบิกได้แต่ละครั้ง รวมทั้งยังได้รับค่ารักษาคืนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้เกิดยอดเงินค้างสะสมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีกรณีความไม่ชัดเจนของค่าใช้จ่ายรายหัวที่ได้ยื่นเรื่องให้กองทุนประกันสังคมกำหนดตัวเลขรายหัวที่ชัดเจน หากภายในเดือน ก.ย.นี้ สปส. ยังไม่ให้คำตอบว่าจะให้ค่าหัวเท่าไหร่ ทาง รพ. ทั้ง 112 แห่ง คงต้องพิจารณาตัดสินใจว่า อาจถอนตัวออกจากระบบประกันสังคมและจะต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามจริงกับผู้ป่วยที่มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกันตนหรือใครก็ตาม

ขณะที่นางบุญจันทร์ ไทยทองสุข ผอ. กองทุนเงินทดแทน สปส. กล่าวว่า หากว่า รพ.เอกชนทั้ง 112 แห่งจะถอนตัว สปส. ก็ยังมีโรงพยาบาลเอกชนอื่นอีก 100 แห่ง รวมทั้งมีรพ.ของรัฐบาลอีกหลายร้อยแห่ง ที่พร้อมจะเข้ามาร่วมกับเรา สปส. เข้าใจว่าสิ่งที่ชมรม รพ. เอกชนเรียกร้อง เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สปส. ไม่ให้การเหลียวแลทั้งที่หน้าที่ของเรา จะต้องให้ความเป็นธรรม และปกป้องประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน ไม่ใช่ให้เก็บค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ก็ได้ การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายจะมีคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนด และที่พูดแบบนี้ สปส.ไม่ได้มีเจตนากดค่าใช้จ่าย ซึ่งเรื่องนี้ยังมีทางออกเราจะเชิญ รพ. มาหารือในต้นเดือน ต.ค. ?ผู้บาดเจ็บจากการทำงานส่วนใหญ่ ไปใช้บริการใน รพ.เอกชนประมาณ 80% ของจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด 200,000 ราย แต่ต้องเข้าใจว่า สปส. ไม่สามารถจะตามใจให้โรงพยาบาลไหน ขึ้นค่าใช้จ่ายโดยกระทบผู้ประกันตนได้ อีกทั้งเราไม่ต้องการให้โถมค่าใช้จ่ายลงไปที่ค่าบริการของแพทย์มากเกินไป เพราะทุกวันนี้ รพ.เอกชนเองก็มีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อย่างไม่จำกัดอยู่แล้ว?

ด้านนายจรินทร์ งาดีสงวนนาม ประธาน สภาองค์การนายจ้างการเกษตร ธุรกิจอุตสาห กรรมไทย กล่าวว่า ยอมรับปัญหานี้ส่งผลกระทบกับทุกฝ่าย โดยบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนมากเป็นนายจ้างและลูกจ้าง ที่จะต้องมีภาระในการหาเงินสดมาสำรองจ่ายในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานและต้องนำส่งตัวเข้ารับการรักษาทันที ซึ่งถือเป็นภาระที่ไม่คล่องตัว และเชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้วผู้รับกรรมในเรื่องนี้ก็คือลูกจ้าง ที่ต้องทุกข์กังวลกับความเจ็บป่วยและเรื่องเงิน ค่ารักษา.
http://news.sanook.com/economic/economic_186004.php
chut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 242
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 39

โพสต์

เรื่องรพ.เอกชน เริ่มประลองกำลังกับสำนักงานประกันสังคม เพิ่งจะเริ่มต้น เห็นทีต้องติดตามกันนานครับ

เท่าที่ผมทราบ รพ.ที่ผมเคยทำงานอยู่(รพ.รัฐ)ถือว่า การได้ผู้ประกันตนจากประกันสังคม กับกองทุนเงินทดแทน ทำให้รพ.ได้กำไรนะครับ แต่ที่รพ.เอกชนออกมาแบบนี้อาจเป็นเพราะ
1. รพ.เอกชน need return on investment มากกว่ารพ.ของรัฐ (รพ.ของรัฐ เนื่องจากรัฐเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว ผู้บริหารไม่มีส่วนในผลกำไรของรพ. จึงไม่ค่อยคิดถึง cost of capital และไม่ค่อยคิดถึงความคุ้มค่าในการลงทุน) เช่น นิยามของคำว่ากำไรของรพ.รัฐ กำไรด้วย net profit margin 1% ก็ถือว่ากำไร เป็นผลงานที่ดี ขณะที่รพ.เอกชน ถ้าทำได้แบบเดียวกัน ผู้บริหารคงถูกไล่ออกไปแล้ว
2. รพ.เอกชน ต้องการต่อรองเพื่อเพิ่มกำไรของตน สังเกตว่ารพ.ที่รวมอยู่ใน 112 แห่ง ที่เห็นชื่อในข่าว เป็นรพ.ที่มีจุดแข็งอื่น ที่สามารถดึงดูดคนไข้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งรายได้จากประกันสังคม
คือ ถ้าต่อรองสำเร็จ ก็จะได้กำไรที่มากขึ้น , ถ้าไม่สำเร็จ ก็ไม่เสียรายได้ไปมากนัก อาจจะมีข้อดีทำให้ focus ที่จุดแข็งของตัวเองได้ดีขึ้น แต่อาจจะมี economy of scale ที่ลดลง
"Many shall be restored that are now fallen and many shall fall that are now in honor."
tong78
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 161
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ประกันสังคม เบิกจ่ายยากจริงๆครับ พนักงานบริษัทที่ผมเคยทำงานเคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ประกันสังคมยังไม่ยอมจ่ายให้ตามข้อกำหนดเลยครับ ทำเรื่องไปหลายรอบหลายครั้งก็โยนเรื่องไปมา สุดท้ายได้แค่นิดเดียว ต้องจ่ายเองไปเกือบแสน อยากรู้จริงๆว่า สำนักงานประกันสังคมนี้เค้าเอาเงินไปทำอะไร ที่หักจากเงินเดือนไปทุกเดือนๆเนี่ย
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ร.พ.ชิงดูดเงินสเต็มเซลล์ +เอกชนแห่เปิดศูนย์ฯแข่งให้บริการ ชิงตลาดหมื่นล้าน

ฐาน ตลาด 29/09/2007 06:59:01

นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะบริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลได้เปิดให้บริการรักษาคนไข้ด้วยการใช้สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ในการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งที่ผ่านมามีคนไข้มาใช้บริการกับโรงพยาบาลแล้วจำนวน 110 ราย โดย 71 % เป็นคนไข้จากอเมริกา ที่เหลือเป็นคนไข้ในแถบภูมิภาคเอเชีย ซึ่งผลการรักษาพบว่าเกิน 95 % คนไข้มีการอาการโดยรวมดีขึ้น ค่ารักษาเฉลี่ยจะอยู่ที่รายละประมาณ 1,100,000 บาท
ทั้งนี้นอกจากการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจแล้ว โรงพยาบาลยังอยู่ระหว่างทำการวิจัยนำ สเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษากับโรคอื่นๆอีก อาทิ ตับอ่อน สมอง ส่วนการรักษาแผลเบาหวาน ขณะนี้โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ในปีหน้าโรงพยาบาลยังจะจัดตั้งศูนย์วิจัยสเต็มเซลล์ขึ้นที่โรงพยาบาลกรุงเทพด้วย
"เรามีผลการรักษาที่ดีกับสเต็มเซลล์ หรือเรียกได้ว่ามีผู้มาใช้บริการกับเรามากที่สุด และมีแนวโน้มมากขึ้น โดยเฉพาะจากอเมริกาและตะวันออกกลาง ซึ่งขณะนี้เรากำลังทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาโรคอื่นๆ ในปีหน้าจะมีการตั้งศูนย์สเต็มเซลล์ขึ้นที่โรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของคนไข้"
นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่าที่ผ่านมาโรงพยาบาลให้บริการบนพื้นฐานของจริยธรรมทางการแพทย์ โดยคนไข้ที่มาใช้บริการเป็นคนไข้ที่ได้รับการรักษามาจนครบทุกขั้นตอนแล้ว และโรงพยาบาลได้แจ้งข้อมูลถึงผลการรักษาที่จะเกิดขึ้น โดยไม่มีอะไรที่โฆษณาเกิดความจริง
นพ.บุญ วนาสิน ประธานบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท เปิดเผยว่า โรงพยาบาลปิยะเวทได้ร่วมกับสถาบันวิจัย เบเกอไบโอเทคโนโลจิคอล แอนด์ เชนเซน เบเกอ เซลล์ เอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็น
กลุ่มวิจัยเรื่องเซลล์รักษาที่มีชื่อเสียระดับโลกของจีน ในการส่งต่อคนไข้มาใช้บริการกับทางโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ฉีดสเต็มเซลล์ และรักษาโรคอื่นๆ รวมถึงการทำกายภาพบำบัด  โดยโรคที่รักษาคือ โรคสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ และโรคเลือด นอกจากนี้โรงพยาบาลยังเตรียมจัดตั้งศูนย์วิจัยสเต็มเซลล์ โดยร่วมกับสถาบันวิจัยจากประเทศจีนด้วย
"ในการตลาดเราถือว่าสเต็มเซลล์เป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ แต่ว่าผลการรักษาต้องบอกเขาตรงๆ เช่น คนไข้จากรถชนกระดูไขสันหลังขาด โอกาสหายหรือดีขึ้นของเขาคือ 1-2 % เท่านั้น  แต่ถ้า สมองเสื่อม อัมพาต อัมพฤกษ์ โอกาสหาย 60 %เราต้องกล้าบอกความจริงกับคนไข้ว่าโอกาสหายของเขาเท่าไร คือ สเต็มเซลล์อันตรายไม่มี มีแต่เสียเงิน แล้วให้เขาเลือกว่าจะรักษาหรือไม่รักษา ของเราที่มีปัญหากันอยู่ขณะนี้เพราะไปโฆษณาเกินจริง และทำเป็นการค้ากันเกินไป ซึ่งผมเห็นด้วยกับกระทรวงที่จะต้องมีการควบคุม เพราะคลินิกหลายแห่งทำเพื่อการค้ามากไป ไม่ใช่วิจัย "
นพ.สุรพงค์ อำพันวงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ โรงพยาบาลพญาไท เปิดเผยว่า โรงพยาบาลให้บริการคนไข้ด้วยการรักษาด้วยสเต็มเซลล์แล้วกว่า 10 ราย ในโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีผลการรักษาที่ดีมาก โดยคนไข้ทุกรายที่เข้ารับการรักษา ล้วนผ่านขั้นตอนการรักษาอื่นๆมาหมดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไข้ต่างชาติ อย่างไรก็ตามมองว่าการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ปัจจุบันนั้น ถือเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่มีการรับรองทางงานวิจัยแล้วจากทั่วโลก ซึ่งวิธีการที่โรงพยาบาลพญาไทนำมาใช้ ก็จะเป็นวิธีการเดียวกัน คือ 1.ต้องมีความปลอดภัย 2.รักษาแล้วต้องดีขึ้น และ 3.คนไข้สมัครใจทำ แต่ทั้งนี้ยอมรับการรักษายังมีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาโรงพยาบาลไม่มีการโฆษณาเกี่ยวกับสเต็มเซลล์แต่อย่างใด
นายพอ บุญรัตพันธ์ ประธานบริหารบริษัท สเต็มเซลล์ ฟอร์ ไลท์ จำกัด ผู้ให้บริการจัดเก็บ สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์ต้นกำเนิด เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดกับบริษัทแล้วประมาณ 50-60 ราย โดยบริษัทมีเครือข่ายซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดทั่วประเทศรวม 40 แห่ง และในอนาคตบริษัทกำลังจะให้บริการจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากฟันน้ำนมด้วย โดยค่าบริการในการจัดเก็บจะเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 บาท ต่อราย ซึ่งสามารถจัดเก็บได้อย่างน้อย 20 ปี
ทั้งนี้มองว่า ในอนาคตการให้บริการจัดเก็บสเต็มเซลล์ จะมีอนาคตที่สดใส แม้ปัจจุบันจะมีผู้ให้บริการจัดเก็บเกิดขึ้นในเมืองไทยหลายบริษัทแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนจะเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของสเต็มเซลล์มากขึ้น ขณะเดียวกันวงการแพทย์ก็จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีวิธีการรักษาใหม่ๆ ที่จะดึงประโยชน์จากสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรคได้หลากหลาย
อย่างไรก็ตามปัจจุบันการให้บริการเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ นอกจากจะเปิดให้บริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกับโรงพยาบาลเอกชนแล้ว ยังพบว่ามีคลินิกด้านความสวยความงาม ก็เริ่มนำสเต็มเซลล์เข้ามาใช้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจแล้วเช่นกัน และเมื่อเทียบเม็ดเงินของการให้บริการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสเต็มเซลล์แล้วคาดว่าจะมีมูลค่าในตลาดเฉียดหมื่นล้านบาท.
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ธุรกิจโรงพยาบาลฟื้น

โพสต์ทูเดย SECTION B 29/09/2007 11:38:37

นักวิเคราะห์เชื่อว่า หลังจากผ่านพ้นงวดไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของกลุ่มโรงพยาบาลแล้ว ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า ในงวดครึ่งหลังปีนี้ ผลการดำเนินงานของกลุ่มนี้จะเติบโตต่อเนื่อง และสู่ช่วงสูงสุดของธุรกิจโรงพยาบาล
จากข้อมูลในอดีตจะเห็นได้ว่า ไตรมาส 3 ของทุกปี จะเป็นช่วงสูงสุดของธุรกิจนี้ เพราะเป็นฤดูฝน ตามมาด้วยไตรมาส 4 ซึ่งเป็นฤดูหนาว จึงส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยชาวไทยมาใช้บริการค่อนข้างหนาแน่น ทำให้โรงพยาบาลแทบทุกแห่งมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก และนอกจากผลของฤดูกาลในไทยเองแล้ว ยังเห็นถึงแรงขับเคลื่อนการเติบโตในงวดครึ่งหลังปีนี้ที่แตกต่างกันออกไปอีกของโรงพยาบาล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH), โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) และโรงพยาบาลบางกอกเชนฮอสปิทอล (KH) ยังรับอานิสงส์เพิ่มอีก...
นักวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส วิเคราะห์ว่า งวดครึ่งหลังปีนี้ยังเป็น High Season ของผู้ป่วยชาวต่างชาติด้วย เพราะเป็นช่วงวันหยุดพักร้อน โดยเฉพาะชาวตะวันออกกลาง ซึ่งคาดว่าจะทำให้ BH มีกำไรงวดครึ่งหลังปีนี้เติบโต
ขณะที่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) คาดว่าการบันทึกค่าใช้จ่ายในการขอมาตรฐาน JCIA (Joint Commission International Accreditation) และค่าเสื่อมราคาจะกดดันให้กำไรเติบโตจากครึ่งแรก แต่ลดลงเทียบ ช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วน NTV คาดจะได้ผลดีจากการเริ่มรับรู้รายได้เพิ่มหลังเปิด นนทเวช สหคลินิก (ตั้งแต่ 25 ก.ย. 2550) ขณะที่โรงพยาบาลวิภาวดี (VIBHA) เชื่อว่าผลกระทบจากการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในโรงพยาบาล วิภารามที่ลดลงจะยังกดดันกำไรงวดครึ่งหลังให้ลดลง
สำหรับ KH ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราเหมาจ่าย ในโครงการประกันสุขภาพเป็น 2,100 บาท/คน/ปี หรือ เพิ่มขึ้น 10.6% ตั้งแต่งวดไตรมาส 4 ปี 2550 เป็นต้นไป ขณะที่โรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) ไม่ได้ร่วมโครงการประกันสุขภาพ จึงไม่ได้ประโยชน์จากการขึ้นอัตราเหมาจ่ายดังกล่าว
บล.แห่งนี้ได้ปรับน้ำหนักลงทุนเป็น เท่ากับตลาด ให้ BH เป็นหุ้นที่แนะนำให้ลงทุนสูงสุดในกลุ่ม เนื่องจากงวดครึ่งแรก ปีนี้ผลการดำเนินงานของกลุ่มโรงพยาบาลต่ำกว่าที่คาดไว้ ค่อนข้างมาก
แม้จะมีการซื้อขายกันที่สัดส่วนราคาต่อกำไร (P/E) สูงเกือบ 25 เท่า แต่เนื่องจาก BH มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง และฐานลูกค้ามากกว่าครึ่งเป็นชาวต่างชาติ ดังนั้น หากเทียบกับ P/E ของหุ้นโรงพยาบาลที่เจาะลูกค้าต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งขันด้าน Medical Hub โดยตรงแล้วยังถือว่า BH มีราคาถูก ส่วน NTV และ KH ยังแนะนำ ซื้อ เพราะพื้นฐานดี
และยังมีโอกาสที่ราคาจะปรับขึ้น น่าลงทุน ขณะที่แนะนำเพียง ถือ สำหรับ BGH, M-CHAI และ VIBHA เพราะคาดว่างวดครึ่งหลังปีนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงต่อเนื่องจากงวดครึ่งแรกของปีอยู่ และจะกดดันประสิทธิภาพในการทำกำไรได้งวดไตรมาส 2 ปี 2550 กลุ่มโรงพยาบาลกำไรสุทธิลดลง 22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
กลุ่มโรงพยาบาลที่ บล.เอเซีย พลัส ดูแลอยู่ 6 แห่ง ได้แก่ BH, BGH, NTV, VIBHA, KH และ M-CHAI มีกำไรสุทธิรวมในงวดไตรมาส 2 ปี 2550 เท่ากับ 869 ล้านบาท ลดลง 22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีโรงพยาบาลเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่มีกำไรสุทธิงวดไตรมาส 2 เติบโตเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนคือ BH (6%) และ KH (2%) ส่วนโรงพยาบาลที่เหลือผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ตกต่ำ
ด้าน บล.กรุงศรีอยุธยา เชื่อว่า อุตสาหกรรมโรงพยาบาล ผลการดำเนินงานจะเติบโตดีขึ้นต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลเอกชนซึ่งเข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพกับภาครัฐจะได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนไทยในปีงบประมาณ 2551
นอกจากนี้ จากการสนับสนุนของภาครัฐบาลให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub of Asia ด้วยการการชูจุดแข็งใน ด้านต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำกว่าต่างประเทศ
ด้วยคุณภาพในการรักษาที่ใกล้แคียงกัน และการที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้การท่องเที่ยวด้านบริการสุขภาพ (MedicalTourism) เติบโตต่อเนื่อง
ดังนั้น ยังคงน้ำหนักการลงทุนของกลุ่มโรงพยาบาลไว้ที่ เหนือตลาด และเลือกหุ้น KH, และโรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) เป็นหุ้นที่น่าลงทุนสูงสุดของกลุ่ม
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 43

โพสต์

สิ่งที่สิงคโปร์สู้ไทยไม่ได้ด้านการรักษาพยาบาล [16 ต.ค. 50 - 19:07]
บนเครื่องบินมาเชียงใหม่ ผมอ่านข่าวชิ้นหนึ่งถึงการแย่งลูกค้ากันระหว่างโรงพยาบาลสิงคโปร์และโรงพยาบาลไทย ลูกค้าที่ว่าคือ คนไข้จากสหภาพพม่าและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในสายตาของพวกเรา ผู้คนจากประเทศทั้งสองไม่น่าจะมีสตางค์มารักษาในสถานพยาบาลชั้นหนึ่ง แต่ความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม
อีกประเทศหนึ่งซึ่งมีคนไข้มารักษาพยาบาลในประเทศไทยปีละหลายหมื่น ก็คือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ผมเขียนเรื่องคนไข้จากบังกลาเทศรับใช้ในเปิดฟ้าส่องโลกไปแล้วหลายครั้ง และก็ช่างบังเอิญครับมาเชียงใหม่ครั้งนี้ ผมมีโอกาสได้สนทนากับอาจารย์อุดม ฉัตรศิริกุล ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าขณะนี้มีบริษัทฝรั่ง จ้างบริษัทไทยไปก่อสร้างโรงพยาบาลที่บังกลาเทศ ในขณะเดียวกัน บริษัทฝรั่งซึ่งรับจ้างบริหารโรงพยาบาลเริ่มเข้าไปบริหารสถานพยาบาลในบังกลาเทศ อนาคตอันใกล้ ตลาดงานการรักษาสุขภาพคงจะแข่งขันกันรุนแรงยิ่งขึ้น ของประเทศใด ของใครดีมีคุณภาพและภาพพจน์ดีมากกว่า ก็จะได้เปรียบ
ขออนุญาตยกตัวอย่างของการสร้างภาพพจน์ ด้านการรักษาพยาบาลของไทยในสาธารณรัฐอินเดีย ที่ผมเพิ่งได้ไปประสบพบเห็นมากะตา ที่อำเภอกุศินาคาร์ รัฐอุตตรประเทศ มีสถานพยาบาลกุสินาราคลินิกของวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเก็บค่ารักษาพยาบาลเพียง 5 รูปีทุกโรค เงินอินเดีย 5 รูปี ก็ประมาณ 4 บาทกว่าของไทย
วันพระใหญ่ 15 ค่ำ ถือว่าเป็นวันแผ่พุทธานุภาพ วันนี้จะไม่มีการเก็บค่ารักษาพยาบาล มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่ายาทุกชนิดให้คนไข้ สูงอายุและเด็กเล็ก
นิติภูมิได้สนทนากับคนไข้ที่มีทั้งนักพรต ฤาษีชีพราหมณ์ พระภิกษุสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา และชาวบ้านร้านช่องในอำเภอกุศินาคาร์ เมื่อถามว่าการรักษาพยาบาลของคลินิกไทยเป็นอย่างไร ได้รับ คำตอบว่า Thailand Clinic is very good. ทุกคนยอมรับว่า คลินิกของไทยราคาถูกและมีการรักษาพยาบาลดีมีคุณภาพยอดเยี่ยม สร้างเครดิตและชื่อเสียงให้กับวงการแพทย์ของไทยได้เป็นอย่างดี
หากพูดถึงอาคารสถานที่ของคลินิกนี้ ผมว่าก็เท่ากับโรงพยาบาลขนาดเล็กในประเทศไทย ไม่ใช่คลินิกตึกแถว แต่มีอาคารสถานที่และบริเวณกว้างขวางพอสมควร ทราบว่าเมื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเจ็บป่วย พวกนี้ จะไม่ไว้ใจโรงพยาบาลอินเดีย แต่มีความไว้เนื้อเชื่อใจใน Thailand Clinic ไม่ว่าชาวสิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน สวิส อเมริกัน เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน เวียดนาม ทิเบต ภูฏาน ลาว เขมร เนปาล พม่า ศรีลังกา ฯลฯ ต่างมุ่งหน้ามาที่ Thailand Clinic กันทั้งนั้น
งานการรักษาของสถานพยาบาลไทยแห่งนี้ ทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทยกับประเทศต่างๆบริสุทธิ์งดงาม กิตติศักดิ์ชื่อเสียงของคนไทยแผ่ขยายกระจายออกไปอย่างไพศาล พระพุทธศาสนาก็ได้รับการกล่าวขานออกไปกว้างไกลทุกสารทิศ
กุสินาราคลินิกแห่งวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์เปิดเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สถิติตั้งแต่วันนั้นมาจนถึง พ.ศ. 2548 มีคนไข้รักษาไปแล้ว 1.5 แสนราย เสียค่าใช้จ่ายเดือนละ 3.3 แสนบาทไทย มีรายได้จากคนไข้ประมาณเดือนละ 1.2 แสนบาท
พระราชรัตนรังษี เจ้าคุณวีรยุทธ์ ท่านกรุณาพาผมเดินชมการก่อสร้างเพิ่มเติม ขณะนี้กำลังมีการสร้างอาคารพยาบาล 2 ชั้น เพื่อเพิ่มห้องตรวจอีก 16 ห้อง นอกจากนั้นยังสร้างเพิ่มห้องจ่ายยา ห้องเอกซเรย์ ห้องตรวจเลือด ห้องสุขา ที่รอการตรวจ ศาลาไทย ที่ปฏิบัติ วิปัสสนา ห้องบรรยายธรรมรักษาผู้ป่วยด้วยธรรมเภสัช อาคารที่พักรักษาผู้แสวงบุญของพระมหาเถระและฆราวาสอีก 16 ห้อง ยังมีห้องจัดภัตตาหารและมีการจัดหาอุปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่สมบูรณ์
ภาพพจน์ทางการรักษาพยาบาลของไทยแผ่ขยายกระจายออกไปอย่างไพศาล อันนี้นี่แหละครับ ที่สิงคโปร์ประเทศคู่แข่งของเราไม่มี มองไปในระยะยาว ผมว่าสิงคโปร์ไม่อาจจะสู้เราได้ เพราะสิงคโปร์มีแต่การรักษาพยาบาลด้วยยาและเครื่องมือเท่านั้น แต่ไม่มีธรรมรักษา โครงการอย่างนี้ คนไทยและหน่วยราชการไทยจะต้องรีบเข้าไปสนับสนุน ขออย่างเดียว ขณะที่เราสร้างสถานพยาบาลให้ประเทศอื่นเพื่อสร้างเครดิตให้กับประเทศไทย เราก็ควรจะสร้างสถานพยาบาลคุณภาพอย่างนี้ให้คนไทยด้วยครับ
ผู้อ่านท่านผู้เจริญผู้สนทนากับผมเรื่องต่างๆทาง [email protected] ผมรับใช้ท่านได้ไม่จบครบทุกท่าน ก็ต้องขอโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วย ส่วนเรื่องพุทธศาสนาในอินเดีย หรือแม้แต่เรื่องกุสินาราคลินิก ผมจะส่งต่อไปยังพระราชรัตนรังษีครับ.

นิติภูมิ นวรัตน์
http://www.thairath.co.th/news.php?sect ... tent=64696
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/10/07

โพสต์ที่ 44

โพสต์

รพ.เอกชนแผลงฤทธิ์...เปิดเกมรุกแตกไลน์ธุรกิจ  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
13 ตุลาคม 2550 14:08 น.
 
      ผู้จัดการรายสัปดาห์ - * สมรภูมิ รพ.เอกชนไทยเริ่มร้อนระอุ!...อีกครั้ง * เมื่อทุกค่ายกระโดดเข้ามาเล่นเกมรุกในเวลาเดียวกัน * หลังฉากของการแข่งขันหนีไม่พ้นจุดคุ้มทุนและต่อยอดธุรกิจ * การผุดแคมเปญใหม่ออกมาจึงมีแต่ได้กับได้...ทว่าใครจะเป็นผู้เริ่มต้นก่อน!
     
      ชื่อเสียงของธุรกิจโรงพยาบาลไทยโด่งดังกระฉ่อนไปทั่วโลกหลังจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเร่งปรับปรุงบริการและนำนวัตกรรมการรักษาพยาบาลแนวใหม่มาใช้พร้อมโชว์ศักยภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ ล่าสุดตัวเลขยอดการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงสิ้นปี 2550 จะมีลูกค้าต่างประเทศเข้าใช้บริการกว่า 1.54 ล้านราย คิดเป็นรายได้เข้าประเทศกว่า 41,000 ล้านบาท
     
      ธุรกิจโรงพยาบาลไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่มีการแข่งขันให้บริการค่อนข้างสูง และมีอัตราการขยายฐานการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย(Medical Hub of Asia)
     
      ขณะเดียวกันผู้ประกอบการภาคเอกชนต่างขานรับนโยบายด้วยการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงเพิ่มงบประมาณด้านบุคลากรและอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อรองรับธุรกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากนี้แล้วชื่อเสียงของทีมแพทย์ไทยในด้านการรักษาเฉพาะทางรวมไปถึงเอกลักษณ์ของการให้บริการแบบไทยๆได้สร้างความเชื่อมั่นอย่างสูงในหมู่ผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
     
      ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดที่เข้มข้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่ายผู้ให้บริการด้านรักษาพยาบาลภายในประเทศไทยต่างตระหนักดีว่าจะต้องสร้างรูปแบบแนวทางการตลาดใหม่ๆขึ้นมา หวังที่จะรองรับการแข่งขันในสมรภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปโรงพยาบาลเอกชนไทยยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งขันทั่วโลกกับธุรกิจให้บริการรักษาพยาบาล
     
      ขณะที่ประเทศในแถบภูมิภาคเดียวกันก็พยายามสร้างจุดขายในด้านนี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จึงมีหลากหลายทางเลือกที่ผู้ต้องการรับการรักษาจะเข้าไปใช้บริการประเทศใด ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้วจะต้องรักษามาตรฐานให้สม่ำเสมอและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันต่อเทคโนโลยีทันสมัยตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันถือได้ว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเห็นได้จากมีจำนวนตัวเลขชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี
     
      อย่างไรก็ตาม ไทยยังถือเป็นผู้นำของธุรกิจนี้ในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญกอปรกับคนไทยมีใจรักบริการ และมีนิสัยเอื้ออาทร นอกจากนี้ไทยยังมีข้อได้เปรียบในด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยว โดยผู้ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยนอกจากจะพักรักษาตัวแล้วยังสามารถท่องเที่ยวได้ต่อเนื่อง โดยไทยมีบริการ สปา และบำบัดสุขภาพที่ได้มาตรฐานรองรับ ซึ่งสามารถนำเสนอควบคู่ไปกับแพกเกจการรักษาพยาบาลได้
     
      ดังนั้นการใช้ยุทธวิธีแนวรุกที่จะบุกเข้าจับตลาดด้านต่างๆจึงมีเกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง และนับวันจะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
     
      ปรากฏการณ์ของวงการโรงพยาบาลไทย ในรอบปีที่ผ่านมา ผู้บริหารแต่ละแห่งพยายามอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าจัดแคมเปญในรูปแบบต่างๆอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านั้นมีการใช้เรื่องของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆพร้อมกับการเปิดบริการศูนย์รักษาเฉพาะทางมาเป็นกลยุทธ์กรุยทางสร้างความตื่นเต้นทางการตลาดได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นการค้นหา เครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆมากระตุ้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจแบบนี้
     
      ก่อนหน้านั้นโรงพยาบาลในระดับเกรดเอบวกอย่างบำรุงราษฎร์ที่เน้นกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการโฆษณาออกสื่อทางทีวีที่ใช้ความรับผิดชอบต่อหน้าที่มาเป็นจุดขาย ขณะที่โรงพยาบาลพญาไทก็ยิงสปอตตามสื่อต่างๆไม่เว้นแม้แต่บนรถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารใช้บริการต่อวันเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าแสนคน
     
      ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนหลายค่ายอดรนทนไม่ไหวถึงกับลงทุนลงเนรมิตสื่อโฆษณาสร้างอิมเมจของตัวเองออกมาแจกจ่ายทั้งในรูปแบบแมกกาซีนหรือวารสารเพื่อหวังกระตุ้นให้ลูกค้าได้รู้จัก แถมยังมีโฆษณาชุดใหม่ที่นับวันกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้จะหยิบนำวิธีการเหล่านี้มาใช้กันมากขึ้นซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการกระตุ้นตลาดและสร้างภาพที่ได้ผลในระดับหนึ่ง
     
      ทั้งหมดทั้งปวงเป็นความชาญฉลาดของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละค่ายที่ถูกงัดออกมาต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง หวังแย่งชิงตลาดที่มีกำลังซื้อบนการแข่งขันทางธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีทันสมัยผสมผสานกับงานบริการมาเป็นจุดขาย
     
      ตลาดใหม่ที่น่าจับตา!...
     
      การเปิดศูนย์รักษาเฉพาะทางของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดพร้อมที่จะต่อยอดทางธุรกิจให้สัมฤทธิ์ผล เราจึงเห็นโครงการใหญ่ๆของธุรกิจโรงพยาบาลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รวมไปถึงการปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดควบคู่ไปพร้อมๆกัน
     
      ขณะที่เครือข่ายที่มีอยู่ในมือทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดก็เป็นแขนเป็นขาที่จะคอยช่วยเสริมทัพรองรับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง
     
      ปัจจุบันการจับมือเป็นพันธมิตรหรือเทกโอเวอร์ให้เป็นของตัวเองกำลังเป็นที่นิยมของเหล่าบรรดาหลายค่ายธุรกิจโรงพยาบาล โดยก่อนหน้านั้นไม่นาน โรงพยาบาลรามคำแหงได้กระโดดคว้า โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่มาครอบครองเรียบร้อย ทั้งๆที่มีเครือข่ายอยู่ในเชียงใหม่อยู่แล้วทำให้เห็นว่าการขยายเครือข่ายหลายสาขาในหัวเมืองหลักยังคงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าแผนส่งเสริมการตลาด
     
      ด้านโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในระดับเกรดเอคือมีโครงการลงทุนไม่เกิน 1 พันล้านบาทนั้นกลับมองว่าแผนส่งเสริมการตลาดจะเป็นตัวช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มและภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลได้ดีกว่าที่จะไปทุ่มทุนมหาศาลเพื่อกว้านซื้อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
     
      สอดคล้องกับ นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ บมจ.โรงพยาบาลเจ้าพระยา ที่บอกว่า กลุ่มโรงพยาบาลเจ้าพระยามีแนวคิดที่จะสร้างโมเดลการตลาดใหม่ๆออกมาเพื่อรองรับกลุ่มตลาดโดยล่าสุดมีการเปิดศูนย์เฉพาะทางเที่ยงคืนเป็นจ้าวแรกของธุรกิจโรงพยาบาลในระดับเดียวกัน
     
      ศักยภาพความพร้อมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีใหม่ๆจะถูกนำมาให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงนพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า
     
      การเข้าโรงพยาบาลเพื่อเช็กสุขภาพหรือตรวจรักษาโรคของลูกค้ามักไม่ค่อยมีเวลาในช่วงกลางวันกว่าจะถึงบ้านก็ค่ำ ส่งผลให้คณะผู้บริหารของโรงพยาบาลเจ้าพระยามองเห็นช่องว่างทางการตลาดที่จะสามารถนำมาปรับใช้เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายตรงนี้และเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้เข้าใจว่าโรงพยาบาลเจ้าพระยาก็มีศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางเปิดให้บริการตลอดเวลาคล้ายๆกับว่าเป็นคลินิกในโรงพยาบาลนั่นเอง
     
      ขณะเดียวกันการจับมือร่วมพันธมิตรของโรงพยาบาลเกรดเอ ถูกมองว่าจะเป็นเพียงแค่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้เท่านั้น สังเกตได้จากกลุ่มโรงพยาบาลในระดับนี้จะมีสาขาเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น
     
      ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ได้เร่งขยายเครือข่ายสาขาทั้งในรูปของการซื้อกิจการและการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ตลอดจนการเปิดศูนย์บริการเฉพาะทางเพื่อรองรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มและบริการลูกค้าชาวต่างชาติ อาทิ ศูนย์โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคกระดูก ศูนย์ศัลยกรรม และศูนย์ดูแลสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าในการให้บริการ โดยมุ่งทำตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม พร้อมทั้งสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้กับลูกค้า ผ่านการโฆษณาเผยแพร่ภาพลักษณ์ด้านความเชี่ยวชาญในการให้บริการและรักษาเฉพาะทาง
     
      เทคโนโลยีหัวใจของธุรกิจ
     
      วงการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในยุคปัจจุบันที่จะต้องสรรหาโซลูชั่นหรือแนวทางจัดการบริการด้านต่างๆที่ให้ความพร้อมที่สุดสำหรับลูกค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว อันเป็นหลักคิดที่สำคัญในยุคปัจจุบันของวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
     
      ภาพการเกิดศูนย์ให้บริการลูกค้าเฉพาะทางจึงมีให้เห็นในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยถือว่ามีความสำคัญสำหรับธุรกิจด้านบริการรักษาพยาบาล เพื่อตอบสนองและให้ความสะดวกในทุกด้าน
     
      ทีมงานแพทย์ พยาบาล และพนักงานทุกแผนกในโรงพยาบาล นับว่าเป็นบันไดขั้นแรกและขั้นสุดท้ายของธุรกิจ แน่นอนขั้นตอนกระบวนการรักษาและให้บริการจึงเป็นยุทธศาสตร์ของการทำธุรกิจ ขณะเดียวกันการพัฒนานำเทคโนโลยีใหม่ๆออกมาให้บริการเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงและมีมาตรฐานเดียวกันจึงถูกหยิบนำมาใช้ เราจึงเห็นภาพตามสื่อต่างๆที่โรงพยาบาลเอกชนหลายค่ายพยายามโชว์ศักยภาพความพร้อมของเครื่องไม้เครื่องมือในการให้บริการรักษาพยาบาล
     
      การเปิดศูนย์รักษาเฉพาะทางกำลังจะกลายเป็นที่นิยมในธุรกิจของโรงพยาบาลเอกชน ไม่เว้นแม้แต่โรงพยาบาลรัฐบางแห่งก็เปิดให้บริการศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางเช่นกัน แต่การเปิดศูนย์เฉพาะทางจำเป็นจะต้องถูกนำมาใช้ผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ๆด้วยเช่นกันจึงจะสัมฤทธิ์ผล เหตุผลง่ายๆก็คือสร้างความสบายใจในมาตรฐานของการให้บริการกับลูกค้านั่นเอง
     
      ยุทธศาสตร์สร้าง ฮับ
     
      การตื่นตัวและต่อเนื่องของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนได้สร้างสีสันกิจกรรมต่างๆขึ้นจะพบได้ว่าในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในระดับโลกจะให้ความสำคัญกับการยึดจุดยุทธศาสตร์ทางด้านธุรกิจ อันเป็นทำเลทองที่จะดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ สิงคโปร์ ไม่ยอมน้อยหน้ากันในการดึงเอาทำเลทองจุดต่างๆมาเป็นของตน
     
      การประกาศตัวของสิงคโปร์ที่จะสร้างให้ประเทศของตัวเองเป็นศูนย์รวมของการให้บริการรักษาพยาบาลแห่งเอเชียนั้นดูท่าจะเป็นโจทย์ที่หาคำตอบได้ยาก เพราะแต่ละประเทศในแถบโซนเอเชียต่างไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยก็พัฒนาทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีใหม่ๆออกมาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังกระตุ้นดึงกลุ่มลูกค้าใหม่ให้เข้าไปใช้บริการ
     
      สอดคล้องกับที่เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ที่บอกว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้กลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติทั่วโลกที่จะเข้ามารับการรักษาพยาบาลและรับการตรวจสุขภาพ เนื่องจากมีมาตรฐานในการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพที่เท่าเทียมกับต่างประเทศแต่ราคาถูกกว่า หรือด้วยคุณภาพเกือบเทียบเท่าแต่ราคาถูกกว่ามาก
     
      โดยเฉพาะการรักษาแบบผ่าตัดยากๆ ซึ่งแพทย์ไทยสามารถทำได้ดี เช่น การผ่าตัดหัวใจ สมอง เปลี่ยนข้อกระดูก แปลงเพศ และเสริมสวย ซึ่งในต่างประเทศจะคิดค่ารักษาพยาบาลประเภทนี้สูงกว่าเป็น 10 เท่า เอื้อชาติ กล่าว
     
      ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมากมักเดินทางมาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง ขณะที่ยังมีกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลยคือ กลุ่มลูกค้าระดับบนจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย อาทิ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่นิยมเข้ามารับการรักษาจากโรงพยาบาลตามจังหวัดชายแดนของไทย
     
      โรงพยาบาลเอกชนไทยยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งขันทั่วโลกกับธุรกิจให้บริการรักษาพยาบาล ขณะที่ประเทศในแถบภูมิภาคเดียวกันก็พยายามสร้างจุดขายในด้านนี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จึงมีหลากหลายทางเลือกที่ผู้ต้องการรับการรักษาจะเข้าไปใช้บริการประเทศใด ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้วจะต้องรักษามาตรฐานให้สม่ำเสมอและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันต่อเทคโนโลยีทันสมัยตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันถือได้ว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเห็นได้จากมีจำนวนตัวเลขชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี
     
      อย่างไรก็ตาม ไทยยังถือเป็นผู้นำของธุรกิจนี้ในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญกอปรกับคนไทยมีใจรักบริการ และมีนิสัยเอื้ออาทร นอกจากนี้ไทยยังมีข้อได้เปรียบในด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยว โดยผู้ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยนอกจากจะพักรักษาตัวแล้วยังสามารถท่องเที่ยวได้ต่อเนื่อง โดยไทยมีบริการ สปา และบำบัดสุขภาพที่ได้มาตรฐานรองรับ ซึ่งสามารถนำเสนอควบคู่ไปกับแพกเกจการรักษาพยาบาลได้
     
      ว่ากันว่าการสร้าง ฮับ แห่งเอเชีย กำลังจะกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญและยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า...โดยเฉพาะสินค้าที่นอกเหนือจากเทคโนโลยีใหม่ๆแล้ว ความสามารถในการรักษาของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบวกกับงานบริการที่ประทับใจอันจะนำไปสู่ความแข็งแกร่งของธุรกิจ
     
      ดังนั้นการเพิ่มเครื่องมือที่ทันสมัย และมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาคารด้านบริการเพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่นับวันจะมีจำนวนมาก กอปรกับประสิทธิภาพในการให้บริการจะเป็นตัวช่วยส่งผลทางธุรกิจเติบโตขึ้น และแน่นอนทุกค่ายธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็กำลังพยายามใช้ยุทธวิธีนี้สร้างความแข็งแกร่งธุรกิจให้กับตัวเอง แม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณที่แตกต่างกันก็ตาม
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000121445
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news24/10/07

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ประกันสุดทนรพ.ตุกติก
ประกันแฉโรงพยาบาลในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง คิดค่ารักษาลูกค้าประกันสุขภาพสูงกว่าลูกค้าทั่วไป ทำ 5 บริษัทใหญ่ขาดทุนถ้วนหน้า


นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่า จากการที่ 5 บริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลโรงพยาบาลที่มีการคิดค่ารักษาพยาบาลลูกค้าประกันสุขภาพสูงกว่าลูกค้าทั่วไปอย่างผิดปกติ พบว่าโรงพยาบาลในเขต จ.พิษณุโลก และบริเวณใกล้เคียง มีการคิดค่ารักษาพยาบาลอย่างผิดปกติ ส่วนในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยพบปัญหาดังกล่าวมากนัก

เราเคยส่งแพทย์ไปพูดคุยกับโรงพยาบาลมาแล้วหลายรอบ ให้เก็บค่ารักษาลูกค้าประกันสุขภาพเท่ากับลูกค้าทั่วไป คราวนี้ก็เลยมาร่วมมือกันว่าถ้าโรงพยาบาลยังไม่มีการแก้ไขก็จะตัดรายชื่อโรงพยาบาลออกจากเครือข่าย ซึ่งเราไม่ต้องการที่จะทำอย่างนั้น เพราะจะทำให้ลูกค้าเดือดร้อนในการต้องสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน นายอภิรักษ์ กล่าว

นายอภิรักษ์ กล่าวว่า สำหรับค่าสินไหมของประกันสุขภาพโดยเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 60-65% มีค่านายหน้าประมาณ 15% ต้องคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่ให้เกิน 20% ถึงจะมีกำไร แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในระดับเสมอตัว ทำให้บริษัทประกันชีวิตไม่สามารถที่จะลดราคาเบี้ยประกันสุขภาพได้ แม้ว่าจะมีลูกค้าหลายรายที่ไม่เคยเคลมค่าสินไหมเลย

ขณะที่บริษัท เอไอเอ สาขาประเทศไทย อยู่ระหว่างทำการจัดอันดับโรงพยาบาลที่รับลูกค้าประกันสุขภาพของบริษัท โดยจะแยกเป็นโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนระดับกลางถึงระดับ 5 ดาว และปรับเบี้ยประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับค่ารักษาพยาบาลของอันดับโรงพยาบาล เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางมีการคิดค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น 15% และคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า โรงพยาบาลระดับ 5 ดาวจะคิดค่ารักษาเพิ่ม 30%

สำหรับ 5 บริษัทประกันชีวิตที่ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลโรงพยาบาลที่มีการคิดค่ารักษาลูกค้าประกันสุขภาพสูงกว่าลูกค้าทั่วไป ประกอบด้วย บริษัท เอไอเอ สาขาประเทศไทย บริษัท ไทยประกันชีวิต บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต และบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต

ทั้งนี้ 5 บริษัทข้างต้นมีส่วนแบ่งตลาดเบี้ยประกันสุขภาพรวมกัน 90% ของทั้งระบบ โดย 6 เดือนแรกปี 2550 ทั้งระบบมีเบี้ยประกัน สุขภาพรวม 9,571 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งทั้งระบบมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันสุขภาพงวด 6 เดือน จำนวน 4,153 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2549

สำหรับตลาดประกันสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2549 ที่ผ่านมาบริษัทประกันชีวิตทั้งระบบมีเบี้ยประกันสุขภาพรวม 18,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับปี 2548 และคาดว่าปีนี้เบี้ยประกันสุขภาพรวมทั้งปีน่าจะมีอัตราการเติบโตในอัตราที่สูงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนตระหนักถึงคุณภาพในการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 055&ch=227
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 46

โพสต์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2264 25 ต.ค.  - 27 ต.ค. 2550
อย่างที่บอกไปแล้วว่า แม้โรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้น จะมีบริการดี มีแพทย์ฝีมือเยี่ยมยอดแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีผู้ใช้บริการคนไหนรับรู้ ก็ช่วยอะไรไม่ได้...ดังนั้น การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) จึงเป็นอีกหนึ่งความสำคัญ แต่ปัญหาใหญ่ของโรงพยาบาลคือ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ต้องอยู่ในความควบคุมของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งจะคอยควบคุมดูแล ไม่ให้โรงพยาบาลโฆษณาชวนเชื้อหรือเชิญชวนผู้บริโภคจนเกินจริง ดังนั้น จึงไม่เคยมีโรงพยาบาลเอกชนรายไหนที่ออกมาเปิดเผยงบการตลาดที่ชัดเจน
จากการควบคุมดูแลของหน่วยงานรัฐ จึงทำให้เราได้เห็นโฆษณาโรงพยาบาลผ่านสื่อทีวีค่อนข้างน้อย ที่เห็นๆ จะมีอยู่เพียงไม่กี่โรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลพญาไท ส่วนที่เน้นหนักคือสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ซึ่งสามารถเฉพาะเจาะจง เลือกลงสื่อที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ โดยรูปแบบจะออกมาในลักษณะของ Advertorial หรือบทความโฆษณาพิเศษ ที่ให้ความสำคัญกับข้อความ ซึ่งเป็นข้อมูลมากกว่าโฆษณาทั่วๆ ไป รวมทั้งการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านโบชัวร์ แผ่นพับ หรือการจัดกิจกรรม เช่น การสัมนาทางวิชาการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังฟรี  นอกจากการสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้แล้วว่า โรงพยาบาลมีดีอะไร สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การสื่อสารให้ชัดเจนว่า โรงพยาบาลนั้นๆ มีความเชี่ยวชาญด้านไหนเป็นพิเศษ (Brand Positioning) จะช่วยเสริมให้การสร้างแบรนด์มีความชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยโรงพยาบาลที่เห็นชัดเจนมากที่สุด น่าจะ ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่มีชื่อเสียงด้านโรคหัวใจ  แม้งบการตลาดจะไม่เป็นที่เปิดเผย แต่งบการลงทุน ไม่มีโรงพยาบาลไหนปกปิด แถมยังเปิดเผยกันมากๆ นั่นคืองบการลงทุนทั้งในแง่ของการขยายสาขา และการลงทุนเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งโดยเฉลี่ยโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ จะใช้งบการลงทุนเพื่อ 2 สิ่งนี้ แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าครั้งละ 800-1,000 ล้านบาท โดยสิ่งที่ได้จากการทำข่าวประชาสัมพันธ์การลงทุนเครื่องมือใหม่ๆ บริการใหม่ๆ หรือการขยายสาขาเพิ่มเติม ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่ง ที่ได้ทั้งในแง่ของความเชื่อถือ การสร้างความต่อเนื่องในการเข้าใช้บริการของผู้ป่วย เพราะสิ่งเหล่านี้ คือ เครื่องมือทางการตลาด ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจเข้าใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชนนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง หรือ Loyal User Strategy อันนี้ขอยืมศัพท์ของนักการตลาดมาใช้นิดหนึ่งเมื่อแต่ละโรงพยาบาลลงทุนทั้งเทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ เด็ดๆ มาดึงดูดผู้บริโภคให้กลับมาใช้บริการของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องแล้ว การลงทุนขยายสาขา ถือเป็นอีกหนึ่งความเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของโรงพยาบาล โดยเฉพาะการขยายตัวเพื่อรองรับผู้ป่วยต่างชาติ ทั้งการเปิดให้บริการในประเทศไทย และการขยายสาขาสู่ต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก อาทิ โรงพยาบาลธนบุรี ลงทุนกว่า 900 ล้านบาทสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบไอที และการเพิ่มพื้นที่ให้บริการ ซึ่งขณะนี้ส่งผลให้มีลูกค้าต่างชาติเข้าใช้บริการเพิ่มแล้วกว่า 7% ขณะที่โรงพยาบาลสมิติเวช เตรียมงบลงทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการขยายสาขา ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนลูกค้าต่างชาติสูงถึง 50% ส่วนโรงพยาบาลกรุงเทพ ปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้าต่างชาติประมาณ 40% และยังมีการลงทุนเปิดโรงพยาบาลในต่างประเทศ อาทิ พนมเปญ ประเทศกัมพูชา และยังมีแผนขยายไปที่ประเทศอื่นๆ โดยเตรียมงบไว้กว่า 1,000 ล้านบาทในการลงทุน และยังใช้งบการตลาดต่อปีประมาณ 2% ของรายได้ สำหรับการสร้างแบรนด์แบบไดเร็คเชลให้ต่างชาติได้รู้จักโรงพยาบาลกรุงเทพให้มากขึ้น การขยายตัวออกสู่ตลาดต่างประเทศของโรงพยาบาลเอกชน เกิดจากผลของสภาพเศรษฐกิจ ที่ทำให้การขยายตัวในประเทศมีน้อย ดังนั้นจึงทำให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชน หันไปมองหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ จนปัจจุบัน ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยต่างชาติเข้าใช้บริการมากกว่าสิงคโปร์ไปแล้ว หรือจะเรียกให้เท่ ก็คือ ไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน (Medical Hub) เพราะนอกจากโรงพยาบาลเอกชนหลายๆ แห่งของเรา ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลสากล JCIA (Joint Commission International Accreditation ) แล้ว มาตรฐานราคายังเป็นที่ยอมรับของต่างชาติด้วย  แบบนี้ซี ถึงจะเรียกว่า เริ๊ด...ทั้งมาตรฐาน และเยี่ยมทั้งการตลาด ที่สามารถกวาดได้ทั้งลูกค้าไทย ลูกค้าอินเตอร์เลยทีเดียว
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/10/07

โพสต์ที่ 47

โพสต์

รถพยาบาลเชื้อชาติไทยรอตีตลาดนอก

29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 17:36:00
 
ผู้ประกอบรถโดยสารไทย ยกระดับตัวเองเป็นผู้พัฒนารถพยาบาลหัวใจฉุกเฉิน ปรับแต่งอุปกรณ์รับความต้องการแพทย์ไทย ตั้งเป้าอีก 2 ปี เดินหน้าขยายตลาดประเทศเพื่อนบ้าน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายพิเชษฐ์ เจริญกิจ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอกวัตร ผู้ประกอบรถโดยสารไทยเปิดเผยว่า บริษัทได้พัฒนารถพยาบาลหัวใจฉุกเฉินคันแรกของไทยที่ได้มาตรฐานสากลเป็นผลสำเร็จ โดยมีเครื่องมืออุปกรณ์พยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถปรับใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ ได้


รถพยาบาลหัวใจฉุกเฉินคันนี้ตัวถังเป็นเหล็กกล้า โครงสร้างภายในทำจากวัสดุผสมระหว่างใยแก้วคาร์บอนกับโพลียูริเทน ซึ่งเป็นโฟมกันความร้อน ทำให้รถทนไฟ ทนความร้อนและสารเคมีได้ นายพิเชษฐ์ กล่าว  

รถพยาบาลหัวใจฉุกเฉินยังติดตั้งระบบถุงลมเสริมช่วงล่างรองรับแรงกระแทกช่วยให้การขับขี่นุ่มนวล ลดอาการเวียนหัวเมื่อผู้โดยสารและผู้ป่วยต้องนั่งในรถนานๆ และยังออกแบบเพื่อให้พร้อมใช้งานระบบสื่อสารไร้สายอีกด้วย ในอนาคตจะพัฒนาให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตจากในรถเพื่อส่งภาพ เสียงและข้อมูลติดต่อไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้จัดเตรียมการรักษา หรือขอคำแนะนำในการพยาบาลผู้ป่วยในรถได้

ด้าน รศ.นพ.องค์การ เรืองรัตนอัมพร รองผู้อำนวยการสถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ รพ.ปิยะเวทมีรถพยาบาลที่ดัดแปลงให้ใช้งานสำหรับโรคหัวใจแล้ว 2 คัน แต่ยังรองรับการใช้งานได้ไม่สมบูรณ์แบบ เมื่อเทียบกับรถพยาบาลหัวใจฉุกเฉินที่เอกชนไทยพัฒนาร่วมกับทีมของรพ.ปิยะเวท ตั้งแต่ต้นปี 2549

รถพยาบาลหัวใจนี้พัฒนาได้ปรับให้มีแป้นยึดสายน้ำเกลือมั่นคง สามารถขนย้ายเครื่องมือแพทย์หนักๆ หรือผู้ป่วยตัวโตได้สะดวกขึ้น รวมถึงระบบไฟ จากเดิมมีเพียงพลังงานไฟจากแบตเตอรี่ แต่เราต้องการให้ใช้ไฟได้ตลอดเวลา จึงติดตั้งเครื่องปั่นไฟที่ใช้ดีเซล สามารถปั่นไฟได้ 220 โวลต์ ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเครื่องมือแพทย์ได้มากขึ้น รศ.นพ.องค์การ กล่าว  

คนไข้โรคหัวใจที่เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะต้องถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด จากสถิติพบว่าร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคหัวใจเสียชีวิตด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แต่ร้อยละ 50 เสียชีวิตก่อนถึงมือแพทย์

รถพยาบาลหัวใจ เป็นตัวช่วยที่สำคัญ เพราะเมื่อมีเครื่องมือเพียบพร้อม ก็จะสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วย และส่งถึงมือหมอได้ทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องมือแพทย์พิเศษ เช่น เครื่องฉีดสี ที่ไม่มีทุกโรงพยาบาล การนำผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์ที่ต้องการก็ต้องมีเครื่องมือแพทย์สมบูรณ์พอ รองผู้อำนวยการสถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท กล่าว

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้ายอดขายรถพยาบาลหัวใจนี้ 40 คันต่อปี มีกำลังการผลิต 50 คันต่อเดือน และเตรียมขยายฐานไปตลาดประเทศเพื่อนบ้านในปี 2552  เริ่มจากลาว เวียดนาม มาเลเซีย  วางเป้ายอดขายไว้ที่ 100 คันต่อปี

สาลินีย์ ทับพิลา
http://www.bangkokbiznews.com/2007/10/2 ... sid=196971
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/11/07

โพสต์ที่ 48

โพสต์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำการวิจัยในหัวข้อ โรงพยาบาลเอกชน : รวมตัวเป็นเครือข่ายเสริมความเข้มแข็งธุรกิจ

2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 11:06:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
 อาจกล่าวได้ว่าธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงรุ่งเรือง ภายหลังจากที่ต้องเผชิญกับภาวะถดถอยทางธุรกิจในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 โดยจำนวนคนไข้ที่เข้าใช้บริการมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นทั้งคนไข้ในและคนไข้ต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับรายได้และผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันก็มีเงื่อนไขบีบรัดหลายประการโดยเฉพาะการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง

รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้สูง และประการสำคัญคือต้นทุนการดำเนินงานที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านอาคารสถานที่ ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราค่ารักษาพยาบาลมีข้อจำกัดจากปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้นผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนหลายรายเริ่มแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการหันมาดำเนินกลยุทธ์รวมตัวเป็นเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งมีทั้งการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการกับโรงพยาบาลเอกชนโดยเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือถือหุ้นในระดับที่สามารถมีส่วนเข้าไปตัดสินใจด้านนโยบาย

รวมไปถึงการเข้าถือหุ้นเพียงบางส่วนโดยไม่เน้นการเข้าร่วมบริหารแต่ต้องการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างกัน หรือการใช้วิธีแลกหุ้นระหว่างบริษัทในเครือ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตอย่างเข้มแข็งของเครือข่ายธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนภายในกลุ่มทั้งทางด้านรายได้และผลกำไรในที่สุด

เหตุปัจจัยที่โรงพยาบาลเอกชนมีการรวมตัวเป็นเครือข่าย

เป็นที่น่าสังเกตว่า การดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน นอกเหนือจากจะแข่งขันกันที่ระบบการให้บริการที่สะดวก รวดเร็วและมีคุณภาพภายใต้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย บุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับเชื่อถือแล้ว สิ่งสำคัญยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต้นทุนดำเนินการของธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้อีกด้วย โดยนับตั้งแต่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนสามารถพลิกฟื้นจากภาวะซบเซาอย่างหนักในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 จนส่งผลให้ต้นทุนดำเนินการของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งสวนทางกับจำนวนคนไข้ที่มาใช้บริการซึ่งลดลงโดยต่อเนื่อง และมีผลโดยตรงต่อรายได้และผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเห็นได้เด่นชัด จนผู้ประกอบการโรงพยาบาลหลายรายที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ต้องปิดกิจการลง

ต่อเมื่อภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของภาคประชาชนกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจากข้อมูลผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า จากจำนวนผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชน 10 แห่งมีเพียง 2 แห่งที่ปรากฏผลการดำเนินงานขาดทุนประมาณ 34.61 ล้านบาท และมี 8 แห่งปรากฏผลการดำเนินงานมีกำไร 1,743.98 ล้านบาททำให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ในปี 2544 ทั้งสิ้น 1,709.37 ล้านบาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2545 จนถึงปัจจุบันมีเพียงผู้ประกอบการ 1-2 รายที่ผลการดำเนินงานปรากฏผลขาดทุน แต่หากพิจารณาภาพรวมทั้งหมดแล้ว ผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์โดยรวมมีกำไรโดยต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนสามารถนำผลกำไรที่ได้ รวมทั้งการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเพื่อการขยายงานเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ติดตามมาควบคู่กับการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันก็คือ อุปสรรคและความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง รวมทั้งปัญหาสำคัญคือต้นทุนการดำเนินงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ต้นทุนการดำเนินงาน ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีการเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปรับปรุงด้านอาคารสถานที่และเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ให้มีความทันสมัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและจูงใจให้คนไข้มาใช้บริการ โดยเฉพาะการปรับปรุงเพื่อรองรับคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูง ในขณะเดียวกัน เพื่อสร้างการยอมรับทางด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนยังได้มีการลงทุนทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อต้นทุนการบริหารและต้นทุนด้านการรักษาปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราค่ารักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับต้นทุนทำได้ในระดับหนึ่งเนื่องจากมีอุปสรรคสำคัญนั่นคือการแข่งขันที่สูง ดังนั้นผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจึงจำเป็นต้องหันไปใช้วิธีลดต้นทุนด้านอื่นๆชดเชย

การแข่งขันรุนแรง โรงพยาบาลเอกชนของไทยมีการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างโรงพยาบาลเอกชนในประเทศ รวมทั้งแข่งขันกับโรงพยาบาลของภาครัฐที่หันมาพัฒนาตัวเองเพื่อแข่งกับโรงพยาบาลเอกชน เช่น การให้บริการคลินิกพิเศษในช่วงหลังเวลาทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจะแข่งขันกันทั้งทางด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือทางการแพทย์รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การเพิ่มบริการให้กับญาติหรือผู้ติดตามคนไข้ต่างประเทศทางด้านที่พัก รวมทั้งการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกับบริษัททัวร์ ร้านอาหาร

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจึงต้องเร่งหันมาให้ความสนใจกับการปรับปรุงธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้สูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่นิยมนอกเหนือจากการขยายกิจการด้วยการสร้างโรงพยาบาลใหม่ซึ่งจะมีต้นทุนค่าการก่อสร้างที่สูงรวมทั้งต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะมีรายได้จากการดำเนินงานตอบแทนกลับมาก็คือ การสร้างธุรกิจในรูปของเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจโดยผ่านการซื้อหรือควบรวมกิจการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการบริหารบุคลากร การสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์รวมทั้งยาและเวชภัณฑ์ภายใต้ต้นทุนที่ลดลง อีกทั้งการรวมตัวดังกล่าวยังส่งผลต่อรายได้และผลการดำเนินงานที่กลับมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการดังกล่าวเริ่มมีภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 แต่เริ่มปรากฏชัดเจนในปี 2547 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซึ่งนับวันการเติบโตของเครือข่ายทางธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในลักษณะนี้จะมีการขยายตัวออกไปเพิ่มขึ้น

โรงพยาบาลเอกชนได้อะไรจากการรวมตัวเป็นเครือข่าย

เป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนคาดหวังจากการรวมตัวเป็นเครือข่ายทางธุรกิจได้แก่การลดต้นทุนและรายจ่ายที่ซ้ำซ้อน และการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจ และท้ายที่สุดนำมาซึ่งการเติบโตอย่างเข้มแข็งของธุรกิจทั้งทางด้านรายได้และผลกำไรตอบแทน

สำหรับผลดีที่คาดว่าจะมีตามมาจากการรวมตัวเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลเอกชน สรุปได้ดังนี้

1.การลดต้นทุน การรวมตัวเป็นเครือข่ายของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน จะช่วยให้เกิดองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เพิ่มอำนาจต่อรองทางด้านการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำเนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อที่มาก ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด(economy of scale) หรือหากปริมาณการใช้มีสูงก็อาจจะใช้วิธีผลิตสินค้าดังกล่าวขึ้นมาใช้กับโรงพยาบาลในกลุ่มเองซึ่งก็จะช่วยลดต้นทุนไปได้มากเช่นกัน ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งอาจเลือกที่จะสั่งซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีราคาสูงเพียงบางแห่งแต่สามารถนำมาใช้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายทำให้มีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลที่ไม่มีเครือข่ายหรือสาขาธุรกิจซึ่งต้องสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพงชนิดเดียวกันมาใช้ ซึ่งบางครั้งก็มีคนไข้มาใช้บริการไม่มาก การประหยัดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การใช้บริการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย และการเช่ารถ ยานพาหนะต่างๆ ตลอดจนพนักงานขับรถ ซึ่งจะทำให้สามารถว่าจ้างได้ตามจำนวนที่ต้องการตามความจำเป็นนอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดต้นทุนในด้านสวัสดิการของพนักงานให้กับโรงพยาบาลอีกด้วย

2.กระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างหลากหลาย การมีเครือข่ายสาขาธุรกิจ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอบริการให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้กว้างขวางและหลากหลาย ตามระดับรายได้ อาทิ กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ที่แต่เดิมมุ่งจับตลาดผู้ป่วยที่มีรายได้ระดับกลางค่อนข้างสูงก็สามารถให้บริการกับกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้ที่ต่ำกว่าได้โดยผ่านเครือข่ายสาขาโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดเล็กในเครือ ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งที่เคยจับตลาดคนไข้ในกรุงเทพฯ ก็สามารถให้บริการกับคนไข้ในพื้นที่ต่างจังหวัดซึ่งมีฐานลูกค้ากว้างได้ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องพึ่งพากลุ่มลูกค้าเป้าหมายใดโดยเฉพาะเฉพาะจงมากเกินไป จนนำมาซึ่งความเสี่ยงของธุรกิจ

3.การสร้างภาพลักษณ์องค์การเพื่อดึงบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่ จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลเอกชน ส่งผลให้เกิดการดึงบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลภาครัฐ และจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในขณะเดียวกันก็จะต้องหาหนทางป้องกันไม่ให้บุคลากรทางการแพทย์ของตนเองถูกคู่แข่งแย่งไปด้วยการเพิ่มค่าตอบแทนจูงใจ ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายจะช่วยให้การดึงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงมาประจำโรงพยาบาลทำได้ง่ายกว่า

4.อัตราการเติบโตของรายได้ โดยปกติ การดำเนินธุรกิจทั่วไปผลการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละปี แต่การรวมตัวเป็นเครือข่ายจะช่วยให้รายได้และผลการดำเนินงานของธุรกิจสามารถเติบโตในระดับสูงแบบก้าวกระโดด ในขณะที่กลุ่มธุรกิจที่ดำเนินกิจการเพียงลำพังการเติบโตทางด้านรายได้และผลการดำเนินงานจะเติบโตต่ำกว่า

เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนหลายรายต่างให้ความสนใจกับการรวมตัวเป็นเครือข่ายกันอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาทิ เช่น เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลรามคำหุง เครือโรงพยาบาลพญาไท เครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ซึ่งหากรวมรายได้จากการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้จะมีถึงประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 26,000 ล้านบาท(ปี 2549)

บทสรุป

กล่าวโดยสรุปแล้ว การที่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนหันมาให้ความสนใจกับการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องเพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดต่อธุรกิจ โดยเฉพาะความสามารถด้านการแข่งขันด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ รวมทั้งการให้บริการที่มีคุณภาพ ช่วยให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านรายได้และจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวผลักดันให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนรายอื่นให้ความสนใจกับกลยุทธ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่สำหรับผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนที่มีอุปสรรคหรือยังไม่พร้อมที่จะรวมตัวเป็นเครือข่ายโดยวิธีการควบรวม หรือซื้อกิจการ ยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นๆ อาทิ การทำข้อตกลงเพื่อเป็นพันธมิตรระหว่างโรงพยาบาลเอกชนด้วยกัน เช่นการส่งผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือการแพทย์ ซึ่งโรงพยาบาลนั้นยังไม่พร้อม เนื่องจากมีราคาสูงและยังมีจำนวนคนไข้ใช้บริการน้อย

อย่างไรก็ตาม การรวมตัวเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลเอกชนไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จเสมอไป เป็นแต่เพียงการมีเครือข่ายสาขาเป็นจำนวนมากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันต่อธุรกิจมากขึ้น เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของโรงพยาบาลเอกชนก็คือการปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านอาคาร สถานที่ เครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ การเร่งกระจายกลุ่มผู้ป่วยที่มาใช้บริการให้มีความหลากหลาย การควบคุมต้นทุนดำเนินการ การเพิ่มรายได้ในส่วนของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับสวัสดิการจากภาครัฐ อาทิ กลุ่มหลักประกันสุขภาพ และกลุ่มประกันสังคม รวมทั้งกลุ่มคนไข้ชาวต่างชาติ ซึ่งหากสามารถดำเนินการเช่นนี้ก็จะช่วยให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนสามารถแข่งขันอย่างมีศักยภาพ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/11/0 ... sid=198417
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 49

โพสต์

'TDRI' จี้รัฐรับมือคนสูงวัยเพิ่ม โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2550 07:05 น.
      "ทีดีอาร์ไอ" ระบุ จำนวนประชากรของไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ปัจจัยเสี่ยงคืออนาคตคนในวัยชราจะเพิ่มสูงขึ้นมาก จนเป็นภาระหนักที่รัฐบาลต้องจัดสวัสดิการเพื่อแบกรับปัญหาที่เพิ่มขึ้น ห่วงปัญหาประชากรวัยวัยแรงงานน้อยเกินไป แนะสร้างสวัสดิการเพื่อจูงใจให้คนมีบุตร โดยเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาแทนผู้ปกครอง
       นางมัทนา พนานิรามัย นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) นำเสนอบทความเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงในวิธีการปิดงบขาดดุลรายได้ของคนไทยและนัยต่อการเข้าสู่รัฐสวัสดิการ" โดยระบุว่า ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประชากร (Demographic Transition) จากช่วงเวลาที่ทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายสูง เข้าสู่สถานการณ์ที่ทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
       ทั้งนี้ จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยบ่งชี้ว่าหากในอัตราการเกิดยังไม่เปลี่ยนทิศทาง แนวโน้มจำนวนประชากรของไทยจะมีโอกาสลดลงในระยะยาว โดยมีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในวัยแรงงาน จึงเป็นโอกาสทองที่จะทำให้การบริโภคเฉลี่ยของคนไทยสามารถเพิ่มได้เร็วกว่าการเพิ่มของผลิตภาพแรงงาน
       แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าประเทศไทยกลับมีความเสี่ยงที่ประชากรจะไม่สามารถทดแทนตนเองได้ในอนาคต หมายความว่ามีโอกาสที่จะขาดแคลนประชากรในวัยแรงงาน เพราะมีอัตราการเกิดน้อยเกินไป ในหลายประเทศแก้ไขปัญหาการลดลงของประชากร โดยเพิ่มแรงจูงใจให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยการลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ลง โดยเฉพาะรายจ่ายในด้านการศึกษา ซึ่งการที่ภาครัฐเข้ามาร่วมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจะเป็นการจูงใจให้มีการเกิดเพิ่มสูงขึ้น
       ผู้วิจัยระบุต่อว่า หลังจากเวลาผ่านไปอีกระยะหนึ่ง ประเทศไทยจะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือสัดส่วนของประชากรวัยพึ่งพิงจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลานั้น การบริโภคคงจะเพิ่มได้ไม่มากไปกว่าการเพิ่มของผลิตภาพแรงงานทำให้ต้องเป็นภาระกับคนวัยทำงานเพิ่มขึ้นๆ
       ปัญหาที่ตามมาอาจปรากฏในรูปของความไม่มั่นคงของกองทุนชราภาพในอนาคต ซึ่งภาครัฐจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริการสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการที่มีประชากรวัยชราเพิ่มขึ้นจะทำให้เป็นภาระของครอบครัวที่จะต้องสละเวลาเพื่อเข้ามาเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย
       แต่ในปัจจุบันโครงการประกันชราภาพยังไม่สมบูรณ์ โครงการประเภทสงเคราะห์หรือการโอนเงินจากคนกลุ่มหนึ่งไปให้คนอีกกลุ่มหนึ่งจึงมีความจำเป็นเนื่องจากประเทศไทยยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่รายได้ตลอดชีวิตต่ำกว่ารายจ่ายที่จำเป็นต้องบริโภคตลอดชีวิต
       กล่าวโดยสรุป ภาครัฐจำเป็นต้องจัดสวัสดิการให้กับสังคม แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ให้ในรูปของเงินเสมอไป การดำเนินการอาจทำในรูปของการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรเด็กและวัยรุ่น ส่วนประชากรในวัยสูงอายุ รัฐอาจพิจารณาให้ในรูปของบริการที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การจัดให้มีระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long-term care) หรือสร้างกฎระเบียบที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมให้เกิดตลาดการซื้อขายบริการที่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอุปสงค์ต่อบริการเหล่านั้น เป็นต้น
:roll:  :roll:
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/11/07

โพสต์ที่ 50

โพสต์

โรงพยาบาลเอกชน 112 ราย ประกาศไม่ต่อสัญญา กับ สปส.

Posted on Thursday, November 08, 2007

นพ. ไพบูลย์ เอกแสงศรี ประธานชมรมโรงพยาบาลเอกชนเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม เปิดเผยว่า โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสมาชิกชมรมทั้ง 112 แห่ง มีมติอยน่างเป็นทางการแล้วว่า จะไม่ทำข้อตกลงกับกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม (สปส.)ในปี 2551 ที่จะถึงนี้ เนื่องจากสัญญาไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้อที่สามารถยกเลิกสัญญาได้ตามความยินยอมของสปส.เท่านั้น โดยแจ้งล่วงหน้า 90 วัน ซึ่งข้อตกลงฉบับเดิมมีอายุ 2 ปี

ทั้งนี้ มั่นใจว่าไม่ทำให้ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบ เพราะยังให้บริการตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการเบิกจ่ายเงินเท่านั้น ซึ่งเดิมสำรองค่าใช้จ่ายและเบิกกับกองทุนเงินทดแทนเปลี่ยนเป็นใช้วิธีเบิกจากนายจ้างโดยตรง พร้อมยืนยันว่าไม่เป็นการผลักภาระให้กับนายจ้าง

ด้านนายสิทธิพล รัตนากร รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า การเปลี่ยนวิธีทำสัญญาให้มีผลตลอดไป เนื่องจากจะได้ไม่เสียเวลาทำข้อตกลงทุก 2 ปี และสามารถให้การบริการผู้ประกันตนกลุ่มเดิมไว้ได้ต่อเนื่อง แต่หากโรงพยาบาลใดไม่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกก็ถือเป็นสิทธิ์สามารถยกเลิกได้ หรือถ้าโรงพยาบาลยังประสบปัญหาอะไรก็สามารถหารือทำความตกลงได้ ส่วนเรื่องอัตราค่าเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลรายหัวขณะนี้สปส.ได้เพิ่มอัตราค่ารักษาจาก 35,000 เป็น 45,000 บาท กรณีเจ็บป่วยรุนแรงเรื้อรังเบิกได้จาก 200,000 เป็น 300,000 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา  
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/11/07

โพสต์ที่ 51

โพสต์

สหภาพองค์การเภสัช500คน จี้'สธ.'ค้านร่างกม.แข่งค้ายา-เวชภัณฑ์เสรี

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 16:20:00

สหภาพแรงงาน"อภ."บุกจี้"หมอมงคล"ค้านร่างพ.ร.ฏ.เปิดแข่งขันยา-เวชภัณฑ์อย่างเสรี "หมอมรกต"ยอมรับพลาดตรวจสอบไม่ทัน โบ้ยคลัง-เลขาครม.ไม่ขอความเห็น จะเสนอแก้ตามเรียกร้อง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการชุมนุมของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม(สรอภ.) พร้อมด้วยเครือข่ายสหพันธ์สมาคมลูกจ้างแห่งประเทศไทย กว่า 500 คน นำโดยนายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานฯ พร้อมด้วยแกนนำ บริเวณหน้าอาคารสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

เพื่อยื่นหนังสือต่อ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อคัดค้านการออก พ.ร.ฏ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ....ซึ่งได้ผ่านความเห็นจาก ครม. เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมี นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับมอบหนังสือแทน

นอกจากนี้ ทางแกนนำสหภาพแรงงานฯ ยังได้ขึ้นเวทีปราศรัยอย่างดุเดือด ระบุว่า เป็นร่าง พ.ร.ฎ.อัปยศ ทรศยประชาชน เพราะมีการกำหนดให้ยาและเวชภัณฑ์เป็นสินค้าที่ต้องมีการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม ทั้งเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ตามสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตอยู่ ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทยาข้ามชาติ  

นายระวัย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับ มติ ครม.ที่อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเร่งด่วน ส่งผลให้การกำหนดให้หน่วยราชการซื้อยาและเวชภัณฑ์จากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ถูกยกเลิกไป การอ้างว่าเพื่อการแข่งขันเสรีทางการค้านั้นถือว่าไม่เหมาะสม สหภาพฯเชื่อว่าหากปล่อยให้มีการแข่งขันเสรีด้านยาและเวชภัณฑ์ผลจะกระทบต่อประชาชนที่ต้องรับภาระจนไม่สามารถเข้าถึงยาได้ สุดท้ายความมั่นคงในชีวิตจะลดน้อยถอยลงไปจนหมด  

"ผลของร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ อภ. อย่างรุนแรงและก่อความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชนโดยรวม เพราะเป็นการลดบทบาทของ อภ. โดยมองไม่เห็นความสำคัญและไม่เข้าใจเรื่องระบบยา มองยาเหมือนสินค้าอื่น ๆ มีการตัดการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์จาก อภ.ออกไปทั้งหมด โดยเฉพาะระเบียบว่าด้วยการพัสดุ ข้อ 60 และ 61 ผลของ พ.ร.ฎ. ดังกล่าวทำให้บัญชียาหลักถูกมองข้ามไป ไม่เห็นความสำคัญของการจัดซื้อยาตามชื่อสามัญ รพ.ไม่ต้องให้ความสำคัญกับการซื้อยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ และยังกำหนดให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำระบบข้อมูลราคาอ้างอิงของยาแทนที่จะเป็นหน้าที่ของ สธ.ตามระเบียบเดิม ดังนั้น รมว.สาธารณในฐานะรับผิดชอบต่อระบบสาธารณสุขที่เกี่ยวกับชีวิตของประชาชนจะต้องแสดงจุดยืนในเรื่องนี้"

นายระวัย กล่าวอีกว่า จากการหารือกับ นพ.มรกต รับปากจะนำเรื่องนี้เสนอทบทวนใน ครม.อีกครั้งภายใน 10 วันนี้ โดยยืนยันว่าจะคงเรื่องการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ให้มีการซื้อจาก อภ.  

ต่อมา นพ.มรกต ได้ขึ้นเวทีปราศรัยกับกลุ่ม สรอภ.ว่า ต้องขอโทษที่ทำให้ทุกคนเดินทางมาที่นี่ โดย นพ.มงคล ได้มอบให้ตนมารับเรื่องแทนเนื่องจากติดประชุมสำคัญ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ครม.ได้ผ่านความเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.ฏ.ดังกล่าวในวาระจร ซึ่งตนและ นพ.มงคล มีส่วนในการเห็นชอบ ต้องยอมรับว่าเมื่อตรวจดูเนื้อหาสาระภายหลัง รู้ว่าเป็นการตัดสินใจที่พลาด

อีกทั้งเรื่องนี้กระทรวงการคลังเป็นผู้นำเสนอต่อสำนักเลขาธิการ ครม.เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระ โดยตามขั้นตอนจะต้องส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.ฎ. เพื่อเสนอความเห็นแต่ปรากฏว่า ทางกลับไม่มีการขอความเห็นจาก สธ. แต่อย่างใด ทั้งที่ พ.ร.ฎ.มีเรื่องของยาและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ในการประชุม ครม.ในแต่ละครั้ง มีวาระพิจารณาถึง 20 เรื่อง และยังมีเรื่องรับทราบ โดยทางกระทรวงการคลังเสนอบรรจุเป็นวาระจร จึงทำให้พลาดไป  

สำหรับแนวทางแก้ไขจากนี้ คงต้องมาดูรายละเอียดเหตุผลจำเป็นในการแยกการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ออกจาก พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และจากการประเมินเชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุน เพราะมีรัฐมนตรีหลายคนใน ครม. เห็นด้วยที่ต้องยกเว้นเพราะยาไม่เหมือนสินค้าทั่วไป อีกทั้งจะนำเสนอเรื่องนี้ต่อนายกฯ รับทราบ ยืนยันว่า ตนและ นพ.มงคลจะช่วยกันผลักดันให้สำเร็จ และจะดำเนินการให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามขณะนี้ สธ.จะจัดทำข้อตกลงกับทาง สรอภ. ว่าจะมีแนวทางดำเนินการให้มีผลอย่างไร เพื่อเป็นการทำงานร่วมกัน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/11/1 ... sid=201420
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 52

โพสต์

ขอให้112ร.พ.ทบทวนมติ  
เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี ประธานชมรมโรงพยาบาลซึ่งมีสมาชิกอยู่ 112 แห่ง ประกาศถอนตัวออกจากกองทุนประกันสังคม โดยอ้างความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งได้พยายามเจรจากันมาหลายรอบแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงมีมติถอดตัวออกจากกองทุนประกันสังคมดังกล่าวเสียและมีผลสิ้นเดือนธันวาคมศกนี้
การประกาศถอนตัวออกจากกองทุนดังกล่าว อาจจะทำให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลไม่ได้รับความสะดวกดังเดิม เพราะเท่าที่ปฏิบัติกันอยู่เมื่อลูกจ้างแรงงานโรงงานอุตสาหกรรมเจ็บป่วย จะสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีข้อตกลงได้เลย และโรงพยาบาลแห่งนั้นๆ จะทำเรื่องตั้งเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกับกองทุน แต่ถ้าโรงพยาบาล 112 แห่งถอนตัวออกไปเช่นนี้ ผู้เข้ารับการรักษาโดยนายจ้างจะต้องออกค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และตั้งเบิกเงินคืนในภายหลังเท่ากับสร้างภาระให้แก่นายจ้างไปโดยปริยาย ทั้งๆ ที่การมีกองทุนขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นายจ้างและลูกจ้างโดยแท้เรื่องนี้แนวทางที่ปฏิบัติกันมาเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตน นายจ้าง และโรงพยาบาลก็สะดวกเพราะมั่นใจว่าได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลแน่ แต่มีปัญหาในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ล่าช้า และน่าจะรวมถึงได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วย และเมื่อเห็นว่าปัญหาการเบิกเงินสามารถแก้ไขกันได้ก็น่าที่จะทำการเจรจากันต่อไปเพื่อไม่ให้กระเทือนถึงคนไข้ ไม่ใช่ปัดภาระออกไปอย่างที่ประกาศถอนตัวออกเราทราบว่ามีการเจรจากันมาแล้ว 3 ครั้งแต่ไม่สัมฤทธิผล แล้วทำไมไม่ตั้งโต๊ะเจรจาครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ต่อไปอีก เชื่อว่าจะหาข้อยุติได้ เพราะที่ผ่านมากองทุนก็จะเพิ่มอัตราค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นให้ จากหัวละ 35,000 บาทเป็น 45,000 บาท และกรณีเจ็บป่วยรุนแรงเรื้อรักก็จะปรับเพดานขั้นสูงใหม่จากไม่เกิน 200,000 บาทเป็น 300,000 บาท ส่วนประเด็นอื่นๆ ก็น่าจะตกลงกันได้ อาทิ การบอกยกเลิกเข้าโครงการหรือต่ออายุเข้าโครงการ 2 ปีต่อครั้ง เป็นต้น
การรักษาพยาบาลเป็นธุรกิจก็จริง แต่ผลที่ทำนั้นก่อประโยชน์แก่สังคมและมีเกียรติอย่างยิ่ง จึงไม่ควรพิจารณาอย่างเฉียบขาด ควรพิจารณาอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ความจริงโรงพยาบาลก็หาได้มีรายได้จากแรงงานเพียงทางเดียวเท่านั้น ยังรับการรักษาโดยทั่วไปได้ จึงขอให้พิจารณาทบทวนมติใหม่อีกครั้ง และเชื่อว่ากองทุนจะมีการปรับปรุงระเบียบการเบิกจ่ายใหม่อย่างแน่นอน เพราะกองทุนตั้งขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์สาธารณะเช่นกัน ไม่มีประโยชน์อันใดจะหน่วงเหนี่ยวการเบิกจ่ายเงินไว้
http://www.thannews.th.com/detialColumn ... cColumID=4
:roll:  :roll:
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 53

โพสต์

สปส.แก้จ่ายเงินช้า รพ.เอกชนกลับลำ รับประกันสังคม  
สปส. ยืนยันแรงงาน 8.1 ล้านคนในระบบประกันตน ไม่มีผลกระทบ ต่อการถอนตัวออกจากระบบกองทุนเงินทดแทนประกันสังคมของ 112 โรงพยาบาลเอกชน เผยขณะนี้มีโรงพยาบาลเอกชน กลับลำ แห่ร่วมเซ็นสัญญาใหม่กับ สปส.แล้ว 50 ราย ขณะที่ผอ.กองทุนเงินทดแทนแจงถี่ยิบ ปัญหาเบิกจ่ายล่าช้า และรายละเอียดสัญญาใหม่ ไม่ใช่เหตุผลที่โรงพยาบาลใช้อ้างถอนตัวที่แท้จริง นางบุญจันทร์ ไทยทองสุข ผู้อำนวยการกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม(สปส.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" โดยยืนยันว่า การถอนตัวออกจากระบบกองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคม ของโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 112 แห่ง จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในระบบประกันตนทั้ง 8.1 ล้านคนทั่วประเทศ เนื่องจากยังมีโรงพยาบาลเอกชนอื่นจำนวนมากได้ยื่นความจำนงต้องการร่วมเป็นคู่สัญญากับกองทุนแล้ว นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลของรัฐบาลอีกจำนวน 871 แห่งที่เป็นคู่สัญญาเดิมรองรับ ส่วนกรณีที่เป็นปัญหา เรื่องความล่าช้ากรเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลเอกชนอ้างว่ามีหนี้ค้างจ่ายสูงถึง 500 ล้านบาทนั้น ยืนยันว่าทางกองทุนเงินทดแทนได้มีการแก้ไขมาตลอด ซึ่งล่าสุดได้มีคำสั่งให้ทุกหน่วยในสังกัดทำสรุปยอดหนี้แล้ว ปรากฏว่ามีหนี้ค้างจ่ายทั่วประเทศเพียง 14.99 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังขอให้โรงพยาบาลเอกชนทำเรื่องแจ้งปัญหาที่ติดขัดมายังส่วนกลาง ว่าติดขัดการเบิกจ่าย ณ จุดใด แต่ก็ไม่มีโรงพยาบาลใดแจ้งเรื่องดังกล่าวเข้ามา นอกจากนั้นเพื่อเป็นการเร่งการเบิกจ่ายให้เร็วขึ้น เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ยังได้มีหนังสือเวียนถึงหน่วยงานในสังกัด ลงวันที่ 15 ต.ค.2550 ให้เคลียร์ปัญหาเงินค้างจ่ายกับโรงพยาบาลให้หมด โดยยอด 3.5 หมื่นบาท ต้องจ่ายภายใน 15 วัน และหากเกิน 3.5 หมื่นบาทต้องจ่ายให้ได้ภายใน 30 วัน แต่หากมีข้อขัดข้องในการจ่ายให้ หน่วยปฏิบัติรีบชี้แจ้งกับโรงพยาบาลทันที ฉะนั้นปัญหาเรื่องหนี้ค้างจ่ายไม่ใช่ประเด็นของการของถอนตัวออกจากระบบของโรงพยาบาลส่วนกรณีข้อสัญญาใหม่ที่โรงพยาบาลเอกชนระบุว่าไม่เป็นธรรมนั้น ความจริงแล้วไม่ได้มีอะไรที่ทำให้โรงพยาบาลต้องวิตก เช่น กรณีที่ระบุว่า หากโรงพยาบาลจะออกจากการเป็นคู่สัญญากับกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 90 วันนั้น ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมีความต้องการออกจากระบบประกันสังคมจะอนุมัติอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ต้องระบุเวลา 90 วัน ก็เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกันตนทราบล่วงหน้าเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้ไม่น่าใช่สาระของความไม่เป็นธรรม ส่วนจะมีประเด็นอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่ ตนไม่ทราบจริงๆ แต่เท่าที่ประชุมร่วมกันล่าสุดหลายโรงพยาบาลก็เข้าใจ"เราไม่แน่ใจว่าทำไมโรงพยาบาลเอกชนถึงมีมติออกมาอย่างนี้ เพราะที่ประชุมร่วมครั้งล่าสุด เราก็ได้ชี้แจงและเข้าใจกันแล้ว แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้มีรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ใน 112 โรงพยาบาลนั้น ได้ยื่นเรื่องขอต่อสัญญากับกองทุนเงินทดแทนเข้ามาแล้ว และหากร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนอื่นอีก จะมีจำนวน 40-50 แห่ง จากจำนวนโควตาโรงพยาบาลเอกชนเดิม 261 โรงพยาบาล และโรงพยาบาลรัฐบาล 871 แห่ง ที่พร้อมต่อสัญญา 100 %" นางบุญจันทร์กล่าวและว่าจำนวนโรงพยาบาลเพียงพอกับผู้ประกันตนแน่นอน เพราะนอกจากโรงพยาบาลคู่สัญญาแล้ว ผู้ประกันตนยังเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลอื่นได้อีกกรณีฉุกเฉิน ซึ่งภายในสิ้นปีนี้ประกันสังคมจะแจ้งรายชื่อโรงพยาบาลให้ทราบว่ามีโรงพยาบาลอะไรบ้างที่เป็นคู่สัญญา ส่วนกรณีการปรับอัตราเพดานการจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่อครั้ง จากเดิม 3.5 หมื่นบาทกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เป็น 4.5 หมื่นบาท และกรณีเจ็บป่วยมากจาก 8.5 หมื่นบาท เป็น 1.1 แสนบาท ส่วนกรณีเจ็บป่วยรุนแรงจากเดิม 2 แสนบาทนั้น หากมีความจำเป็นจริงๆก็สามารถเบิกได้มากกว่านี้โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งขณะนี้เกณฑ์การปรับค่ารักษาพยาบาลใหม่นั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งหากเสร็จเรียบร้อยก็สามารถประกาศเป็นกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ได้ทันที อย่างไรก็ตามการปรับอัตราเพดานค่ารักษาพยาบาลใหม่นั้น อาจมีผลกระทบต่อการเรียกเก็บเงินสมทบกับนายจ้างบ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับความบาดเจ็บจากการทำงานปริมาณมาก แต่หากนายจ้างดูแลแรงงานดีไม่ได้รับบาดเจ็บก็จะไม่มีผลกระทบ"ทางออกที่ดีที่สุดของเรื่องนี้คือ เราต้องการทำให้นายจ้างและลูกจ้างสะดวกที่สุด และอยากให้มีสถานพยาบาลเข้ามาเป็นคู่สัญญา เพื่อให้การส่งตัวลูกจ้างสะดวกที่สุด แต่เราไม่สามารถบังคับสถานพยาบาลใดให้เป็นคู่สัญญากับเราได้ ส่วนกรณีของโรงพยาบาลเอกชนหากต้องการเข้ามาทำความเข้าใจกับเราก็สามารถเข้ามาได้ตลอดเวลา แต่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงประกาศเรื่องสัญญาคงเป็นไปไม่ได้" นางบุญจันทร์ กล่าว สำหรับปัญหากรณีโรงพยาบาลเอกชนต้องการถอนตัวออกจากระบบกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม ได้มีกระแสต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2550 ที่ผ่านมาโดยชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม ที่มี นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธาน และมีโรงพยาบาลเอกชนเป็นสมาชิกในเครือข่ายรวม 112 แห่งทั่วประเทศ ได้มีมติร่วมกันว่าจะไม่เข้าร่วมเซ็นสัญญากับกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม เพราะไม่ต้องการปฏิบัติตามข้อบังคับของกองทุนเงินทดแทน โดยเฉพาะการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากหนี้ค้างจ่ายและต้องการออกจากระบบกองทุนเงินทดแทนประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.2550 เป็นต้นไปในที่สุดได้มีการเจรจาร่วมระหว่างโรงพยาบาลเอกชนคู่สัญญา และสำนักงานประกันสังคมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้เรื่องต่างๆสงบลง จนกระทั้งล่าสุดกองทุนเงินทดแทนประกันสังคมได้มีการออกหนังสือสัญญาฉบับใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหนังสือสัญญาจนเป็นที่มาของปัญหาอีกครั้งนพ.ไพบูลย์ ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า สมาชิกชมรมโรงพยาบาลเอกชนฯได้มีความเห็นร่วมกันที่จะไม่ต่อสัญญากับกองทุนเงินทนแทนประกันสังคมหลังสิ้นสุดสัญญาในปี 2550 นี้ โดยให้เหตุผลว่า ข้อตกลงใหม่ในสัญญาไม่มีความเป็นธรรมกับโรงพยาบาล โดยเฉพาะที่ระบุว่าข้อตกลงนี้ไม่มีวันสิ้นสุด เพียงแต่บอกว่ายกเลิกสัญญาได้ โดยให้บอกล่วงหน้า 90 วัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความยินยอมของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมองว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม สมาชิกชมรมโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 112 แห่ง จึงมีมติร่วมกันที่จะไม่ร่วมต่อสัญญากับกองทุนเงินทดแทนประกันสังคมในที่สุด
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2269
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news16/11/07

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ฟันธงธุรกิจรพ.ไม่ขยายสาขาใหม่3ปี

โพสต์ทูเดย์ รพ.กรุงเทพ ชี้ เศรษฐกิจซบ การเมืองไม่นิ่ง ธุรกิจโรงพยาบาลซบยาว 3 ปี เชื่อไม่มีใครลงทุนใหม่ คนไข้หนีใช้ระดับกลาง


นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์โรง พยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า แนวโน้มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนปีหน้า ยังได้รับผลกระทบต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาการเมือง ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ ไม่กล้าเสี่ยงลงทุน ขยายสาขาเพิ่มหรือเปิดยี่ห้อใหม่

ปัจจัยลบดังกล่าว คาดจะกระทบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน อีกอย่างน้อย 2-3 ปี ทำให้เกิดการชะลอตัวภาคการลงทุนสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจดังกล่าวเติบโตอย่างก้าวกระโดด การลงทุนขยายตัวอย่างขีดสุด เห็นได้จากมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในปัจจุบันเริ่มทำตลาดเมื่อ 5 ปีก่อน


ทั้งนี้ ปี 2551 ผู้ประกอบการเอกชน จะร่วมมือโดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันมากขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ด้านการพยาบาลรักษา ด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการ พร้อมเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้มีความแข็งแกร่ง ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบการแข่งขันในอนาคต

นอกจากนี้ จากภาครัฐจะเข้ามาส่งเสริมนโยบายด้านสาธารณสุขอย่างจริงจัง เห็นได้จากที่ผ่านมา หลายโครงการมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลเอกชน เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

ปีหน้าถ้าโรงพยาบาลไหน ไม่ปรับตัวด้วยการหาเครือข่าย จะทำให้ความสามารถทางการแข่งขัน ยากขึ้น ถ้าต้องการอยู่อย่างโดดเดี่ยว ต้องมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและ โดดเด่น เช่น วิชัยยุทธ เจตนิน หรือเป็นโรงพยาบาลแนวบูติก นพ.ชาตรี กล่าว

ด้านผลกระทบต่อผู้ที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน จำนวนลดลงทั้งกลุ่มลูกค้าคนไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย โดยผู้ใช้บริการลดระดับการใช้ เช่น จากเดิมเลือกใช้ระดับเอ หรือเอบวก เปลี่ยนเป็นระดับกลาง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ปรับกลยุทธ์ จับลูกค้าต่างชาติมากขึ้น โดยภาพรวมอัตราการใช้เตียงพยาบาลเอกชนมีเพียง 60% เท่านั้น

นพ.บุญ วนาสิน ประธาน กรรมการ บริหารโรงพยาบาล ปิยะเวท และประธานที่ปรึกษาเครือข่ายโรงพยาบาลธนบุรี กล่าว ว่า ปัจจุบันเตียงรักษาพยาบาลเอกชนมีอัตราว่าง เฉลี่ยที่ 30-40% ปีหน้าเชื่อว่าจะไม่มีการเปิดตัวโรงพยาบาลแห่งใหม่ เพราะการพัฒนาโรงพยาบาลให้เป็นระดับอินเตอร์ ต้องใช้ทุนขั้นต่ำ กว่า 3 พันล้านบาท เพื่อเซตระบบการบริหารจัดการทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญ การลงทุนสูง คืนทุนช้า ในส่วนของปิยะเวท ปีหน้าไม่มี แผนขยายสาขาใหม่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203894
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news16/11/07

โพสต์ที่ 55

โพสต์

เปิดโฉมยักษ์ขายยาข้ามชาติ กุมตลาดร.พ.รัฐ-กองทัพ 9 ปีโกย 5 หมื่นล้าน
เปิดตัวยักษ์ขายยาข้ามชาติ กุมตลาดร.พ.รัฐ-กองทัพ 9ปีโกยเงินเข้ากระเป๋ากว่า 5 หมื่นล้าน จับตามติครม.ที่ยกเลิกหน่วยงานรัฐไม่ต้องซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมเป็นอันดับแรก เปิดช่องโกยรายได้อีกอื้อ!

     ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติอนุมัติตามข้อเสนอของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ให้หน่วยราชการยกเลิกการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ จากองค์การเภสัชกรรมและโรงงานเภสัชกรรมทหาร เป็นอันดับแรก (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ....)  โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าภาคเอกชนได้เข้าร่วมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด จะทำให้ทางราชการได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น
    เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่ามติครม.ดังกล่าว เสมือนใบเบิกทางให้บริษัทยาข้ามชาติเข้ามารับอานิสงส์ไปเต็มๆ
    นับจากนี้ต่อไปชีวิตคนไทยจะต้องตกอยู่ในอุ้งมือบริษัทยาข้ามชาติ มิต้องพูดถึงองค์การเภสัชกรรมซึ่งมีแผนสร้างโรงงานผลิตยาขึ้นภายในประเทศและส่งรายได้เข้ารัฐตลอดมา อาจต้องยุบเลิกกิจการในที่สุด  
    ความจริงก่อนที่ครม.มีมติออกมา โรงพยาบาลและหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งต่างซื้อยาและเวชภัณฑ์จากบริษัทยาข้ามชาติยักษ์ใหญ่อยู่ก่อนแล้ว และข้อมูลที่ไม่มีใครรู้มาก่อนก็คือ"ยานอก"ที่ผู้ป่วยกินตามใบสั่งแพทย์ทุกวันนี้มาจากบริษัทจัดจำหน่ายขาใหญ่เพียง 2 กลุ่มเท่านั้น  
 @แฉดีทแฮล์มขาใหญ่ 4 หมื่นล.@
     ทั้งนี้ "ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบพบว่า ในรอบ 9 ปีบริษัทยาข้ามชาติที่เป็นคู้ค้ากับโรงพยาบาลและหน่วยของรัฐรายใหญ่เพียง 4 ราย ปรากฎว่าในจำนวนนี้เป็นบริษัทในกลุ่มดีทแฮล์มถึง 3 บริษัท คือ บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด  บริษัท ดีทแฮล์ม โก ลิมิเต็ด  และ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด  อีก 1 บริษัท คือ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
     จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด และบริษัท ดีทแฮล์ม แอนด์ โก ลิมิเต็ด เป็นคู่ค้ากับหน่วยงานของรัฐมาตั้งแต่ปี 2542  จนถึงวันที่  7 พฤศจิกายน 2550  ทั้งสองบริษัทขายยาและเวชภัณฑ์ รวม 2,771 สัญญา วงเงินประมาณ 49,981 ล้านบาท
     ลอตใหญ่สุดเกิดขึ้นในปี 2549  เป็นการสั่งซื้อ สารเคมี ชุดตรวจ และ วัสดุที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  วงเงิน 37,533 ล้านบาท
    และเมื่อจำแนกรายปีมีรายละเอียดดังนี้
      ปี 2542 จำนวน 71 สัญญา วงเงิน 309 ล้านบาท ,ปี 2543  จำนวน 225 สัญญา วงเงิน   627.9 ล้านบาท  ,ปี 2544   จำนวน 208 สัญญา วงเงิน 669.5 ล้านบาท   ,ปี 2545   จำนวน   282 สัญญา  วงเงิน 820.1 ล้านบาท , ปี 2546 จำนวน  291 สัญญา  วงเงิน 1,377.4 ล้านบาท , ปี 2547   จำนวน    360  สัญญา วงเงิน 1,713.9 ล้านบาท  ,ปี 2548  จำนวน  471  สัญญา  วงเงิน  2,789.8 ล้านบาท , ปี  2549  จำนวน  552 สัญญา วงเงิน 40,396.7  ล้านบาท  และ ปี 2550  ( 7 พ.ย.2550)  311 สัญญา วงเงิน 1,281.3 ล้านบาท
@รพ.เครือกองทัพลูกค้าหลัก@
      น่าสังเกตว่า ในจำนวนทั้งหมดเป็นการขายให้แก่หน่วยราชการและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ถึง 1,217 สัญญา หรือ คิดเป็น 44% มูลค่า 3,108.6 ล้านบาท  รองลงมาเป็นหน่วยราชการและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  886 สัญญา คิดเป็น 31.9 % มูลค่า 3,500 ล้านบาท  
      ที่เหลือเป็นโรงพยาบาลและหน่วยราชการอื่น
       โรงพยาบาลและหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่สั่งซื้อมากที่สุด ได้แก่  โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลอานันทมหิดล โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์  โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม  โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง  โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา โรงพยาบาลภูมิพล  โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
       การจัดซื้อของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศมูลค่าสูง 10 อันดับแรก ได้แก่  ปี 2549 กรมควบคุมโรค ซื้อยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ขนาดบรรจุกล่องละ 10 แคปซูล ราคา 768.9448 บาท/10แคปซูล จำนวน 84,812x10 แคปซูล  วงเงิน  65.2 ล้านบาท  , ปี 2548 กรมควบคุมโรค ซื้อยาโอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต วงเงิน  45.3 ล้านบาท
     , ปี 2548 กรมควบคุมโรค ซื้อยาโอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต วงเงิน  41.8 ล้านบาท  ,ปี 2548 กรมควบคุมโรค ซื้อยาเซลทามีเวีย ฟอสเฟต วงเงิน  39.9 ล้านบาท  ,ปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซื้อยาเสพติดให้โทษ จำนวน 2 รายการ  39.5 ล้านบาท, ปี 2550 กรมการแพทย์ เช่าเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ จำนวน 100 เครื่อง38.2 ล้านบาท
     ,ปี 2550  โรงพยาบาลศรีธัญญา ซื้อยาolanzapine 5 mg tablet จำนวน 4640X28 เม็ดและ olanzapine 10 mg tablet จำนวน 4290X28 เม็ด  วงเงิน  35.3 ล้านบาท , ปี2548 กรมสุขภาพจิต ซื้อยา olanzapine 5 mg.tablet olanzapine 10 mg.tablet วงเงิน 33.5 ล้านบาท ,ปี 2549กรมสุขภาพจิต 1.RISPERIDONE 1 MG. 2.RISPERIDONE 2 วงเงิน  32.3 ล้านบาท และปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซื้อ วัตถุออกฤทธิ์ 1.Methylphenidate sustaim release18 mg จำนวน 7,000 กล่อง  2.Methylphenidate sustaim release 36 mg จำนวน 5,000 กล่อง วงเงินรวม  27.8 ล้านบาท
@โอลิคไม่เบา 2.7 พันล.@
    เครือข่ายดีทแฮล์มอีกแห่งคือ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด จากการตรวจสอบพบว่าขายยาให้โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และ โรงพยาบาลศิริราช มาตั้งแต่ปี 2542  รวม 8 สัญญา เริ่มต้น  16.1 ล้านบาท ขยายปริมาณเรื่อยมา กระทั่งล่าสุดรวม 560 สัญญา วงเงิน 2,409.2 ล้านบาท  แบ่งเป็น
    ปี 2543 จำนวน  25 สัญญา วงเงิน  56.9 ล้านบาท  ,ปี 2544 จำนวน 22 สัญญา วงเงิน 48.2 ล้านบาท  ,ปี 2545 จำนวน 63 สัญญา วงเงิน 166.2 ล้านบาท , ปี 2546  จำนวน 58 สัญญา วงเงิน 245.4 ล้านบาท , ปี 2547  จำนวน 83 สัญญา วงเงิน 309.4 ล้านบาท ,ปี 2548 จำนวน  85 สัญญา วงเงิน  424.2 ล้านบาท, ปี 2549  จำนวน 144 สัญญา วงเงิน  851.8 ล้านบาท และ ปี 2550  (7 พ.ย. 2550) จำนวน 72 สัญญา วงเงิน 301.2 ล้านบาท
    ในจำนวนสัญญาทั้งหมด คู่ค้าหลักคือโรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม 271 สัญญา คิดเป็น 48.3% มูลค่า 672.3 ล้านบาท  โรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 183 สัญญา หรือ คิดเป็น 32.6%  มูลค่า 534.2 ล้านบาท
   ที่เหลือเป็นหน่วยงานอื่น
   ถ้ารวมตัวเลข 3 บริษัทในเครือดีทแฮล์ม ได้เท่ากับ 3,331 สัญญา  มูลค่า 52,390 ล้านบาท  ถือว่ามากกว่ารายอื่นทั้งหมด
@ยักษ์เล็ก"ซิลลิคฯ" 3 พันล.@
    ขณะที่ยักษ์ต่างขั้ว  บริษัท  ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด  เป็นคู่ค้ากับทั้งหมด 834 สัญญา 2,940.7 ล้านบาท  แบ่งเป็น
     ปี 2542 จำนวน 2 สัญญา วงเงิน 5.3 ล้านบาท โดยเป็นการขายยาและเวชภัณฑ์ให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ  3.4 ล้านบาท และ ขายเวชภัณฑ์ยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 1.9 ล้านบาท  
     ปี 2543 จำนวน 14 สัญญา วงเงิน 29.8 ล้านบาท , ปี 2544 จำนวน 31 สัญญา วงเงิน 93.5 ล้านบาท  ,ปี 2545 จำนวน 49 สัญญา วงเงิน  129.9 ล้านบาท , ปี 2546 จำนวน 42 สัญญา วงเงิน  139.8 ล้านบาท , ปี 2547  จำนวน 92 สัญญา วงเงิน  292.1 ล้านบาท , ปี 2548 จำนวน 130 สัญญา วงเงิน  463.9 ล้านบาท ,ปี 2549   จำนวน 297 สัญญา วงเงิน 1,195.1 ล้านบาท และ ปี 2550 (1 ม.ค.- 7 พ.ย.) จำนวน 177 สัญญา วงเงิน 591 ล้านบาท
    หม้อข้าวใหญ่ยังคงเป็นโรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม 423 สัญญา คิดเป็น 50.7%  มูลค่า 1,417.3  ล้านบาท รองลงมาเป็นโรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  348 สัญญา คิดเป็น  41.7%  มูลค่า 1,119.8 ล้านบาท
    สัญญาจัดซื้อสูงสุดเกิดขึ้นในปี 2549  ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซื้อยาทางการแพทย์  3 รายการ  41.2 ล้านบาท  ที่เหลือเป็นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในวงเงินครั้งละ 31  ล้านบาท 3 ครั้ง  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ครั้ง  30 ล้านบาท  โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์   6 รายการ Atorvastatin 20 mg tab, Clopidrogr el 75 mg tab, Octreotide 0.1 mg/ml inj. , Valsarta n 160 mg tab, Enoxaparin Na (แถมอีก 15%), Sevoflurane PEN Liquid 250 ML จำนวน  20.7 ล้านบาท
    ถ้ารวมตัวเลข 2 กลุ่มยักษ์ใหญ่ข้างต้นมีมูลค่าถึง 55,330 ล้านบาท
    ถือว่ามหาศาลทีเดียว ไม่รวมตลาดยาในโรงพยาบาลเอกชนที่มีมูลค่าไม่น้อยไม่กว่ากัน
@ บ.เมดดิโนวา 6 ปี 672 ล.@
    กล่าวสำหรับบริษัท เมดดิโนวา จำกัด บริษัทยาต่างชาติอีกราย
    จากการตรวจสอบพบว่าขายยาให้โรงพยาบาลของรัฐมาตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน รวม 165 สัญญา วงเงิน 672.1 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นโรงพยาบาลและหน่วยงานในกองทัพ 103 สัญญาคิดเป็น 62.4% มูลค่า  425.7 ล้านบาท แบ่งเป็น
    ปี 2546 จำนวน 11 สัญญา วงเงิน 28.6 ล้านบาท  เฉพาะกระทรวงกลาโหม 4 สัญญา วงเงิน  7.1 ล้านบาท  ,ปี 2547 จำนวน 33 สัญญา วงเงิน 296.1 ล้านบาท
เฉพาะกระทรวงกลาโหม 24 สัญญา วงเงิน 261.4 ล้านบาท  ,ปี 2548 จำนวน 31 สัญญา 70.7 ล้านบาท  เฉพาะกระทรวงกลาโหม 18 สัญญา วงเงิน  36.6 ล้านบาท  ,ปี 2549 จำนวน 62 สัญญา วงเงิน 159.4 ล้านบาท เฉพาะกระทรวงกลาโหม 42 สัญญา วงเงิน 74.8 ล้านบาท  และ ปี 2550 ( 1 ม.ค.-7  พ.ย.) จำนวน 28 สัญญา วงเงิน 117.1 ล้านบาท  เฉพาะกระทรวงกลาโหม 15 สัญญา วงเงิน 45.6 ล้านบาท
   การสั่งซื้อลอตใหญ่สุดเกิดขึ้นในปี 2547 จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน  195.2 ล้านบาท
   ส่วนรายอื่นๆ   อาทิ  บี.เอ็ล.เอชเทร็ดดิ้ง บริษัท เมดดิจูด จำกัด บริษัท ยู.เอส.สัมมิท (โอเวอร์ซีส์) จำกัด ฯลฯ เป็นเพียงรายย่อย
   ฉะนั้น การยกเลิกการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์จากองค์การเภสัชกรรมซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีการประกาศใช้บังคับในเร็วๆนี้ ไม่ว่าการพิจารณาของครม.อบู่บนพื้นฐานเหตุผลหรือมีเบื้องหลังจากแรงบีบของใครหรือไม่?
    บริษัทยาที่รับอานิสงส์คงไม่พ้นยักษ์ต่างชาติ?
 
http://matichon.co.th/prachachat/news_d ... 53&catid=1
wara
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 243
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 56

โพสต์

comment ส่วนตัวน่ะครับ   เรื่องยกเลิกการจัดซื้อยาจากองค์กรเภสัช
ความจริงก็ต้องฟังข้อมูลให้ดี

เพราะยาบางอย่าง หรือหลายๆอย่าง องค์กรเภสัชผลิตได้แพงกว่า  ไปซื้อจากบริษัทเอกชน
เช่น ยา amoxy 500 mg อง์กรเภสัชผลิต เม็ดละ 2.75 บาท แต่ถ้าซื้อจากเอกชน จะได้ 1.50 บาท
ยา amlodipine 5 mg  อง์กรเภสัชผลิต เม็ดละ 1.50-1.80บาท (แล้วแต่จำนวนที่ซื้อ)  แต่ถ้าซื้อจากเอกชน จะได้ 0.63-0.85 บาท (แล้วแต่จำนวนและบริษัท)

 แล้วองค์กรเภสัชก็มาบังคับรพ. ซื้อ ซึ่งผมก็เห็นว่ามันไม่ถูก เพราะมาเป็นภาระของรพรัฐ ที่ต้องใช้ยาแพงโดยไม่จำเป็น , ผมว่าควรจะมีการเปิดประมูลให้ซื้อเสรี  ทาง internet  เปิดราคาให้เห็น ใครถูกกว่า ใครมีคูณภาพมากกว่า ก็จึงให้รพ. ซื้อจากที่นั่น  
      ส่วนองค์กรเภสัชก็ควรเลือกจะผลิตยาที่มีประโยชน์หรือผลิตแล้วมีราคาถูก หรือ ดีกว่าเอกชน ไม่ใช่มามัดมือชก ให้รพ ซื้อ
   อย่างไรก็ตามล่าสุด  ก็ขอชื่นชมองค์การเภสัชที่ผลิต ยาขับเหล็กชนิดกินสำหรับผู้ป่วยธาลัสซืเมีย  ในราคาถูกกว่าเอกชน 5 เท่า
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news19/11/07

โพสต์ที่ 57

โพสต์

สปส. ออกมาโต้โรงพยาบาลเอกชนกว่าครึ่ง กลับลำเข้าร่วมโครงการกองทุนเงินทดแทนแล้ว

Posted on Monday, November 19, 2007

หลังจากเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นพ. ไพบูลย์ เอกแสงศรี ประธานชมรมโรงพยาบาลเอกชนเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม เปิดเผยว่า โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสมาชิกชมรมทั้ง 112 แห่ง มีมติอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะไม่ทำข้อตกลงกับกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สำหรับปี 2551 ที่จะถึงนี้ เนื่องจากสัญญาไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้อที่สามารถยกเลิกสัญญาได้ตามความยินยอมของสปส.เท่านั้น โดยแจ้งล่วงหน้า 90 วัน ซึ่งข้อตกลงฉบับเดิมมีอายุ 2 ปี

ทั้งนี้ มั่นใจว่าไม่ทำให้ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบ เพราะยังให้บริการตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการเบิกจ่ายเงินเท่านั้น ซึ่งเดิมสำรองค่าใช้จ่ายและเบิกกับกองทุนเงินทดแทนเปลี่ยนเป็นใช้วิธีเบิกจากนายจ้างโดยตรง พร้อมยืนยันว่าไม่เป็นการผลักภาระให้กับนายจ้าง

ล่าสุด นายสิทธิพล รัตนากร รองเลขาธิการ สปส. ได้ออกมาชี้แจงว่า ขณะนี้ โรงพยาบาลกลุ่มเอกชนจำนวน 67 แห่ง จากทั้งหมด 112 แห่ง ทยอยกลับเข้าเป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนแล้ว และคาดว่าจะทยอยยื่นความจำนงเข้ามาอีกเรื่อยๆ

ดังนั้น สปส. ขอให้นายจ้าง ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้อง กังวล หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน สปส.มีโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลที่อยู่ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนจำนวนกว่า 871 แห่งรองรับเพียงพอแน่นอน

โดยหากลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ก็ขอให้นายจ้างส่งตัวเข้ารักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง เพราะกฎหมายกองทุนเงินทดแทนกำหนดไว้ว่านายจ้างส่งตัว ลูกจ้างเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่สถานพยาบาลที่มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 หมายถึงตั้งแต่ คลินิกที่มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ทำงาน ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news19/11/07

โพสต์ที่ 58

โพสต์

67 รพ.เอกชน ยอมต่อประกันสังคม

โดย Post Digital 19 พฤศจิกายน 2550 17:01 น.

สปส.เผยรพ.เอกชน67แห่งยอมต่อประกันสังคมแล้ว และคาดว่าจะทยอยเข้ามาอีกเรื่อยๆ

นายสิทธิพล รัตนากร รองเลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายรายทยอยกลับเข้ามาเป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน โดยในขณะนี้มีผู้ยื่นความจำนงแล้วจำนวน 67 แห่ง และคาดว่าจะทยอยยื่นความจำนงเข้ามาอีกเรื่อย ๆ หลังได้คำชี้แจงจากทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) แล้ว

ก่อนหน้านี้ โรงพยาบาลจำนวน 112 แห่ง ขอถอนตัวจากการเป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนในปี 51 โดยให้สาเหตุว่ากองทุนฯ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำกับโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ต้องเครดิตทดลองจ่ายให้นายจ้าง ลูกจ้างไปก่อน แล้วไปเบิกกับ สปส.ทีหลัง และด้วยกฎเกณฑ์การพิจารณาของ สปส.ที่ตั้งมาอย่างซับซ้อน ทำให้โรงพยาบาลเก็บค่ารักษาได้เต็มที่

ดังนั้น นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน จะไม่ต้องเป็นกังวล หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน สปส.มีโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลที่อยู่ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนรองรับอย่างเพียงพอ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง

กฎหมายกองทุนเงินทดแทน กำหนดไว้ว่านายจ้างส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่สถานพยาบาลที่มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 นั่นหมายถึงได้ตั้งแต่คลินิกที่มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ประจำทำงาน ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน หากโรงพยาบาลนั้นมิได้เป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน นายจ้างต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำหลักฐาน ได้แก่ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงินมาเบิกจ่ายจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ได้ภายหลัง

ส่วนกรณีที่นายจ้างไม่ประสงค์สำรองจ่ายค่ารักษาก่อน นายจ้างสามารถส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน โดยมีแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44)

ทั้งนี้นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายตามแบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ หรือสูญหาย และคำร้องขอรับเงินทดแทน (กท. 16) ส่งให้ประกันสังคมเขตพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนไว้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง พร้อมใบรับรองแพทย์และสำเนาแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท. 44) ถ้ามี

อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานหรือไม่ ให้ลูกจ้าง ผู้ประกันตนยื่นบัตรรับรองสิทธิรักษาพยาบาลไปก่อน
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=204457
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 59

โพสต์

โรงพยาบาลเอกชน ข้อตกลง JTEPAดันคนไข้ชาวญี่ปุ่นโต
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :     คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ประมาณปีละ 2 แสนคน ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่ได้มีการเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนับเป็นการเปิดโอกาสที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างกันรวมทั้งเอื้อต่อการเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของคนไข้ชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่สนใจเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศและธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทางฝ่ายไทยเองก็มีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้รองรับคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่จะมีเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการอบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรมเพื่อให้เข้าใจอุปนิสัย ความต้องการของคนญี่ปุ่น รวมไปถึงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังขาดแคลนให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งในส่วนของคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติ
    ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนไข้ชาวต่างชาติประเทศอื่นๆ โดยมีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในเอเชียใต้ เป็นกลุ่มที่คนไข้เข้ามารักษาในลำดับรองลงมา ทั้งนี้จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของกรมส่งเสริมการส่งออกพบว่า คนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการสามารถแยกออกได้เป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและพักอาศัยในประเทศไทยรวมทั้งกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศเพื่อนบ้านคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ส่วนอีก 40% จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยแล้วเกิดเจ็บป่วยรวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาในระยะเวลาสั้นๆอาทิ ทำฟัน ตรวจสุขภาพ ศัลยกรรม รักษาเกี่ยวกับสายตาเช่นเลสิก เป็นต้น
   สำหรับในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นนั้นในปี 2544 มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทย จำนวน 118,170 คนคิดเป็นร้อยละ 21.5 จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 550,161 คน ในขณะที่ปี 2546 คนไข้ชาวญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 162,909 คน คิดเป็นสัดส่วน 16.7% จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 973,532 คน ส่วนในปี 2548 คนไข้ชาวญี่ปุ่นมีทั้งหมด 185,616 คน คิดเป็น 14.9% จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 1,249,984 คน สำหรับในปี 2550 คาดว่าจำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษาพยาบาลในไทยจะมีไม่ต่ำกว่า 200,000 คนจากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่คาดว่าจะมีประมาณ 1.54 ล้านคน
    สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ามารักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยนอกจากปัจจัยทางด้านอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำกว่าโรงพยาบาลคู่แข่งของต่างประเทศแต่คุณภาพการรักษาใกล้เคียงกันแล้ว โรงพยาบาลเอกชนของไทยยังมีความได้เปรียบจากศักยภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องซึ่งช่วยส่งเสริมและเกื้อหนุนต่อธุรกิจอาทิ ธุรกิจทางด้านสปาและการแพทย์แผนไทยซึ่งสามารถนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ควบคู่กันเพื่อให้คนไข้ได้รับความพึงพอใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันจากการที่ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมของต่างชาติทำให้การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมไปกับการรักษาพยาบาลให้กับคนไข้และผู้ติดตามมีศักยภาพยิ่งขึ้น
   ประการสำคัญ การที่ไทยและญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมประเพณีที่ใกล้เคียงกันทั้งทางด้านศาสนา ความเชื่อ รวมทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนมายาวนานโดยเฉพาะอุปนิสัยใจคอของคนไทยที่ยิ้มแย้มแจ่มใส รักงานให้บริการ เข้าได้กับอุปนิสัยใจคอของคนญี่ปุ่น ส่งผลให้มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาทำงานอยู่อาศัยและท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่าญี่ปุ่นเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย โดยในปี 2549 ที่ผ่านมามีชาวญี่ปุ่นเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 1.31 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 9.5% จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทยจำนวนประมาณ 13.82 ล้านคน
   สำหรับในส่วนของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาพักอาศัยและทำงานในประเทศไทยนั้นจากข้อมูลของกรมการจัดหางานพบว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยในส่วนของคนญี่ปุ่นมีจำนวนทั้งสิ้น 22,976 คน ทั้งนี้หากรวมกับผู้ติดตามเช่นคู่สมรสและบุตรแล้วจำนวนคนญี่ปุ่นที่พักอาศัยในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นฐานสนับสนุนให้ชาวญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติที่มีบทบาทมากที่สุดในกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของไทย
    เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลจากการที่ไทยมีการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งข้อตกลงทางการค้า การลงทุน และภาคบริการที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
    กลุ่มคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จากข้อตกลงเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการค้า การลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างกันทั้งการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือการพักอาศัยเพื่อทำงาน โดยในส่วนของนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นนั้น จากการเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศไทยทำให้มีหลายสาขาธุรกิจที่ญี่ป่นสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มในประเทศไทย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจบริการ โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
   ขณะเดียวกันจากข้อตกลงดังกล่าว ญี่ปุ่นตกลงที่จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมสัมมนาให้ความรู้กับผู้ประกอบการของไทยทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น ซึ่งจากปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นจะส่งผลให้พนักงาน ผู้บริหารรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโรงพยาบาลเอกชนไทยซึ่งมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง
    กลุ่มคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่ต้องการเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของไทยโดยตรงจากการที่ญี่ปุ่นผูกพันข้อตกลงให้คนญี่ปุ่นที่เจ็บป่วยสามารถเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยได้โดยสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนของรัฐได้เท่ากับการรักษาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งกำหนดให้เบิกได้ 70% และผู้ป่วยจ่ายเอง 30% เป็นปัจจัยหนุนให้คนญี่ปุ่นสนในเข้ามารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนของไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วของการให้บริการทางการแพทย์เมื่อเทียบกับการใช้บริการโรงพยาบาลในญี่ปุ่นซึ่งมีจำนวนคนไข้รอใช้บริการมากเมื่อเทียบกับจำนวนแพทย์และพยาบาลที่มี อีกทั้งค่ารักษาพยาบาลของไทยก็ยังต่ำกว่าญี่ปุ่นทำให้ผู้ป่วยรวมทั้งภาครัฐของญี่ปุ่นสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและงบประมาณได้
    ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ผลจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จะสนับสนุนให้จำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐรวมทั้งผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนของไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้
    1.การเรียนรู้วัฒนธรรม ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชน ควรส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ทั้งแพทย์ พยาบาล รวมทั้งบุคคลกรทางเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริการ เข้าใจถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นทั้งทางด้านรสนิยม ความชอบทางด้านต่างๆอาทิ อาหาร เพลง หรือภาพยนตร์ที่ชอบ สภาพบรรยากาศของห้องพักผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความประทับใจในด้านบริการให้กับชาวญี่ปุ่น
    2.การเสริมทักษะและความเชี่ยวชาญด้านภาษาและการรักษา ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการให้บริการทางการแพย์สำหรับคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่สำคัญได้แก่ การสื่อสารทางด้านภาษาระหว่างแพทย์และพยาบาลกับคนไข้ชาวญี่ปุ่น ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางด้านงานให้บริการทางการแพทย์ ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนควรพิจารณาเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่แปลภาษาเพื่อให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันอาจมีการส่งแพทย์ในสังกัดไปอบรมหรือเพิ่มเติมความรู้จากต่างประเทศเพื่อเพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาและความรู้ทางการรักษาในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการแย่งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตรงกับความต้องการของคนไข้มากที่สุดซึ่งจะเป็นจุดเด่นที่ทำให้มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นมาใช้บริการเพิ่มขึ้น
    3.การจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศญี่ปุ่น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนควรมีการจัดตั้งตัวแทนในประเทศญี่ปุ่นเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆเกี่ยวกับข้อมูลบริการทางการแพทย์ของไทยที่มีศักยภาพทางด้านการรักษาพยาบาลเพื่อเข้าถึงคนไข้ชาวญี่ปุ่นมากขึ้น โดยอาจมีการเสนอแพ็กเก็จให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามารักษาพยาบาลพร้อมกับการท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งในส่วนของคนไข้ และผู้ติดตาม
    4.การเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลภาคเอกชนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนมีการดึงบุคลากรทางการแพทย์จากภาครัฐรวมทั้งดึงจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนของไทยจึงควรเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอรองรับการให้บริการทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ แก่ประชาชนในประเทศ รวมทั้งรองรับคนไข้ชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    กล่าวโดยสรุปแล้ว ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีโอกาสต้อนรับคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่สนใจเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ อันเป็นผลจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งมีเงื่อนไขเอื้อหลายประการ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนรายใดจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวมากหรือน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนาบริการทางการแพทย์ ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ชาวญี่ปุ่นเกิดความประทับใจ ทางด้านคุณภาพของการให้บริการในทุกๆด้าน ประการสำคัญที่สุดที่ภาครัฐและผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอกับความต้องการของคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติเป็นประการสำคัญที่สุด  
ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/12/07

โพสต์ที่ 60

โพสต์

"รามา-ศิริราช"ลุยเมดิคอลฮับ ผนึกUCLAดึงลูกค้าต่างประเทศ

ร.พ.รามา-ศิริราชกระโดดลุยจับลูกค้าชาวต่างประเทศ ผนึกทีมแพทย์จาก "ยูซีแอลเอ" สหรัฐอเมริกา หนุนไทยเป็น "เมดิคอลฮับ" อีกแรง ผุดโครงการเปิดคลินิกนอกเวลางาน หวังดึงเงินต่างประเทศ-แก้ปัญหาหมอสมองไหล เผยทำโปรเจ็กต์มา 3 ปี สุดเวิร์ก คนไข้ต่างชาติสนใจเข้ามาใช้บริการเพิ่มทุกปี ร.พ.จุฬาฯจ่อโดดเข้าร่วมแจม ด้านกระทรวงพาณิชย์คาดสิ้นปี 2550 ตัวเลขคนไข้ต่างประเทศทะลุ 1.54 ล้านคน ดูดเงินตราต่างประเทศ 41,000 ล้าน

หากกล่าวถึงความเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทย หรือเมดิคอลฮับ หลายๆ คนก็จะมองหรือพุ่งเป้าไปที่โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ที่มีบุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นบำรุงราษฎร์ กรุงเทพ พญาไท ปิยะเวท เป็นต้น และโรงพยาบาลต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันดีของชาวต่างประเทศ แต่ล่าสุดปรากฏว่าโรงพยาบาลในกลุ่มโรงเรียนแพทย์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศอย่างโรงพยาบาลจุฬาฯ-โรงพยาบาลศิริราช ก็กำลังรุกเข้ามาขยายบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการรักษาผู้ป่วยโดยเฉพาะชาวต่างประเทศด้วยเช่นกัน

นายแพทย์โรม ชุตาภา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารจากสถาบัน ยูซีแอลเอ (ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แคลิฟอร์เนีย, ลอสแองเจลิส) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมายูซีแอลเอได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลศิริราชทำโครงการนำคนไข้จากอเมริกาเข้ามารักษาในเมืองไทย ภายใต้ชื่อว่า MEDS Global Healthcare ซึ่งเป็นโครงการที่ผสมผสานระหว่างการรักษาพยาบาลและการท่องเที่ยวในเมืองไทยเข้าไว้ด้วยกัน โดยโครงการนี้ได้ร่วมมือกันมา 3 ปีแล้ว และพบว่าโครงการนี้ได้รับความสนใจจากคนไข้อเมริกันมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยการส่งคนไข้จากอเมริกาเข้ามารักษาตัวในเมืองไทยนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมแพทย์ไทยและแพทย์ของยูซีแอลเอ ในการส่งคนไข้เข้ามารักษาตัวในเมืองไทย นอกจากนี้ก็ยังได้ประสานงานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในเรื่องของการจัดแพ็กเกจท่องเที่ยวหลังจากการรักษาเสร็จสิ้น

"การรักษาของโครงการนี้จะเป็นการรักษาในช่วงนอกเวลาทำการ และใช้เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาซึ่งใช้เวลาในการรักษาที่สั้นลง อย่างเช่นการผ่าตัดใหญ่ที่อาจต้องใช้เวลานอนพักฟื้นในโรงพยาบาล 3-5 วัน แต่การรักษาแบบใหม่จะใช้เวลาเพียง 1 วัน และคนไข้สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้เลย และแต่ละแพ็กเกจที่นำคนไข้มาเมืองไทยใช้เวลาเพียง 3 วันเท่านั้น ทำให้ไม่เป็นภาระในแง่ของการบริหารจัดการในโรงพยาบาลภาครัฐที่ต้องดูแลคนไข้จำนวนมากๆ โครงการความร่วมมือนี้จะให้แพทย์ที่สนใจเข้ามาทำงานร่วมกันในช่วงนอกเวลาราชการ และในอนาคตมีแผนจะขยายเครือข่ายด้วยการดึงทีมแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐอย่างจุฬาฯที่สนใจจะมาเข้าร่วมและเอกชนอีกหลายรายที่มีความสามารถเข้ามาร่วมโครงการด้วย"

ชี้หนุนไทยเป็นเมดิคอลฮับ

พร้อมกันนี้นายแพทย์โรมยังเปรียบเทียบให้เห็นด้วยว่า ในแง่ของค่าใช้จ่ายรวมต่อครั้งในการเข้ามารักษาเมืองไทยตกเฉลี่ยประมาณ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับการรักษาและพักฟื้นในโรงพยาบาลอเมริกาต่อครั้งสูงถึง 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ ในกรณีที่คนไข้ไม่มีประกันสังคม

"ในอเมริกามีคนที่ไม่ได้ทำประกันสังคมสูงถึง 20% ของพลเมืองทั้งประเทศ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคนว่างงาน หรือคนที่ทำงานอิสระทั่วไปและทำงานในบริษัทไม่ใหญ่มากนักและเจ้าของไม่มีสวัสดิการประกันสุขภาพให้ ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนี้มีจำนวนมหาศาล ดังนั้นโครงการนี้จึงน่าจะช่วยนำรายได้เข้าประเทศได้เป็นจำนวนมากด้วย"

นายแพทย์โรมยังย้ำด้วยว่า นอกจากโครงการนี้จะมีส่วนช่วยให้เมืองไทยก้าวสู่เมดิคอลฮับที่ สมบูรณ์แบบแล้ว การร่วมมือกันดังกล่าวก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแพทย์เมืองไทยในแง่ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมาก็ได้มีการอบรมและพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของวงการแพทย์เมืองไทยที่ร่วมกับสภาแพทย์ในอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐเพื่อแก้ปัญหาแพทย์สมองไหลจากส่วนต่างรายได้ของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่แตกต่างกันมาก

"ด้วยชื่อเสียงทางด้านการแพทย์ของเมืองไทยที่ได้รับการยอมรับสูง ที่ผ่านมามีชาวต่างประเทศจากทั่วโลกเดินทางมารักษาตัวในประเทศไทยมากถึง 4 แสนคน ตั้งแต่การทำฟัน ผ่าตัดรักษาโรค ทำศัลยกรรมเสริมสวย หรือกระทั่งผ่าตัดแปลงเพศ อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะมุ่งจับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างไปจากโรงพยาบาลเอกชน โดยจะเน้นการรักษาโรคเฉพาะทาง อาทิ เนื้องอกในมดลูก หรือผ่าตัดหัวใจ ที่เป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการรักษา และในอนาคตจะขยายออกไปยังการรักษาโรคกระดูกหลังและเข่าด้วย" นายแพทย์โรม กล่าวในตอนท้าย

พาณิชย์เชียร์เพิ่มรายได้ประเทศ

ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่งแสดงความเห็นในเรื่องนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้กลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติทั่วโลกที่จะเข้ามารับการรักษาพยาบาล เนื่องจากมีความมั่นใจในเรื่องมาตร ฐานและคุณภาพในการรักษาพยาบาล แต่มีราคาที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะการรักษาผ่าตัดยากๆ ซึ่งแพทย์ไทยสามารถทำได้ดี เช่น การผ่าตัดหัวใจ สมอง เปลี่ยนข้อกระดูก แปลงเพศ และเสริมสวย ซึ่งในต่างประเทศจะคิดค่ารักษาพยาบาลประเภทนี้สูงกว่าเป็น 10 เท่า

แหล่งข่าวรายนี้ยังให้ข้อมูลโดยอ้างอิงตัวเลขของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ด้วยว่า ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการในประเทศไทยหลักๆ มาจากประเทศญี่ปุ่นราว 15% สหรัฐอเมริกา 10% และกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ 8% ตะวันออกกลาง 8% อาเซียน 6% ที่เหลือได้แก่ จีน เกาหลีใต้ เยอรมนี ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงกลุ่มลูกค้าระดับบนจากประเทศเพื่อนบ้านของ ไทย เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ที่นิยมเข้ามารับการรักษาจากโรงพยาบาลตามจังหวัดชายแดนของไทย

นอกจากนี้ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ยังระบุด้วยว่าในปี 2549 ที่ผ่านมาธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนได้ขยายเครือข่ายการให้บริการอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ มีชาวต่างชาติเข้า มารับบริการกว่า 1.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 15% จาก ปี 2548 และนำรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณ 36,000 ล้านบาท สำหรับในปี 2550 คาดว่าจำนวนคนไข้ต่างประเทศจะมีทั้งสิ้นประมาณ 1.54 ล้านคน และสร้างรายได้เข้าประเทศราว 41,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าราว 14%

ส่วนตัวเลขการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยนั้นพบว่าในปี 2549 ประเทศไทยมีจำนวนโรงพยาบาลเอกชน 354 แห่ง มีจำนวนเตียง 36,323 เตียง โดยในจำนวนนี้ 63% อยู่ในภาคกลาง โดยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 29.1% ที่เหลืออยู่ในภาคเหนือ 14.7% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11.9% และภาคใต้ 10.4% ตามลำดับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งได้เร่งขยายเครือข่ายสาขาทั้งในรูปของการซื้อกิจการและการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ตลอดจนการเปิดศูนย์บริการเฉพาะทางรองรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มและบริการลูกค้าชาวต่างชาติ อาทิ ศูนย์โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคกระดูก ศูนย์ศัลยกรรม และศูนย์ดูแลสุขภาพ หรือแม้กระทั่งเรื่องการรักษาด้วยวิธีสเตมเซลล์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในการให้บริการ โดยมุ่งทำตลาดแบบเฉพาะกลุ่มเป็นหลัก นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ของโรงพยาบาลแต่ละแห่งแล้ว โรงพยาบาลเอกชนหลายๆ แห่งก็ใช้กลยุทธ์การออกไปเดินสายโรดโชว์ในต่างประเทศเพื่อชักชวนและดึงคนไข้ชาวต่างประเทศเข้ามารักษาในเมืองไทย
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201