ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
drypoint
Verified User
โพสต์: 148
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พาร์คืออะไรครับ แล้วถ้าแตกพาร์จะมีผลต่อหุ้นยังไงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ตอบได้แค่ 50%

par ก็คือมูลค่าตามใบหุ้น ที่เจ้าของกิจการไปจดทะเบียนว่า มีทุนจดทะเบียนกี่หุ้น และหุ้นละเท่าไหร่ แต่มูลค่าที่ใช้ซื้อขายกันจริงมันจะสูงหรือต่ำกว่า par ก็คือขึ้นลงตามกลไกตลาดค่ะ ถ้าอยากรู้ว่าตัวไหนกำลังอยู่ในกระแส ก็เปรียบเทียบดูจากราคาตลาดกับราคา par ก็จะได้ idea บ้างว่ามันดีหรือไม่ดี

เช่น บริษัทออกหุ้นที่ par ละ 1 บาท ถ้าคนนิยมมากจากปัจจัยอะไรก็แล้วแต่ ราคาที่ซื้อขายก็จะสูงกว่า Par  เราก็จะเกิดความคาดหวังได้ว่า หุ้นตัวนี้มีอะไรดีดี (แต่ทุกทีก็ดูไม่ค่อยออก) แน่เลย ก็ต้องไปศึกษาทำการบ้านกันต่อไปว่าเกิดอะไรขึ้น

อีกเรื่อง รอผู้รู้นะคะ
.....Give Everything but not Give Up.....
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

พาร์มีไว้จดทะเบียน เช่นมี 100 หุ้น พาร์ละ 1บาท ก็มีทุนจดทะเบียน 100 บาท ราคาหุ้นไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ราคาพาร์ เพราะบางบริษัทมีมานานแล้ว บริษัทเติบโต มีกำไรมาก ราคาหุ้นก็จะสูง เช่น SCC ราคาพาร์ 1 บาท แต่ราคาหุ้น 250 บาท

ถ้าเป็นสมัยก่อน ประมาณก่อนปี 35 ราคาพาร์ส่วนใหญ่กำหนดที่ 100 บาท ถ้าเป็นราคาหุ้นในปัจจุบัน SCC ราคาจะเท่ากับ ราคาหุ้นละ 25,000 บาท

ถ้าต้องซื้อ 1 LOT ของตลาด ซื้อหมายถึง  100 หุ้น เป็นขั้นต่ำ ก็ต้องใช้เงิน 2,500,000 ต่อการซื้อหุ้น 1 ไม้ (1 ครั้ง) รายย่อยก็หมดโอกาสซื้อ

การลดพาร์ที่คุณถาม ก็ทำให้ราคาหุ้นถูกลง เป็น 25000 ต่อครั้ง (100หุ้น)

ถามว่าเป็นการเพื่มคุณค่าให้แก่หุ้นหรือไม่ คำตอบคือ ไม่
เช่น คุณเอาเหรียญ 10 ไปแลกเหรียญ 5 ได้ 2 เหรียญ มันทำให้คุณมีเงินมากกว่า 10 บาทหรือไม่ การแตกพาร์เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง ทำให้คุณมีเหรียญ 5  2 เหรียญ ซื้อของได้ง่ายขึ้น แม่ค้าไม่ต้องทอนมาก เป็นข่าวล่อให้แมงเม่าตกใจว่าจะได้หุ้นเพิ่มฟรี ๆ เป็นการไล่ราคาหุ้น ฯลฯ
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ข้อถามต่อเพิ่มเติมนะครับว่า ทุนจดทะเบียน กำหนดหรือคิดมาจากอะไรครับ
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ทุนจดทะเบียน โดยหลักการแล้วคือ เงินที่เจ้าของลงขัน ตอนสร้างกิจการ เช่น มีทุนจดทะเบียน 100,000 บาท ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท คุณมี 10,000 หุ้น เท่ากับว่าคุณลงขัน 10,000 บาท เมื่อกิจการกำไร ปันผล ก็จะได้เงินปันผล 10,000 หุ้น คูณด้วยอัตราเงินปันผล เช่น หุ้นละ 0.10 คุณก็จะได้เงิน 1,000 บาท

ลองไปดูในงบดุลดูครับ จะเห็นว่าส่วนของผู้ถือหุ้น มีเขียนว่าทุนจดทะเบียนอยู่ครับ
แต่ถ้ามีการเพิ่มทุน เช่น ขายที่ราคา 5 บาท ที่พาร์ 1 บาท 100,000 หุ้น ก็จะเกิดส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4 บาท ต่อหุ้น คือ 400,000 บาท
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ทุนจดทะเบียน โดยหลักการแล้วคือ เงินที่เจ้าของลงขัน ตอนสร้างกิจการ เช่น มีทุนจดทะเบียน 100,000 บาท ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท
คือสงสัยในส่วนที่ ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท ตรงนี้มาจากไหนครับ ทางบริษัทกำหนดมาจากอะไร  ใช้อะไรประเมินในการกำหนดทุนจดทะเบียน ในตอนเริ่มเข้ามาขาย IPO   ทำไมต้อง 100,000 บาท เป็น 130,000 หรือ  150,000 ไม่ได้หรือ?
สงสัยง่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

javoel เขียน:
คือสงสัยในส่วนที่ ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท ตรงนี้มาจากไหนครับ ทางบริษัทกำหนดมาจากอะไร
.....Give Everything but not Give Up.....
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ส่วนใหญ่ (ผมว่าน่าจะทั้งหมด) บริษัทจะไม่ขายหุ้น IPO ที่ราคาพาร์หรอกครับ เพราะไม่งั้นเท่ากับว่าคนที่มาร่วมลงทุนที่หลัง ลงเงินเท่ากับเจ้าของครั้งแรก บางกิจการก่อตั้งมาเป็น 10 ปีแล้ว มีมูลค่ามากกว่า ราคาพาร์ 1 บาท เช่น โรงงานผลิตของอย่างหนึ่ง ขายมาแล้ว 10 ปีมียอดขาย กำไร ทรัพย์สิน ฐานลูกค้า แบรนด์ มากกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน มูลค่ากิจการก็จะมากขึ้น เมื่อจะมาขาย IPO ให้คนทั่วไปภายนอกเค้าจะคิดราคาหุ้นจากผลประกอบการในปัจจุบัน จึงทำให้ราคา IPO สูงกว่าราคาพาร์ ถ้าคุณไปขายที่ราคาพาร์ก็เท่ากับคุณให้ผู้ร่วมทุนรายใหม่ลงทุนเท่ากับคุณเมื่อ 10 ปีก่อน โดยไม่ต้องเหนื่อยเหมือนคุณล่ะสิ
ถามว่าแล้วเจ้าของเดิมจะได้อะไร ตอบ ก็จะได้ความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดจะเป็นผู้ให้เหมือนที่คุณ javoel บอก จากเดิมที่คุณมีความมั่งคั่งแค่แสนเดียว ความมั่งคั่งของคุณอาจเพิ่ม เป็น 2 - 3 - 4 - 5 แสนก็ได้ คุณก็จะรวยขึ้นเองถ้าคุณเอาหุ้นมาขายในตลาด จากเดิมที่ไม่มีใครให้ราคาคุณ
ส่วนกิจการก็จะได้เงินทุนที่ไม่มีต้นทุนดอกเบี้ยไปใช้ แต่ต้องทำให้มีความสามารถในการทำกำไรมากขั้นเป็นการตอบแทน

แล้วทำไม่ต้องเริ่มต้องเป็น 100,000  ขึ้นอยู่กับเจ้าของจะให้บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินอย่างไร เช่น ไปกู้เงินมาเพิ่มอีก 100,000 (หรือขอ O/D) เพื่อซื้อวัตถุดิบมาผลิต จ้างคนทำงาน เมื่อผลิตได้ก็จะได้สินค้า ก็จะอยู่ในส่วนสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนเงินทุนที่ลงขันตอนแรกไปสร้างโรงงาน ก็จะอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ถาวร จะเห็นว่า สินทรัพย์รวม 200,000 (สินค้า + โรงงาน) จะต้องเท่ากับ หนี้สิน (เงินกู้ 100,000) บวกด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น (เงินลงขันตอนแรก 100,000) พอคิดเป็นค่า D/E (หนี้สินรวมหารด้วยส่วนผู้ถื่อหุ้น) ก็จะได้ 1 เท่าพอดี

พอเข้าใจไหมครับ ผมเองก็ไม่ได้จบบัญชีหรอกครับ อยากให้คนที่มีความรู้จริง ๆ ด้านบัญชีมาตอบเหมือนกัน
V_accy
Verified User
โพสต์: 361
ผู้ติดตาม: 0

^ ^

โพสต์ที่ 9

โพสต์

"ส่วนกิจการก็จะได้เงินทุนที่ไม่มีต้นทุนดอกเบี้ยไปใช้ "

เงินที่ได้ไม่ใช่เข้าเจ้าของเดิมที่เขาเอาหุ้นมาแตกหรือครับ

สงสัยมานาน

ขอบคุณครับ
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

บริษัทจะไม่ขายหุ้น IPO ที่ราคาพาร์หรอกครับ เพราะไม่งั้นเท่ากับว่าคนที่มาร่วมลงทุนที่หลัง ลงเงินเท่ากับเจ้าของครั้งแรก บางกิจการก่อตั้งมาเป็น 10 ปีแล้ว มีมูลค่ามากกว่า ราคาพาร์ 1 บาท เช่น โรงงานผลิตของอย่างหนึ่ง ขายมาแล้ว 10 ปีมียอดขาย กำไร ทรัพย์สิน ฐานลูกค้า แบรนด์ มากกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน มูลค่ากิจการก็จะมากขึ้น เมื่อจะมาขาย IPO ให้คนทั่วไปภายนอกเค้าจะคิดราคาหุ้นจากผลประกอบการในปัจจุบัน จึงทำให้ราคา IPO สูงกว่าราคาพาร์ ถ้าคุณไปขายที่ราคาพาร์ก็เท่ากับคุณให้ผู้ร่วมทุนรายใหม่ลงทุนเท่ากับคุณเมื่อ 10 ปีก่
จากข้อความข้างบน เเสดงว่า ทุนจดทะเบียนของบริษัทที่จะเข้ามาอยู่ใน set ก็คือ ส่วนของ equity (total asset หักออกจาก debth) ณ ขณะนั้นไช่ไหมครับ  เช่น ตอนนี้มีสินทรัพย์ 100,000 บาท เป็นหนี้ 50,000 บาท ส่วน equity 50,000 บาท เเสดงว่าทุนจดทะเบียน 50,000 บาทใช่ไหมครับ   ส่วนราคา par จะกำหนดตามความเหมะสม ตามเเต่จะให้มีสภาพคล่องของหุ้นเท่าไหร่ โดยล้อ/สอดคล้องไปกับทุนจดทะเบียน  ส่วนราคา IPO ก็กำหนดขึ้นมาเองว่าจะเอาเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม   ... ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ (ไมเเน่ใจ)

แล้วทำไมตอนเริ่มต้องเป็น 100,000  ขึ้นอยู่กับเจ้าของจะให้บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินอย่างไร เช่น ไปกู้เงินมาเพิ่มอีก 100,000 (หรือขอ O/D) เพื่อซื้อวัตถุดิบมาผลิต จ้างคนทำงาน เมื่อผลิตได้ก็จะได้สินค้า ก็จะอยู่ในส่วนสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนเงินทุนที่ลงขันตอนแรกไปสร้างโรงงาน ก็จะอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ถาวร จะเห็นว่า สินทรัพย์รวม 200,000 (สินค้า + โรงงาน) จะต้องเท่ากับ หนี้สิน (เงินกู้ 100,000) บวกด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น (เงินลงขันตอนแรก 100,000) พอคิดเป็นค่า D/E (หนี้สินรวมหารด้วยส่วนผู้ถื่อหุ้น) ก็จะได้ 1 เท่าพอดี
ตรงนี้ผมไม่เข้าใจ่วา เกี่ยวกับทุนจดทะเบียนตรงไหน จากข้างบนทุนจดทะเบียนจะจดเป็น 100,000 หรือ 200,000 ครับ ถ้าจดเป็น 200,000
เเสดงว่าทุนจดทะเบียนเป็นการจดทะเบียนที่คิดขึ้นมาเอง (ประมาณคร่าวๆตามความเหมาะสมของบริษท)



ถามว่าแล้วเจ้าของเดิมจะได้อะไร ตอบ ก็จะได้ความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดจะเป็นผู้ให้เหมือนที่คุณ javoel บอก จากเดิมที่คุณมีความมั่งคั่งแค่แสนเดียว ความมั่งคั่งของคุณอาจเพิ่ม เป็น 2 - 3 - 4 - 5 แสนก็ได้ คุณก็จะรวยขึ้นเองถ้าคุณเอาหุ้นมาขายในตลาด จากเดิมที่ไม่มีใครให้ราคาคุณ
ตรงนี้ ไม่ใช่บริษัทหรือครับ  ที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น เพราะเงินที่ขาย IPO จะเข้าบริษัทโดยตรง ไม่ไดเข้าบัญชีของเจ้าของเดิม  ดังนั้นเจ้าของเดิมจะมีความมั่งคั่งเท่าเดิม เเต่บริษัท (ที่ได้เป็นมหาชนเเล้ว) จะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น


งง อ่ะครับ ช่วยชี้เเนะด้วยครับ
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ตรงนี้ ไม่ใช่บริษัทหรือครับ  ที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น เพราะเงินที่ขาย IPO จะเข้าบริษัทโดยตรง ไม่ไดเข้าบัญชีของเจ้าของเดิม  ดังนั้นเจ้าของเดิมจะมีความมั่งคั่งเท่าเดิม เเต่บริษัท (ที่ได้เป็นมหาชนเเล้ว) จะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น


งง อ่ะครับ ช่วยชี้เเนะด้วยครับ
ถ้าเจ้าของเดิมมีหุ้นของบริษัทอยู่ สมมติ 1ล้านหุ้น ที่ราคา 1 บาท (เพราะเป็นผู้ร่วมก่อการ)

พอบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดให้ราคาสูงกว่าพาร์ซัก 5 เท่า

ความมั่งคั่ง 1ล้าน ก็จะกลายเป็น 5ล้านไปในบัดดล
ส่วนเงินสดจะมีก็ต่อเมื่อเจ้าของขายหุ้นตัวเองไปเพื่อเอากำไร

ดังนั้น เงินจากการระดมทุนได้เข้าสู่บริษัทโดยตรงก็จริง แต่ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นเดิมก็เพิ่มขึ้นด้วยจากราคาที่ตลาดกำหนดกันขึ้นมาใหม่
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ถ้าเจ้าของเดิมมีหุ้นของบริษัทอยู่ สมมติ 1ล้านหุ้น ที่ราคา 1 บาท (เพราะเป็นผู้ร่วมก่อการ)

พอบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดให้ราคาสูงกว่าพาร์ซัก 5 เท่า

ความมั่งคั่ง 1ล้าน ก็จะกลายเป็น 5ล้านไปในบัดดล
ส่วนเงินสดจะมีก็ต่อเมื่อเจ้าของขายหุ้นตัวเองไปเพื่อเอากำไร
เเต่ราคาตอนนั้น(ในอดีต) กับราคาขณะนี้(ปัจจุบัน) มันต่างกันเเล้วไม่ใช่หรอครับ
สมมุตผมลงทุน (ด้วยทุนจดทะเบียน) 100,000 บาท เมื่อ 10 ปีที่เเล้ว ได้กำไรสะสมมาเรื่อยๆ ขยายกิจการ บริษัทเติบโตมาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน มีมูลค่าระดับหนึ่ง อยากจะขายบริษัท (เข้าตลาดทั้งหมดเลย)  ผมคงไม่ขายที่ราคา 100,000 บาทเเน่ๆ เพราะ มันเป็น คอมมอนเซนต์ คือต้องขายอย่างน้อยก็ต้องเป็นราคาที่คุณค่า (ของบริษัท) ปัจจุบัน อาจจะ200,000 บาท หรือมากกว่านั้น  ซึ่งสสมุติว่าคุณค่าปัจจุบันของบริษัทนี้เป็นื 300,000 บาท ผมก็ต้องขายออกมาอย่างน้อย 300,000 เพราะถ้าขายได้ 300,000 บาท (สูงกว่าราคาอดีตที่ 100,00บาท) มันไม่ได้ทำให้ผมมีความมั่นคั่งเพิ่มขึ้นมาเลย (เท่าเดิม)  ส่วนในกรณีบริษัทจดทะเบียน(มหาชน) การขายราคา IPO ต้องขายที่ราคาสมเหตุสมผล  เหมาะสมกับพื้นฐานของบริษัทเเละสภาวการณ์ขณะนั้น ถ้าตั้งราคาไว้ต่ำ (ราคาต่ำกว่าคุณค่า) คนก็ซื้อหมดจนครบทุนจดทะเบียนเเละคนก็อยากได้ ทำให้ดันราคา IPO สูงขึ้นเมื่อเข้ามาซื้อขายในตลาด ก็จะสะท้อนคุณค่าที่เเท้จริงของบริษัทออกมา   เเต่ถ้าตั้งราคา IPO ไว้สูง (ราคาสูงกว่าคุณค่า) คนก็ไม่ค่อยสนใจ ก็ขายไม่ค่อยได้ บางครั้งซื้อไม่ครบทุนจดทะเบียน เเละราคาหุ้น IPO เมื่อเข้ามาซื้อขาย ในตลาดก็น่าจะลดลง (ตามโดยตามสมมุติฐานที่ว่า ราคาหุ้นจะสะท้อนคุณค่าของบริษัทออกมา)
ดังนั้นราคา IPO ก็น่าจะเป็นราคาที่สมเหตุสมผลกับคุณค่าของบริษัทในระดับหนึ่ง (นานาจิตตังของเเต่ละคน)
โดยสมมุติฐานนี้เเละจากเหตุผลข้างต้น เจ้าของบริษัทเดิมก็ไม่ได้เปรียบเสียเปรียบหรือมั่งคั่งเพิ่มขึ้นตรงไหน
ปล.. ภายใต้เงื่อนไขผู้บริหารไม่ปั้นราคา สร้างพื้นฐานลอยๆขึ้นมา หรือ เอาเปรียบรายย่อย (อย่างเรา) ซึ่งเเล้วเเต่โชคของเเต่ละคนที่จะตรวจสอบเจอครับ
ดังนั้น เงินจากการระดมทุนได้เข้าสู่บริษัทโดยตรงก็จริง แต่ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นเดิมก็เพิ่มขึ้นด้วยจากราคาที่ตลาดกำหนดกันขึ้นมาใหม่
เมื่อเข้ามาในตลาดเเล้ว ราคาอาจจะลดลงก็ได้นิครับ
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

การขายราคา IPO ต้องขายที่ราคาสมเหตุสมผล  เหมาะสมกับพื้นฐานของบริษัทเเละสภาวการณ์ขณะนั้น ถ้าตั้งราคาไว้ต่ำ (ราคาต่ำกว่าคุณค่า) คนก็ซื้อหมดจนครบทุนจดทะเบียนเเละคนก็อยากได้ ทำให้ดันราคา IPO สูงขึ้นเมื่อเข้ามาซื้อขายในตลาด ก็จะสะท้อนคุณค่าที่เเท้จริงของบริษัทออกมา   เเต่ถ้าตั้งราคา IPO ไว้สูง (ราคาสูงกว่าคุณค่า) คนก็ไม่ค่อยสนใจ ก็ขายไม่ค่อยได้ บางครั้งซื้อไม่ครบทุนจดทะเบียน เเละราคาหุ้น IPO เมื่อเข้ามาซื้อขาย ในตลาดก็น่าจะลดลง (ตามโดยตามสมมุติฐานที่ว่า ราคาหุ้นจะสะท้อนคุณค่าของบริษัทออกมา)
ถูกต้องครับ
แต่ที่ต่างกันคือสภาพคล่อง การขาย IPO เพิ่มสภาพคล่องให้หุ้นของเจ้าของ และสภาพคล่องก็เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
สมมุตผมลงทุน (ด้วยทุนจดทะเบียน) 100,000 บาท เมื่อ 10 ปีที่เเล้ว ได้กำไรสะสมมาเรื่อยๆ ขยายกิจการ บริษัทเติบโตมาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน มีมูลค่าระดับหนึ่ง อยากจะขายบริษัท (เข้าตลาดทั้งหมดเลย)  ผมคงไม่ขายที่ราคา 100,000 บาทเเน่ๆ เพราะ มันเป็น คอมมอนเซนต์ คือต้องขายอย่างน้อยก็ต้องเป็นราคาที่คุณค่า (ของบริษัท) ปัจจุบัน อาจจะ200,000 บาท หรือมากกว่านั้น  ซึ่งสสมุติว่าคุณค่าปัจจุบันของบริษัทนี้เป็นื 300,000 บาท ผมก็ต้องขายออกมาอย่างน้อย 300,000 เพราะถ้าขายได้ 300,000 บาท (สูงกว่าราคาอดีตที่ 100,00บาท) มันไม่ได้ทำให้ผมมีความมั่นคั่งเพิ่มขึ้นมาเลย (เท่าเดิม)
เห็นด้วยครับ
แต่จุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ หากบริษัทของเจ้าของไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น จะขายได้ 300,000 ตามมูลค่าจริงๆหรือ? เพราะการไม่ได้อยู่ในตลาดทำให้หุ้นไม่มีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือ คนที่ถือย่อมมีความเสี่ยงมากกว่า

การออกIPO จึงมาเติมเต็มความเหลื่อมล้ำใหราคา้เป็นไปตามมูลค่าที่แท้จริงโดยไม่ถูกความเสี่ยงด้านสภาพคล่องบดบังราคา(ส่วนหนึ่ง)

เมื่อเข้ามาในตลาดเเล้ว ราคาอาจจะลดลงก็ได้นิครับ
ยิ่งกว่าจริงครับ...

แต่หากมั่นใจว่าบริษัทตนเองมีคุณภาพ มีความสามารถในการเติบโตในอนาคต พวกเรา VI ก็พร้อมจะอุปถัมภ์ค้ำชูไม่ใช่หรือ...

ส่วนใหญ่ที่ตกแบบถาวรก็คือพวกบริษัทที่เอาผักชีมาโรยหน้า ปั้นงบ 2-3ปีก่อนที่จะ IPO ให้มีกำไรเยอะๆสวยๆ พอจะ IPO เลยตั้งราคาที่ PE สูงๆโดยอ้างเหตุผลว่ากำไร 2-3 ปีล่าสุดเติบโตสูงมาก แต่พอ IPO ปุ๊บ เจ้าของเดิมก็ทยอยขายเอากำไร ส่วนราคาก็ไปสะท้อนมูลค่าที่ถูกแอบไว้

มีให้เห็นบ่อยไปครับ....

เพราะฉะนั้น ถ้าธุรกิจคุณไม่ดี แย่ ถดถอย ... จะเอามันมาขายในตลาดหุ้นหรือไม่ สุดท้ายความมั่งคั่งคุณก็ลดอยู่ดีครับ
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เงินที่ได้ไม่ใช่เข้าเจ้าของเดิมที่เขาเอาหุ้นมาแตกหรือครับ

สงสัยมานาน
เงินจะเข้าสู่เจ้าของเดิมได้ถ้าเจ้าของเดิมเอาหุ้นมากระจายด้วย เช่น คุณมี 1,000,000 หุ้น คุณแบ่งมา IPO 200,000 หุ้นด้วย (เป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของคุณเองไปด้วยอีกชั้น) 200,000 หุ้นที่ขายได้จะเข้ากระเป๋าคุณ
แต่ถ้าบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนด้วยตัวเองอีก 500,000 หุ้น เงินก็จะเข้าบริษัทครับ ขืนเอาเข้ากระเป๋าตัวเองติดคุกแน่ เพราะ 500,000 หุ้นนี้เป็นหุ้นที่บริษัทเพิ่ม ไม่ใช่เจ้าของเดิมเอามาขาย
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

จากข้อความข้างบน เเสดงว่า ทุนจดทะเบียนของบริษัทที่จะเข้ามาอยู่ใน set ก็คือ ส่วนของ equity (total asset หักออกจาก debth) ณ ขณะนั้นไช่ไหมครับ  เช่น ตอนนี้มีสินทรัพย์ 100,000 บาท เป็นหนี้ 50,000 บาท ส่วน equity 50,000 บาท เเสดงว่าทุนจดทะเบียน 50,000 บาทใช่ไหมครับ   ส่วนราคา par จะกำหนดตามความเหมะสม ตามเเต่จะให้มีสภาพคล่องของหุ้นเท่าไหร่ โดยล้อ/สอดคล้องไปกับทุนจดทะเบียน  ส่วนราคา IPO ก็กำหนดขึ้นมาเองว่าจะเอาเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม   ... ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ (ไมเเน่ใจ)
ไม่จำเป็นว่าส่วน equity 50,000  ทุนจดทะเบียนต้อง 50,000 เพราะถ้ากิจการดำเนินการมาแล้วหลายปี กำไรสะสม / เงินสำรองตามกฎหมายก็จะถือว่าเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน (ลองหางบดุลมาดูสิครับ) ยิ่งถ้าขายหุ้นได้สูงกว่าราคาพาร์ก็จะมี "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" เกิดขึ้นมาอีก
ถ้าอยากดูทุนจดทะเบียนก็ต้องดูที่คำว่า "ทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว" เลยครับ
ตรงนี้ผมไม่เข้าใจ่วา เกี่ยวกับทุนจดทะเบียนตรงไหน จากข้างบนทุนจดทะเบียนจะจดเป็น 100,000 หรือ 200,000 ครับ ถ้าจดเป็น 200,000
เเสดงว่าทุนจดทะเบียนเป็นการจดทะเบียนที่คิดขึ้นมาเอง (ประมาณคร่าวๆตามความเหมาะสมของบริษท)
เกี่ยวสิครับ ก็ตอนตั้งบริษัทผู้ถือหุ้นทุกคนลงขันรวมกันเพื่อสร้างโรงงานมูลค่า 100,000 บาท ที่ราคาพาร์ละ 1 ก็เท่ากับมีทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว 100,000 บาท (หรือ 100,000 หุ้น นั่นเอง)

แนะนำให้หางบดุลของบริษัทที่ดูง่าย ๆ มาประกอบครับ
Dimsum
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สมมุตผมลงทุน (ด้วยทุนจดทะเบียน) 100,000 บาท เมื่อ 10 ปีที่เเล้ว ได้กำไรสะสมมาเรื่อยๆ ขยายกิจการ บริษัทเติบโตมาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน มีมูลค่าระดับหนึ่ง อยากจะขายบริษัท (เข้าตลาดทั้งหมดเลย)  ผมคงไม่ขายที่ราคา 100,000 บาทเเน่ๆ เพราะ มันเป็น คอมมอนเซนต์ คือต้องขายอย่างน้อยก็ต้องเป็นราคาที่คุณค่า (ของบริษัท) ปัจจุบัน อาจจะ200,000 บาท หรือมากกว่านั้น  ซึ่งสสมุติว่าคุณค่าปัจจุบันของบริษัทนี้เป็นื 300,000 บาท ผมก็ต้องขายออกมาอย่างน้อย 300,000 เพราะถ้าขายได้ 300,000 บาท (สูงกว่าราคาอดีตที่ 100,00บาท) มันไม่ได้ทำให้ผมมีความมั่นคั่งเพิ่มขึ้นมาเลย (เท่าเดิม)
ถูกต้องคร้บ แต่อยากลืมว่าตลาดจะมีเรื่องอารมณ์ บรรยากาศการลงทุน เช่น กระทิงมา การคาดการณ์ว่ากิจการจะดี เติบโต นักวิเคราะห์เชียร์ ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ราคาที่ตลาดให้มีมากกว่า 300,000 ก็ได้ (มูลค่าเกินปัจจัยพื้นฐานที่คุณคิด) อาจจขึ้นไปถึง 1-2-3 ล้านก็ได้ (P/E สูง ๆ ) เหมือนที่เคยเกิดเมื่อปี 37 เจ้าของเดิมก็จะกำไรมหาศาลเมื่อขายออกสู่ตลาด

แต่ถ้าไม่เอาหุ้นเข้าตลาดคุณจะมีโอกาสขายได้ถึงหลักล้านหรือครับ ใครจะมาให้ราคา จะมีใครมากพอที่จะรับหุ้นส่วนใหญ่จากคุณไป คุณจะไปเดินเร่ขายหุ้นคุณตามถนนเหรอ ใครจะเชื่อมั่น ใครจะเอา แต่ถ้าอยู่ในตลาดคุณก็แค่เคาะมาที่ BID มันก็จบ อีก 3 วันได้เงินใช้  :)
V_accy
Verified User
โพสต์: 361
ผู้ติดตาม: 0

^ ^

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เข้าใจแจ่มแจ้ง

ขอคาราวะพี่ๆทุกคนครับ
ขอบคุณมากๆ
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อือ..อือ.....
โมโมทาโร่
Verified User
โพสต์: 65
ผู้ติดตาม: 0

ขอคำอธิบายเรื่องพาร์หน่อยครับ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เเจ่ม...มากๆครับ

ขอบคุณสำหรับค.รู้ครับ :lol:
"Go for a business that any idiot can run - because sooner or later, any idiot probably is going to run it."
"เลือกธุรกิจที่แม้แต่คนโง่ยังสามารถดำเนินงานได้ เพราะไม่ช้าก็เร็ว ไม่แน่ว่าจะมีไอ้โง่ที่ไหนมาดำเนินธุรกิจให้กับบริษัทนั้น"
โพสต์โพสต์