หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจควรจะทำอย่างไรครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจควรจะทำอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 2
โดยส่วนตัว ถ้าซื้อหุ้นที่พื้นฐานดีจริงๆ ในราคาที่เหมาะสมจริงๆ ก็ไม่ต้องไปกลัวมาก
แต่ ส่วนใหญ่ 99 % ลงหมดครับ ถ้าเกิดวิกฤติจริงๆ
ผมคิดว่า ขายก่อน สบายใจกว่า
ต้องยอมรับอย่าง ตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2550
ซึ่งเริ่มเกิด VI ขึ้นมา โดยจุดเริ่มต้น น่าจะเกิดจากดร.นิเวศน์ เป็นตัวอย่างความสำเร็จ ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้กับคนรุ่นใหม่ หลายๆคน
อย่างไรก็ตาม VI ยังไม่ได้ผ่านรอบขึ้น รอบลงหนักๆ
หาก ดัชนีขึ้นไป 1000 - 1500 แล้ว ไหลกลับมามาอยู่ที่ 500 - 600 สมมุตินะครับ
ผมคิดว่า VI ที่รอดจริงๆ มีกี่คน
เพราะหากว่า ซื้อแบบ VI แต่เลือกหุ้น โดยการซื้อตามคนอื่น เพราะเห็นว่ามันขึ้นมาจริงๆ แล้วละก็
เท่ากับว่า เป็น VI แต่ต้นทุนสูงกว่าพื้นฐาน
ยกตัวอย่าง
ดร.นิเวศน์ซื้อมาม่า 50 มา 500 แล้วเราไปซื้อ 500 เราคาดหวังอะไร
ดร.นิเวศน์ ซื้อ bigc 18 ตอนนี้ 48.75
หากเราซื้อ bigc 48.75 แล้วเกิดวิกฤติ เราควรขายก่อนหรือไม่ คิดกันเองนะครับ
เป็นแค่แนวคิดส่วนตัวนะครับ ตามกระทู้ หากเกิดวิกฤติ ผมว่าล้างพอร์ทรอหุ้นดี ราคาถูกดีกว่าครับ
แต่ ส่วนใหญ่ 99 % ลงหมดครับ ถ้าเกิดวิกฤติจริงๆ
ผมคิดว่า ขายก่อน สบายใจกว่า
ต้องยอมรับอย่าง ตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2550
ซึ่งเริ่มเกิด VI ขึ้นมา โดยจุดเริ่มต้น น่าจะเกิดจากดร.นิเวศน์ เป็นตัวอย่างความสำเร็จ ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้กับคนรุ่นใหม่ หลายๆคน
อย่างไรก็ตาม VI ยังไม่ได้ผ่านรอบขึ้น รอบลงหนักๆ
หาก ดัชนีขึ้นไป 1000 - 1500 แล้ว ไหลกลับมามาอยู่ที่ 500 - 600 สมมุตินะครับ
ผมคิดว่า VI ที่รอดจริงๆ มีกี่คน
เพราะหากว่า ซื้อแบบ VI แต่เลือกหุ้น โดยการซื้อตามคนอื่น เพราะเห็นว่ามันขึ้นมาจริงๆ แล้วละก็
เท่ากับว่า เป็น VI แต่ต้นทุนสูงกว่าพื้นฐาน
ยกตัวอย่าง
ดร.นิเวศน์ซื้อมาม่า 50 มา 500 แล้วเราไปซื้อ 500 เราคาดหวังอะไร
ดร.นิเวศน์ ซื้อ bigc 18 ตอนนี้ 48.75
หากเราซื้อ bigc 48.75 แล้วเกิดวิกฤติ เราควรขายก่อนหรือไม่ คิดกันเองนะครับ
เป็นแค่แนวคิดส่วนตัวนะครับ ตามกระทู้ หากเกิดวิกฤติ ผมว่าล้างพอร์ทรอหุ้นดี ราคาถูกดีกว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจควรจะทำอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 3
กรณี UMS ขึ้นจาก 17 บาทเป็น 54 ถ้าเข้าไปซื้อตอนนี้ไม่ทราบว่าคาดหวังอะไรกัน ผมว่าเยอะเลย
หุ้นดีที่ราคาขึ้นกระฉูดเช่น
uec ขึ้นจาก 7 บาท เป็น 37.50
และหุ้นอื่นๆอีกมากมาย
เพราะฉะนั้น ผมว่าช่วงนี้ เป็นช่วงทดสอบ นักลงทุนนะครับ
ว่าต้องกำหนดกลยุธการลงทุนให้ดี
ช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงแทงหวยแล้ว
สมัยก่อน แทงไรก็ขึ้นนะ ตอน ดัชนี 200 กว่าๆวิ่งขึ้นมา ตอนนี้ มันกั๊กๆ
ขึ้นได้ ลงได้
ข่าวร้ายเพรียบ ข่าวดี ใช่ว่าจะไม่มี เช่น ข่าวการเลือกตั้ง
โดยส่วนตัว คิดว่า ช่วงนี้ ไม่น่าลงทุนเท่าไร ความเสี่ยงสูงมักๆ
บริษัทที่ดี ราคาก็ไปซะแล้ว บริษัทม่ายดี เราก็ม่ายอยากยุ่ง
อืม คิดๆแล้ว อยากให้มี subprime อีกรอบ แฮะ
หุ้นดีที่ราคาขึ้นกระฉูดเช่น
uec ขึ้นจาก 7 บาท เป็น 37.50
และหุ้นอื่นๆอีกมากมาย
เพราะฉะนั้น ผมว่าช่วงนี้ เป็นช่วงทดสอบ นักลงทุนนะครับ
ว่าต้องกำหนดกลยุธการลงทุนให้ดี
ช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงแทงหวยแล้ว
สมัยก่อน แทงไรก็ขึ้นนะ ตอน ดัชนี 200 กว่าๆวิ่งขึ้นมา ตอนนี้ มันกั๊กๆ
ขึ้นได้ ลงได้
ข่าวร้ายเพรียบ ข่าวดี ใช่ว่าจะไม่มี เช่น ข่าวการเลือกตั้ง
โดยส่วนตัว คิดว่า ช่วงนี้ ไม่น่าลงทุนเท่าไร ความเสี่ยงสูงมักๆ
บริษัทที่ดี ราคาก็ไปซะแล้ว บริษัทม่ายดี เราก็ม่ายอยากยุ่ง
อืม คิดๆแล้ว อยากให้มี subprime อีกรอบ แฮะ
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจควรจะทำอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 4
ถ้ามีวิกฤติก็ต้องตั้งสติก่อนครับ
อาจจะเป็นโอกาสในการเข้าซื้อก็ได้นะครับแทนที่จะล้างพอร์ท
เข้าซื้อในที่นี้ย่อมหมายความรวมไปถึงการขายหุ้นด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่อย่างนั้นวีไอจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อถ้ามีหุ้นเต็มพอร์ทอยู่
วิกฤติจึงอาจจะเป็นช่วงการ switch พอร์ทจากกลุ่มที่จะเจอปัญหาตามวิกฤติไปด้วย ไปสู่กลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากภาวะวิกฤติ
ในวิกฤติย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ เป็นคำพูดอมตะที่ผมเชื่อครับ
อย่างคราวที่แล้วซึ่งค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมหาศาล กลุ่มที่มีหนี้เป็นเงินต่างประเทศย่อมวิกฤติหนัก แต่ขณะเดียวกันเมื่อเงินบาทอ่อนค่าขนาดนั้น กลุ่มส่งออกก็ย่อมจะได้ประโยชน์เต็มๆใช่ไหมครับ
และผลก็ปรากฏว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ กลุ่มส่งออกที่ไม่มีหนี้ต่างประเทศได้ประโยชน์ติดต่อกันหลายๆปี
พูดอย่างนี้เสมือนว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว มาพูดทีหลัง พูดอย่างไรก็ถูก
แต่ความเห็นผมนั้นวิกฤติที่แทบไม่มีโอกาสจริงๆนั้นไม่ค่อยมีครับหรือมีก็มีน้อยมากๆ จังหวะวิกฤติคือจังหวะที่มีผลกระทบรุนแรงกว่าปกติมากๆ(ตามความหมายของคำว่าวิกฤตินะครับ) และสิ่งที่รุนแรงมากๆนั้นไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าจะมีแต่สิ่งเลวร้าย รุนแรงมากๆแบบมีดีซ่อนอยู่ก็มีเยอะครับ
อย่างช่วงที่เศรษฐกิจร้อนมากๆ เหตุการณ์ที่มักจะเกิดควบคู่กันไปก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะสูงมากๆเพราะการลงทุนเฟื่องฟูมากๆนั่นเอง ในชีวิตผมก็เคยเจออัตราดอกเบี้ยฝากประจำที่ร้อนละ 12 /ปี คิดแล้วยังเสียดายว่าตอนนั้นไม่มีตังค์เลย :oops:
ถ้าไม่มีหุ้นตัวไหนน่าสนใจเลย การฝากเอาดอกเบี้ย 12/ปี การซื้อพันธบัตร การซื้อที่ดินเก็บไว้ก็อาจจะเป็นโอกาสที่อาจจะได้เจอในอนาคต
อาจจะเป็นโอกาสในการเข้าซื้อก็ได้นะครับแทนที่จะล้างพอร์ท
เข้าซื้อในที่นี้ย่อมหมายความรวมไปถึงการขายหุ้นด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่อย่างนั้นวีไอจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อถ้ามีหุ้นเต็มพอร์ทอยู่
วิกฤติจึงอาจจะเป็นช่วงการ switch พอร์ทจากกลุ่มที่จะเจอปัญหาตามวิกฤติไปด้วย ไปสู่กลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากภาวะวิกฤติ
ในวิกฤติย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ เป็นคำพูดอมตะที่ผมเชื่อครับ
อย่างคราวที่แล้วซึ่งค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมหาศาล กลุ่มที่มีหนี้เป็นเงินต่างประเทศย่อมวิกฤติหนัก แต่ขณะเดียวกันเมื่อเงินบาทอ่อนค่าขนาดนั้น กลุ่มส่งออกก็ย่อมจะได้ประโยชน์เต็มๆใช่ไหมครับ
และผลก็ปรากฏว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ กลุ่มส่งออกที่ไม่มีหนี้ต่างประเทศได้ประโยชน์ติดต่อกันหลายๆปี
พูดอย่างนี้เสมือนว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว มาพูดทีหลัง พูดอย่างไรก็ถูก
แต่ความเห็นผมนั้นวิกฤติที่แทบไม่มีโอกาสจริงๆนั้นไม่ค่อยมีครับหรือมีก็มีน้อยมากๆ จังหวะวิกฤติคือจังหวะที่มีผลกระทบรุนแรงกว่าปกติมากๆ(ตามความหมายของคำว่าวิกฤตินะครับ) และสิ่งที่รุนแรงมากๆนั้นไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าจะมีแต่สิ่งเลวร้าย รุนแรงมากๆแบบมีดีซ่อนอยู่ก็มีเยอะครับ
อย่างช่วงที่เศรษฐกิจร้อนมากๆ เหตุการณ์ที่มักจะเกิดควบคู่กันไปก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะสูงมากๆเพราะการลงทุนเฟื่องฟูมากๆนั่นเอง ในชีวิตผมก็เคยเจออัตราดอกเบี้ยฝากประจำที่ร้อนละ 12 /ปี คิดแล้วยังเสียดายว่าตอนนั้นไม่มีตังค์เลย :oops:
ถ้าไม่มีหุ้นตัวไหนน่าสนใจเลย การฝากเอาดอกเบี้ย 12/ปี การซื้อพันธบัตร การซื้อที่ดินเก็บไว้ก็อาจจะเป็นโอกาสที่อาจจะได้เจอในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจควรจะทำอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 5
ถ้าเกิดวิกฤตเหมือนปี 40 ผมคิดว่าหุ้นทุกตัวคงลงหมด แต่มากหรือน้อยคงจะต่างกันไปขึ้นกับว่าธุรกิจใดได้รับผลกระทบมาก ตอนนั้นพวกมีหนี้ต่างประเทศโดนหนัก แทบไม่ฟื้น (TRUE) พวกส่งออก (เกษตร) สบายเพราะค่าเงินอ่อนลง
แต่ถ้าวิกฤตรอบใหม่ ผมว่ากลุ่มที่พึ่งพิงการส่งออกคงโดนก่อนทั้งโลเทคและไฮเทค เพราะคิดว่าวิกฤตรอบใหม่ถ้าจะมีน่าจะมาจากต่างประเทศ (วิกฤตการณ์แม็คโดนัลด์ / แฮมเบอร์เกอร์) มากกว่าที่จะเกิดจากภายในเอง
เสาร์ที่แล้ว (29 ก.ย.50) นสพ.กรุงเทพธุรกิจลงว่า
เครดิตลียองเนส์ฟันธงปี51ศก.จีนหดตัวแรงฉุดโลกทรุด
อุไรวรรณ ภู่วิจิตรสุทิน
"จิม วอล์คเกอร์" ผู้พยากรณ์เหตุวิกฤติเงินเอเชีย ปี 2540 ได้แม่นยำ ออกบทวิเคราะห์ช็อกโลกครั้งล่าสุด ฟันธงจีนกลไกแห่งความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แทนที่มหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่งอย่างสหรัฐซึ่งยังคงวุ่น สางปัญหาซับไพร์มซึมลึก ปีหน้าจะเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจภายใน จีดีพีหดตัวจาก 12% เหลือเพียง 5% กำไรบริษัทวูบหนัก หนี้เสียแบงก์รัฐเพิ่มจำนวนมหาศาล กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดโลกทรุด
Butterfly Effect หรือ "ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก" เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีที่มาจากเรย์ แบรดเบอรี่ นักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์ ในปี 2495 ซึ่งให้ความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงจากที่แห่งหนึ่งสามารถนำไปสู่ผลกระทบมากมายให้กับส่วนอื่นๆ กิริยาของผีเสื้อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งความโกลาหลวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาในทันที กลายเป็นคำศัพท์เป็นที่รู้จักของผู้เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาตลาดสินเชื่อปล่อยกู้ลูกค้ามีความน่าเชื่อถือต่ำในสหรัฐ หรือซับไพร์ม มากขึ้น
นิวส์ วีค นิตยสารเศรษฐกิจการเมืองชั้นนำของสหรัฐ ได้นำคำว่า ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก มาเป็นชื่อเรื่องบทวิเคราะห์ เชื่อมโยงปัญหาซับไพร์มที่มีต้นตอมาจากเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐ และมีผู้หวั่นเกรงกันว่าจะขยายวง จนฉุดลากเศรษฐกิจในภูมิภาคสำคัญ อย่างยุโรปกับเอเชียซึ่งมีจีนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทรุดลงตามไปด้วย
"ความปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดโลกตลอด 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลกระทบกระจายวงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อซับไพร์มนำไปสู่การล้มละลายของแบงก์ทั่วสหรัฐ ตลาดหุ้นตลาดเกิดใหม่ดิ่งลง และเมื่อเร็วๆ นี้แบงก์อังกฤษแห่งหนึ่งเกิดปัญหาตกต่ำ" นิวส์ วีค ยกตัวอย่างเกริ่นนำ และนำไปสู่ข้อมูลที่ได้รับจากจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเครดิต ลียองเนส์ ซิเคียวริตี้ส์ หรือ ซีแอลเอสเอ
ในอดีตเมื่อปี 2540 ชื่อเสียงของจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของซีแอลเอสเอ กลายเป็นที่รู้จักในตลาดการเงินทั่วโลก เพราะเขาเป็นคนแรกที่ทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียช่วง 1 ปีก่อนเกิดเหตุว่า จะเกิดปัญหาค่าเงินในภูมิภาค จุดชนวนให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันตามมา จนก่อเกิดวิกฤติค่าเงินในระดับภูมิภาค ซึ่งวิกฤติดังกล่าวมีต้นตอมาจากรัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กลายเป็นปัญหาลูกโซ่ฉุดเศรษฐกิจตลาดเงินประเทศเพื่อนบ้านทรุดตามไทย
ล่าสุดชื่อของจิม วอล์คเกอร์ โดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง จากการนำเสนอของนิวส์ วีค ซึ่งได้ไปพยากรณ์ที่ฮ่องกงช่วงปลายเดือนก.ย.นี้ เป็นการเตือนจากคาดการณ์ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อันมีต้นตอจากปัญหาซับไพร์มยังไม่จบสิ้นในสหรัฐ ว่าจะจู่โจมเหมือนเฮอริเคนกระหน่ำเศรษฐกิจที่กำลังเกิดสนิมกินในของจีนได้ในปีหน้า
นิวส์ วีค ยกให้จิม วอล์คเกอร์ เป็นกูรูด้านเศรษฐศาสตร์จีน ซึ่งสมมติฐานการคาดเดาของเขาล้วนเป็นผลงานเหมือนนิยายตื่นเต้น และเป็นไอเดียสวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกส่วนใหญ่ ที่หวังให้ปัญหาซับไพร์มที่ไปฉุดรั้งเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จะทดแทนได้ด้วยการขยายตัวสดใสของเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนกลายเป็นจุดสนใจ และถูกมองว่าจะเป็นกลไกใหม่สำคัญ ขับเคลื่อนจีดีพีโลกให้ขยายตัวได้มากขึ้น
แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏเมื่อเร็วๆ นี้ กลับพิสูจน์ได้ว่าเศรษฐกิจโลกไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคสหรัฐ สะท้อนได้จากการชะลอตัวของสหรัฐปีนี้ ทำให้ยุโรป และญี่ปุ่นกำลังเผชิญการขยายตัวลดลง และในรายงานของเมอร์ริล ลินช์ เมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา เคยตื่นเต้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์เมอร์ริล ลินช์ กลับมองญี่ปุ่นว่ากำลังฝันร้าย เพราะประเทศเติบโตแบบติดลบ ยุโรปก็ร่อแร่เติบโตเชื่องช้าที่ 2%
คำถามที่ตามมาของนิวส์ วีค คือจีนอาจจ่อคิวเศรษฐกิจขยายตัวลดลงรายต่อไปหรือไม่ เพราะวอล์คเกอร์ทำนายไว้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีน อาจหดตัวลดลงแบบพรวดพราด จาก12% เหลือเพียง 5% ก่อนสิ้นปี 2551 ขณะที่ความตกต่ำของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลายเป็นปัญหาทับถมลากจีน ซึ่งประสบปัญหาสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจการเงินในประเทศมานาน จนทรุดฉุดโลกตกต่ำด้วย
วอล์คเกอร์คาดการณ์ว่า ความต้องการสินค้าทุกอย่างที่ผลิตจากจีน จะแผ่วหรือลดน้อยลง ขณะที่โรงงานจีนหลายพันแห่งจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ด้วยเช่นกันในปีหน้า ก่อเกิดสถานการณ์กำไรบริษัทจีนทรุดหนัก ปัญหาหนี้เสียมากมายมหาศาลของธนาคารรัฐในจีนปูดออกมาให้เห็น และผลตามมาในท้ายที่สุดนั้น แน่นอนว่าส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กลายเป็นสภาพคล่องสินเชื่อตึงตัวครั้งใหญ่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาในอดีต
งานวิเคราะห์เปรียบเทียบจีนในอนาคต จะประสบปัญหาสุขภาพเป็นอาการเบื่ออาหาร และอธิบายสถานการณ์ในจีนทุกวันนี้ว่า นโยบายปล่อยหยวนอ่อนค่าของรัฐบาล พร้อมเงินอุดหนุนภาคส่งออกจนทำให้ความสามารถแข่งขันสูงมากเกินไป ความพยายามของรัฐที่จะจุดกระแสให้เกิดการบริโภคในประเทศยังคงค้างเติ่ง
จีนเหมือนญี่ปุ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่ออุปทานการส่งออกนำไปสู่การลงทุนมากเกินไป ฟองสบู่สินทรัพย์ในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปัญหาการเมืองปะทุทำให้การค้าไร้สมดุล ซึ่งชนวนสำคัญคล้ายคลึงกัน คือ ผู้กำหนดและวางแผนของภาครัฐไม่แก้ปัญหาเชิงลึก ธนาคารรัฐประสบปัญหาหนี้เสีย กลุ่มธุรกิจกับผู้นำการเมืองที่มีสายตาไม่ยาวไกล เชื่อมั่นในตัวเองออกมาให้แต่ข่าวดี
ต่ง เถา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของเครดิต ซูส์ในฮ่องกง เตือนว่าชนวนต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาดอย่างมาก และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายกับความสามารถแข่งขันของจีนได้ในระยะยาว
จีนเหมือนญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษหลังปี 2513 ที่ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมหนักมากเกินไป ด้วยการอุดหนุนภาคส่งออก ให้พลังงานราคาถูกและสินเชื่อปล่อยง่าย ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเหล็กมีศักยภาพการผลิตเพิ่มเป็น 3 เท่า ในช่วงปี 2544-2548 จนจีนเขยิบตัวเองกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกไปแล้ว
แต่แนวโน้มข้างต้นกลับฉุดราคาเหล็กในจีนให้ตกลงเหลือ 30% ต่ำกว่าราคาเหล็กเฉลี่ยในต่างประเทศ และมีหลายอุตสาหกรรมยิ่งทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวโดยพึ่งพาการส่งออก จนมีความผันผวนเปราะบางต่อภาวะตื่นตระหนก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในอนาคต
นิวส์ วีค ระบุว่า ปัญหาหลายอย่างก่อตัวขึ้นมาจากขนาดเศรษฐกิจของจีน การส่งออกของจีนชะลอตัวก่อผลกระทบมหาศาลให้กับผู้จัดหาทรัพยากรให้จีนในทวีปแอฟริกา ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนในเอเชียตะวันออก และกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรหนักในเยอรมนี
ขณะเดียวกันระบบธนาคารของจีน มีแนวโน้มเป็นฟองสบู่การเงินโลกลูกต่อไปที่ใกล้ระเบิด ธนาคารจีนหลายแห่งล้วนเป็นธนาคารรัฐขนาดใหญ่ และเป็นผลิตผลของเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ค่าเงินหยวนมีมูลค่าต่ำเกินจริงและไม่สามารถปรับได้ จำนวนเงินออมมูลค่ามหาศาลในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูยังถูกกักไว้ในประเทศ ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบผลักดันให้เงินออมเข้าไปเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์มากขึ้น
ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายจีนพากันระวังกับการใช้ความพยายาม ที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนคลายความร้อนแรง และรอบคอบกับการสร้างเสถียรภาพให้กับราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในบางเมืองของจีนราคาอสังหาริมทรัพย์นับจากปี 2543 เพิ่มขึ้นถึง 13 เท่า หรือระวังที่จะเปลี่ยนแปลงลดพึ่งพาการส่งออกช่วยเศรษฐกิจขยายตัว และเป้าหมายอันดับแรกในปีหน้าของจีนคือ การจัดกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น
"การไม่ตรวจสอบ การไร้สมดุลในจีน จะยังคงขยายวงมากขึ้น และเป็นไปได้มากขึ้นว่าจะมีการปรับตัวครั้งใหญ่ บรรดาผู้นำจีนล้วนมีพลังอำนาจน้อยลง ที่จะปัดเป่าหายนภัยจากภาวะตื่นตระหนกครั้งใหญ่ และสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เกิดขึ้นแบบญี่ปุ่นได้ คือ การดำเนินการก่อนที่หลายสิ่งจะเข้ามาถึงขั้นตอนที่ว่าผู้กำหนดนโยบายต่างเผชิญกับความล้มเหลวแล้ว" วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ซีแอลเอสเอ กล่าวสรุป
ในช่วงท้ายนิวส์ วีค ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ว่าวิกฤติเกิดจากสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจภายในของจีน จะกระตุ้นให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกในสหรัฐ จะยังมีพลังทำปัญหาซับไพร์มกลายเป็นพายุรุนแรงกระหน่ำโลกใบนี้ต่อไปได้
ถ้าเป็นจริงตามที่เค้าว่าก็คงเหมือนที่คุณ Jeng ว่า ขายหุ้นก่อนดีกว่า เพราะคงลงทุกตัวไม่เว้นแม้แต่ TF ผมยังจำได้เลยว่า SSC 8 บาท WACOAL 10 บาท (ปรับพาร์ใหม่)
แต่ถ้าวิกฤตรอบใหม่ ผมว่ากลุ่มที่พึ่งพิงการส่งออกคงโดนก่อนทั้งโลเทคและไฮเทค เพราะคิดว่าวิกฤตรอบใหม่ถ้าจะมีน่าจะมาจากต่างประเทศ (วิกฤตการณ์แม็คโดนัลด์ / แฮมเบอร์เกอร์) มากกว่าที่จะเกิดจากภายในเอง
เสาร์ที่แล้ว (29 ก.ย.50) นสพ.กรุงเทพธุรกิจลงว่า
เครดิตลียองเนส์ฟันธงปี51ศก.จีนหดตัวแรงฉุดโลกทรุด
อุไรวรรณ ภู่วิจิตรสุทิน
"จิม วอล์คเกอร์" ผู้พยากรณ์เหตุวิกฤติเงินเอเชีย ปี 2540 ได้แม่นยำ ออกบทวิเคราะห์ช็อกโลกครั้งล่าสุด ฟันธงจีนกลไกแห่งความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แทนที่มหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่งอย่างสหรัฐซึ่งยังคงวุ่น สางปัญหาซับไพร์มซึมลึก ปีหน้าจะเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจภายใน จีดีพีหดตัวจาก 12% เหลือเพียง 5% กำไรบริษัทวูบหนัก หนี้เสียแบงก์รัฐเพิ่มจำนวนมหาศาล กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดโลกทรุด
Butterfly Effect หรือ "ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก" เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีที่มาจากเรย์ แบรดเบอรี่ นักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์ ในปี 2495 ซึ่งให้ความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงจากที่แห่งหนึ่งสามารถนำไปสู่ผลกระทบมากมายให้กับส่วนอื่นๆ กิริยาของผีเสื้อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งความโกลาหลวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาในทันที กลายเป็นคำศัพท์เป็นที่รู้จักของผู้เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาตลาดสินเชื่อปล่อยกู้ลูกค้ามีความน่าเชื่อถือต่ำในสหรัฐ หรือซับไพร์ม มากขึ้น
นิวส์ วีค นิตยสารเศรษฐกิจการเมืองชั้นนำของสหรัฐ ได้นำคำว่า ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก มาเป็นชื่อเรื่องบทวิเคราะห์ เชื่อมโยงปัญหาซับไพร์มที่มีต้นตอมาจากเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐ และมีผู้หวั่นเกรงกันว่าจะขยายวง จนฉุดลากเศรษฐกิจในภูมิภาคสำคัญ อย่างยุโรปกับเอเชียซึ่งมีจีนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทรุดลงตามไปด้วย
"ความปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดโลกตลอด 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลกระทบกระจายวงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อซับไพร์มนำไปสู่การล้มละลายของแบงก์ทั่วสหรัฐ ตลาดหุ้นตลาดเกิดใหม่ดิ่งลง และเมื่อเร็วๆ นี้แบงก์อังกฤษแห่งหนึ่งเกิดปัญหาตกต่ำ" นิวส์ วีค ยกตัวอย่างเกริ่นนำ และนำไปสู่ข้อมูลที่ได้รับจากจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเครดิต ลียองเนส์ ซิเคียวริตี้ส์ หรือ ซีแอลเอสเอ
ในอดีตเมื่อปี 2540 ชื่อเสียงของจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของซีแอลเอสเอ กลายเป็นที่รู้จักในตลาดการเงินทั่วโลก เพราะเขาเป็นคนแรกที่ทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียช่วง 1 ปีก่อนเกิดเหตุว่า จะเกิดปัญหาค่าเงินในภูมิภาค จุดชนวนให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันตามมา จนก่อเกิดวิกฤติค่าเงินในระดับภูมิภาค ซึ่งวิกฤติดังกล่าวมีต้นตอมาจากรัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กลายเป็นปัญหาลูกโซ่ฉุดเศรษฐกิจตลาดเงินประเทศเพื่อนบ้านทรุดตามไทย
ล่าสุดชื่อของจิม วอล์คเกอร์ โดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง จากการนำเสนอของนิวส์ วีค ซึ่งได้ไปพยากรณ์ที่ฮ่องกงช่วงปลายเดือนก.ย.นี้ เป็นการเตือนจากคาดการณ์ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อันมีต้นตอจากปัญหาซับไพร์มยังไม่จบสิ้นในสหรัฐ ว่าจะจู่โจมเหมือนเฮอริเคนกระหน่ำเศรษฐกิจที่กำลังเกิดสนิมกินในของจีนได้ในปีหน้า
นิวส์ วีค ยกให้จิม วอล์คเกอร์ เป็นกูรูด้านเศรษฐศาสตร์จีน ซึ่งสมมติฐานการคาดเดาของเขาล้วนเป็นผลงานเหมือนนิยายตื่นเต้น และเป็นไอเดียสวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกส่วนใหญ่ ที่หวังให้ปัญหาซับไพร์มที่ไปฉุดรั้งเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จะทดแทนได้ด้วยการขยายตัวสดใสของเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนกลายเป็นจุดสนใจ และถูกมองว่าจะเป็นกลไกใหม่สำคัญ ขับเคลื่อนจีดีพีโลกให้ขยายตัวได้มากขึ้น
แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏเมื่อเร็วๆ นี้ กลับพิสูจน์ได้ว่าเศรษฐกิจโลกไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคสหรัฐ สะท้อนได้จากการชะลอตัวของสหรัฐปีนี้ ทำให้ยุโรป และญี่ปุ่นกำลังเผชิญการขยายตัวลดลง และในรายงานของเมอร์ริล ลินช์ เมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา เคยตื่นเต้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์เมอร์ริล ลินช์ กลับมองญี่ปุ่นว่ากำลังฝันร้าย เพราะประเทศเติบโตแบบติดลบ ยุโรปก็ร่อแร่เติบโตเชื่องช้าที่ 2%
คำถามที่ตามมาของนิวส์ วีค คือจีนอาจจ่อคิวเศรษฐกิจขยายตัวลดลงรายต่อไปหรือไม่ เพราะวอล์คเกอร์ทำนายไว้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีน อาจหดตัวลดลงแบบพรวดพราด จาก12% เหลือเพียง 5% ก่อนสิ้นปี 2551 ขณะที่ความตกต่ำของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลายเป็นปัญหาทับถมลากจีน ซึ่งประสบปัญหาสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจการเงินในประเทศมานาน จนทรุดฉุดโลกตกต่ำด้วย
วอล์คเกอร์คาดการณ์ว่า ความต้องการสินค้าทุกอย่างที่ผลิตจากจีน จะแผ่วหรือลดน้อยลง ขณะที่โรงงานจีนหลายพันแห่งจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ด้วยเช่นกันในปีหน้า ก่อเกิดสถานการณ์กำไรบริษัทจีนทรุดหนัก ปัญหาหนี้เสียมากมายมหาศาลของธนาคารรัฐในจีนปูดออกมาให้เห็น และผลตามมาในท้ายที่สุดนั้น แน่นอนว่าส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กลายเป็นสภาพคล่องสินเชื่อตึงตัวครั้งใหญ่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาในอดีต
งานวิเคราะห์เปรียบเทียบจีนในอนาคต จะประสบปัญหาสุขภาพเป็นอาการเบื่ออาหาร และอธิบายสถานการณ์ในจีนทุกวันนี้ว่า นโยบายปล่อยหยวนอ่อนค่าของรัฐบาล พร้อมเงินอุดหนุนภาคส่งออกจนทำให้ความสามารถแข่งขันสูงมากเกินไป ความพยายามของรัฐที่จะจุดกระแสให้เกิดการบริโภคในประเทศยังคงค้างเติ่ง
จีนเหมือนญี่ปุ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่ออุปทานการส่งออกนำไปสู่การลงทุนมากเกินไป ฟองสบู่สินทรัพย์ในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปัญหาการเมืองปะทุทำให้การค้าไร้สมดุล ซึ่งชนวนสำคัญคล้ายคลึงกัน คือ ผู้กำหนดและวางแผนของภาครัฐไม่แก้ปัญหาเชิงลึก ธนาคารรัฐประสบปัญหาหนี้เสีย กลุ่มธุรกิจกับผู้นำการเมืองที่มีสายตาไม่ยาวไกล เชื่อมั่นในตัวเองออกมาให้แต่ข่าวดี
ต่ง เถา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของเครดิต ซูส์ในฮ่องกง เตือนว่าชนวนต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาดอย่างมาก และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายกับความสามารถแข่งขันของจีนได้ในระยะยาว
จีนเหมือนญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษหลังปี 2513 ที่ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมหนักมากเกินไป ด้วยการอุดหนุนภาคส่งออก ให้พลังงานราคาถูกและสินเชื่อปล่อยง่าย ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเหล็กมีศักยภาพการผลิตเพิ่มเป็น 3 เท่า ในช่วงปี 2544-2548 จนจีนเขยิบตัวเองกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกไปแล้ว
แต่แนวโน้มข้างต้นกลับฉุดราคาเหล็กในจีนให้ตกลงเหลือ 30% ต่ำกว่าราคาเหล็กเฉลี่ยในต่างประเทศ และมีหลายอุตสาหกรรมยิ่งทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวโดยพึ่งพาการส่งออก จนมีความผันผวนเปราะบางต่อภาวะตื่นตระหนก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในอนาคต
นิวส์ วีค ระบุว่า ปัญหาหลายอย่างก่อตัวขึ้นมาจากขนาดเศรษฐกิจของจีน การส่งออกของจีนชะลอตัวก่อผลกระทบมหาศาลให้กับผู้จัดหาทรัพยากรให้จีนในทวีปแอฟริกา ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนในเอเชียตะวันออก และกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรหนักในเยอรมนี
ขณะเดียวกันระบบธนาคารของจีน มีแนวโน้มเป็นฟองสบู่การเงินโลกลูกต่อไปที่ใกล้ระเบิด ธนาคารจีนหลายแห่งล้วนเป็นธนาคารรัฐขนาดใหญ่ และเป็นผลิตผลของเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ค่าเงินหยวนมีมูลค่าต่ำเกินจริงและไม่สามารถปรับได้ จำนวนเงินออมมูลค่ามหาศาลในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูยังถูกกักไว้ในประเทศ ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบผลักดันให้เงินออมเข้าไปเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์มากขึ้น
ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายจีนพากันระวังกับการใช้ความพยายาม ที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนคลายความร้อนแรง และรอบคอบกับการสร้างเสถียรภาพให้กับราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในบางเมืองของจีนราคาอสังหาริมทรัพย์นับจากปี 2543 เพิ่มขึ้นถึง 13 เท่า หรือระวังที่จะเปลี่ยนแปลงลดพึ่งพาการส่งออกช่วยเศรษฐกิจขยายตัว และเป้าหมายอันดับแรกในปีหน้าของจีนคือ การจัดกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น
"การไม่ตรวจสอบ การไร้สมดุลในจีน จะยังคงขยายวงมากขึ้น และเป็นไปได้มากขึ้นว่าจะมีการปรับตัวครั้งใหญ่ บรรดาผู้นำจีนล้วนมีพลังอำนาจน้อยลง ที่จะปัดเป่าหายนภัยจากภาวะตื่นตระหนกครั้งใหญ่ และสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เกิดขึ้นแบบญี่ปุ่นได้ คือ การดำเนินการก่อนที่หลายสิ่งจะเข้ามาถึงขั้นตอนที่ว่าผู้กำหนดนโยบายต่างเผชิญกับความล้มเหลวแล้ว" วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ซีแอลเอสเอ กล่าวสรุป
ในช่วงท้ายนิวส์ วีค ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ว่าวิกฤติเกิดจากสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจภายในของจีน จะกระตุ้นให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกในสหรัฐ จะยังมีพลังทำปัญหาซับไพร์มกลายเป็นพายุรุนแรงกระหน่ำโลกใบนี้ต่อไปได้
ถ้าเป็นจริงตามที่เค้าว่าก็คงเหมือนที่คุณ Jeng ว่า ขายหุ้นก่อนดีกว่า เพราะคงลงทุกตัวไม่เว้นแม้แต่ TF ผมยังจำได้เลยว่า SSC 8 บาท WACOAL 10 บาท (ปรับพาร์ใหม่)
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจควรจะทำอย่างไรครับ
โพสต์ที่ 6
ปัญหามีอยู่ว่าเราจะแน่ใจได้ไงว่านั่นคือวิกฤต ถ้าไม่ใช่แล้วเราขายจนหมดจะมีโอกาสได้ซื้อราคาเดิมหรือเปล่า การถือหุ้น VI ผมว่ามีความปลอดภัยอยู่ในตัว หากตลาดตกต่ำก็น่าจะปรับตัวตามตลาด แต่ไม่มากเมื่อเทียบกับหุ้นบิ๊กแคปอื่นๆ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก